รัชกาลที่ ๑ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒)

 

          

 รัชกาลที่ ๑

 มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง

(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒)

 

ปี พ.ศ.๑๒๒๔ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๑๒๒๔ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิต(พ.ศ.๑๒๐๒-๑๒๒๔) ทำพิธี มหาไชยาบรมราชาภิเษกต่อหน้าพระแก้วมรกต บนยอดภูเขาทอง  หรือ ภูเขาสุวรรณคีรี ประกาศเปลี่ยน พระนามเป็น มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง เป็นการใช้คำว่า พ่อ นำหน้า ชื่อ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และ นายก  แทนที่คำว่า ท้าว ประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์ เป็น สหราชอาณาจักรสิริโพธิ หรือ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยมี จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการที่ กรุงตาม้าพรกลิงค์(นครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็น เมืองจักรพรรดิ และมี นายกพ่อศรีทรัพย์(ขุนชวา) เป็น นายก ว่าราชการที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๑

ปี พ.ศ.๑๒๒๔ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๑๒๒๔ มหาจักรพรรดิพ่อพ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ร่วมกับ กษัตริย์ ๗ พระองค์ ได้ร่วมกันปลูกต้นโพธิ์ ๗ กษัตริย์ ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ประกาศใช้ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ

ปี พ.ศ. ๑๒๒๔ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง โปรดเกล้าให้ พระราชญาณภัทร(ตาผ้าขาวเถระรอด) เป็น ประธานสภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๒๔ กำเนิด ประเพณีสงกรานต์ หรือ ประเพณีสิ้นปี และ ขึ้นปีใหม่ ณ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง เป็นประเพณี ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๒๔ เกิดการรณรงค์ ต่อต้านการทำตอแหล ขึ้นทุกๆ อาณาจักร ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยใช้ หนังตะลง ลิเก ยี่เก ละคร มะโนรา และ ละคร ออกไปเคลื่อนไหว

ปี พ.ศ.๑๒๒๕ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๑๙๒-๑๒๒๖) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง ได้ส่งคณะราชทูต มายัง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และได้บันทึกไว้ มีเนื้อหาว่า…….

       “...ปี พ.ศ.๑๒๒๕ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ชีลี-โฟ-ชิ) มาจากสายราชวงศ์อู่ทอง(อั๋วกวั่ว) มีพระนามว่า พ่ออู่ทอง(ฟู-อั๋วกวั่ว) ทรงเป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง หลายอาณาจักร ภายในเมืองนครหลวง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งพระราชวัง ทั้งหมด ส่วนภายนอกพระราชวัง มีประชาชนอาศัยอยู่มากกว่า ๑๐,๐๐๐ ครัวเรือน มีทหารรักษาพระราชวังหลวง(เกาะดอนขวาง) มากกว่า ๑๐๐ คน  ตำแหน่งขุนนางสำคัญ มี ตำแหน่ง พระยาจักรกรี(เฉา-ฉิ่ง) และ ขุนคลัง(จาง-จุน) และมีตำแหน่งอื่นๆ คอยดูแลราชการงานทหาร และ งานเมือง ของ สหราชอาณาจักรเสียม

       แผ่นดินราชธานีกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีผลผลิตกระดองเต่า ทองคำ เงิน นอแรด และงาช้าง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นราชธานีที่ร่ำรวยมาก ในกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีภูเขาอยู่แห่งหนึ่ง(ภูเขาสุวรรณคีรี) ซึ่งมีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง(ถ้ำใหญ่) ซึ่งมีน้ำเค็มผุดออกมาอย่างต่อเนื่อง ประชาชนในกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทำเหล้าจากดอกมะพร้าว เมื่อดื่มแล้วเมาเร็ว ราชธานีกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีตัวหนังสือใช้ พวกเขาคุ้นเคยกับ วิชาดาราศาสตร์ เมื่อรับประทานอาหาร พวกเขาใช้วิธีมือเปิบข้าว พวกเขาไม่นิยมใช้ช้อน และ ตะเกียบ

       ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีหญิงที่มีพิษ ใครได้หลับนอน ร่วมเพศสัมพันธ์ กับ หญิงเหล่านั้น จะเป็นแผลเน่าเปื่อยพุพอง และตายไป แต่ศพจะไม่เน่าเปื่อย

       มหาจักรพรรดิ(พ่ออู่ทอง) จะประทับอยู่ที่กรุงศรีโพธิ์ บรรพบุรุษเคยอยู่ที่ เมืองเทียน(ยะลา) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ เมืองตาโกลา(กันตัง) มีเมืองเล็กๆ ตั้งอยู่รายล้อมรอบๆ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อยู่ ๘ เมือง การบริหารประเทศ จะมีคณะมุขมนตรีทั้งหมด ๓๒ ตำแหน่ง ตำแหน่งที่สำคัญอันดับหนึ่งคือ ดาโชกันฮุง(ประธานสภาปุโรหิต)

       ที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิ ตั้งอยู่ที่ เกาะกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เกาะนี้(เกาะดอนขวาง) มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่ง(ภูเขาสุวรรณคีรี) ซึ่งมหาจักรพรรดิ จะขึ้นไปบ่อยๆ เพื่อชมทะเล...

(แปลจากหนังสือ ของ โรกุโร กุวาตะ)

ปี ๑๒๒๖ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ต้องการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับ ประเทศโพธิ์กลิงค์บัง เพื่อเข้าไปควบคุม ช่องแคบม้าละกา(มะละกา) จึงได้ส่งราชทูต ไป เจริญสัมพันธ์ไมตรี และ สู่ขอ พระนางไทร ราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะชบาตะวันตก(สุมาตรา) มาเป็น พระชายา ของ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นที่มาให้ มหาราชามังร่า ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง เกาะชบาตะวันตก(สุมาตรา) ต้องส่ง เจ้าหญิงไทร ไปเป็นพระชายา ของ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง แต่ข่าวดังกล่าว รั่วไหลไปสู่ มหาราชา ของ อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) เชื้อสายราชวงศ์กลิงค์

ปี พ.ศ.๑๒๒๖ ในขณะที่ เจ้าหญิงไทร เดินทางโดยทางเรือ อยู่กลางทะเล มุ่งหน้าสู่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ราชามังร่า เจ้าชายพระองค์หนึ่ง แห่ง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) ได้นำกองทัพเรือเข้าปล้นสะดม และแย่งเจ้าหญิงโพธิ์กลิงค์บัง ไปเป็นชายา จนมีพระครรภ์  แต่ต่อมา เจ้าหญิงไทร สามารถหลบหนีไปพบ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง ได้  ดังนั้น เมื่อคณะเดินทางมาส่งมอบตัว เจ้าหญิงไทร ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น เจ้าหญิงไทร ก็ทรงพระครรภ์แล้ว 

ปี พ.ศ.๑๒๒๖ ราชามังร่า เจ้าชายแห่ง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) เมื่อ ทราบว่าเจ้าหญิงโพธิ์กลิงค์บัง หนีไปได้ ก็ยกกองทัพ มายึดภูเขาศรีวิชัย ไว้เป็นที่ตั้งกองทัพ  เตรียมทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)  เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง จึงได้ส่ง เจ้าหญิงไทร ไปอยู่ที่ เมืองนครปะถม แคว้นจักรนารายณ์ จนกระทั่งประสูติพระราชโอรส พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายสัญชัย เป็นต้นราชวงศ์สัญชัย ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๒๒๖ เกิดสงครามแย่งชิง พระนางไทร ณ สมรภูมิ ภูเขาศรีวิชัย ระหว่าง พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(เกาะสุมาตรา-ตะวันออก) กับ เจ้าพระยาศรีวิชัย แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ผลของสงคราม เจ้าพระยาศรีวิชัย มีชัยในสงคราม พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(เกาะสุมาตรา-ตะวันออก) ถอยทัพ มุ่งหน้าไปยัง แคว้นจักรนารายณ์ จึงพระราชทานพระนามภูเขาดังกล่าวว่า ภูเขาศรีวิชัย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ปี พ.ศ.๑๒๒๖ เกิดสงครามแย่งชิง พระนางไทร ณ สมรภูมิ ภูเขาสามร้อยยอด ระหว่าง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) กับ พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ผลของสงคราม พระเจ้ามังร่า แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) สวรรคต ในสงคราม

ปี พ.ศ.๑๒๒๖ ฮ่องเต้เกาจง(พ.ศ.๑๑๙๒-๑๒๒๖) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๑๒๒๖ พระนางอู๋เจ๋อเทียน จึงแต่งตั้งให้ หลีเจ๋อ พระราชโอรส พระองค์ที่ ๓ สืบทอดราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๒๖-๑๒๒๗) แทนที่ เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๑๒๒๖ โดยมีเงื่อนไขว่า ให้ปรึกษา พระนางอู่หวงโฮ่(อู๋เจ๋อเทียน) ซึ่งเป็น พระราชมารดา ด้วย 

(ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๒๘๙)

ปี พ.ศ.๑๒๒๗ พระนางอู๋เจ๋อเทียน สั่งปลด ฮ่องเต้จงจง(พ.ศ.๑๒๒๖-๑๒๒๗) ซึ่งขึ้นครองราชย์สมบัติได้เพียง ๔๕ วัน ออกจากตำแหน่ง แล้วเนรเทศไปอยู่ที่ เมืองเฉินตู แคว้นเสฉวน เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๒๒๗ ต่อมา พระนางอู๋เจ๋อเทียน ได้แต่งตั้งให้ หลี่ต้าน เป็น ฮ่องเต้ มีพระนามใหม่ว่า ฮ่องเต้ลุ่ยจง(พ.ศ.๑๒๒๗-๑๒๓๓) ในรัชกาลถัดมา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๑๒๒๗

 (ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๒๙๐)

ปี พ.ศ.๑๒๒๗ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๑๒๒๗ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดย จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ได้ยกกองทัพ ๒๑,๓๑๒ คน ทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือ ออกจาก กรุงตาม้าพรกลิงค์(นครศรีธรรมราชา) เพื่อเดินทาง เข้าโจมตี อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง)  

ปี พ.ศ.๑๒๒๗ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๑๒๒๗ กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นำทัพโดย จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ได้นำกองทัพไปหยุดพักที่ ปากแม่น้ำตาราม(มิ-นา-งะ-ตาม-วัน) เพื่อเตรียมการนำกองทัพ เดินทางอีก ๗๐ กิโลเมตร เข้าโจมตี เมืองโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) อันเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ของ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกาะสุมาตรา

ปี พ.ศ.๑๒๒๗ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๑๒๒๗ กองทัพของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่งกองทัพเข้ายึด กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เป็นผลสำเร็จ และได้สำเร็จโทษ มหาราชามังเร่ พระองค์ใหม่ ของ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เรียบร้อย  แล้วจึงส่ง ผู้สำเร็จราชการ(ตาดู) จากกรุงศรีโพธิ์ ไปปกครองเมืองไว้ชั่วคราว เพื่อทำการกวาดล้างข้าศึก จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท ได้ทำการสร้างศิลาจารึก สงครามครั้งนั้น ไว้เป็นหลักฐาน  ศิลาจารึกดังกล่าวพบที่  เชิงภูเขา บู-กิต-เซ-กุน-ตังใกล้เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา(พบเมื่อ พ..2463) เรียกว่า ศิลาจารึก  เกตุกัน บูกิต มีเนื้อหาว่า….

...สวัสดี ความมีโชคในศก ๖๐๔(ปี พ.ศ.๑๒๒๗) ที่ล่วงไปแล้ว  วันที่ ๑๑ แห่งปักษ์อันสว่าง ของเดือนไวสาขะ(วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๑๒๒๗)  มหาราชาได้เสด็จลงเรือเพื่อยกทัพอันสำเร็จผล   ในวันที่ 7 แห่งปักษ์อันสว่าง แห่งเดือนเจษฐ(วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๑๒๒๗) พระองค์ได้เสด็จจากแม่น้ำ  มินางะตามวัน พระองค์ทรงนำกองทัพจำนวนพล ๒๐,๐๐๐ คน ผู้ตามเสด็จ….(พ่อหะนิมิตร) นับจำนวนได้ ๒๐๐ คน ไปโดยทางเรือ และผู้ติดตามทางบกนับจำนวนได้ ๑,๓๑๒ คน กองทัพทั้งหมดได้มาถึงยังมลายูด้วยใจปิติ เมื่อวันที่ ๕ แห่งปักษ์อันสว่าง ของเดือนอาษาฒ(วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๑๒๒๗)(พ่อหะนิมิตร)….การสิทธิยาตร เพื่อชัยชนะ ได้บรรลุความรุ่งโรจน์ ความปิติ และยังประเทศ….(ศรีโพธิ์) ให้เจริญ มีอำนาจ และ ความมั่นคง…” 

      (แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ เป็นผู้แปล) (จากหนังสือ โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ในการศึกษาวิเคราะห์ โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๖-๗๙)

      ปี พ.ศ.๑๒๒๗ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) เป็นผลสำเร็จ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรม้าตาราม(มะตะราม) ปกครองโดย พระเจ้าบังกา เป็น มหาราชา และมี มหาอุปราชสันนา พระราชโอรส ของ พระนางสันลิกา(พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) กับ พระเจ้ามังกา เป็น มหาอุปราช

ปี พ..๑๒๒๘ มหาราชาพ่อภาณุ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรชบาตะวันตก กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เรียบร้อยแล้ว โดยมีเมืองนครหลวงของอาณาจักร ตั้งอยู่ที่ เมืองโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เกาะสุมาตรา มีกองทหารของพระองค์เองที่เข้มแข็ง เรียบร้อยแล้ว มีการเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา-ตะวันออก) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เป็นชื่อใหม่ว่า ประเทศปัจจันต์ เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ยังมิได้ทำสงครามกับ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ เกาะสุมาตรา แต่อย่างใด

ปี พ.ศ.๑๒๒๘ มหาราชาพ่อภาณุ พระราชโอรส ของ จตุคามรามเทพ ให้กำเนิด ประเทศปัจจันต์ หรือ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง เป็นอีกอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ แต่ได้ดำเนินการปกครอง ไม่นาน ประชาชนในดินแดน กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ

ปี พ.ศ.๑๒๒๘ มหาราชาพ่อภาณุ แห่ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้สร้างคำสาบาน สลักไว้บนแท่งหิน เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๘ เพื่อใช้ในพิธีดื่มน้ำสาบานร่วมกัน เพื่อให้ขุนนางต่างๆ จงรักษ์ภักดี ต่อ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ประเทศปัจจันต์) และ สหราชอาณาจักรเสียม ปัจจุบันเรียกชื่อแท่งหินดังกล่าวว่า ศิลาจารึกจารึก เตลากา บากู ซึ่งพบที่ เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเชีย เป็นแท่งหินสูง ส่วนยอด เป็นรูปพญานาค ๗ เศียร ตอนล่างเป็นรางน้ำ เพื่อใช้รับน้ำสาบาน มหาราชาพ่อภาณุ สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีดื่มน้ำสาบาน เพื่อทำพิธีสาบานก่อนที่จะยกกองทัพไปโจมตีพวกทมิฬโจฬะ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ จารึกในตอนท้าย จะกล่าวถึง ตันตระ ซึ่งเป็น คำภี ของพุทธศาสนามหายาน ลัทธิวัชรยาน หรือ ลัทธิพุทธตันตระ ซึ่งจะใช้เวทมนต์ เข้ามาใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ ของ พุทธศาสนานิกายมหายาน มากมาย ศิลาจารึกนี้ มีคำแปล ดังต่อไปนี้

...โอม สิทธิ….(เป็นคาถาเวทมนต์ทางไสยศาสตร์).....

...พวกท่าน และ พวกข้า ทั้งหลาย ที่มารวมกัน ณ ที่นี้ ไม่ว่าจะเป็น ราชบุตร เจ้าเมือง(ภูบดี) แม่ทัพ  นายกะ(ผู้นำชนเผ่า) ข้าราชบริพาร….(?)….ตุลาการ หัวหน้าของ…. สารวัตรคนงาน สารวัตรวรรณต่ำ ช่างทำมีด กุมารามาตย์ จาฏภัก อธิกรณะ..... เสมียน ช่างเกะสลัก นายเรือ พ่อค้า ผู้บังคับการ...และ เจ้า คนซักผ้าหลวง และ ทาสหลวง ทั้งหลาย

ท่านทั้งหมดนี้ จะถูกสังหารด้วยคำสาปแช่ง ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน ถ้าท่านไม่ภักดี ต่อข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) ท่านจะถูกสังหารด้วยคำสาป อนึ่งถ้าท่านประพฤติตนตนเป็นคนกบฏ วางแผนกับพวกที่(...ข้าศึก...) ติดต่ออยู่กับศัตรูของข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) หรือถ้าท่านสมคบกับ ตาดู(ข้าราชการ) เพื่อแอบสอดแนมให้กับข้าศึก ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

อนึ่ง ถ้าท่านเป็นหนึ่งในบริวาร (?)  ของศัตรูของข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) หรือ ของ ตาดู(ข้าราชการ) ที่คอยสอดแนมผู้อื่น หรือของครอบครัว หรือสหายของท่าน ของคนใช้ของท่าน หรือของเจ้านายอื่น ที่คอยสอดแนมผู้อื่น ถ้าท่านติดต่อกับคนก่อกบฏ ที่วางแผนเป็นศัตรู กับข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) ก่อนที่พวกมันจะรวมหัวกัน กับคนที่ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) และต่อ อาณาจักรของข้า(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) และถ้าท่าน ไปสมคบกับพวกมัน ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

อนึ่ง ถ้าพวกท่าน ไปตกแต่งคำสาปบนแท่งหินนี้ หรือถ้าท่านทำการโจรกรรม ไม่ว่าพวกท่าน จะมาจากตระกูลต่ำ  กลาง หรือสูง ถ้าโดยการใช้ว่าน ท่านทำให้ข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) หรือคนที่ข้าที่ต้องต้องพิทักษ์ ต้องเสียจริต หรือถ้าท่าน(สมคบกับ).. ของคนที่โจมตีพระราชวัง(กราตอน) ของข้า ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

อนึ่ง ถ้าท่าน..(ถูกกล่าวหา)...ว่า ท่านเป็นชู้ กับ หญิงฝ่ายใน ของข้า เพื่อที่ท่านมุ่งร้ายที่จะสืบเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชฐานชั้นในของข้า หรือติดต่อกับพวกที่ ขนทอง หรือทรัพย์ หรือถ้าท่านติดต่อกับคนที่ทำงานในเขตพระราชฐานชั้นใน เพื่อปล้นทรัพย์สิน และหนีไปกับ โจร พร้อมกับลำเลียงทรัพย์ ออกไปจากแผ่นดินของข้า และใช้เล่ห์เพทุบายกับท่าน เพื่อเอาของหลบหนีไปให้กับศัตรูของข้า ไปให้แก่ ตาดู(ข้าราชการ) ของข้าศึก ซึ่งทำหน้าที่สอดแนมข่าวสารให้กับข้าศึก ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

อนึ่ง ถ้าท่านต้องตายเนื่องจากการก่อกบฏ ก่อนที่ท่านจะสามารถทำลายพระราชวัง ของข้า สำเร็จ หรือสามารถหลบหนีไปได้ หรือช่วยคนอื่นๆ ให้หลบหนีไปได้ ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ถ้าท่าน..(ให้สินบนโดย)...ใช้ทองคำ หรือใช้เพชรนิลจินดา เพื่อจะใช้เป็นค่าจ้างในการทำลาย พระราชวัง(กราตอน) ของข้า หรือใช้เล่ห์เพทุบายกับผู้อื่น ในบรรดาพวก หมอผีของท่าน ผู้รู้วิชาการทำคุณไสย ใส่ให้แก่ผู้อื่น ย่อมถือว่า ท่านไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า และแผ่นดินของข้า(สหราชอาณาจักรเสียม) ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

หากท่าน ใช้คนในครอบครัวคิดประทุษร้าย..(ต่อบริวารของข้า ด้วยการ)..ใช้ถ้วยชาม ที่เต็มไปด้วยเลือด ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้ ยิ่งกว่านั้นถ้าท่านรู้ดีว่า ศัตรูของข้าอยู่ที่ใด และ..(ท่านทำร้ายพวกเขา)..ด้วยการใช้รูปทำกฤตยาคุณไส แสดงว่า ท่านไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า และ แผ่นดินของข้า(สหราชอาณาจักรเสียม) ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป อีกทั้ง(ถ้า)ท่าน(ร่วมกัน)..วางแผนเป็นศัตรูกับข้า ในดินแดน ปัจจันตชนบท(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) ซึ่งเป็นแผ่นดินของข้า(สหราชอาณาจักรเสียม) แสดงว่า ท่านย่อมไม่ยอมอ่อนน้อม ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ผู้ใด ที่ทำให้จิตของผู้(อื่น) คลั่งด้วยวิธีการใช้รูปจำลอง ใช้ขี้เถ้า ใช้เวทมนต์ โดยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของข้า โดยใช้รูปของข้า ใช้กุษฐะยาแฝด และหรือวิธีการอื่นๆ เพื่อจะทำให้(ข้า) ตกอยู่ในอำนาจของผู้นั้น ถ้าท่าน..(ทำการใด)..ด้วยวิธีการเล่ห์กระเท่ห์..(เป็นภัยร้ายต่อ)...ปัจจันตประเทศ(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) เช่นวิธีการที่สั่งสอน..(ผู้อื่น)..ให้มาอยู่ภายใต้อำนาจของท่าน (แม้ว่า) โดยวิธีที่ไม่ทำให้จิตของคนอื่นเสียสติ หรือบ้าคลั่ง หรือถ้า การกระทำ(เช่นนั้นของผู้อื่น) เป็นที่รู้ของท่าน ในเขตปกครองของท่าน เพื่อจะให้ผู้นั้นจะไม่ถูก..(ลงโทษ)..ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

หรือถ้าท่าน ออกคำสั่งแก่ผู้อื่น ในบรรดาพวกของท่าน เพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่ชั่วช้า จนสำเร็จกิจ..(เรียบร้อย)..ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้ แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้นถูกท่านลงโทษเสียก่อน ข้าจะไม่จัดการกับท่าน ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

อีกทั้งท่านผู้อื่นทั้งหลาย ที่ข้าใช้ให้ทำหน้าที่เป็น ตาดู(ข้าราชการ) ทำหน้าที่…..ปรวัณฑะ(เข้าใจว่าเป็นตำแหน่ง ผู้ควบคุมทหาร หรือควบคุมเมือง) ใช้วิธีการที่จะทำให้เกิดอาการคลั่ง...(เสียสติ)...ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป หรือถ้ามีผู้คนอยู่ในความดูแลของท่าน...(วางแผนร้าย)...แก่ข้า….เพื่อกระทำการทั้งในปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต…..ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ยิ่งกว่านั้น ถ้าท่านใช้คาถา เพื่อให้ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปัจจันตประเทศ) เป็นอิสระ(จาก สหราชอาณาจักรเสียม) หรือท่านรู้ว่าบุคคลอื่น ร่วมกันก่อกบฏ แสดงว่า ท่านก็ย่อมไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า และแผ่นดินของข้า(สหราชอาณาจักรเสียม) และท่านได้ร่วมกระทำการ ร่วมกับพวกมัน(กบฏ) ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ยิ่งกว่านั้น ถ้า..(บริวาร)...ของท่าน...(ร่วมกับพวก)...มันดื่ม...(น้ำสาบาน ของ ศัตรูของข้า)...ท่านจะต้องถูกลงโทษ และถ้าท่าน..(ไม่จงรักษ์ภักดี)...แก่ข้า…..ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ถ้าท่านหนีกลับไปยังที่อยู่อาศัยของท่าน โดยที่ข้ายังไม่สามารถลงโทษท่านได้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ผู้ที่ข้าสั่งให้ท่านคอยสอดส่องท่าน..(แม้ว่า)...ท่านจะถูกสังหารทั้งลูกเมียของท่าน….ลูกหลานของท่าน จะถูกข้าลงโทษ ภายนอก..(เมืองหลวง)...ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาปตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้ พร้อมกับ ลูกเมีย หลานเหลน โคตรตระกูล และ สหายของท่าน ด้วย

ยิ่งกว่านี้ สิ่งที่ข้ามอบหมายให้ท่านทำหน้าที่เป็น ตาดู(ข้าราชการ) ท่านผู้ดูแลเมือง ทั้งหลาย ในดินแดนของข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) คือ มหาอุปราช  อุปราช  และเชื้อพระราชวงศ์อื่นๆ  ซึ่งได้รับหน้าที่เป็น ตาดู(ข้าราชการ) ท่านจะต้องถูกสาปแช่ง ถ้าท่านไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า  ถ้าไม่ซื่อตรงต่อข้า ถ้าไปร่วมเป็นพันธมิตรกับศัตรูของข้า  ตัวท่านเอง และคนอื่นๆ ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้ ข้าจะสั่งให้ลงโทษท่าน ก่อนที่ท่าน จะกลับมา ท่านจะต้องได้รับการชดใช้บาป ของท่านเสียก่อน ด้วย

ยิ่งกว่านี้  ถ้าบุคคลอื่นยุยงตระกูล  โคตร  สหาย หรือลูกหลานของท่าน ให้เป็นศัตรูต่อข้า ต่อ มหาอุปราช อุปราช หรือเจ้านายอื่นๆ ซึ่งข้ามอบหมายให้ทำหน้าที่เป็น ตาดู(ข้าราชการ) ถ้าท่าน ได้ทำการลงโทษ ศัตรูของข้า ให้สมกับความผิด ท่านจะต้องไม่ถูกสังหารด้วยคำสาปนี้ ซึ่งเจ้าดื่มเอง (แต่) ข้าจะมีคำสั่งให้ลงโทษท่าน ทั้งลูกหลาน และโคตรตระกูล ของท่าน ให้ต้องชดใช้กรรม(เวร) ถ้าหากว่า(ศัตรูของข้า) เหล่านี้ (ไปพึ่งพิง) มหาอุปราช  อุปราช (หรือ) เจ้านายองค์อื่น ซึ่งข้าได้แต่งตั้งให้เป็น ตาดู  ถ้าคำสั่งของมันได้ถูกถ่ายทอดมายังท่าน ด้วยความมุ่งหมายร้าย เพื่อให้ท่านร่วมมือด้วยแล้ว และผู้คน(ของข้า) ได้รับผลร้ายจากการกระทำของท่าน ถ้า(ศัตรู) เหล่านี้ได้ติดต่อกับท่านก่อน จนเป็นผลให้คนอื่นได้รับมอบหมายจากศัตรูของข้า ให้พูด ตามที่ท่านเห็นชอบด้วย แสดงว่า ท่านไม่ยอมอ่อนน้อมต่อข้า และ แผ่นดินของข้า ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

หรืออีกเช่นกัน ถ้าทุกๆ ท่าน ที่เป็น มนตรี(รัฐมนตรี ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) ก่อน(เวลาที่) กองทัพของข้า ได้ทำสงครามขับไล่ออกไปให้พ้นเขตแดน ของท่าน (หรือ) ดินแดนของท่าน(ดินแดนของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) ที่(เพิ่ง) ได้มาใหม่ ท่านจะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป หากพวกท่าน ได้ทำการจัดการใดๆ เพื่อการก่อกบฏ ตามคำแนะนำ ของ อ้ายพวกกบฏ(อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) โดยไม่ยอมอ่อนน้อม และไม่ซื่อตรง ต่อข้า ผู้ที่ดำเนินการตามแผนการกบฏ ของท่าน จะต้องถูกสังหารด้วยคำสาป ตามที่ท่านได้ทำการดื่มน้ำสาบาน นี้

ถ้าท่านโอน(การดำเนิน)งาน ของท่าน ให้กับข้าศึก ท่านจะถูกสังหารด้วยคำสาปนี้ ซึ่งท่านได้ดื่มไป แต่ถ้าท่าน ยอมอ่อนน้อม จงรักภักดี ซื่อตรงต่อข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) และไม่ทำการก่อการร้ายเหล่านี้ ตันตระ อันบริสุทธิ์ คือสิ่งที่ข้าตอบสนองต่อท่าน และลูกเมียของท่าน จะไม่ถูกกลืน(เข้าใจว่า ไม่ถูกกลืนโดยพญานาค  อันเป็นรูปที่สลัก อยู่ส่วนบน ของ แท่งหินศิลาจารึก คำสาบาน ซึ่งได้มีการกล่าว คาถาในตอนต้น ของพิธีแก่ดวงวิญญาณ ของ พญานาค ด้วย)

ถ้าท่านดื่มน้ำสาบาน..(ของข้าศึก)...กองทัพของข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) ซึ่งถูกส่งไปอยู่ ณ ดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ประเทศปัจจันตชนบท) ทั้งมวล  จะทำการลงโทษท่าน โดยท่านจะได้ผลกรรม จากผลของการดื่มน้ำสาบาน ของ ข้าศึก ตามที่ท่านได้ดื่มน้ำสาบาน และทำการสาบาน ของข้า หรือ..(ถูกลงโทษโดย ข้าศึกผู้)..อื่น…..

ขอความสันติสุข สถาพร จงเป็นผล ตามคำสาบาน ซึ่งท่านได้ดื่มไป จงผลิดอกออกผล ขึ้น คำสาบานของท่าน จะผลิดอกออกผล ขึ้น ในวันที่กองทัพ ของข้า(มหาราชาพ่อภาณุ) สร้างกองทัพที่ยิ่งใหญ่ สำเร็จ โดยนายทหาร จะยกกองทัพไปจัดการลงโทษท่าน ตามคำสาบาน นอกจากนี้คนที่ถูกลงโทษ...(จะถูกประจาน ด้วย)...(จบ)

      (แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ เป็นผู้แปล) (จากหนังสือ โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ในการศึกษาวิเคราะห์ โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๖-๗๙)

ปี พ.ศ.๑๒๒๘ หลวงจีนอี้จิง เดินทางจาก เมืองตั้มมาลิปติ ประเทศอินเดีย กลับมายัง แคว้นเคียนซา(ไทรบุรี) อาณาจักรมาลัยรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม เป็นเวลา ๒ เดือน แล้วเดินทางไปยัง เมืองม้าละกา(มะละกา) แล้วเดินทางกลับไปยัง เมืองกวางตุ้ง มหาอาณาจักรจีน เมื่อประมาณกลางปี ของปี พ.ศ.๑๒๒๙ มีบันทึกของ หลวงจีนอี้จิง กล่าวถึงการเดินทางขากลับจาก ประเทศอินเดีย ไปยัง มหาอาณาจักรจีน กล่าวถึงการเดินทางว่า...

...ที่เมืองตั้มโมลิปติ เป็นสถานที่ซึ่งคณะของอาตมา ได้ลงเรือ เพื่อจะเดินทางกลับไปยังดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน นั้น เรือแล่นจาก เมืองตั้มโมลิปติ คณะของอาตมา แล่นเรือมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใช้เวลา ๒ เดือน คณะของอาตมา ก็เดินทางถึง แคว้นเคียนซา(เคี๊ยซะ-ไทรบุรี) ด้วยเวลาเท่านี้ เท่ากับการแล่นเรือจาก สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ไปถึง(อินเดีย) โดยทั่วไปในการเดินทาง(จาก สหราชอาณาจักรเสียม ไปยัง อินเดีย) จะต้องเดินทางในเดือน ๑ หรือ เดือนที่ ๑๒ ของปี(ในฤดูหนาว ซึ่งมีลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ)

คณะของอาตมา พักอยู่ที่ แคว้นเคียนซา(เคี๊ยซะ-ไทรบุรี) จนกระทั่งฤดูหนาว ผ่านไป จากนั้นก็ออกเดินทางต่อไป โดยลงเรือแล่นไปทางทิศใต้ หลังจาก ๑ เดือนผ่านไป คณะของอาตมา ก็เดินทางมาถึง แคว้นมาลายู(มะละกา) ซึ่งปัจจุบัน ได้กลายเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)  ไปเรียบร้อยแล้ว

อาตมาได้ทราบว่า สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก มีการขยายดินแดนใหม่ ออกไปกว้างขวางมาก โดยประกอบด้วย อาณาจักรต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า จำนวน ๑๐ อาณาจักร โดยเฉพาะ ดินแดน หมู่เกาะทะเลใต้ และ แคว้นมาลายู ได้กลายเป็นดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไปเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ ศาสนาพุทธ นิกายมหายาน กำลังแพร่หลาย เจริญรุ่งเรืองในดินแดน อาณาจักรต่างๆ ของดินแดนของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ที่เป็นหมู่เกาะต่างๆ(ดินแดนเกษียรสมุทร) มาก โดยเฉพาะ พุทธศาสนานิกายมหายาน ยังแบ่งออกเป็น ๒ นิกายคือ นิกายมาธยธิกะ และ นิกายโยคาจารย์

โดยปกติ คณะของอาตมา (ถ้าเดินทางจาก มหาอาณาจักรจีน มายัง สหราชอาณาจักรเสียม) จะสามารถเดินทางมาถึงที่นี่(มะละกา-แคว้นมาลายู) ในเดือนแรก หรือเดือนที่สอง คณะของอาตมา พักอยู่ที่นี่(มะละกา-แคว้นมาลายู) จนถึง กลางฤดูร้อน(เพื่อรอลมมรสมตะวันตกเฉียงใต้) คณะของอาตมา ได้เดินทางต่อไป โดยแล่นเรือมุ่งหน้าขึ้นไปทางทิศเหนือ ก็ไปถึง เมืองกวางตุ้ง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ ๑ เดือน การเดินทางครั้งนี้ก็ได้สิ้นสุดลง ภายในครึ่งปีแรก ของปี(ปี พ.ศ.๑๒๒๙)…”

(แปลจากหนังสือ The Golden Khersonese ของ Paul Wheatley หน้าที่ ๔๒)

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตราตะวันตก) และนำมารวมไว้ กับ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ หนีภัยสงครามไปอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออก ของ เกาะชบาใน(บอร์เนียว)

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ส่งเสริมให้สร้างสวนผลไม้สาธารณะ ไว้ที่ เมืองโพธิ์กลิงค์บัง

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรเสียม ได้นำประชาชนที่หนีออกจากเมืองโพธิ์กลิงค์บัง ให้เดินทางกลับคืนเมือง และได้ตกลงร่วมกัน ให้สร้างสวนผลไม้ร่วมกัน เช่นเดียวกับที่มีอยู่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๑๒๒๙ ซึ่งเป็นที่มาของการกำเนิดตำนาน พริกดาบ , ลูกมะยม , ลูกมะดัน , ลูกคอแลน พร้อมกันนั้น เมื่อได้ร่วมกันสร้างสวนสาธารณะ เป็นผลสำเร็จ เรียบร้อยแล้ว จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ได้สร้างศิลาจารึกไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งได้พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาเซกุนตัง ห่างจากเมืองโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นภาษาสันสกฤต โบราณ เรียกว่า ศิลาจารึกเซกุนตัง มีเนื้อหาคำแปลว่า...

...เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๑๒๒๙ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(ตาปุนตะ หิยัม ศรีชัยนาศะ) ได้ทรงโปรดให้สร้างสวนผลไม้สาธารณะ ขึ้น ณ บริเวณภูเขาตะลัง ตูโว เพื่อแสดงปณิธานว่า ผลกุศลจากการสร้างสวนผลไม้แห่งนี้ และ ผลจากบุญกุศลอื่นๆ จะได้แผ่ไปยังสัพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อช่วยให้พวกเขา(ผู้ร่วมสร้าง) บรรลุพระโพธิญาณ ด้วยเถิด…”

(จากหนังสือ โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ในการศึกษาวิเคราะห์ โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๖-๗๙)

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ได้ทำการสร้างสวนผลไม้สาธารณะประโยชน์ ณ ภูเขาเซกุนตัง เมืองโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เรียบร้อยแล้ว จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ยังได้สร้าง สวนผลไม้สาธารณะ ณ บริเวณ ภูเขาตาลัง ตูโว เมืองโพธิ์กลิงค์บัง พร้อมกับได้สร้าง ศิลาจารึก ตาลัง ตูโว เพื่อเป็นหลักฐาน เรื่องราวเกี่ยวกับ การสร้างสวนผลไม้สาธารณะ ไว้ในดินแดน กรุงโพธิ์กลิงค์บัง นั้น มีหลักฐาน ศิลาจารึก ตาลัง ตูโว เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๙ ซึ่งพบที่เมืองปาเล็มบัง มีเนื้อหาดังนี้...

...ความเจริญ โชคลาภ ในศกศักราช ๖๐๖(ปี พ.ศ.๑๒๒๙) ของปักษ์อันส่องสว่างของเดือนไวตระ สวนศรีเกษตรถูกสร้างขึ้น ภายใต้พระบรมราชโองการของ จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาศ และต่อไปนี้คือคำอุทิศของพระองค์ท่าน

สิ่งที่พระองค์ทรงปลูกลง ณ ที่นี้ ก็คือ มะพร้าว หมาก ตาล สาคู และต้นไม้อื่นๆ อีกหลายชนิด ล้วนเป็นผลรับประทานได้ รวมทั้ง ต้นไผ่ฮาอูร์  และ ต้นไผ่ปัตตุม ฯลฯ ได้ปลูกไว้ ณ สวนแห่งอื่นด้วย พร้อมกับได้สร้าง ทำนพ อ่างเก็บน้ำ และสิ่งสาธารณะอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ทั้งปวง ข้าพเจ้า(จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท) ได้ทำแล้ว เพื่อยังประโยชน์แก่ สรรพสัตว์ ทั้งสิ่งที่เคลื่อนที่ได้(มนุษย์และสัตว์) และ สิ่งที่เคลื่อนที่ไม่ได้(พืช) เพื่อเป็นหนทางอันดีที่สุดแก่พวกเขา ในอันที่จะได้ความสมบูรณ์พูนสุข

หากเมื่อใด พวกเขาหิวในขณะที่หยุดพัก หรือระหว่างเดินทาง ก็จะสามารถหาอาหาร และน้ำดื่มได้ ส่วนที่ซึ่งพวกเขาได้ทำการหักร้างถางพง ขอให้พบกับความสำเร็จ ขอให้พื้นที่หักร้างถางพง จงเต็มไปด้วยพืชผล สัตว์เลี้ยงทุกชนิด รวมทั้งทาสในครอบครอง ของพวกเขา จงเจริญพันธ์ พวกเขาจงไม่เป็นทุกข์ เนื่องจากความหายนะใดๆ และไม่ทนทรมานด้วยหลับไม่ลง ขอทุกอย่างที่พวกเขาให้กำเนิด จงมีดาวพระเคราะห์ กลุ่มดาวฤกษ์ อันเป็นคุณแก่พวกเขา และพวกเขาจงเว้นจากความเจ็บป่วย และความชรา ระหว่างที่กำลังก่อเกิดผลผลิตอยู่นั้น ยิ่งกว่านั้นข้าทาสทั้งหมดของพวกเขา จงซื่อสัตย์ และ อุทิศตนเพื่อพวกเขา และเช่นกัน ที่มิตรสหายของพวกเขา จงไม่ทรยศ และผู้หญิงของพวกเขา จงเป็นคู่ครองที่จงรักภักดี และเหนือกว่าสิ่งอื่นใด อาณาจักรอันที่พวกเขาตั้งอยู่(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) จงปราศจากขโมย คนสารเลว ฆาตกร และคนผิดประเวณี ยิ่งกว่านั้น พวกเขาจงมีมิตร เป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

ขอคำสอนแห่งโพธิ์(พระพุทธศาสนา) และ กรุณาคุณ แห่ง พระรัตนตรัย จงบังเกิดในหมู่พวกเขา และพวกเขา จงไม่ละเว้นจากการนับถือ พระรัตนตรัย อีกทั้ง(สิ่งที่พวกเขาปฏิบัติ) อย่างสม่ำเสมอ คือความโอบอ้อมอารี การรักษาศีล และขันติ ขอให้พลังการใช้สติปัญญา และความรู้ในสิ่งต่างๆ นาๆ จงเจริญขึ้นในหมู่พวกเขา และพวกเขาจงมีจิตที่เป็นสมาธิ เข้าถึงวิชชา สติปัญญา ยิ่งกว่านั้นพวกเขา จงมีความมั่นคงในทิฐิของตน มีกายเพชร แห่ง มหาสัตว์ มีอำนาจอันไม่อาจเทียบเทียมได้ มีชัยชนะและระลึกถึงอดีตชาติได้ มีสติอันไม่บกพร่องันบริบูรณ์ มีโชคดี มีใบหน้าแช่มชื่น มีความสงบ มีเสียงอันชวนฟัง ดุจเสียงแห่งพระพรหม พวกเขาจงเกิดเป็นผู้มีความเป็นอยู่เอง(สวยัมภู) พวกเขาจงเป็นผู้รับแก้ว จินดามณี เป็นนายของชาติ กรรม กิเลส  อีกทั้งพวกเขา จงบรรลุถึงความสว่างที่สูงสุด และสมบูรณ์ที่สุด..."

      (นิรมล ศรีกิจการ แปล จากหนังสือ โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ในการศึกษาวิเคราะห์ โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๔-๗๕) (หนังสือ อาณาจักรศรีวิชัย ที่ไชยา โดย ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 โดย วัดพระบรมธาตุไชยา ปี พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๗๐-๗๑)

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ส่งเสริมให้ประชาชนใน เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) และ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ทั่วทุกบ้านเรือน ปลูกต้นมะยม ไว้หน้าบ้าน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ พระเจ้าวิกราน แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง บางเมือง ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน และพยายามส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองนครหลวง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ มหาราชาเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) พยายามส่งกองทัพเข้าปราบปราม

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ พระเจ้าวิกราน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ก่อกบฏ เข้ายึดอำนาจจาก มหาราชา เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ในดินแดน อาณาจักรจามปา และพยายามขอความคุ้มครองจาก ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน

ปี พ.ศ.๑๒๒๙ พระเจ้าวิกรานต วรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตน้ำ) ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ลุ่ยจง(พ.ศ.๑๒๒๗-๑๒๓๓) แห่ง มหาอาณาจักรจีน กรุงลั่วหยาง บันทึกของ จดหมายเหตุจีนเรียกพระนามว่า ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา มีพระนามว่า พระเจ้าวิกรานต์ มีบันทึกสั้นๆ ว่า

(จาก ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ โดย ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล หน้าที่ )

ปี พ.ศ.๑๒๓๐ มหาราชาพระเจ้ามังกา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) และเป็น พระภัสดา ของ พระนางสันลิกา ซึ่งเป็น พระขนิษฐา ของ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง และ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท ได้ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นเหตุให้ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปราม ชนชาติกลิงค์ ณ อาณาจักรม้าตาราม เป็นเหตุให้ ราชวงศ์พระเจ้ามังกา สายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ จากเกาะราม(เกาะชวา) นำประชาชน อพยพหนีภัยสงคราม ไปตั้ง อาณาจักรชบาใน ในดินแดนของ เกาะบอร์เนียวตะวันออก

ปี พ.ศ.๑๒๓๑ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ เตรียมส่งกองทัพเข้าปราบปราม พวกโจฬะ ในเกาะชวา และได้ทำ จารึกโกตา กาปู ซึ่งพบที่ เกาะบังกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ กรุงปาเล็มบัง เกาะสุมาตรา เป็นจารึกคำสาปแช่ง ก่อนที่กองทัพของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จะยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) เมื่อปี พ.ศ.๑๒๓๑ จึงมีการสร้างศิลาจารึก ไว้เป็นหลักฐาน เรียกว่า ศิลาจารึก โกตา กาปู มีคำแปลว่า...

       “...ขอความสำเร็จ (…เป็นคาถาสาปแช่ง อ่านไม่ได้ใจความ…) โอ้ข้าแต่ทวยเทพทั้งปวง ผู้ได้มาชุมนุมและพิทักษ์อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อีกทั้งตัวท่าน ตันทรุมลูอะ(?) ตลอดจนเทพทั้งปวง ตั้งแต่ต้นจบปลาย

       เมื่อเมืองตอนในของดินแดนนี้(อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง เกาะสุมาตรา) มีราษฎรก่อกบฏ...(โดย)...ร่วมมือกับพวกกบฏ(อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ-เกาะสุมาตรา และ อาณาจักรชบาตะวันออก-เกาะชวา) เป็นสายให้กับพวกกบฏ ยอมรับพวกกบฏ ไม่เคารพ ไม่จงรักษ์ภักดีต่อข้า(มหาราชาภาณุ) และต่อผู้ที่ข้ามอบหมาย ตำแหน่ง ตาดู(ข้าราชการ) ให้ราษฎรเช่นนี้ ผู้กระทำการเหล่านี้ จะถูกสังหารด้วยคำสาป

       กองทหาร(ของ สหราชอาณาจักรเสียม) ซึ่งต้องทำสงครามปราบปรามกบฏ ที่ส่งไปยังสนามรบ(อาณาจักรชบาตะวันออก-เกาะชวา) ภายใต้การบัญชาการรบของ ตาดู(แม่ทัพ) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ พวกกบฏ(ในดินแดน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) รวมทั้งครอบครัว และพรรคพวกของมัน จะต้องถูกลงทัณฑ์  ใช่แต่เท่านั้น ขอให้การกระทำชั่ว ทุกๆสิ่งของพวกมัน การทำให้จิตใจของราษฎรวุ่นวาย ทำให้คนเจ็บป่วย  ทำให้คนวิกลจริต  ใช้คาถาอาคม ยาพิษ การจ้างวางยาพิษ อุปาส และตุพะ กัญชา สทมกัด เสน่ห์ยาแฝด การสะกดจิตผู้อื่น จงอย่าสำเร็จ และจงกลับคืนไปยังผู้ที่มีมลทิน แห่งพฤติกรรมชั่วเหล่านั้น พวกมันจะได้รับทุกข์จากคำสาปแช่งนี้ ทั้งผู้ที่ยุยงให้เกิดความเสียหาย ผู้ทำอันตรายต่อก้อนหินศิลาจารึก ที่วางไว้ ณ ที่นี้ จะได้รับความทุกข์จากคำสาปแช่งนี้ และจะถูกลงโทษ ด้วยเจ้าพวกฆาตกร พวกกบฏ พวกที่ไม่อุทิศตนเอง และไม่จงรักภักดีต่อข้า ผู้มีพฤติกรรมเหล่านี้ จะต้องได้รับทุกข์ จากคำสาปแช่ง แต่ถ้าราษฎรยอมจำนน ยอมจงรักษ์ภักดีต่อข้า และผู้ที่ข้ามอบหมายให้ดำรงตำแหน่ง ตาดู จะได้รับพรในกิจการของตน ครอบครัว และโคตรของตนด้วย จะได้รับความสำเร็จ ความสุข สุขภาพดี ปลอดจากภัยพิบัติต่างๆ มีแต่ความอุดุมสมบูรณ์ในดินแดน อาณาจักร และ แว่นแคว้น ของพวกตน

       ศกศักราช ๖๐๘(ปี พ.ศ.๑๒๓๑) วันแรกแห่งปักษ์ อันส่องสว่าง ของเดือนไวศาข เป็นเวลาที่คำสาปแช่งได้ประกาศ และได้จารึกลงไว้ ขณะเมื่อ กองทัพ(ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์) กำลังเริ่มต้นออกเดินทางไปทำสงครามยึดครอง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) ซึ่งยังไม่ยอมจำนน ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)…”

      (นิรมล ศรีกิจการ แปล) (จากหนังสือ โบราณคดีศรีวิชัย มุมมองใหม่ในการศึกษาวิเคราะห์ โบราณคดีรอบอ่าวบ้านดอน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโบราณคดี และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๑๑ นครศรีธรรมราช สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร หน้าที่ ๗๕-๗๖) (หนังสือ อาณาจักรศรีวิชัย ที่ไชยา โดย ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี จัดพิมพ์ครั้งที่ ๒ โดย วัดพระบรมธาตุไชยา ปี พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๗๑-๗๒)

ปี พ.ศ.๑๒๓๑ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปราม อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) ผลของสงคราม มหาราชาพระเจ้ามังกา สวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ ราชวงศ์พระเจ้ามังกา สายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ จากเกาะราม(เกาะชวา) นำประชาชน อพยพหนีภัยสงคราม ไปตั้ง อาณาจักรชบาใน ในดินแดนของ เกาะบอเนียวตะวันออก พร้อมกับตั้งอาณาจักรขึ้น เรียกชื่อว่า อาณาจักรชบาใน(บอร์เนียว-ตะวันออก)

ปี พ.ศ.๑๒๓๑ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ส่ง มหาราชาสันนา ซึ่งอภิเษกสมรส กับ พระนางสันลิกา(พระขนิษฐา ของ มหาราชาพ่อภาณุ) ไปเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ เป็น อาณาจักรม้าตาราม และเปลี่ยนชื่อ เกาะชบาตะวันออก เป็นชื่อใหม่ว่า เกาะราม เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ จตุคามรามเทพ ซึ่งเป็น พระราชบิดาของ มหาราชาพ่อภาณุ และ พระนางมาลิสา

ปี พ.ศ.๑๒๓๑ มหาราชาพระเจ้าสุริยะวิกรม(พ.ศ.๑๒๑๖-๑๒๓๑) ราชวงศ์วิกรม แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(เพี้ยว หรือ ปยู) สวรรคต ขณะที่มีพระชนมายุ ๖๔ พรรษา มหาราชาหะริวิกรม(พ.ศ.๑๒๓๑-๑๒๓๘) ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิอู่ติ่ง(ปยู) แทนที่

(หม่องทินอ่อง ประวัติศาสตร์พม่า ปี พ.ศ.๒๕๔๘ หน้าที่ ๑๗)

(ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ หน้าที่ ๙๔ )

ปี พ.ศ.๑๒๓๑ มหาราชาขุนบรม แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงลานช้าง สวรรคต ในขณะที่มีพระชนมายุได้ ๕๒ พรรษา เป็นเหตุให้ มหาอุปราชพระยาลอ แห่ง ราชวงศ์ไทยพวน(ไตผวน) หรือ ราชวงศ์ขุนบรม ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เป็นรัชกาลที่ ๒

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ ได้เกิด สงคราม กาลี้-มันตัน ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว-ตะวันตก) เนื่องจาก ประชาชนชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งได้หนีภัยสงครามการปราบปราม ของ นายกพ่อศรีทรัพย์ เมื่อปี พ.ศ.๑๒๑๓ และ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๙ ไปตั้งรกรากในดินแดนของ อาณาจักรโจฬะน้ำ เกาะชบาใน-ตะวันตก(บอร์เนียว-ตะวันตก) ได้ก่อกบฏ ไม่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นเหตุให้ นายกพ่อศรีทรัพย์(ขุนชวา) ต้องส่งกองทัพเรือใหญ่ เข้าทำสงคราม ปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ ในดินแดน เกาะบอร์เนียว ตะวันตก มาเป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ผลของสงคราม ในดินแดน อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ครั้งนั้น กองทัพของ มหาราชา ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ ต้องอพยพหนีภัยสงคราม ไปยังดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เพื่อวางแผนยึดครอง เมืองต่างๆ ไปครอบครอง ในอนาคต ส่วนประชาชนที่เหลือ ยอมเป็นเชลยศึก(มันตัน)

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ ผลจากสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เมื่อปี พ.ศ.๑๒๓๒ นั้น นายกพ่อศรีทรัพย์ รวบรวมไพร่พลในดินแดน อาณาจักรโจฬะน้ำ ในดินแดนเกาะบอร์เนียว ตะวันตก มาร่วมกันตั้งอาณาจักรใหม่ เรียกชื่อว่า อาณาจักรศรีโพธิ์ช้า หรือ อาณาจักรกำโพธิ์ช้า(กำพูชา) เป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

ปี พ..๑๒๓๒ เกิดสงคราม กาลี้-มันตัน ณ สมรภูมิ อาณาจักรชบาใน(บอร์เนียว-ตะวันออก) ระหว่าง อาณาจักรม้าตาราม(เกาะชวา) กับ อาณาจักรชบาใน(บอร์เนียว-ตะวันออก) เนื่องจาก พระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกา สายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ ได้นำ ประชาชนชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) ซึ่งได้อพยพหลบหนีภัยสงครามการปราบปราม ของ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท เมื่อปี พ.ศ.๑๒๓๑ ไปตั้งรกรากในดินแดน เกาะชบาใน-ตะวันออก(บอร์เนียว-ตะวันออก) ต่อมา อาณาจักรชบาใน สายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ ของ พระเจ้ามังกา ได้ก่อกบฏ ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมกับส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรม้าตาราม ของ มหาราชาสันนา เรื่อยมา เป็นเหตุให้ มหาราชาสันนา แห่ง อาณาจักรม้าตาราม ต้องส่งกองทัพเรือใหญ่ เข้าทำสงคราม ปราบปราม พร้อมกับรวบรวมไพร่พล ตั้งขึ้นเป็นอาณาจักรใหม่ เรียกชื่อว่า อาณาจักรกาลี้ ในดินแดนของ เกาะชบาใน(เกาะบอร์เนียว ตะวันออก) เป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ ภายหลังชัยชนะในสงคราม กาลี้-มันตัน ณ สมรภูมิ เกาะชบาใน(บอร์เนียว) สำเร็จเรียบร้อย นายกพ่อศรีทรัพย์(ขุนชวา) ได้พระราชทานชื่อใหม่ ของ เกาะชบาใน หรือ เกาะโพธิ์ใน ในชื่อใหม่ว่า เกาะกาลี้-มันตัน

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ พระยาตาโกลก และ พระยาตากาลก พระราชโอรส ของ มหาราชาพ่อโกลี แห่ง แคว้นโกลี(สุไหงโกลก) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ในดินแดน เกาะชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) เมื่อปี พ.ศ.๑๒๓๒ เนื่องจาก พระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา ซึ่งเป็นราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้พ่ายแพ้สงครามต่อ กองทัพของ นายกพ่อศรีทรัพย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๑๒๑๓ เป็นเหตุให้ เชื้อสายราชวงศ์ ชนชาติทมิฬ อพยพจาก อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ไปตั้ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) ได้พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๙ เรื่อยมา ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) ครั้งนั้น มหาราชา แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำชนชาติทมิฬโจฬะ ต้องอพยพหนีภัยสงคราม ไปยังดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เพื่อเตรียมยึดครอง อาณาจักรจามปา และ อาณาจักรหลินยี่ ไปครอบครอง ในเวลาต่อมา

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ พระยาตาโกลก พระราชโอรส ของ มหาราชาพ่อโกลี แห่ง แคว้นโกลี(สุไหงโกลก) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ในดินแดน เกาะชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) ผลของสงคราม อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) ชนชาติทมิฬโจฬะ ต้องอพยพหนีภัยสงคราม ไปทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ไปครอบครอง

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ มหาราชา ชนชาติทมิฬโจฬะ ผู้อพยพจาก อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว-ตะวันตก) ได้ส่งคณะราชทูต ไปติดต่อกับ มหาราชา แห่ง อาณาจักรหงสาวดี เพื่อร่วมมือทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ พร้อมๆ กัน อีกครั้งหนึ่ง

      ปี พ.ศ.๑๒๓๒ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) เชื้อสายราชวงศ์ พระเจ้านันทเสน ของชนชาติมอญ ได้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ปี พ.ศ.๑๒๓๒ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามกับ อาณาจักรละโว้ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง พระบรมธาตุเจดีย์จักรนารายณ์(นครปฐม) แคว้นจักรนารายณ์ ไปครอบครอง เกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือด

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ พระเจ้าวิกราน มหาราชา ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้) ซึ่งอพยพหนีภัยสงคราม มาจาก อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ สามารถยึดครองเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรจามปาไว้ได้ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรเวียตน้ำ(จามปา) หรือ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

      ปี พ.ศ.๑๒๓๒ กองทัพ ของ พระเจ้าทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว-ตะวันตก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ซึ่งอพยพหนีภัยสงคราม ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ สายราชวงศ์มหาราชาเจ้าอีสาน นำประชาชน ทั้งชนชาติไต ชนชาติทมิฬ และชนพื้นเมือง ในดินแดนของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ดั้งเดิม ต้องอพยพขึ้นไปทางทิศเหนือ ขึ้นไปอยู่อาศัยในเขตป่าเขา และ หุบเขา ในดินแดน แคว้นจามปาศักดิ์ ทางทิศเหนือ ของ อาณาจักรโจฬะบก พร้อมกับ เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เป็น อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร)

ปี พ.ศ.๑๒๓๒ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) และ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ออกไปจากดินแดน แคว้นจักรนารายณ์ อาณาจักรละโว้ เป็นผลสำเร็จ

 

      ปี พ.ศ.๑๒๓๒ มหาจักรพรรดิ พ่ออู่ทอง(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) และ จักรพรรดิ พ่อศรีไชยนาท(พ.ศ.๑๒๒๔-๑๒๓๒) ถูกกองโจร ของ ชนชาติมอญ ลอบโจมตี ณ ภูเขาพลู เมืองศรีพุทธิ(คันธุลี) บาดเจ็บสาหัส มาสวรรคต ณ ภูเขากษัตริย์ ๒ พี่น้อง ใกล้ภูเขาคันธุลี

Visitors: 54,280