รัชกาลที่ ๔ มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเธอ(พระยาตะกละ) กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑

 

 

 

 

 


รัชกาลที่ ๔ 

มหาจักรพรรดิพ่อพระยาเธอ(พระยาตะกละ) 

กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ปี พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑ 

 

 

ปี พ.ศ.๑๒๘๔ เมื่อ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย(พ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๘๔) สวรรคต เนื่องจาก พระยาเธอ(พระยาตะกะละ หรือ พระยาตะกละ) ผู้เป็นพระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย จากมเหสี ฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นเจ้าหญิงศรีลังกา ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระเจ้าบุญดะละราชาธิราช แห่ง อาณาจักรศรีลังกา ได้ถือโอกาส ก่อกบฏ ประกาศ ขึ้นครองราชย์สมบัติ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ โดยมิได้มีการ กระทำพิธีการ พิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิ ตามราชประเพณี เพราะถูกต่อต้านจาก มหาราชา ราชา ตลอดไปจนถึง เชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขณะนั้น จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ และ นายกพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) ติดราชการสงคราม จึงมิได้เสด็จมาขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม

ปี พ.ศ.๑๒๘๔ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ มิได้ดำเนินการสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา และ ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ตามราชประเพณี

ปี พ.ศ.๑๒๘๕ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน เพื่อให้ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง เพื่อขอให้รับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นการส่งคณะราชทูต เป็นครั้งสุดท้าย ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลี โฟชิ) มีบันทึกว่า

...ปี พ.ศ.๑๒๘๕ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลี-โฟ-ชี) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิ พ่อพระยาเธอ(หลิว-เต็ง-วิ-กง) (หลวงตะกละ) ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องบรรณาการ ทางฮ่องเต้ ได้พระราชทานตราตั้งให้กับ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ ดำรงตำแหน่งเป็น พิน-อิ-อ๋อง และได้พระราชทานยศทางทหาร ให้เป็นนายทหารเอก ตำแหน่ง ยูชิน วู ไว ต้าเจียนกุน…” (แปลจากรายงานการวิจัยของ โรกุโร กุวาตะ)

ปี พ.ศ.๑๒๘๕ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ หรือ พระยาตะกละ ส่งเสริมการพนัน การชนไก่ ไปทั่วดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเสียม จนกระทั่ง ประชาชน ติดพนันไก่ชน งอมแงม

ปี พ.ศ.๑๒๘๖ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ ให้กำเนิด ตำแหน่ง กำนัน ใหญ่กว่า ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ณ บ้านม่วงงาม กำเนิดตำนาน ประกวดสาวงาม และ นางกำนัน ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งแรก

ปี พ.ศ.๑๒๘๗ นายกพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามกับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน และ อาณาจักรโจฬะ(เขมร)

ปี พ.ศ.๑๒๘๙ จักรพรรดิพีล่อโก๊ะ(พ.ศ.๑๒๗๑-๑๒๙๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห ได้จัดพิธีอภิเษกสมรสระหว่าง พระราชธิดา ของ ฮ่องเต้เสี้ยนจง(พ.ศ.๑๒๕๕-๑๒๙๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กับ พระเจ้าหลานเธอ มีพระนามว่า เฟงกาอี โดยมีวงดนตรีจาก อาณาจักรเตอกตะวันออก มาร่วมบรรเลง ในงาน ด้วย

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๕๙)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ จะทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก แต่ ได้เกิดแผ่นดินไหว คลื่นสาดโตน และ ฝนตกหนัก และพระปรางบนยอดภูเขาสุวรรณคีรี พังลงมา พระแก้วมรกต ตกหล่นจากยอดพระปราง เกิดตำนาน พระแก้วกินข้าวแล้ว กินข้าวเล่า และ ตำนานสระมรกต กำเนิด เมืองสาดโตน (สตูล) มหาจักรพรรดิพระยาเธอ นำ พระแก้วมรกต ไปประทับไว้ ณ วัดพระแก้ว

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ เสด็จ สวรรคต เนื่องจาก แผ่นดินไหว นายกพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) จึงขึ้นครองราชสมบัติ เป็น จักรพรรดิ และ พ่อพระทอง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม แทนที่ โดยที่ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พระยาตะกละ) ยังคงยึดอำนาจ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ท่ามกลางความไม่พอใจ ของ ประชาชน และ ขุนนาง ข้าราชการ อย่างรุนแรง จึงเกิดการลุกขึ้นก่อกบฏ ของขุนนาง และ ประชาชน ทั่วราชธานี กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ สภาโพธิ มีมติพระราชทานพระนามใหม่ให้กับ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ หลังจากการสวรรคต ว่า จันทร์ภาณุศรีธรรมราช

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ จักรพรรดิพ่อใบทอง (ศรีสงครามธนัญชัย) ได้สร้างศิลาจารึก เพื่อเป็นเกียติแก่ มหาจักรพรรดิพ่อศรีธรรมโศก , จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท และ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ปทุมวงศ์ หลังจากที่ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ เสด็จสวรรคต มีคำแปลว่า

       “...สวัสดี พระเจ้าผู้ปกครอง เมืองตาม้าพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ผู้ทรงประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา ทุกๆ พระองค์ ล้วนเป็นผู้สืบสายราชวงศ์ จากราชวงศ์อันรุ่งเรือง คือ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ (สาย พระนางบัวจันทร์) พระนาง มีรูปงาม เหมือนกับ พระกามะ อันมีรูปงามราวกับพระจันทร์ ทรงฉลาดในนิติศาสตร์ คล้ายกับ มหาจักรพรรดิพ่อศรีธรรมโศกราช(ผู้เป็นพระราชบิดา ของ พระนางบัวจันทร์) ซึ่งเป็นหัวหน้าของ ราชวงศ์...(ปทุมวงศ์)...ทรงพระนามว่า ศรีธรรมราชศรีสวัสดี(จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท)

       พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตาม้าพรลิงค์(จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ) เป็นผู้อุปถัมภ์ ราชวงศ์ปทุมวงศ์ พระหัตถ์ของพระองค์ มีฤทธิ์มีอำนาจด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้กระทำต่อมนุษย์ทั้งปวง ทรงเดชานุภาพเท่า พระอาทิตย์ พระจันทร์ และมีพระเกียรติอันเลื่องลือในโลกทั้งปวง พระองค์ทรงพระนามว่า จันทร์ภานุศรีธรรมราช เมื่อกุลียุค ๔๓๓๒(ปี พ.ศ.๑๒๙๑)...

            (แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.ยอร์ช เซเดส์)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ จักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) โปรดเกล้าให้ มหาราชาสิทธิยาตรา(พ่อพระทอง) มารับตำแหน่ง นายก ของ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อเตรียมการให้ จักรพรรดิพ่อใบทอง เตรียมขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิ พระยาเธอ ออกต่อต้าน จึงเกิดจลาจลวุ่นวาย ทั่วทั้งราชธานี กรุงศรีโพธิ์

ปี พ..๑๒๙๑ ขุนนางใน กรุงศรีโพธิ์ (ไชยา) เมืองนครหลวง อดรนทนไม่ได้ จึงส่งกำลังเข้าจับกุม มหาจักรพรรดิพระยาเธอ (พระยาตะกละ) เข้าคุมขังไว้ แล้วไปอัญเชิญ จักรพรรดิพ่อใบทอง (พ่อศรีสงครามธนัญชัย) แห่ง กรุงตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) มาขึ้นครองราชสมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ปี พ.ศ.๑๒๙๑ ท่ามกลางการจลาจล ขุนนางต่างๆ ในพระราชวังหลวง พร้อมใจกันมอบให้ พระทะเม็ญชัย อัญเชิญ พระแก้วมรกต จาก วัดพระแก้ว กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมพระไตรปิฎก ลงเรือสำเภา มุ่งหน้าไปยัง แคว้นตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) เพื่อขอให้ จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ ทำพิธี มหาไชยาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม แต่ เมื่อนำเรือสำเภา ทอดสมอที่ท่าศาลา และ นำช้างมาบรรทุก พระแก้วมรกต เดินทางต่อไป ถึงเพียง เมืองหลักช้าง โดยที่ช้างบรรทุก พระแก้วมรกต ไม่ยอมเดินทางต่อไป และ ทราบข่าวว่า จักรพรรดิพ่อจันทร์ภาณุ เสด็จสวรรคต แล้ว ขุนนางรักษาพระแก้วมรกต จึงรักษาพระแก้วมรกต อยู่ที่ เมืองหลักช้าง ใกล้นครศรีธรรมราช ตำนานพระแก้วมรกต ฉบับพงศาวดารเหนือ บันทึกเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ไว้ว่า...

       ...ชาวเมืองปาตลีบุตร (ศรีโพธิ์-ไชยา) ทั้งปวง มี พระมหากษัตริย์ และ เสนาอำมาตย์ราชมนตรี เศรษฐี พราหมณ์ เป็นประธาน ได้พร้อมใจกันปฏิบัติรักษาบูชา พระแก้วมรกต สืบเนื่องนานมาได้ประมาณ ๓๐๐ ปี(แท้จริง ๒๙๕ ปี)...จึงมาถึง กษัตริย์เจ้าพระองค์หนึ่ง ทรงนามว่า พระเจ้าตะกะละ (พระยาตะกละ หรือ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ) เป็นหลาน แห่ง พระมหากษัตริย์ พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าบุนดะละราชาธิราช(กษัตริย์ของ อาณาจักรศรีลังกา) ท่านได้ครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์เมืองปาตลีบุตร ซึ่งท่านจะต้องปฏิบัติรักษาพระแก้วมรกต ตามราชประเพณีต่อไป....แต่นั้น มีศึกสงครามเกิดขึ้น ในเมืองปาตลีบุตร คนทั้งปวงรบพุ่งกันฉิบหาย ล้มตายมาก ผู้รักษาพระแก้วมรกต เห็นเหตุไม่ดี กลัวพระแก้วมรกต จะฉิบหาย เขาจึงเชิญพระแก้วมรกต ขึ้นสู่สำเภาลำหนึ่ง พร้อมด้วย พระไตรปิฎกธรรมเจ้า กับสิ่งของอันควรทั้งปวง สำหรับใช้บูชาพระแก้วมรกต ขึ้นสู่เรือสำเภา ด้วย แล้วเขาก็พาหนีไปสู่กัมโพชวิสัย(นครศรีธรรมราช) ...  

(จาก พระแก้วมรกต ของไทย โดย ธรรมทาส พานิช สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๗ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๖)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ จักรพรรดิพีล่อโก๊ะ(พ.ศ.๑๒๗๑-๑๒๙๑) แห่ง มหาอาณาจักรน่านเจ้า กรุงไตโห ได้เสด็จ สวรรคต พระราชโอรส มีพระนามว่า จักรพรรดิโก๊ะล่อเฟง(พ.ศ.๑๒๙๑-๑๓๒๑) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรน่านเจ้า ในขณะที่มีพระชนมายุ ๓๖ พรรษา โดยมอบให้ เฟงกาอี เป็นผู้ว่าราชการ เมืองยางกวาชู(เมืองเม่งหว่า ในปัจจุบัน)

(งานค้นคว้าเรื่อง ชนชาติไทย ของ หลวงวิจิตรวาทการ สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์ พ.ศ.๒๕๔๙ หน้าที่ ๖๐)

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ เกิดเหตุความไม่สงบที่เกิดขึ้นในราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพ่อใบทอง ต้องเสด็จมาคลี่คลายสถานการณ์ที่ แคว้นมหาจักรพรรดิ หรือ แคว้นนครหลวง โดยเสนอให้ มหาจักรพรรดิพระยาเธอ(พ.ศ.๑๒๘๔-๑๒๙๑) หรือ พระยาตะกละ ต้องอพยพ พวกเธอ พร้อมกับญาติพี่น้อง ไปเป็นราชาสร้างแคว้นใหม่ คือการกำเนิด เมืองปราณบุรี ในเวลาต่อมา นั่นเอง

 

ปี พ.ศ.๑๒๙๑ จักรพรรดิพ่อใบทอง(ศรีสงครามธนัญชัย) มอบให้ขุนนาง ไปอัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ จาก เมืองโพธิ(ยะลา) มาใช้เป็นพระประธาน บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี เพื่อใช้เป็นพระประธานใน พิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ในการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ต่อไป

Visitors: 54,244