รัชกาลที่ ๕ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) ปี พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖

 

 

 

 

 

 

 

 

รัชกาลที่ ๕ 

มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖ 

 

 

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ เมื่อ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) ถูกขับไล่ให้ไปอยู่ที่ เมืองปราณ เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) หรือ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสงครามธนัญชัย ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ต่อหน้า เทวรูป พระพุทธสิหิงส์ โดยมี พ่อพระทอง เป็น จักรพรรดิพ่อพระทอง(สิทธิยาตรา) และมี มหาราชาสิริกิติ เป็น นายกพ่อสิริธรรมกิติ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ เป็นรัชกาลที่ ๕

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖)  หรือ พ่อศรีสงครามธนัญชัย อัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ ไปประทับ ณ พระปราง บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี แทนที่ พระแก้วมรกต ซึ่งไปโปรดสัตว์(ถูกนำไปซ่อนไว้) ณ เมืองหลักช้าง นครศรีธรรมราช เป็นเหตุให้ พระพุทธสิหิงส์ จึงถูกใช้เป็น พระประธาน ในการทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ของ สหราชอาณาจักรเสียม เรื่อยมา ส่วน พระพุทธชินราช ถูกใช้เป็นพระประธาน ของ จักรพรรดิ ประจำ แคว้นนครศรีธรรมราช ส่วน พระพุทธชินศรี ถูกนำไปใช้เป็นพระประธาน ของ นายก ในพื้นที่ พระราชวังศรีเวียงชัย แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖)  หรือ พ่อศรีสงครามธนัญชัย โปรดให้สร้างวัด เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ เชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ ซึ่งเสียชีวิตในสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กับ มหาอาณาจักรจีน และได้อพยพมาตั้งรกราก ณ กรุงศรีโพธิ์ เรียกว่า วัดเดิมเจ้า

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) หรือ พ่อศรีสงครามธนัญชัย ทำการควบคุม การพนัน ไก่ชน ให้มาอยู่ภายใต้การควบคุม ของ รัฐบาล เพื่อลดปัญหา การพนัน ไก่ชน ให้ลดลง เนื่องจาก ประชาชน ทั่วทั้งดินแดนต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ติดพนันชนไก่ กันงอมแงม

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) รับสั่งให้ จักรพรรดิพ่อพระทอง กรุงศรีธรรมราช ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าประภุวรมัน(พ.ศ.?-๑๒๙๑) ราชวงศ์ทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ผลของสงคราม พระเจ้าประภุวรมัน สวรรคต ในสงคราม มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาจอมศรี(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๔๔) ราชวงศ์คำ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ พระยาอินทโลก(พ.ศ.๑๒๕๙-๑๒๙๑) หรือ พระเจ้าปุษรากษ์ แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอนินทิตะปุระ เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ พระยาโสธร(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) พระราชโอรส สายราชวงศ์ท้าวไกรสร เป็น มหาราชา ปกครอง ราชอาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา

ปี พ.ศ.๑๒๙๒ พระเจ้ารุทรวรมัน ที่ ๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต(ส่งไปแล้ว ๑๕ ครั้ง) กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง บันทึกของ จดหมายเหตุจีน มีบันทึกสั้นๆ ว่า

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๘ )

ปี พ.ศ.๑๒๙๒ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้ส่งกองทัพเข้าสนับสนุน อาณาจักรโจฬะ(โจฬะน้ำ-เขมร) เพื่อช่วยทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรโจฬะ(เขมร) กลับคืนให้กับ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ

   (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

      ปี พ.ศ.๑๒๙๒ กาหลิบ ยาซิด ซึ่งเป็น กาหลิบที่-๖(พ.ศ.๑๒๒๓-๑๒๙๒) แห่ง สหราชอาณาจักรอาหรับ กรุงดามัสกัส เสด็จสวรรคต ราชวงศ์อับบาสิค แห่ง อาณาจักรตรุกี ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่ และได้ย้ายราชธานี ไปตั้งที่กรุงแบกแดด 

(ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๒ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๒๘๒)

ปี พ..๑๒๙๓ จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงตาลี่ ของ ชนชาติไทย ถูกกองทัพของ ฮ่องเต้เสียนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทำสงครามรุกราน ซึ่งเป็นผลจากการทำสงคราม ปราบปรามผู้นับถือพุทธศาสนา อย่างรุนแรง ได้ส่งผลกระทบกระเทือนต่อ อาณาจักรต่างๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่มาก

ปี พ.ศ.๑๒๙๓ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะ(เขมร) ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ ที่ได้หลบหนีไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กลับคืน

ปี พ.ศ.๑๒๙๔ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เริ่มทำสงครามกับ มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า ณ เมืองต้าลี่ เนื่องจาก บางแว่นแคว้น ไม่ยอมเสียภาษี ตามที่ ฮ่องเต้เสี้ยนจง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เรียกร้อง ผลของสงคราม กองทัพจีน ๖๐,๐๐๐ คน พ่ายแพ้สงคราม

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๔)

ปี พ.ศ.๑๒๙๔ แม่ทัพเกาเซียนจือ ชาวเกาหลี แห่ง มหาอาณาจักรจีน พ่ายแพ้สงครามกับ อาณาจักรตรุกีสถาน ซึ่งตั้งอยู่ในเอเชียกลาง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๑๒๙๔ เป็นที่มาให้ อาณาจักรตรุกีสถาน ประกาศอิสภาพ ทิ้งพระพุทธศาสนา หันไปนับถือ ศาสนาอิสลาม แทนที่

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๑๔)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๐๕)

ปี พ.ศ.๑๒๙๕ จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า ได้เปลี่ยนแปลง นโยบายต่อ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยหันมาสามัคคี กับ อาณาจักรมิเชน ของ ชนชาติทิเบต , อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู และ อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เนื่องด้วยได้เกิดความขัดแย้ง กับ ขุนนาง ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งมาลุ่มหลงพระชายา ของ จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) เป็นเหตุให้ จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองเมืองต่างๆ ซึ่งเป็นของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน หลายเมือง แล้วประกาศเอกราช ไม่ยอมเป็น ประเทศราช ของ มหาอาณาจักรจีน อีกต่อไป

ปี พ.ศ.๑๒๙๕ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า แต่ต้องพ่ายแพ้สงครามต่อ กองทัพของ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ต้องถอยทัพกลับไป หลังจากนั้น จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) ก็ส่งกองทัพต่างๆ เข้ายึดครองเมืองต่างๆ ในดินแดนของ แคว้นเสฉวน กลับคืนจำนวนมาก ผลของสงครามครั้งนั้น ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ต้องสูญเสียทหารไปมากกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๖๐)

ปี พ.ศ.๑๒๙๖ ขุนนาง ผู้ลักลอบ พระแก้วมรกต ออกไปซ่อนไว้ที่ เมืองหลักช้าง ได้พยายามอัญเชิญ พระแก้วมรกต จากเมืองหลักช้าง ไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) แต่ได้ทราบว่า มหาจักรพรรดิ พ่อใบทอง ได้ไปอัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ จากเมืองโพธิ(ยะลา) ไปแทนที่ พระแก้วมรกต เรียบร้อยแล้ว ขุนนางดังกล่าว จึงอัญเชิญ พระแก้วมรกต ลงเรือสำเภา เพื่อนำไปถวายให้กับ พระยาโสธร แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา กรุงอินทปัต(นครวัด) แทนที่ ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับพงศาวดารเหนือ บันทึกเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ไว้ว่า...

....แต่นั้น มีศึกสงครามเกิดขึ้น ในเมืองปาตลีบุตร(ไชยา) คนทั้งปวงรบพุ่งกันฉิบหาย ล้มตายมาก ผู้รักษาพระแก้วมรกต เห็นเหตุไม่ดี กลัวพระแก้วมรกต จะฉิบหาย เขาจึงเชิญพระแก้วมรกต ขึ้นสู่เรือสำเภาลำหนึ่ง พร้อมด้วย พระไตรปิฎกธรรมเจ้า กับสิ่งของอันควรทั้งปวง สำหรับใช้บูชาพระแก้วมรกต ขึ้นสู่เรือสำเภา ด้วย แล้วเขาก็พาหนีไปสู่กัมโพชวิสัย (นครศรีธรรมราช) แล้วนำ พระแก้วมรกต เข้าไปอยู่ใน ลังกาทวีป(อาณาจักรคามลังกา) อยู่นานได้ ๒๐๐ ปี...

ปี พ.ศ.๑๒๙๖ พระยาโสธร แห่ง ราชอาณาจักรคามลังกา ได้สร้างเมือง กรุงพระนครวัด(อินทปัต) ณ ภูเขาพนมผาแดง มีความยาวของ กำแพงเมือง ด้านละ ๑๐ ไมล์ มีการขุดอ่างเก็บน้ำ ถึง ๘๐๐ สระ เพื่อใช้ประดิษฐาน พระแก้วมรกต เรียกว่า เมืองพระนคร(นครวัด) หมายถึง เมืองที่ประทับของ พระแก้วมรกต ที่นำมาจาก เมืองนคร(ศรีธรรมราช) กลายเป็น เมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา แทนที่ เมืองพนมรุ้ง ต่อมา มีจารึก กล่าวถึง มหาราชา ยโสธร ว่า...

...พระองค์ (มหาราชา ยโสธร) ทำให้พระพรหม (จักรพรรดิพ่อพระทอง แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม) ประหลาดพระทัย ว่า ทำไมพระองค์ (จักรพรรดิพ่อพระทอง) จึงทรงสร้างกษัตริย์ ผู้มีฤทธิ์เดช พระองค์นี้ (พระยาโสธร) ขึ้นมาแข่งขัน กับ พระพรหม (จักรพรรดิพ่อพระทอง) เอง เมื่อได้มองเห็นถึง พระอธิราชของพระองค์ ศัตรู ของ พระองค์ ต้องโค้งพระเศียรต่ำลง แล้วอุทานออกมาว่า โอ้องค์สุริยะเทวะ...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๙๖ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมีพระราชโอรส ของ มหาราชา เป็น หัวหน้าคณะราชทูต มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๙๗ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมีพระราชโอรส ของ มหาราชา เป็น หัวหน้าคณะราชทูต เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน กำลังทำสงครามกับ มหาอาณาจักรน่านเจ้า ทาง ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ขอให้ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ช่วยทำสงครามสนับสนุนกองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๒๙๗ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์(เวน-ตัน) ได้ส่งคณะราชทูต ซึ่งมีพระราชโอรส เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๒๙๗ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โปรดให้ตั้ง ราชบัณฑิตสถานฮั่นหลิน เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับ ลัทธิขงจื้อ และ สร้างความมั่นคงให้กับระบบขุนนางจีน กลายเป็นสถานที่รวบรวมนักปราชญ์ชาวจีน เข้าด้วยกัน มีหน้าที่ตรวจตราภาษาราชการ ทำให้ ลัทธิขงจื้อ ขยายตัวอย่างมั่นคง

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๒๔-๑๒๕)

ปี พ.ศ.๑๒๙๗ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ซึ่งอพยพมาจากดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมีพระราชโอรส ของ มหาราชา เป็น หัวหน้าคณะราชทูต มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๒๙๗ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์(เวน-ตัน) ได้ส่งคณะราชทูต ซึ่งมีพระราชโอรส เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ด้วย พร้อมกับขอร่วมในกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อทำสงครามกับ มหาราชาโก๊ะล่อฝง แห่ง มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

ปี พ.ศ.๑๒๙๗ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ยกกองทัพไปสมทบกับ กองทัพของ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อเข้าโจมตี มหาอาณาจักรไทยน่านเจ้า ทาง ภาคตะวันออก ซึ่งขณะนั้น มหาราชาโก๊ะล่อฝง ครองราชย์สมบัติ อาณาจักรน่านเจ้า

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๖๐)

ปี พ.ศ.๑๒๙๘ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ถูก แม่ทัพลู่ซาน บังคับให้สละราชสมบัติ ในขณะนั้น ฮ่องเต้เสี้ยนจง มีพระสนมถึง ๓,๐๐๐ นาง มีโอรสและธิดาถึง ๕๙ คน และมอบให้ พระราชโอรสซึ่งมีพระนามว่า หลี่เหิง ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ซู่จง(พ.ศ.๑๒๙๙-๑๓๐๕) หลังจากนั้น ฮ่องเต้เสี้ยนจง ได้หลบหนีไปยัง แคว้นเสฉวน ต่อมาอีก ๖ ปี ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ก็เสด็จสวรรคต

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๒๔)

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๐๑-๓๐๒ และ ๓๑๑)

ปี พ.ศ.๑๒๙๙ กองทัพของ แม่ทัพอันลู่ซาน ซึ่งก่อกบฏมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๙๘ สามารถทำสงครามยึดครองราชธานี กรุงลั่วหยาง เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๑๒๙๙ และตั้งตัวเป็น ฮ่องเต้อันลู่ซาน หรือ ฮ่องเต้ต้าเอี้ยน แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) และ สนมเอก พระนางหยางกุ้ยเฟย ต้องหลบหนีไปยังดินแดน ของ แคว้นเสฉวน ต่อมา เกิดกบฏระหว่างเดินทาง พระนางหยางกุ้ยเฟย ถูกบังคับให้แขวนคอตาย

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๐-๓๑๑)

ปี พ.ศ.๑๓๐๑ กำเนิด อาณาจักรฮวนหวัง หรือ อาณาจักรไตเวียต หรือ อาณาจักรฉานชาติ ขึ้นมาแทนที่ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ)

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙ )

ปี พ.ศ.๑๓๐๑ พระเจ้ารุทรวรมันที่ ๒ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน ขึ้นครองราชย์สมบัติ แทนที่

 (จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๒๙ )

ปี พ.ศ.๑๓๐๑ พ่อค้าชาวอาหรับ พยายามนำศาสนาอิสลาม เข้าไปเผยแพร่ ในเมืองกวางตุ้ง แต่เมื่อ ฮ่องเต้ซู่จง(พ.ศ.๑๒๙๙-๑๓๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงชิงผิง ทราบข่าว จึงรับสั่งให้เผา คัมภีร์กุรุอ่าน ของ ศาสนาอิสลาม เสีย และสั่งห้าม เผยแพร่ศาสนาอิสลาม ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างเด็ดขาด

(คาร์ริงตัน กู๊ดริช ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์เคล็ดไทย หน้าที่ ๑๒๐)

ปี พ.ศ.๑๓๐๒ ฮ่องเต้ซู่จง(พ.ศ.๑๒๙๙-๑๓๐๕) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงชิงผิง ส่งกองทัพ ๕๐,๐๐๐ คน เข้ายึดครอง ราชธานี กรุงลั่วหยาง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง สืบทอดราชวงศ์ถัง ต่อไป แต่เกิดการก่อการกบฏขึ้นทั่วดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน รัฐบาลกลาง สามารถควบคุมพื้นที่ได้เพียงประมาณ ๒๕ % เท่านั้น

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๑)

ปี พ.ศ.๑๓๐๕ ฮ่องเต้ซู่จง(พ.ศ.๑๒๙๙-๑๓๐๕) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เสด็จสวรรคต  ลี่หวือ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เป็นรัชกาลถัดมา

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๔)

ปี พ.ศ.๑๓๐๗ เกิดสงครามภายในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ประชาชนล้มตายจำนวนมาก จากประชากรเมื่อปี พ.ศ.๑๒๙๗ มี ๕๒,๘๘๐,๔๘๘ คน คงเหลือเมื่อปี พ.ศ.๑๓๐๗ เพียงจำนวน ๑๖,๘๐๐,๐๐๐ คน เท่านั้น

  (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑๓)

ปี พ.ศ.๑๓๑๐ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตองกิง ในดินแดนซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป เพื่อหนุนช่วย อาณาจักรไตเวียต(เวียตนามเหนือ) ที่กำลังทำสงครามกับกองทัพของ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ผลของสงคราม ผู้ว่าราชการ แคว้นตองกิง สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ออกไปได้ ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

...ในปี พ..๑๓๑๐ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตองกิง ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อหนุนช่วย อาณาจักรไตเวียต (เวียตนามเหนือ) ที่กำลังทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ผลของสงคราม ผู้ว่าราชการ แคว้นตองกิง สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ออกไปได้...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๑๐ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) ได้ยกกองทัพเรือเข้าโจมตี อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ ในดินแดน อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรเวียตน้ำ (เกาะฟิลิปินส์) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ (เกาะบอร์เนียว) ไปตั้งรกรากอยู่ที่ชายฝั่งตังเกี๋ย ของ อาณาจักรจามปา (เวียตนามใต้) จดหมายเหตุจีนได้บันทึกไว้ว่า

...มีกองทัพ ยกกองทัพมาจาก อาณาจักรศรีโพธิ์(อาณาจักรเสียม) และ อาณาจักรคุณหลวง(อาณาจักรมาลัยรัฐ) เข้าทำสงครามรุกราน แคว้นตาเกี๋ย ข้าหลวงจีนมีนามว่า จัง-โป-อี ได้นำกองทัพเข้าต่อต้านกับข้าศึก และได้ทำสงครามขับไล่ข้าศึกให้ต้องถอยทัพ หนีออกไปทางทะเล…”

(ข้อมูลจากหนังสือประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ของ ม..สุภัทรดิศ ดิศกุล แต่ ในหนังสือประวัติศาสตร์ ของ อินโดนีเซีย อ้างว่า ยกกองทัพมาจากเมืองมะตะราม เกาะชวา)

ปี พ.ศ.๑๓๑๔ พระเจ้าภูมี แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมี มหาอุปราช ของ อาณาจักรโพธิ์หลวง ชื่อ ภูมี(โพ-มิ) เป็น หัวหน้าคณะราชทูต ได้ส่งช้างที่ฝึกหัดแล้วไปให้ ๑๑ เชือก มีบันทึกว่า...

...ปี พ.ศ.๑๓๑๔ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ (เวน-ตัน) ได้ส่งคณะราชทูต ซึ่งมี มหาอุปราช มีพระนามว่า ภูมี(โพ-มิ) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นช้างที่ฝึกแล้วจำนวน ๑๑ เชือก ด้วย...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ ๑๖๑)

(ดร.ธิดา สาระยา อาณาจักรเจนละ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๘๕)

ปี พ.ศ.๑๓๑๔ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง โดยมี มหาอุปราช เป็น หัวหน้าคณะราชทูต มีบันทึกว่า...

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๓๑๕ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง พยายามยุยุงให้ มหาราชา ผู้ปกครองอาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) แยกตัวออกเป็นรัฐอิสระ

ปี พ..๑๓๑๕ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) หรือ พ่อศรีสงครามธนัญชัย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ สั่งให้ทำการสร้าง เจดีย์บรมพุทโธ ในดินแดนของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา ภาคกลาง อย่างจริงจัง

ปี พ.ศ.๑๓๑๕ ฮ่องเต้ใต้จง(พ.ศ.๑๓๐๕-๑๓๒๒) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ทำสงครามปราบปราม ชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพุทธศาสนา อย่างรุนแรง เพราะชนชาติอ้ายไต จำนวนมาก กลายเป็นสายลับให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กับ มหาอาณาจักรจีน หายไปนานมาก

 

ปี พ.ศ.๑๓๑๖ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๑๖) หรือ พ่อศรีสงครามธนัญชัย เสด็จสวรรคต พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามว่า พระเจ้าศรีสงครามธนัญชัย หลักฐานจารึกในแผ่นทองแดง ของ มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้กล่าวว่า จักรพรรดิพ่อพระทอง (สิทธิยาตรา) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อใบทอง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลถัดมา

Visitors: 54,293