รัชกาลที่ ๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ กรุงศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕

รัชกาลที่ ๒

มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ 

กรุงศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕

 

 

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ มหาจักรพรรดิ พ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) และ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) สวรรคต ในสงคราม นายกพ่อศรีทรัพย์ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) โดยมี พ่อโกลี เป็น จักรพรรดิพ่อโกลี และมี พ่อศรีวิชัย เป็น นายก ต่อมาจักรพรรดิพ่อโกลี สวรรคต พ่อศรีวิชัย จึงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น จักรพรรดิ และมี พ่อจันทร์ภาณุ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๒

ปี พ.ศ. ๑๒๓๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พระราชทาน ที่ดิน พระราชวังดอนค่าย เกาะโพธิ์เรียง(พุมเรียง) เป็นสถานที่สร้างวัด จึงโปรดเกล้าให้ ก่อสร้าง วัดโพธาราม เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง และ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ซึ่ง สวรรคต ไปแล้ว เพื่อสืบทอดราชประเพณี สร้างวัดทางพระพุทธศาสนา เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และ นายก ผู้ล่วงลับไปแล้ว ตามที่ปฏิบัติกันมาในอดีต

ปี พ.ศ. ๑๒๓๒ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) โปรดเกล้าให้ พระราชกุมารโฆษ(พ่อกาแก้ว) เป็น ประธานสภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ สภาโพธิ มีมติ พระราชทานพระนามใหม่ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง หลังจากการเสด็จสวรรคต ว่า พระอโลกิเตสวน และ พระราชทานพระนามใหม่ให้กับ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท หลังจากการเสด็จสวรรคต ว่า พระศรีธรรมราชศรีสวัสดี

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ พระนางมัญชุศรี ซึ่งเป็น อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง และ เป็นพระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) ได้ออกบวชเป็น ชีพราหมณ์ อยู่ที่ เมืองพรุยายชี ตามราชประเพณี เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ มหาจักรพรรดิ พ่ออู่ทอง ต่อมา พระนางมัญชุศรี จึงอุทิศชีวิตตนเอง ออกไปเผยแพร่พุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ มาโดยตลอด

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ จักรพรรดิพ่อโกลี โปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาตาโกลก ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็น ราชา ปกครอง แคว้นโกลี มีการเปลี่ยนชื่อ เมืองโกลี เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองสุไหงโกลก

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ พระยาเธอ พระราชโอรส ของ นายกพ่อศรีวิชัย กลายเป็นผู้ปกครอง แคว้นศรีวิชัย อาณาจักรชวาทวีป ได้สร้างสนมกรมวัง ไว้ที่ ภูเขาศรีวิชัย เป็นจำนวนมาก

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ หลวงจีนอี้จิง เดินทางจาก เมืองกวางตุ้ง มหาอาณาจักรจีน มายัง เมืองโพธิ(ยะลา) อาณาจักรมาลายู ของ สหราชอาณาจักรเสียม อีกครั้งหนึ่ง เพื่อมาพำนักอยู่ที่ เมืองโพธิ(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการคัดลอก และทำการแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสันสกฤต ไปเป็น ภาษาจีน ทั้งนี้เพราะสามารถสอบถามข้อสงใสต่างๆ จากผู้รู้ได้เป็นอย่างดี

ปี พ.ศ.๑๒๓๓ เจ้าพระยาตากาลก พระราชโอรส ของ มหาราชาตาโกลี ซึ่งประสูติจาก สายราชวงศ์กลิงค์ และเป็นพระอนุชา ของ มหาราชาตาโกลก ให้กำเนิด อาณาจักรตากาลก แทนที่ อาณาจักรเวียตน้ำ(ฟิลิปินส์) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรใหม่ว่า อาณาจักรตากาลก เป็นอีก อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๓๓ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มอบให้ นายกพ่อศรีวิชัย ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ของ ชนชาติมอญ พร้อมกับทำการยุบเลิก อาณาจักรหงสาวดี ให้เป็นเพียง แคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู)

ปี พ.ศ.๑๒๓๓ ฮ่องเต้ลุ่ยจง(พ.ศ.๑๒๒๗-๑๒๓๓) เสด็จสวรรคต เป็นเหตุให้ พระนางอู๋เจ๋อเทียน ทำพิธีบรมราชาภิเษก เป็น จักรพรรดินีเซิ่งเสิน(อริยะเทพ) หรือ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) เป็นฮ่องเต้ แห่ง ราชวงศ์โจว ปกครอง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง มีพระนามใหม่ว่า ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) ในรัชกาลถัดมา เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๑๒๓๓ ขณะที่พระนาง มีพระชนมายุ ๖๕ พรรษา

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๒๙๕)

ปี พ.ศ.๑๒๓๔ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็นแคว้นนครหลวง และ เมืองอื่นๆ ในดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป มีพลเมืองเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้ง ประชาชน ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนของ อาณาจักรม้าตาราม อพยพไปตั้งรกราก ณ อาณาจักรกาลี้ เป็นจำนวนมาก มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) จึงได้อพยพชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่านาคา หรือ ชนเผ่าชวา ไปตั้งรกรากอยู่ในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม เกาะราม(เกาะชวา) จึงเป็นที่มาให้ พระนางมัญชุศรี ได้เสด็จออกไปช่วยเผยแพร่พุทธศาสนา ให้กับประชาชนในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม หมู่เกาะราม(เกาะชวา) เป็นการเข้าไปช่วยเหลือ พระนางศรีจันทร์ และ พระนางมาลิสา อีกแรงหนึ่ง ด้วย

ปี พ.ศ.๑๒๓๔ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) เปลี่ยนชื่อ ดินแดนอาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) ดั้งเดิม เป็นชื่อใหม่ว่า ดินแดนชวาภูมิ คือดินแดนส่วนหนึ่ง ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ และเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรมาลัยรัฐ ว่า อาณาจักรมาลายู เพื่อให้เกียรติ แก่ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิติ สายราชวงศ์ พระนางแพรไหม หรือ หม่อมศรีโพธิ์

ปี พ.ศ.๑๒๓๕ มหาราชาท้าวศรีไกรสร(พ.ศ.๑๑๓๒-๑๒๓๕) แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรโพธิ์หลวง กรุงเวียงจันทร์ จากการรุกราน ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) ซึ่งอพยพมาจาก เกาะบอร์เนียว-ตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๓๒ และเกิดสงครามอย่างยืดเยื้อ ผลของสงคราม มหาราชาท้าวไกรสร สวรรคต ในสงคราม พระราชโอรส มีพระนามว่า มหาราชาท้าวไชยราช(พ.ศ.๑๒๓๕-๑๒๕๖) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรคามลังกา ในรัชกาลถัดมา ส่วนสงครามในดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ยังคงยืดเยื้อ ต่อไป

ปี พ.ศ.๑๒๓๕ หลวงจีนอี้จิง ใช้เวลาเขียนหนังสืออยู่ที่ เมืองโพธิ(ยะลา) ๔ ปี ได้ส่งหนังสือต้นฉบับ เล่มที่-๒ ชื่อ บันทึกความทรงจำของพระภิกษุที่เดินทางไปแสวงธรรม ในดินแดนตะวันตก ซึ่งเพิ่งเขียนขึ้นสำเร็จ กลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน  หลวงจีนอี้จิง เดินทางจาก เมืองโพธิ(ยะลา) สหราชอาณาจักรเสียม กลับไปยัง เมืองกวางตุ้ง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เพราะหมึกเขียนหนังสือหมด หลวงจีนอี้จิง จึงต้องเดินทางกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน เพื่อหาหมึก และ กระดาษ มาใช้เขียนหนังสือ มาเพิ่มเติม และ ผู้ช่วยอีก ๔ คน มาช่วยคัดลอกพระไตรปิฎก ด้วย

ปี พ.ศ.๑๒๓๘ หลวงจีนอี้จิง เดินทางจาก เมืองโพธิ(ยะลา) สหราชอาณาจักรเสียม กลับไปยัง เมืองกวางตุ้ง มหาอาณาจักรจีน  

ปี พ.ศ.๑๒๓๘ มหาราชาหะริวิกรม(พ.ศ.๑๒๓๑-๑๒๓๘) พระชนมายุ ๔๑ พรรษา ราชวงศ์วิกรม แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) เสด็จสวรรคต มหาราชาศรีหะริวิกรม(พ.ศ.๑๒๓๘-๑๒๖๑) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) ในรัชกาลถัดมา

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๔ )

 (หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า ปี พ.ศ.๒๕๔๘ หน้าที่ ๑๗)

ปี พ.ศ.๑๒๓๘ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) ซึ่งมีพระชนมายุ ๙๒ พรรษา แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) หรือ พระนางบูเช็คเทียน(อู๋เจ๋อเทียน) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง จดหมายเหตุจีนเรียกพระนามว่า ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ ว่า ศรีทรัพย์(ชีลี-เท-โร-ปะโม) มีบันทึกสั้นๆ ว่า

...ปีที่ ๕ รัชสมัย พระนางบูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๘) มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ (ชีลี-โฟ-ชิ) ซึ่งมีพระนามว่า ศรีทรัพย์(ชีลี-เท-โร-ปะ-โม) ได้ส่งราชทูต ชื่อ .... เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปสร้างสัมพันธไมตรี และ ถวายสิ่งของที่ระลึก แด่ ฮ่องเต้เซิ่งเสิน(พระนางบูเช็คเทียน) แห่ง มหาอาณาจักรจีน…”

(แปลจากหนังสือ ของ นายโรกุโร กุวาตะ)

ปี พ.ศ.๑๒๔๐ อาณาจักรกาลี้(บอร์เนียว-ตะวันออก) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะราม(เกาะชวา) มหาราชาพ่อสันนา และ พระนางมาลิสา ถูกกบฏ ลอบวางยาพิษ สวรรคต ในขณะที่ทำสงครามกับ ข้าศึก

ปี พ.ศ.๑๒๔๐ จักรพรรดิพ่อโกลี และ เจ้าพระยาศรีสงครามธนัญชัย ยกกองทัพไปทำสงคราม ปราบปราม กบฏ ในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ.ศ.๑๒๔๐ จักรพรรดิพ่อโกลี โปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาศรีสงครามธนัญชัย เป็น มหาราชาศรีสงครามธนัญชัย(พ่อใบทอง) ปกครอง อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา มี ราชาศรีสัญชัย ซึ่งอภิเษกสมรส กับ พระนางนาลิสา(พระราชธิดา ของ พระนางมาลิสา และ มหาราชาสันนา) เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ.ศ.๑๒๔๐ พระนางมัญชุศรี เสด็จไปร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ ของ มหาราชาสันนา และ พระนางมาลิสา ได้ถือโอกาส ออกเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักรม้าตาราม เกาะชวา

ปี พ..๑๒๔๑ มหาราชาพ่อใบทอง หรือ มหาราชาพ่อศรีสงครามธนัญชัย เป็นผู้ไปปกครอง อาณาจักรม้าตาราม ขึ้นมาในดินแดนภาคตะวันออก ของ เกาะราม พระนางมัญชุศรี เป็นผู้ติดตามไปเผยแพร่พุทธศาสนา ด้วย

ปี พ.ศ.๑๒๔๔ ศาสนาอิสลาม เริ่มเข้าสู่ประเทศอินเดีย เมื่อชาวอาหรับ ได้ส่งกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนลุ่มแม่น้ำสินธุ เป็นผู้รุกรานกลุ่มแรกที่นำศาสนาอิสลาม เข้ามาในประเทศอินเดีย มีเจตนาเข้ามาปล้นชิงทรัพย์สิน เข้ายึดโบสถ์ฮินดู และ วัดทางพระพุทธศาสนา ดำเนินการสิงสำคัญ ๓ ประการ คือ เก็บกวาดทรัพย์สินอันมีค่า จับเชลยศึกไปขายเป็นทาส และทำลายสิ่งก่อสร้างสำคัญ ของ ศาสนาอื่นๆ เมื่อชาวอาหรับ สถาปนาอำนาจรัฐ ขึ้นมาแล้ว ก็จะสร้างความแตกต่างระหว่างผู้นับถือศาสนาอิสลาม กับ ศาสนาอื่น กำหนดให้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ต้องเสียภาษี การจาริกแสวงบุญ ในกรณีเกิดคดีความ ต้องตัดสินด้วยกฎหมายอิสลาม เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องนับถือศาสนาอิสลาม เท่านั้น

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) ซึ่งมีพระชนมายุ ๙๙ พรรษา ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้บูเช็คเทียน(พ.ศ.๑๒๓๓-๑๒๔๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง บันทึกของ จดหมายเหตุจีนเรียกพระนามว่า ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์ ว่า ศรีทรัพย์(ชีลี-เท-โร-ปะโม) มีบันทึกสั้นๆ ว่า

...ปีที่ ๑๒(พ.ศ.๑๒๔๕) รัชสมัยของ ฮ่องเต้เซิ่งเสิน(พระนางบูเช็คเทียน) มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลีโฟชิ-ไชยา) ซึ่งมีพระนามว่า ศรีทรัพย์(ชีลี-เท-โร-ปะ-โม) ได้ส่งราชทูตชื่อ.... เป็นหัวหน้าคณะราชทูตไปสร้างสัมพันธไมตรี และ ถวายสิ่งของที่ระลึก แด่ พระนางบูเช็คเทียน ของ มหาอาณาจักรจีน…”

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ เกิดสงครามในสมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ระหว่าง อาณาจักรจามปา(เวียตน้ำ) กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ต้องส่งกองทัพไปช่วยเหลือ

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ จักรพรรดิพ่อโกลี สวรรคต ในการทำสงครามปราบปราม ณ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งอพยพจาก อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะบอร์เนียว) เข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๓๒ สภาต่างๆ จึงมีมติให้ นายกพ่อศรีวิชัย ขึ้นเป็น จักรพรรดิ ส่วน พ่อจันทร์ภาณุ ได้รับโปรดเกล้าให้ ดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์

ปี พ.ศ.๑๒๔๕ มหาจักรพรรดิพ่อศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๒๓๒-๑๒๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ซึ่งมีพระชนมายุ ๙๙ พรรษา เสด็จ สวรรคต ด้วยโรคชรา

 

 

 

 

Visitors: 54,280