บทที่ ๘ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย สงครามแย่งนาง

บทที่ ๑๑

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

สมัย สงครามแย่งนาง

 

ลางร้าย ก่อนเกิดสงครามแย่งนาง โหรทำนายว่า กาขาว จะครองเมือง

      ก่อนเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๔ ได้มีการจัดงานอภิเษกสมรส ระหว่าง เจ้าหญิงสันลิกา พระราชธิดา พระองค์เดียว ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง กับ เจ้าชายบังกา พระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ณ ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) หลังจากการจัดงานเรียบร้อยแล้ว และมีการส่ง เจ้าหญิงสันลิกา ให้เสด็จไปยัง เกาะบังกา เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทรงฝันร้าย เป็นลางร้าย ขึ้นมาทันที

      คืนแรก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ฝันไปว่า มีอีกาสีขาว บินมาล้อมรอบ พระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เป็นจำนวนมาก และมีอีกาสีขาว ฝูงหนึ่ง บินเข้ามาในพระราชวังหลวง ได้มาเกาะอยู่ที่ หัวเทวรูปสิงห์โต ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้เรียกโหราจารย์ มาทำนายความฝัน โหรหลวง ทำนายว่า ชนชาติมอญ และ ชนชาติกลิงค์ จะยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และจะเป็นเกราะป้องกัน จะไม่เป็นศัตรูกับ ชนชาติอ้ายไต อีกต่อไป ส่วน โหรเทพไทย ซึ่งเป็นโหรประจำพระองค์ ของ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ทำนายว่า ชนชาติมอญ จะอ้างว่าเป็นผู้มีศีลธรรม จะก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง โดยแสร้งเปลี่ยนขนจากสีดำ เป็นสีขาว เพื่อแสร้งอ้างว่า เป็นผู้มีศีลธรรม  

      คืนต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ฝันไปอีกว่า ไฟไหม้ ตั้งแต่ดินแดนทางเหนือ จรดดินแดนทางใต้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่บนเกาะแห่งหนึ่ง จึงไม่ถูกไฟคลอก ต่อมา พระราชโอรส ทั้งสามพระองค์ สามารถดับไฟ เป็นผลสำเร็จ พระยาโหรเทพไทย ทำนายว่า จะถึงยุคกาขาว ครองเมือง จึงให้ทำหุ่นไล่กา ติดตั้งไว้หน้าบ้าน และตามเรือกสวนไร่นา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล ให้ดวงวิญญาณ ของ มอญ กลับสู่ถิ่นเดิม

  

                      โครงสร้าง สายราชวงศ์เงินยาง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน

              

 

มูลเหตุของ สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชนชาติมอญ ปี พ.ศ.๑๑๙๔

ตำนานไทรขุนฤทธิ์ เล่าเรื่องราวพระราชประวัติ ของ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ โดยมี คณะมโนราห์ มาแสดง ณ ดอนมโนราห์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ๆ กับ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จนกลายเป็นประเพณี เพื่อเชิดชูเกียรติประวัติ ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ประเพณีดังกล่าวเพิ่งหายไปเมื่อประมาณ ๕๐ ปี มานี้เอง เรื่องราวที่ คณะมโนราห์ ต้องนำมาแสดงเพื่อบวงสรวงเซ่นไว้ดวงวิญญาณ ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ นั้น มีเรื่องราวส่วนหนึ่งที่กล่าวถึงเหตุการณ์ ก่อนที่ กรุงเวียงจันทร์ จะถูกกองทัพมอญ ทำสงครามเข้ายึดครอง จนกระทั่ง เจ้าพระยาชัยขุนฤทธิ์ และ พระนางสิยา ต้องอพยพไพร่พล มาสร้างพระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ณ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี)

มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) นั้น ในสมัยที่ ราชวงศ์เทพนิมิตร ทำการก่อกบฏ ประชาชนชนชาติไทย แตกแยกกันอย่างรุนแรง เพราะวัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง ต่อมาเมื่อ พระเจ้ากากะพัตร แห่งอาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๒ นั้น พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) แทนที่นั้น พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงฉวยโอกาส ขณะที่ชนชาติไทย แตกแยกกัน วางแผนก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ เตรียมสร้าง สหราชอาณาจักรมอญ ขึ้นแทนที่ ทันที

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระเจ้ากาฬดิษฐ์ เป็นแกนนำ ในการวางแผนยึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติไทยไปครอบครอง ครั้งแรก พระเจ้ากาฬดิษฐ์ วางแผนให้ กษัตริย์ ๒ พี่น้อง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) คือ ท้าวชิน และ ท้าวจอมธรรม วางแผนเข้ายึดครอง แคว้นสวนตาล(พะเยา) เพื่อทำลายอำนาจของ มหาอุปราช เจ้าฟ้าเฮ่ง ราชวงศ์แมนสม แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน เพื่อให้ ท้าวจอมธรรม ราชวงศ์มอญ ขึ้นเป็นมหาอุปราช มีอิทธิพลปกครอง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน อย่างเต็มที่

ก่อนเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ เล็กน้อย พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ร่วมมือกับ พระเจ้าอนุรุท(พระราชโอรส ของ พระเจ้านันทเสน) แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) กรุงอริมัททนะปุระ(สะโตง) และ ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ได้ส่งคณะราชทูต ไปพบกับ พระนางศรวาณี ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ อัครมเหสี ของ พระเจ้าชคัทธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา เสนอให้ พระนางศรวาณี ส่งคณะราชทูต ไปพบกับ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) อย่างลับๆ เพื่อสมคบกันทำสงครามแบ่งแยกดินแดนสุวรรณภูมิ เข้าครอบครอง อย่างมีจังหวะก้าว โดยมี มหาอาณาจักรจีน สนับสนุนอยู่อย่างลับๆ

พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้มีข้อตกลงร่วมกันกับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ อย่างลับๆ วางแผนยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง โดยวางแผนให้ พระเจ้าประกาศธรรม ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ พระนางศรวาณี กับ พระเจ้าชคัทธรรม เข้ายึดอำนาจจาก พระเจ้าภัทเรศวร ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา เพื่อเข้าปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และเตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พร้อมๆ กับที่ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว

พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) มีข้อตกลงกับ พระเจ้าประกาศธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้ร่วมกับ อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ไปครอบครอง พร้อมๆ กับวางแผนให้ ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว

พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ซึ่งเป็นพระญาติสนิทกับ พระนางศรวาณี อัครมเหสี ของ พระเจ้าชคัทธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้พยายามส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ กับ พระนางศรวาณี เพื่อใช้อาณาจักรจามปา เชื่อมโยงกับ อาณาจักรต่างๆ ของชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ร่วมทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ จาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย จึงมีการกำหนดแผนให้ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ร่วมกับ อาณาจักรจามปา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ให้ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และให้ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) และ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ร่วมกันยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป ด้วย

พระเจ้ากาฬดิษฐ์ วางแผนให้ ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเชียงขวาง ซึ่งเป็นแคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรอ้ายลาว และวางแผนให้ อาณาจักรอีสานปุระ ทำสงครามเข้ายึดครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ราชธานี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว พร้อมกับวางแผนให้ อาณาจักรอีสานปุระ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) , อาณาจักรละโว้ , อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ อีกด้วย ถ้าเป็นไปตามแผนการที่กำหนด จะสามารถขยายสงคราม เข้ายึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ทั้งหมด

กลุ่มราชวงศ์มอญ มีข้อตกลงลับๆ กันว่า ถ้าแผนการขั้นที่หนึ่งประสบความสำเร็จ ให้ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) และ) ยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรทวาย หลังจากนั้นให้ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี(สะโตง) ร่วมกันส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรละโว้ เพื่อเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ในที่สุด ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จะถูกยึดครองทั้งหมด

ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๓ เป็นต้นมา ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้นำวัฒนธรรมตอแหล ใส่ความ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ว่าเป็นผู้ฆ่าพระราชบิดา เป็นกษัตริย์ไม่ทรงธรรม ทำให้ชนชาติไทย แตกแยก และ แบ่งฝ่ายกันอย่างหนัก ในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรต่างๆ ของ ราชวงศ์มอญ ราชวงศ์กลิงค์ และ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้เร่งรัดสะสมกำลัง ขยายกองทัพ อย่างลับๆ ในขณะที่ชนชาติไทย กำลังแตกแยกกันอย่างรุนแรง โดยที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มิได้ระแวง สงใส แต่อย่างใด

ดังนั้น เมื่อ มหาอาณาจักรจีน แสร้งมอบม้าขาวพันธุ์ดี มาให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง กลุ่มราชวงศ์มอญ จึงมีการหยั่งเชิง ขอ ม้าพันธุ์ดี จาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มาก่อนแล้ว แต่เมื่อไม่เป็นผล พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงวางแผนให้ ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) สร้างเงื่อนไขในการก่อสงคราม โดยการวางแผนให้ พระนางอั่วคำ ราชธิดา ของ ท้าวชิน นัดหมายอภิเษกสมรส กับ เจ้าชายเองกา พระราชโอรส ของ ท้าวกว่า แคว้นเชียงขวาง มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เพื่อนำมาสร้างเงื่อนไข ก่อสงครามขั้นต่อไป สงครามแย่งนางอั่วคำจึงเกิดขึ้น เจ้าพระยาท้าวชัยฤทธิ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเวียงจันทร์ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงต้องอพยพไพร่พล ไปสร้างพระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ขึ้น ณ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ในเวลาต่อมา

      ตำนาน เจ้าฟ้าฮ่วน ซึ่งได้อพยพหนีภัยสงคราม จาก เมืองตุมวาง(แพร่) ไปตั้งพระราชวังประทับอยู่ที่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ในท้องที่ ดอนยวน บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ โดยสรุปว่า ก่อนที่ เมืองตุมวาง(แพร่) จะถูก พระยารุ่ง ตีเมืองแตก นั้น วัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง เจ้าหญิงง้อม ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่สืบทอดมาจาก ท้าวลาวทอง เป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง กับ พระยารุ่ง ก็สนับสนุน ราชวงศ์มอญ จนกระทั่ง เจ้าหญิงง้อม รังเกียจการเป็นชนชาติไทย จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า นางมอญ เพราะไปหลงรักอยู่กับ พระยารุ่ง ซึ่งเป็นสายราชวงศ์มอญ-ไทย จนกระทั่งลักลอบได้เสียกัน ในเวลาต่อมา

      ก่อนเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ ราชธิดา ของ ท้าวชิน นั้น ท้าวจอมธรรม ปกครองอยู่ที่ เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) ในขณะที่ชนชาติไทย กำลังแตกความสามัคคี เพราะวัฒนธรรมตอแหล กันอย่างรุนแรง กองทัพ ของ ท้าวจอมธรรม จึงสามารถยึดครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) จาก มหาอุปราชเจ้าฟ้าเฮ่ง ได้อย่างง่ายดาย ผลของสงครามครั้งนั้น เจ้าฟ้าเฮ่ง ต้องทิ้ง เมืองสวนตาล(พะเยา) และอพยพไพร่พล ไปอาศัยอยู่กับ เจ้าฟ้าฮ่วน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ณ เมืองตุมวาง(แพร่) ท้าวจอมธรรม จึงขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) แทนที่ ประมาณ ๑ ปี ต่อมา พระนางจอมเม็ง อัครมเหสี ของ ท้าวจอมธรรม ก็ลอบวางยาพิษ ท้าวจอมธรรม ถึงแก่สวรรคต พระยาเจือง ซึ่งเป็นพระราชโอรส จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ว่าราชการอยู่ที่เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) มอบให้ พระยารุ่ง ปกครองอยู่ที่ เมืองสวนตาล(พะเยา) ส่วน นางมอญ(นางง้อม) ปกครองอยู่ที่ เมืองนาคอง(เชียงของ)

      ต่อมาไม่นาน ชนชาติมอญ จึงมีการวางแผนทำสงครามแย่งนางอั่วคำ เพื่อยึดครอง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่ง สงครามครั้งนั้น พระยารุ่ง ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระยาเจือง ราชวงศ์ชนชาติมอญ ถูกวางตัวให้เป็นแม่ทัพใหญ่ เพื่อส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองตุมวาง(แพร่) และ แว่นแคว้นอื่นๆ ของ ราชวงศ์แมนสม ในลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และ แม่น้ำเจ้าพระยา ด้วย เป็นผลให้ เจ้าฟ้าเฮ่ง สวรรคต ในสงคราม ส่วน เจ้าฟ้าฮ่วน ต้องอพยพไพร่พล หนีภัยสงคราม ไปตั้งพระราชวังประทับอยู่ที่ บ้านดอนยวน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) อาณาจักรชวาทวีป ก่อนที่ เจ้าฟ้าฮ่วน จะสร้างกองทัพไปทำสงครามยึดครอง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) กลับคืน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

 สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ กรุงเชียงแสน ปี พ.ศ.๑๑๙๕

สงครามแย่งนางอั่วคำ คือสงครามที่ชนชาติมอญ วางแผนทำลายกองทัพหลัก ของ อาณาจักรอ้ายลาว เกิดขึ้นเมื่อมีการเตรียมการอภิเษกสมรส ระหว่าง เจ้าชายเองกา(พระราชโอรส ของ ท้าวกว่า) แห่ง เมืองคำวัง แคว้นเชียงขวาง อาณาจักรอ้ายลาว กับ เจ้าหญิงคำอั่ว(พระราชธิดา ของ ท้าวชิน) แห่ง เมืองเงินยาง แคว้นเชียงแสน อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ซึ่งมีการตกลงมั่นหมาย มาก่อนหน้านี้แล้ว แต่เมื่อมีการนัดหมายอภิเษกสมรส ขบวนขันหมาก ของ เจ้าชายเองกา ราชวงศ์เจ้าเก้า(แกว) แห่ง เมืองคำวัง แคว้นเชียงขวาง เดินทางไปอภิเษกสมรส ณ เมืองเงินยาง แคว้นเชียงแสน ตามนัดหมาย แต่ ท้าวชิน กลับปฏิเสธการอภิเษกสมรส ไม่ยอมส่งตัว เจ้าหญิงคำอั่ว ให้กับ เจ้าชายเองกา ตามที่มีการตกลงกันมาก่อน กลับส่งตัว เจ้าหญิงคำอั่ว ให้อภิเษกสมรสกับ พระยารุ่ง แทนที่ ทั้งๆ ที่ พระยารุ่ง มี พระนางง้อม เป็นมเหสีลับ มาก่อนแล้ว

แผนการของ ท้าวชิน ราชวงศ์มอญ มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ได้วางแผนทำสงครามแย่งนาง ด้วยการวางแผนให้ งานอภิเษกสมรส ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขในการก่อสงคราม โดยทำการหักหน้า ท้าวกว่า มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว แคว้นเชียงขวาง โดยการประกาศจะจัดงานอภิเษกสมรส ระหว่าง เจ้าหญิงอั่วคำ กับ พระยารุ่ง แทนที่งานอภิเษกสมรส ของ เจ้าชายเองกา ตามที่นัดหมายไว้ เพื่อนำไปใช้สร้างเงื่อนไขให้เกิดสงครามระหว่าง ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) กับ มหาอุปราชท้าวกว่า แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว โดยที่ ท้าวชิน ได้แสร้งท้าทาย แคว้นเชียงขวาง ให้นำกองทัพที่ดีที่สุด มาโจมตี อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) อีกด้วย เป็นเหตุให้ เจ้าชายเองกา ต้องยกขบวนขันหมาก กลับคืนเมืองคำวัง เป็นไปตามแผนการที่ ราชวงศ์ชนชาติมอญ ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อก่อให้เกิด สงครามแย่งนางอั่วคำ ตามแผนการที่กำหนด

เนื่องจากกองทัพ ของ ท้าวกว่า แห่ง แคว้นเชียงขวาง อาณาจักรอ้ายลาว เป็นกองทัพหลักที่เข้มแข็ง และมีความกล้าหาญ ของ อาณาจักรอ้ายลาว เคยเข้าไปทำสงครามปราบปรามกองทัพอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ที่เข้ามารุกรานอาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) หลายครั้ง อีกทั้ง ท้าวกว่า มีความใกล้ชิดกับ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งปกครองอยู่ที่ แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) ซึ่งมีกองทัพหลวง ที่เข้มแข็งด้วย กองทัพหลัก ของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) จึงมีการวางแผนก่อสงครามระหว่าง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) กับ อาณาจักรอ้ายลาว เพื่อให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ก่อสงครามกับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรอีสานปุระ ก่อสงครามกับ กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) อาณาจักรอ้ายลาว ตามแผนการที่กำหนด ด้วย 

ตำนานสงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ ที่เกิดขึ้นในดินแดนของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรอ้ายลาว มีอยู่ ๒ ตำนาน คือตำนานของไทย และตำนาน ของมอญ ตำนานของไทย ถูกคณะยี่เก และ คณะหนังตะลุง ในภาคใต้ นำไปแสดงถ่ายทอดเรื่องราว ในเรื่องของ "พระยาลอ" เนื้อหาของเรื่อง จัดให้ พระยาลอ เป็นพระเอก ส่วน เจ้าฟ้าฮ่วน เป็นพระรอง พระยาเจือง และ พระยารุ่ง คือผู้ทรยศต่อชนชาติไทย ส่วนพระยามอญ และ นางมอญ ทั้งหลาย คือตัวร้าย ของเรื่อง นางง้อม เป็นราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ตกเป็นเครื่องมือ ของ ชนชาติมอญ มารู้สึกตัวในภายหลัง เริ่มเรื่องด้วยพระราชประวัติของ ขุนบรม , พระยาลอ และ เจ้าฟ้าฮ่วน จนกระทั่งเกิดสงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ คือ สงครามแย่งนางอั่วคำ , สงครามทุ่งไหหิน , สงครามแย่งม้า , สงครามแย่งช้าง และ สงครามกอบกู้ดินแดน กลับคืน มีเรื่องของ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) เป็นบุคคลสำคัญในการรักษาดินแดนไว้ได้ จบเรื่องราวด้วยชัยชนะ ของ ชนชาติอ้ายไต เป็นผู้ครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป พร้อมกับการกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม มาแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

ส่วนตำนานของมอญ อยู่ในตำนานเรื่อง "ท้าวฮุ่ง-ขุนเจือง" ถูกบันทึกไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ในภายหลัง เพื่อยกย่องว่า ท้าวฮุ่ง(พระยารุ่ง) และ ขุนเจือง(พระยาเจือง) เป็นวีรบุรุษสองฝั่งแม่น้ำโขง ของ ชนชาติมอญ เนื้อเรื่อง ยกให้ ท้าวฮุ่ง(พระยารุ่ง) เป็นพระเอก นางง้อม เป็นนางเอก ส่วน ขุนเจือง(พระยาเจือง) เป็นพระรอง ส่วน พระยาลอ , เจ้าฟ้าฮ่วน , ท้าวเองกา และ ท้าวกว่า เป็นคนร้าย เรื่องจบลง เมื่อท้าวฮุ่ง(พระยารุ่ง) ตายไปเป็นผี เพราะพ่ายแพ้สงคราม ดวงวิญญาณของ ท้าวฮุ่ง(พระยารุ่ง) ยังตามมาช่วยทำสงคราม จนกระทั่ง เจ้าฟ้าฮ่วน สวรรคต เมื่อ ท้าวชิน และ ขุนเจือง ถูกปราบปรามจากกองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จนสวรรคต เจ้าชายคำรุ่ง พระราชโอรส ของ ท้าวฮุ่ง กับ พระนางง้อม กลายเป็นผู้สืบทอดราชวงศ์ชนชาติมอญ สืบทอดไปจนถึง ราชวงศ์พระเจ้าเม็งราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ ในสมัยต่อมา

ตำนานเรื่อง "พระยาลอ" ของไทย กล่าวว่า หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ปฏิเสธการให้ม้าพันธุ์ดี แก่ ราชวงศ์มอญ และราชวงศ์ทมิฬโจฬะ หลายอาณาจักร เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๓ แล้ว พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ(อีสานใต้) ได้สมคบกับ ท้าวชิน มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) จึงวางแผนทำสงครามแย่งนางอั่วคำ เพื่อทำลายกองทัพหลัก ของ อาณาจักรอ้ายลาว ก่อนขยายสงครามไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยนำเงื่อนไขที่ เจ้าชายเองกา แห่ง เมืองคำวัง แคว้นเชียงขวาง(ปะกัน) กำลังจะจัดงานอภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงอั่วคำ พระราชธิดา ของ ท้าวชิน มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน กับ พระนางอาแจ๊ะ มาเป็นเงื่อนไขในการทำสงคราม เพื่อทำลายกองทัพหลัก ของ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) มิให้มีบทบาทในการทำสงครามต่อสู้ เรียกสงครามครั้งนี้ ว่า สงครามแย่งนาง และ สงครามทุ่งไหหิน เป็นสงครามที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ก่อสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ก่อสงครามยึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ อาณาจักรหงสาวดี ก่อสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรทวาย พร้อมกันไปด้วย หลังจากนั้น ก็เกิดสงครามแย่งม้า อีกครั้งหนึ่ง จตุคามรามเทพ(ขุนราม) พระราชโอรสองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการทำลายกองทัพมอญ จนสำเร็จ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือแผนการทำลายกองทัพหลัก ของ อาณาจักรอ้ายลาว ก่อนขยายสงครามไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจากเจตนา ของ ท้าวชิน มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน มีเจตนาเพื่อหักหน้า มหาราชาเจ้าพระยาชัยฤทธิ์ และ มหาอุปราชท้าวกว่า เพื่อให้ส่งกองทัพหลักประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน เพื่อลวงให้เข้าโจมตี เมืองเชียงแสน(เงินยาง) อันเป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก เพื่อวางแผนทำลายกองทัพหลัก ของอาณาจักรอ้ายลาว และทำสงครามเข้ายึดครอง กรุงเวียงจันทร์ ราชธานี แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่ง แล้วส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเชียงขวาง ซึ่งเรียกว่า สงครามทุ่งไหหิน อีกครั้งหนึ่ง

ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ที่ ราชวงศ์มอญ กำหนด เมื่อ มหาอุปราชท้าวกว่า และ มหาราชาเจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ระดมกองทัพหลักจากแว่นแคว้นต่างๆ จำนวน ๕๐,๐๐๐ คน ยกกองทัพเข้าโจมตี เมืองเงินยาง(เชียงแสน) จึงถูกกองทัพ พระยาเจือง เข้าซุ่มโจมตีระหว่างทาง ทหารของ ท้าวกว่า เสียชีวิตไปประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน ระหว่างเดินทัพ ที่เหลือ ๓๐,๐๐๐ คน ได้เดินทางเข้าปิดล้อม กรุงเชียงแสน แต่ถูกล่อให้ตกไปอยู่ในวงล้อม และถูกปิดล้อมโดยกองทัพของ พระยาเจือง และ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) กษัตริย์มอญ ๒ พี่น้อง ณ สมรภูมิ กรุงเชียงแสน(เงินยาง) ผลของสงครามครั้งนั้น มหาอุปราชท้าวกว่า แห่ง แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว สวรรคต ในสงคราม เจ้าชายเองกา ถูกจับเป็นเชลยศึก ทหาร ๓๐,๐๐๐ คน บางส่วน ถูกจับเป็นเชลยศึก ณ สมรภูมิ กรุงเชียงแสน มีทหารอีกส่วนหนึ่งของ ท้าวกว่า นำโดย ขุนหิ้ง และ ขุนบัง สามารถตีแหกวงล้อม ถอยทัพกลับ กรุงเชียงขวาง ถูกกองทัพของ พระยาเจือง ติดตามไปปะทะกัน ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน กลายเป็น สงครามทุ่งไหหิน อีกครั้งหนึ่ง ส่วนพระยารุ่ง ได้นำกองทัพ มุ่งหน้าเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นเชียงทอง(หลวงพระบาง) ของ อาณาจักรอ้ายลาว เป็นแว่นแคว้นต่อไป

 

สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองเชียงทอง ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ผลของ สงครามแย่งนาง ครั้งนั้น เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ ของ อาณาจักรอ้ายลาว และเป็นไปตามแผนการที่ราชวงศ์มอญ กำหนดทุกประการ ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามขึ้นมาหลายด้าน แคว้นเชียงทอง(หลวงพระบาง) อาณาจักรอ้ายลาว จึงขาดแคลนทหาร รักษาแคว้นเชียงทอง เพราะสูญเสียทหารจากการสู้รบในสงครามแย่งนางอั่วคำ จำนวนมาก

ในขณะที่ กองทัพของ พระยาเจือง มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ได้เร่งเคลื่อนทัพจาก เมืองเชียงแสน(เงินยาง) ปะทะกับทหาร ของ แม่ทัพขุนบัง และ ขุนหิ้ง ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน นั้น พระยารุ่ง ได้เร่งส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเชียงทอง(หลวงพระบาง) ในขณะที่ชนชาติอ้ายไต ถูกวัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกอย่างรุนแรง ชาวเมืองเชียงทอง จึงไม่ยอมต่อสู้ ต่างหลบหนีภัยสงครามไปอยู่ในเขตป่าเขา ส่วนชนชาติอ้ายไต ที่สนับสนุนชนชาติมอญ ว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรม นั้น นำโดย ขุนกันฮาง ผู้นำในการใช้วิชาตอแหล สร้างความแตกแยกในเมืองเชียงทอง ได้นำทัพของ พระยารุ่ง เข้ายึดครอง เมืองเชียงทอง สำเร็จอย่างง่ายดาย หลังจากนั้น พระยารุ่ง ได้แต่งตั้งให้ ขุนกันฮาง เป็นผู้ปกครอง แคว้นเชียงทอง(หลวงพระบาง) แล้วเคลื่อนทัพเข้าสู่ เมืองปะกัน ของ แคว้นเชียงขวาง เป็นแว่นแคว้นต่อไป ทันที

 

สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชาติมอญ ณ สมรภูมิ กรุงเวียงจันทร์ ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ตำนานท้องที่ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพระราชวังที่ประทับ ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว หลังจากพ่ายแพ้สงคราม กองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ราชวงศ์ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิกรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว ได้กล่าวถึง สงคราม ณ สมรภูมิ กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) โดยสรุป ดังนี้

ในสมัยที่ราชวงศ์เทพนิมิตร ก่อกบฏ นั้น มีพระยาฟันดำจมูกดำ คนหนึ่ง รับราชการเป็นขุนนาง รับใช้ขันที ของ พระนางวงศ์จันทร์ ทำการยุยงให้ พระนางวงศ์จันทร์ ขับไล่ เจ้าชายศรีไชยนาท และ พระนางบัวจันทร์ มเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้ออกจากพระราชวังหลวง ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทราบเรื่องดังกล่าว จึงไล่ พระยาฟันดำจมูกดำ ออกจากราชการ พระยาฟันดำจมูกดำ จึงได้หลบหนีไปรับราชการอยู่กับ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ณ อาณาจักรอีสานปุระ ได้ภรรยาใหม่เป็น ชนชาติมอญ จนกระทั่ง พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ พระยาฟันดำจมูกดำ จึงได้รับคำสั่งจาก พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ให้ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน นำวัฒนธรรมตอแหล ไปสร้างความแตกแยกให้กับ ประชาชนชนชาติอ้ายไต ในดินแดนอาณาจักรอ้ายลาว

 เนื่องจาก พ่อค้าเกวียน พระยาฟันดำจมูกดำ มีความรู้มาก พูดจาเก่ง มีหลักการ ประชาชนในอาณาจักรอ้ายลาว จึงให้ความเชื่อถือ วัฒนธรรมตอแหล จึงระบาดในดินแดน ของ อาณาจักรอ้ายลาว อย่างรวดเร็ว เกิดความแตกแยกระหว่าง ชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน อย่างรุนแรง บางครอบครัวโต้เถียงกัน ถึงขั้นต้องฆ่ากันเอง ต่อมา เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ได้รับพ่อค้าเกวียน พระยาฟันดำจมูกดำ เข้ารับราชการ ณ กรุงเวียงจันทร์ กลายเป็นสายลับให้กับ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ตามแผนการที่กำหนด แม้ว่า พระนางสิยา มเหสี ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ พิจารณาเห็นว่า พระยาฟันดำจมูกดำ เป็นผู้นำวัฒนธรรมตอแหล มาสร้างความแตกแยกให้กับ ประชาชน และ ข้าราชการ มาอย่างต่อเนื่อง พระนางสิยา จึงพยายามคัดค้านพฤติกรรม ของ พระยาฟันดำจมูกดำ หลายครั้ง พร้อมกับเรียกร้องให้ไล่ พระยาฟันดำจมูกดำ ออกจากราชการหลายครั้ง ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่ง พระยาฟันดำจมูกดำ สามารถสร้างกองทัพขึ้นมาอย่างลับๆ ด้วยการสนับสนุน ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จนเป็นผลสำเร็จ

ต่อมาเมื่อ มหาอุปราชท้าวกว่า แห่ง แคว้นเชียงขวาง อาณาจักรอ้ายลาว พ่ายแพ้สงครามต่อ กองทัพของ อาณาจักรยวนโยนก ณ สมรภูมิ กรุงเชียงแสน และ สมรภูมิ กรุงเชียงทอง เรียบร้อยแล้ว มหาอุปราชพระยาเจือง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก ได้ส่งกองทัพเข้าปะทะกับกองทัพของ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน นั้นเมื่อ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ทราบข่าวความพ่ายแพ้ ของ กองทัพ อาณาจักรอ้ายลาว ครั้งนั้น จึงเร่งส่งกองทัพเข้ายึดครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว ตามนัดหมายที่กำหนด กับ พระยาฟันดำจมูกดำ ทันที เช่นกัน

กองทัพ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ(อีสานใต้) กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) ซึ่งมีกองทัพของ พระยาฟันดำจมูกดำ เป็นไส้ศึกอยู่ภายในพระราชวังหลวง กรุงเวียงจันทร์ นั้น พระยากาฬดิษฐ์ จึงสามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ซึ่งมีประชากร ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ คน ตามแผนการที่กำหนด ได้อย่างง่ายดาย โดยใช้เวลาในการทำสงครามภายใน ๑ วัน ๑ คืน ก็สามารถเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงเวียงจันทร์ เป็นผลสำเร็จ แม่ทัพพระยาลาวสูง แม่ทัพคนสำคัญ ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ ถูก พระยาฟันดำจมูกดำ จับเป็นเชลยศึก พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงสามารถจับเชลยศึกได้เป็นจำนวนมาก

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ครั้งนั้น ตำนานท้องที่ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ มหาราชาแห่ง อาณาจักรอ้ายลาว และ พระนางสิยา มเหสี ของ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ สามารถหลบหนีไปได้ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ และ พระนางสิยา พร้อมไพร่พลอีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพล่องเรือมาตามลำน้ำโขง ออกสู่อ่าวไทย มุ่งหน้าไปยัง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) อาณาจักรชวาทวีป โดยได้ไปสร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ที่ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต ในเวลาต่อมา แม่ทัพหลวงคนหนึ่ง ของ เจ้าพระยาไชยฤทธิ์ มีชื่อว่า พระยาลาวสูง ตกเป็นเชลยศึก ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ และได้หนีทัพมอญ ของ พระยาฟันดำจมูกดำ ในขณะที่กองทัพมอญ เข้าทำสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) พระยาลาวสูง ได้โอกาส สามารถหลบหนีไปพบกับ พระนางสิยา ในเวลาต่อมาเป็นผลสำเร็จ กลายเป็นตำนานอีกตำนานหนึ่ง คือ ตำนานพ่อตาลาวสูง ซึ่งประชาชนในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ทำการบวงสรวงเซ่นไหว้ เป็นประเพณี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

หลังจากที่ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ทำสงครามยึดครอง กรุงเวียงจันทร์ อาณาจักรอ้ายลาว สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงแต่งตั้งให้ พระยาฟันดำจมูกดำ ปกครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ส่วนกองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ถอนทัพกลับ มุ่งหน้าเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้น และ เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) กรุงร้อยเอ็ด ซึ่งปกครองโดย พระยาศรีสุริยะเดช(พระยาสุริยวงศาธรรมิกราชเอกราช) เป็นอาณาจักร ต่อไป

 

สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองปะกัน ปี พ.ศ.๑๑๙๕

หลังจากที่ พระยารุ่ง ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองเชียงทอง(หลวงพระบาง) ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้วนั้น กองทัพของ พระยารุ่ง ได้มอบให้แม่ทัพอ้ายขว้าง เข้าโจมตี เมืองปะกัน อันเมืองหลวงของ แคว้นเชียงขวาง สงครามครั้งนั้น พระนางกั่ว อัครมเหสี ของ ท้าวกว่า ได้นำกองทัพ ออกมาต่อสู้ ณ สมรภูมิ นอกเมืองปะกัน โดยท้าชนช้างกับ พระยาเจือง พระนางกั่ว ถูกช้างของข้าศึก เข้าชน ตกจากหลังช้าง และถูกแทงฟัน สวรรคต ในสงคราม กองทัพ ของ แคว้นเชียงขวาง จึงตกเป็นเชลยศึก ของ พระยารุ่ง

ส่วนกองทัพ พระยารุ่ง ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองปะกัน แคว้นเชียงขวาง ได้อย่างง่ายดาย เมื่อพระยารุ่ง ยึดเมืองปะกัน ได้แล้ว ได้เจ้าหญิงอู่แก้ว ไปเป็นชายา อีกพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้น พระยารุ่ง ก็จัดการแบ่งทรัพย์สิน สาวสนม ข้าทาสบริวาร ไร่นา และเมืองต่างๆ ให้ทหารมอญ คนสำคัญ ทำการปกครอง

พระยารุ่ง ได้แต่งตั้งให้ อ้ายขว้าง สมุนของ พระยาฟันดำจมูกดำ เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองปะกัน แคว้นเชียงขวาง หลังจากนั้น พระยารุ่ง ก็ยกทัพกลับ กรุงเชียงเครือ(เชียงราย) พร้อมกับนำทรัพย์สินเงินทอง ที่ยึดมาได้จาก เมืองปะกัน แคว้นเชียงขวาง ไปสู่ขอ เจ้าหญิงง้อม จนกระทั่งได้อภิเษกสมรส ระหว่างกัน สมความปรารถนา

ส่วน อ้ายขว้าง ผู้ปกครอง เมืองปะกัน(เชียงขวาง) ได้ทำการกวาดต้อนชนชาติอ้ายไต ที่ตกเป็นเชลยศึก และสนับสนุนว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ว่าเป็น มหาจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรม ไปส่งมอบให้กับ พระยาเจือง ณ ทุ่งไหหิน ในเวลาต่อมาด้วย   

 

สงครามแย่งนางอั่วคำ กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ในขณะที่กองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ทำสงครามยึดครอง กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว นั้น กองทัพของ พระยาเจือง ได้เคลื่อนกองทัพจาก เมืองเชียงแสน ติดตามกองทัพของ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ซึ่งมุ่งหน้าเดินทางกลับ แคว้นเชียงขวาง อันเป็นแคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรอ้ายลาว กองทัพของ พระยาเจือง ติดตามไปพบกับ กองทัพของ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ณ ทุ่งไหหิน กองทัพทั้งสอง จึงได้ปะทะทำสงครามระหว่างกัน จึงเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามทุ่งไหหิน

สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน เกิดขึ้นเมื่อ พระยาเจือง ยกกองทัพมาเผชิญหน้ากับ กองทัพของ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ณ ทุ่งไหหิน สงครามครั้งนั้น กำลังกองทัพของ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ถูกปิดล้อมด้วยกองทัพ ของ พระยาเจือง ซึ่งมีกำลังพล มากกว่ามาก ในที่สุด ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ต้องนำไพร่พลส่วนหนึ่ง ตีแหกวงล้อมไปได้ ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ได้นำไพร่พลส่วนหนึ่ง เดินทางมุ่งหน้าไปยัง เมืองปะกัน(เชียงขวาง) แต่ทราบข่าวว่า เมืองปะกัน ถูกกองทัพของ พระยารุ่ง ตีเมืองแตกแล้ว ขุนบัง และ ขุนหิ้ง จึงต้องตัดสินใจเดินทางไปอาศัยอยู่กับ เจ้าฟ้าเฮ่ง ณ เมืองตุมวาง(แพร่) แทนที่   

สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน ครั้งนั้น พระยาเจือง สามารถจับเชลยศึก ทหารของกองทัพขุนบัง และ ขุนหิ้ง ไปเป็นข้าทาส ให้สกัดหินมาทำ ไหหิน เพื่อใช้หมักเหล้า ณ ทุ่งไหหิน เป็นจำนวนมากเรียกว่า ไหเหล้าพระยาเจือง หรือ ไหเหล้าเจือง ต่อมา เมื่อ พระยารุ่ง ชนะสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองปะกัน(เชียงขวาง) เรียบร้อยแล้ว ได้ทำการกวาดต้อนเชลยศึก ชนชาติอ้ายไต มามอบให้กับ พระยาเจือง ณ ทุ่งไหหิน เพื่อทำการทำไหเหล้าเจือง ท้องที่ ทุ่งไหหิน จึงเป็นอนุสรณ์แห่งความเลวร้าย ของ ชนชาติมอญ ที่หนีภัยสงครามจากอินเดีย มาขออยู่ร่วมในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ได้กระทำต่อชนชาติอ้ายไต อย่างเลวร้าย ในอดีตที่ผ่านมา

ต่อมา พระยาเจือง ยังได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมือง และแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรอ้ายลาว ที่คงเหลือ จนสำเร็จเรียบร้อย พระยาเจือง จึงนำไพร่พลดื่มเหล้า ที่กวาดต้อนชนชาติอ้ายไต ไปเป็นข้าทาส เพื่อสร้าง ไหหิน เพื่อการเสพสุข ของ แม่ทัพมอญ ที่ต้องการทำเหล้าหมักไว้ในไหหิน เพื่อฉลองชัยชนะในสงคราม อยู่ที่แคว้นเชียงขวาง อยู่ประมาณ ๗ เดือน พระยาเจือง จึงแต่งตั้งให้ชนชาติอ้ายไต ชื่อ "อ้ายขว้าง" สมุนคนหนึ่ง ของ พระยาฟันดำจมูกดำ เป็นผู้ปกครองเมืองปะกัน(เชียงขวาง) และแต่งตั้งให้ พระนางจอมเม็ง ซึ่งเป็นราชวงศ์ชนชาติมอญ พระราชมารดา ของ พระยาเจือง ให้มาปกครอง เมืองเชียงขวัญ ในเวลาต่อมาด้วย

สงครามแย่งนางอั่วคำ และ สงครามทุ่งไหหิน ครั้งนั้น พระยาเจือง , พระยารุ่ง และ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ใช้เวลาในการทำสงคราม ยึดครองดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว ให้เป็นอาณาจักรของราชวงศ์ชนชาติมอญ ทั้งหมด เป็นเวลาประมาณ ๑ ปี ๓ เดือน ก็สามารถยึดครองดินแดนอาณาจักรอ้ายลาว เป็นของ ราชวงศ์ชนชาติมอญ ได้ทั้งหมด เมื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ทำให้เชื่อได้ว่า สงครามแย่งนางอั่วคำ และ สงครามทุ่งไหหิน เพื่อยึดครองอาณาจักรอ้ายลาว ที่กล่าวมา คือเหตุการณ์จริง ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๕ อย่างแน่นอน   

เมื่อ พระยาเจือง ชนะสงครามยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาวสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยกกองทัพกลับมายัง เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) แคว้นเงินยาง(เชียงแสน) แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) เป็นชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกียรติแก่ บรรพชน ว่า อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ดังเดิม อีกครั้งหนึ่ง พระยาเจือง จึงได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ไปถึง เมืองเชียงรุ้ง ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามแย่งนาง กับ ชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองตุมวาง(แพร่) ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ตำนานท้าวฮุ่ง-ขุนเจือง และ ตำนานเจ้าฟ้าฮ่วน ในท้องที่ บ้านดอนยวน ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงเรื่องราวของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองตุมวาง(แพร่) คล้ายคลึงกัน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ พระยาเจือง มีชัยในสงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งไหหิน และ พระยารุ่ง มีชัยในสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองปะกัน แคว้นเชียงขวาง เรียบร้อยแล้ว ต่อมากองทัพของชนชาติมอญ สามารถยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรอ้ายลาว ส่วนใหญ่ สำเร็จเรียบร้อยแล้ว พระยารุ่ง ก็ยกทัพกลับมายัง เมืองสวนตาล(พะเยา) แห่ง อาณาจักรโยนก(เชียงแสน) และได้จัดงานอภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงง้อม(นางมอญ) สมความตั้งใจ ในเวลาไม่นาน พระยารุ่ง ก็ทราบข่าวว่า แม่ทัพขุนบัง และ ขุนหิ้ง แม่ทัพสำคัญของ แคว้นเชียงขวาง สามารถหลบหนีไปยัง เมืองตุมวาง(แพร่) เป็นผลสำเร็จ

ในขณะที่ พระยารุ่ง จัดงานอภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงง้อม นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ไปเป็นประธานในงานประกวดดนตรี คณะกลองยาว ณ เมืองสุพรรณ เมื่อได้ทราบข่าวว่า อาณาจักรอ้ายลาว ถูกยึดครองโดย ชนชาติมอญ เรียบร้อยแล้ว และยังทราบข่าวอีกว่า พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กำลังทำสงครามยึดครอง อาณาจักรทวาย มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงรีบเสด็จกลับ ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ทันที จึงทราบข่าวอีกว่า พระเจ้ากาฬดิษฐ์ กำลังทำสงครามยึดครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) กรุงร้อยเอ็ด และมีรายงานข่าวมาอย่างต่อเนื่อง ถึงสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรต่างๆ ในขณะที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง กำลังตัดสินพระทัยที่จะส่ง กองทัพประจำการ ไปช่วยเหลือ อาณาจักรต่างๆ นั้น ก็มีคณะราชทูต ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ , พระเจ้าอนุรุธ , พระเจ้าชคัทธรรม และ พระเจ้ามังกูร่า ส่งคณะราชทูตมาขอม้าขาวพันธุ์ดี ถ้าไม่ยอมมอบให้ จะต้องเกิดสงครามระหว่างกัน มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องเรียกประชุม คณะมนตรี เพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์   

ส่วน พระยารุ่ง แห่ง เมืองสวนตาล(พะเยา) เมื่อทราบข่าวถึง สงคราม ณ สมรภูมิต่างๆ ซึ่งชนชาติมอญ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม ตามแผนการที่กำหนด โดยมี ขุนพรหม ขุนนางชนชาติอ้ายไต แห่ง เมืองตุมวาง ผู้มอบบุตรสาว ให้เป็นสนม ของ พระยาเจือง เป็นสายลับ ผู้นำวัฒนธรรมตอแหล ไปสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไตในเมืองตุมวาง เป็นผู้ส่งข่าวให้ พระยารุ่ง ส่งกองทัพมอญ เข้ายึดครอง เมืองตุมวาง(แพร่)

เมื่อเกิดความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนเมืองตุมวาง อย่างรุนแรง พระยารุ่ง จึงส่งกองทัพจาก เมืองสวนตาล(พะเยา) เข้าโจมตี เมืองตุมวาง(แพร่) ทันที ผลของสงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต อยู่ระหว่างความแตกแยกจากวัฒนธรรมตอแหล ประชาชนล้วนเอาตัวรอด ต่างหลบหนีเข้าป่า เจ้าฟ้าเฮ่ง นำกองทัพที่เหลือ ออกทำสงคราม จนกระทั่ง สวรรคต ในสงคราม ส่วนเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ถูกกองทัพ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) ทำการฆ่าฟัน แบบล้างเผ่าพันธุ์

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองตุมวาง(แพร่) ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ พระราชโอรส และ พระราชธิดา ของ เจ้าฟ้าเฮ่ง คือ เจ้าฟ้าฮ่วน และ เจ้าหญิงคำหยาด(นางนกต่อ) พร้อมเชื้อสายราชวงศ์ และไพร่พลอีกส่วนหนึ่ง พร้อมด้วย ขุนบัง และ ขุนหิ้ง พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถต่อสู้กับ กองทัพมอญ ของ พระยารุ่ง ได้อย่างแน่นอน จึงตัดสินใจ อพยพหนีภัยสงคราม ล่องเรือมาตามลำแม่น้ำยม มุ่งสู่ แม่น้ำเจ้าพระยา มายังปากน้ำสมุทรปราการ ส่วน เมืองตุมวาง(แพร่) พระยารุ่ง ได้แต่งตั้งให้ ขุนพรหม เป็นผู้ปกครอง เมืองตุมวาง

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทราบข่าว การพ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองตุมวาง(แพร่) จึงเสนอให้ เจ้าฟ้าฮ่วน นำเชื้อสายราชวงศ์ยวนโยนก และ ไพร่พล พร้อมด้วย ขุนบัง และ ขุนหิ้ง เดินทางไปหลบภัยสงคราม ตั้งพระราชวังประทับอยู่ที่ บ้านดอนยวน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) อาณาจักรชวาทวีป ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๕ เป็นต้นมา

บ้านดอนยวน ที่กล่าวถึง ปัจจุบันตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา เจ้าฟ้าฮ่วน พร้อมด้วย ขุนบัง และ ขุนหิ้ง ได้ร่วมสร้างกองทัพขึ้นใหม่ ณ ทุ่งพระยาชนช้าง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และอีก ๑๗ ปีต่อมา เจ้าฟ้าฮ่วน สามารถนำกองทัพจาก แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เข้าทำสงครามกอบกู้เอกราช ของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามแย่งนาง กับ ชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาย ปี พ.ศ.๑๑๙๕

      สงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาย เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงอริมัททนะปุระ(สะโตง) แสร้งอ้างเหตุว่า อาณาจักรอ้ายลาว ทำสงครามฆ่าชนชาติมอญ ณ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) อย่างไม่ชอบธรรม จึงประกาศทำสงคราม กับ ชนชาติอ้ายไต ที่ตั้งรกรากในดินแดน ของ อาณาจักรทวาย เพื่อล้างแค้นให้กับ ชนชาติมอญ ที่เสียชีวิตไป

      พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี วางแผนให้ กองทัพมอญ จาก แคว้นรามัน(ตะนาวสี) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นปากคูหา(มะริด) ส่วน พระเจ้าอนุรุธ ได้ส่งกองทัพมอญ เข้ายึดครอง แคว้นสุธรรม(เสทิม) และ แคว้นทวาย ผลของสงคราม อาณาจักรทวาย พ่ายแพ้สงคราม แว่นแคว้นต่างๆ จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรหงสาวดี

      ผลของสงครามครั้งนั้น พระเจ้าอนุรุธ ได้ส่งแม่ทัพมอญ คนหนึ่งชื่อ พระยาพัน ไปปกครอง เมืองปากคูหา(มะริด) เป็นเหตุให้ เมืองปากคูหา ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองพัน และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองม้าฤทธิ์(มะริด) ในสมัยต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

      ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาย ครั้งนั้น พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงอริมัททนะปุระ(สะโตง) ได้เตรียมกองทัพมอญ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน มาตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองทวาย เพื่อยาตราทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ร่วมกับกองทัพมอญของ อาณาจักรอื่นๆ ในสมัยสงครามแย่งม้า อีกครั้งหนึ่ง ด้วย

 

สงครามแย่งนาง กับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา ปี พ.ศ.๑๑๙๕

สืบเนื่องจาก พระเจ้าชคัทธรรม พระราชโอรสของ พระเจ้าประภาสธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้อภิเษกสมรส กับราชวงศ์มอญ คือ พระนางศรวาณี ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระเจ้าศรีอีสาน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๓ ต่อมา พระเจ้าชคัทธรรม ได้ถูก พระนางศรวาณี ราชวงศ์มอญ ลอบวางยาพิษ จนกระทั่ง สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๔ เป็นเหตุให้ พระเจ้าประกาศธรรม พระราชโอรส ของ พระนางศรวาณี กับ พระเจ้าชคัทธรรม ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทำให้ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ซึ่งเป็นพระญาติสนิท กับ พระนางศรวาณี จึงวางแผนให้ ราชวงศ์มอญ เข้าไปมีอิทธิพลในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และวางแผนทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) มาก่อนหน้านี้แล้ว

พระเจ้ากาฬดิษฐ์ พยายามใช้ พระเจ้าประกาศธรรม ซึ่งมีสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬโจฬะ ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อเสนอให้ ชนชาติทมิฬโจฬะ ร่วมทำสงครามแย่งนางอั่วคำ ด้วย พระเจ้าประกาศธรรม จึงเสนอให้ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ร่วมส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และเสนอให้ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) พร้อมๆ กัน

ดังนั้นเมื่อ พระเจ้าประกาศธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ทราบข่าวว่า พระยาเจือง และ พระยารุ่ง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) มีชัยในสงคราม ต่อ แคว้นเชียงขวาง และ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ สามารถทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงเวียงจันทร์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เป็นผลสำเร็จแล้ว กองทัพของ พระเจ้าประกาศธรรม และ กองทัพของ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ก็ยาตราทัพเข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ตามแผนการที่กำหนด ทันที

      ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ครั้งนั้น ทหารในกองทัพ ของ กษัตริย์ ราชวงศ์คันธุลี แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) สู้รบกับทหารทมิฬโจฬะ หลายสมรภูมิ ต่างผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เสียชีวิตไพร่พลทั้งสองฝ่าย เป็นจำนวนมาก สงครามยืดเยื้อจากปี พ.ศ.๑๑๙๕ ไปถึงปี พ.ศ.๑๑๙๘ กองทัพของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ กองทัพของ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ต้องถอนทัพกลับ

 

สงครามแย่งนาง กับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง ปี พ.ศ.๑๑๙๕

      เนื่องจาก ดินแดน อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เคยถูกปกครองโดย ชนชาติทมิฬโจฬะ มาก่อน เคยเรียกชื่อว่า อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรพนม(เขมร) มาก่อน แต่ต่อมา ชนชาติทมิฬโจฬะ พ่ายแพ้สงคราม ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ชนชาติทมิฬโจฬะ ส่วนหนึ่งจึงได้อพยพไปยึดครองดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ไปปกครอง ชนชาติทมิฬโจฬะ อีกส่วนหนึ่ง อพยพไปตั้งรกราก ณ ดินแดน อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ต่อมา อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งถูกปกครองโดยราชวงศ์เจ้าอ้ายไต จึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ปกครองโดย สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เรื่อยมา โดยที่ ทั้งสองอาณาจักร ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ พยายามทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง กลับคืน เรื่อยมา แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จนกระทั่งเมื่อ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ ได้รับข้อเสนอ ของ พระเจ้าประกาศธรรม จึงได้ยอมรับข้อเสนอ เข้าร่วมทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) กลับคืนเป็นของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ตามแผนการที่กำหนด ในสมัยของ สงครามแย่งนางอั่วคำ อีกครั้งหนึ่ง

สงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้เคลื่อนทัพมาเตรียมพร้อมรอทำสงครามอยู่ที่ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น เมื่อมหาราชา แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ทราบข่าวว่า พระยาเจือง และ พระยารุ่ง แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) มีชัยในสงคราม ต่อ แคว้นเชียงขวาง และ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ สามารถทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงเวียงจันทร์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เป็นผลสำเร็จแล้ว กองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ก็เคลื่อนทัพเข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ทันที

      ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) กองทัพของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องอพยพไพร่พลไปตั้งอยู่ที่ แคว้นสุวรรณเขต อาณาจักรอ้ายลาว อีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ว่า อาณาจักรโพธิ์ใน ต่อมา เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรโพธิ์ใน ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ กลับคืนจาก กองทัพทมิฬโจฬะ

      สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ยืดเยื้อจากปี พ.ศ.๑๑๙๕ ไปถึงปี พ.ศ.๑๒๑๒ กองทัพของ อาณาจักรโพธิ์ใน ได้ร่วมกับ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) กลับคืน จึงสามารถทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ต้องอพยพกลับไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามแย่งนาง กับ ชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีโคตรบูร ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ตำนานท้องที่ ท่าดอนร้อยเอ็ด(ท่าดอนเอ็ด) และตำนาน วัดสโมสร(วัดโหรง) ในท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความเป็นมาของชื่อท้องที่ ท่าดอนร้อยเอ็ด ว่า เกิดขึ้นจากการที่ เมืองร้อยเอ็ด ราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ได้ถูกกองทัพมอญ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ทำสงครามเข้ายึดครอง เป็นผลสำเร็จ ประชาชนจากเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด จึงได้อพยพหนีภัยสงคราม มาตั้งรกรากในท้องที่ดังกล่าว และได้ร่วมกันสร้าง วัดสโมสร ขึ้นมาด้วย จึงทำให้ท้องที่ดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า ท่าดอนร้อยเอ็ด สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ตำนานท้องที่ บ้านท่าดอนร้อยเอ็ด คือ ตำนานพ่อตาพระยาเอ็ดตาโร กล่าวถึงเรื่องราวของ อาณาจักรศรีโคตรบูร โดยสรุปว่า ดินแดน อาณาจักรศรีโคตรบูร นั้น เดิมเคยเรียกชื่อว่า อาณาจักรนาคดิน ต่อมา ถูกกองทัพของ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ทำสงครามยึดครองไปหลายปี ในสมัยต่อมา พระยาศรีโคตรบูร สามารถทำสงครามกอบกู้เอกราชกลับคืนจาก ชนชาติมอญ สำเร็จ จึงเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรนาคดิน เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรศรีโคตรบูร

ท่ามกลางกระบวนการพัฒนา ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัยต่อๆ มา ทำให้ราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ต้องเปลี่ยนที่ตั้งหลายครั้ง จนกระทั่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร ได้เสียเอกราชให้กับ ชนชาติมอญ อีกครั้งหนึ่ง และ ท้าวอุเทน เป็นผู้ทำสงครามขับไล่ ชนชาติมอญ เป็นผลสำเร็จ ในสมัยของ สงครามโรมรันพันตู ทำให้ ราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร จึงย้ายไปตั้งอยู่ที่ เมืองท่าอุเทน จนกระทั่งในรัชสมัยของ มหาราชาพระยาอินทร์ พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร พระยาอินทร์ ได้ย้ายราชธานีมาตั้งใหม่ ณ เมืองพนม(นครพนม) หรือ เมืองหนองหารหลวง เมื่อมีการสร้างพระธาตุพนม ขึ้นสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๐

ต่อมา มหาราชาพระยาอินทร์ เสด็จสวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พระยาศรีสุริยะเดช(พระยาสุริยวงศาธรรมิกราชาธิราชเอกราช) พระราชโอรสลับ ของ เจ้าพระยาศรีจง กับ พระนางศรีพนม ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร พระยาศรีสุริยะเดช จึงได้เปลี่ยนที่ตั้งราชธานี มาอยู่ที่ เมืองร้อยเอ็ด โดยมีหัวเมืองใหญ่ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ที่สำคัญ ๗ หัวเมือง เป็นเหตุให้ ประชาชนในดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยนั้น นิยมเรียกชื่อ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ว่า พวกร้อยเอ็ดเจ็ด-หัวเมือง หรือ พวกร้อยเอ็ด-เจ็ดประตู อีกชื่อหนึ่งด้วย

เนื่องจากก่อนเกิดสงครามกับ ชนชาติมอญ นั้น แว่นแคว้น และเมืองต่างๆ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ล้วนปกครองโดยชนชาติอ้ายไต และเคยมีสงครามกับ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ มาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ก่อนเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ ครั้งนั้น พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้วางแผนทำสงครามยึดครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร มาก่อนแล้วหลายปี ได้มอบหมายให้ พระยาตักกะศิลา เชื้อสายราชวงศ์มอญ ซึ่งแสร้งจงรักษ์ภักดี ต่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งชนชาติมอญ อพยพเข้าไปตั้งรกราก ณ เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร เป็นจำนวนมาก เพื่อใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต เตรียมทำสงครามยึดครอง มาอย่างเป็นฝ่ายกระทำ ก่อนแล้ว

ดังนั้น ในรัชสมัยของ พระยาศรีสุริยะเดช ปกครอง อาณาจักรร้อยเอ็ด นั้น เมื่อกองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ สามารถยึดครอง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) ของ อาณาจักรอ้ายลาว สำเร็จเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ก็ได้รับไพร่พลทหารเพิ่มเติม จาก กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) มาเสริมกองทัพให้เข้มแข็งขึ้น จึงก่อสงคราม กับ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ตามแผนการที่กำหนด ทันที

ขณะที่เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น พระยาเอ็ดตาโร แม่ทัพใหญ่คนหนึ่ง ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ได้นำคณะดนตรีกลองยาว ไปแข่งขัน กับ อาณาจักรต่างๆ ณ เมืองสุพรรณ ช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรศรีโคตรบูร จึงขาดแม่ทัพใหญ่ ทำหน้าที่บัญชาการรบ อีกทั้ง พระยาตักกะศิลา ได้นำวัฒนธรรมตอแหล มาสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ด้วย ชนชาติอ้ายไต ในขณะนั้นจึงขัดแย้งแบ่งข้างเป็น ๒ ฝ่าย อย่างชัดเจน พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงอยู่ในฐานะได้เปรียบ ในการทำสงครามยึดครอง ๗ หัวเมืองใหญ่ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร เพราะชนชาติอ้ายไต จำนวนมาก ถูกพระยาตักกะศิลา ทำการยุยง ให้เห็นผิดเป็นชอบ จึงเข้าร่วมกับกองทัพมอญ หวังโค่นล้มอำนาจของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ด้วย  

เจ็ดหัวเมืองใหญ่ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ที่ถูกกองทัพมอญยึดครองนั้น มีบางหัวเมือง ปรากฏในตำนาน พ่อตาพระยาพัน ซึ่งประชาชน ชาวประมง ผู้ทำนากุ้ง ในท้องที่ อ.พุนพิน อ.ท่าฉาง และ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้ พ่อตาพระยาพัน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำนานพ่อตาพระยาพัน ได้เล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการที่กองทัพมอญ ทำสงครามเข้ายึดครองหัวเมืองทั้งเจ็ด โดยมี เมืองอุดร(หนองหารน้อย) ด้วย

ตำนาน พ่อตาพระยาพัน กล่าวถึงสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีโคตรบูร โดยสรุปว่า พระยาพัน เป็นแม่ทัพผู้ที่มีความสามารถ ของ เมืองอุดร(หนองหารน้อย) เป็นบุตรของ พระยาอุดร เจ้าเมืองอุดร(หนองหารน้อย) เคยร่วมอยู่ในกองทัพของ พระยาพาน มาก่อน ตั้งแต่สมัยสงครามพระยากง-พระยาพาน เนื่องจาก พระยาพัน มีความสามารถในการนับเลข ถึงเลขพัน ได้ตั้งแต่วัยเด็ก จึงได้รับการส่งเสริมให้บวชเรียน มารับราชการ จนมีตำแหน่งเป็น พระยาพัน มีความสามารถในการคำนวณ บวก ลบ คูณ และ หาร ได้ดีเยี่ยม ต่อมาได้มารับราชการเป็นเจ้าเมืองแห่งหนึ่ง ของ แคว้นอุดร แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร จนกระทั่งเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีโคตรบูร

ตำนานพ่อตาพระยาพัน กล่าวว่า เมื่อพระเจ้ากาฬดิษฐ์ มีชัยในสงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ กรุงเวียงจันทร์ เรียบร้อยแล้ว พระยาตักกะศิลา ก็ทำการเคลื่อนไหว ประชาชน ชนชาติอ้ายไตให้เข้าร่วมทำสงครามขับไล่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ให้ออกจากราชย์สมบัติ ประชาชนชนชาติอ้ายไต ผู้ที่ไม่เห็นชอบด้วย ถูกกลั่นแกล้งจับกุม และถูกฆ่าตาย ไปเป็นจำนวนมาก ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ในขณะนั้น จึงขัดแย้งกันอย่างรุนแรง มีการแบ่งข้างเป็น ๒ ฝ่าย กันอย่างชัดเจน

เมื่อพระยาตักกะศิลา ได้กราบทูล พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ว่า ได้ปฏิบัติการทุกอย่างเป็นไปตามแผนขั้นตอนที่กำหนด ชนชาติอ้ายไต กำลังแตกแยกกันอย่างรุนแรง พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองพนม(นครพนม) เมืองหนองคาย เมืองท่าอุเทน จนกระทั่ง กองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ เคลื่อนทัพเข้ายึดครอง แคว้นอุดร(หนองหารน้อย) เป็นแคว้นถัดมา เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง กรุงร้อยเอ็ด ราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ต่อไป ส่วนกองทัพของ มหาอุปราช พระเจ้ายโสธร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้เคลื่อนกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกาเหนือ ซึ่งปกครองโดย ท้าวไกรสร และกองทัพของ พระยาฟันดำจมูกดำ ได้เคลื่อนทัพเรือ จากกรุงเวียงจันทร์ ไปตามแม่น้ำโขง เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกาใต้ ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกด้วย

ดังนั้น เมื่อกองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ มหาราชาแห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองอุดร(หนองหารน้อย) ประชาชนชนชาติอ้ายไต ซึ่งกำลังแตกแยก ไม่ยอมต่อสู้ ต่างหลบหนีไปอยู่ในเขตป่าเขา พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงสามารถยึดครอง เมืองอุดร ได้อย่างง่ายดาย เป็นที่มาให้ พระยาอุดร และ พระยาพัน ต้องอพยพไพร่พล ลงมาทางใต้ และได้ไปพบกับ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ณ ดงเทพสถิต เป็นเหตุให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เสนอให้ไพร่พล ของ พระยาอุดร ไปตั้งกองทัพอยู่ที่ ดงพระยากลาง และมอบให้ พระยาชิงชัย แม่ทัพของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) นำไพร่พลอีกส่วนหนึ่งไปตั้งกองทัพอยู่ที่ ดงพระยาใหญ่ ส่วน พระยาพัน นั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้รับสั่งให้ เดินทางไปสืบข่าวสงคราม ณ อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป แล้วให้เดินทางกลับมารายงาน สถานการณ์ของสงคราม ต่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ต่อไป

ต่อมา พระยาพัน และไพร่พลอีกส่วนหนึ่ง ได้เดินทางไปสืบข่าวสงคราม ณ อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป ตามที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มอบหมาย ก็ทราบว่า อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เป็นผลสำเร็จ หลายแว่นแคว้นแล้ว ส่วนดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ชายฝั่งทะเลตะวันตก กำลังถูกกองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เช่นกัน พระยาพัน จึงตัดสินใจเดินทางกลับไปยัง อาณาจักรละโว้ เพื่อรายงานต่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ตามที่ได้รับมอบหมาย

เมื่อพระยาพัน และพวก เดินทางมาถึง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้แวะไปขอซื้อกะปิ ณ ท่าเสาธง-ทุ่งเซเคย ซึ่งเป็นสถานที่ผลิตกะปิ กันอย่างคึกคัก จึงถูก พระยาพร(พ่อตาพร) ทหารองค์รักษ์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จับกุมตัวส่งไปให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทำการสอบสวน เนื่องด้วย พระยาพัน พูดภาษาลาว จึงถูกสงสัยว่าเป็นสายสืบ ของ พวกข้าศึกมอญ

พระยาพัน ซึ่งเคยเป็นทหารร่วมทำสงครามกอบกู้ดินดิน อาณาจักรศรีโคตรบูร กลับคืน ร่วมกับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มาก่อน เมื่อถูกนำไปเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ณ พลับพลาที่ว่าราชการ ณ ภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) พระยาพัน จึงได้รายงานเหตุการณ์ที่เป็นจริง ให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทรงรับทราบ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้แจ้งสถานการณ์สงครามให้ พระยาพัน ทราบว่า ขณะนั้น อาณาจักรละโว้ เต็มไปด้วย สมรภูมิ ของสงคราม ส่วน ขุนราม(จตุคามรามเทพ) นั้น ได้นำทหารไปรักษาราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) จึงขอให้ พระยาพัน รับราชการอยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพราะการเดินทางกลับไป จะไม่ปลอดภัย

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทรงทราบดีว่า พระยาพัน มีความสามารถในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ จึงได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ควบคุมไพร่พล ไปออกหาปูปลา ในท้องทะเล มาใช้เป็นเสบียง ให้กับไพร่พล ที่กำลังอพยพหลบหนีภัยสงคราม ที่กำลังเกิดความอดอยากอยู่ในขณะนั้น และให้ พระยาพัน ทำการคำนวณ แบ่งปันเสบียงอาหาร ให้กับผู้อพยพ อย่างยุติธรรม เป็นเหตุให้ พระยาพัน ต้องรับราชการอยู่กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่ง สิ้นชีวิต

ส่วนตำนาน พ่อตาท่าดอนร้อยเอ็ด หรือ พ่อตาพระยาเอ็ดตาโร ท้องที่ บ้านท่าดอนร้อยเอ็ด(ดอนเอ็ด) และตำนาน วัดสโมสร กล่าวว่า เมื่อพระเจ้ากาฬดิษฐ์ สามารถยึดครอง เมืองอุดร(หนองหารน้อย) ได้เรียบร้อยแล้ว ก็ส่งคณะราชทูต ไปเจรจากับ พระยาศรีสุริยะเดช มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ให้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ อาณาจักรอีสานปุระ โดยดี พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้มีพระราชสาส์น ไปถึง พระยาศรีสุริยะเดช ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ สนับสนุนให้ทำการขับไล่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ออกจากราชย์สมบัติ เพื่อสรรค์หา สภาเจ้าตาขุน ขึ้นสรรค์หา สภาปุโรหิต ขึ้นใหม่ เพื่อทำการสรรค์หา มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และ นายก ผู้ทรงธรรม ขึ้นปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป จึงขอให้ พระยาศรีสุริยะเดช ยอมสวามิภักดิ์ต่อ อาณาจักรอีสานปุระ โดยดี

 พระยาศรีสุริยะเดช มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด พิจารณาเห็นว่า ชนชาติอ้ายไต ในเมืองร้อยเอ็ด แตกแยกกันอย่างรุนแรง อีกทั้ง มีประชาชนชนชาติมอญ อพยพมาตั้งรกรากเป็นไส้ศึกอยู่ที่เมืองร้อยเอ็ด เป็นจำนวนมาก เห็นว่า ไม่สามารถสู้รบ กับ กองทัพ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้อย่างแน่นอน จึงจัดแบ่งไพร่พลผู้จงรักษ์ภักดี ต่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่ง ให้เดินทางอพยพร่วมไปกับ พระยาศรีสุริยะเดช มุ่งหน้าสู่ เมืองพนมรุ้ง อาณาจักรคามลังกาเหนือ ของ มหาราชาท้าวไกรสร และได้ไปสร้างเมืองใหม่ มีชื่อว่า เมืองศรีสระเกตุ คือท้องที่ จ.ศรีสะเกษ ในปัจจุบัน นั่นเอง อีกส่วนหนึ่ง พระยาศรีสุริยะเดช ส่งไพร่พลไปสนับสนุนกองทัพของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เพื่อทำสงครามป้องกัน อาณาจักรละโว้

ต่อมา พระยาศรีสุริยะเดช ได้มีพระราชสาส์น ถึง พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ว่าต้องขอเวลาหารือ กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง และจะให้คำตอบในภายหลัง แล้วรีบอพยพไพร่พลตามแผนการที่กำหนด ดังนั้น เมื่อ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้รับ พระราชสาส์น ก็ทรงพิโรธ รังสั่งให้ พระยาตักกะศิลา ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองร้อยเอ็ด ทันที แล้วแต่งตั้งให้ พระยาตักกะศิลา ปกครอง เมืองร้อยเอ็ด แทนที่ ในเรื่องของการเสียเมืองร้อยเอ็ด ให้กับ ชนชาติมอญ ไปครอบครอง นั้น ตำนานพระธาตุพนม กล่าวถึงสงครามครั้งนั้น เป็นเชิงเปรียบเทียบว่า

..ครั้งนั้น ราชกุมาร ๑๐ องค์ พารี้พลโยธามารุมรบเอาก็ไม่ได้ ด้วยเหตุว่า ผีเสื้อเมืองนั้น ทำให้แผ่นดินพระนคร(เมืองร้อยเอ็ด) นั้น ยุบลงไปอยู่กลางมหาสมุทร เมื่อราชกุมารพารี้พลโยธา กลับไป พระนคร(เมืองร้อยเอ็ด) นั้น ก็ผุดขึ้นมาดังเดิม...

ส่วนไพร่พลทหาร จากเมืองร้อยเอ็ด ที่อพยพเดินทางไปยัง ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้รับสั่งให้ พระยาเอ็ดตาโร ซึ่งเดินทางกลับมาจากการแข่งขันดนตรีคณะกลองยาว ณ เมืองสุพรรณ นำไพร่พลอพยพไปตั้งรกราก ณ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อเดินทางไปถึง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก จึงจัดให้ไปตั้งรกรากกันที่บริเวณ ท่าดอนร้อยเอ็ด ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน และต่อมา ไพร่พลกลุ่มเมืองร้อยเอ็ด-เจ็ดหัวเมือง ได้ไปรวมตัวกันที่ โรงนกหงส์ ใช้เป็นสโมสร ปรึกษาหารือร่วมกันในการทำสงครามกอบกู้ ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน และได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นมา ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว เรียกชื่อว่า วัดสโมสร(วัดโหรง) สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา ปี พ.ศ.๑๑๙๕

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น อาณาจักรคามลังกา แบ่งการปกครองออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ ในส่วนของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ นั้น มี ท้าวไกรสร พระราชโอรส ของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ กับ พระนางสิยา เป็นมหาราชา มีแคว้นราชธานี อยู่ที่ กรุงพนมรุ้ง และมีแคว้นมหาอุปราช อยู่ที่ ปราสาทเขาพระวิหาร ขณะนั้น อาณาจักรคามลังกาเหนือ เข้มแข็ง เป็นที่เกรงขามของ ชนชาติมอญ เนื่องจาก กองทัพชนชาติมอญ เคยพ่ายแพ้สงคราม ท้าวไกรสร มาแล้วหลายครั้ง ในหลายสมรภูมิ สงคราม

ส่วน อาณาจักรคามลังกาใต้ ในขณะนั้น ปกครองโดย ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร(ไม่สามารถหาหลักฐานได้ว่ามีพระนามของ มหาราชา มีพระนามว่าอะไร) อาณาจักรคามลังกาใต้ ได้เปลี่ยนที่ตั้งราชธานี หลายครั้งเนื่องจากสงคราม และในสมัยที่เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น อาณาจักรคามลังกาใต้ มีราชธานี อยู่ที่ เมืองโพธิสารหลวง(พนมเปญ) และมีแคว้นมหาอุปราชอยู่ที่ แคว้นโพธิสัตว์

สงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ วางแผนให้ พระเจ้ายโสธร(เมืองยโสธร) และ พระเจ้าสังข์(เมืองสังข์ปุระ หรือ อุบลราชธานี) ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงพนมรุ้ง ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ พร้อมๆ กับกองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองพิมาย ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ส่วน กองทัพของ พระยาฟันดำจมูกดำ ได้ยกกองทัพเรือ ล่องไปตามแม่น้ำโขง จาก กรุงเวียงจันทร์ อาณาจักรอ้ายลาว เข้ายึดครอง กรุงโพธิสารหลวง(พนมเปญ) ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาใต้

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงพนมรุ้ง อาณาจักรคามลังกาเหนือ มหาราชาท้าวไกรสร พ่ายแพ้สงครามในระยะแรก ต้องถอยทัพจาก กรุงพนมรุ้ง มาใช้ แคว้นจันทร์บูรณ์(จันทบุรี) เป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ อีกครั้งหนึ่ง ต่อมา มหาราชาท้าวไกรสร ได้ออกทำการสู้รบ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติมอญ ชาวมอญเรียกพระนามว่า ขุนโหด อีกพระนามหนึ่ง จนกระทั่ง มหาราชาท้าวไกรสร สามารถทำสงครามยึดครอง กรุงพนมรุ้ง กลับคืนเป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้ส่งกองทัพเข้าคุกคาม เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรอีสานปุระ ในเวลาต่อมา อย่างต่อเนื่อง ด้วย

ส่วนผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองโพธิสารหลวง(พนมเปญ) อาณาจักรคามลังกาใต้ ตำนานพ่อตาพระยาลาวสูง กล่าวถึงสงครามครั้งนั้นว่า แม่ทัพพระยาลาวสูง ถูกเกณฑ์ให้มาร่วมในกองทัพ ของ พระยาฟันดำจมูกดำ ด้วย เนื่องจาก พระยาฟันดำจมูกดำ นั้น พูดจาเก่ง แต่ไม่เชี่ยวชาญในการรบ ดังนั้น เมื่อนำกองทัพมาปิดล้อม กรุงโพธิสารหลวง อยู่ไม่นาน ก็ต้องถอยทัพ ออกไปโจมตี แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ของ อาณาจักรชวาทวีป แทนที่ ต่อมา แม่ทัพพระยาลาวสูง ได้นำกองทัพลาว หนีทัพ ณ สมรภูมิ เมืองนาลองกา ไปซ่อนตัวอยู่ในเขตป่าเขา ของ เมืองกุย เป็นเหตุให้ พระยาฟันดำจมูกดำ สั่งให้ทหารออกสืบค้นหากองทัพของ พระยาลาวสูง แบบพลิกแผ่นดิน(กุย) ก็ไม่สำเร็จ เป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า เมืองกุย ตั้งแต่นั้นมา

หลังจากนั้น แม่ทัพพระยาลาวสูง ก็สามารถเดินทางไปพบกับ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ และ พระนางสิยา เจ้านายเก่า ณ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เป็นผลสำเร็จ ส่วนกองทัพของ พระยาฟันดำจมูกดำ ก็เที่ยวออกปล้นสะดม บ้านเมืองต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล จนกระทั่ง พระยาฟันดำจมูกดำ ถูกเจ้าพระยาศรีไชยนาท ฆ่าตาย ในเวลาต่อมา

      ส่วนกองทัพ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ เมื่อทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองพิมาย สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ระดมทัพใหญ่ มาตั้งอยู่ที่เมืองพิมาย เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ และ ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ตามแผนการที่กำหนด ต่อไป พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงส่งคณะราชทูต ไปเจรจาขอม้าขาวพันธุ์ดี จาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เพื่อแสร้งหาเหตุทำสงครามแย่งม้า ต่อไป

 

สงครามแย่งนาง กับ ชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองเทพสถิต ปี พ.ศ.๑๑๙๕

เมืองเทพสถิต เคยมีชื่อเดิมว่า เมืองซับลังกา เป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นดอนสวรรค์(ชัยภูมิ) อาณาจักรศรีโคตรบูร เป็นเส้นทางเดินทางสายหนึ่ง ระหว่าง อาณาจักรศรีโคตรบูร และ อาณาจักรอีสานปุระ กับ อาณาจักรละโว้ ดังนั้น ในสงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีโคตรบูร นั้น ประชาชนชนชาติอ้ายไต จากอาณาจักรศรีโคตรบูร ผู้เดินทางอพยพหนีภัยสงคราม ไปยัง อาณาจักรละโว้ หรือ อาณาจักรข้างเคียง นั้น มักจะนิยมเดินทางผ่านเส้นทาง เมืองซับลังกา หรือ เมืองเทพสถิต เพราะมีช่องเขา ซึ่งเป็นที่ราบ สามารถเดินทางได้โดยสะดวก ตำนานพ่อตาพระยาพัน ก็กล่าวว่า ได้เดินทางผ่านช่องภูเขา เมืองซับลังกา หรือ เมืองเทพสถิต เช่นกัน

เนื่องจากในสมัยของสงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ อาณาจักรศรีโคตรบูร นั้น ในระยะแรกเริ่มของสงคราม ได้เกิดการอพยพ ของ ชนชาติอ้ายไต ผ่านมายังดินแดน อาณาจักรละโว้ เพื่อเดินทางต่อลงไปยัง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นจำนวนมาก จึงมีตำนานเรื่องราวของการอพยพ ของชนชาติอ้ายไต ในสมัยที่เกิด สงครามแย่งนางอั่วคำ ในท้องที่ อ.ท่าชนะ และ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เล่าสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ประเด็นสำคัญที่เป็นความทรงจำของผู้สูงอายุ ที่เล่าสืบทอดต่อๆ กันมา คือ เหตุการณ์ที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทำสงครามชนะ กองทัพชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา , ดงพระยากลาง และ ดงพระยาใหญ่ จนกระทั่งสามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ คือเรื่องราวในความพยายามที่จะต้องรักษาเผ่าพันธุ์ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ให้สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

สงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา(เทพสถิต) คือสงครามระหว่าง ขุนราม(จตุคามรามเทพ) กับ กองทัพมอญ ซึ่งมี พระยาตักกะสิลา และ ขุนไพ เป็นแม่ทัพมอญ ฝ่ายกองทัพ ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มี พระยาชิงชัย และ พระยาอุดร เกิดการสู้รบกันประมาณ ๓๐ วัน มีผู้เสียชีวิต ณ เมืองซับลังกา(เทพสถิต) เป็นจำนวนมาก ฝ่าย ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มี พระยามะลิดอน ซึ่งเป็น แม่ทัพชาวมอญ เป็นสายลับ ในการส่งข่าวให้กับ ขุนราม ผลของสงครามขั้นสุดท้าย แม่ทัพมอญคนหนึ่ง มีนามว่า พระยาดอน หรือ พระยามะลิดอน ได้แปรพรรค นำทหารจำนวนมาก มายอมสวามิภักดิ์ ต่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ในเวลาต่อมาด้วย ส่วน พระยาตักกะสิลา และ ขุนไพ เป็นแม่ทัพ ของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ได้เสียชีวิตในสงคราม หลังจากนั้น เมืองร้อยเอ็ด จึงกลายเป็นเมืองของชาวมอญ เป็นผู้ครอบครอง อีกครั้งหนึ่ง ต้องใช้เวลา ๑๗ ปี ชนชาติอ้ายไต นำโดย เจ้าพระยาศรีไชยนาท พระเชษฐา ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) เป็นผู้นำกองทัพเข้าทำสงคราม จนกระทั่งสามารถทำสงครามกู้เมืองร้อยเอ็ด กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง

ตำนาน พ่อตาพระยาดอน หรือ พ่อตาพระยามะลิดอน ประชาชน นิยมบวงสรวงเซ่นไหว้กันในท้องที่ คลองบางน้ำจืด ต.บางโฉลง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ และบริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี ท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงสงครามแย่งนางอั่วคำ ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา(เทพสถิต) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระยามะลิดอน เป็นชาวมอญ บิดา เคยเป็นขุนนางรับใช้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาก่อน เมื่อมีบุตร มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงสนับสนุนให้ออกบวชเรียน จนกระทั่งได้มารับราชการ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงพระราชทาน ชื่อไทยว่า พระยามะลิดอน แล้วส่งไปรับราชการที่ เมืองตักกะศิลา(กาฬสินธุ์) อาณาจักรอีสานปุระ ต่อมาเมื่อ เมืองร้อยเอ็ด ถูกยึดครอง พระเจ้ากาฬดิษฐ์ จึงส่ง พระยามะลิดอน เป็นแม่ทัพ ไปควยคุมชนชาติอ้ายไต ณ เมืองร้อยเอ็ด มิให้กระด้างกระเดื่อง พระยามะลิดอน จึงขัดแย้งกับ พระยาตักกะศิลา และ ขุนไพ อย่างรุนแรง

ส่วน ขุนไพ และ พระยาตักกะศิลา เป็นชาวมอญ-ไต เคยเป็นทนายหน้าหอ รับใช้ พระยาฟันดำจมูกดำ มาก่อน ต่อมา ทั้ง ๓ คน ถูกปลดออกจากราชการ เนื่องจากทุจริตในหน้าที่ราชการทั้ง ๓ คน จึงได้ไปรับใช้ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ต่อมาเมื่อ เมืองร้อยเอ็ด ถูกกองทัพชนชาติมอญ เข้ายึดครอง พระยาตักกะศิลา จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ส่วน ขุนไพ ติดตามไปเป็น ทนายหน้าหอ ของ พระยาตักกะศิลา ทำหน้าที่ริบทรัพย์ เก็บภาษีเป็น เงินไพ จึงถูกเรียกชื่อว่า ขุนไพ เมื่อ ขุนไพ เดินทางไปตรวจราชการ บ้านไหน เรือนไหน ชาวบ้านต้องเตรียม เงินไพ ให้เป็นสินบน กับ ขุนไพ ถ้าไม่มีเงินไพ มอบเป็นสินบนให้กับ ขุนไพ ก็อาจเป็นเหตุให้ ขุนไพ เข้าริบบ้านเรือน และ ที่ดินเรือกสวนไร่นา ตามใจชอบ ประชาชน ชนชาติอ้ายไต ในเมืองร้อยเอ็ด จึงได้รับความเดือดร้อนกันมาก หลังจากเมืองร้อยเอ็ด ถูกชนชาติมอญ เข้ายึดครอง พระยาตักกะศิลา และ ขุนไพ ล้วนมุ่งเน้นแสวงหาผลประโยชน์ เข้าสู่ตนเอง และพรรคพวก และกล่าวโจมตี มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ว่าเป็นคนเลวร้าย พระยามะลิดอน จึงไม่พอใจอย่างเงียบๆ แต่ไม่กล้าแสดงออก

ประชาชน ชนชาติอ้ายไต ในเมืองร้อยเอ็ด ส่วนหนึ่ง ซึ่งเคยตกเป็นเครื่องมือ ของ พระยาตักกะศิลา ที่เคยร่วมกันใช้วัฒนธรรมตอแหล สนับสนุนให้ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ ขับไล่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้ออกจากราชย์สมบัติ เคยหวังว่าชีวิตจะดีขึ้น และมิได้อพยพออกไป จาก เมืองร้อยเอ็ด ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก กลายเป็นพลเมืองชั้นที่สอง บ้านเรือน และที่ดินทำมาหากิน ถูกขุนไพ เข้าตีตรา ยึดครองไปเป็นของ ชาวมอญ แทนที่ ประชาชนชนชาติอ้ายไต ต้องกลายเป็นข้าทาส ทำงานรับใช้ ชนชาติมอญ ได้รับความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ประชาชนส่วนหนึ่ง ต้องหลบหนี ผ่านช่องเขา ของ เมืองซับลังกา ถูกทหารของ พระยาตักกะสิลา และ ขุนไพ ฆ่าตาย ณ ช่องเขาภูซับลังกา ไปเป็นจำนวนมาก บางส่วนสามารถหลบหนีไปได้

ต่อมา ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ทราบเรื่องดังกล่าว จึงส่งทหาร ของ พระยาชิงชัย และ พระยาอุดร ออกไปพยายามคุ้มครองการอพยพ ของ ประชาชน ชนชาติอ้ายไต นำไปพักอาศัยอยู่ที่ ดงพระยาใหญ่ และ ดงพระยากลาง หลังจากนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงส่งทหารเป็นสายลับไปสืบข่าว ณ เมืองร้อยเอ็ด และ เมืองอื่นๆ ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร จึงทราบว่า ประชาชน ชนชาติอ้ายไต กำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส กำลังเตรียมเดินทางอพยพผ่านเส้นทาง ช่องเขา เมืองซับลังกา มายังดินแดน อาณาจักรละโว้ ทั้งสิ้น

ในขณะที่เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มีพระชนมายุเพียง ๑๘ พรรษา เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองราม(ศรีเทพ) ครั้งแรก ขุนราม(จตุคามรามเทพ) มีทหารอยู่ประมาณ ๓,๐๐๐ คน ต่อมาเมื่อ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ถูกชนชาติมอญ ยึดครองนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ต้องใช้พื้นที่ ดงพระยาใหญ่ และ ดงพระยากลาง เป็นสถานที่ฝึกทหาร สร้างกองทัพเพิ่มขึ้นอีก ๗,๐๐๐ คน จนกระทั่งเมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้รับมอบหมายจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้ช่วยสร้างกองทัพ ส่งทหารออกไปคุ้มครองดินแดนภาคเหนือ ของ อาณาจักรละโว้ เพื่อมิให้กองทัพชนชาติมอญ เข้ารุกราน

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ไม่เคยผ่านสมรภูมิสงคราม แห่งใดมาก่อน ได้เร่งรัดสร้างกองทัพให้ได้ ๒๐,๐๐๐ คน อย่างเร่งด่วน จึงต้องการกำลังพลเพิ่มขึ้น จำนวนมาก ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มีพระราชสาส์นให้ พระยาพิง มหาราชา แห่ง อาณาจักรพิง กรุงละมุงไต(ฝาง) ได้นำกองทัพ กำลังพลประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน มาช่วยคุ้มครองรักษาดินแดนภาคเหนือ ของ อาณาจักละโว้ ด้วย เป็นที่มาให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้รู้จักกับ พระยาพิง และได้ขออาสาออกทำสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา(เทพสถิต) เพื่อทดลองวิชาพิชัยสงครามจตุคามรามเทพ ตามที่ได้เล่าเรียนมาจาก พระมหานาคเสนเถระเจ้า(ตาผ้าขาวรอด) เป็นครั้งแรก ส่วนพระยาพิง ก็อาสา นำกองทัพไปป้องกันดินแดนภาคเหนือ ของ อาณาจักรละโว้ แทนที่

กล่าวกันว่า ตำราพิชัยสงคราม ของ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) นั้น มุ่งเน้นสอนการใช้กำลังส่วนน้อย ไปเอาชนะกำลังส่วนใหญ่ ต้องสืบรู้ข้อมูล ของ ข้าศึก ให้รู้แจ้งก่อนการทำสงครามทุกครั้ง มีการใช้วิชาโหราศาสตร์ มาใช้คัดเลือกทหาร ดวงเด่น ไปออกทำสงครามโจมตีฝ่ายตรงข้าม ซึ่งดวงชะตาต้องด้อยกว่า มีการใช้ฤกษ์ยาม รวมทั้งอิทธิพลของ ดวงดาว และ ดวงวิญญาณ มาร่วมพิจารณาในการวางแผนทำสงคราม ด้วย

ตามตำราพิชัยสงคราม ของ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) นั้น กองทัพที่ออกสู้รบ จะมีทหารผู้ถือ ธงรูปหนุมาร นำหน้า ทหารร่วมสงคราม จะมีผ้าโพกหัว และ ผ้าพันกาย ซึ่งมีรูปหนุมาร ที่ผ่านการปลุกเสกมาแล้ว ตำราพิชัยสงครามจตุคามรามเทพ มุ่งเน้นสอนให้อำพรางการเคลื่อนทัพ ต้องเคลื่อนทัพอย่างรวดเร็ว และทำการรบ ในเวลากลางคืน เพื่ออำพรางจำนวนทหารของตนเอง และเมื่อสามารถทำลายข้าศึก ได้ตามแผนการแล้ว จะถอนทัพ อย่างรวดเร็ว ไม่นิยมการรบแตกหัก และการทำสงครามยึดพื้นที่อย่างถาวร มุ่งเน้นรักษาชีวิตทหาร เพื่อทำสงครามใหญ่ เข้ายึดครองพื้นที่ เมื่ออยู่ในฐานะได้เปรียบ เป็นหลัก เท่านั้น

สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา(เทพสถิต) เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พระยาตักกะศิลา ทราบว่า มีประชาชน ชนชาติอ้ายไต จำนวนมาก ซึ่งเคยเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เห็นผิดเป็นชอบ และถูกกดขี่ข่มเหง จากขุนนางมอญ ถูกริบทรัพย์ ไร้ที่ทำกิน หลายพันคน เดินทางอพยพผ่าน เมืองซับลังกา(เทพสถิต) มุ่งหน้าสู่ อาณาจักรละโว้ พระยาตักกะสิลา จึงรับสั่งให้ขุนไพ นำทหารไปทำการลอบซุ่มโจมตี ประชาชนชนชาติอ้ายไต ผู้อพยพหนีภัยสงคราม ต้องเสียชีวิต ณ เมืองซับลังกา เป็นจำนวนมาก ส่วนที่รอดชีวิตมา ได้มาร้องขอความช่วยเหลือจาก ทหารของ ขุนราม เป็นที่มาให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำผู้รอดชีวิต ไปปลุกระดมทหาร ณ ดงพระยากลาง และ ดงพระยาใหญ่ ให้มีความเคียดแค้นข้าศึกมอญ ทหารของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงอยากออกทำสงครามกับ ข้าศึกมอญ โดยไม่กลัวตาย

      ต่อมา ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้นำกองทัพออกไปดักซุ่มตี กองทัพของ ขุนไพ ณ สมรภูมิ ภูซับลังกา จนกระทั่ง ขุนไพ เสียชีวิต ในสงคราม เป็นเหตุให้ พระยาตักกะศิลา ต้องนำกองทัพใหญ่ จากเมืองร้อยเอ็ด ออกมาทำสงคราม กับ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ด้วยตนเอง สงครามครั้งนั้น ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ได้มอบให้ พระยาชิงชัย และ พระยาอุดร นำทหารใหม่ ออกไปฝึกซุ่มโจมตี พร่ากำลัง ทหาร ของ พระยาตักกะศิลา เสียชีวิตคนแล้ว คนเล่า จนกระทั่ง ทหารในกองทัพของ พระยาตักกะศิลา เสียขวัญ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) จึงตัดสินพระทัย ทำสงครามใหญ่ ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตีกองทัพ ของ พระยาตักกะศิลา ในเวลากลางคืน ณ สมรภูมิ เมืองซับลังกา ผลของสงคราม พระยาตักกะศิลา เสียชีวิต ในสงคราม สงครามครั้งนั้น กองทัพขุนราม สามารถทำลายกองทัพของ พระยาตักกะศิลา เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือ ได้หนีทัพกลับไป

      ภายหลังจากที่ พระยาตักกะศิลา เสียชีวิตในสงครามเรียบร้อยแล้ว พระยามะลิดอน สายสืบ ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ก็นำกองทัพมอญ-ไทย มาสวามิภักดิ์ ต่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ณ เมืองซับลังกา ขุนราม จึงได้จัดการเผาศพ และ ทำบุญให้กับผู้เสียชีวิตในสงคราม ทำพิธีส่งดวงวิญญาณให้เป็นเทพเทวดา พร้อมกับพระราชทานชื่อ เมืองซับลังกา ในชื่อใหม่ว่า เมืองเทพสถิต ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๕ เป็นต้นมา ส่วนกองทัพของ แม่ทัพพระยามะลิดอน นั้น ขุนราม ได้ส่งไปอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ซึ่งเป็นพระเชษฐา ณ เมืองบางเกาะน้อย(ธนบุรี) ในเวลาต่อมา

 

สงครามแย่งนาง กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นนาลองกา ปี พ.ศ.๑๑๙๕

สงครามแย่งนาง ณ สมรภูมิ แคว้นนาลองกา(ทับสะแก) เกิดขึ้นเนื่องจาก แม่ทัพพระยาหมูกดำ นำกองทัพเรือจากกรุงเวียงจันทร์ เข้าปิดล้อม เมืองโพธิสารหลวง(พนมเปญ) ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาใต้ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงเคลื่อนทัพเรือ ออกสู่อ่าวไทย เพื่อเข้าปล้นสะดม เมืองนาลองกา เนื่องจากทราบว่า เมืองนาลองกา ร่ำรวยจากทองคำที่ขุดได้จาก เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพานใหญ่) สงครามครั้งนี้ พระยาหมูกดำ ได้ปะทะกับกองทัพม้า ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท จนกระทั่งมีพระนามใหม่ว่า บู๊เรงนอง

เนื่องจาก เจ้าพระยาศรีชัยนาท พระราชโอรสองค์ที่สอง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้สละราชย์สมบัติ ขอลาออกจากตำแหน่ง นายก เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๘ และได้ไปเป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) มีพระราชโอรส กับ พระนางสุวรรณปทุม(พระนางเงี้ยว) ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายโกลี และ เจ้าชายกุลี ขณะนั้น พระนางบัวจันทร์ ประทับอยู่ที่ เกาะไหหลำ ด้วย ต่อมา เมื่อเกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และสงครามขยายตัวรุนแรงมากขึ้น เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มีพระราชสาส์น ให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำกองทัพมาช่วยทำสงคราม กับ กองทัพข้าศึกมอญ ด้วย เจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงรับสั่งให้ แม่ทัพยาง เตรียมกองทัพม้า ประมาณ ๑,๐๐๐ คน เตรียมเดินทางโดยทางเรือ มุ่งหน้าสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ

ในปลายปี พ.ศ.๑๑๙๕ เมื่อลมหนาวเริ่มพัดจากดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นฤดูฝน หน้าน้ำนองในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นฤดูกาลที่เรือสำเภา สามารถเดินทางจากดินแดนเกาะไหหลำ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ การเดินทางครั้งนั้น พระนางบัวจันทร์ พระราชมารดา ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องการเดินทางมาประทับอยู่กับ พระนางสุวรรณจักรี ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของ พระนางบัวจันทร์ ณ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรชวาทวีป ด้วย เจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงนำกองเรือสำเภา พร้อมทหาร ๑,๐๐๐ คน และม้า ๑,๐๐๐ ตัว เดินทางมุ่งหน้าสู่ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังราชธานี กรุงอู่ทอง

เรื่องราวตำนานการเดินทาง ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งนั้น มีเรื่องราวอยู่ในตำนานที่มาของชื่อท้องที่ เมืองชะอำ กับ เมืองท่ายาง และตำนานที่มาของคำไทย คำว่า บู๊ ซึ่งหมายถึง ความกล้าหารในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้ามอย่างดุเดือด หรือ นักรบผู้กล้าหาร ได้กล่าวถึงพระราชประวัติ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท โดยสรุปว่า เนื่องจาก เจ้าพระยาศรีไชยนาท ชอบทำสงครามบนหลังม้า จึงมักจะถูกประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า ตาม้า ก่อนที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท จะถูกเรียกพระนามใหม่ว่า ตาม้ากลิงค์ นั้น จะถูกประชาชนเรียกพระนามว่า ตาม้าซิก และ ตาม้าบู๊เรงนอง หรือ แม่ทัพบู๊เรงนอง มาก่อน โดยการเรียกพระนามต่างๆ ล้วนมีกระบวนการพัฒนาความเป็นมาในทางประวัติศาสตร์ ทั้งสิ้น คำว่า ตาม้าบู๊เรงนอง เป็นพระนามใหม่ เกิดขึ้นจากการทำสงครามกับชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ เมืองท่ายาง

เรื่องราวที่มาของที่มาของชื่อ เมืองชะอำ(ช้าอำ) เมืองท่ายาง และ เมืองกุย และคำไทย คำว่า บู๊ และ บู๊เรงนอง เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ในขณะที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำกองทัพเรือ ๑,๐๐๐ คน เดินทางจาก เกาะไหหลำ มุ่งสู่ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรชวาทวีป เนื่องจาก ในขณะนั้น กองทัพ ของ พระยาหมูกดำ และ แม่ทัพพระยาลาวสูง ได้ส่งกองทัพมอญ เข้าโจมตี แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ผลของสงครามครั้งนั้น พระยานาลองกา ต้องอพยพไพร่พลไปพึ่งพา แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) ระหว่างเดินทางอพยพหนีภัยสงคราม ครั้งนั้น พระยานาลองกา ได้นำทรัพย์สินไปฝังไว้ ณ เมืองช้าอำ(ชะอำ) เป็นที่มาของตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ เมืองชะอำ(ช้าอำ) ส่วน แม่ทัพพระยาลาวสูง ได้ถือโอกาสนำกองทัพลาว หลบหนีกองทัพของ พระยาหมูกดำ ไปซ่อนตัวอยู่ที่ เมืองกุย ต่อมา พระยาหมูกดำ ส่งกองทัพออกติดตามไล่ฆ่า กองทัพของ แม่ทัพพระยาลาวสูง ณ เมืองกุย แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงส่งกองทัพออกไปปล้นสะดมทรัพย์สินต่างๆ ของชาวเมืองนาลองกา(ทับสะแก) ไปครอบครอง

ต่อมา พระยาหมูกดำ ได้ส่งทหารออกติดตาม พระยานาลองกา ซึ่งมุ่งหน้าไปยัง แคว้นพริบพรี(เพชรบุรี) เข้าปล้นสะดม บ้านเมืองต่างๆ ระหว่างทาง มาถึง เมืองชะอำ(ช้าอำ) ในขณะที่เป็นช่วงเวลาที่ฝนตกหนัก และเป็นฤดูฝน หน้าน้ำนอง กองทัพชนชาติมอญ ของ พระยาหมูกดำ ได้ส่งกองโจร เข้าปล้นสะดม เมืองต่างๆ ตามชายฝั่งทะเล ทั่วทุกพื้นที่ จนกระทั่ง ได้มาสืบหาสมบัติ ของ พระยานาลองกา ที่ฝังไว้ ณ ท้องที่ เมืองชะอำ(ช้าอำ)

ส่วน เจ้าพระยาศรีไชยนาท เมื่อนำเรือสำเภา เดินทางมาส่ง พระนางบัวจันทร์ ณ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อาณาจักรชวาทวีป ก็ทราบว่า กองทัพมอญ กำลังส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นนาลองกา ขณะนั้น มหาราชาเจ้าพระยาศรีธรนนท์ กำลังนำกองทัพจาก เมืองศรีพุทธิ(คันธุลี) เมืองพันธุสาร(หลังสวน) และ เมืองพิมพิสาร(ชุมพร) ออกไปทำสงครามขับไล่กองทัพมอญ ส่วน เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ขออาสา ทำสงครามขับไล่กองทัพมอญ ด้วย จึงได้นำกองทัพเรือสำเภาเดินทางโดยอาศัย อาศัยลมบก ลมทะเล เดินทางเลียบชายฝั่งทะเล มุ่งหน้าสู่ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ด้วย

เมื่อ เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำเรือสำเภา เดินทางถึง เมืองนาลองกา ก็ทราบว่า เจ้าพระยาศรีธรนนท์ กำลังสั่งให้ทหารออกทำการค้นหากองทัพของ แม่ทัพพระยาลาวสูง ซึ่งได้แปรพักตร์จากกองทัพมอญ ของ พระยาหมูกดำ ณ เมืองกุย เป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า เมืองกุย(เมืองแห่งการค้นหา) ตั้งแต่นั้นมา ต่อมา แม่ทัพพระยาลาวสูง ได้พบกับ เจ้าพระยาศรีธรนนท์ และได้เดินทางไปพบกับ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ และ พระนางสิยา ณ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ ในเวลาต่อมา ส่วน เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้นำกองทัพเรือ มุ่งหน้าออกไปสกัดกองทัพ ของ พระยาหมูกดำ ต่อไป

เมื่อกองทัพเรือ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เดินทางมาถึง เมืองหัวหิน ก็ถูกกองทัพเรือของ แม่ทัพมอญ พระยาหมูกดำ ติดตามมาถึง กองทัพเรือ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องปะทะกับกองทัพเรือ ของ พระยาฟันดำจมูกดำ จากเมืองหัวหิน ไปจนถึง เมืองช้าอำ(ชะอำ) เจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงแบ่งกองทัพออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งมอบให้ แม่ทัพยาง นำกองทัพเรือไปขึ้นฝั่ง ณ เมืองท่ายาง เพื่อไปรอดักซุ่มตี กองทัพมอญ ของ พระยาหมูกดำ อีกส่วนหนึ่ง เจ้าพระยาศรีไชยนาท นำกองทัพขึ้นฝั่งที่ เมืองช้าอำ(ชะอำ) เพื่อลวงให้กองทัพมอญ ของ พระยาหมูกดำ ออกติดตามไล่ล่า ไปติดกับ ณ เมืองท่ายาง

กองทัพของ พระยาหมูกดำ ได้ติดตามกองทัพของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท มาถึง เมืองช้าอำ(ชะอำ) เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ลวงให้กองทัพมอญ พระยาหมูกดำ ไปขุดค้นหาสมบัติซึ่ง พระยานาลองกา นำไปฝังซ่อนไว้ เพื่อส่งกองทัพเข้าทำลายกองทัพของ พระยาหมูกดำ อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองชะอำ(ช้าอำ) ครั้งนั้น ทหารมอญ ถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่มาให้พื้นที่ดังกล่าวถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองช้าอำ(ชะอำ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมา กองทัพม้า ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ลวงให้กองทัพมอญ ของ พระยาหมูกดำ ออกติดตามไปยัง เมืองท่ายาง ท่ามกลางฝนตกหนัก มีน้ำนอง กองทัพทั้งสองปะทะกัน ณ สมรภูมิ เมืองท่ายาง ท่ามกลางน้ำนอง ผลของสงคราม พระยาหมูกดำ ถูกกองทัพ ของ แม่ทัพยาง ฆ่าตาย ในที่รบ กองทัพมอญ เสียขวัญ ทหารที่เหลือ จึงถอนทัพกลับ สงครามครั้งนั้น เจ้าพระยาศรีไชยนาท คงเหลือเสื้อผ้าพันกายโหรงเหรง(แปลว่า น้อยมาก) เมื่อเดินทางถึง พระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง คงเหลือแต่ ผ้าขาวของม้าใช้พันกาย เพียงผืนเดียว เท่านั้น

เมื่อ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เสด็จเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ท่ามกลางคณะอำมาท พวกราชวงศ์ สาวสนมกรมวัง และ แม่ทัพพระยามะลิดอน ซึ่งเป็นแม่ทัพชนชาติมอญ พูดภาษาไทย ไม่ชัด เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ผู้เป็นพระราชบิดาได้ตั้งพระนามใหม่ ให้กับ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ว่า "บุกเหรงนอง" แต่ แม่ทัพพระยามะลิดอน เรียกสำเนียงมอญเพี้ยนทุกครั้งฟังว่า บู๊เรงนอง หมายถึง เจ้าพระยาศรีไชยนาท เดินทางกลับมาในหน้าน้ำนอง โดยต้องต่อสู้กับข้าศึกมอญ อย่างกล้าหาญ ไม่กลัวตาย(บู๊) คงเหลือเสื้อผ้าโหรงเหรง เป็นที่มาให้  ขุนนาง-ข้าราชการ และสาวสนมกรมวัง ในพระราชวังหลวง จึงเรียกพระนาม เจ้าพระยาศรีชัยนาท ว่า "ตาม้าบู๊เหรงนอง" จนมีกิตติศัพท์ เลื่องลือไปทั่ว เป็นที่มาของคำว่า "บู๊" ที่ถูกใช้ในคำไทย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมา เจ้าพระยาศรีไชยนาท หรือ ตาม้าบู๊เรงนอง ได้ไปสร้างกองทัพ เร่งสร้างกองทัพเรือ อยู่ที่ เมืองธนบุรี(บางเกาะน้อย) มีพระยามะลิดอน ชาวมอญ เป็นแม่ทัพสำคัญ คนหนึ่งในกองทัพ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท

มีข้อน่าสังเกตว่า ประชาชนชาวไทย ที่ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ในบริเวณท้องที่ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน อ.ไชยา) และอีกหลายท้องที่ จะเรียกพระนาม เจ้าพระยาศรีไชยนาท อีกพระนามหนึ่งว่า ตาม้าบู๊เรงนอง หรือ พ่อบู๊เรงนอง เป็นอีกพระนามหนึ่ง ซึ่งเป็นการเรียกสืบทอด ต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

สาเหตุ ของ สงครามแย่งม้า กับ ชนชาติมอญ และ ทมิฬโจฬะ ปี พ.ศ.๑๑๙๖

ตำนาน สงครามแย่งม้า เป็นตำนานที่ผู้สูงอายุเล่าถึงกันมากในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงการล่มสลาย ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และการกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม(ศรีโพธิ์) กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นมาแทนที่ เรื่องราวโดยสรุป กล่าวว่า สงครามแย่งม้า เกิดขึ้นหลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้รับม้าขาว พันธุ์ดีจาก ฮ่องเต้ยี่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จำนวน ๔ ตัว และอีก ๓ ปี ต่อมา คือปี ๑๑๙๕ ได้เกิด สงครามแย่งนางอั่วคำ ขึ้นมาก่อนเป็นเวลาประมาณ ๑ ปี และติดตามด้วย สงครามแย่งม้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๖ อย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ.๑๑๙๘ รวมเวลาสงครามแย่งนาง และ สงครามแย่งม้า รวมเวลา ๔ ปี สงครามจึงยุติ สงครามแย่งม้า เกิดขึ้นจากการที่ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ มีชัยในสงครามแย่งนาง จึงแสร้งอ้างเหตุเรื่อง การขอม้า และ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ไม่ยอมมอบม้าขาวพันธุ์ดีให้ มาใช้เป็นเหตุในการแสร้งอ้างเพื่อให้ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ ร่วมกันทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด ในขณะที่วัฒนธรรมตอแหล ได้สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง จนกระทั่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ล่มสลาย

 จากการตรวจสอบหลักฐาน จดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ของประเทศจีน มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๒ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้ยี่ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน โดยที่ มหาอาณาจักรจีน ได้พระราชทานม้าขาวพันธุ์ดี มาถวายแด่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ด้วย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ในขณะที่ ฮ่องเต้ยี่ถัง เสด็จสวรรคต และ ฮ่องเต้ถังเกาจง ขึ้นครองราชย์สมบัติ ภายใต้อำนาจที่แท้จริง ของ พระนางอู๋เจ๋อเทียน(พระนางบูเช็คเทียน)  

ม้าขาวพันธุ์ดี ดังกล่าว ได้กลายเป็นเรื่องที่ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) นำมาใช้แสร้งอ้างให้เป็นต้นเหตุของการทำ สงครามแย่งม้า ต่อเนื่องจาก สงครามแย่งนางอั่วคำ หลังจากการเกิด สงครามแย่งนาง และกองทัพมอญ สามารถทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไว้ได้เป็นจำนวนมากแล้ว

เนื่องจาก พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้สมคบกับ มหาราชาท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง แสร้งหาเหตุเพื่อทำสงครามต่อเนื่อง หลังจากมีชัยชนะในสงครามแย่งนาง โดยสามารถทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด และสามารถทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองพิมาย เป็นผลสำเร็จ จึงต้องการทำสงครามต่อเนื่อง ด้วยการร่วมกับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ แสร้งส่งคณะราชทูต มาขอม้าขาวพันธุ์ดี จาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง อีกครั้งหนึ่ง ทั้งๆ ที่ทราบดีว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ไม่สามารถมอบม้าขาวให้ได้ เพราะมีม้าขาวเพียง ๔ ตัว จึงเป็นที่มา ให้ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรหงสาวดี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ประกาศทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อเนื่องจากสงครามแย่งนาง ทันที

นอกเหนือจากเรื่องการแสร้งขอม้าพันธุ์ดี แล้ว การเกิดสงครามแย่งม้า ครั้งนั้น ยังมีเรื่องราวที่ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) แสร้งมีพระราชสาส์น มาขอ พระนางสาลิกา ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ไปให้อภิเษกสมรส กับ เช้าชายบังกา พระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกูร่า อีกเหตุการณ์หนึ่งด้วย โดยที่ พระเจ้ามังกูร่า แสร้งอ้างว่า ต้องการให้สองราชวงศ์ เป็นมิตรกันตลอดกาล สงครามแย่งม้ากับ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ มีเรื่องราวความเป็นมาโดยสังเขป ดังนี้

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เมื่อ อาณาจักรมาลัยรัฐ ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) หลายครั้งหลายคราว นั้น พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กรุงอาแจ๊ะ ในดินแดน เกาะสุมาตรา-ตะวันตก ได้ถือโอกาสทำสงครามเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง ของชนชาติกลิงค์ แล้วเข้าสมรสเกี่ยวดองกับ ราชวงศ์กลิงค์ ขึ้นเป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ มีราชธานีอยู่ที่ กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) พร้อมกับ ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ หลายครั้งหลายคราว เพราะพิจารณาเห็นว่า อาณาจักรมาลัยรัฐ ไม่กล้าที่จะทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) เพราะขณะนั้น ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ยังขัดแย้งกันอยู่ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ตามที่กล่าวมาแล้ว

สถานการณ์ได้เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อ พระมหานาคเสนเถระเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่าง อาณาจักรมาลัยรัฐ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นผลสำเร็จ จนทำให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ ยอมอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง ต่อมา พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) หรือ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา) เกรงว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อาจจะส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม จึงได้ส่งคณะราชทูต พร้อมเครื่องราชบรรณาการ และพระราชสาส์น ขอเป็นประเทศเมืองขึ้น และเป็นมิตรไมตรี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา ในปี พ.ศ.๑๑๙๓ พระเจ้ามังกูร่า ได้มีพระราชสาส์นไปขอม้าขาวพันธุ์ดี เช่นเดียวกับ อาณาจักรอื่นๆ เมื่อถูกปฏิเสธ พระเจ้ามังกูร่า ก็เปลี่ยนเป็นสู่ขอ เจ้าหญิงสันลิกา พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ให้อภิเษกสมรส กับ พระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกูร่า ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าชายมังกูบังกา หรือ เจ้าชายบังกา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๔ โดยแสร้งอ้างว่า จะยุติการทำสงครามระหว่าง ชนชาติอ้ายไต กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ และชนชาติกลิงค์ ตลอดไป

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้รับพระราชสาส์น ของ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง แล้ว จึงได้เรียกโหราจารย์มาทำนายถามว่า ในอนาคต อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) จะมีความจริงใจที่จะยุติสงครามระหว่างกัน จริงหรือไม่? และสมควรมอบ เจ้าหญิงสันลิกา ให้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายบังกา หรือไม่?

โหราจารย์ ได้ทำนายว่า ถ้ามอบ เจ้าหญิงสันลิกา ให้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายบังกา แล้ว สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) จะไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ยินยอมยก เจ้าหญิงสันลิกา ให้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายบังกา ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้ามังกูร่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๔

ต่อมาในปลายปี พ.ศ.๑๑๙๕ ซึ่งได้เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น พระนางสันลิกา ทรงพระครรภ์ จึงได้เสด็จมาประทับ ณ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ เพื่อประสูติพระราชโอรส ตามราชประเพณี ต่อมา พระนางสันลิกา ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายสันนา ในขณะที่เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ ทั้ง พระเจ้ามังกูร่า และ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทรงยินดีปรีดามาก

ในระหว่างที่เกิดสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น พระเจ้ามังกูร่า ได้ติดต่อกับ พระนางศรวาณี แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อย่างลับๆ จึงได้แสร้งส่งคณะราชทูต มาขอม้าขาวพันธุ์ดี จาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เช่นเดียวกับ อาณาจักรต่างๆ ด้วย และเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ปฏิเสธการมอบม้าขาวพันธุ์ดี ตามคำขอนั้น พระเจ้ามังกูร่า ได้มีพระราชสาส์น ให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ส่งพระนางสันลิกา และ พระราชโอรส เจ้าชายสันนา กลับคืนเกาะบังกา โดยเร็ว แต่ พระนางสันลิกา ยังไม่ยอมเสด็จกลับไปยังเกาะบังกา ทำให้เกิดสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง กับ อาณาจักรกลิงค์รัฐ และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ขึ้นมาทันที และเรียกสงครามครั้งนั้นว่า สงครามแย่งม้า ด้วย 

เจ้าชายสันนา พระองค์นี้ ในเวลาต่อมา กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปกครองดินแดนเกษียรสมุทร หมู่เกาะพระกฤต หรือ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ในเวลาต่อมา ส่วนโหราจารย์ ซึ่งได้ทำนายว่าจะไม่เกิดสงคราม นั้น ได้ทำนายไว้ผิดพลาด จึงถูก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) สั่งประหารชีวิต ในเวลาต่อมา

 

สงครามแย่งม้า กับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ ปี พ.ศ.๑๑๙๖

สงครามแย่งม้า เกิดขึ้นครั้งแรกกับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ แคว้นมาลายู(มะละกา) อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เนื่องจาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) ได้แสร้งส่งพระราชสาสน์ มายัง เจ้าพระยามาลายู แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) กรุงมาลายู(มะละกา) ให้ส่ง พระนางสันลิกา อัครมเหสี ของ เจ้าชายบังกา ซึ่งได้มาประสูติ เจ้าชายสันนา ณ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน กลับคืนไปยัง เมืองโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) แต่ เจ้าพระยามาลายู ไม่ยอมส่ง พระนางสันลิกา ซึ่งได้มาประสูติ เจ้าชายสันนา กลับคืน ตามที่ พระเจ้ามังกูร่า ร้องขอ โดยให้เหตุผลว่า พระนางสันลิกา อยู่ระหว่างการพักฟื้น จึงเป็นที่มาให้ พระเจ้ามังกูร่า ส่งกองทัพชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) เข้ายึดครอง แคว้นมาลายู(มะละกา) ทันที ผลของสงคราม อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู(มะละกา) ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ เจ้าพระยามาลายู ต้องหลบหนีไปยัง แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) พวกราชวงศ์อีกส่วนหนึ่ง ต้องหลบหนีไปยัง เกาะภูเก็ต

เมื่อ แคว้นมาลายู(มะละกา) ถูกยึดครองโดยกองทัพชนชาติกลิงค์ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) กองทัพชนชาติกลิงค์ ยังส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นยี่หน แคว้นโพธิ์หาร(ปาหัง) แคว้นโกลามารัง(ตรังกานู) และ แคว้นโกตาบารู(กลันตัน) เป็นผลสำเร็จ

ส่วนกองทัพของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ณ สมรภูมิ ชายฝั่งทะเลตะวันตก ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เข้ายึดครอง แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก)  และ แคว้นกระทะราม(กะฑะราม) เป็นผลสำเร็จ เนื่องจาก ประชาชนชนชาติอ้ายไต เกิดความแตกความสามัคคี กันอย่างรุนแรง เนื่องจาก ผลของการใช้วัฒนธรรมตอแหล ใส่ความทำลายซึ่งกันและกัน มาก่อนหน้าหนี้ ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามขึ้น ประชาชนจึงไม่ยอมต่อสู้กับข้าศึก ต่างหลบหนี เอาตัวรอด ดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ จึงถูกยึดครองไปครึ่งหนึ่ง สงครามแย่งชิงดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ จึงยืดเยื้อไปหลายปี

      เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทราบข่าวว่า อาณาจักรมาลัยรัฐ ถูกรุกรานจากข้าศึก ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ แล้ว จึงรับสั่งให้ แม่ทัพพระยาหมัน นำกองทัพหลวง ไปช่วยป้องกันดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ ในส่วนที่ยังมิได้ถูกข้าศึกทำสงครามยึดครอง รับสั่งให้ แม่ทัพพระยาไพศาล ส่งกองทัพไปตั้งอยู่ที่ แคว้นกระบี่ เพื่อรักษาดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันตก ของ อาณาจักรชวาทวีป ส่วนแม่ทัพพระยายมบา ส่งกองทัพไปตั้งอยู่ที่ แหลมศรีโพธิ์ เพื่อรักษาดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ อาณาจักรชวาทวีป ส่วน มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เตรียมอพยพไพร่พล ไปตั้งราชธานีใหม่ ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ด้วย

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง อพยพไพร่พลไปยัง แคว้นศรีโพธิ์ ปี พ.ศ.๑๑๙๖

ในสมัยของสงครามแย่งนางอั่วคำ นั้น เมื่อกองทัพชนชาติมอญ ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) นั้น เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ และ พระนางสิยา เป็นชนชาติอ้ายไตกลุ่มแรกสุดที่อพยพหนีภัยสงครามจาก กรุงเวียงจันทร์ ไปตั้งรกราก ณ พระราชวังไทรขุนฤทธิ์ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ต่อมา เมื่อสงครามแย่งนางอั่วคำ ขยายตัว เจ้าฟ้าฮ่วน เป็นชนชาติอ้ายไต กลุ่มที่สองที่ได้อพยพจาก แคว้นตุมวาง(แพร่) ไปตั้งรกราก ณ พระราชวังดอนยวน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ต่อมาเมื่อ อาณาจักรศรีโคตรบูร กรุงร้อยเอ็ด ถูกกองทัพชนชาติมอญ ทำสงครามเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงร้อยเอ็ด เป็นผลสำเร็จนั้น เชื้อสายราชวงศ์พวกร้อยเอ็ดเจ็ดหัวเมือง นำโดย พระยาเอ็ดตาโร เป็นชนชาติอ้ายไต กลุ่มที่สาม ที่ได้อพยพไปตั้งรกรากอยู่ที่ ท่าดอนร้อยเอ็ด(ดอนเอ็ด) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ทั้งสามกลุ่มที่อพยพลงไปยังดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป นั้น เชื่อถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของ ดินแดนทั้งสองแคว้น ได้พยายามสร้างกองทัพขึ้นใหม่ เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครองดินแดนที่เสียไป กลับคืน

ก่อนเกิดสงครามแย่งม้า นั้น กองทัพมอญ ประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน กำลังเตรียมเคลื่อนทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ ประกอบด้วยกองทัพของ พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ได้เตรียมกองทัพมอญ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองทวาย กองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้เตรียมกองทัพมอญ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองพิมาย และกองทัพมอญ ของ พระยารุ่ง แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) เตรียมกองทัพมอญ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน อยู่ที่เมืองสองแคว(พิษณุโลก) กองทัพทั้งสาม เตรียมเคลื่อนทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรละโว้ โดยได้แสร้งส่งคณะราชทูต มาเจรจาขอม้าขาวพันธุ์ดี ก่อน เพื่ออ้างเป็นเหตุในการทำสงคราม แต่ในเวลาไม่นาน มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ก็ได้รับรายงานข่าวว่า ได้เกิดสงครามแย่งม้า กับ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ เรียบร้อยแล้ว

 เนื่องจาก ก่อนที่จะเกิดสงครามแย่งม้า ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ นั้น กองทัพของ พระยาหมูกดำ พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ส่วนสงครามแย่งนาง ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ นั้น พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ พ่ายแพ้สงครามกองทัพท้าวไกรสร ณ สมรภูมิ เมืองพนมรุ้ง พระเจ้ายโสธร ต้องถอนทัพไปตั้งอยู่ที่ แคว้นสังข์ปุระ(อุบลราชธานี) แล้วร่วมมือกับกองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เขมร) เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกาใต้ สามารถยึดครอง เมืองโพธิสารหลวง(พนมเปญ) ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาใต้ เป็นผลสำเร็จ พระเจ้ายโสธร ได้ทำการรวบรวมไพร่พลประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน เตรียมยกกองทัพเข้าร่วมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ อีกกองทัพหนึ่ง ด้วย

ทันทีที่เกิดสงครามแย่งม้า ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ปรึกษาหารือกับ สภาปุโรหิต และ สภามนตรี และบรรดาแม่ทัพนายกอง ทั้งหลาย แล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้รับสั่งให้เร่งรัดส่งกองทัพหลวงไปช่วยรักษาดินแดนอาณาจักรมาลัยรัฐ และดินแดนอาณาจักรชวาทวีป ทันที และยังมีความเห็นร่วมกันว่า อีกไม่นานกองทัพมอญ จะต้องยกทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรละโว้ และราชธานี กรุงอู่ทอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างแน่นอน

เมื่อสงครามแย่งม้าเริ่มปะทุขึ้นนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีความเห็นว่า ควรย้ายราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จาก กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ลงไปยัง อาณาจักรชวาทวีป ในดินแดนของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ซึ่งจะสามารถรวบรวมกำลังไพร่พล เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักร ต่าง ๆ  กลับคืนในภายหลังอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพราะ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มีความเชี่ยวชาญในภูมิประเทศในบริเวณพื้นที่ อาณาจักรชวาทวีป เป็นอย่างดี ตั้งแต่สมัยรับราชการเป็น พระยาพาน ณ อาณาจักรชวาทวีป

สถานการณ์ของสงครามดังกล่าว เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ไปตั้งหลักวางแผนการทำสงคราม อยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ส่วนกองทัพรักษาดินแดนอาณาจักรละโว้ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มอบหมายให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) เป็นผู้บัญชาการกองทัพประจำการ โดยได้ตั้งทัพไว้ที่ เมืองสมุทรปราการ มีแม่ทัพ ของ กองทัพต่างๆ ที่สำคัญ คือ แม่ทัพเจ้าพระยาหะนิมิตร ตั้งกองทัพอยู่ที่ ดอนเมือง(ดอนอีเหยี่ยว) แม่ทัพเจ้าพระยาศรีไชยนาท(เจ้าพระยาบู๊เรงนอง) ตั้งกองทัพเรือ และ กองทัพบก อยู่ที่ เมืองธนบุรี(บางเกาะน้อย) แม่ทัพเจ้าพระยาจักรนารายณ์ ตั้งกองทัพอยู่ที่ แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) แม่ทัพเจ้าพระยาโยธิกา ทั้งกองทัพอยู่ที่ แคว้นอโยธยา(อยุธยา) แม่ทัพพระยาจันทร์โชติ ตั้งกองทัพอยู่ที่ แคว้นละโว้ และ แม่ทัพขุนราม(จตุคามรามเทพ) ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองราม(ศรีเทพ) ดงพระยากลาง และ ดงพระยาใหญ่  

      ก่อนการอพยพสู่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มีพระราชสาส์นมีคำสั่งให้ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) พระราชโอรส พระองค์เล็ก ของมหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้เพียง ๑๙ พรรษา ให้นำกำลังทหารมาช่วยรักษา พระราชวังหลวงคูบัว กรุงอู่ทอง ไว้ชั่วคราว เพื่อจัดกระบวนกองทัพใหม่ ส่วน หม่อมศรีจันทร์ ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ของ พระนางจันทร์เทวี และเป็นมเหสี ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองราม(ศรีเทพ) กำลังสร้างกองทัพ จากทหารที่ได้จากผู้อพยพหนีภัยสงคราม อยู่ที่ ดงพระยากลาง และ ดงพระยาใหญ่

ตำนานความเป็นมา ของชื่อท้องที่ วัดประสบ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความเป็นมาของการก่อกำเนิด วัดประสบ โดยสรุปว่า ก่อนที่ กองทัพมอญ จะส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรละโว้ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้รับสั่ง ให้กลุ่มไพร่พลเมืองเก่า จาก อาณาจักรละโว้ เร่งอพยพไพร่พลไปรวมตัวกัน ณ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ในบริเวณพื้นที่ ที่นัดประสบพบกัน คือพื้นที่ บริเวณ วัดประสบ อ.ไชยา ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสี่แยกท่าโพธิ์ เป็นจุดนัดพบที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีรับสั่งให้พวกขุนนางเมืองเก่าทั้งหลาย ที่อพยพหนีภัยสงคราม ให้นำเรือมาจอดทอดสมอ ที่ ท่าโพธิ์ แล้วให้ไปรวมตัวกันสร้างที่พักพิง ขึ้นอาศัยในบริเวณสถานที่นัดพบ ดังกล่าว 

ต่อมาสถานที่ดังกล่าว กลุ่มไพร่พลผู้อพยพจากเมืองเก่า อาณาจักรละโว้ ได้ร่วมกันสร้างสถานที่นัดพบ และที่พักของพระภิกษุ ผู้อพยพ เรียกว่า ที่เพล ให้เป็นจุดนัดพบกัน และเมื่อได้มีการจัดให้มีที่อยู่ ของ แต่ละครอบครัว ขึ้นอย่างเรียบร้อยแล้ว  กลุ่มไพร่พลของขุนนางเมืองเก่าที่เดินทางอพยพหลบภัยสงคราม ได้จัดให้บริเวณ ที่เพล ดังกล่าว ถูกสร้างขึ้นเป็น วัดแห่งแรก ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) คือ วัดประสบ ใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างเกาะดอนขวาง เป็นฐานที่มั่น ปี พ.ศ.๑๑๙๖

เนื่องจาก แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ในขณะนั้น ปกครองโดย เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ซึ่งดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย เหตุการณ์ในขณะที่สงครามแย่งม้าเริ่มปะทุขึ้นนั้น เจ้าพระยาศรีธรรมโศก กำลังสร้างกำแพงเมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งมีความยาวประมาณ ๘ กิโลเมตร เรียกว่า พระราชวังศรีเวียงไชย ให้เป็นที่ว่าราชการ ของ เมืองนายก ซึ่งยังสร้างไม่สำเร็จสมบูรณ์ เมื่อมีผู้คนอพยพลงไปเป็นจำนวนมาก ก็เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร ดังนั้น เรื่องราวการย้ายราชธานี ในภาวะสงคราม ครั้งนั้น จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของตำนานพ่อตาเจ้าที่ ในท้องที่ต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการอพยพไพร่พล มาสร้างราชธานี แห่งใหม่ ท่ามกลางภาวะของสงคราม ซึ่งผู้สูงอายุในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นิยมนำมาเล่าเรื่องราว สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

กล่าวกันว่า สภาพของสงครามแย่งม้า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๙๖ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ขนย้ายทรัพย์สินมีค่าต่าง ๆ จากท้องพระคลังหลวง รวมทั้งทองคำของอู่เรือทอง โดยได้อพยพไพร่พลไปสร้างราชธานีแห่งใหม่ ณ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ครั้งแรก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้พยายามสร้างพระราชวังหลวง ขึ้นใหม่ บริเวณ ภูเขาสายหมอ(ภูเขาศรีโพธิ์) ทุ่งศรีโพธิ์ อดีตที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ดั้งเดิม โดยได้นำเรือสำเภาทอง เข้าไปจอดทอดสมอไว้บริเวณ ภูเขาศรีโพธิ์(ภูเขาสายสมอ) เพื่อรื้อฟื้นพระราชวังหลวง แคว้นศรีโพธิ์ ดั้งเดิม ขึ้นมาใช้ อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้พิจารณาเห็นว่า การตั้งพระราชวังหลวง ไว้ที่บริเวณ ภูเขาสายหมอ นั้น ไม่มีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์ ในการป้องกันข้าศึกศัตรู จึงรับสั่งให้อพยพไพร่พล เข้าสู่พื้นที่ เกาะดอนขวาง ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ ๒๕ ตารางกิโลเมตร โดยใช้ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ซึ่งเป็นภูเขาที่ศักดิ์สิทธิ์ มีรอยพระพุทธบาทเบื้องซ้าย-ขวา ของ พระพุทธเจ้า มาใช้เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นศูนย์บัญชาการ การทำสงคราม กับกองทัพของชนชาติมอญ และ ทมิฬโจฬะ ในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้สร้างพระราชวังหลวง ขึ้นใหม่ ในพื้นที่เกาะดอนขวาง และกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเสียม และ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ในเวลาต่อมา นั่นเอง

 

เจ้าพระยาศรีทรัพย์ อพยพไพร่พล สู่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๑๙๖

เมื่อเกิดสงครามแย่งม้า ขึ้นมานั้น ตำนานท้องที่ บ้านใหญ่ ท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ได้รับคำสั่งจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้อพยพไพร่พลจาก เมืองปะถม(นครปฐม) กลับไป ณ วัดศรีราชัน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) โดยได้ไปอาศัยอยู่กับพระราชมารดา ของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) คือ หม่อมสุรณี หรือ หม่อมจอมศรี การอพยพของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์ ครั้งนั้น พระนางอีเลิศ มเหสีฝ่ายซ้าย ได้นำ ขุนบรม ไปด้วย และได้ไปสร้างพระราชวังประทับในท้องที่ บ้านใหญ่ เป็นเหตุให้ท้องที่ดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า บ้านใหญ่ ตั้งแต่นั้นมา

ส่วน เมืองปะถม และ พระมหาธาตุปะถมเจดีย์ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มอบให้ เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ซึ่งเป็น พระอนุชา ส่งเจ้าเมืองใหม่ ไปทำการปกครอง รักษาเมืองไว้ต่อไป ส่วน เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ได้ไปตระเตรียมไพร่พล และเสบียงอาหาร ให้เพียงพอ เพื่อเตรียมสร้างกองทัพ เตรียมการทำสงครามใหญ่ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต อันใกล้

เมื่อ เจ้าพระยาศรีทรัพย์(ขุนชวา) ได้อพยพไพร่พลไปตั้งรกรากในบริเวณ บ้านใหญ่ ใกล้กับ ภูเขาจอมศรี(จอศรี) ซึ่งเป็นพระราชวังที่ประทับ ของ หม่อมสุรณี(หม่อมจอมศรี) และในเวลาต่อมา เจ้าพระยาศรีทรัพย์ ได้ไปตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองเพลา บริเวณภูเขาเพลา เพื่อสกัดกั้นกองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ซึ่งได้เข้ามารื้อฟื้นอาณาจักร ขึ้นใหม่ บริเวณภูเขาพระนารายณ์ เมืองกาเพ้อ แคว้นรำนอง(ระนอง) อีกครั้งหนึ่ง ตำนานเรื่องราวของ ขุนบรม และ พระยาลอ ได้เกิดขึ้น ณ แคว้นศรีพุทธิ ก่อนการทำสงครามกอบกู้ดินแดน อาณาจักรยวนโยนก และ อาณาจักรอ้ายลาว กลับคืนในเวลาต่อมา

 

พระนางจันทร์เทวี อพยพหนีภัยสงคราม ไปยัง อาณาจักรพิง ปี พ.ศ.๑๑๙๖

เรื่องราวของ พระนางจันทร์เทวี แห่ง อาณาจักรหิรัญภุญชัย นั้น มีตำนานเรื่องราวในท้องที่ภาคใต้ ด้วย มีเรื่องราวกล่าวถึงสายราชวงศ์ ของ พระนางจันทร์เทวี โดยสรุปว่า พระนางจันทร์เทวี เป็นพระราชธิดาองค์ที่สอง ของ เจ้าพระยาโยธิกา กับ พระนางจันทร์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันอีก ๒ พระองค์ คือ พระนางนวลจันทร์ เป็นราชธิดาองค์ใหญ่ และเป็นอัครมเหสี ของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์ และ พระนางศรีจันทร์ เป็น ราชธิดาองค์เล็ก เป็นอัครมเหสี ของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) และเป็นพระขนิษฐา ของ พระนางจันทร์เทวี

พระนางจันทร์ สืบเชื้อสายราชวงศ์มาจาก ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) สายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) คือ เจ้าชายกุรุนทะ ซึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามไปปกครอง เมืองนที(อยุธยา) แล้วเปลี่ยนชื่อ เมืองนที เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองกุรุนทะ(อยุธยา) ในสมัยต่อมา สายราชวงศ์พระยากุรุนทะ ได้สืบทอดมาถึง พระนางจันทร์ ซึ่งได้มาอภิเษกสมรส กับ เจ้าพระยาโยธิกา และต่อมา เจ้าพระยาโยธิกา ได้กู้เมืองนที กลับคืน จากกองทัพมอญ เป็นเหตุให้ เจ้าพระยาโยธิกา จึงได้เข้าปกครอง เมืองนที(อยุธยา) และเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมืองโยธิกา(อยุธยา) ในระยะเวลาสั้นๆ ต่อมา ในสมัยสร้างเมืองร้อยเอ็ด ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร นั้น เมืองโยธิกา(อยุธยา) ได้ถูกเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่ง มีชื่อใหม่ว่า เมืองอโยธยา(อยุธยา) ดังนั้น พระนางจันทร์เทวี จึงประสูติ และเติบโตในวัยทรงพระเยาว์ ณ เมืองอโยธิยา(อยุธยา) เมื่อได้อภิเษกสมรสแล้ว พระนางจันทร์เทวี จึงได้ไปประทับ ณ เมืองละโว้ เนื่องจาก พระยาจันทโชติ พระภัสดา รับราชการเป็นแม่ทัพอยู่ที่ เมืองละโว้

ส่วน เจ้าพระยาโยธิกา เป็นพระราชโอรสลับ ของ ท้าวมหาฤกษ์ กับ พระนางโกสมพี ซึ่งเป็นราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์คำ จาก อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ส่วน ท้าวมหาฤกษ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ กับ พระนางขอมอินทปัต ดังนั้น สายราชวงศ์ของ พระนางจันทร์เทวี จึงมีเชื้อสายราชวงศ์คำ เช่นเดียวกับ กษัตริย์ผู้ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรพิง กรุงละมุงไต(ฝาง) ด้วย เนื่องจากสายสัมพันธ์ทางเชื้อสายราชวงศ์คำ กับ อาณาจักรพิง กรุงละมุงไต(ฝาง) ดังกล่าว ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามแย่งม้า กับ ข้าศึกมอญ พระนางจันทร์เทวี จึงตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ไปตั้งรกรากในดินแดน ของ อาณาจักรพิง คือ เมืองหิรัญภุญชัย(ลำพูน)  

เนื่องจาก ในปีที่เกิด สงครามแย่งนางอั่วคำ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๕ นั้น เจ้าพระยาโยธิกา ได้จัดให้ เจ้าหญิงจันทร์เทวี ได้อภิเษกสมรส กับ พระยาจันทร์โชติ หรือ มีอีกพระนามหนึ่งว่า ขุนหลวงพะงั่ว หรือ ชุนหลวงพาโง่ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ เจ้าพระยาจักรนารายณ์ ราชาแห่ง แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) ภายหลังการอภิเษกสมรส เจ้าพระยาจันทร์โชติ ได้รับโปรดเกล้าจาก ท้าวมหาฤกษ์ ให้ดำรงตำแหน่งเป็น แม่ทัพหลวง ของ แคว้นละโว้(ลพบุรี) เป็นเหตุให้ พระนางจันทร์เทวี ต้องเสด็จจาก กรุงศรีอโยธยา(อยุธยา) ไปประทับอยู่กับ พระยาจันทร์โชติ ณ กรุงละโว้ ด้วย จนกระทั่ง ทรงพระครรภ์

ก่อนเกิดสงครามแย่งม้า นั้น พระยาพิง เคยชักชวน พระนางจันทร์เทวี ให้อพยพไพร่พล ไปสร้างแว่นแคว้นขึ้นใหม่ ในดินแดน ของ อาณาจักรพิง มาก่อนแล้ว และเมื่อเกิดสงครามแย่งม้า ขึ้นมาจริง เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้อพยพไพร่พลลงไปยัง อาณาจักรชวาทวีป เมื่อต้นปี พ.ศ.๑๑๙๖ เรียบร้อยแล้ว ขณะนั้นนั้น พระนางจันทร์เทวี ทรงพระครรภ์โอรสฝาแฝดแล้ว ๓ เดือน แนวโน้มสงครามใหญ่กำลังจะเกิดขึ้น ณ ดินแดนอาณาจักรละโว้ เนื่องจากมีกองทัพมอญ ประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน กำลังยาตราทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรละโว้ เป็นเหตุให้ พระนางจันทร์เทวี ต้องอพยพไพร่พล สู่ดินแดนของ อาณาจักรพิง

 

เมื่อมีข่าวมาว่า กองทัพของ พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ได้ยกกองทัพเข้าปะทะกับ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ แคว้นจักรนารายณ์ และกองทัพของ พระเจ้าอนุรุธ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน ได้เคลื่อนทัพบกเข้าสู่ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ส่วนกองทัพของ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน จาก เมืองพิมาย มุ่งหน้าสู่ เมืองละโว้ และยังมีกองทัพของ พระยารุ่ง(ท้าวฮุ่ง) แห่ง อาณาจักรเงินยาง ได้เริ่มยกกองทัพใหญ่ ประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน มุ่งหน้าเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองสองแคว เป็นเหตุให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง มีพระราชสาส์นสั่งให้ พระนางจันทร์เทวี อพยพไพร่พล พร้อมพระภิกษุสงฆ์ อีกประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางสู่ เมืองหิรัญภุญชัย อาณาจักรพิง ตามที่พระยาพิง ได้เตรียมการไว้แล้ว และได้ทำการสร้าง เมืองหิรัญภุญชัย ขึ้นมาปกครอง ในเวลาต่อมา ส่วนดินแดน อาณาจักรละโว้ ได้กลายเป็นสมรภูมิ ของ สงคราม ระหว่างกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ กองทัพต่างๆ ของ ชนชาติมอญ อย่างรุนแรง ทันที

Visitors: 54,279