บทที่ ๙ จตุคามรามเทพ ร่วมทำสงครามกู้ชาติ

 

บทที่ ๑๒

 

 

จตุคามรามเทพ 

ร่วมทำสงครามกู้ชาติ

 

 

เมื่อเกิดสงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬ ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องอพยพไพร่พล จาก เมืองอู่ทอง(ราชบุรี) เสด็จลงเรือพระที่นั่งสำเภาทอง มุ่งหน้าสู่ เมืองศรีโพธิ์ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งปกครองโดย เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ประกาศปรับปรุงผู้บริหารงาน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งเมืองนครหลวงขึ้นใหม่ ณ เกาะดอนขวาง มี เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นจักรพรรดิ และมี เจ้าพระยาหะนิมิตร เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์-อู่ทอง(ไชยา) เป็นรัชกาลที่ ๔๕

 

ท้าวอู่ทอง ใช้เกาะดอนขวาง เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ปี พ.ศ.๑๑๙๖

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นำเรือพระที่นั่งสำเภาทอง เข้าไปจอดทอดสมอไว้ที่ภูเขาสายหมอ แล้วเสด็จไปนมัสการ ศาลท้าวมหาพรหมทัศน์ และ รอยพระบาทพระพุทธองค์ ณ บ่อ ๗ แห่ง ถ้ำแม่นางเอ ภูเขาแม่นางเอ ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทรงมอบหมายให้ไพร่พลส่วนหนึ่ง ฟื้นฟูพระราชวังหลวง และสร้างอู่เรือสำเภาทอง ขึ้นใหม่ บริเวณภูเขาสายหมอ(ภูเขาศรีโพธิ์) เพื่อใช้อำพรางข้าศึกว่า เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง และที่ประทับของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แต่กลับไปตั้งพระราชวังหลวง ขึ้นจริง ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง 

แท้จริง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้นำไพร่พลส่วนใหญ่ ไปสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นจริง ณ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ในท้องที่ เกาะดอนขวาง ซึ่งมีสภาพเป็นเกาะ มียุทธ์ภูมิที่เหมาะสม ยากที่ข้าศึก จะส่งกองทัพเข้ามาทำลายได้ เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีความเชี่ยวชาญ ในท้องที่ดังกล่าวมาตั้งแต่ สมัยเป็น พระยาพาน จึงทราบดีว่า เกาะดอนขวาง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๒๕ ตารางกิโลเมตร มีความเหมาะสม ในการสร้างพระราชวังหลวง ให้เป็นฐานที่มั่น เพื่อการต่อสู้กับข้าศึก อย่างได้เปรียบ

 

บุคคลสำคัญ ที่ร่วมสร้าง พระราชวังหลวง เกาะดอนขวาง ปี พ.ศ.๑๑๙๖

ตำนาน พ่อตาดำ พ่อตาลือ พ่อตาเสือเขา และ พ่อตาโหรง ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นมารอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง ในระยะเริ่มแรก และประชาชนยังคงเคารพพ่อตาเจ้าที่ ตามที่เอ่ยชื่อมา จนถึงปัจจุบัน มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า ในขณะที่มีการสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นมาบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้อพยพประชาชน หมู่บ้านแขกดำ ซึ่งตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ให้อพยพไปตั้งรกรากที่ บ้านโคกหม้อ แล้วรับ ตาลือ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างหม้อ สร้างไห ให้มาสร้างเตาเผาอิฐขึ้นมาทางทิศตะวันตก ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) แล้วนำ เงินไพ ไปซื้อ นาไพ ของชนพื้นเมืองแขกดำ พร้อมกับได้สร้าง พลับพลา ที่ใช้เป็นที่ประทับ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ขึ้นที่ บริเวณที่ราบเหนือถ้ำ แล้วปักธงของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นที่ยอดภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) แล้วมอบหมายให้ นายเสือ หรือ พระยาเสือเขา สร้างพระราชมณเฑียร เพื่อใช้เป็นที่ว่าราชการ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ขึ้นที่ เนินเขาข้างถ้ำ เพื่อใช้เป็นที่ว่าราชการ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มีรับสั่งให้ขุนนาง และข้าราชการในพระราชวังหลวง พวกราชวงศ์ พวกเจ้าพระยา พวกพระยา พวกนางพระยา อพยพครอบครัวมาตั้งรกราก อยู่ในบริเวณ ดอนวัดนพ เกาะดอนขวาง แล้วมอบหมายให้ช่วยกัน ขุดนา ทำนา เรียกว่า นาไพ , นาพระยา , นาเทพพระยา , นาหมูดุด และ นาดอนเดา เป็นต้น แล้วยังมอบหมายให้ พระยาศรีทอง นำไพร่พลอีกส่วนหนึ่ง ไปสร้าง นาหลวง ขึ้นมาในพื้นที่เกาะดอนขวาง เพื่อมิให้เกิดการขาดแคลน เสบียงอาหาร ในอนาคต หลังจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นมาบนพื้นที่เกาะดอนขวาง เรียบร้อยแล้ว สงครามแย่งม้า ระลอกที่ ๒ ก็เริ่มเกิดขึ้นใหม่ ทันที

สงครามแย่งม้า ระลอกที่ ๒ เกิดขึ้นในหลายอาณาจักร ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พร้อมๆ กัน สงครามส่วนใหญ่ เกิดขึ้นที่ อาณาจักรอู่ทอง , อาณาจักรละโว้ และ อาณาจักรชวาทวีป โดยที่ กองทัพมอญ-ทมิฬ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ พระเจ้าอนุรุท แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ใช้กองทัพประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ร่วมกับกองทัพ ของ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน เข้าโจมตีแว่นแคว้น และเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรอู่ทอง หวังที่จะยึดครองดินแดนอาณาจักรอู่ทอง ให้เป็นของชนชาติมอญ-ทมิฬ ในเวลาอันรวดเร็ว

ในช่วงเวลาเดียวกัน สหราชอาณาจักรมหาจามปา(เวียตนาม) ของชนชาติทมิฬ โดย อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา ซึ่งปกครองโดย เจ้าพระยาไกรสร หรือ ขุนโหด ซึ่งได้ย้ายแคว้นนครหลวงมาอยู่ที่ แคว้นจันทร์บูรณ์ ส่วน อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แว่นแคว้น และเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ อีกด้วย

ส่วน อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ซึ่งมาตั้งรัฐใหม่ บริเวณ ภูเขาพระนารายณ์(พังงา) ได้ยกกองทัพบก เข้าโจมตี ดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรชวาทวีป มีเพียง ๔ อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่ไม่เกิดสงครามในขณะนั้น คือ อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) , อาณาจักรพิง(ฝาง) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) และ อาณาจักรไทยอาหม เท่านั้น

 

พระเจ้ากาฬดิษฐ์(มอญ) ยึดครอง แคว้นละโว้ สำเร็จ ปี พ.ศ.๑๑๙๗

ประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๖-๑๑๙๗ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ส่งกองทัพใหญ่ ทั้งกองทัพบก และกองทัพเรือ เข้าโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรอู่ทอง พร้อมๆ กัน กองทัพบก ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ยกกองทัพบก เข้ามาที่แคว้นละโว้(ลพบุรี) โดยแสร้งแบ่งกองทัพออกเป็น สองส่วน กำลังส่วนใหญ่ จะซุ่มซ่อนเอาไว้ แล้วนำกำลังส่วนน้อย เดินทางเข้าโจมตีเมืองละโว้ โดยแสร้งทำอุบาย ส่งพระราชสาสน์ ให้ เจ้าพระยามหาฤกษ์ นำกองทัพออกมาสู้รบกันที่นอกเมือง เป็นเหตุให้ เจ้าพระยาจันทร์โชติ อุปราช ของ แคว้นละโว้ ได้นำกองทัพไพร่พลส่วนใหญ่ออกไปต่อสู้กับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่นอกเมือง ส่วนกำลังส่วนน้อย เจ้าพระยามหาฤกษ์ มีไว้เพื่อรักษา พระราชวังหลวง เมืองละโว้ เท่านั้น

เมื่อ เจ้าพระยาจันทร์โชติ  รับคำท้า ออกไปสู้รบกับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่นอกเมือง กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แสร้งรบพ่ายแพ้ แล้วแสร้งถอยทัพเพื่อลวงให้ เจ้าพระยาจันทร์โชติ ส่งกองทัพเข้าติดตามตีกองทัพมอญ-ทมิฬ ออกไปไกลเมืองมาก ส่วนกองทัพใหญ่ที่ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ซุ่มซ่อนเอาไว้ ก็ยกทัพเข้าโจมตีเมืองละโว้

ทาง เจ้าพระยามหาฤกษ์ พิจารณาเห็นว่า ถูกกลลวงของกองทัพ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ เรียบร้อยแล้ว และไม่สามารถที่จะรักษาเมืองละโว้ ไว้ได้ เจ้าพระยามหาฤกษ์ ต้องนำกองทัพตีแหกวงล้อม หนีออกไปนอกเมือง แล้วนำไพร่พล เดินทัพไปอยู่ที่ เมืองโยธิกา(อยุธยา)  พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงสามารถยาตราทัพเข้ายึดเมืองละโว้ เป็นผลสำเร็จ โดยสามารถจับเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ขังไว้ และ ฆ่าฟันบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก

สงคราม ณ แคว้นละโว้ ครั้งนั้น ยึดถือกันว่า เจ้าพระยาจันทร์โชติ ถูกหลอกพาไปเสียค่าโง่ จนต้องเสียเมืองละโว้ จึงเป็นที่มาให้ประชาชนเรียกพระนามของ เจ้าพระยาจันทร์โชติ ใหม่ อีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงพาโง่ หมายถึง  เจ้าพระยาจันทร์โชติ ได้นำไพร่พลไปเสียโง่ โดยถูกกลลวงของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ทำให้เสียเมืองในที่สุด ต่อมา คำว่า ขุนหลวงพาโง่ ถูกประชาชนเรียกเพี้ยนเป็น ขุนหลวงพางั่ว หรือ ขุนหลวงพะงั่ว ต้องนำไพ่พลไปอาศัยอยู่กับ พระยาโยธิกา ที่เมืองโยธิกา(อยุธยา) แคว้นโยธิกา และได้ร่วมกับ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทำสงคราม เข้ายึดครองแคว้นละโว้ กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมา

 

กองทัพมอญ พ่ายแพ้สงคราม จตุคามรามเทพ ปี พ.ศ.๑๑๙๗

ตำนาน พระพุทธรูปสิขีปฏิมา กล่าวถึงผลงานของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ในการทำสงครามชนะข้าศึกมอญ-ทมิฬ โดยสรุปว่า เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ไปยัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งเป็น แคว้นจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ปกครองโดย เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เพราะเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการต่อสู้กับข้าศึก มากกว่า กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ดังนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มีรับสั่งให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ซึงขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษา ให้เดินทางมาช่วยรักษา พระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ไว้ชั่วคราว พร้อมกับมอบทหารให้ไว้เพียง ๖๐ นาย

สงครามครั้งนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำช้างทรงส่วนพระองค์ มาไว้ในพระราชวังหลวงคูบัว ด้วย ส่วนหม่อมหญิงศรีจันทร์ ผู้เป็น อัครมเหสี ขุนราม(จตุคามรามเทพ) รับสั่งให้อยู่รักษา เมืองราม(ศรีเทพ) ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้สั่งเสีย หม่อมหญิงศรีจันทร์ ว่า ถ้ามีข้าศึกมอญ-ทมิฬ ส่งกองทัพมาโจมตี เมืองราม(ศรีเทพ) ถ้าพิจารณาเห็นว่า สู้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ไม่ได้ ให้นำไพร่พลไปหลบซ่อน ที่ดงพระยากลาง

เนื่องจากกองทัพของ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้วางแผนทำสงครามเข้าโจมตีเมืองรอบนอก ของ อาณาจักรอู่ทอง สำเร็จแล้วก็จะนำกองทัพทั้งหมด รวมศูนย์เข้าล้อม กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยไม่ทราบว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้อพยพไพร่พล เดินทางย้ายเมืองนครหลวง ไปที่ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) แคว้นศรีโพธิ์ อาณาจักรชวาทวีป เรียบร้อยแล้ว

เมื่อกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ หลายหมื่นคน จาก อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้ส่งกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นไกลลาศ และ แคว้นรามัน ที่ลุ่มน้ำตะนาวศรี ได้เรียบร้อยแล้ว ก็นำกองทัพบก มุ่งหน้ามาปิดล้อม กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ไว้ เพื่อรอกองทัพเรือ ซึ่ง แม่ทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ยกกองทัพผ่านปากแม่น้ำแม่กลอง มาเสริมทัพ ร่วมกับ กองทัพบก ของ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) ตามแผนการที่กำหนด เพื่อนำกองทัพเข้าโจมตียึดครอง พระราชวังหลวงคูบัว กรุงอู่ทอง ซึ่ง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มีกำลังทหารเพียง ๖๐ คน ทำการรักษาพระราชวังหลวง อยู่ในขณะนั้น

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้ใช้ตำรา จาตุคามรามเทพ ตามที่ได้เคยเล่าเรียนมากับ หลวงตาผ้าขาวรอด วางแผนมาก่อนว่า ถ้ามีข้าศึกมอญ-ทมิฬ เข้ามาปิดล้อมเมือง โดยไม่มีกองทัพมาหนุนช่วย ว่าจะต้องสู้รบอย่างไร? ดังนั้นเมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทราบว่า มีข้าศึกกำลังส่งกองทัพเข้าปิดล้อมกรุงอู่ทอง จึงรับสั่งให้ ชาวกรุงราชคฤห์(อู่ทอง) อพยพหลบภัยสงครามไปหลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขา ดังนั้นเมื่อมีกองทัพของข้าศึกมอญ-ทมิฬ หลายหมื่นคน นำกองทัพ ระลอกแรกมาทำการปิดล้อมกรุงอู่ทอง ไว้นั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงเรียกทหารทั้ง ๖๐ นาย มาประชุมร่วมกัน ว่าจะต้องวางแผนทำศึกอย่างไร? แต่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ เพราะทหารไม่เข้าใจ วิชาพิชัยสงคราม ตามตำรา จตุคามรามเทพ ซึ่ง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้เคยรวบรวมไว้

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงต้องตัดสินด้วยการให้ทหารทดลองเสี่ยงทาย ก่อนที่จะอธิบาย แผนการรบ โดยให้ทหารร่วมกันเสี่ยงทายว่า พระองค์ จะสู้ หรือไม่สู้ ด้วยสัญลักษณ์ ของการเสี่ยงทายว่า พระองค์จะคว่ำพระหัตถ์ หรือ หงายพระหัตถ์ ถ้าหากว่า หงายพระหัตถ์ เป็นการสื่อหมายความว่า จะยอมจำนนกับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แต่ถ้าหากว่า คว่ำพระหัตถ์ แสดงว่าจะทำการสู้กับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ให้ได้รับชัยชนะ ซึ่งเป็นที่มาของการสร้าง เทวรูป พระสิขีปฏิมา ซึ่งได้จำลองเหตุการณ์ สื่อความหมายถึง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ในเหตุการณ์ การตัดสินพระทัย ต่อสู้กับข้าศึกมอญ-ทมิฬ ในเวลาต่อมา

ผลการประชุม และ การเสี่ยงทาย ผลปรากฏว่า ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ตัดสินพระทัย คว่ำพระหัตถ์ ประกาศสู้รบ กับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ด้วยทหารเพียง ๖๐ นาย ทำให้การปฏิบัติการ ตามตำราพิชัยสงคราม จตุคามรามเทพ แผนการที่กำหนด ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงเกิดขึ้น ขุนราม วางแผนลวงให้กองทัพข้าศึก มอญ-ทมิฬ เดินทัพเข้าสู่พระราชวังหลวงคูบัว โดยเตรียมเชื้อเพลิงไว้มากมาย เพื่อทำการเผาพระราชวังหลวงคูบัว กรุงอู่ทอง เพื่อปิดล้อมข้าศึก ให้ถูกทำลายในกองเพลิง และระดมยิงด้วยพลธนู เพราะพิจารณาเห็นแล้วว่า จะไม่สามารถต่อสู้กับกองทัพข้าศึกจำนวนมาก ให้ได้รับชนะ ด้วยวิธีการอื่นๆ ได้อย่างแน่นอน ยกเว้น ต้องใช้วิธีการเผาพระราชวังหลวงคูบัว ตามตำราพิชัยสงคราม วิชาจตุคามรามเทพ เพื่อทำลายข้าศึก แต่เพียงประการเดียว เท่านั้น จึงจะสามารถเอาชนะข้าศึกได้ ดังนั้น เมื่อกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ เข้าปิดล้อมพระราชวังหลวงคูบัว การปฏิบัติตามแผนการที่กำหนด จึงเริ่มต้นขึ้น

เมื่อถึงกำหนด ขุนราม(จตุคามรามเทพ) แสร้งออกไปต่อสู้กับข้าศึก แล้วล่าถอยเพื่อลวงให้กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ รุกไล่เข้าสู่พระราชวังหลวงคูบัว ทำให้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ส่งกองทัพไล่ติดตาม กรูเข้ายึดพระราชวังหลวงคูบัว แล้ว ขุนราม สั่งปิดประตูเมือง แล้วเริ่มจุดไฟเผาพระราชวังหลวงคูบัว เพื่อปิดล้อมกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ให้ถูกยิงตายด้วยพลธนู เป็นที่มาให้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ส่วน ขุนราม ได้หลบหนีออกไปจากพระราชวังคูบัว เพื่อทรงช้างประจำพระองค์ พร้อมกับนำทหารอีก ๖๐ นาย ได้หนีออกจากเมืองไป ในขณะที่ข้าศึกมอญ-ทมิฬ กำลังถูกไฟเผา 

ผลของสงครามครั้งนั้น ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ล้มตายจำนวนมาก ขุนราม(จตุคามรามเทพ) และทหารอีก ๖๐ นาย จึงเดินทัพ ออกไปอย่างปลอดภัย มุ่งหน้าสู่เมืองปะถม แต่ช้างทรงประจำพระองค์ ของ ขุนราม ถูกไฟคลอก ต้องเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงได้นำ งาช้าง ไปเป็นสิ่งของประจำพระองค์ในเวลาต่อมา เมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เดินทางถึงเมืองปะถม เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ผู้เป็นเสด็จอา ทราบถึงชัยชนะในสงครามครั้งนั้น  ก็ถวายช้างทรงอีกเชือกหนึ่ง เพื่อให้เป็นช้างทรงประจำพระองค์ หลังจากนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำทหารช่วยรักษา พระบรมธาตุปะถมเจดีย์ มิให้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ เข้ายึดครอง ต่อมา เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ได้เสนอให้สร้างเทวรูป พระสิขีปฏิมา เพื่อเป็นสื่อแสดงความหมายให้ ชนชาติอ้ายไต ได้ทราบถึงความยากลำบากในการรักษาผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ และกลายเป็นเทวรูปที่สำคัญ พระองค์หนึ่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา

 

สงคราม ณ สมรภูมิ บางพลี ปี พ.ศ.๑๑๙๗

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ไปตั้งหลักวางแผนการทำสงคราม อยู่ที่ เกาะดอนขวาง กรุงศรีโพธิ์-อู่ทอง(ไชยา) ในส่วนของกองทัพรักษาเมืองในดินแดนส่วนกลาง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มอบหมายให้ เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) เป็นผู้บัญชาการทำสงคราม รักษาดินแดน อาณาจักรอู่ทอง เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) ใช้ เมืองดอนเมือง เป็นกองบัญชาการในการวางแผนทำสงคราม กับ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ เจ้าพระยาศรีจง จึงนำกองทัพไปสร้างป้อมปราการ ณ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะคาดการณ์ว่า กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ จะต้องยกกองทัพเรือ เข้ามาทางปากอ่าวของ แม่น้ำเจ้าพระยา

กองทัพที่สำคัญ ของ อาณาจักรอู่ทอง ในการทำสงคราม กับ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ คือ กองทัพของ เจ้าพระยาหะนิมิตร ตั้งกองทัพอยู่ที่ทุ่งดอนเมือง กองทัพของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เดิมทีได้ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองบางเกาะน้อย เมืองทนบุรี(ธนบุรี) แต่เมื่อทราบว่า โอกาสที่ข้าศึกมอญ-ทมิฬ จะยกกองทัพขึ้นมาตามชายฝั่งทะเล ระหว่าง แม่น้ำเจ้าพระยา กับ แม่น้ำบางปะกง เจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงมอบให้ แม่ทัพพระยามะลิดอน มาสร้างค่ายทหาร อยู่ที่ ดอนมะลิ ข้างคลองบางน้ำจืด คือ ท้องที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้นำไพร่พลไปขุดบ่อหลุมขวาก ไว้ในท้องที่ของ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน เพื่อขัดขวางกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ส่งกองทัพเข้ามาทาง แม่น้ำบางปะกง

สามขุนพลที่สำคัญ คือ เจ้าพระยาศรีจง , เจ้าพระยาหะนิมิตร และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ประชุมวางแผนทำสงครามทำลายกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ด้วยกัน และคาดการณ์ไว้แล้วว่า สงครามแย่งม้าระลอกที่-๒ จะต้องมีกองทัพเรือของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ยกกองทัพเข้ามาทางปากอ่าว แม่น้ำเจ้าพระยา อย่างแน่นอน ทั้งสามขุนพล จึงได้เตรียมการรบไว้อย่างเป็นฝ่ายกระทำ ดังนั้น เมื่อกองทัพเรือของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้ยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา จริงๆ ป้อมปราการที่สร้างไว้ ได้ทำลายกองทัพเรือ ของข้าศึกมอญ-ทมิฬ เสียหาย บาดเจ็บล้มตาย ณ ปากน้ำเจ้าพระยา เป็นจำนวนมาก

กองทัพของ เจ้าพระยาศรีจง ได้ใช้ อาวุธใต้เท ซึ่งยิงด้วยปางไม้ขนาดใหญ่ เข้าใส่เรือสำเภาของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ทำให้เรือสำเภาข้าศึกมอญ-ทมิฬ ถูกไฟเผาไหม้ จมลงไปที่ปากอ่าว ข้าศึกมอญ-ทมิฬ บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ส่วนที่รอดชีวิต ต้องถอยทัพ ไม่เป็นขบวน นอกจากนั้น กองทัพของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ยังพยายามยกกองทัพขึ้นทางชายฝั่งทะเล แทนที่ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องการยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นดอนเมือง จึงต้องเดินทัพ ไปทาง บางพลี ซึ่งกองทัพของ แม่ทัพพระยามะลิดอน ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ตั้งกองทัพรอรับอยู่ ตามแผนการศึก ที่กำหนด

ตามแผนการสงครามทำลายกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่กำหนด กองทัพของ เจ้าพระยาหะนิมิตร ถูกกำหนดให้  แสร้งสู้รบกับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ตามริมชายฝั่งทะเล แล้วแสร้งถอยร่น ไปทาง บางพลี เพื่อให้กองทัพของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เข้าซุ่มโจมตีทำลายข้าศึกมอญ-ทมิฬ เพื่อลวงให้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องตกอยู่ในวงล้อม เพื่อกดดันให้ต้องล่าถอย ไปตก บ่อหลุมขวาก ในท้องที่ บางบ่อ ผลการรบ เป็นไปตามแผนสงคราม ที่กำหนด ดังนั้นเมื่อกองทัพของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องพ่ายแพ้สงครามที่ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา และต้องเปลี่ยนแผน ยกกองทัพใหญ่ขึ้นบก ตามชายฝั่งทะเล กองทัพของ เจ้าพระยาหะนิมิตร  ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างหนักในการหลอกล่อ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ให้หลงกล เข้าสู่ท้องที่ บางพลี ให้กองทัพ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ใช้กองทัพม้า ทำลายกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ตามแผนการที่กำหนด

เจ้าพระยาหะนิมิตร ได้นำกองทัพม้า เข้าโจมตีหลอกล่อข้าศึก ให้ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ติดตามเข้าไปอยู่ในวงซุ่ม ของ กองทัพเจ้าพระยาศรีไชยนาท ทำการพลีชีพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งกองทัพใหญ่ ของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้เดินทัพเข้าไปอยู่ในวงล้อม ของ แม่ทัพพระยามะลิดอนทุ่งบางพลี จนเกิดการรบขั้นแตกหัก มีการพลีชีพ ของกองทัพทั้งสองฝ่าย ในท้องที่ ทุ่งบางพลี ดังกล่าว จนกระทั่ง แม่ทัพพระยามะลิดอน ต้องเสียชีวิต ในที่รบ ณ ทุ่งบางพลี บริเวณคลองบางน้ำจืด

เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้นำกองทัพออกสู้รบด้วยพระองค์เอง อย่างกล้าหาญ แม้ว่า กองทัพข้าศึกจะมีเ็นำนวนมาก และแม้ว่า แม่ทัพพระยามะลิดอน ได้เสียชีวิตไปแล้ว แต่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ก็นำกองทัพม้า เข้าสู้รบอย่างกล้าหาญ ทำให้ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องมาพลีชีพ ณ ทุ่งบางพลี ด้วยอาวุธใต้เท เป็นจำนวนมาก จนต้องพ่ายแพ้สงคราม และต้องล่าถอยกลับไปทาง ท่าเสาธง

เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ทำเสาธง เพื่อชักธง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่ท่าเสาธง เพื่อประกาศชัยชนะ ส่วนกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่เหลือ ได้หลบหนีไปทาง บางบ่อ ไปตกบ่อหลุมขวาก ที่ บางบ่อขวาก เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่วนกองทัพม้าของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ก็มาเสียชีวิตในท้องที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เช่นกัน เป็นการพลีชีพเพื่อชาติ เพื่อการรักษาผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ให้ตกทอดแก่ลูกหลานสืบทอดต่อมา เป็นที่มาให้ท้องที่สนามรบดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า บางพลี , บางเสาธง และ บางบ่อ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ในบริเวณท้องที่ที่เขตอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ในปัจจุบัน เคยมีประวัติการรบกันอย่างดุเดือดจนประชาชนตั้งสมญานาม เจ้าชายทูลี่  หรือ เจ้าพระยาบุกเหรงนอง  ซึ่งข้าศึกเรียกว่า  "บู๊เรงนอง" เกิดความหมายของคำว่า บู๊ ขึ้นมาในสมัยนั้น ส่วนพม่า  เรียกเพี้ยนเป็น  "บูเรงนอง" หมายถึงผู้กล้าหาญ และเป็นคำที่ใช้สืบทอดกันมา  และยังเรียกกันอยู่ในดินแดนภาคใต้ เฉพาะในหมู่ผู้สูงอายุ  และในสมัยต่อๆ มา ทางประเทศพม่า ได้นำคำนี้ ไปตั้งพระนามกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ว่า  บูเรงนอง  ที่เป็นผู้ชนะสิบทิศของพม่า  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อีกด้วย

เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ส่งกองทัพไล่ล่า กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ไปถึงแม่น้ำบางปะกง กองทัพส่วนที่เหลือของ กองทัพมอญ-ทมิฬ ได้เดินทางลงไปทางใต้ เพื่อเข้าโจมตี แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) และ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ต่อไป เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท และ เจ้าพระยาหะนิมิตร ต้องรีบนำกองทัพเดินทางสู่ภาคใต้ จึงได้ไปพบกับ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ณ เมืองปะถม เพื่อให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เร่งรีบเดินทางมายังบางพลี เพื่อจัดการกับศพผู้เสียชีวิต จำนวนมาก ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด

 

จตุคามรามเทพ ผู้สร้างประเพณีโยนดอกบัว ณ บางพลี ปี พ.ศ.๑๑๙๘

เมื่อ เจ้าพระยา ๒ พี่น้อง คือ เจ้าพระยาหะนิมิตร และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องเร่งส่งกองทัพ ไปรักษา แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) และ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) จึงได้ส่งพระราชสาส์น ถึง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ซึ่งกำลังรักษา พระบรมธาตุปะถมเจดีย์ ให้เร่งรีบนิมนต์พระสงฆ์ จาก วัดดอนยายหอม เพื่อเดินทางมายัง บางพลี เพื่อจัดการกับศพผู้เสียชีวิต จำนวนมาก ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด เป็นเหตุให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ต้องเร่งยกกองทัพ มายัง บางพลี สมุทรปราการ

ตามตำนาน ประเพณีโยนบัว ในท้องที่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ กล่าวว่า เกิดขึ้นเมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) นำไพร่พลเดินทางมาเร่งจัดการเผาศพ ผู้เสียชีวิต จากผลของ สงครามบางพลี เมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เดินทางมาถึง ศพผู้เสียชีวิตจากสงคราม เริ่มส่งกลิ่นเหม็น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงรับสั่งให้ไพร่พลออกไปป่าวร้อง ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ช่วยกันจัดหาดอกบัว เพื่อนำมาใช้ในพิธีเผาศพเพื่อส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิต โดยจะมีการล่องเรือ เพื่อออกไปรับ ดอกบัว จึงเป็นที่มาให้ประชาชนร่วมมือกัน ไปจัดหาดอกบัว และโยนดอกบัว ลงไปในเรือ เพื่อนำดอกบัวดังกล่าว ไปมอบให้พระภิกษุ เพื่อใช้ในการทำพิธีส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตจากสงคราม เนื่องจากศพผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนั้น พบมากที่สุดในท้องที่ บางโฉลง การเผาศพข้าศึก จึงเรียกว่า "ทำโฉลง" จึงเกิดขึ้นที่ บางโฉลง มากที่สุด และเป็นที่มาให้ชื่อท้องที่ดังกล่าว ถูกเรียกว่า บางโฉลง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังพิธี โยนบัว เพื่อการร่วมมือกันช่วยเผาศพผู้เสียชีวิตจากผลของสงคราม ซึ่งเรียกว่า ทำโฉลง ในท้องที่บางพลี สมุทรปราการ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำไพร่พล เดินทางไปยัง แคว้นโยธิกา(อยุธยา) เพื่อวางแผนทำสงครามยึดครอง แคว้นละโว้ กลับคืน แต่ที่ท้องที่ บางพลี ยังมีศพผู้เสียชีวิตจากสงคราม ตกค้าง อยู่อีกเป็นจำนวนมาก เกิดวิญญาณเร่ร่อน ออกหลอกหลอนประชาชนในท้องที่ บางพลี จนกระทั่งประชาชนบางส่วน ต้องอพยพไปตั้งรกราก ยังท้องที่อื่นๆ

ในปีถัดมา ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้เดินทางกลับมายังท้องที่ บางพลี อีกครั้งหนึ่ง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงได้จัดให้มี ประเพณีโยนบัว เพื่อนำไปใช้ในพิธีกรรมส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตจากสงคราม อีกครั้งหนึ่ง และรับสั่งให้ดำเนินการเป็นประจำทุกๆ ปี จึงเป็นที่มา ของ ประเพณีโยนบัว ในท้องที่ บางพลี ซึ่งมีการสืบทอด ประเพณีโยนบัว สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

กองทัพมอญ เข้าตีเมืองใต้ ปี พ.ศ.๑๑๙๘

ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองพริบพรี(เพชรบุรี) เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเพชร , เมืองนาลองกา(ทับสระแก) เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองทับสระแก , เมืองพินธุสาร เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองชุมพร และ เมืองพันธุสาร เป็นชื่อ เมืองหลังสวน มีตำนานกล่าวโดยสังเขปว่า ภายหลังความพ่ายแพ้ ของกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่ บางพลี สมุทรปราการ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ส่วนที่เหลือได้ยกกองทัพเรือ จาก ปากแม่น้ำเจ้าพระยา และ แม่น้ำบางปะกง มุ่งหน้าลงไปทางใต้ เพื่อเข้าโจมตี แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) , แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) , แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) เป็นแว่นแคว้นต่อไป

อีกทั้งมีข่าวว่า กองทัพของชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) บริเวณภูเขาพระนารายณ์ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพราะทราบข่าวว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้นำไพร่พล อพยพไปยังดินแดน พื้นที่ดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ เจ้าพระยาหะนิมิตร และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องยกกองทัพลงไปช่วยเหลือ

กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้ยกกองทัพมุ่งลงไปทางใต้ เข้าตี เมืองพริบพรี(เพชรบุรี) เมืองนาลองกา(ทับสระแก) เมืองพินธุสาร(ชุมพร) และ เมืองพันธุสาร(หลังสวน) แตกพ่ายไปตามลำดับ ประชาชนเมืองต่างๆ ที่กล่าวมา ต้องหลบหนีภัยสงคราม ไปซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าเขา แม้ว่าสงครามเสร็จสิ้นแล้ว ประชาชนตามเมืองต่างๆ เกรงว่าสงครามยังจะคงเกิดขึ้นอีก จึงไม่ยอมเดินทางกลับเข้ามาตั้งรกราก ภายในเมือง

ส่วนกองทัพของ เจ้าพระยาสองพี่น้อง ยกกองทัพไปสกัดข้าศึกมอญ-ทมิฬ ณ ท้องที่ คลองขนาน เจ้าพระยาศรีไชยนาท ทราบว่า กองทัพของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ชนะข้าศึกพม่าที่ เมืองเพลา(ภูเขาเพลา) มีข้าศึกพม่าเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงมอบให้ทหารไปลำเลียงศพ ข้าศึกชนชาติทมิฬ ไปวางเรียงรายตามเส้นทางเดินทัพ ของ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ทำให้กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ขวัญเสีย และทำการส่งกองทัพเข้าโจมตีกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องล่าถอยออกจากเมืองต่างๆ ที่ถูกยึดครอง

ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองพริบพรี(เพชรบุรี) เป็นชื่อ เมืองเพชร กล่าวว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เรียกร้องให้ประชาชนอพยพกลับสู่ท้องที่เดิม เพื่อรวมตัวต่อสู้กับ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ แต่ประชาชนยังไม่ยอมอพยพกลับมาตามเขตป่าเขา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงวางแผนให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำเพชรไปฝังดินไว้บริเวณภูเขาวัง แล้วปล่อยข่าวออกไปว่า ขุดพบเพชรได้ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เมื่อข่าวการขุดพบเพชร แพร่สะพัดออกไป ประชาชนที่หลบหนีอยู่ตามเขตป่าเขา ก็อพยพลงมาขุดหาเพชร ด้วยเช่นกัน ประชาชนจึงทราบข่าวว่าสงครามแย่งม้า ได้ยุติแล้ว และสามารถอพยพเข้ามาอยู่ในเมืองเดิมของตนได้  ตั้งแต่นั้นมา ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า "เมืองเพชร" สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองนาลองกา(ทับสระแก) เป็น เมืองทับสระแก เกิดขึ้นในสมัยสงครามแย่งม้า เช่นเดียวกัน เรื่องราวมีอยู่ว่า แม่ทัพของ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) มีอายุมากแล้ว นักรบจำนวนมาก ก็ล้วนเป็นคนแก่เฒ่า กองทัพของ แคว้นนาลองกา ที่ต่อสู้กับกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ เรียกว่า ทัพตาแก่ ดังนั้นเมื่อข้าศึกมอญ-ทมิฬ ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นนาลองกา แม่ทัพตาแก่ ได้นำขุนพลทั้งหลาย ไปอาบน้ำที่สระแห่งหนึ่ง เรียกว่า สระลดความแก่ อ้างว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ สามารถทำให้มีกำลังวังชาเพิ่มขึ้น ก่อนการสู้รบ เป็นที่มาให้ประชาชนเรียกทัพตาแก่ ว่า ทัพสระแก่ และในการสู้รบกับข้าศึกมอญ-ทมิฬ ครั้งนั้น ทัพสระแก่ สามารถรบชนะข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องถอยทัพหนีเข้าป่าไปในดินแดน เขตกุยบุรี กองทัพ แม่ทัพสระแก่ ตามค้นหา(กุย) ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ในเขตป่าเขา จับมาเป็นเชลยศึก จำนวนมาก จึงเป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า เมืองกุย ซึ่งแปลว่า เมืองแห่งการค้นหาข้าศึก ตั้งแต่นั้นมา ส่วน เมืองนาลองกา ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ทัพสระแก่ และเพี้ยนมาเป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ว่า ทัพสระแก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ในขณะที่มีข้าศึกมอญ-ทมิฬ ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) นั้น มีประชาชนกลุ่มผู้ทำนาเกลือ ส่วนหนึ่ง ต้องลี้ภัยสงคราม อพยพไปตั้งรกรากทำนาเกลือในบริเวณ บ้านนาเกลือ เมืองคลองวัง(บ้านนาเกลือ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้เรียกประชาชนผู้อพยพจาก แคว้นนาลองกา ที่ไปตั้งรกรากในท้องที่ใหม่ ว่า "พวกนาลี้กา" ซึ่งหมายถึง ชาวนาเกลือผู้อพยพลี้ภัยสงครามข้าศึกมอญ-ทมิฬ ผู้อพยพกลุ่มนี้ เป็นผู้สร้าง นาฬิกาแดด มาใช้ในการนับเวลา จึงเป็นที่มาของคำไทยที่ว่า "นาฬิกา" หมายถึงเครื่องมือในการจับเวลา ในเวลาต่อมา ด้วย

ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองพินธุสาร(ชุมพร) เป็น เมืองชุมพร เป็นผลมาจากสงครามแย่งม้า เช่นเดียวกัน มีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อเกิดสงครามแย่งม้า นั้น กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้ยกทัพเข้าตี แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) ด้วย ประชาชนได้พากันหลบหนีไปอาศัยอยู่ในบริเวณเขตป่าเขา ต่อมาเมื่อกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ พ่ายแพ้สงครามแล้ว ประชาชนยังไม่ยอมอพยพกลับมาอาศัยภายในเมือง ต่อมา พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด จึงนำพระภิกษุจากวัดศรีราชัน ไปจำนวนหนึ่ง ออกติดตามประชาชนที่หลบหนีอยู่ตามเขตป่าเขาให้ลงมา ชุมนุมรับพร เพื่อการปลอบขวัญ และสร้างขวัญกำลังใจ ให้เดินทางกลับเข้ามาสร้างบ้านเมืองกันต่อไป

ประชาชนชาวเมืองพินธุสาร(ชุมพร) จึงได้เดินทางอพยพลงมาจากที่หลบซ่อนในเขตป่าเขา และมาชุมนุมร่วมกันให้พระอาจารย์พ่อตาผ้าขาวเถระรอด ประพรมน้ำมนต์ให้พร ท้องที่บริเวณดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า "ที่ชุมนุมรับพร" หรือ "ที่ชุมนุมขอพร" ต่อมาถูกตัดคำสั้นๆ เรียกกันว่า "ที่ชุมพร" ตำนานท้องที่จังหวัดชุมพร จึงมี ที่ปฐมพร และหลาย ๆ  อย่างเกี่ยวกับการรับพร  และ การขอพร  เป็นตำนานท้องที่สืบมา และเป็นที่มาของการเรียกชื่อเมืองใหม่ จาก เมืองพินธุสาร ในชื่อใหม่ ว่า เมืองชุมพร สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

ตำนานความเป็นมาของการเปลี่ยนชื่อท้องที่ เมืองพันธุสาร(หลังสวน) เป็น เมืองหลังสวน เป็นผลมาจากสงครามแย่งม้า เช่นเดียวกัน มีเนื้อหาโดยสรุปว่า เมื่อเกิดสงครามแย่งม้า นั้น กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้ยกทัพเข้าตีแคว้นพันธุสาร(หลังสวน) ด้วย ประชาชนได้พากันหลบหนีไปอาศัยอยู่ในบริเวณเขตป่าเขา เช่นเมืองอื่นๆ แต่เมื่อกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ พ่ายแพ้สงครามแล้ว ประชาชนยังไม่ยอมอพยพกลับมาอาศัยภายในเมือง เช่นกัน

เจ้าเมืองพันธุสาร(หลังสวน) จึงให้ขุนนาง ออกไปป่าวประกาศ ให้ประชาชนที่หลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขา ให้เร่งอพยพกลับมาโดยเร็ว มิฉะนั้น จะยึดที่ดิน เรือกสวนไร่นา เพื่อแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่ง ให้กับผู้อพยพที่เดินทางมาจากท้องที่อื่นๆ และเริ่มทำการปฏิบัติจริง ทำให้ผู้ที่อพยพมาตอนหลัง ได้แบ่งที่ดินไปส่วนหนึ่ง จึงเป็นที่มาให้ประชาชนที่หลบหนีภัยสงคราม อยู่ในเขตป่าเขา ต้องอพยพกลับมา จึงเป็นที่มาให้ท้องที่ เมืองพันธุสาร ถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า เมืองหลังสวน ตั้งแต่นั้นมา

 

จตุคามรามเทพ ยึดครอง แคว้นละโว้ กลับคืน ปี พ.ศ.๑๑๙๘

ภายหลัง พิธีโยนบัว เพื่อการเผาศพผู้เสียชีวิตจากผลของสงครามแย่งม้า ซึ่งเรียกว่า ทำโฉลง ในท้องที่บางพลี สมุทรปราการ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำไพร่พล เดินทางไปยัง แคว้นโยธิกา(อยุธยา) เพื่อร่วมวางแผนทำสงครามยึดครอง แคว้นละโว้ กลับคืน หลังจากนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้เสด็จไปยัง เมืองราม(ศรีเทพ) จึงได้วางแผนให้นำไพร่พลใน เมืองราม(ศรีเทพ) แยกออกเป็น ๓ ส่วน กองกำลังทหารหลัก ได้อพยพมาสร้างฐานที่มั่นอยู่ที่ ดงพระยาใหญ่ กำลังส่วนที่สอง มอบให้ หม่อมหญิงศรีจันทร์ ผู้เป็นมเหสี นำไพร่พล ไปสร้างฐานที่มั่นไว้ที่ ดงพระยากลาง ส่วนกำลังส่วนที่สาม ให้มีเพียงกำลังส่วนน้อย เพื่อรักษา เมืองราม(ศรีเทพ)ไว้ ถ้ามีข้าศึกยกทัพเข้ามาโจมตี ก็ให้ยอมล่าถอยออกมา ยอมให้ข้าศึกยึดเมือง แล้วค่อยนำกองทัพ เข้าล้อมเมือง เพื่อยึดเมืองกลับคืนอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าไม่มีข้าศึกเข้ายึดเมือง กำลังที่ตระเตรียมไว้ จะทำสงครามยึด เมืองละโว้ กลับคืนมา อีกครั้งหนึ่ง แผนการรบต่างๆ เป็นไปตามตำราพิชัยสงคราม จตุคามรามเทพ ที่ ขุนราม ได้รวบรวมสร้างเป็นตำราไว้ หลังจากได้รับการศึกษา จาก หลวงตาผ้าขาวรอด

ตำนาน ดงพระยาใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณ ภูเขาโมกุล ต.ห้วยหิน อ.ไชยบาดาล จ.ลพบุรี ในปัจจุบัน กล่าวว่า กองทัพของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ที่ดงพระยาใหญ่ มีขุนนางระดับ พระยา ซึ่งรอดตายมาจากการซุ่มโจมตี ของ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) ณ ดงเทพสถิต ได้มาร่วมกันสร้างกองทัพเพื่อทำการสู้รบกับ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ อยู่จำนวนหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนความแค้นให้เป็นพลัง ตามตำราพิชัยสงคราม จตุคามรามเทพ ให้สามารถทำการสู้รบกับ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ซึ่งมีจำนวนมากกว่า อย่างกล้าหาญ

กองทัพกลุ่มพระยา ดังกล่าว ที่ ดงพระยาใหญ่ ได้นำกองทัพลอบโจมตี กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ที่ถูกส่งมาทางบก จาก อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ไม่สามารถส่งกองทัพ และเสบียงกรัง มาเสริมกองทัพทางบกได้ ต่อมา พระยา ดังกล่าว ได้ร่วมกันนำกองทัพเข้ายึดครอง เมืองละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พวกพระยา ที่ดงพระยาใหญ่ ดังกล่าว ล้วนได้รับโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าเมือง ทั้งสิ้น ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า ดงพระยาใหญ่ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ตำนานสงครามยึดครองแคว้นละโว้ กลับคืน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้ส่งสายลับออกไปเกลี้ยกล่อมชนชาติอ้ายไต ในเมืองละโว้ ให้ลุกขึ้นก่อกบฏ พร้อมๆ กัน ทำให้ กองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ถูกกองทัพของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ลวงให้ต้องแบ่งกำลังเข้าโจมตี เมืองโยธิกา(อยุธยา) และกองทัพของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จากดงพระยาใหญ่ จึงได้โอกาส สามารถนำกองทัพเข้ายึด เมืองละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ โดยสามารถจับ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ กษัตริย์มอญ-ทมิฬ เป็นเชลยศึก ถูกจับขังไว้ในคุก ร่วมกับลิง จนกระทั่งสวรรคต ในเวลาต่อมา

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงนำกองทัพเข้าขับไล่กองทัพมอญ-ทมิฬ ซึ่งยึดเมืองต่างๆ ของ แคว้นละโว้ และ อาณาจักรอู่ทอง จนสามารถกวาดล้าง กองทัพชนชาติมอญ-ทมิฬ ได้อย่างราบคาบ แคว้นละโว้ จึงกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรอู่ทอง แทนที่ กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) ตั้งแต่สิ้นสุดสงครามแย่งม้า เป็นต้นมา ชื่อ อาณาจักรอู่ทอง จึงถูกนำไปรวมกับ แคว้นละโว้ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ เป็น อาณาจักรละโว้ ตั้งแต่นั้นมา

 

การสิ้นสุด ของ สงครามแย่งม้า ปี พ.ศ.๑๑๙๘

ตำนานท้องที่ ไทรขุนฤทธิ์ หรือ ไทรเจ้าพระยาไชยฤทธิ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า สงครามแย่งนาง , สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า เกิดขึ้น ๔ ปี เริ่มต้นของสงครามครั้งแรก เรียกว่า สงครามแย่งนาง คือ นางอั่วคำ จากการที่ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ วางแผนทำลายกองทัพหลัก ของ แคว้นเชียงขวาง แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ต่อมา ได้เกิด สงครามทุ่งไหหิน โดย อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรอีสานปุระ ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นเชียงทอง(หลวงพระบาง) , แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) และ เชียงขวาง แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งปกครองโดย เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ เป็นผลสำเร็จ ต่อมาให้เกิด สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ-ทมิฬ และ ชนชาติทมิฬ เรียกว่า สงครามแย่งม้า เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นเวลา ๔ ปี

เนื่องจาก กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรอีสานปุระ ได้รับชัยชนะในระยะแรก และได้เสียหายอย่างหนักในสงครามที่ บางพลี และเริ่มพ่ายแพ้สงครามเรื่อยมา จนกระทั่ง พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ถูกจับเป็นเชลยศึก และสวรรคต ภายในคุก ส่วน พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) ไม่กล้าทำสงครามอีก ต้องล่าถอยกลับไป ทำให้กองทัพมอญ-ทมิฬ ต้องถอยทัพกลับคืนดินแดน อาณาจักรอีสานปุระ และ สงครามแย่งม้า ได้ลุกลามขยายตัวต่อไป เมื่อ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) และ สหราชอาณาจักรมหาจามปา(เวียตนาม) เข้าร่วมสงคราม เข้าโจมตี อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป ด้วย สงครามครั้งนั้น จึงต้องจบลงด้วยการสวรรคต ของ เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ ณ ภูเขาลูกยาง ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ เป็นพระราชบิดา ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) และ เจ้าพระยาไกรสร และยังเป็นเสด็จปู่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) อีกด้วย เมื่อ อาณาจักรอ้ายลาว ถูกกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ เข้ายึดครอง เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงต้องอพยพไพร่พลมาสร้างพระราชวังประทับใหม่ อยู่ที่ พระราชวังไทรขุนไชยฤทธิ์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) พร้อมกับ พระนางสิยา ต่อมาเมื่อ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ของ ชนชาติทมิฬ เข้าร่วมสงคราม และได้พ่ายแพ้สงคราม กองทัพของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ที่เมืองเขาเพลา แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) แล้ว กองทัพข้าศึกทมิฬ จึงต้องล่าถอยชั่วคราว

ต่อมากองทัพข้าศึกทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ได้ยกทัพมาใหม่ ผ่านมาทาง เมืองสักเวียด(ต.เสวียด อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี) เพื่อเข้าโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ ได้นำกองทัพ ไปตั้งทัพอยู่ในบริเวณ ภูเขาลูกยาง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อกองทัพทมิฬ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ถูกลวงให้ต้องเดินทัพมุ่งมาสู่ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) จึงมีการสู้รบกันมาตลอดแนวเส้นทาง และต่อมา ข้าศึกทมิฬ ถูกกลลวงให้เดินทัพ มาทำสงครามที่ภูเขาลูกยาง เพื่อให้กองทัพ ของ เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ โจมตีด้วยอาวุธใต้เท โดยยิงอาวุธใต้เท จากบนภูเขาลูกยาง เข้าใส่กองทัพข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ทำให้ข้าศึกทมิฬ ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย เป็นจำนวนมาก

เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) พ่ายแพ้สงคราม จึงขอทดลองยิงอาวุธใต้เท เข้าใส่ข้าศึกทมิฬ ด้วยพระองค์เอง แต่ผลปรากฏว่า อาวุธใต้เท สะบัดกลับเข้าใส่ร่างกาย ของเจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ ไฟลุกท่วม ร่างกาย จนสวรรคต บนภูเขาลูกยาง ส่วนกองทัพชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ที่พ่ายแพ้สงคราม ก็หลบหนี ถอยทัพกลับไป เป็นการสิ้นสุดของสงครามแย่งม้า ที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลา ๔ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๘ เป็นต้นมา

 

ท้าวอู่ทอง ใช้ แคว้นศรีโพธิ์ เป็นราชธานี ปี พ.ศ.๑๑๙๘

ตำนานพ่อตาเจ้าที่ ในท้องที่ เกาะดอนขวาง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เช่น พ่อตาดำ , พ่อตาลือ , พ่อตาพระยาเสือเขา , พ่อตาพร , พ่อตาพัน , พ่อตาหาร , พ่อตาบันใหญ่ , พ่อตาทุ่งใหญ่ , พ่อตาลาวสูง , พ่อตาพระยามาลี , พ่อตาพระยากรีจักร และ พ่อตาศรีทอง เป็นต้น ซึ่งยังมีประชาชนให้การเคารพบูชา บวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน ล้วนเป็นเรื่องราวที่สะท้อน เรื่องราวการสร้างเมืองนครหลวงแห่งใหม่ ก่อนที่จะก่อกำเนิด สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ แทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในที่นี้ จะนำมากล่าว โดยสังเขป ดังนี้คือ

 

พ่อตาดำ ผู้รักษา ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง

ตำนาน พ่อตาดำ ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ตาดำ คือชนพื้นเมือง แขกดำ ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และถูกพายุพัด ให้ครอบครัว ตาดำ ต้องมาตั้งรกรากในดินแดนพื้นที่ เกาะดอนขวาง เป็นครอบครัวแรก จนกลายเป็นหมู่บ้านแขกดำ ในเวลาต่อมา ตาดำ ได้ตายไป และได้เกิดใหม่ มาหลายภพชาติ

จนกระทั่งภพชาติหนึ่ง ตาดำ ได้เกิดมา ในขณะที่พระพุทธเจ้าเสด็จมายัง ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ตาดำจึงได้เข้ามาเฝ้าถวายภัตตาหาร แด่พระพุทธเจ้า ซึ่งได้เสด็จมาประทับอยู่บนยอด ภูเขาสุวรรณคีรี พระพุทธองค์ได้ทำนายว่า ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) จะกลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไปในอนาคต จึงขอให้ ตาดำ รักษา ภูเขาสุวรรณคีรี ให้ดี อย่าให้ใครมาครอบครอง ดังนั้นเมื่อ ตาดำ ตายไป วิญญาณของตาดำ จึงเฝ้ารักษา ภูเขาสุวรรณคีรี อยู่ที่ ถ้ำตาดำ(ถ้ำเล็ก) ตามที่พระพุทธเจ้า เคยตรัสไว้

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ตัดสินพระทัย ใช้ เกาะดอนขวาง เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และได้อพยพไพร่พล มาสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นมาบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) คืนแรก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มานอนหลับ อยู่ในถ้ำ พ่อตาดำ จึงถูกพ่อตาดำไปเข้าฝัน และขับไล่ให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ออกไปจากบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี อ้างว่า พ่อตาดำ ต้องรักษา ภูเขาสุวรรณคีรี ไว้ให้ผู้มีบุญ มาสร้างภูเขาให้เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในอนาคต

เหตุการณ์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ พ่อตาดำ เพื่อขออนุญาตใช้ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในวันถัดมา และกลายเป็นประเพณี บวงสรวงเซ่นไหว้ พ่อตาดำ บริเวณ ถ้ำตาดำ(ถ้ำเล็ก) สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

 

พ่อตาลือ ช่างฝีมือชั้นเยี่ยม ในการสร้างหม้อ ไห และ สร้างอิฐดินเผา

ตำนาน พ่อตาลือ ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) และ บริเวณบ้านโคกหม้อ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ตาลือ สืบสายสกุลมาจากสายตระกูล พ่อตาดำ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านแขกดำ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี ต้นตระกูล ของ ตาลือ ได้รับการฝึกฝีมือทำหม้อไหดินเผาจาก เจ้าหาญคำ(พระเจ้าสุมิตร) ให้สามารถผลิตเครื่องปั้นดินเผา ประเภทหม้อ และไห มาใช้ในเมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ยาวนานมาแล้ว จนกระทั่งได้ไปสร้างโรงงานผลิตหม้อ-ไห ที่บ้านโคกหม้อ(บริเวณชุมสายโทรศัพท์ อ.ไชยา) สืบทอดวงศ์ตระกูลมาจนถึง ตาลือ ซึ่งเป็นสมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มาใช้พื้นที่ เกาะดอนขวาง เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

โดยที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มอบหมายให้ขุนนางต่างๆ ออกไปประกาศป่าวร้องสืบหาผู้ที่มีฝีมือในการผลิตเครื่องปั้นดินเผา มารับราชการ จนกระทั่งสืบทราบว่า ตาลือ มีฝีมือสูงสุดในเมืองศรีโพธิ์ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงได้รับ ตาลือ จากบ้านโคกหม้อ มารับราชการที่ เกาะดอนขวาง และให้สร้างเตาเผาอิฐ ขึ้นมาในพื้นที่ บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี สามารถผลิตอิฐ และเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ ตามที่มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มอบหมายจนสำเร็จ

เมื่อ ตาลือ เสียชีวิตไป ดวงวิญญาณ ของ ตาลือ ก็ยังคงพยายามรักษา อิฐโบราณ ที่มีอยู่ในบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี ประชาชนที่ไปงัดเอาก้อนอิฐโบราณ บริเวณโบราณสถาน ภูเขาสุวรรณคีรี ไปใช้ประโยชน์ จะต้องบวงสรวงเซ่นไหว้ ขอจาก พ่อตาลือ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระยาเสือเขา ผู้สร้างกำแพงหิน และ ผู้ควบคุมโซ่เหล็ก อ่าวศรีโพธิ์

ตำนาน พ่อตาเสือเขา ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณหน้าถ้ำ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า พระยาเสือ เป็นนายทหารองค์รักษ์ ของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มาร่วมสร้างพระราชวังหลวงขึ้นมาใหม่ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง พระยาเสือเขา ได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้นำไพร่พล มาร่วมกันขุดสระน้ำ ขึ้นมา ในบริเวณใกล้เนินเขาหน้าถ้ำ เพื่อเป็นสระเก็บกักน้ำพุร้อน ซึ่งเป็นน้ำแร่ธรรมชาติ มาใช้สงน้ำ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง และพวกราชวงศ์ เป็นประจำทุกวัน 

พระยาเสือ ได้นำไพร่พลปรับเนินเขา โดยการนำก้อนหิน มาสกัดตกแต่ง เพื่อสร้างพลับพลาที่ประทับ และสร้าง พระราชมณเฑียร ที่ว่าราชการของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) จนสำเร็จ และได้สร้างกำแพงหิน รอบที่ตั้งพระราชวังหลวง ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง จนสำเร็จ ในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาให้ พระยาเสือ ถูกมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) พระราชทานชื่อใหม่ว่า พระยาเสือเขา

ต่อมา พระยาเสือเขา ยังได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ให้ร่วมกับ พระยายมบา ให้ร่วมกันทำการสร้างโซ่เหล็ก และ เครื่องจักร เพื่อใช้ควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา บริเวณ ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) และกลายเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักร เพื่อควบคุมการยกขึ้นลง ของ โซ่เหล็ก ณ ปากอ่าวศรีโพธิ์ เพื่อการเข้าออกของเรือสำเภา ในการเดินทางเข้ามายัง อ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) ในเวลาต่อมา

แต่ต่อมา พระยาเสือเขา ได้กระทำความผิด โดยมิได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ ในการปิดเปิดอ่าว ให้เรือสำเภาเข้าออก ตามที่กำหนด ในสมัยที่เกิด สงครามแย่งช้าง ทำให้ พระเจ้ามังกูร่า มหาราชา แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) สามารถนำเรือสำเภา เข้ามายังอ่าวศรีโพธิ์ได้ พระยาเสือเขา จึงต้องโทษ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นำไปตัดศีรษะ ณ บริเวณหน้าถ้ำ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) จึงถูกประชาชนเรียกชื่อว่า พ่อตาเสือเขา หรือ พ่อตาหน้าผา ซึ่งมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระยาสำโรง นักรบ และ วิศวกรโยธา ผู้สร้างอาคารต่างๆ

ตำนาน พ่อตาสำโรง หรือ พ่อตาโหรง หรือ พ่อตาปะหมา(ปากมาก) หรือ พ่อตาปะหมอ(ปากหมอ) หรือ พ่อตาปะหมัน(ปากมัน) ซึ่งประชาชนเรียกกันหลายชื่อ และนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณต้นสำโรง ซึ่งเป็นที่ตั้งหลักเมือง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ของ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ซึ่งเมื่อคณะมโนรา หรือ คณะหนังตะลุง เดินทางผ่านมา ต้องบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

มีเรื่องราวเกี่ยวกับ พ่อตาสำโรง กล่าวโดยสรุปว่า เดิมที พระยาสำโรง เป็นขุนนาง ของ เจ้าพระยาศรีจง เป็นผู้นำไพร่พล สร้างป้อมปราการ ขึ้นที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อต่อสู้กับข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต่อมา พระยาสำโรง ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นผู้ปกครอง เมืองสำโรง สมุทรปราการ จนกระทั่ง เกิดศึก สงครามบางพลี ซึ่งข้าศึกมอญ-ทมิฬ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ สงครามบางพลี บาดเจ็บล้มตายไปหลายหมื่นคน ภายหลังสงครามบางพลี ณ เมืองสำโรง เจ้าพระยาศรีจง จึงได้ส่ง พระยาสำโรง ให้เดินทางไปช่วยงาน เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ซึ่งเป็นพระราชโอรส ที่แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา)

เมื่อ พระยาสำโรง เดินทางมาเป็นขุนนาง ของ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีธรรมโศก ก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการจัดหาวัสดุการก่อสร้าง และควบคุมการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ในดินแดน แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ให้เป็นไปตามที่กฎหมาย กำหนด พระยาสำโรง มีปัญหาในการสื่อสาร กับประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งสื่อสารกันไม่ค่อยเข้าใจ ต่อมาเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาใช้ เกาะดอนขวาง เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงมีการสร้างพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นมาบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) จึงเป็นที่มาให้จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีธรรมโศก ส่ง พระยาสำโรง และไพร่พล ไปช่วยเหลือ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างพระราชวังหลวง ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร กับ ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้ หนักเพิ่มขึ้นไปอีก

เนื่องจาก พระยาสำโรง ได้รับมอบหมาย ให้นำไพร่พลไปจัดหาก้อนหิน มาส่งมอบให้กับ พระยาเสือ เพื่อใช้สร้างเป็นกำแพงพระราชวังหลวง จึงได้นำไพร่พล ไปจัดหาก้อนหิน ในบริเวณท้องที่ ต.ปากหมาก อ.ไชยา ในปัจจุบัน เพื่อลำเลียงมาสร้างกำแพงพระราชวังหลวง ให้สำเร็จตามหมายกำหนด เป็นที่มาให้ พระยาสำโรง ต้องเร่งรัดไพร่พล และเกณฑ์ไพร่พล เพื่อมาร่วมกันปฏิบัติงานมากขึ้น พระยาสำโรง จึงต้องพูดเพื่อการสั่งการงานต่างๆ มาก และขุมขู่จะลงโทษไพร่พล ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ซึ่งเป็นที่มาให้ประชาชนเรียกชื่อ พระยาสำโรง ในชื่อใหม่ในภาษาท้องถิ่นภาคใต้ ว่า พระยาปะหมา(ปากมาก) และ พระยาปะหมอ(ปากหมอ) หมายถึงพูดจาเป็นคนหัวหมอ ไม่ยอมประนีประนอม จึงเป็นที่มาให้ พระยาสำโรง พูดจาด่ากลับ ประชาชนผู้ชอบพูดจาเสียดสี ว่า ผู้พูดคือ ปะหมัน(ปากมัน) หมายถึง ปากของประชาชนผู้พูด คือปากของชนชาติมอญ-ทมิฬ ซึ่งเป็นที่มาให้ มีการเรียกชื่อท้องที่ ต.ปากหมาก ในท้องที่ อ.ไชยา ว่า ที่ปะหมา(ปากมาก) และเพี้ยนเป็น ปากหมาก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมา เมื่อมีการสร้างพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ บริเวณรอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง สำเร็จเรียบร้อย พระยาสำโรง จึงกลับไปรับราชการ กับ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีธรรมโศก ตามเดิม เมื่อ พระยาสำโรง เสียชีวิต ก็นำอัฐิไปบรรจุไว้ที่ศาลหลักเมือง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมกับปลูกต้นสำโรง ไว้ให้ดวงวิญญาณ พระยาสำโรง มีที่สิงสถิต ทำให้ คณะมโนรา หรือ หนังตะลุง ที่เดินทางผ่าน ต้นสำโรงดังกล่าว ต้องเคารพ กราบไว้ สืบทอดต่อเนื่องกันมา

เมื่อ มีการพบจารึกหลักที่ ๒๓ บริเวณต้นสำโรงดังกล่าว พร้อมกับนำกลับมาเก็บรักษาที่ กรุงเทพฯ ต้นสำโรงที่ศาลหลักเมือง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ดั้งเดิม ถูกไฟไหม้ ทั้งต้น วิญญาณพ่อตาสำโรง จึงไปสิงสถิตอยู่ที่ ต้นสำโรง ทางทิศตะวันตก ของ ภูเขาสุวรรณคีรี และเป็นที่กราบไว้ ของ ประชาชน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมามีการสร้างศาลพ่อตาสำโรง ขึ้นที่ บริเวณต้นสำโรง ที่ถูกไฟไหม้ บริเวณสามแยกวัดเวียง เรียกว่า ศาลพ่อตาปะหมอ ในปัจจุบัน ด้วย

 

พระยาพร ผู้สร้างท่าเสาธง และ เสาธง ท่ามกลางความขาดแคลน

ตำนาน พ่อตาพร ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) และ บริเวณท่าเสาธง(ปากอ่าวศรีโพธิ์) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระยาพร เป็นนายทหารองค์รักษ์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รับราชการมาตั้งแต่สมัยที่ พระราชวังหลวง ตั้งอยู่ที่ กรุงอู่ทอง(คูบัว) แคว้นราชคฤห์(ราชบุรี) แห่ง อาณาจักรอู่ทอง แต่เมื่อเกิด สงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า พระยาพร ได้มาร่วมสร้างพระราชวังหลวงขึ้นมาใหม่ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง ด้วย

ที่ เกาะดอนขวาง พระยาพร ได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ให้นำเหล่าทหารองค์รักษ์ ดูแลความปลอดภัย บริเวณพระราชมณเฑียร ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่ว่าราชการ ของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง บริเวณเนินเขา ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) และดูแล สระบัว ๒ สระ หน้าพระราชมณเฑียร

ในขณะที่ พระยาพร ได้มาสร้างพระราชวังหลวง อยู่ที่ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง นั้น เป็นภาวะสงคราม ขาดแคลนเสื้อผ้า อย่างรุนแรง พระยาพร จึงไม่สามารถตอบสนองเสื้อผ้าให้กับ ทหารราชองค์รักษ์ ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ดังนั้นเสื้อผ้าที่ได้รับมาใหม่ พระยาพร ต้องตอบสนองเสื้อผ้าให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา ก่อน จนกระทั่งตนเองมีเสื้อผ้าสวมใส่เหลืออยู่ ขาดรุ่งริ่ง มีเพียงเสื้อผ้า ปกปิดอวัยวะเพศ เท่านั้น

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มอบหมายให้ พระยาพร ไปสร้างท่าเรือ และ สร้างเสาธง ขึ้นที่ท่าเสาธง บริเวณ ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน ในปัจจุบัน) และมอบหมายให้นำธงชาติ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ปีนขึ้นไปติดตั้งบนยอดเสาธง ชั่วคราว เพื่อให้ผู้อพยพหนีภัยสงคราม สามารถสังเกต ได้ง่าย พระยาพร จึงต้องปีนเสาธง ขึ้นไปติดตั้งธงชาติ บนปลายเสาธงจนสำเร็จ ทำให้เสื้อผ้า ขาดไม่พอเพียงที่จะปิดอวัยวะเพศ

เหตุการณ์ครั้งนั้น พระยาพร เกรงว่า ถ้าลงมาจากเสาธง จะอับอายขายหน้า ขุนนาง และบ่าวไพร่ ทั้งหลาย และเป็นที่อับอายของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ที่ทหารองค์รักษ์ไม่มีเสื้อผ้าสวมใส่ จึงตัดสินใจทิ้งร่างลงมาจากยอดเสาธง เสียชีวิต ทันที ที่โคนเสาธง บริเวณท่าเสาธง ดังกล่าว ประชาชนที่นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ พ่อตาพร จึงนิยมนำเสื้อผ้าใหม่ๆ ไปถวายให้กับ พ่อตาพร ในพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ ทั้งบริเวณท่าเสาธง และบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน

 

พระยาพัน ผู้แก้ไข การการแคลนเสบียงอาหาร ให้กับผู้หนีภัยสงคราม

ตำนาน พ่อตาพัน ซึ่งชาวประมง นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ท่าเสาธง ทุ่งเซเคย ปากคลองท่าปูน โดยเฉพาะ ผู้เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา ริมชายทะเล โดยทั่วไป เรื่องราวของ พ่อตาพัน มีเรื่องราวโดยสังเขป ว่า เดิมที นายพัน เคยรับราชการเป็นทหารเรือ ในกองทัพของ พระยาพาน มาก่อน จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง พ่อตาพัน ได้บวชเรียน และมารับราชการจนกระทั่งมีตำแหน่งเป็น พระยาพัน จึงได้ไปเป็นเจ้าเมืองปกครองเมืองหนึ่ง ในดินแดน แคว้นหนองหาร(อุดรธานี) จนกระทั่งถูกข้าศึกมอญ-ทมิฬ ตีเมืองแตก จึงต้องหลบหนี อพยพผ่านความตายมาจาก ดงเทพสถิต จนสามารถเดินทางมาถึง เกาะดอนขวาง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และได้มารายงานตัวต่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน)

เมื่อ พระยาพัน เดินทางมาถึง อาณาจักรชวาทวีป ได้มาตั้งรกรากอยู่ที่ แม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปี) กลายเป็นชาวประมง หากินอยู่ในแม่น้ำหลวง จนกระทั่ง มีความเชี่ยวชาญในการออกเรือทะเลหาปลา มาก่อน ต่อมา พระยาพัน ทราบว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) อพยพไพร่พล มาตั้งรกราก สร้างฐานที่มั่นอยู่ที่ เกาะดอนขวาง จึงขอเข้าเฝ้า อาสาเข้าร่วมแก้ไขปัญหาให้กับบ้านเมือง จึงต้องอพยพ มาตั้งรกรากใหม่ ที่ท่าดอนร้อยเอ็ด แล้วนำไพร่พล ไปจัดหาเสบียงกรังที่ ทุ่งเซเคย ทำหน้าที่ ทำกะปิ ส่งมอบให้ผู้อพยพ ซึ่ง พระยาพัน เคยมีความเชี่ยวชาญในท้องที่ดังกล่าว มาก่อน

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มาสร้างพระราชวังหลวงขึ้นมาใหม่ ณ บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง พระยาพัน ซึ่งมีความสามารถในการคำนวณ บวกลบคูณหาร ตัวเลข อย่างคล่องแคล่ว จึงได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้นำไพร่พล ออกหาปลา ในทะเล เพื่อนำมาใช้เป็นเสบียงอาหาร ให้กับผู้อพยพ หนีภัยสงคราม มายังเมืองศรีโพธิ์(ไชยา)

พระยาพัน สามารถจัดไพร่พล ออกทะเลหาปูปลา และจัดแบ่งให้กับผู้อพยพ ได้อย่างเป็นธรรม เนื่องจาก พระยาพัน มีความสามารถในการคำนวณคิดเลขในใจ ในการ บวก ลบ คูณ หาร ในการแบ่งอาหาร กุ้ง ปู ปลา ได้อย่างเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นผู้รู้จักถนอมอาหาร มาใช้ในภาวะสงคราม ได้เป็นอย่างดี ต่อมา พระยาพัน ได้เสียชีวิตในสงครามแย่งช้าง จึงได้รับการยกย่อง เรื่อยมา ประชาชนจึงได้ทำการเคารพนับถือ และบวงสรวงเซ่นไหว้ พ่อตาพัน สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึง ปัจจุบัน

 

พระยาสีทอง เสนาบดีกระทรวงเกษตรกรรม ผู้จัดหาเสบียงอาหาร

ตำนาน พ่อตาศรีทอง ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ดอนพระยาศรีทอง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของ ทุ่งพระเมน ระหว่าง วัดพระแก้ว กับ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระยาศรีทอง เป็นขุนนาง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นเสนาบดี รับผิดชอบในการบริหารงานดูแล กระทรวงเกษตรกรรม(กระทรวงนา) ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่เมืองนครหลวงตั้งอยู่ที่ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เป็นผู้ส่งเสริมการปลูกข้าวหอม และสร้างสวนผลไม้สาธารณะ ขึ้นทั่วทุกแว่นแคว้น ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

ต่อมาเมื่อเกิด สงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า เสนาบดีพระยาศรีทอง จึงต้องอพยพครอบครัว และ ไพร่พล มาตั้งรกรากอยู่ที่ ดอนพระยาศรีทอง เกาะดอนขวาง พระยาศรีทอง จึงได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ให้เร่งรัดส่งเสริมการทำนา และการปลูกพืชอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเสบียงอาหาร ให้กับผู้อพยพหนีภัยสงคราม

ในระยะแรกๆ เสนาบดี พระยาศรีทอง ได้นำไพร่พลร่วมกัน ขุดนาพระยา และ นานางพระยา และได้เร่งสร้างท้องนาหลวง และ สร้างระบบชลประทาน เพื่อการทำนา จนเป็นผลสำเร็จ สามารถทำนาอย่างได้ผล มีพันธ์ข้าว ไปแจกจ่ายให้กับผู้ที่เดินทางอพยพมายัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) สามารถทำนาได้ปีละ ๒ ครั้ง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเสบียงอาหาร เป็นผลสำเร็จ และสามารถสร้างเส้นทางสายนาหลวง ซึ่งใช้เดินทางจาก บริเวณ พระราชวังหลวง ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ไปยัง ท้องนาหลวง ระยะทางประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย

ต่อมา จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้ส่ง เจ้าชายศรีวิชัย ซึ่งเป็นพระราชโอรส ให้นำไพร่พล ไปร่วมสร้างเส้นทางระหว่าง พระราชวังหลวง ของ แคว้นศรีโพธิ์ บริเวณวัดเวียงในปัจจุบัน มายัง ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ซึ่งเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ บริเวณเกาะดอนขวาง ร่วมกับ พระยาศรีทอง เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย

เส้นทางสายนี้ เดิมเรียกว่า เส้นทางสายศรีวิชัย (ปัจจุบันถูกตั้งชื่อใหม่ เรียกว่า ถนนสันติมิตร) เริ่มต้นจากบริเวณ สามแยกวัดเวียง ตรงไปยังพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยอ้อมโค้ง พระราชวังหลวง ไปทางทิศตะวันออก ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ไปจดกับ เส้นทางสายตาหาร เป็นผลสำเร็จ ดังนั้น เมื่อ เสนาบดี พระยาศรีทอง ถึงแก่อนิจกรรม จึงมีการสร้าง ศาลพระยาศรีทอง ขึ้นมาในบริเวณ ทุ่งพระยาศรีทอง ซึ่งประชาชน นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ตำนานศาลเกาะแม่ยาย แม่ยาย ผู้ตามหาหลานชาย จนเสียชีวิต

ตำนาน ศาลเกาะแม่ยาย ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณบ่อแช่เสา เกาะแม่ยาย ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง ทุ่งพระเมน กับ คลองหนองขาว ทางทิศเหนือ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มา สร้างศูนย์กลางอำนาจรัฐใหม่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ เกาะดอนขวาง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มีเรื่องราวของ ศาลเกาะแม่ยาย เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

เนื่องจาก เมื่อสิ้นสงครามแย่งนาง ที่เมืองเชียงแสน ต่อเนื่องไปจนถึง สงครามทุ่งไหหิน และสงครามแย่งม้า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้รับสั่งให้ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) นำไพร่พล มาควบคุมการสร้างทำนบเพื่อทดน้ำ นำน้ำจืด มาใช้ในการบริโภค และการเกษตรกรรมเพื่อการทำนาในท้องที่บริเวณพื้นที่ เกาะดอนขวาง นั้น ขณะนั้นมีการสร้างพระราชวังหลวง เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ของ เชื้อสายราชวงศ์อู่ทอง ขึ้นมาบริเวณ ดอนนพไชย(ดอนวัดนพ) จึงมีการขออาสาสมัคร ให้มาร่วมกันช่วยเหลือในการการร่วมปฏิบัติงานครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก มี หลานชาย คนหนึ่ง ของ แม่ยาย ที่จะกล่าวถึง ด้วย

เนื่องจากเหตุการณ์ในขณะนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จำเป็นต้องเร่งรัดการทำงาน เพื่อตระเตรียมเสบียงอาหารให้เพียงพอ เพราะเกรงว่า ข้าศึกมอญ-ทมิฬ อาจก่อสงคราม ขึ้นอีก จึงมีการเร่งรัดปฏิบัติงานเร่งด่วน เกิดการทำงานทั้งกลางวัน กลางคืน จึงมีการนอนพัก และหุงหาอาหารอยู่ในบริเวณท้องที่ บริเวณเกาะแม่ยาย ซึ่งหลานชายของ แม่ยาย ได้มาร่วมปฏิบัติงาน จึงไม่ยอมกลับบ้านช่อง ไปรายงานให้ แม่ยาย รับทราบ

เนื่องจาก แม่ยาย ผู้นั้น เป็นห่วงหลานชาย ที่มาร่วมช่วยสร้างทำนบ ทดน้ำจืด เพื่อการทำนา และเพื่อการบริโภค จึงได้เดินทางติดตาม ไปตามหาหลานชาย  เมื่อเดินทางมาถึงบริเวณ บ่อแช่เสา บริเวณต้นตะเคียน บริเวณศาลเกาะแม่ยาย ก็รู้สึกเหนื่อยมาก แล้วก็เป็นลมล้มพับอยู่บริเวณโคนต้นตะเคียนดังกล่าว และเสียชีวิตไปในที่สุด ดวงวิญญาณ ก็เรียกหาแต่หลานชาย

หลังจากการเผาศพ แม่ยาย เรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ซึ่งเป็นแม่งาน ได้สร้าง ศาลแม่ยาย ขึ้นมาบริเวณ เกาะแม่ยาย และมีการกราบไหว้เคารพดวงวิญญาณ แม่ยาย เรื่อยมา ปัจจุบัน ประชาชนเชื่อกันว่าดวงวิญญาณของแม่ยายดังกล่าว ยังสิงห์สถิตอยู่ที่ศาลเกาะแม่ยาย บริเวณต้นตะเคียนทอง ยังมิได้ไปผุดไปเกิด ผู้ที่ไปทำนารอบๆ เกาะแม่ยาย จึงต้องบวงสรวงดวงวิญญาณ และเซ่นไหว้ด้วยข้าวปลาอาหาร เป็นประจำมิได้ขาด สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน เมื่อมีการขุดนาขึ้นมาในบริเวณดังกล่าว จึงเรียกท้องนาในพื้นที่ดังกล่าว ว่า นาเกาะแม่ยาย ซึ่งถูกเรียกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

 

ตาหาร ผู้กล้าหาร ตำนานความเป็นมาของคำว่า ทหาร

ตำนาน พ่อตาหาร ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ภูเขาตาหาร(ภูเขาน้ำร้อน วัดธารน้ำร้อน) และบริเวณปากคลองท่าปูน วัดธารน้ำร้อน ในปัจจุบัน มีเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้าง เส้นทางสายตาหาร เป็นตำนานที่มาของคำว่า ทหาร โดยสรุป ดังนี้

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัยใช้พื้นที่ เกาะดอนขวาง เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ประจำ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ประกาศคัดเลือกนักรบอาสาสมัคร จำนวน ๙๙ คน โดยประกาศให้ผู้สมัคร มารวมตัวเพื่อตรวจคัดเลือกกันที่ ปากอ่าวศรีโพธิ์ บริเวณ ท่าเสาธง ที่ทุ่งเซเคย ผลการคัดเลือก ตาหาร เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการคัดเลือกไปฝึกฝนการรบ เพื่อให้มาเป็นนักรบ และร่วมพัฒนาสร้าง เกาะดอนขวาง ให้เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยเร่งด่วน

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้จัดประชุมนักรบจำนวน ๙๙ คน ตามที่ได้รับสมัคร และผ่านการคัดเลือกมาแล้ว เพื่อแบ่งงาน และแยกกันไปปฏิบัติหน้าที่ ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง มีงานชิ้นหนึ่งคือ การสร้างเส้นทางจากบริเวณปากอ่าวศรีโพธิ์(ตรงข้ามกับท่าเสาธง) มายัง ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เพื่อเชื่อมกับเส้นทางสาย เจ้าชายศรีวิชัย ปรากฏว่าไม่มีผู้ใดกล้าอาสาสมัคร รับงานดังกล่าว มีเพียง ตาหาร เพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่เป็นผู้กล้าอาสารับปฏิบัติงานดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงจัดหาไพร่พล ให้เป็นบริวาร ให้ไปช่วยเหลือ เพื่อสร้างเส้นทางดังกล่าว ให้สำเร็จ ตามเป้าหมาย

ในเวลาไม่นาน ตาหาร และบริวาร ได้ช่วยกันถางป่า และสร้างเส้นทางสาย เส้นทางสายตาหาร แต่งานยังไม่สำเร็จเรียบร้อย ก็เกิด สงครามแย่งช้าง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีการรบทางทะเล ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ด้วย ศึกครั้งนั้น กองทัพเรือข้าศึก โดยพระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) พยายามทำลายเครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ ซึ่งควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา ที่ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) ซึ่งควบคุมโดย พระยาเสือเขา เพื่อนำกองทัพเรือเข้าสู่ อ่าวศรีโพธิ์ และบุกขึ้นฝั่ง เกาะดอนขวาง เป็นผลสำเร็จ เมื่อ ตาหาร ทราบข่าว ตาหาร ได้ออกไปทำการสู้รบ มิให้ข้าศึกสามารถทำลาย และยึดครอง เครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ ด้วยอาวุธเท่าที่มีอยู่ จนกระทั่งสามารถทำลายข้าศึกทมิฬ และสามารถเข้ายึดครอง เครื่องจักรควบคุมโซ่เรือ มิให้กองทัพข้าศึกทมิฬ ยกกองทัพเข้าสู่เกาะดอนขวางได้ สำเร็จ

ต่อมา พระยาเสือเขา ถูกประหารชีวิต ตามที่กล่าวมาแล้ว ตาหาร จึงกลายเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล ในการควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา บริเวณ ปากอ่าวศรีโพธิ์ และเมื่อ จักรพรรดิพ่อหะนิมิตร ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ก็ได้ยกย่อง ให้ ตาหาร เป็นแบบอย่างในการต่อสู้กับข้าศึก จึงมีการเปลี่ยนชื่อนักรบมาเป็นคำว่า ตาหาร และเพี้ยน เป็นไทย คำว่า ทหาร ในเวลาต่อมา

เมื่อ ตาหาร เสียชีวิต ได้นำอัฐิ ไปฝังไว้ที่ ภูเขาตาหาร(ภูเขาน้ำร้อน วัดธารน้ำร้อน) บริเวณปากอ่าวศรีโพธิ์ คือท้องที่ภูเขาวัดธารน้ำร้อน อ.ท่าฉาง ในปัจจุบัน ประชาชนเชื่อว่า ดวงวิญญาณของ พ่อตาตาหาร ยังสิงห์สถิตอยู่ที่โซ่เรือ ในบริเวณ ภูเขาตาหาร จึงมีการบวงสรวงเส้นไหว้ เอ่ยชื่อ พ่อตาหาร สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

 

พระยารักษา สร้างท้องพระคลังหลวง ปี พ.ศ.๑๑๙๖-๑๑๙๘

พ่อตาพระยารักษา ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้บริเวณจอมปลวก ดอนพระยารักษา บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มาใช้ เกาะดอนขวาง สร้างเป็นที่ตั้ง พระราชวังหลวง เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น พระยารักษา เป็นขุนนางสำคัญ รับผิดชอบในการดูแลท้องพระคลังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ มีพระราชวังหลวงคูบัว อยู่ที่ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มาใช้เกาะดอนขวาง เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พระยารักษา จึงต้องโยกย้าย ติดตามตามมารับราชการ ด้วย

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ลำเลียงทรัพย์สินต่างๆ มากองรวมกันไว้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) แล้วมอบให้ พระยารักษา ผู้รักษาท้องพระคลังหลวง ทำการควบคุมดูแลทรัพย์สินต่างๆ และทำการสร้างอาคารท้องพระคลังหลวง ขึ้นมาในบริเวณท้องที่ดังกล่าวจนสำเร็จ

ก่อนเกิดสงครามแย่งช้าง นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เกิดลางสังหรใจว่า จะมีชีวิตอยู่อีกไม่นาน จึงรับสั่งให้ พระยารักษา เร่งสร้างประตูเพชร ซึ่งประดับด้วยเพชรพลอย ขึ้น และรับสั่งมิให้เพชรพลอยที่ใช้ประดับประตูเพชร ถูกลักขโมย ไปเป็นอันขาด เป็นที่มาให้ พระยารักษา หนักใจมาก จึงต้องไปหลับนอน เฝ้ารักษาประตูเพชร จนกระทั่งเสียชีวิต ณ ประตูเพชร ดังกล่าว ดังนั้น เมื่อ พระยารักษา สิ้นชีวิตไป ดวงวิญญาณของ พระยารักษา ยังคงห่วงใยทรัพย์สินต่างๆ ของท้องพระคลังหลวง อยู่เช่นเดิม จึงมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ พ่อตาพระยารักษา ในบริเวณท้องที่ดังกล่าวเป็นประจำทุกปี  สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระนางสิยา สร้างพระราชวังพระนางสิยา ปี พ.ศ.๑๑๙๖-๑๑๙๘

ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เคยใช้เป็นที่หลบภัยลมพายุ ของนักเดินเรือมาอย่างช้านาน อ่าวศรีโพธิ์ มีเกาะอยู่เกาะหนึ่ง ซึ่งมีภูเขาตั้งอยู่ ๒ ลูก คือ ภูเขาพ่อตาทุ่งใหญ่ และ ภูเขาพ่อตาลาวสูง เดิมที่ถูกเรียกชื่อว่า เกาะเรือ เพราะมีเรือสำเภาของพ่อค้าเรือสำเภา มาทอดสมอหลบลมพายุ และจัดหาน้ำจืดไปใช้ในเรือสำเภา ต่อมา เมื่อเกิดสงครามแย่งม้า เกาะนี้ถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า เกาะพระนางสิยา และต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เกาะพระนางวังตะเคียน หรือ เกาะนางตะเคียน และเปลี่ยนเป็น เกาะวังตะเคียน ในปัจจุบัน

พื้นที่ เกาะพระนางสิยา นี้ มีพื้นที่ประมาณ ๕-๘ ตารางกิโลเมตร ริมภูเขาทั้งสอง มีน้ำพุร้อน ที่เป็นน้ำเค็ม และมีน้ำพุถ่วง ซึ่งเป็นน้ำจืด ผุดออกมาเป็นจำนวนมาก จึงเป็นจุดแวะพักของเรือพ่อค้าสำเภา และมีผู้คนเข้าไปตั้งรกราก อยู่ในเกาะพระนางสิยา จำนวนหนึ่ง จึงเป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ตัดสินพระทัย เลือกพื้นที่ เกาะพระนางสิยา เป็นที่ตั้งพระราชวัง และสร้างกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ขึ้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ปัจจุบัน พื้นที่ส่วนหนึ่ง คือที่ตั้งของ สวนโมกข์ผลาราม นาๆ ชาติ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

ตำนาน พ่อตาทุ่งใหญ่ ซึ่งประชาชนเชื่อว่ามีดวงวิญญาณสิงสถิต อยู่ที่ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ โดยมีการบวงสรวงเซ่นไหว้สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน มีเรื่องราวโดยสรุป กล่าวถึงการอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดน เกาะพระนางสิยา และเรื่องราวที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ตัดสินพระทัยมาใช้ เกาะพระนางสิยา มาสร้างเป็นพระราชวัง มีเรื่องราวโดยสังเขป ดังนี้

เรื่องราวของ พ่อตาทุ่งใหญ่ คือเหตุการณ์สืบเนื่องมาจากในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ซึ่งใช้ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และเมื่อ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก สวรรคต ได้เกิดสงครามจากการที่ ชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) เผาทำลายเมือง และฆ่าฟัน ชนชาติอ้ายไต ล้มตาย เป็นจำนวนมาก

เมื่อประชาชนใน แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก พร้อมกับเกิดไข้ห่า(อหิวาตกโรค) ระบาด ใน เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) พ่อตาทุ่งใหญ่ ซึ่งเป็นประชาชนในเมืองศรีโพธิ์(ไชยา) เกรงว่าจะติดโรคระบาด จึงอพยพครอบครัวไปหักร้างถางพง ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ เกาะเรือ บริเวณ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ ในปัจจุบัน ครอบครัวของ พ่อตาทุ่งใหญ่ จึงรอดชีวิตจากโรคระบาด ครั้งนั้น ดังนั้นเมื่อ พ่อตาทุ่งใหญ่ เสียชีวิต ดวงวิญญาณ ก็สิงสถิต อยู่ที่ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ สืบทอดต่อเนื่องกันมา ซึ่งประชาชน ยังคงนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน

ส่วนเรื่องราวของ พ่อตาลาวสูง มีเรื่องราวโดยสังเขป ดังนี้คือ ก่อนที่จะสิ้นสุด สงครามแย่งม้า ครั้งนั้น เมื่อ แม่ทัพพระยาสูง หนีทัพ ของ พระยากาฬดิษฐ์ เดินทางมาตามหา เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ ที่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) นั้น เป็นเหตุการณ์ที่ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ สวรรคต เรียบร้อยแล้ว และเป็นช่วงเวลาที่ มีการจัดงานพระบรมศพ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ ที่พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) พอดี

อย่างไรก็ตาม แม่ทัพพระยาสูง ได้มีโอกาสพบกับ พระนางสิยา มเหสี ของ เจ้าพระยาขุนไชยฤทธิ์ จึงได้แจ้งถึงการก่อกบฏ ต่อ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ของตนเอง ต่อ พระนางสิยา ซึ่งเป็นที่มาให้ พระนางสิยา มีพระราชสาส์น ถึง เจ้าพระยาศรีไชยนาท ให้รวบรวมไพร่พล ชนชาติอ้ายไต จาก อาณาจักรอ้ายลาว ที่ถูกจับไปเป็นเชลยศึก ให้มาทำสงครามปราบปราม ชนชาติอ้ายไต ให้ร่วมกันหนีทัพ จาก กองทัพมอญ-ทมิฬ ในสงครามที่ แคว้นนาลองกา โดยได้หนีไปร่วมสร้าง เมืองกุย(กุยบุรี) สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนการสร้าง พระราชวังพระนางสิยา หรือ พระราชวังนางตะเคียน นั้น มีผลมาจาก แม่ทัพพระยาสูง อดีตแม่ทัพของ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ ซึ่งหนีการจับกุม ของ ข้าศึก มาได้ ต้องการเดินทางไปสร้าง เมืองกุย(กุยบุรี) แต่พระนางสิยา เหนี่ยวรั้งไว้ ทั้งนี้เพราะ มีผู้ที่ต้องการให้ เจ้าพระยาศรีชัยนาท มาครอบครอง พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แทนที่ แต่พระนางสิยา ไม่เห็นชอบด้วย เพราะ พระนางสิยา ทราบว่า เจ้าพระยาศรีไชยนาท มีความสามารถ ในสงครามกองทัพม้า แต่พระนางสิยา ต้องการให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรบด้วยกองทัพเรือ ด้วย เพื่อเตรียมกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน จึงมอบหมายให้ แม่ทัพพระยาสูง เดินทางไปสำรวจพื้นที่ เกาะเรือ ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ เพื่อสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ซึ่งเป็นที่มาของ พระราชวังพระนางสิยา ในเวลาต่อมา

เนื่องจาก หลังสิ้นสุดสงครามแย่งม้า เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องเป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศจีน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๘ พระนางสิยา จึงถือโอกาส สร้างพระราชวังขึ้นมาบนพื้นที่ เกาะเรือ อ่าวศรีโพธิ์ มีชื่อว่า พระราชวังพระนางสิยา หรือ วังแม่นางตะเคียน เพื่อให้เป็นที่ประทับ และเป็นที่ว่าราชการของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นเหตุให้ พระยาสูง ต้องนำไพร่พล ไปพัฒนาพื้นที่ ขุดคูน้ำจืด เพื่อทดน้ำจืด จากน้ำพุถ่วง ภูเขาพ่อตาลาวสูง มาใช้ในพระราชวัง เป็นที่มาให้ พระยาสูง ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า พระยาลาวสูง แทนที่

ต่อมา เมื่อ พระยาลาวสูง ร่วมสร้างพระราชวังพระนางสิยา สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เกิดสงครามแย่งช้าง พระยาลาวสูง เสียชีวิต ณ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง ดวงวิญญาณ ของ พ่อตาพระยาลาวสูง จึงสิงสถิต อยู่ที่ภูเขาดังกล่าว เป็นที่เคารพ ของ ประชาชน สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

กษัตริย์ ๒ พี่น้อง สร้างสระบัวกษัตริย์ ๒ พี่น้อง

ท้าวอู่ทอง ส่งราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ปี พ.ศ.๑๑๙๘

หลักฐาน รายงานการศึกษาค้นคว้า อาณาจักรศรีวิชัย(สหราชอาณาจักรเสียม) ของ นายโรกุโร กุวาตะ นักประวัติศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้ค้นคว้าหาหลักฐานจากจดหมายเหตุจีน ได้กล่าวว่า ก่อนที่จะกำเนิดอาณาจักรศรีวิชัย(สหราชอาณาจักรเสียม) นั้น ได้เกิด สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงเสียม-อั๋วกวั่ว(ศรีโพธิ์-อู่ทอง) ขึ้นมาก่อน โดยที่ พระเจ้าอั๋วกวั่ว(อู่ทอง) ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๘ พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ และได้แจ้งแก่ ฮ่องเต้ ว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอั๋วกวั่ว(อู่ทอง) ได้ย้ายเมืองนครหลวง จาก กรุงอั๋วกวั่ว(อู่ทอง) มายัง กรุงเสียม-อั๋วกวั่ว(ศรีโพธิ์-อู่ทอง) เรียบร้อยแล้ว

หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ย้ายศูนย์กลางอำนาจรัฐ จาก กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อาณาจักรอู่ทอง มายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) แคว้นศรีโพธิ์ แห่ง อาณาจักรชวาทวีป พร้อมกับได้สร้างศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นที่ เกาะดอนขวาง เรียบร้อยแล้ว จึงได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๘ โดยที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เปลี่ยนชื่อ กรุงศรีโพธิ์ เป็น ศรีโพธิ์-อู่ทอง ซึ่งจดหมายเหตุจีน บันทึกเพี้ยนตามสำเนียง ภาษาท้องถิ่นภาคใต้ เป็น เสียม-อั๋วกวั่ว แสดงให้เห็นว่า กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เคยถูกเรียกชื่อว่า ศรีโพธิ์-อู่ทอง หรือ เสียม-อู่ทอง มาก่อน แล้วค่อยเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อกลับคืน เป็นชื่อ ศรีโพธิ์(ไชยา) หรือ เสียม(ไชยา) ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากประชาชน ไม่นิยมเรียกชื่อใหม่

ส่วนตำนานของไทย กล่าวว่า เมื่อ เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำคณะราชทูต เดินทางกลับจาก มหาอาณาจักรจีน เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้รับ พระนางเงี้ยว(พระนางสุวรรณปทุม) ซึ่งเป็นเจ้าหญิง แห่ง อาณาจักรเตอร์กตะวันออก และเป็นอัครมเหสี ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท และ เจ้าหญิงแมนสม ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ของ พระนางเงี้ยว แห่งราชวงศ์แมนสม ให้เดินทางกลับมาด้วย และได้มาประทับอยู่ที่ พระราชวังพระนางสิยา เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มุ่งเน้นสร้างอู่ต่อเรือสำเภา เพื่อสร้างกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์ ให้เข้มแข็งขึ้น ในเวลาต่อมา

อู่ต่อเรือสำเภา ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มีอยู่ที่ ท้องที่ หนองกง คือท้องที่ ต.ป่าเว อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน อู่ต่อเรือ ดังกล่าว คือสถานที่เลื่อยไม้ สร้างกงเรือ และเมื่อประกอบเป็นลำเรือสำเร็จ ก็จะล่องเรือมายัง อ่าวศรีโพธิ์ ยังอู่ต่อเรือ หนองกูด(ปัจจุบันเรียกว่า บ้านหนองกรูด) ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ประมาณ ๕๐๐ เมตร สถานที่ดังกล่าว เป็นอู่ต่อเรือเพื่อใส่ กูดเรือ เสากระโดงเรือ และ ใบเรือ ซึ่งควบคุมงานโดย พระยาลาวสูง เป็นที่มาให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีกองเรือสำเภาค้าขาย และกองเรือรบ ที่เข้มแข็ง อยู่ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ในเวลาต่อมา

 

พระยายมบา สร้างโซ่เรือ ณ ปากอ่าวศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๑๙๙

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัยเลือกใช้ เกาะดอนขวาง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๒๕ ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์-อู่ทอง เพราะมีที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม ยากต่อการทำลายของข้าศึก อีกทั้ง สามารถทดน้ำจืดจาก แม่น้ำศรีโพธิ์(คลองไชยา) มาใช้ในการบริโภค และการเกษตรกรรม ได้เป็นอย่างดี เกาะดอนขวาง จึงเป็นแหล่งผลิตอาหารที่อุดมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องพึ่งพอแหล่งอาหารจากภายนอก การพัฒนา เกาะดอนขวาง และ อ่าวศรีโพธิ์ จึงเต็มไปด้วยตำนานพ่อตาเจ้าที่ ตามที่ได้กล่าวมา บางส่วนบ้างแล้ว

สภาพทางภูมิศาสตร์ ของ เกาะดอนขวาง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย ชายฝั่งเป็นดินโคลนลึก ยากต่อการเดินทางเข้ามาของข้าศึก เพราะเต็มไปด้วยปลักโคลน ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทะเลอ่าวศรีโพธิ์ ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำศรีโพธิ์(คลองไชยา) และทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวศรีโพธิ์ มีทางออกสู่ทะเลใหญ่ ที่ปากอ่าวศรีโพธิ์ ปัจจุบัน คือ ปากคลองท่าปูน บริเวณ ภูเขาตาหาร บริเวณ วัดธารน้ำร้อน ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

พื้นที่ปากอ่าวศรีโพธิ์ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มอบให้ พระยายมบา ร่วมกับ พระยาเสือเขา สร้างเครื่องจักรกล ใช้ยกโซ่เรือขึ้นลงได้ที่ ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) ซึ่งกว้างประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ เมตร เพื่อควบคุมการเข้าออก ของเรือสำเภา แล้วส่ง พระยาเสือเขา เข้าควบคุมเครื่องจักรกล ประจำปากอ่าวศรีโพธิ์ การเข้าโจมตีเกาะดอนขวาง ข้าศึกจึงต้องใช้กองทัพเรือ เข้าทางปากอ่าวศรีโพธิ์ เท่านั้น จึงจะสามารถเข้าโจมตี ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้สำเร็จ

 

จตุคามรามเทพ ทำการฟื้นฟู แคว้นอโยธิยาศรีรามเทพ ปี พ.ศ.๑๒๐๐

เมื่อย้อนรอยเรื่องราว ของ แคว้นอโยธิยาศรีเทพราม หรือ แคว้นอโยธิยาศรีรามเทพ เดิมชื่อ แคว้นนที(อยุธยา) ตามตำนาน พระยาพาน กล่าวว่า แคว้นนี้ เกิดขึ้นก่อนสมัยพุธกาล ในสมัยสงครามเหล็ก เนื่องจากมีผู้อพยพชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ แม่น้ำนที ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน เพราะพ่ายแพ้สงครามเหล็ก จึงต้องอพยพมาตั้งรกราก สร้าง แคว้นนที ขึ้นตามชื่อแม่น้ำ ที่เคยตั้งรกรากเดิม ต่อมาแคว้นนี้ ได้ร้างลง เพราะเกิดสงครามแย่งชิงเจดีย์หงสาวดี ทำให้ พระยาโยธิกา ได้อพยพไพร่พล จาก แม่น้ำโยธิกา มารื้อฟื้น และสร้างแคว้นนี้ ขึ้นใหม่ ในสมัยที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก โดยมี พระยาโยธิกา ซึ่งเป็นพระราชโอรสลับ ของ ท้าวมหาฤกษ์ กับ พระนางโกสมพี เป็นราชา ผู้ปกครอง และ เรียกชื่อใหม่ ว่า แคว้นโยธิกา(อยุธยา)

ต่อมา ในสมัยที่เกิด สงครามแย่งนาง , สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า นั้น แคว้นโยธิกา(อยุธยา) ซึ่งปกครองโดย พระยาโยธิกา ได้ถูกกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ทำสงครามปิดล้อม เช่นเดียวกัน แต่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เป็นผู้นำกองทัพ ออกไปทำสงครามขับไล่ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ออกไปได้สำเร็จ พร้อมกับสามารถจับเชลยศึกมอญ-ทมิฬ ได้ส่วนหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาเป็นทาส ขุด บึงพระราม เป็นที่มาให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทำการเปลี่ยนชื่อ แคว้นโยธิกา เป็นชื่อใหม่เพื่อเป็นสิริมงคล ว่า แคว้นอโยธิยา(อยุธยา) ซึ่งมี พระยาโยธิกา เป็นผู้ปกครอง ขึ้นต่อ อาณาจักรละโว้ ซึ่งเป็นอาณาจักรใหม่ ที่ถูกตั้งขึ้นมาแทนที่ อาณาจักรอู่ทอง 

ต่อมา เมื่อเกิดสงครามแย่งช้าง และ สงครามแย่งชิง พระบรมธาตุปะถมเจดีย์ จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง และ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เสด็จสวรรคต มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร จึงพระราชทานนามใหม่ ให้กับ แคว้นอโยธิยา(อยุธยา) เพื่อเป็นเกียรติ แก่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ว่า แคว้นอโยธิยาศรีรามเทพ(อยุธยา) มี เจ้าพระยาโยธิกา ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระนางนวลจันทร์ , พระนางจันทร์เทวี และ พระนางศรีจันทร์ เป็นผู้ปกครอง แคว้นอโยธิยาศรีเทพราม(อยุธยา) ได้กลายเป็น แคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรละโว้ ในเวลาต่อมา

 

สาเหตุ ของ การเกิดสงครามแย่งช้าง ปี พ.ศ.๑๒๐๑

สงครามแย่งช้าง เป็นสงครามใหญ่ครั้งที่ ๒ เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๐๑-๑๒๐๒ ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เมื่อศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องย้ายศูนย์กลางอำนาจรัฐจาก กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) มายัง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เรียบร้อยแล้ว และส่งผลให้เกิด สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) เกาะดอนขวาง ท้องที่อำเภอไชยา ในปัจจุบัน

สงครามแย่งช้าง ครั้งนี้ ข้าศึกคือ ชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) สมคบกับ อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) และ ชนชาติมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เช่นเดียวกับ สงครามแย่งม้า ที่ผ่านมา แตกต่างตรงที่ เป็นสงครามที่เกิดขึ้นกับ ข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) และ อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เป็นหลัก ข้าศึกชนชาติทมิฬ มุ่งเน้นเข้าโจมตีทำลายศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นสำคัญ ส่วน ข้าศึกชนชาติมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ฉวยโอกาส เข้าร่วมทำสงคราม เพื่อเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไปครอบครอง ด้วย เช่นกัน

สงครามแย่งช้าง มีผลสืบเนื่องมาจาก สงครามแย่งนาง ที่อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ต่อเนื่องมาถึง สงครามทุ่งไหหิน คือสงครามแห่งความพ่ายแพ้ของชนชาติอ้ายไต ณ ทุ่งไหหิน และเกิด สงครามแย่งม้า ต่อเนื่องกันมา ทั้งสองฝ่าย ต่างบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก เนื่องจากในขณะที่เกิดสงครามแย่งม้า ครั้งนั้น อาณาจักรอีสานปุระ มุ่งเน้น ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไปครอบครอง เท่านั้น

ส่วนสงครามแย่งช้าง พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา-ตะวันออก) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ เจ้าชายบังกา ซึ่งเป็นพระราชบุตรเขย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ถือโอกาสในขณะที่เกิด สงครามแย่งม้า ส่งกองทัพจาก หมู่เกาะกาละ หรือ เกาะสุมาตรา แห่งดินแดนเกษียรสมุทร เข้ายึดครอง แคว้นพังงา และ แคว้นปากคูหา(ระนอง) หรือ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) พร้อมกับได้สร้าง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรเวียดบก ณ ภูเขาพระนารายณ์ ขึ้นมาใหม่ ต้องการให้ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทางฝั่งทะเลตะวันตก บางส่วน ต่อไป จึงได้อ้างเรื่องช้าง ในสงครามแย่งม้า มาเป็นเหตุ

สืบเนื่องมาจาก อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ได้ถือโอกาส ขณะที่ กองทัพมอญ-ทมิฬ เข้าทำสงคราม ยึดครองดินแดน แคว้นละโว้ ของ อาณาจักรอู่ทอง และได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธสาร(หลังสวน) ของ อาณาจักรชวาทวีป และยังส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) แต่กลับพ่ายแพ้สงคราม ทั้งสองแคว้น ทำให้ช้าง จำนวนมาก ถูก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยึดครองไป ตามที่กล่าวมาแล้ว

ต่อมา พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ซึ่งอยู่ระหว่างการยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นมาลายู(มะละกา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เมื่อทราบว่า อาณาจักรผัวหมา(พม่า) พ่ายแพ้สงคราม จึงต้องถอยทัพจาก แคว้นมาลายู(มะละกา) กลับคืน แคว้นโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) ต่อมา พระเจ้ามังกูร่า ซึ่งพ่ายแพ้สงครามแย่งม้า ได้แสร้งส่ง คณะราชทูต มาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง พร้อมกับข้อเสนอยุติสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างมีเงื่อนไข ๒ ข้อ คือ ให้ส่ง พระนางสันลิกา และ เจ้าชายสันนา กลับคืน แคว้นโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา-ตะวันออก) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง และข้อที่สอง คือ ให้ส่งช้างศึก ที่ยึดได้จากการพ่ายแพ้สงครามของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ที่แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) กลับคืน มิฉะนั้นจะต้องเกิดสงคราม ต่อกัน อีกต่อไป

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่ง เจ้าพระยาศรีไชยนาท ไปรับคณะราชทูต ณ ภูเขาศรีวิชัย ปากแม่น้ำหลวง โดยไม่ยอมให้เดินทางเข้าสู่ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ผลการเจรจาทางการทูต ณ ภูเขาศรีวิชัย เจ้าพระยาศรีไชยนาท ไม่รับข้อเสนอ พร้อมกับได้ทำการขับไล่คณะราชทูต ของ พระเจ้ามังกูร่า กลับไป อ้างว่า อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ไม่เคยปฏิบัติตามสัญญา เพราะเป็นผู้ผิดสัญญา มาโดยตลอด อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) จึงส่งกองทัพเรือใหญ่ มาตั้งทัพอยู่ที่ ภูเขาศรีวิชัย ปากแม่น้ำหลวง ทันที และรอกองทัพบก จาก อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ยกกองทัพบก มาโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมๆ กัน

 

สงครามแย่งช้าง ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ปี พ.ศ.๑๒๐๑

สงครามแย่งช้าง เกิดขึ้นกับชนชาติทมิฬ มีการรบที่ อาณาจักรชวาทวีป และ อาณาจักรมาลัยรัฐ โดยที่ อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตี ๒ อาณาจักร ของ ชนชาติอ้ายไต พร้อมๆ กัน กองทัพหนึ่งมุ่งเข้าโจมตี อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ส่วนกองทัพเรืออีกกองทัพหนึ่ง มุ่งตรงเข้ามาโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) โดยมาตั้งกองทัพอยู่ที่ ภูเขาศรีวิชัย ตามที่กล่าวมา

ส่วนสงครามทางบก เป็นสงครามที่เกิดขึ้นกับ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรเวียดบก มีเนื้อหาโดยสังเขปว่า ชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) บริเวณภูเขาพระนารายณ์(พังงา) ได้ส่งกองทัพบก เดินทัพเข้ามาทางภูเขาเพลา แล้วแยกออกเป็น ๒ กองทัพ เพื่อเข้าโจมตี แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) จึงได้ปะทะกับกองทัพของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ณ ทุ่งพระยาชนช้าง และยังส่งกองทัพบก เข้าโจมตี แคว้นศรีโพธิ์ ปะทะกันที่ สะพานล่อคอช้าง บริเวณพื้นที่ โรงเรียนไชยาวิทยาคม ในปัจจุบัน

สงครามแย่งช้างกับชนชาติทมิฬ ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ถูกเล่าสืบต่อกันมาในรูปแบบของ ตำนาน พ่อตากง ซึ่งมีศาลพ่อตากง ตั้งอยู่ระหว่าง บ้านใหญ่ กับ ภูเขาจอศรี และถูกถ่ายทอดมาในรูปแบบ คำถามพี่สอนน้อง มีคำถามสอนน้องที่ว่า

"...ไทรใหญ่ มีไห ๒ ลูก ใครทายถูก ได้ทองสองไห..."

ยังมีอีกคำถามที่ ๒ ซึ่งถามว่า

"...หนองปรือน้อย หนองปรือใหญ่ คือเส้นทางมรรคาลัย ของผู้ใด..."

เรื่องราวของสงครามแย่งช้าง ณ ทุ่งพระยาชนช้าง มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ในขณะนั้น ปกครองโดย มหาราชาเจ้าพระยาศรีธรนนท์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) เมื่อทราบว่า มีข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ทางฝั่งทะเลตะวันตก ยกกองทัพใหญ่ เดินทัพเข้ามาทาง เมืองเพลา ภูเขาเพลา เจ้าพระยาศรีธรนนท์ จึงได้นำกองทัพไปสกัด กองทัพข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ภูเขาเพลา ไว้ก่อน

สงครามครั้งนั้น เจ้าพระยาศรีธรนนท์ พลาดท่าเสียทีข้าศึก เพราะถูกลอบยิงด้วย ศรธนูอาบยาพิษ เสด็จสวรรคต ในสงคราม ไพร่พลที่เหลือ ถูกรุกไล่แตกกระเจิง ต้องถอยทัพกลับมา ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ส่วนกองทัพของข้าศึกชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ก็ฮึกเหิม ได้ยกกองทัพ แยกออกเป็นสองกองทัพ ส่วนหนึ่งมุ่งตรงไปโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา)  อีกส่วนหนึ่งมุ่งเข้าสู่ ทุ่งพระยาชนช้าง เพื่อทำสงครามเข้ายึดพระราชวังหลวง ของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ที่เกาะคันธุลี เพื่อแย่งยึดช้าง ที่ถูกกองทัพ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยึดครองไป ในสมัยสงครามแย่งม้า กลับคืน

ตำนาน พ่อตากง ได้เล่าเรื่องสงครามที่ ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งนั้น โดยสรุปว่า ตากง เป็นชาว แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ได้ไปเป็นนักรบ ของ กองทัพเจ้าพระยาศรีจง แต่ต่อมาได้ถูกขอตัวไปประจำกองทัพของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นผู้ค้นคว้า อาวุธใต้เท และได้พัฒนามาเป็น อาวุธใต้ทอ และได้พัฒนา อาวุธ ใบลังทังช้าง มาใช้เป็นอาวุธสำคัญในการทำสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ต่อมาด้วย

ต่อมา เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องเดินทางไปเป็นหัวหน้าคณะราชทูต กับ มหาอาณาจักรจีน พ่อตากง จึงได้กลับมารับราชการกับ เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นเมื่อ เจ้าพระยาศรีจง เสด็จกลับมายัง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และมาประทับอยู่กับ หม่อมหญิงสุรณี ณ พระราชวังภูเขาจอศรี พ่อตากง จึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิด ณ บริเวณที่ตั้ง ศาลพ่อตากง ในปัจจุบันด้วย โดยได้มาร่วมอยู่ในกองทัพ ของ เจ้าพระยาศรีจง จึงได้พยายามค้นคว้า พัฒนาอาวุธใหม่ๆ เรียกว่า อาวุธใต้ทอ มาใช้ในการทำสงคราม กับ ข้าศึกมอญ-ทมิฬ ด้วย

เมื่อเกิดสงครามแย่งช้าง เจ้าพระยาศรีจง ต้องนำกองทัพไปตั้งอยู่ที่ บ้านคลองขนาน เขตแดนระหว่าง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) กับ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) เพื่อขัดขวางกองทัพบก ของข้าศึกมอญ-ทมิฬ แต่เมื่อทราบว่า เจ้าพระยาศรีธรนนท์ สวรรคต ในสงคราม ณ ภูเขาเพลา และกองทัพอาณาจักรผัวหมา(พม่า) กำลังเคลื่อนทัพ มุ่งเข้ามาสู่ ทุ่งพระยาชุนช้าง เพื่อเตรียมทำสงคราม เข้ายึดพระราชวังหลวง ของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ที่เกาะคันธุลี เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีจง ต้องนำกองทัพ มุ่งตรงมาตั้งรับกองทัพทมิฬ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ทุ่งพระยาชนช้าง จึงเกิดสงครามระหว่าง กองทัพช้าง ของชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) กับ กองทัพช้าง ของ ชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ ทุ่งพระยาชนช้าง อีกครั้งหนึ่ง

เจ้าพระยาศรีจง มอบให้ พ่อตากง ใช้อาวุธใต้ทอ ยิงอาวุธเพลิง เข้าเผาไหม้ ช้าง และข้าศึกกองทัพพม่า เพื่อเผากองทัพข้าศึกพม่า ทั้งเป็น และกำหนดให้ไพร่พลข้าศึกพม่า ต้องล่าถอยไปทางคลองหิต ซึ่ง พ่อตากง ได้ใช้อาวุธ ใบลังทังช้าง ดักไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อข้าศึกผู้ใด ถูกใบลังทังช้าง จะรู้สึกคัน และปวดแสบปวดร้อนอย่างมาก และจะต้องกระโดดลงน้ำที่คลองหิต หรือ คลองคันธุลี ตามแผนการที่กำหนด ซึ่งจะต้องเสียชีวิต โดยทั่วไปการแก้พิษของ ใบลังทังช้าง นั้น  จะต้องรีบไปผิงไฟ พิษจึงจะหายไป แต่ถ้าผู้ใดลงไปอาบน้ำ จะมีพิษเพิ่มขึ้น ถึงขั้นเสียชีวิต ทันที สงครามครั้งนั้น ข้าศึกต้องหลบหนี ท่ามกลางไฟไหม้ และ ฝุ่นตลบ มองไม่เห็นผู้คน

เมื่อฝุ่นหายตลบ กองทัพหลวงของ กษัตริย์ทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) พบเห็นไพร่พลชนชาติทมิฬ แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ถูกไฟลวกเผา และ ถูกพิษใบลังทังช้าง ต้องหลบหนีออกจาก ทุ่งพระยาชนช้าง ก็ตกพระทัย เจ้าพระยาศรีจง จึงใสช้างทรงเข้าหา ท้าชนช้างกับกษัตริย์ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ศึกชนช้าง ณ ทุ่งพระยาชนช้าง จึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

การรบเป็นไปตามแผนที่กำหนด เจ้าพระยาศรีจง ใช้ของ้าว ฟันกษัตริย์ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) คอขาดบนหลังช้าง หลังจากนั้น ฝ่ายกองทัพของ เจ้าพระยาศรีจง ได้ยิงอาวุธใต้ทอ ใส่ช้างพม่า และนักรบพม่า ทั้งช้างและทั้งนักรบของกองทัพ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ถูกเผาทั้งเป็น บาดเจ็บล้มตายไปเป็นอันมาก ข้าศึกพม่าส่วนที่เหลือ ได้หนีไปถูกกับดับ ใบลังทังช้าง ที่ข้างคลองหิต จึงกระโดดลงน้ำเสียชีวิตใน คลองหิต เป็นจำนวนมาก

ช้างศึกของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) เมื่อถูกไฟใต้ทอ เผาตามร่างกายก็วิ่งหนีเข้าป่าไป เกือบหมดสิ้น ตำนานท้องที่บ้านหนองเสม็ด กล่าวถึงความเป็นมาของชื่อ บ้านหนองเสม็ด ว่า เจ้าพระยาหะนิมิตร และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้มาวางแผนจับช้างของพม่า ซึ่งหลบหนีบาดเจ็บ จากผลของสงคราม ทุ่งพระยาชนช้าง อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่มาให้กำเนิดชื่อ บ้านหนองเสม็ด ถูกเรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) สวรรคต ปี พ.ศ.๑๒๐๑

คำถามพี่สอนน้อง ซึ่งมีคำถามสอนน้องที่ว่า "...ไทรใหญ่ มีไห ๒ ลูก ใครทายถูก ได้ทองสองไห..." ได้กล่าวว่า เมื่อกองทัพของ เจ้าพระยาศรีจง ประสบชัยชนะในสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง อย่างงดงาม และเป็นไปตามแผนที่ พ่อตากง ได้วางแผนไว้ และข่าวทราบไปถึง หม่อมสุรณี ที่พระราชวังภูเขาจอศรี และ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งถือศีลอยู่ที่ถ้ำใหญ่ บริเวณทุ่งลานช้าง ภูเขากั้นเขต(ภูเขาประสงค์)

หม่อมหญิงทั้ง ๒ พระองค์ ได้จัดทำอาหารไว้ต้อนรับ เจ้าพระยาศรีจง เพื่อฉลองชัยชนะสงครามชนช้าง ณ ทุ่งพระยาชนช้าง พร้อมกับส่งคนรับใช้ไปติดตาม เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) ให้มารับประทานอาหารที่ทั้ง ๒ พระนาง จัดเตรียมไว้ เจ้าพระยาศรีจง จึงตัดสินพระทัย เดินทางไปพบกับ หม่อมสุรณี เป็นพระองค์แรก ที่พระราชวังภูเขาจอศรี ซึ่ง หม่อมสุรณี ได้ปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย มานั่งไกวเปลอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ รอการกลับมาของ เจ้าพระยาศรีจง ซึ่งเป็นพระภัสดา

เมื่อ เจ้าพระยาศรีจง เดินทางไปถึงบริเวณต้นไทรใหญ่ ใกล้ พระราชวังบ้านใหญ่ ของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ได้พบกับชาวอินเดีย ๒ คนซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรนนท์ ได้ว่าจ้างให้เข้ามาขุดทองคำที่ คลองหิต กำลังลักลอบขนทองคำ ๒ ไห บรรทุกเกวียน ออกมาจากพระราชวังหลวง เกาะคันธุลี ซึ่งกำลังเดินทางมาถึง ต้นไทรใหญ่ บริเวณ บ้านใหญ่ เมื่อชาวอินเดีย มองเห็น เจ้าพระยาศรีจง กำลังเดินทางผ่านมาในบริเวณ ดังกล่าว ชาวอินเดียทั้งสองคนเกรงกลัวว่า เจ้าพระยาศรีจง จะมาแย่งยึดทองคำ ที่พวกตนขโมยออกไป จึงตัดสินใจ หยุดพักเกวียน และดักซุ่มแทง เจ้าพระยาศรีจง ด้วยหลาว 

เจ้าพระยาศรีจง ได้เข้าต่อสู้กับ ขโมยชาวอินเดีย ดังกล่าว ครั้งแรก เจ้าพระยาศรีจง สามารถแย่งหลาวมาได้หนึ่งอัน จึงได้เกิดการดวน อาวุธหลาว กับชาวอินเดียอีกผู้หนึ่ง ปรากฏว่า ผลการดวนหลาว เจ้าพระยาศรีจง ถูกแทงด้วยหลาวบาดเจ็บสาหัส ทหารรักษาพระองค์ ซึ่งเพิ่งเดินทางติดตามมาถึงพอดี จึงได้ฆ่า ขโมยชาวอินเดียทั้งสองคนจนเสียชีวิต เจ้าพระยาศรีจง จึงรับสั่งให้ทหารรักษาพระองค์นำทองคำ ๒ ไหไป ฝังไว้บริเวณใกล้โคนต้นไทรใหญ่ ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของคำกลอนลายแทงที่ว่า

"...ไทรใหญ่มีไห ๒ ลูก ใครทายถูกได้ทอง ๒ ไห..."

ส่วนคำถามพี่สอนน้อง มีคำถามสอนน้องซึ่งถามอีกว่า

"...หนองปรือน้อย หนองปรือใหญ่ คือเส้นทางมรรคาลัย ของผู้ใด..."

คำถามนี้ คือเรื่องราวที่ว่า เมื่อ เจ้าพระยาศรีจง ได้รับบาดเจ็บสาหัส  รู้ว่าพระองค์เอง ต้องสวรรคตอย่างแน่นอน จึงเปลี่ยนความตั้งใจในการเดินทางไปหา หม่อมสุรณี ณ พระราชวังภูเขาจอสี เพราะบริเวณถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ภูเขากั้นเขต ซึ่งเป็นที่ประทับ ของ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งได้สร้างเทวรูป นอน ของพระองค์เอง เพื่อบรรจุอัฐิ รองรับไว้แล้ว จึงรับสั่งให้ทหารรักษาพระองค์ นำพระองค์ เดินทางไปยังถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ของ ภูเขากั้นเขต(ภูเขาแม่นางส่ง) ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน 

เมื่อ เจ้าพระยาศรีจง ถูกลากด้วยเลื่อน มาถึงหนองน้ำแห่งหนึ่ง เรียกว่า หนองปรือน้อย รู้สึกว่าพระองค์จะต้องสวรรคต อย่างแน่นอน จึงได้รับสั่งให้ทหารหยุดพัก นำน้ำที่หนองน้ำ หนองปรือน้อย มาดื่ม รับสั่งเสียต่อทหารรักษาพระองค์ว่า ถ้าพระองค์สวรรคต ให้นำ นกหงส์ ใส่เกวียน ช่วยกันลากจากโรงหงส์ ผ่านเส้นทางที่บาดเจ็บมาที่ วัดศรีราชัน ให้เป็น ประเพณี เพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ที่ได้ช่วยกันสร้างเมืองหงสาวดี พระบรมธาตุเจดีย์หงสาวดี และ อาณาจักรหงสาวดี จนสำเร็จ และขอให้สามัคคีกัน อย่าทำตอแหลต่อกัน เพราะเป็นต้นเหตุของการแตกแยกความสามัคคี จึงกลัวว่า จะไม่มีแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นที่อยู่อาศัย ของ ชนชาติอ้ายไต ดังนั้น ประเพณีการลากนกหงส์ ด้วยเกวียน และด้วยแรงคน จึงเกิดขึ้นด้วยคำสั่งดังกล่าว และกลายเป็น ประเพณีชักพระ ในเวลาต่อมา เพื่อให้ชนชาติอ้ายไต ได้ระลึกอยู่เสมอว่า อาณาจักรหงสาวดี และ เจดีย์หงสาวดี เป็นทรัพย์สิน ของ อาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเลือดเนื้อ และชีวิต ของ ชนชาติอ้ายไต ให้สามัคคีร่วมกัน อย่าทำตอแหลใส่ความ กันอีกต่อไป

ทหารรักษาพระองค์ ได้นำ เจ้าพระยาศรีจง เดินทางต่อไปถึงหนองน้ำ อีกแห่งหนึ่ง  เนื่องจากเจ้าพระยาศรีจง ต้องการดื่มน้ำอีก บริเวณนั้นจึงถูกเรียกชื่อสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ว่า หนองปรือใหญ่ โดยที่ เจ้าพระยาศรีจง ได้สั่งเสียผ่านทหารรักษาพระองค์ ว่า เมื่อพระองค์จะสวรรคตแล้ว ให้นำพระบรมศพ ไปเผาที่ทุ่งลานช้าง แล้วให้นำอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุเก็บไว้ที่ฐานพระเศียร ของพระนอน เทวรูปจำลองพระองค์ ในถ้ำใหญ่แห่งภูเขากั้นเขต  พระอัฐิอีกส่วนหนึ่งให้ส่งไปบรรจุไว้ตามเจดีย์ที่พระองค์ได้เคยไปปกครองเมืองนั้นๆ

เมื่อ เจ้าพระยาศรีจง ดื่มน้ำที่ หนองปรือใหญ่ ดวงตาก็ปรือใหญ่ขึ้น และสวรรคต ณ บริเวณ หนองปรือใหญ่ ดังกล่าว หนองน้ำดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า หนองปรือใหญ่ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นที่มาของ คำตอบ จากคำถามสอนน้องที่ว่า "...หนองปรือน้อย หนองปรือใหญ่ คือเส้นทางมรรคาลัย ของ ขุนศรีจง..." กลายเป็นตำนานที่มีการเล่าสืบทอดต่อๆ กันมา จนถึงปัจจุบัน คำสั่งเสีย ของ เจ้าพระยาศรีจง กลายเป็น ประเพณีขึ้นถ้ำใหญ่ ณ ทุ่งลานช้าง ของ ภูเขาแม่นางส่ง เพื่อรณรงค์ทำลายวัฒนธรรม การทำตอแหล ในเวลาต่อมา และสืบทอดประเพณี มาจนถึงปัจจุบัน

 

สงครามแย่งช้าง ณ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) กับ พระยาจักรี ปี พ.ศ.๑๒๐๑

ตำนาน พ่อตาพระยามาลี และ พระยาจักรี ซึ่งประชาชนนิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ บริเวณ ต้นโพธิ์ ๗ กษัตริย์ ตั้งอยู่ริมภูเขา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ท้องที่ เกาะดอนขวาง ซึ่งประชาชน นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เรื่องราวเกี่ยวกับ การกำเนิดตำแหน่ง พระยาจักรี นั้น มีเนื้อหาโดยสรุป ว่า มีเด็กชาย ๒ คนเป็นบุตรของโหราจารย์ ประจำพระองค์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ซึ่งได้เคยทำนายทายทัก อย่างผิดพลาด จนต้องถูกนำไปประหารชีวิต ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องนำเด็ก ๒ คน มาเลี้ยงดู

เหตุการณ์ การประหารชีวิตโหราจารย์ ที่กล่าวมา เกิดขึ้นที่ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ก่อนเกิด สงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า เพียงหนึ่งปี เมื่อคณะราชทูต ของ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมพระราชสาส์น มาสู่ขอ เจ้าหญิงสันลิกา พระราชธิดา พระองค์เดียว ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เพื่อให้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายมังกูบังกา(เจ้าชายบังกา) โดยอ้างว่า จะขอเป็นมิตรไมตรีต่อกัน อย่างยาวนาน และจะไม่ทำสงครามต่อกัน อีกต่อไป

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงได้เรียกโหราจารย์มาทำนาย ว่า ถ้ายอมถวาย เจ้าหญิงสันลิกา ให้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายบังกา พระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกูร่า แล้ว จะไม่เกิดสงครามตามพระราชสาส์น จริงหรือไม่? โหราจารย์ทำนายว่า จะไม่เกิดสงครามต่อกัน อีกต่อไป แต่ต่อมา เมื่อเกิดสงครามแย่งชิงนาง ที่ แคว้นเงินยาง(เชียงแสน) จนกระทั่งเกิดสงครามที่ทุ่งไหหิน และตามมาด้วยสงครามแย่งม้า ตามที่กล่าวมาแล้ว อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) กลับประกาศทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งเป็นการทำนายที่ผิดพลาด เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ประหารชีวิตโหราจารย์ ผู้นั้นเสีย

หลังการประหารชีวิตโหราจารย์ ที่กล่าวมา เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้นำบุตรชาย ๒ คน ของโหราจารย์ มาอุปถัมภ์เลี้ยงดูจนเติบใหญ่ พร้อมกับได้มอบวิชาความรู้เกี่ยวกับวิชาการ การทำสงคราม ให้กับเด็กหนุ่มทั้งสองคน จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าให้รับราชการ ดำรงตำแหน่งเป็นขุนนาง เป็นทหารราชองค์รักษ์ มีนามว่า พระยามาลี และ พระยาจักรี ตามลำดับ

เมื่อเกิดสงครามแย่งม้า และศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องโยกย้ายมาตั้งอยู่ที่ เกาะดอนขวาง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น พระยามาลี และ พระยาจักรี จึงได้มาเป็นทหารราชองค์รักษ์ ประจำพลับพลาที่ประทับ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ด้วย ดังนั้นเมื่อกองทัพของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ส่งกองทัพช้าง เข้ามาโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และพ่ายแพ้สงคราม ที่ภูเขาลูกยาง จนต้องถอยทัพกลับไป เป็นที่มาให้ พระยามาลี และ พระยาจักรี ซึ่งเข้าร่วมสงครามด้วย สามารถจับช้างศึก ของกองทัพ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) มาใช้ในกองทัพช้าง เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับนำช้างศึก ไปสร้างคอกช้าง อยู่ในพื้นที่ บ้านคอกช้าง ต.ป่าเว อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงมอบหมายให้ พระยาจักรี ไปฝึกการใช้ช้าง ดังกล่าว มาใช้เป็นประโยชน์ในการทำสงคราม ต่อไปในอนาคต ด้วย พระยาจักรี จึงมีความชำนาญในการขว้างจักร ยิ่งนัก

เมื่อเกิดสงครามแย่งช้าง เจ้าพระยาหะนิมิตร มีกองทัพอยู่ที่ พระราชวังดอนบ่อกร้อ พระยามาลี และ พระยาจักรี ได้ร่วมอยู่ในกองทัพ ของ เจ้าพระยาหะนิมิตร ด้วย กองทัพ ของ แม่ทัพไพศาล ตั้งทัพป้องกันอยู่ในพื้นที่ เกาะดอนขวาง กองทัพแม่ทัพหมัน ตั้งทัพอยู่ที่ บ้านเหมือง กองทัพของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ตั้งทัพอยู่ที่ ดอนค่าย เกาะโพธิ์เรียง(พุมเรียง) เพื่อต่อต้านข้าศึกที่รุกรานโดยกองทัพเรือ และกองทัพของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ตั้งทัพเรืออยู่ที่ เกาะวังตะเคียน ภายในอ่าวศรีโพธิ์ เตรียมพร้อมทำสงครามกับ ข้าศึกทมิฬ อย่างเต็มที่

เมื่อกองทัพของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าปล้นช้าง ณ บ้านคอกช้าง จึงได้ปะทะกับกองทัพของ แม่ทัพหมัน ที่บ้านคอกช้าง แม่ทัพหมัน ต้องตัดสินใจปล่อยช้างที่คอกช้าง ให้หลบหนีออกไป แต่กองทัพของอาณาจักรผัวหมา(พม่า) สามารถจับช้างมาใช้ในการทำสงครามได้จำนวนหนึ่ง สงครามแย่งช้าง จึงเริ่มต้นตั้งแต่ บ้านคอกช้าง ลุกลามมาถึง เขตพระราชวังหลวง ของ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ซึ่งยังสร้างกำแพงเมือง ไม่เสร็จทั้งหมด โดยที่กองทัพทมิฬ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) พยายามยกกองทัพเข้าไปยัง เกาะดอนขวาง เพื่อทำลายศูนย์กลางอำนาจรัฐ จึงเกิดการสู้รบกันอย่างหนัก บริเวณ สะพานล่อคอช้าง คือท้องที่บริเวณโรงเรียนไชยาวิทยาคม ในปัจจุบัน พระยามาลี และ พระยาจักรี เข้าร่วมสงคราม ในสนามรบ ดังกล่าวด้วย

มีการรบสู้รบกันอย่างดุเดือดชนิดประชิดตัว บริเวณสะพานล่อคอช้าง พระยามาลี เสียชีวิต ในสงคราม ส่วนพระยาจักรี ได้ใช้อาวุธ จักร และ อาวุธสามง่าม ทำลายชีวิตแม่ทัพนายกอง ของ กองทัพพม่าที่อยู่บนหลังช้าง จนหมดสิ้น จนกระทั่ง กองทัพอาณาจักรผัวหมา(พม่า) พ่ายแพ้สงคราม บริเวณสะพานล่อคอช้าง พระยาจักรี จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กล้าหาญ  ในเวลาต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงได้มอบไพร่พล ให้กับ พระยาจักรี จนสามารถสร้างกองทัพดูแลพื้นที่ เกาะดอนขวาง อย่างเข้มแข็ง ในเวลาต่อมา

ต่อมา เมื่อ พระยาจักรี เสียชีวิต ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร จึงได้จัดให้มีตำแหน่ง พระยาจักรี ซึ่งเริ่มต้นเป็นตำแหน่งแม่ทัพ คอยดูแลพื้นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ เกาะดอนขวาง และได้พัฒนาตำแหน่งดังกล่าว เป็นแม่ทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ในเวลาต่อมา โดยสืบทอดมาจนถึงสมัย กรุงธนบุรี

เนื่องจาก มีการสร้างเจดีย์เล็กๆ เพื่อนำอัฐิ ของ พระยามาลี และ พระยาจักรี ไปเก็บรักษาไว้ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) บริเวณต้นโพธิ์ ๗ กษัตริย์ ในปัจจุบัน จึงมีประชาชน ไปทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ๒ พี่น้อง คือ พระยามาลี และ พระยาจักรี ณ บริเวณต้นโพธิ์ ๗ กษัตริย์ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

สงครามในอ่าวศรีโพธิ์ พระเจ้ามังกูร่า สวรรคต ปี พ.ศ.๑๒๐๑

เมื่อเกิดสงครามแย่งช้าง พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้ส่งกองทัพเรือ มาร่วมโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ด้วย โดยได้นำกองทัพเรือ มาพักทัพอยู่ที่ ภูเขาศรีวิชัย แล้วยกกองทัพบก เข้าโจมตีกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เผาเรือรบไป จำนวนมาก พร้อมกับสามารถจับแม่ทัพเรือ คนหนึ่ง ของ แคว้นธารา ซึ่งควบคุมกองทัพเรือ อยู่ที่ ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) มาเป็นเชลยศึก พระเจ้ามังกูร่า มาพักทัพอยู่ที่ภูเขาศรีวิชัย เพื่อนัดหมายกับ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) เข้าโจมตีแคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) พร้อมๆ กัน

สงครามครั้งนี้ พระเจ้ามังกูร่า ได้วางแผนลวง เพื่อนำกองทัพเรือเข้าสู่ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) โดยใช้แม่ทัพเรือ ที่เคยถูกกองทัพทมิฬจับเป็นเชลยศึก ณ ท่าโรงช้าง และเคยเป็นผู้บังคับบัญชา ของ พระยาเสือเขา ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล ในการยกโซ่เรือ ขึ้นลง เพื่อควบคุมการเข้าออก ของ เรือสำเภา ที่ปากอ่าวศรีโพธิ์ เป็นเรือนำหน้าขบวนเรือ เพื่อเดินทางเข้าสู่อ่าวศรีโพธิ์ อ้างว่า เป็นการยกกองทัพเรือมาช่วยเหลือ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อทำสงครามกับกองทัพชนชาติทมิฬ

พระยาเสือเขา เห็นว่า ผู้ที่มาติดต่อ เป็นชนชาติอ้ายไต เคยเป็นผู้บังคับบัญชาตนเองมาก่อน จึงเชื่อตามคำลวง และได้ใช้เครื่องจักร ลดโซ่เรือลงมา เพื่อเปิด ปากอ่าวศรีโพธิ์(ปากคลองท่าปูน) ให้กองทัพเรือ อดีตแม่ทัพชนชาติอ้ายไต เดินทางเข้าไปได้ ทำให้ กองทัพเรือ ของ พระเจ้ามังกูร่า สามารถเดินทางเข้าสู่ อ่าวศรีโพธิ์ บางส่วนได้ ต่อมา พระยาเสือเขา มาทราบข่าวว่า เป็นกลลวง ก็ต่อเมื่อ กองทัพของ พระเจ้ามังกูร่า ส่งนักรบขึ้นฝั่ง มายึดเครื่องจักรกล ควบคุมโซ่เรือ เรียบร้อยแล้ว พระยาเสือเขา เห็นว่าสู้ไม่ได้ จึงหลบหนี ไปแจ้งข่าวให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รับทราบ สงครามทางเรือ ทั้งในอ่าวศรีโพธิ์ และ บนเกาะดอนขวาง จึงเกิดขึ้น

พ่อตาหาร ทราบเหตุ จึงได้นำไพร่พล ออกทำการสู้รบกับข้าศึกทมิฬ ด้วยความกล้าหาญ และสามารถเข้ายึดครอง เครื่องควบคุมโซ่เรือ ที่ปากอ่าวศรีโพธิ์ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้นำกองทัพเรือ ออกสู้รบกับ กองทัพเรือ ของ พระเจ้ามังกูร่า ใช้อาวุธใต้ทอ และ ศรธนูไฟ ยิงเข้าเผาเรือสำเภา ของข้าศึก บาดเจ็บ ล้มตาย เรือสำเภาข้าศึกจมลงไปในอ่าวศรีโพธิ์ เป็นจำนวนมาก เรือพระที่นั่ง ของ พระเจ้ามังกูร่า ถูกโจมตีด้วยอาวุธใต้ทอ ต้องยอมสละเรือ หนีขึ้นฝั่งที่ ดอนเกาะยาง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ประมาณ ๒๐๐ เมตร ของเกาะดอนขวาง

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาพบเห็น พระเจ้ามังกูร่า ซึ่งเคยให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ทำสงครามต่อกัน จึงได้ จึงใช้กระบี่ ตัดพระเศียร พระเจ้ามังกูร่า สวรรคต ที่ ดอนเกาะยาง ใกล้กับ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) กองทัพเรือของชนชาติทมิฬ จึงเริ่มพ่ายแพ้ ทหาร บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก

 

วีรกรรม ของ พระยาลาวสูง ณ สมรภูมิ อ่าวศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๒๐๑

ตำนาน พ่อตาลาวสูง ซึ่งประชาชนเชื่อว่ามีดวงวิญญาณสิงสถิต อยู่ที่ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง โดยมีการบวงสรวงเซ่นไหว้สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน มีเรื่องราวกล่าวถึง การรบของ พระยาลาวสูง โดยสังเขปว่า เดิมที พ่อตาลาวสูง คือ พระยาสูง เป็นแม่ทัพคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ แห่ง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) อาณาจักรอ้ายลาว ดังนั้นเมื่อกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นเวียงจันทร์ นั้น พระยาสูง ถูกข้าศึกมอญ-ทมิฬ จับเป็นเชลยศึก กองทัพของ พระยาสูง จึงต้องรับใช้ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ

เมื่อ กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ เริ่มพ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิบางพลี และ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ถูกจับเป็นเชลยศึก ที่แคว้นละโว้ เป็นที่มาให้ อาณาจักรอีสานปุระ ระดมพล ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) เป็นที่มาให้ กองทัพของ พระยาสูง ถูกส่งมาร่วมโจมตี แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ด้วย แต่ แม่ทัพพระยาสูง เป็นเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ไม่สามารถก่อกบฏ ต่อแผ่นดินสุวรรณภูมิได้ จึงตัดสินใจนำกองทัพชนชาติอ้ายไต ก่อกบฏ ต่อ อาณาจักรมอญอีสานปุระ โดยไม่ยอมนำกองทัพเข้าโจมตีแคว้นนาลองกา โดยได้นำกองทัพไปหลบซ่อนอยู่ในป่าเมืองกุย หลังจากนั้น แม่ทัพพระยาสูง ได้ตัดสินใจเดินทางมาหา เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ที่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี)

ก่อนที่จะสิ้นสุดสงครามแย่งม้า นั้น เมื่อ แม่ทัพพระยาสูง เดินทางมาหา เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ที่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) นั้นเป็นเหตุการณ์ที่ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ สวรรคต ณ ภูเขาลูกยาง เรียบร้อยแล้ว และเป็นช่วงเวลาที่ มีการจัดงานพระบรมศพของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ที่พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) พอดี แม่ทัพพระยาสูง จึงได้พบกับ พระนางสิยา มเหสีของ เจ้าพระยาขุนชัยฤทธิ์ จึงได้แจ้งถึงการก่อกบฏ ต่อ อาณาจักรมอญอีสานปุระ ของตนเอง ต่อ พระนางสิยา ซึ่งเป็นที่มาให้ พระนางสิยา มีพระราชสาส์น ถึง เจ้าพระยาศรีไชยนาท ให้รวบรวมไพร่พล ชนชาติอ้ายไต จาก อาณาจักรอ้ายลาว ที่หลบซ่อนอยู่ใน ป่าเมืองกุย มาสร้างเป็น เมืองกุย(กุยบุรี) สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

อันที่จริงแล้ว แม่ทัพพระยาสูง ต้องเดินทางไปสร้าง เมืองกุย(กุยบุรี) แต่ พระนางสิยา เหนี่ยวรั้งไว้ ทั้งนี้เพราะ มีผู้ที่ต้องการให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มาครอบครองพื้นที่ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แทนที่ แต่พระนางสิยาไม่เห็นชอบด้วย เพราะ พระนางสิยา ทราบว่า เจ้าพระยาศรีไชยนาท มีความสามารถ ในสงครามด้วยกองทัพม้า แต่ พระนางสิยา ต้องการให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นผู้เชี่ยวชาญในการรบด้วยกองทัพเรือด้วย เพื่อเตรียมทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน จึงมอบหมายให้ แม่ทัพพระยาสูง เดินทางไปสำรวจพื้นที่ เกาะเรือ ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ เพื่อสร้างพระราชวังที่ประทับให้กับ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ซึ่งเป็นที่มาของ พระราชวังพระนางสิยา ในเวลาต่อมา

หลังสิ้นสุดสงครามแย่งม้า เรียบร้อยแล้ว เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องเป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน พระนางสิยา จึงถือโอกาส สร้างพระราชวังใหม่ ขึ้นมาบนพื้นที่ เกาะเรือ อ่าวศรีโพธิ์ มีชื่อว่า พระราชวังพระนางสิยา หรือ วังแม่นางตะเคียน เพื่อให้เป็นที่ประทับ และเป็นที่ว่าราชการของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นเหตุให้ พระยาสูง เป็นผู้ขุดคูน้ำจืด เพื่อทดน้ำจืด จากน้ำพุถ่วง จาก ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง มาใช้ในพระราชวัง เป็นที่มาให้ พระยาสูง ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า พระยาลาวสูง ตั้งแต่นั้นมา

เมื่อเจ้าพระยาศรีไชยนาท เดินทางกลับจาก มหาอาณาจักรจีน และได้รับ พระนางเงี้ยว(พระนางสุวรรณปทุม) อัครมเหสี เดินทางกลับมาด้วย และได้มาประทับอยู่ที่ พระราชวังพระนางสิยา เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มุ่งเน้นสร้างอู่ต่อเรือสำเภา เพื่อสร้างกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้เข้มแข็ง อู่ต่อเรือสำเภา ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มีอยู่ที่หนองกง ท้องที่ ต.ป่าเว อ.ไชยา ในปัจจุบัน อู่ต่อเรือดังกล่าว เป็นสถานที่เลื่อยไม้ สร้างกงเรือ และเมื่อประกอบเป็นลำเรือสำเร็จ ก็จะล่องเรือมายังอ่าวศรีโพธิ์ ยังอู่ต่อเรือ หนองกูด(ปัจจุบันเรียกว่า บ้านหนองกรูด) พื้นที่ เกาะดอนขวาง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ประมาณ ๕๐๐ เมตร สถานที่ดังกล่าว เป็นอู่ใส่กูดเรือ เสากระโดงเรือ และใบเรือ ซึ่งควบคุมงานโดย พระยาลาวสูง เป็นที่มาให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) มีกองเรือสำเภาค้าขาย และกองเรือรบ ที่เข้มแข็ง อยู่ในพื้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ ในเวลาต่อมา

สงครามครั้งนั้น พระยาลาวสูง สู้รบกับข้าศึกทมิฬ ที่ ภูเขาพ่อตาลาวสูง ถูกข้าศึกยิงด้วยศรอาบยาพิษ สิ้นชีวิตที่ เชิงภูเขาพ่อตาลาวสูง เป็นที่มาให้ ภูเขาน้ำร้อน ลูกดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ประชาชนเชื่อว่า ดวงวิญญาณพ่อตาลาวสูง สิงสถิต อยู่ที่ภูเขาดังกล่าว จึงมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน  

 

จตุคามรามเทพ ให้กำเนิด อาณาจักรละโว้ ปี พ.ศ.๑๒๐๑

ความเดิม แคว้นละโว้ สร้างขึ้นโดย พระยามหาฤกษ์ ตั้งแต่ประมาณปี พ..๑๑๒๙ เป็นต้นมา ทั้งนี้เพราะ พระยามหาฤกษ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กระทำการละเมิดกฎมณเฑียรบาล กระทำการผิดศีลธรรม จึงต้องอพยพไพร่พล จาก แคว้นจันทร์บูรณ์ หนีความผิด ไปสร้างเมืองใหม่ ด้วยการกวาดต้อนชนพื้นเมืองแขกดำ(นาคา) ชนพื้นเมืองเผ่า อ้าโว้ มาพัฒนาเป็นข้าทาส และ ไพร่พล และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ชนเผ่า ละโว้ แล้วตั้งเมืองใหม่ขึ้นมาเรียกชื่อว่า เมืองละโว้ จนกระทั่งในสมัยที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก โดยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้สร้าง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ขึ้นมาเป็นก๊ก หนึ่ง เมืองละโว้ จึงได้ยกระดับเป็น แว่นแคว้นใหม่ เรียกว่า แคว้นละโว้ ตั้งแต่นั้นมา

อาณาจักรละโว้ เป็นอาณาจักรใหม่ ที่เกิดขึ้นในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อทดแทน อาณาจักรอู่ทอง ซึ่งปกครองดินแดนอาณาจักรนาคฟ้า ดั้งเดิม เนื่องจาก กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอู่ทอง(ราชบุรี) และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง นั้น ถูก ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เผาพระราชวังหลวง เพื่อทำลายข้าศึกมอญ-ทมิฬ เป็นเหตุให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ต้องมาสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นมาใหม่ ณ แคว้นละโว้ เพื่อใช้เป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ แคว้นอู่ทอง(ราชบุรี) ที่ถูกเผาไป แล้วเปลี่ยนชื่ออาณาจักรอู่ทอง ใหม่ เป็นชื่อ อาณาจักรละโว้ หลังจากที่ ขุนราม มีชัยชนะต่อข้าศึกมอญ-ทมิฬ

หลังจากที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ทำสงครามขับไล่ข้าศึกชนชาติมอญ-ทมิฬ สำเร็จแล้ว จึงเริ่มฟื้นฟูบ้านเมือง และได้สร้าง อาณาจักรละโว้ ขึ้นมาใหม่ โดยการนำเอาแว่นแคว้นต่างๆ รอบๆ แคว้นละโว้ มาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการสังกัด หวังที่จะให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มาใช้ แคว้นละโว้ เป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อไป อาณาจักรละโว้ จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อปกครองดินแดนอาณาจักรนาคฟ้า ดั้งเดิม โดยมี มหาราชาพ่อมหาฤกษ์ เป็นมหาราชา ของ อาณาจักรละโว้ ในสมัยนั้น

ในสมัยของ สงครามแย่งนาง สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า นั้น แคว้นละโว้ ถูกกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ โดย พระเจ้ากาฬดิษฐ์ หรือ พระยากาฬ แห่งอาณาจักรอีสานปุระ ส่งกองทัพเข้ายึดครองไป เมื่อประมาณปี พ..๑๑๙๖ เป็นเหตุให้ พระนางจันทร์เทวี(เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ เจ้าพระยามหาฤกษ์) ซึ่งอภิเษกสมรสกับ อุปราชเจ้าพระยาจันทร์โชติ(พระราชโอรส ของ เจ้าพระยาจักรนารายณ์) ต้องอพยพไปสร้างแคว้นใหม่ ที่ เมืองหิรัญภุญชัย(ลำพูน) ในขณะที่กำลังทรงพระครรภ์ พระราชโอรสฝาแฝด แคว้นละโว้ จึงถูกกองทัพมอญ-ทมิฬ ยึดครองไปเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี

ต่อมา ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เป็นผู้ทำสงครามแย่งชิงดินแดน แคว้นละโว้ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อ มหาราชาเจ้าพระยามหาฤกษ์ สวรรคต เจ้าพระยาจันทร์โชติ ซึ่งเป็นพระภัสดา ของพระนางจันทร์เทวี ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา ผู้สืบทอดราชสมบัติ อาณาจักรละโว้ เป็นรัชกาล ถัดมา

ต่อมา มหาราชาเจ้าพระยาจันทร์โชติ มี มเหสีพระองค์ใหม่ จึงเกิด สายราชวงศ์จันทร์วงศ์ เป็นมหาราชา ครองอาณาจักรละโว้ สืบทอดเรื่อยมา เนื่องจาก ดินแดนของ อาณาจักรละโว้ ได้ถูกข้าศึกมอญ-ทมิฬ ทำสงครามเข้ายึดครอง ไปเป็นจำนวนมาก ขุนบรมฤกษ์ พระราชโอรส ของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) กับ พระนางอีเลิศ เป็นบุคคลหนึ่ง ที่ทำสงครามกอบกู้ และฟื้นฟู แว่นแคว้น ต่างๆ ของ อาณาจักรละโว้ กลับคืน ในเวลาต่อมา

 

สงครามแย่งชิง พระบรมธาตุปะถมเจดีย์ กับ ข้าศึกมอญ ปี พ.ศ.๑๒๐๑

เรื่องราวของสงครามแย่งชิง พระบรมธาตุปะถมเจดีย์ หรือ พระบรมธาตุเจดีย์จักรนารายณ์ มีเรื่องราวจากตำนาน ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) กล่าวโดยสรุปว่า เมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) สามารถยึด เมืองละโว้ กลับคืนมาจากข้าศึกมอญ-ทมิฬ ได้แล้ว ก็ส่งกองทัพเข้าขับไล่กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ซึ่งกำลังปิดล้อม เมืองโยธิกา(อยุธยา) จนกองทัพมอญ-ทมิฬ ต้องถอยทัพกลับไป

ขณะนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มีพระชนมายุได้ประมาณ ๒๐ พรรษา ถึงวัยที่ต้องออกบวช แต่ก็มิได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ตามราชประเพณีที่กำหนด เนื่องด้วยสภาพของสงคราม ภายในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขณะนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้สร้างเมืองละโว้ ให้เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอู่ทอง เพื่อทดแทนพระราชวังหลวงคูบัว(ราชบุรี) ซึ่งถูก ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เผาไปจนเสียหายวอดวาย จนไม่ต้องการฟื้นฟูเมือง กลับคืนอีก

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พิจารณาเห็นว่า เมืองละโว้(ลพบุรี) มีทำเลที่ตั้งเหมาะสมกว่า ยากที่ข้าศึกจะนำกองทัพเรือเข้าโจมตี ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงสร้างเมืองละโว้ ขึ้นทดแทน เมืองอู่ทอง และเรียกชื่อ อาณาจักรใหม่ ว่า อาณาจักรละโว้ แทนที่ อาณาจักรอู่ทอง โดยที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้สร้าง ศาลท้าวมหาพรหมทัศน์ พระราชวังหลวง และ พระปรางสามยอด ขึ้นมาที่เมืองละโว้ ตามตำราวิชาจตุคามรามเทพ จนสำเร็จ โดยมีเจตนาเพื่อเชิญ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ผู้เป็นพระราชบิดา ให้กลับมาครองราชย์สมบัติ ใช้เป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์ แล้วเชิญ เจ้าพระยาจันทร์โชติ มารักษาเมืองละโว้ ไว้ชั่วคราว

ในปีเดียวกัน  ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้สร้าง เทวรูปสิขีปฏิมา ขึ้นมา ๙ องค์ จนสำเร็จ เพื่อสื่อความหมายถึง การใช้วิชาจตุคามรามเทพ ในการตัดสินพระทัย ในการต่อสู้กับข้าศึกมอญ-ทมิฬ ในเหตุการณ์ที่ทรงตัดสินพระทัย เผาพระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เพื่อทำลายข้าศึกเกือบ ๕๐,๐๐๐ คน สามารถเอาชนะข้าศึกมอญ-ทมิฬ จนเป็นที่เกรงขามของข้าศึกมอญ-ทมิฬ ในเวลาต่อมา ดังนั้น เทวรูปสิขีปฏิมา ถูกส่งไปมอบให้หลายเมือง และกลายเป็นชนวนของสงครามกับข้าศึกมอญ-ทมิฬ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อกษัตริย์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี ของชนชาติมอญ-ทมิฬ ได้ส่งคณะราชทูตมาเจรจาขอ เทวรูป พระสิขีปฏิมา จาก ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ไปประดิษฐาน  ณ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) อ้างว่าเพื่อจะเป็นไมตรีต่อกัน ตลอดไป แต่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ไม่ยอมมอบให้ เพราะทราบว่า เป็นเล่ห์กล ในการทำตอแหล ของ กษัตริย์มอญ-ทมิฬ เท่านั้น จึงเป็นที่มาให้ อาณาจักรของชนชาติมอญ-ทมิฬ ประกาศ ทำสงครามกับ อาณาจักรละโว้ ในขณะที่เกิดสงครามแย่งช้าง ตามที่กล่าวมาแล้ว

กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) หวังที่จะ เข้ายึดครอง พระบรมธาตุพระปะถมเจดีย์  ขณะนั้น เจ้าพระยาจักรนารายณ์  ผู้เป็นพระอนุชา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นราชาปกครอง แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) จึงต้องนำกองทัพเข้าต่อสู้กับข้าศึกมอญ-ทมิฬ เมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทราบข่าว จึงได้ยกกองทัพจาก แคว้นละโว้ เข้าไปหนุนช่วย เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ซึ่งเป็นเสด็จอา เกิดการรบพุ่งกันอย่างดุเดือด กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ต้องพ่ายแพ้กลับไป แต่สงครามครั้งนี้ เจ้าพระยาจักรนารายณ์ สวรรคต ในที่รบ

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงต้องจัดทำพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ของ เจ้าพระยาจักรนารายณ์ แล้วนำอัฐิไปเก็บรักษาไว้ที่พระมหาบรมธาตุปะถมเจดีย์ ให้ดวงวิญญาณ ของ เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ทำการรักษา พระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า แล้วพระราชทานพระนามใหม่ ของ พระบรมธาตุพระปะถมเจดีย์ ว่า พระมหาบรมธาตุเจดีย์จักรนารายณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๐๑ เป็นต้นมา

ภายหลังสงคราม ขับไล่กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ซึ่งได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) เรียบร้อยแล้ว ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้รีบดินทางลงไปยัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ของ อาณาจักรชวาทวีป เพื่อนำ เทวรูปสิขีปฏิมา ไปมอบให้กับ แว่นแคว้นต่างๆ และเพื่อเชิญ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ผู้เป็นพระราชบิดา กลับมาใช้แคว้นละโว้ เป็นแคว้นนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ที่ถูกไฟเผาผลาญไป ตามที่ปรารถนาไว้ ต่อไป

 

 

ท้าวอู่ทอง เสด็จสวรรคต ปี พ.ศ.๑๒๐๑

ในขณะที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เสด็จลงไปยัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อไปกราบทูลเชิญพระราชบิดา เสด็จกลับมาใช้ แคว้นละโว้(ลพบุรี) เป็นแคว้นนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ แคว้นอู่ทอง(ราชบุรี) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น สงครามแย่งช้าง ณ แคว้นศรีโพธิ์ และ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ได้ยุติลงแล้ว แต่ เจ้าพระยาหะนิมิตร และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ยังต้องนำกองทัพเข้าทำสงครามปราบปรามชนชาติทมิฬ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ทางฝั่งทะเลตะวันตก ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับ ที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทรงได้รับทราบข่าวว่า มีกองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) หวังที่จะ เข้ายึดครอง พระมหาบรมธาตุปะถมเจดีย์ อีกด้วย

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทราบข่าว จึงเตรียมที่จะยกกองทัพออกไปต่อสู้ ขับไล่กองทัพข้าศึกมอญ-ทมิฬ ด้วยพระองค์เอง จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีธรรมโศก จึงต้องทำหน้าที่ รักษา แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ต้องกลับไปรักษา แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) แทนที่ เจ้าพระยาศรีธรนนท์ ซึ่งได้เสด็จสวรรคต ไปในสงครามแย่งช้าง แล้ว

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เดินทางไปตรวจกองทัพเรือ ที่ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) เพื่อใช้เรือสำเภาใหญ่ ซึ่งได้บรรทุกช้างทรง ประจำพระองค์ แต่กลับพบว่า เรือรบหลายลำ ถูกข้าศึกเผาทำลาย และจมลง ในแม่น้ำหลวง(แม่น้ำตาปี) มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้พยายามกู้เรือ และซ่อมแซมเรือ หลายลำ ให้สามารถนำมาใช้ได้ จนกระทั่งไม่ได้หลับนอน เกิดความอ่อนเพลีย แล้วก็เป็นลมสวรรคต ในขณะที่มีพระชนมายุประมาณ ๖๗ พรรษา ณ ท่าโรงช้าง ในขณะที่กำลังอยู่ระหว่างการทำพิธีสวมกำไลงาช้างทองคำ สำหรับช้างทรง ประจำพระองค์

 

จตุคามรามเทพ เสด็จสวรรคต ปี พ.ศ.๑๒๐๑

ในช่วงเวลาเดียวกัน ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรส พระองค์เล็ก ของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เสด็จมาถึง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อเชิญ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้ขึ้นไปใช้ เมืองละโว้ เป็นเมืองนครหลวง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เข้าใจว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างพระราชวังหลวง ประทับอยู่ที่ ภูเขาสายหมอ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) มาอย่างยาวนาน จึงได้นำเรือสำเภา เข้าทางปากแม่น้ำศรีโพธิ์(คลองไชยา) ต้องช่วยกันพายเรือ ทวนน้ำ ไปยัง ภูเขาสายสมอ ด้วยความเหน็ดเหนื่อย เมื่อเรือพระที่นั่ง ถึง ภูเขาสายหมอ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ซึ่งเหน็ดเหนื่อยมาก เป็นลมล้มพับ ในเรือพระที่นั่ง และถูกนำไปรักษา ณ ภูเขาศรีพนม และได้เสด็จสวรรคต ในอ้อมอกของ พระนางศรีพนม ที่ ภูเขาศรีพนม แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) นั่นเอง

 

หลังจากที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) สวรรคต ในเวลาต่อมา พระเชษฐา คือ เจ้าพระยาหะนิมิต และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้รวบรวมวิชาความรู้ต่างๆ ซึ่ง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้รวบรวม จดบันทึกไว้ จากการศึกษา กับ ตาผ้าขาวเถระรอด เช่น วิชาโหราศาสตร์ขุนราม วิชาสร้างเมืองจตุคาม วิชาพิชัยสงคราม มาบันทึกขึ้นใหม่ เรียกว่า วิชาจตุคามรามเทพ และพระราชทานพระนาม ขุนราม ใหม่ หลังจากสวรรคต ว่า จาตุคามรามเทพ ส่วน เมืองราม ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมืองศรีเทพราม(ศรีเทพ) ซึ่งปกครองโดย พระนางศรีจันทร์ ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ ขุนราม และเป็นพระขนิษฐา ของ พระนางจันทร์เทวี และ พระนางนวลจันทร์ ด้วย

Visitors: 54,261