บทที่ ๗ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์อู่ทอง

บทที่ ๑๐

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ 

สมัย ราชวงศ์อู่ทอง

 

 



                                  โครงสร้าง สายราชวงศ์ อู่ทอง สมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตอนปลาย

                      

 

 

                     ราชวงศ์อู่ทอง สมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตอนปลาย

        

 

ราชวงศ์อู่ทอง คือเชื้อสายราชวงศ์ความเป็นมาของ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์ ของ จตุคามรามเทพ

ที่สืบทอดมาจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ปรากฏในหลักฐานจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๕ และอีกหลายครั้ง จดหมายเหตุจีน ปี พ.ศ.๑๒๒๕ บันทึกว่า เมื่อฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง(พ่อหะนิมิตร) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้กล่าวว่า มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง เป็น มหาจักรพรรดิใน ราชวงศ์อู่ทอง(อั๋วกวั่ว) และจดหมายเหตุจีน ยังบันทึกอีกหลายครั้งว่า ราชวงศ์อู่ทอง คือ ผู้ให้กำเนิด สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) และ เป็นผู้ให้กำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) อีกด้วย

อันที่จริงแล้ว ราชวงศ์อู่ทอง คือสายราชวงศ์หนึ่ง ของ ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก คือ ราชวงศ์จิว นั่นเอง โดย ราชวงศ์อู่ทอง เป็นเชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ที่สืบทอดจากสายสกุล มเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งได้สมรสเกี่ยวดอง ผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนชาติมอญ-ทมิฬ มาก่อนด้วย ซึ่งหมายถึง เชื้อสายราชวงศ์ พระนางขอมอินทปัต ซึ่งเป็น มเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ ซึ่งได้สืบสายราชวงศ์มาถึง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดินสุวรรณภูมิ ตามโครงสร้างสายราชวงศ์ ที่นำมาแสดง นั่นเอง

ตามโครงสร้าง สายราชวงศ์อู่ทอง ประกอบด้วยสองสายราชวงศ์ สายราชวงศ์ที่มีการสืบเชื้อสายจาก มเหสีฝ่ายขวา คือ พระนางวงศ์จันทร์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก ท้าวมหาฤกษ์ แห่ง อาณาจักรละโว้ ผสมกบ สายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) จะเรียกว่า สายราชวงศ์จันทร์วงศ์ อีกสายหนึ่ง สืบเชื้อสายมาจากมเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง คือ พระนางบัวจันทร์ คือสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก(ราชวงศ์จิว) ไปผสมกับ สายราชวงศ์โคตะมะ และสายราชวงศ์หยาง และ สายราชวงศ์แมนสม(อาณาจักรเตอร์กตะวันออก ผสมกับราชวงศ์หยาง) เรียกว่า สายราชวงศ์ปทุมวงศ์ ต่อมาสายราชวงศ์ปทุมวงศ์ คือ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ซึ่งเป็นผู้สร้างแคว้นนครศรีธรรมราช(ตาม้ากลิงค์) กลายเป็น มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง แผ่นดินสุวรรณภูมิ สมัย สหราชอาณาจักรเสียม ในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งปรากฏในหลักฐาน ศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ ซึ่งได้จารึกยกย่องชมเชย สายราชวงศ์ปทุมวงศ์ เป็นหลัก

ราชวงศ์อู่ทอง เกิดขึ้นภายหลังจากชัยชนะในสงคราม ของ พระยาพาน สมัย สงครามกันตาพาน ซึ่ง พระยาพาน สามารถทำสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา เป็นผลสำเร็จ สงครามกันตาพาน ครั้งนั้น ทำให้เกียรติภูมิ ของ นายกพระยาพาน สูงเด่นยิ่งขึ้น เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวธานี และ จักรพรรดิพระยากระบี่ สวรรคต ในสงคราม และ นายกพระยาพาน สามารถทำสงคราม ปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่มาทำสงครามยึดครอง ๑๑ แว่นแคว้น ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๘ นายกพระยาพาน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ

หลังจาก สงครามกันตาพาน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๘ สิ้นสุดลง นายกพระยาพาน ซึ่งมีพระชนมายุประมาณ ๓๔ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) จึงทำให้กำเนิด ราชวงศ์อู่ทอง ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ พระยาพาน ขึ้นครองราชย์สมบัติ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๖๘ เป็นต้นมา

 

                                             

ภาพที่-๑๑๘ เป็นเทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) พบในท้องที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี สันนิษฐานว่า สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ(พระยาคอปล้อง) ได้นำจาก เมืองไชยา ไปประดิษฐาน ณ เมืองเวียงสระ ในสมัยต้นรัชกาลพระนั่งเกล้าฯ ภาพนี้  สร้างขึ้นเป็นภาพเชิงซ้อน ด้วย คอมพิวเตอร์ ให้มีภาพเหมือนจริง กับ เทวรูป มากที่สุด มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีพระราชโอรส และ พระราชธิดา ๔ พระองค์ คือ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิต(พ่ออู่ทอง) , จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(ตาม้ากลิงค์) , พระนางสันลิกา(อัครมเหสี ของ พระเจ้าบังกา) และ ขุนราม(จตุคามรามเทพ)     

     

      เมื่อ นายกพระยาพาน ได้ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ได้เปลี่ยนพระนาม มีพระนามใหม่ว่า ท้าวอู่ทอง โดยได้นำเรือพระที่นั่ง เรือสำเภาทอง เข้าเทียบท่า ณ อู่เรือสำเภาทอง แล้ว ประกาศเปลี่ยนชื่อ กรุงทวาราวดี เป็นชื่อ กรุงอู่ทอง เป็นเมืองหนึ่ง ของ อาณาจักรละโว้ และเป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ด้วย

 

  

(๔๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี)

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พ.ศ.๑๑๖๘-๑๑๙๖) กรุงอู่ทอง นั้น มี ท้าวจันทบูรณ์ แห่ง อาณาจักรคามลังกาใต้ เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และมี พระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ เมืองดอนเมือง แคว้นสมุทรปราการ

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง นั้น ประกอบด้วย ๑๖ อาณาจักร ๒ ประเทศเมืองขึ้น คือ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) , อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) อาณาจักรทวาย(ไกลลาศ) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) อาณาจักรพิง(ฝาง) อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรอ้ายลาว(เวียงจันทร์) อาณาจักรอีสานปุระ(อีสานใต้-มอญ) , อาณาจักรศรีโคตรบูร(อีสานเหนือ) , อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) , อาณาจักรคามลังกาเหนือ(พนมรุ้ง) และ อาณาจักรคามลังกาใต้(จันทบูรณ์) และมีอาณาจักรเมืองขึ้น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชบาตะวันออก-เกาะชวา) และ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง)

ส่วน สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬ ประกอบด้วย อาณาจักรต่างๆ จำนวน ๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) ดินแดนส่วนใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ตั้งอยู่ในดินแดนเกษียรสมุทร ยกเว้นอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เท่านั้น ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ยังมิได้ทำสงคราม กอบกู้ดินแดน กลับคืน

 

พระมหานาคเสน และ ท้าวอู่ทอง สร้างพระแก้วมรกต ปี พ.ศ.๑๑๖๘

ตำนานการสร้างพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปพระประธาน ประจำสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีความเป็นมาจากความเชื่อที่ว่า พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด นั้น เคยมีอดีตชาติเป็น ท้าวกู จักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งเคยสละราชสมบัติออกผนวช แล้วได้ประสูติมาในภพชาติใหม่ เป็น พระนาคเสนเจ้า เคยเป็นพระอาจารย์ ของ พระยามิลินทราช อินเดีย ก่อนที่จะมาเป็น ประธานสภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อมา พระนาคเสน ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ มาเป็น มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม(ขุนเทียน) ได้สละราชสมบัติออกผนวช เมื่อสวรรคต ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น ตาผ้าขาวเถระรอด เป็นศิษย์ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ อดีตพระสังฆราช และ ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัยที่ดินแดนสุวรรณภูมิ มีวัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง ต่อมา พระมหาธรรมรักขิตเถระเจ้า เสด็จนิพพาน เป็นเหตุให้ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ต้องออกผนวช อีกครั้งหนึ่ง มีนามว่า พระมหานาคเสนเจ้า เป็น สมเด็จพระสังฆราช และ ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่สมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี)

เนื่องจาก พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) เคยเป็นพระอาจารย์ ของ กษัตริย์แว่นแคว้น และ อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาเป็นจำนวนมาก จึงได้รับการเคารพจาก กษัตริย์ต่างๆ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก ในขณะที่ พระมหานาคเสนเจ้า ได้มาเป็นประธาน ในการดำเนินการ ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ณ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) นั้น พระมหานาคเสนเจ้า ได้รับข้อเสนอจาก เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไตทั้งหลาย ให้ร่วมกันสร้าง พระพุทธรูปพระมหาธรรมรักขิตเถระเจ้า และ เพื่อให้เป็นที่สถิต ของ ดวงวิญญาณ พระมหาธรรมรักขิตเถระเจ้า และดวงวิญญาณ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่งได้สละราชสมบัติออกผนวช และได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อีก ๗ พระองค์ เพื่อใช้เป็น พรุพุทธรูปพระประธาน ประจำ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อันเป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา

 

                                  

ภาพที่-๑๑๙ พระพุทธรูป พระแก้วมรกตสร้างจำลอง พระมหาธรรมรักขิตเถระ สมเด็จพระสังฆราช และ ประธานสภาโพธิ สมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง โดย พระวิษณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) ตามคำแนะนำของ พระมหานาคเสนเจ้า เพื่อใช้เป็นที่สิงห์สถิต ของ ดวงวิญญาณ พระมหาธรรมรักขิตเถระ และดวงวิญญาณ ของ มหาจักรพรรดิ สมัย สหราชอาณาจักรเทียน ๗ พระองค์ ซึ่งได้สละราชสมบัติออกผนวช และได้สำเร็จเป็น พระอรหันต์  

 

พระมหานาคเสนเจ้า ต้องการสร้างสัญลักษณ์ เพื่อแสดงว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งสอนของ พระพุทธองค์ อย่างเคร่งครัด ต้องลดละ โลภะ โทสะ โมหะ ปฏิบัติตามศีลห้าข้อ ไม่ใช้ วัฒนธรรมตอแหล เพื่อใส่ความ ทำลายฝ่ายตรงกันข้าม เพื่อการแย่งชิงอำนาจระหว่างกัน จนเกิดความแตกแยกขึ้นมาระหว่าง ชนชาติอ้ายไต เหมือนเช่นที่เกิดขึ้น ในอดีต อีกต่อไป

เนื่องจากในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน นั้น มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ได้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ ของ ชนชาติไทย จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ สมัยนั้น ยังไม่มีการสร้าง เทวรูป เพื่อใช้เป็นที่สถิต ของ ดวงวิญญาณ ของผู้ที่ตายไปแล้ว

ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน นั้น พระนาคเสนเจ้า ได้มาเป็น อธิการบดี ของ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และเป็น ประธานสภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน พระนาคเสน ได้นำ พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า จากอินเดีย มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมา พระนาคเสนเจ้า ได้สร้างพระพุทธรูป ของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ขึ้นมาครั้งแรก เพื่อให้ดวงวิญญาณ ของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร สิงสถิต ส่วน มหาจักรพรรดิ อีก ๗ พระองค์ ซึ่งได้สละราชย์สมบัติออกผนวช จนกระทั่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นั้น มิได้สร้างพระพุทธรูป ไว้เคารพ สักการบูชา แต่อย่างใด เพราะไม่มีผู้ใด ทราบรูปร่างหน้าตา จึงมีแต่ พระบรมธาตุ ที่เก็บรักษา ของ มหาจักรพรรดิ ๗ พระองค์ ถูกเก็บรักษากันไว้ สืบทอดต่อมา

มหาจักรพรรดิ ๗ พระองค์ สมัย สหราชอาณาจักรเทียน ที่สำเร็จโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์ คือ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง , มหาจักรพรรดิท้าวทองเก , มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ , มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล , มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร , มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร และ มหาจักรพรรดิขุนหลวงชัด ซึ่งทาง พระมหานาคเสน ต้องการที่จะสร้างพระพุทธรูป ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ ให้ดวงวิญญาณ ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ และดวงวิญญาณ ของ มหาจักรพรรดิ อีก ๗ พระองค์ ที่กล่าวมา ได้มาสิงสถิต ณ พระพุทธรูป ที่จะสร้างขึ้นด้วย เพื่อใช้เป็น พระพุทธรูป พระประธาน สำหรับ ราชธานี ของ รัฐของชนชาติอ้ายไต สืบต่อไป ในอนาคต

พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) พิจารณาเห็นว่า เชื้อสายราชวงศ์ ของ ชนชนติอ้ายไต สายราชย์วงศ์ต่างๆ เริ่มมี โลภะ โทสะ โมหะ ไม่ปฏิบัติตามศีล ๕ ข้อ อย่างเคร่งครัด มีการแย่งชิงอำนาจ ใช้วัฒนธรรมตอแหล มาใช้ใส่ความให้ร้ายซึ่งกันและกัน เคยเกิดขึ้นและระบาดแพร่หลาย อย่างรุนแรง ตั้งแต่สมัยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ทำให้ ชนชาติอ้ายไต ต้องแตกความสามัคคี กันอย่างรุนแรง พระมหานาคเสนเจ้า จึงต้องการให้สร้าง พระพุทธรูป ที่สร้างด้วยแก้ว มาให้ชนชาติอ้ายไต ได้เคารพสักการะ ระลึกถึง ความยากลำบาก ในการสร้างรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ

พระมหานาคเสนเจ้า ทราบว่า มีก้อนแก้ว ในดินแดน ของ อาณาจักรหงสาวดี ซึ่งปกครองโดย ชนชาติมอญ สายราชวงศ์พระเจ้านันทเสน ถูกนำไปใช้ผลิตลูกปัด เพื่อจำหน่าย จำนวนมาก พระมหานาคเสนเจ้า จึงเสนอให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จัดหาก้อนแก้ว มาใช้สร้างเทวรูป ดังกล่าว โดยมอบให้ ท้าวจันทบูรณ์ อำนวยความสะดวกในการทำพิธีปลุกเสก ณ แคว้นจันทบูรณ์ อาณาจักรคามลังกาใต้ ต่อไป

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงรับสั่งให้ นายกพระยาศรีจง(พระวิษณุกรรม) อดีต มหาราชา ผู้สร้าง อาณาจักรหงสาวดี ไปนำก้อนแก้วจาก ภูเขาเวลุบรรพต อาณาจักรหงสาวดี ตามที่ พระมหานาคเสนเจ้า ต้องการ แต่ พระยาศรีจง พิจารณาเห็นว่า ภายหลังสงครามกันตาพาน นั้น ยังไม่ชัดเจนว่า พระเจ้านันทเสน มหาราชา แห่ง อาณาจักรหงสาวดี จะยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ หรือไม่ พระยาศรีจง จึงเสนอให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ยกกองทัพไปตั้งที่ แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) และให้ แม่ทัพพระยาไพศาล นำกองทัพเรือ ไปตั้งไว้ ณ อาณาจักรทวาย เตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหงสาวดี ทำการข่มขวัญให้ พระเจ้านันทเสน แห่ง อาณาจักรหงสาวดี เกรงกลัว แล้วส่งคณะราชทูต ไปเจรจา ขอก้อนแก้ว จาก พระเจ้านันทเสน ที่ส่งกองทัพไปรักษา ก้อนแก้ว ณ ดินแดน ภูเขาเวลุบรรพต ด้วย เหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นที่มาของการกำเนิด เมืองอู่ทอง(อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี) และการกำเนิด เมืองสุพรรณ(จ.สุพรรณบุรี) ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย  

เนื่องจาก พระยาศรีจง(พระวิศณุกรรม) และ พระยาศรีธรรมโศก(พระวิศณุกรรมเทพบุตร) ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระยาศรีจง กับ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) สำเร็จการศึกษาทางด้าน วิศวกรรม และ สถาปัตยกรรม จากมหาวิทยาลัยนาลันทา มีความสามารถในการสร้างเทวรูป ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) และ พระยาศรีจง เป็นผู้จัดหา ก้อนแก้วมรกต มาส่งมอบให้กับ พระยาศรีธรรมโศก ณ อโศการาม(วัดพระยันตระ) แคว้นจันทร์บูรณ์ พระยาศรีธรรมโศก จึงเริ่มสร้าง พระแก้วมรกต ขึ้นจนสำเร็จเรียบร้อย แล้วต่อมา พระมหานาคเสนเจ้า ก็ได้เดินทางไปทำพิธีปลุกเสก อัญเชิญ ดวงวิญญาณ ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ ปรากฏดวงไฟสีเหลือง ลอยมาสิงสถิต ณ พระพุทธรูปพระแก้วมรกต จนสำเร็จเรียบร้อย

ต่อมา พระมหานาคเสนเจ้า จึงได้อัญเชิญ พระพุทธรูป พระแก้วมรกต ไปประทับ ณ พระราชวังคูบัว กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เพื่อนัดหมายเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต มาร่วมในการทำพิธีปลุกเสก พระแก้วมรกต ดังนั้นในวันนัดหมาย ร่วมกันทำพิธีกรรมปลุกเสก ขออัญเชิญดวงวิญญาณ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ๗ พระองค์ ซึ่งได้สละราชสมบัติออกผนวช จนสำเร็จเป็น พระอรหันต์ มาสิงสถิต ในพระพุทธรูป พระแก้วมรกต ด้วย

ผลปรากฏว่า มีดวงวิญญาณ ซึ่งมองเห็นปรากฏเป็นดวงไฟสีเขียว-เหลือง ที่ละดวง ลอยมาเข้าสู่องค์ เทวรูป พระแก้วมรกต ตามคำอัญเชิญ ของ พระมหานาคเสนเจ้า แล้วหายไปในเทวรูป พระแก้วมรกต รวมทั้งหมดจำนวน ๗ ดวงวิญญาณ ต่อหน้า กษัตริย์ และเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่มาร่วมในพิธีกรรมปลุกเสก เป็นที่มาให้มีการยึดถือว่า พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระประธาน ของ รัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งได้รับการเคารพเชื่อถือ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

      ตำนานพระแก้วมรกต ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ซึ่ง พระรัตนปัญญาเถระ ได้แต่งไว้เป็นภาษาบาลี แต่งขึ้นที่ เมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๖๐ ต่อมา ร.ต.ท.แสง มนวิทูล กรมศิลปากร ได้นำมาแปล มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ พระแก้วมรกต ใกล้เคียงกัน ว่า...

      ...แต่นี้จะกล่าวถึงเรื่องตำนานพระแก้วมรกต ต่อไป ดำเนินความแต่ต้น ดังนี้ จะกล่าวถึงนิทานพระแก้วเจ้า อันประเสริฐล้ำเลิศยิ่งนักหนา ยังมีพระอรหันต์เจ้า พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระนาคเสน(สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน) อันจบด้วย พระไตรปิฎก และมีปัญญาอันฉลากลึกล้ำ และรู้โจทนาแก้ปริศนาปัญหาทั้งปวง พระนาคเสน เป็นพระอาจารย์แก่ พระยามิลินทราช มหากษัตริย์นั้นแล เดิมเมื่อ พระศรีสากยมุนีโคดม บรมพุทธครูเจ้า(พระนาคเสน) พระองค์ได้เสด็จดับขันสู่เมืองแก้ว(เมืองเทียนสน-ยะลา อาณาจักรเทียนสน) กล่าวคือ อมตมหานฤพาน(พ.ศ.๖๖๘) ไปแล้วนั้น ครั้นอยู่มานานได้ ๕๐๐ ปี(พ.ศ.๑๑๖๘) ยังมีพระอรหันต์เจ้าอีกพระองค์หนึ่ง มีนามว่า พระมหานาคเสน(ตาผ้าขาวเถระรอด) เป็นศิษย์ แห่ง พระมหาธรรมรักขิตเถระเจ้า ซึ่งได้นิพพาน ไปแล้ว(พ.ศ.๑๑๖๗) อยู่มาข้างหลัง พระมหานาคเสน องค์เป็นศิษย์(ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ) จึงพิจารณาเห็นโดยปัญญาแห่งเจ้าเองว่า ควรจะสร้าง พระพุทธรูปเจ้า(พระพุทธรูป พระมหาธรรมรักขิตเถระ)  ไว้ ให้เป็นที่นมัสการแก่มนุษย์ และเทพา ทั้งหลาย ไปข้างหน้าต่อไป แต่ถ้าจะสร้างด้วยเงิน หรือ ทองคำ ให้อยู่ยืนนานถึง ๕,๐๐๐ ปี นั้นหาได้ไม่ ด้วยคนทั้งปวง ยังมี โลภะ โทสะ โมหะ มาก กลัวว่า พวกเขาจะทำให้ พระพุทธรูป ฉิบหายยับเยิน เสียแก่ข้างหน้า จึงควรสร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วยแก้วลูกประเสริฐ อย่าให้คนบาปทั้งหลาย ทั้งปวง ทำอันตรายให้ฉิบหายได้ในอนาคตข้างหน้า จึงควรหาลูกแก้ว อันสมควร มาสร้างพระพุทธรูปเจ้า ตามข้อเสนอ ของ พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด)

       เมื่อนั้น บรรดา สมเด็จพระอมรินทราธิราชบพิตร(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) เห็นชอบด้วยกับดำหริ ของ พระมหานาคเสนเจ้า ที่จะต้องสร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วยก้อนแก้ว แล้ว สมเด็จบพิตรพระองค์ต่างๆ(ที่มาร่วมงาน มหาบรมราชาภิเษก ณ กรุงอู่ทอง) จึงเสด็จลงมาจากสวรรค์(ราชธานี ของ อาณาจักรต่างๆ) พร้อมด้วย พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) นั้นแล้ว พระองค์ต่างๆ จึงเข้าไปกราบไหว้ พระมหานาคเสนเจ้า(ประธานสภาโพธิ) ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บัดนี้ พระผู้เป็นเจ้า(พระมหานาคเสนเจ้า) มีความปรารถนาจะใคร่สร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วยแก้วลูกประเสริฐ เพื่อจะให้เป็นที่นมัสการบูชา แก่ มนุษย์ และ เทพยาดา ทั้งปวง เหตุการณ์ครั้งนั้น พระมหานาคเสนเจ้า ได้ตอบรับต่อ พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ว่า เรามีความปรารถนาที่อยากจะสร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วยลูกแก้วอันประเสริฐ นั้นเป็นเรื่องจริง

       เหตุการณ์ครั้งนั้น บันดาโกสินทร์อมรินทราธิราชบพิตร(มหาราชา และ ราชา แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) จึงกราบไหว้ พระมหานาคเสนเจ้า และกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ถ้าพระผู้เป็นเจ้า มีความปรารถนา จะสร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วยลูกแก้วอันประเสริฐ จริงแล้ว พวกข้าพระพุทธเจ้า(กษัตริย์ ต่างๆ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) จะช่วยสงเคราะห์ ให้สำเร็จลุล่วง สมความปรารถนา พวกข้าพระพุทธเจ้า จะใช้ให้ พระวิศณุกรรมเทพ(นายกพระยาศรีจง) ไปเอาลูกแก้ว อันมีในภูเขาเวลุบรรพต(ภูเขา ในดินแดน อาณาจักรหงสาวดี) มาถวาย แก่ พระผู้เป็นเจ้า

       ครั้นสมเด็จพระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) กราบไหว้ พระมหานาคเสนเจ้า แล้ว พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) จึงตรัสแก่ พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) ว่า ดูกร เจ้าวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) เจ้าจงเดินทางไปเอาแก้วลูกประเสริฐ อันมีอยู่ใน ภูเขาเวลุบรรพต นั้น มาโดยเร็วเถิด เราจะเอามาถวายแด่ พระมหานาคเสนเจ้า ท่านจะได้นำไปสร้างเป็น พระพุทธรูป(พระพุทธรูป พระมหาธรรมรักขิตเถระ) ไว้ให้เป็นที่นมัสการบูชาแก่มนุษย์ และเทพา ในอนาคต ต่อไป

      เมื่อนั้น พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) ได้กราบทูล พระอินทราธิราชเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ว่า ข้าแต่พระอินทร์เจ้า การที่พระอินทร์เจ้า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ข้าพระพุทธเจ้า ไปเอา แก้วลูกประเสริฐ ณ ภูเขาเวลุบรรพต นั้น พื้นที่ดังกล่าว มีพวกกุมภัณฑ์ คนธรรพ์ยักษ์ อารักษ์เทพยดาทั้งปวง(กองทัพ ของ อาณาจักรหงสาวดี) ที่พวกเขาอยู่รักษา ก้อนแก้วประเสริฐ ไว้นั้น มีจำนวนมาก จะให้แต่ข้าพระพุทธเจ้า(นายกพระยาศรีจง) เดินทางไปคนเดียวนั้น เห็นพวกเขาจะไม่ให้ ข้าพระพุทธเจ้า จึงขอเชิญ สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) จงเสด็จไปด้วยกับ ข้าพระพุทธเจ้า ด้วยเถิด เพราะพวกคนธรรพ์ยักษ์ ทั้งปวง(กองทัพชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี) ครั้นพวกเขาพบเห็น สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) แล้ว พวกเขาจะยอมให้ลูกแก้วอันประเสริฐ ถวายแด่ สมเด็จพระราชบพิตรเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) นั้นแล

       เมื่อ สมเด็จพระอินทรา(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ทรงรับฟังคำกราบทูล ของ พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) นั้นแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปยัง ภูเขาเวลุบรรพต(ณ ดินแดนของ อาณาจักรหงสาวดี) พร้อมกับ พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) ตามที่ได้เสนอต่อ สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ทั้งสองพระองค์ ได้พบกับ คนธรรพ์กุมภัณฑ์(กองทัพ ชนชาติมอญ อาณาจักรหงสาวดี) ทั้งปวง ซึ่งอยู่ที่ ภูเขาเวลุบรรพต จำนวนมาก สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ได้ตรัสแก่ พวกกุมภัณฑ์คนธรรพ์ยักษ์(กองทัพ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี) ทั้งปวงว่า พวกเราเสด็จมาสู่ ภูเขาเวลุบรรพต นั้น ด้วยต้องการจะมาขอเอา ลูกแก้วลูกประเสริฐ เพื่อนำไปถวายแก่ พระมหานาคเสนเจ้า เพราะท่าน มีความปรารถนา จะนำไปสร้างแปลงเป็น พระพุทธรูปเจ้า แลท่านทั้งปวง จงให้แก้วลูกประเสริฐ แก่ พวกเราเถิด

      เมื่อนั้น บรรดา กุมภัณฑ์คนธรรพ์ยักษ์ ทั้งปวง จึงกราบทูลสมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ว่า ข้าแต่พระอินทร์เจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) อันแก้วลูกประเสริฐ ซึ่งพวกข้าพระพุทธเจ้า ทั้งปวง รักษาไว้นี้ มิใช่แก้วสิ่งอื่นสิ่งใดเลย มันคือ แก้วมณีโชติ อันเป็นของ พระบรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า(พระเจ้านันทเสน ราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี) โดยมีแก้วทั้งหลายเป็นพันลูก เป็นบริวารล้อมอยู่ หากว่า ข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จะถวายแก้วลูกนี้ แก่ สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) นั้น ครั้น บรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า(พระเจ้านันทเสน) เกิดมาแต่ข้างหน้านั้น ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งปวงก็ไม่สามารถหาลูกแก้วอันประเสริฐ ถวายพระองค์(ราชวงศ์มอญ) ท่านได้ อนึ่ง แก้วมณีโชติ ลูกนี้ ก็มีอิทธิเลิศมหิทธิศักดานุภาพนุภาพ นักหนา ถ้าสำแดงฤทธิ์เสด็จที่ใด จักทำให้คนทั้งปวง จักมีความสงสัยว่า พระยาจักรพรรดิราชาธิราช เจ้าของตนอันประเสริฐที่เกิดมาในที่นั้น ไม่รักษาสมบัติ ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งปวง จึงไม่อาจที่จะถวายแก้วมณีโชติ แก่ สมเด็จพระอินทราธิราชเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ได้

       แต่พวกข้าพระพุทธเจ้า จะถวาย แก้วมรกต ลูกหนึ่ง อันมีรัศมีอันเขียวงามบริสุทธิ์ แด่ องค์สมเด็จพระอินทราธิราชเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) นั้นแล ส่วนแก้วมณีโชติ ลูกนั้น ข้าพระพุทธเจ้า ทั้งปวง ยังไม่สามารถถวายได้ ขอองค์สมเด็จพระอินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) จงรับเอา แก้วมรกต ลูกนี้ ซึ่งมีแก้วลูกประเสริฐ เป็นบริวาร พันลูก ล้อมเป็นบริวาร อยู่ถัดกำแพง อันล้อมแก้วมณีโชติ ลูกนั้น เช่นกัน

      เมื่อนั้น ครั้น สมเด็จพระอมรินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ได้ทรงรับฟังอันถ้อยคำ(ของ คณะราชทูต) คำกราบทูล ของ พวกกุมภัณฑ์คนธรรพ์ยักษ์ ทั้งปวง(แห่ง อาณาจักรหงสาวดี) เมื่อได้รับฟังคำกราบทูลแล้ว พระองค์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ก็นำเอา พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) เสด็จไปยัง ณ สถานที่ มีแก้วมรกต นั้นแล พระองค์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ก็ได้รับคำตอบให้ แก้วมรกต นั้นแล้ว สมเด็จพระอมรินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ก็รับสั่งให้ พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) รีบเสด็จไปยัง ภูเขาเวลุบรรพต เพื่อนำเอา แก้วมรกตลูกประเสริฐ นั้น ไปยัง วัดอโศการาม(วัดพระยันตระ แคว้นจันทบูรณ์) พร้อมกับถวาย ก้อนแก้วมรกต แด่ พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) แล้ว สมเด็จพระอมรินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) ก็เสด็จกลับคืน เมืองสวรรค์(ราชธานี กรุงอู่ทอง-ราชบุรี) อันเป็นที่ประทับ ของ สมเด็จพระอมรินทราเจ้า(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) นั้นแล

       ครั้น พระมหานาคเสนเจ้า เมื่อได้รับ แก้วมรกต ลูกนั้นแล้ว ก็มีความยินดี เป็นที่สุด ท่านจึงรำลึกในใจว่า เราจะได้บุคคลผู้ใดที่มีปัญญาอันฉลาด มาเป็นผู้สร้างแปลง ก้อนแก้วมรกต ให้เป็น พระพุทธรูปเจ้า ให้สำเร็จดังปรารถนา เมื่อนั้น พระวิศณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) ผู้ฉลาด เมื่อรู้อัธยาศัยน้ำใจแห่ง พระมหานาคเสนเจ้า แล้ว พระวิศณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) จึงจำแลงแปลงกายเป็น มนุษย์คนหนึ่ง เข้ามากราบไหว้ พระนาคเสนเจ้า แล้วกราบทูล ว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ข้านี้ก็ฉลาด เคยสร้างแปลง พระพุทธรูปเจ้า ถ้าหากว่า พระผู้เป็นเจ้า(พระมหานาคเสนเจ้า) มีความปรารถนา จักสร้าง พระพุทธรูปเจ้า ด้วย แก้วมรกต ลูกนี้แล้ว ข้าพระพุทธเจ้า(พระยาศรีธรรมโศก) จักใคร่ขออาสา สร้างแปลงลูกแก้ว ให้สำเร็จ ตามความปรารถนา ของ พระผู้เป็นเจ้า ให้สำเร็จ

       เมื่อนั้น พระมหานาคเสนเจ้า ได้รับฟ้ง ถ้อยคำ ของ พระวิศณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) อันจำแลงแปลงเป็นมนุษย์(พระยาศรีธรรมโศก) มาบอกแก่ตนนั้นแล้ว ท่านก็มีน้ำใจยินดีเป็นที่สุด พระมหานาคเสนเจ้า ก็ได้ตรัสกับ บุรุษผู้นั้น(พระยาศรีธรรมโศก) ว่า ท่านเคยฉลาด เคยมีประสบการณ์สร้างแปลงมาอย่างนั้น ท่านจงสร้างแปลง พระพุทธรูปเจ้า(พระพุทธรูปจำลอง พระมหาธรรมรักขิตเถระ) ด้วยแก้วมรกต ลูกนี้ด้วยเถิด เพื่อให้ มนุษย์ และเทพบุตร ทั้งปวง ใช้เป็นที่นมัสการ ในอนาคต ด้วยเถิด

       เมื่อนั้น พระวิศณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) ซึ่งได้จำแลงแปลงกายเป็นบุรุษ(พระยาศรีธรรมโศก) นั้น ครั้นได้รับฟัง พระมหานาคเสน บอกแก่ตน เช่นนั้นแล้ว พระวิษณุกรรมเทพบุตร ก็สร้างแปลง ก้อนแก้วมรกต เป็น พระพุทธรูปเจ้า นานได้ ๗ วัน(ณ แคว้นจันทบูรณ์ อาณาจักรคามลังกาใต้) จึงสำเร็จการ แล้ว พระวิศณุกรรม(นายกพระยาศรีจง) จึงได้นิมิต สร้างมหาวิหารใหญ่(ณ แคว้นจันทบูรณ์ อาณาจักรคามลังกาใต้) แล้วให้ประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆ ทั้งปวง มีแก้วเป็นประธาน ให้ทั่วไปใน วัดอโศการาม(วัดพระยันตระ) นั้นแล้ว พระวิษณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) ก็เสด็จไปสู่ สวรรค์เทวโลก อันเป็นที่อยู่แห่งตน(แคว้นศรีโพธิ์-ไชยา) นั้นแล

      เมื่อนั้น พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) พระพรหม(จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์) และ เทพเทวดา นาค ครุฑ มนุษย์ กุมภัณฑ์ ทั้งปวง ครั้นได้ทราบว่า พระวิศณุกรรมเทพบุตร(พระยาศรีธรรมโศก) ได้สร้างแปลง พระแก้วเจ้า ให้แก่ พระมหานาคเสนเจ้า แล้ว ก็มีความชื่นชมโสมนัส ทุกพระองค์ ทุกตน แล้ว ก็ร่วมกัน นำสิ่งของอันควรบูชาทั้งปวง มีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นประธาน ก็พากันเข้ามานมัสการบูชา พระแก้วเจ้า(ณ เมืองจันทบูรณ์ แคว้นคามลังกาใต้) เป็นจำนวนมาก แม้ว่า พระอรหันต์ สาวกเจ้า ทั้งปวง ก็ได้ร้อยโกฏิพระองค์ อันอยู่ในชมพูทวีป ทั้ง ๔ ทิศ ๘ ทิศ โดยมี พระมหานาคเสนเจ้า เป็นประธาน ล้วนได้เข้ามาร่วมนมัสการ พระแก้วเจ้า ทั้งสิ้น แม่แต่ ท้าวพระยามหากษัตริย์ แลอำมาตย์ราชมนตรี ทั้งปวง อันอยู่แต่ประเทศราช ทั้ง ๔ ทิศ ๘ ทิศ ก็พากันเข้ามาถวายนมัสการ พระแก้วเจ้า ทั้งสิ้น ซึ่งพระแก้วเจ้า พระองค์นั้น อันหาจิตวิญญาณ มิได้(ว่าเป็นชองผู้ใด) ก็ได้กระทำปาฏิหาริย์ เปล่งแสงฉัพพรรณรังสี ต่างๆ ออกมามากนักหนา หาที่จะเปรียบมิได้

      เมื่อนั้น พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) พระพรหม(จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์) กับทั้งหมู่เทพยดา นาค ครุฑ กุมภัณฑ์ ทั้งปวง และ พระอรหันเจ้า ทั้งปวง ครั้นได้พบเห็น ความอัศจรรย์ นั้นแล้ว ก็มีน้ำใจยินดี ซึ่งอานุภาพ ของ พระแก้วเจ้า นั้น เป็นที่สุด จึงพร้อมกันไปร่วมกันสาธุการ มากนักหนา แล้วก็สมเสพด้วย ดุริยดนตรีทิพย์ ต่างๆ นั้นแล

      เมื่อนั้น พระมหานาคเสนเจ้า จึงนำ พระบรมธาตุเจ้า ๗ พระองค์(มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน) อันงามบริสุทธิ์ และมีฉัพพรรณรังสีต่างๆ กัน อันเป็นของ พระอินทร์(มหาจักรพรรดิ) พระพรหม(จักรพรรดิ) และ เทพยดา ทั้งปวง ซึ่งได้รักษา พระบรมธาตุเจ้ามานานแล้ว พระมหานาคเสนเจ้า จึงให้ตั้งพานเงิน ๗ พาน แล้วจึงตั้งสุวรรณพานทอง ๗ พาน ซ้อนกันขึ้นแล้ว ยังตั้งพานแก้ว ขึ้นอีก ๗ พาน ซ้อนกันขึ้นบนพานเงิน พานทอง นั้น แล้วเชิญพระบรมธาตุเจ้า ๗ องค์(อัฐิธาตุ ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ๗ พระองค์) ใส่ลงในผอบแก้ว ลูกหนึ่ง อันวิจิตรงามมากนัก ด้วยฤทธิ์แห่งตนแล้ว จึงยกผอบแก้ว ขึ้นประดิษฐาน ไว้บนพานเงิน พานทอง และ พานแก้ว นั้น  เมื่อนั้น พระอรหันต์เจ้า ทั้งปวง โดยมี พระมหานาคเสน เป็นประธาน กับ พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) พระพรหม(จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์) และ หมู่เทพยดา และ คนทั้งปวง ก็มีความชื่นชม โสมนัส หาที่สุดมิได้ ก็พร้อมกัน ถวายนมัสการ บูชาด้วย สุคนธรส ทั้งปวง มีดอกไม้เป็นประธานแล้ว ได้ร่วมกันสรรเสริญยกยอ คุณพระแก้วเจ้า(พระมหาธรรมรักขิตเถระ) พร้อมกัน เป็นที่สุด จึงเทพดาเจ้าทั้งปวง ก็หว่านลงยัง ดอกไม้ทิพย์ถวายบูชาแล้ว ก็สรงยัง พระบรมชินธาตุเจ้า(พระบรมธาตุ ของ มหาจักรพรรดิ ๗ พระองค์ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน) ๗ พระองค์ ด้วยน้ำสุคนธรสอันหอมนัก ในผอบแก้ว นั้นแล้ว จึงพระบรมธาตุ ๗ พระองค์นั้น ก็กระทำปาฏิหาริย์ เปล่งพระรัศมี ๖ ประการ ให้รุ่งเรืองสว่างไปทั้ง ๔ ทิศ ทั้ง ๘ ทิศ ก็ให้รุ่งขึ้นทั่วพื้นอากาศเวหา ทั้งมวล นั้นแล

       เมื่อนั้น พระมหานาคเสนเจ้า จึงตั้งสัตยาธิษฐาน ขอ อาราธนาเชิญ ดวงวิญญาณ ซึ่งสถิต ณ พระบรมธาตุเจ้า ๗ พระองค์(มหาจักรพรรดิเจ้าม้าทอง , มหาจักรพรรดิท้าวทองเก , มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ , มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล , มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร , มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร , มหาจักรพรรดิขุนหลวงชัด) นั้น ให้เสด็จเข้าไปใน พระองค์พระแก้วเจ้า นั้นแล  

       เมื่อนั้น พระบรมธาตุ ๗ พระองค์ นั้น พระองค์หนึ่ง ก็เสด็จเข้าไปในโมฬี พระองค์หนึ่ง เสด็จเข้าในพระพักตร์ พระองค์หนึ่ง ก็เสด็จเข้าไปในพระหัตถ์กำขวา พระองค์หนึ่ง ก็เสด็จเข้าไปในพระหัตถ์กำซ้าย พระองค์หนึ่ง เสด็จเข้าไปในเข่าข้างขวา พระองค์หนึ่ง ก็เสด็จเข้าไปในเข่าข้างซ้าย พระองค์หนึ่ง ก็เสด็จเข้าไปในพระชงฆ์ แห่ง พระแก้วเจ้า สิ้นทั้ง ๗ พระองค์ นั้นแล

       เมื่อนั้น พระแก้วเจ้า ก็กระทำปาฏิหาริย์ ยกขึ้นยังฝ่าพระบาทกำขวา ดุจดังจะเสด็จ ลงจากแท่นบัลลังก์ทอง นั้น เมื่อนั้น พระอินทร์(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) พระพรหม(จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์) เทพยดา และคนทั้งปวง เห็นเป็นที่น่าอัศจรรย์ นักหนา ก็ร้องป่าวกันให้ซ้องสาธุการ เป็นอันมากแล้ว ก็ถวายบูชา ด้วยแก้ว และเงินคำ ผ้าผ่อน เครื่องอาบอบ แก่ พระแก้วเจ้า เป็นอันมาก นั้นแล

       เมื่อนั้น พระมหานาคเสนเจ้า ครั้นท่านได้เห็นอัศจรรย์ ดังนั้นแล้ว ท่านจึงเล็งอรหัตมรรคญาณ ไปแต่ข้างหน้า จึงเห็นว่า พระแก้วเจ้า นี้ จะไม่ได้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร(ราชธานี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) เป็นมั่นคง ท่านจึงทำนายไว้ว่า ดูกรท่านทั้งปวง พระแก้วเจ้า ของเรา องค์นี้ มิใช่จะอยู่ที่ เมืองปาตลีบุตร(ราชธานี) ที่นี่(เมืองอู่ทอง-ราชบุรี) เป็นมั่นคง ท่านจะเสด็จไปโปรดสัตว์ ในดินแดน อาณาจักรต่างๆ ๕ แห่ง คือ ลังกาทวีป เป็น กัมโพชวิสัย แห่ง ๑(อาณาจักรคามลังกา) ศรีอยุธยาวิสัย แห่ง ๑(อาณาจักรละโว้) โยนกวิสัย แห่ง ๑(อาณาจักรยวนโยนก) สุวรรณภูมิวิสัย แห่ง ๑(อาณาจักรโพธิ์หลวง-อ้ายลาว) ปมหลวิสัย แห่ง ๑(กรุงเทพฯ) รวมเข้าเป็น ๕ แห่ง นั้นแล...

 

พระมหานาคเสน บิดา แห่ง ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย

      เนื่องจาก คำกลอนบวงสรวง ในพิธีไหว้ครู สมุดดำ สมุดขาว ที่มีการบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย มีความเชื่อกันว่า ตาผ้าขาวเถระรอด นั้น เป็นพระบิดา แห่ง ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ตาผ้าขาวรอด เคยมีอดีตชาติเป็น ท้าวกู จักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งเคยทำสงคราม ขับไล่ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เข้ามาแย่งยึดดินแดนสุวรรณภูมิ จนสำเร็จ ท้าวกู ได้ต่อสู้กับ ท้าวหมึง จนสามารถรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นปึกแผ่น และนำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนา ประจำชาติ ของ ชนชาติไทย ต่อมา ท้าวกู ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช ให้ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น ปฐมมหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน

      เมื่อ ท้าวกู เสด็จสวรรคต แล้ว เชื่อกันว่า สมัยต่อมา ดวงวิญญาณ ของ ท้าวกู ได้มาประสูติมาในภพชาติใหม่ เป็น พระนาคเสนเจ้า เคยเป็นพระอาจารย์ ของ พระยามิลินทราช อินเดีย ก่อนที่จะมาเป็น ประธานสภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้เสนอให้ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) สร้างศกศักราช ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๖๒๓ และมีการสร้างศิลาจารึกต่างๆ ขึ้นมาบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย จนกระทั่ง พระนาคเสนเจ้า ไดเสด็จสวรรคต เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๖๘ ต่อมาดวงวิญญาณ ของ พระนาคเสน ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ มาเป็น มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม(ขุนเทียน) ผู้ก่อตั้ง ราชวงศ์ไศเลนทร์ และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกภพชาติหนึ่ง

      มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม(ขุนเทียน) เป็นผู้ให้ตั้งหอจดหมายเหตุ บันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย มาอย่างต่อเนื่อง มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม เป็นผู้ให้กำเนิด สมุดไทย ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช เมื่อสวรรคต ดวงวิญญาณ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น ตาผ้าขาวเถระรอด

       ตาผ้าขาวเถระรอด เคยออกผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นพระเถระ เป็นศิษย์ของ พระมหาธรรมรักขิตเถระ พระสังฆราช และ ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัยที่ดินแดนสุวรรณภูมิ มีวัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง ต่อมา พระเถระรอด ได้ลาสิกขา มาเป็นพระอาจารย์สอนวิชาการทหาร เรียกชื่อว่า พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด จนกระทั่งต่อมา พระมหาธรรมรักขิตเถระเจ้า เสด็จนิพพาน เป็นเหตุให้ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ต้องออกผนวช อีกครั้งหนึ่ง มีนามว่า พระมหานาคเสนเจ้า เป็น สมเด็จพระสังฆราช และ ประธานสภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่รัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ต่อมา ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) พระมหานาคเสนเจ้า ได้ร่วมกับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้สร้าง พระพุทธรูปพระแก้วมรกต ตามที่กล่าวมาแล้ว

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง นั้น พระมหานาคเสนเจ้า ได้ผลักดันให้มีการสร้างเทวรูปต่างๆ เพื่ออธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า ศิลปะสมัยทวาราวดี แท้จริงแล้ว เป็นเรื่องราวที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มีอำนาจ ทั้งสิ้น บุคคลสำคัญ ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างเทวรูปต่างๆ คือ นายกพระยาศรีจง(พระวิษณุกรรม) และ พระยาศรีธรรมโศก(พระวิษณุกรรมเทพบุตร) นั่นเอง พระมหานาคเสนเจ้า เป็นผู้ผลักดัน ให้ทำการสร้างพงศาวดาร ต่างๆ เช่น พงศาวดารวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก พงศาวดารไทยพวน พงศาวดารพระนางจามเทวี เป็นภาษาขอมไทย เป็นต้น ในพิธีกรรมไหว้ครู สมุดดำ สมุดขาว ในท้องที่ภาคใต้ จึงยึดถือกันว่า พระมหานาคเสนเจ้า หรือ ตาผ้าขาวเถระรอด เป็นพระบิดา แห่ง ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย มาอย่างยาวนาน    

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างวัด สร้างเมือง ร้อยเอ็ด-เจ็ด เมือง  

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น พระองค์มีความปรารถนา ที่จะสร้าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ให้เป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา ที่แท้จริง เพื่อแก้ปัญหา โลภะ โทสะ โมหะ ของเชื้อสายราชวงศ์ และการไม่ปฏิบัติตามศีลห้าข้อ ทำให้ผู้ปกครอง ผู้ต้องการอำนาจ จงใจใช้ วัฒนธรรมตอแหล ใช้ประชาชน เป็นกระบอกเสียง ช่วยกันแพร่หลายข่าวเท็จ เพื่อทำลายอำนาจอีกฝ่ายหนึ่ง ไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ ชนชาติอ้ายไต เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคี กันอย่างรุนแรง

ก่อนหน้านี้ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้พยายามใช้พระพุทธศาสนา มาทำการเคลื่อนไวสั่งสอนประชาชน อย่างจริงจัง ถึงขั้นเปลี่ยนชื่อ ราชธานี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เป็นชื่อใหม่ว่า กรุงศรีพุทธิ มาก่อนแล้ว แต่ยังไม่มีผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้วัฒนธรรมตอแหล มากคนหนึ่ง เพราะถูกสร้างข่าวใส่ความจาก พระนางอุษา ว่า เป็นผู้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ผู้เป็นพระราชบิดา มาก่อนหน้านี้ อย่างรุนแรง มาแล้ว

ดังนั้น ภายหลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ณ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) นั้น ได้มีการประชุม สภาโพธิ สภาตาขุน สภาเจ้าตาขุน และ สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ขึ้นเป็นครั้งแรก จึงมีการเสนอเรื่องการสร้าง พระแก้วมรกต และมีการเสนอให้มีการสร้างวัด และสร้างเมืองใหม่ ร้อยเอ็ดเจ็ดเมือง ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อสร้างความสามัคคี คัดค้านวัฒนธรรมตอแหล ขึ้นมาในหมู่ชนชาติอ้ายไต เป็นการฟื้นฟูประเทศชาติ ภายหลังสงครามต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในดินแดนสุวรรณภูมิ

ในขณะที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ยกกองทัพไปตั้งอยู่ที่ แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) นั้น มีการเจรจาทางการทูต เพื่อขอก้อนแก้วมรกต จาก พระเจ้านันทเสน แห่ง อาณาจักรหงสาวดี เพื่อการสร้าง พระแก้วมรกต นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ทดลองสร้างเมืองตัวอย่างขึ้น ๒ เมือง โดยการวางผังเมือง อย่างรอบคอบ เป็นการสร้างเมืองตัวอย่าง และ เส้นทางคมนาคม ให้กับ แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) คือ เมืองอู่ทอง และ เมืองสุพรรณ โดยมีการสร้างวัด ขึ้นมาเป็นศูนย์กลางของชุมชุน ด้วย

สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง มีมติให้สร้างวัด ให้เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในแต่ละชุมชุน เพื่อทำลายวัฒนธรรมตอแหล วัดจึงเป็นสถานที่ศึกษาทั้งทางพุทธศาสนา การศึกษาการอาชีพ ฝึกการก่อสร้าง การตีเหล็ก การทอผ้า การเพาะพืชทางการเกษตร การทดลองทางวิทยาศาสตร์ และโหราศาสตร์ การฝึกวิชาการทหาร วัดกลายเป็นสถานที่อบรมบ่มเพาะ ประชาชนในชมชนที่มารวมตัวกันทุกวันพระ เป็นศูนย์กลางการค้าขาย ของ ชุมชุน วัดเป็นสถานที่ผลิตยารักษาโรค วัดเป็นโรงพยาบาล วัดยังเป็นสถานที่ตัดสินคดีความที่เกิดความขัดแย้งในชุมชุน วัดเป็นสถานที่พักแรม ของ ประชาชน ที่เดินทางระหว่างเมือง วัดเป็นที่พักทัพของทหาร และเป็นที่รวบรวมเสบียงกรัง สนับสนุนทหาร ในการทำสงคราม กับ ข้าศึก วัดยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า วัดจึงเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ของ ชุมชุน ตามที่ประชาชนในชุมชุน ร่วมกันประชุม มีมติให้สร้างขึ้น ตามที่มีการเรียกร้องต้องการ  

หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้สร้าง เมืองอู่ทอง และ เมืองสุพรรณ ขึ้นมาสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ทดลองสร้างตำแหน่ง ข้าหลวง มาใช้แทนตำแหน่ง เจ้าเมือง หรือ ราชา ในการปกครอง เมืองทั้งสอง เป็นครั้งแรก โดยที่ ข้าหลวง สามารถโอนย้าย ถอดถอนออกจากตำแหน่งง่ายกว่า ตำแหน่ง ราชา หรือ เจ้าเมือง ซึ่งสืบทอดโดยสายราชวงศ์ ซึ่งบางเมือง ไม่ยอมพัฒนาขีดความสามารถ และแย่งชิงอำนาจ ระหว่างเชื้อสายราชวงศ์ด้วยกัน บ่อยครั้ง ผลของการทดลอง สร้างเมือง ขึ้นมา ๒ เมือง ครั้งนั้น ได้ส่งผลต่อการ สร้างเมือง และ สร้างวัด ร้อยเอ็ดเจ็ดเมือง ในเวลาต่อมา

ภายหลังจากพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ อัญเชิญดวงวิญญาณ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ๗ พระองค์ ซึ่งสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มาสิงสถิต ในองค์ พระพุทธรูป พระแก้วมรกต ณ ราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) นั้น ได้มีการประชุม สภามนตรี เพื่อวางแผนสร้างเมือง สร้างวัด ร้อยเอ็ด-เจ็ด เมือง มีมติต่างๆ โดยสรุปที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ประการแรก ให้สร้างวัด ขึ้นมาในเมืองเก่า ที่ยังไม่มีการสร้างวัด ให้ครบถ้วนทุกมุมเมือง ประการที่สอง ให้สร้างเมืองใหม่ พร้อมกับการสร้างวัด ขึ้นมาในดินแดนที่ ชนชาติมอญ ขยายอิทธิพล เข้าครอบครอง เช่นในดินแดน อีสานเหนือ ดินแดน อาณาจักรทวาย ดินแดนอาณาจักรหงสาวดี และ ดินแดน อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) เพื่อลดอิทธิพล ของ ชนชาติมอญ พร้อมกับนำ ชนชาติอ้ายไต อพยพเข้าครอบครองดินแดน แทนที่ มีการแยกแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนอีสานเหนือ มาสร้างอาณาจักรนาคดิน ขึ้นใหม่ เรียกชื่อว่า อาณาจักรศรีโคตรบูร(นาคดิน) และ ประการที่สาม ให้ปรับปรุงเส้นทางคมนาคม เส้นเก่า และสร้างเส้นทางคมนาคม เส้นใหม่ ให้การเดินทางระหว่างเมือง ง่ายสะดวกรวดเร็ว ขึ้น โดยให้ปลูกต้นไม้ที่กินได้ ๒ ข้างทาง เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหารให้กับนักเดินทาง และทหาร ในการเดินทัพ มติดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้สร้าง ถนนท้าวอู่ทอง ให้เป็นแบบอย่างขึ้นที่ ราชธานี กรุงอู่ทอง และหลังจาก มติของ สภามนตรี ครั้งนั้น แล้ว ปฏิบัติการ สร้างเมือง สร้างวัด ร้อยเอ็ด-เจ็ด เมือง จึงเกิดขึ้น   

 มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ยังได้ประกาศเปลี่ยน ธงชาติ ประจำสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง โดยใช้ธงผ้าพระสีย้อมหมาก ปลายธง ตัดผ้าเป็นรูปสามเหลี่ยม ๓ รูป หมายถึงพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า รัฐของชนชาติอ้ายไต เป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา เป็นการสร้างชาติพันธ์ของชนชาติต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ให้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน อีกด้วย 

ในรัชกาลนี้ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ของ ชนชาติอ้ายไต ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมี พระมหานาคเสนเจ้า เป็น ประธานสภาโพธิ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในการนำพระพุทธศาสนา เผยแพร่ โดยการสร้างวัด ขึ้นครั้งใหญ่ ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ จนเป็นที่มาของคำว่า ภายใต้บรมโพธิสมพาน มีการสร้าง พระมหาธาตุปะถมเจดีย์(นครปฐม) พระธาตุพนม(นครพนม) ประกาศตั้ง จุลศักราช มีการเปลี่ยนชื่อ แคว้นกุรุนทะ(อยุธยา) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นโยธิกา และเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอโยธยา(อยุธยา) ในรัชกาลนี้ ด้วย

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างวัดดอนยายหอม

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เริ่มสำนึกบาปที่เป็นผู้ สำเร็จโทษ ประหารชีวิต พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงดูพระองค์จนเติบใหญ่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ระลึกถึงความหลังของชีวิต ในวัยทรงพระเยาว์ ที่ยังจำได้ดี ตั้งแต่ที่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) นำพระองค์ ไปประทับเลี้ยงดูที่ เมืองอู่ทอง และ ดอนยายหอม เมืองนครปฐม ในปัจจุบัน เพื่อเดินทางต่อไปยังปากแม่น้ำท่าจีน เพื่อนำเจ้าชายพาน ไปฝากเป็นบุตรบุญธรรม ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เป็นผู้เลี้ยงดู แทนที่

ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เสด็จไปยังท้องที่ ดอนยายหอม ดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงได้บริจาคทรัพย์ ส่วนพระองค์ ให้สร้างวัดขึ้นมา ณ ดอนยายหอม เรียกว่า วัดดอนยายหอม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ผู้เป็นพระราชมารดาบุญธรรม ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย

ภายหลังการสร้าง วัดดอนยายหอม มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เสด็จไปยัง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี ของ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง รับสั่งให้ใช้พื้นที่สวนยายหอม และพื้นที่ทางทิศตะวันออก ของ เกาะภูเขาคันธุลี สร้างสวนผลไม้สาธารณะ ขึ้นมาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม)

นอกจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ยังทำการส่งเสริมประชาชนให้นำพันธุ์ข้าว ของแม่ยายหอม ซึ่งเรียกว่า ข้าวหอม ประเภทต่างๆ ไปปลูก ข้าวหอม ตามแว่นแคว้นต่างๆ ทั่วดินแดน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ  พันธุ์ ข้าวหอม ดังกล่าว จึงแพร่หลาย กลายเป็นพันธ์ ข้าวหอม ชนิดต่างๆ รวมทั้ง ข้าวหอมมะลิ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระยาศรีทรัพย์ สร้างพระมหาธาตุปะถมเจดีย์ ปี พ.ศ.๑๑๗๑

ตำนานท้องที่คันธุลี กล่าวถึง ตำนานการสร้างพระมหาธาตุปฐมเจดีย์ โดยย้อนรอยกล่าวถึงการกำเนิด ข้าวหลาม และ เมืองเพลา ร่องรอยโบราณวัตถุที่เป็นอิฐโบราณ บริเวณภูเขาเพลา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และความเป็นมาของการกำเนิด เมืองปะถม(นครปฐม) สรุปความว่า เจ้าชายศรีทรัพย์ ในวัยทรงพระเยาว์ ประชาชนเรียกพระนามว่า ขุนศรีทรัพย์ เป็น พระราชโอรสของ นายกพระยาศรีจง(พระวิษณุกรรม) กับ พระนางสุรณี มีพระราชวังประทับอยู่ที่ ภูเขาจอศรี ท้องที่ บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

ในวัยทรงพระเยาว์ ขุนศรีทรัพย์ ได้เคยไปสร้าง เมืองเพลา บริเวณภูเขาเพลา ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างจุดต่อ ระหว่าง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) กับ ภูเขาพระนารายณ์ เมืองกาเพ้อ(กะเปอร์-ระนอง) แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) มาก่อน แต่ ขุนศรีทรัพย์ ยังสร้างเมืองเพลา ไม่สำเร็จ เพราะเกิดสงครามกันตาพาน ต่อมาเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ และ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้สร้างวัดดอนยายหอม ขึ้นมาในท้องที่ เมืองนครปฐม ในปัจจุบัน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง โปรดเกล้าให้ ขุนศรีทรัพย์ เดินทางไปสร้าง เมืองปะถม(นครปฐม) แทนที่ ทำให้ เมืองเพลา ของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) จึงถูกทิ้งร้าง ตั้งแต่นั้นมา

ตำนานท้องที่คันธุลี เล่าตำนานเรื่องราวของความเป็นมาของการกำเนิด ข้าวหลาม อาหารชนิดหนึ่งของ ชนชาติไทยว่า ขุนศรีทรัพย์ ได้พบรักกับ เจ้าหญิงนวลจันทร์(พระพี่นาง ของ พระนางจันทร์เทวี) ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ของ พระยาโยธิกา ณ แคว้นศรีพุทธิ ต่อมา เจ้าหญิงนวลจันทร์ ได้เป็นผู้ช่วยคิดค้นคว้าการคิดประดิษฐ์ ข้าวหลาม ให้กับ ขุนศรีทรัพย์ ใช้เป็นเสบียงอาหาร ในการเดินทัพ ตั้งแต่สมัยที่เกิดสงครามพระยากง-พระยาพาน ขณะที่ ขุนศรีทรัพย์ ประทับอยู่ที่ เมืองคลองหิต แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) การคิดประดิษฐ์ข้าวหลาม ขึ้นมาครั้งนั้น ทำให้ พระยาศรีทรัพย์  มีความสนิทสนมกับ เจ้าหญิงนวลจันทร์ ผู้เป็นพระพี่นาง ของ พระนางจันทร์เทวี ซึ่งถูกนำมาฝากฝัง หม่อมจอมศรี(พระนางสุรณี) ให้เป็นผู้เลี้ยงดู จนกระทั่ง ขุนศรีทรัพย์ ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงนวลจันทร์ ในเวลาต่อมา

ขุนศรีทรัพย์ ได้ออกไปสร้าง เมืองเพลา ในปีที่อภิเษกสมรส แต่ยังสร้างไม่เสร็จ เพราะในปีถัดมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้ ขุนศรีทรัพย์ เดินทางไปสร้าง เมืองปะถม เมืองหนึ่ง ของ แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี) หม่อมหญิงนวลจันทร์ จึงได้นำ ข้าวหลาม ไปเผยแพร่ ยังเมืองปะถม จนกระทั่ง ได้รับความนิยม แพร่หลาย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ ขุนศรีทรัพย์ สร้างเมืองปะถม(นครปฐม) สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ขุนศรีทรัพย์ มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ที่จะต้องทรงออกผนวช ตามราชประเพณี ขุนศรีทรัพย์ จึงต้องเดินทางไปบวชเรียน ที่ วัดประคู่ และ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) อีกทั้งยังได้เดินทางไปศึกษาต่อเพิ่มเติม ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย อีกด้วย หม่อมหญิงนวลจันทร์ จึงเป็นเจ้าเมือง ผู้ปกครองเมืองปะถม ชั่วคราว จนกระทั่ง ขุนศรีทรัพย์ จบการศึกษาทางด้านวิศวกรรม จากมหาวิทยาลัยนาลันทา จึงเดินทางกลับมาปกครองเมืองปะถม อีกครั้งหนึ่ง มีตำแหน่งเป็น พระยาศรีทรัพย์ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงรับสั่งให้ พระยาศรีทรัพย์ สร้างพระมหาธาตุพระปะถมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุ พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า

ความเป็นมาก่อนที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จะรับสั่งให้ พระยาศรีทรัพย์ สร้างพระมหาธาตุพระปะถมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุ พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า นั้น พระนางอุษา ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่ ของ อดีต มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน แห่ง ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ เป็นผู้เก็บรักษาพระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ไว้ในผอบทองคำ ก่อนหน้านี้ พระมหาสารีริกธาตุ ชิ้นหนึ่ง ถูกนำไปสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์หงสาวดี สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วน พระมหาสารีริกธาตุ ส่วนที่เหลือ พระนางอุษา นำไปซ่อนเก็บรักษาไว้ในบริเวณถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง ส่วนพระนางอุษา ขณะนั้น ไปประทับอยู่กับ พระนางแพรไหม ณ แคว้นสระทิ้งพระ เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมืองพัทลุง

ก่อนที่จะมีการสร้าง พระบรมธาตุพระปะถมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุ พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า นั้น พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ได้เคยผลักดันให้ พระยาศรีธรนนท์ ราชา แห่ง แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ซึ่งเป็น พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ พระนางอุษา ทำการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เมืองศรีพุทธิ(ดอนธูป) ขึ้นในบริเวณวัดศรีราชัน แต่ พระยาศรีธรนนท์ ไม่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรม จึงสร้างพระมหาธาตุเจดีย์เมืองศรีพุทธิ ไม่สำเร็จ กลายเป็นกองอิฐ ที่ค้างคา อยู่ในบริเวณวัดศรีราชัน

ต่อมา พระนางอุษา จึงผลักดันให้ พระยาศรีธรรมโศก ซึ่งเป็นพระราชโอรส อีกพระองค์หนึ่ง ของ พระนางอุษา กับ นายกพระยาศรีจง ทำการสร้างพระมหาธาตุเจดีย์เมืองศรีโพธิ์ ขึ้นที่ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) แต่ พระยาศรีธรรมโศก ได้ค้นพบ พระมหาสารีริกธาตุ ซึ่งพระนางสังฆมิตร ทำผอบหล่นหายจากมวยผม โดยได้มาพบที่หาดทรายทะเลรอบ คือบริเวณ พระบรมธาตุไชยา ในปัจจุบัน พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ซึ่ง พระนางอุษา เก็บซ่อนไว้ จึงยังมิได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ ณ พระมหาธาตุเจดีย์ แห่งใด

 

                                  

 ภาพที่ ๑๒๐ ภาพ พระมหาธาตุปะถมเจดีย์(พระมหาธาตุเจดีย์นครปฐม) ซึ่ง พระยาศรีทรัพย์ เป็นผู้สร้างขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๗๑ เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ได้รับพระราชทานพระนามครั้งแรกว่า พระมหาธาตุเจดีย์จักรนารายณ์ มิได้สร้างสูงเท่านกเขาเน ตามที่กล่าวกันไว้ในตำนาน พระยากง-พระยาพาน แต่อย่างใด ในสมัยต่อมา มีการก่ออิฐ คร่อมทับ พระมหาธาตุเจดีย์ดังกล่าว อีกครั้งหนึ่ง 

 

ต่อมาเมื่อ สภามนตรี มีนโยบายสร้างวัด ขึ้นมาตามเมืองต่างๆ ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น พระนางอุษา ได้สร้าง วัดพระเกิด ขึ้นมา ณ แคว้นสระทิ้งพระ ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย พระยาศรีธรรมโศก จึงผลักดันให้ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ซึ่งเป็นพระราชมารดา ให้ส่งมอบ พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อเป็นการไถ่บาป ที่เป็นผู้ใส่ความกล่าวหาว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นผู้ฆ่า พระยากง ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้รับความเสียหาย และถูกเข้าใจผิด มาโดยตลอด พระนางอุษา จึงยินยอมปฏิบัติตามคำร้องขอ ของ พระยาศรีธรรมโศก เพื่อเป็นการไถ่บาป

เมื่อ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ถวาย พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง หารือกับ พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) ถึงสถานที่ ที่จะทำก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อบรรจุพระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า และมีข้อสรุปในเวลาต่อมาว่า ให้สร้าง ณ เมืองปะถม แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี)

ในที่สุด มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงทำการมอบหมายให้ พระยาศรีทรัพย์ เจ้าเมืองปะถม เป็นผู้สร้าง พระมหาธาตุพระปะถมเจดีย์ เพื่อใช้เป็นที่บรรจุ พระมหาสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า จนสำเร็จ โดยใช้พระราชทรัพย์ ของ พระยาจักรนารายณ์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มาเป็นกองทุนในการก่อสร้าง จึงเป็นที่มาให้มีการพระราชทานนาม พระมหาธาตุเจดีย์ ดังกล่าว เป็นทางการว่า พระมหาธาตุเจดีย์จักรนารายณ์ แต่ประชาชนนิยมเรียกชื่อว่า พระมหาธาตุปะถมเจดีย์(พระมหาธาตุเจดีย์นครปฐม) สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

สงครามกับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) พ.ศ.๑๑๗๒

ในต้นรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้พยายามประนีประนอม กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ที่เข้ามาปกครองดินแดน อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนที่จะทำสงครามกับ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เพราะเกรงจะเกิดศึกภายใน เช่นในอดีต

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้มอบให้ จักรพรรดิท้าวจันทร์บูรณ์ วางแผนส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๒ และมอบให้ มหาราชาพระยามาลา แห่ง มาลัยรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อขัดขวางมิให้ อาณาจักรโจฬะน้ำ และ อาณาจักรเวียตน้ำ ส่งกองทัพเข้าหนุนช่วย อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้มอบให้ ท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ส่งกองทัพเข้าไปหนุนช่วย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ของ ราชวงศ์คันธุลี และ มหาราชาเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าศัมภุวรมัน(ฟันพันจิ) กลับคืนด้วย

สงครามครั้งนั้น กองทัพของ จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์ ได้ร่วมกับกองทัพของ มหาราชาเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) กองทัพอาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ กองทัพจากอาณาจักรอ้ายลาว ได้ร่วมกันส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) พร้อมกัน สงครามครั้งนั้น สี่กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิพระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา สวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๒ หลังจากนั้น กองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ได้ส่งมอบดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้กับ มหาราชา แห่ง ราชวงศ์คันธุลี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เข้าครอบครอง แล้วถอนทัพกลับคืน สงครามครั้งนั้น ดินแดนสุวรรณภูมิ กลายเป็นปึกแผ่น อีกครั้งหนึ่ง แต่ มหาราชา พระยามาลา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง

การที่ มหาราชาพระยามาลา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ไม่นำกองทัพจาก อาณาจักรมาลัยรัฐ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร เพราะ พระนางอุษา เป็นผู้ยุยง ไม่ให้ปฏิบัติตามคำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง นั้น เป็นเหตุให้ เมื่อกองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถอนทัพกลับจาก อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ไม่สามารถรักษาพื้นที่ไว้ได้ พระเจ้าพันถูลิ พระราชโอรส ของ พระเจ้าศัมภุวรมัน(ฟันฟันจิ) จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ รัชกาลถัดมา

การขัดคำสั่ง ของ มหาราชาพระยามาลา ครั้งเมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๒ นั้น ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ต้องสูญเสีย อาณาจักรจามปา(เวียตนาม) ให้กับชนชาติทมิฬโจฬะ ไปครอบครอง อีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นพื้นฐานความขัดแย้ง ครั้งใหม่ ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ระหว่าง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) กับ มหาราชาพระยามาลา และ ราชวงศ์เทพนิมิต เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมา

หลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกว่า ในสมัยของ ฮ่องเต้ถังไถ้จง แห่ง ราชวงศ์ถัง บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๑ นั้น พระเจ้าศัมภุวรมัน(ฟันฟันจิ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน และต่อมาในปี พ.ศ.๑๑๗๓ พระเจ้ากันทรรปธรรม(ฟันถูลิ) แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงจามปา เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ถังไถ้จง พร้อมเครื่องราชบรรณาการ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๓ ด้วย แสดงให้เห็นว่า ปี พ.ศ.๑๑๗๓ นั้น พระเจ้าศัมภุวรมัน(ฟันฟันจิ) ได้เสด็จสวรรคต เรียบร้อยแล้ว และในปี พ.ศ.๑๑๗๓ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรจามปา กลับคืน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

เจ้าชายหะนิมิตร สร้างเมืองพ่อตาม้า(เมาะตะมะ) ปี พ.ศ.๑๑๗๓

ขุนหะนิมิตร เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) กับ พระนางวงศ์จันทร์ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระยามหาฤกษ์ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๕๗ ณ แคว้นเวียงจันทร์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เจ้าชายหะนิมิตร ได้เล่าเรียนตามราชประเพณี ระหว่างพระชนมายุ ๓-๗ พรรษา ท่ามกลางสงครามพระยากง-พระยาพาน และ สงครามกันตาพาน ณ แคว้นเวียงจันทร์ ราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว

เมื่อ เจ้าชายหะนิมิตร มีพระชนมายุได้ ๗-๑๕ พรรษา ต้องออกผนวชเป็นสามเณร ณ วัดถ้ำคูหา เป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์หลวงพ่อตาผ้าขาวเถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) และได้เข้าศึกษาเล่าเรียน ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ตามราชประเพณี จนสำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๗๒ ซึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เรียบร้อยแล้ว เป็นที่มาให้ เจ้าชายหะนิมิตร จึงได้มาฝึกบริหารราชการอยู่ที่ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อันเป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีตำแหน่งเป็น ขุนหะนิมิตร

เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๗๓ นั้น เจ้าชายหะนิมิตร มีพระชนมายุครบ ๑๖ พรรษา เจ้าชายหะนิมิตร ก็ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น ขุนหะนิมิตร ต้องออกไปสร้างเมืองใหม่ ตามราชประเพณี เป็นเหตุให้ ขุนหะนิมิตร ได้ทรงม้าพันธ์ดี นำไพร่พล ออกไปสร้างเมืองให้กับ อาณาจักรทวาย(ไกลลาศ) เรียกว่า เมืองพ่อตาม้า ซึ่งเป็นที่มา ของ ชื่อเมือง มาะตะมะ ซึ่งได้ถูกชนชาติมอญ-ทมิฬ เรียกชื่อเพี้ยน ในเวลาต่อมา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ขุนหะนิมิตร ได้ปกครองเมือง พ่อตาม้า ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) จนกระทั่งมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงต้องออกผนวชตามราชประเพณี เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๗๗ และได้เข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ แคว้นเทียนสน(ยะลา) และ มหาวิทยาลัยนาลันทา อินเดีย ตามราชประเพณี เป็นเวลาประมาณ ๔ ปี เมื่อจบการศึกษา เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๘๐ ก็ได้รับโปรดเกล้าให้มีตำแหน่ง เจ้าพระยา จึงได้ออกไปร่วมสร้าง พระธาตุพนม

 

สงครามกับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) พ.ศ.๑๑๗๔

เนื่องจาก ในปี พ.ศ.๑๑๗๓ พระเจ้ากันทัพธรรม(ฟันถูลิ) แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ส่งกองทัพใหญ่จาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เพื่อทำสงครามล้างแค้น เป็นที่มาให้ มหาราชา แห่ง ราชวงศ์คันธุลี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ได้มีพระราชสาส์นมายัง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อขอให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ

สงครามครั้งนั้น จักรพรรดิท้าวจันทร์บูรณ์ ได้ส่งกองทัพไปป้องกัน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ผลของสงคราม จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์ สวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รับสั่งให้ นายกพระยาศรีจง ส่งกองทัพ , พระยาโยธิกา และ ท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ส่งกองทัพเข้าไปหนุนช่วย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) แต่ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ร่วมกับกองทัพของ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เข้าร่วมสงคราม ด้วย จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปกป้อง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนด้วยพระองค์เอง สงครามเป็นไปอย่างยืดเยื้อประมาณ ๑ ปี

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สงครามได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๗๓-๑๑๗๔ แต่ต่อมา อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เป็นฝ่ายเสียเปรียบ เพราะมีกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เข้าช่วยเหลือ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ด้วย

ขณะเดียวกัน มีกองทัพ ของ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) จากดินแดนเกษียรสมุทร ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพมาร่วมทำสงครามรุกราน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ด้วย เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องนำกองทัพไปด้วยพระองค์เอง ไปช่วยเหลือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ให้ พระยามาลา ใช้โอกาส ดังกล่าว ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อก่อกวนมิให้ ชนชาติทมิฬโจฬะ สามารถส่งกองทัพเข้าหนุนช่วย อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นผลสำเร็จ

มหาราชาพระยามาลา แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ถูกพระนางอุษา ยุยงมิให้ ปฏิบัติตามคำสั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) และคาดการณ์ว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จะต้องสวรรคต ในสงคราม และ ท้าวมาลา ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์หยาง-โคตะมะ จะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่พระนางอุษา คาดหวัง 

เมื่อสงครามในดินแดนของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๑๑๗๔ สหราชอาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ มหาราชา แห่ง ราชวงศ์คันธุลี สวรรคต ในสงคราม กองทัพของ นายกพระยาศรีจง และ พระยาโยธิกา พ่ายแพ้สงคราม เป็นเหตุให้ พระเจ้าฟันเจนเลง แม่ทัพของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สามารถยึดครองราชย์ธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าฟันเจนเลง ได้พระราชธิดาหลายพระองค์ ของ มหาราชาแห่งอาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ไปเป็นพระชายา ทำให้เกิดการเชื่อมโยง สายราชวงศ์ ระหว่าง สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต กับ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ด้วย

ภายหลังสงครามครั้งนั้น เชื้อสายราชวงศ์มหาราชา แห่ง ราชวงศ์คันธุลี และ กองทัพของ ท้าวไชยฤทธิ์ ได้ทำสงคราม ขับไล่กองทัพต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ต้องถอยทัพกลับไปจาก แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เป็นผลสำเร็จ จึงได้ร่วมกับกองทัพของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๔ ด้วย

สงครามครั้งนั้น พระเจ้าพันถูลิ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา เสด็จสวรรคต ในสงคราม กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงครามกอบกู้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนมาได้ พร้อมกันนั้น พระเจ้าฟันเจนเลง มหาอุปราช ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ถูกจับเป็นเชลยศึก  มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มิได้สั่งให้ประหารชีวิต แต่อย่างใด เพราะ พระเจ้าฟันเจนเลง ได้ไปสมรสเกี่ยวดอง กับ สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต และ พระเจ้าฟันเจนเลง ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๗๔ เป็นต้นมา

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงโปรดเกล้าให้ พระเจ้าฟันเจนเลง เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ต่อไป สงครามครั้งนั้น ถือว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) สามารถกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืนได้ทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๗๔ เป็นต้นมา

หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงต้องรับสั่งให้ กองทัพต่างๆ ถอนทัพกลับคืนดินแดนอาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพราะทราบข่าวว่า มหาราชาพระยามาลายู แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องเรียก มหาราชาพระยามาลายู มาสอบสวน ฐานขัดขืนคำสั่ง ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากสงครามปี พ.ศ.๑๑๗๔ เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ต้องการทำสงครามยึดครองดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน โดยเฉพาะ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) แต่ทราบข่าวว่า มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง กำลังสนับสนุนให้ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรมหาจามปา กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง

สภาต่างๆ มีมติไม่ต้องการให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เร่งรัดทำสงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร ขั้นเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่า ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี อาจจะก่อสงครามขึ้นมาภายในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แต่ สภาต่างๆ กลับมีมติให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง พยายามทำสัญญาสันติภาพ กับ ๓ อาณาจักร ของ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้กำเนิด อาณาจักรศรีโคตรบูร ปี พ.ศ.๑๑๗๕

      ความเดิม ดินแดนภาคอีสาน มีชื่อเรียกว่า อาณาจักรนาคดิน ต่อมา สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทพพนม(ขุนเทียน) ได้ส่ง พระนางอีสาน พระสนม ชนชาติมอญ ไปสร้างแคว้นกาละศีล ขึ้นมาในท้องที่ จ.กาฬสินธุ์ ในปัจจุบัน จนกระทั่งได้ขยายแว่นแคว้น ในดินแดน ภาคอีสานใต้ กลายเป็นอาณาจักรอีสานปุระ แยกออกจาก อาณาจักรนาคดิน ในสมัยต่อมา จนกระทั่ง ในสมัยสงครามโรมรันพันตู อาณาจักรอีสานปุระ ได้ขยายอิทธิพล เข้าครอบงำ อาณาจักรนาคดิน จนกระทั่งท้าวอุเทน ได้ทำสงครามกอบกู้อาณาจักรนาคดิน กลับคืน พร้อมกับตั้งราชธานี ของ อาณาจักรนาคดิน บริเวณเมืองท่าอุเทน ต่อมา ในสมัยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ก่อกบฏ อาณาจักรนาคดิน ได้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของ อาณาจักรอีสานปุระ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง ในสมัยสงครามพระยากง-พระยาพาน นั้น พระยาพาน ได้ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง อาณาจักรนาคดิน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง สมัยสงครามกันตาพาน อาณาจักรอีสานปุระ ได้พยายามเข้าครอบครอง ดินแดน อาณาจักรนาคดิน อีกครั้งหนึ่ง

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ส่ง พระยาอินทร์ และ พระยาสุวรรณ พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ ท้าวเทพนิมิตร จากแคว้นอินทปัต อาณาจักรคามลังกาใต้ มาเป็น มหาราชา และ มหาอุปราช ปกครอง อาณาจักรนาคดิน(อีสานเหนือ) โดยมีราชธานี ตั้งอยู่ที่ เมืองท่าอุเทน แต่ต่อมา เมื่อมีการสร้าง พระมหาธาตุปะถมเจดีย์ สำเร็จเรียบร้อยแล้วนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงต้องการให้สร้าง พระธาตุพนม ขึ้นมา ณ ภูกำพร้า ในดินแดน ของ อาณาจักรนาคดิน ด้วย แต่ยังมิได้ดำเนินการ เพราะมีสงครามกับ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)   

      หลังจากสงครามปราบปรามอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่ง จักรพรรดิท้าวจันทบูรณ์ สวรรคต ในสงคราม นายกพระยาศรีจง และ พระยาโยธิกา สละราชย์สมบัติ ออกผนวชเป็นฤษี ณ อาณาจักรนาคดิน

พระนางวงศ์จันทร์ ให้กำเนิด จตุคามรามเทพ(ขุนราม) ปี พ.ศ.๑๑๗๘

มีตำนานเรื่องราวของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) กับ พระนางวงศ์จันทร์ กล่าวว่า ในปีที่ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ประสูติ นั้น โหราจารย์ได้ทำนายว่า เป็นดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ ในภาคนักรบ อวตาลมาประสูติ เพื่อช่วยรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ จึงได้รับพระราชทาน พระนามว่า ขุนราม

เมื่อ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ประสูติมานั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทรงปลาบปลื้มมาก จึงได้ให้กำเนิด สิ่งสำคัญ ๒ อย่าง คือ การให้กำเนิด ตำแหน่ง เจ้าพระยา และ การพระราชทานชื่อ แม่น้ำนที เป็นชื่อใหม่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา มีเรื่องราวโดยสรุป ดังนี้  

ความเป็นมา ของ ตำแหน่ง เจ้าพระยา โดยสังเขปว่า เนื่องจาก ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น มีการสร้างวัดต่างๆ ขึ้นทุกมุมเมือง เพื่อขยายการศึกษา ให้กับประชาชน ซึ่งต้องการนักปกครอง มาเป็นขุนนาง ปกครองบ้านเมืองต่างๆ เป็นจำนวนมากขึ้น สามัญชนทั่วไป ได้ออกบวชเรียนรู้คำสั่งสอนพระธรรมคำสั่งสอน ของ พระพุทธเจ้า สามารถฝึกฝนวินัย เรียนรู้วิชาการปกครอง และยังสามารถเรียนรู้วิชาการปรุงยา และการรักษาโรค จนสามารถเป็นหมอสามารถปรุงยา และรักษา การเจ็บป่วยของประชาชนได้ เช่นเดียวกับเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ทำให้ประชาชนทั่วไป ได้รับตำแหน่งเป็น พระยา มากเพิ่มขึ้น เรื่อยมา

จากสภาพดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง พระราชทานตำแหน่ง เจ้าพระยา ให้กับ พระยา ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เพื่อสร้างความแตกต่าง กับตำแหน่ง พระยา ที่มาจากสามัญชนทั่วไป ตำแหน่ง เจ้าพระยา ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เกิดขึ้นก่อนการสร้าง จุลศักราช เป็นเวลา ๓ ปี (พ.ศ.๑๑๘๐)

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระราชทาน) ได้พระราชทาน ตำแหน่ง เจ้าพระยา ให้กับเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ๙ พระองค์ คือ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์(อาณาจักรอ้ายลาว) , เจ้าพระยามหาฤกษ์(อาณาจักรละโว้) , เจ้าพระยาไกรสร(อาณาจักรคามลังกา) , เจ้าพระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) , เจ้าพระยาศรีธรนนท์(อาณาจักรชวาทวีป) , เจ้าพระยาศรีธรรมโศก(แคว้นศรีโพธิ์) , เจ้าพระยาโยธิกา(แคว้นอโยธิกา) , เจ้าพระยาศรีทรัพย์(เมืองปะถม แคว้นจักรนารายณ์) และ เจ้าพระยาจักรนารายณ์(แคว้นจักรนารายณ์)

ตำแหน่ง เจ้าพระยา ๙ พระองค์แรก ที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) โปรดเกล้าให้มารับพระราชทานตำแหน่ง เจ้าพระยา ขึ้นมาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่มา ของการให้กำเนิดชื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ในปีเดียวกัน ด้วย

ตำนานความเป็นมา ของชื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา เกิดขึ้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง โปรดเกล้าให้แต่งตั้งตำแหน่ง เจ้าพระยา ขึ้นมา ๙ พระองค์ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงรับสั่งให้ เจ้าพระยา ทั้ง ๙ พระองค์ นำต้นโพธิ์ทอง จากเมืองต่างๆ ซึ่ง พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมาประทับรอยพระบาทไว้ คือ เมืองพนมรุ้ง(ภูเขาพนมเบญจา อ.พนม จ.กระบี่) ๑ ต้น , ภูเขาสายหมอ(ไชยา) ๑ ต้น , ภูเขาสุวรรณคีรี(ไชยา) ๒ ต้น , เมืองโพธาราม(อ.โพธาราม) ๑ ต้น , ภูเขาสุวรรณบรรพต(สระบุรี) ๑ ต้น , เมืองโยธิกา(อยุธยา) ๑ ต้น , เมืองหนองหารหลวง(นครพนม) ๑ ต้น และ เมืองเชียงทอง(หลวงพระบาง) ๑ ต้น รวมทั้งหมด ๙ ต้น

เจ้าพระยาทั้ง ๙ พระองค์ ได้ล่องเรือไปตามลำแม่น้ำ แม่น้ำนที เพื่อเดินทางไปปลูก ต้นโพธิ์ทอง ณ ปากน้ำโพธิ์ พระองค์ละ หนึ่งต้น พร้อมกับร่วมสาบานกันว่า จะร่วมกันสร้างดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา เป็นรัฐแห่งศีลธรรม อันดี และทำการลงโทษ ผู้ที่ชอบทำ โกหกตอแหล ชอบใช้พฤติกรรม ทำตอแหล ให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย อย่างจริงจัง เหตุการณ์ครั้งนั้น เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง พระราชทานชื่อ แม่น้ำนที ในชื่อใหม่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งถูกเรียกสืบทอด ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วนชื่อ ปากน้ำโพธิ์ ในระยะแรกๆ ของการปลูก ต้นโพธิ์ ๙ ต้น ประชาชนเรียกชื่อว่า ปากน้ำ ๙ โพธิ์ แต่ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งตำแหน่ง เจ้าพระยา เพิ่มขึ้นเรื่อยมา ซึ่งจะต้องนำ ต้นโพธิ์ทอง ไปปลูกที่ ปากน้ำ ๙ โพธิ์ เพิ่มขึ้นเรื่อยมา พร้อมกับการทำพิธีกรรม สาบานตน ตามที่ได้ปฏิบัติกันมา ต้นโพธิ์ทอง ที่ปากน้ำ ๙ โพธิ์ จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นที่มาให้ประชาชน เรียกชื่อ ปากน้ำ ๙ โพธิ์ เป็นชื่อใหม่ ว่า ปากน้ำโพธิ์ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ขุนศรีไชยนาท สร้างเมืองบางเกาะน้อย และ เมืองศรีไชยนาท ปี พ.ศ.๑๑๗๙

เนื่องจาก หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ ผู้เป็นมเหสีฝ่ายขวา นั้น เกลียดชัง หม่อมหญิงบัวจันทร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) และพาลเกลียดชัง เจ้าชายศรีชัยนาท ไปด้วย ถึงขั้นนำสุนัข มาเลี้ยงไว้ในพระราชวังหลวง แล้วตั้งชื่อว่า หมาจู มุ่งเน้นเหยียดหยาม หม่อมหญิงบัวจันทร์ พระราชมารดา ของ เจ้าชายศรีชัยนาท(จู) ผู้เป็นมเหสี ฝ่ายซ้าย ซึ่งเป็นสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ปทุมวงศ์ เป็นสำคัญ

หลังจากที่ เจ้าชายศรีไชยนาท จึงได้ออกผนวชเป็นสามเณร ณ วัดถ้ำคูหา เป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์หลวงพ่อตาผ้าขาวเถระรอด เป็นเวลา ๙ พรรษา จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๗๘ มีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา เจ้าชายศรีไชยนาท ได้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และต้องออกฝึกราชการ ตามราชประเพณี อีกครั้งหนึ่ง

ตลอดเวลา ๙ พรรษา ที่ เจ้าชายศรีไชยนาท ได้เล่าเรียน ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) นั้น เจ้าชายศรีไชยนาท ต้องออกบวชเป็น สามเณร ต้องศึกษา วิชาภาษาขอมไทย , วิชาภาษาบาลี , วิชาภาษาสันสกฤต , วิชาพระพุทธศาสนา , วิชาประวัติศาสตร์ , วิชาการทหาร , วิชาพิชัยสงคราม , วิชาการปกครอง , วิชาพระธรรมนู และกฎหมาย , วิชาการการก่อสร้าง , วิชาการหลอมโลหะ , วิชาการการตีเหล็ก , วิชาการเผาอิฐ และสร้างถ้วยชามดินเผา , และ วิชาโหราศาสตร์ เป็นต้น เมื่อสำเร็จกาศึกษา จะถูกเรียกว่า ถูกขุน เรียบร้อยแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษา จะได้รับตำแหน่งเป็น ขุน เมื่อ เจ้าชายศรีไชยนาท เมื่อสำเร็จการศึกษา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๘ แล้ว จะต้องออกไปฝึกราชการ ออกไปสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อฝึกการบริหารภาคสนามจริง ตามราชประเพณี อีกครั้งหนึ่ง

ตำนานความเป็นมาของชื่อ เมืองธนบุรี กล่าวว่า ในขณะที่ ขุนศรีไชยนาท(จูลี้) ไปสร้างพระราชวังที่ประทับขึ้นบนเกาะเล็กๆ กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเรียกชื่อว่า บางเกาะน้อย อยู่นั้น ก็ได้รับทราบข่าวมาโดยตลอด ว่า พระราชมารดา(หม่อมหญิงบัวจันทร์) ถูกกลั่นแกล้ง จาก หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ เรื่อยมา ทำให้ หม่อมหญิงบัวจันทร์ ต้องเดินทาง มายัง เมืองบางเกาะน้อย เพื่อนำเรื่องราวต่างๆ มาเล่าให้กับ ขุนศรีไชยนาท(จูลี่) รับทราบ

เมื่อ ขุนศรีไชยนาท(จูลี้) นำเรื่องราวต่างๆ ไปกราบบังคมทูลให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ผู้เป็นพระราชบิดา ให้ทำการแก้ไขปัญหา แต่กลับถูกเรียกร้องให้ใช้ความอดทน เรื่อยมา จนกระทั่ง หม่อมหญิงบัวจันทร์ ต้องเดินทางออกจากพระราชวังหลวงคูบัว ไปอาศัยอยู่กับ ขุนศรีไชยนาท ณ เมืองบางเกาะน้อย

หม่อมหญิงบัวจันทร์ ยังเดินทางติดตามไปด่ากราด หม่อมหญิงบัวจันทร์ ต่อหน้าขุนนาง ข้าราชบริพาร และบ่าวไพร่ โดยที่ ขุนศรีไชยนาท ยังคงใช้ความอดทน ไม่โต้ตอบ จึงเป็นที่มาให้ เมืองบางเกาะน้อย  ถูกขุนนาง และประชาชน เรียกชื่อใหม่ในเวลาต่อมาว่า เมืองทน(ธน) และพัฒนาเป็น ทนบุรี(ธนบุรี) ในเวลาต่อมา พื้นที่ท้องที่ใกล้เคียง จึงถูกเรียกว่า บางเกาะ และเพี้ยนมาเป็น บางกอก ในเวลาต่อมา

ขุนศรีไชยนาท ปกครองเมืองธนบุรี(บางเกาะน้อย) จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๘๐ มีพระชนมายุ ๑๗ พรรษา ขุนศรีไชยนาท ได้ไปร่วมสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์นครพนม จนสำเร็จเรียบร้อย ขุนศรีไชยนาท จึงเสด็จกลับไปรับราชการ ณ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) อีกครั้งหนึ่ง

 

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้างพระธาตุพนม ปี พ.ศ.๑๑๘๐

พระเจ้าสักกรดำ ต้องการสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์(พระธาตุพนม) เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐาน พระอุรังคธาตุ ของ พระพุทธองค์ ขึ้นมาเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ แห่งดินแดน อาณาจักรอีสานปุระ จึงได้มีการสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์เมืองพนม(นครพนม) สำเร็จเรียบร้อยเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๘๐

      มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ต้องการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์(พระธาตุพนม) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย ตำนานอุรังคธาตุ(ตำนานพระธาตุพนม) บันทึกตอนหนึ่งว่า...

       ...พระยาอินทราธิราช(มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง) พร้อมด้วย พระวิษณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) ได้เสด็จมาทำการบูชา พระอุรังคธาตุ พระพุทธเจ้า พระวิษณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) จึงได้มาพบกับ เทวบุตรเทวดาทั้งหลาย ราชวงศ์ต่างๆ ที่มาร่วมชุมนุมกัน โดยมีเครื่องสักการบูชา และ เครื่องอุปัฏฐาก พร้อมกัน

      ...(กล่าวถึง ขบวนราชวงศ์ต่างๆ คือ จตุรังคเทวบุตร อัคคิหุตเทวบุตร อัสสวลาหกเทวบุตร ปัญจสิกขเทวบุตร สุวรเทวบุตร สัจจาริทิเทวบุตร อุทกเทวบุตร สุภัททเทวบุตร สุปติฏฐิตเทวบุตร โธธนาคเทวบุตร สุเทพเทวบุตร มัณฑกเทวบุตร มัฏฐกุณฑลีเทวบุตร สุปิยเทวบุตร มาตลิเทวบุตร อินทจิตตเทวบุตร เข้าเฝ้า พระยาอินทร์(มหาราชาพระยาอินทร์) แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ตั้งขบวนเข้าสักการะ พระอุรังคธาตุ พระพุทธเจ้า...

       ...แล้วจึงให้สีสุนทเทวบุตร และ สีมหามายาเทวบุตร วิสาขาเทวบุตร พร้อมด้วยบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ คน มาช่วยกันชำระ กวาดแผ้วเปิดประตูอุโมงค์ ไว้คอยท่า พระวิศณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) ซึ่งพระหัตถ์ซ้าย ถือดอกบัว พระหัตถ์ขวา ถือ มีดควัด ด้ามแก้วมรกต ยาว ๙ วา ธรรมกลิกเทวบุตร พระหัตถ์ซ้าย ถือดอกบัวทองคำ พระหัตถ์ขวา ถือขวดแก้วน้ำมันทิพย์ เสด็จมายัง ภูกำพร้า ตั้งแต่เที่ยงไปถึงค่ำ ต่อมา พระวิษณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) ได้กระทำการสักการบูชา กราบไหว้ และ ปทักษิณ ๓ รอบ แล้วจึงเอามีดด้ามแก้วมรกต ยาว ๙ วา สร้างรูปต่างๆ

       ส่วน ธรรมกลิกเทวบุตร นั้น ก็ทำการสักการบูชา กราบไหว้ และ ปทักษิณ ๓ รอบแล้ว จึงควัดลายดินสุก เบื้องทิศตะวันออก เวียนไปเบื้องขวา แล้วกล่าวคาถามงคลโลก แล้วจึงควัดรูป พระยาติโคตรบูร ทรงม้าพลาหก รูปพระยาสุวรรณภิงคาร ทรงม้าอาชาไนย เสด็จไปทางอากาศ ควัดรูป พระยา ๒ องค์นี้ก่อน ธรรมกลิกเทวบุตร จึงเอาน้ำมัน ให้กับ สีสุนันทเทวบุตร สีมหามายาเทวบุตร และ วิสาขาเทวบุตร ทาลวดลาย แล้วจึงได้ ควัดรูป พระยาจุลนีพรหมทัต ทรงช้าง รูปราชบุตร ทรงม้า และรูปเสนาอำมาตย์ เจือปนไปด้วยลายดอกไม้

       ส่วนด้านทิศใต้ นั้น ควัดรูป พระยาอินทปัต ทรงช้าง รูปพระอนุชา ทรงม้า รูปเสนาอำมาตย์ และ บริวารเจือปนไปด้วยลายดอกไม้ ด้านตะวันตก ควัดด้วยรูป พระยาคำแดง ทรงช้าง รูปเสนาอำมาตย์ขี่ม้า รูปบริวารเจือปนไปด้วย ดอกมัทวรี ด้านเหนือ ควัดรูปพระยานันทเสน ทรงช้าง รูปพระอนุชา ทรงม้า รูปบริวารเจือปนด้วยลายดอกไม้ ส่วนรูปพระยาสุวรรณภิงคาร นั้น ควัดไว้ทุกๆ ด้าน ส่วนบน ควัดรูปรูป สีสุนันทเทวบุตร สีมหามายาเทวบุตร และ วิสาขาเทวบุตร เรียงรายไว้ทุกด้าน

       แล้วจึงให้ พระวิษณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) เข้าไปในอุโมงค์ ควัดรูปพระยาอินทร์ ผินพระพักตร์ไปทางเหนือ พระหัตถ์ขวา ถือดอกมะลิทองคำร่วง พระหัตถ์ซ้าย ถือพัด แล้ว ควัดรูป นางสุชาดา พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นประนม พระหัตถ์ขวา ถือดอกบัว ควัดรูป พระนางสุจิตรา พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นประณม พระหัตถ์ซ้าย ถือดอกบุญฑริก ควัดรูป นางสุนันทา พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นประณม พระหัตถ์ขวา ถือดอกนิลุบล ควัดรูปนางสุธรรมา พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นประณม พระหัตถ์ซ้าย ถือดอกจงกลณี ควัดรูปนางโรหิณี พระหัตถ์ขวา ถือพานทองคำ พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นประณม ควัดรูปนางสารวัตติเกสี นางปฏิบุปผา และ นางคันธาลวดี พระหัตถ์ขวา ถือพานทองคำ พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นประณม รูปทั้งหลายเหล่านี้ ควัดไว้ ด้านตะวันออกทั้งสิ้น

       แล้วจึงควัดรูป พระวิษณุกรรมเทพบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นประณม พระหัตถ์ซ้าย ถือมีดสำหรับควัด ควัดรูป ธรรมกลิกเทวบุตร นั้น พระหัตถ์ซ้าย ยกขึ้นประณม พระหัตถ์ขวา ถือขวดน้ำมัน ควัดรูป สุนันทเทวบุตร และรูปสีมหามายาเทวบุตร ทั้ง ๒ นี้ ยกพระหัตถ์ขึ้นประณม เหมือนกับ ควัดรูปไว้ด้านใต้

              แล้วจึงควัดรูป พระยาทั้ง ๖ ทรงจูงพระหัตถ์กัน เป็นต้นว่า รูปพระยาภิงคาร ทรงจูงพระหัตถ์ พระยาคำแดง รูปพระยาจุลนีพรหมทัต ทรงจูงพระหัตถ์พระยานคร รูปพระยาโคตรบูร ทรงจูงพระหัตถ์ พระยานันทเสน ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก จึงควัดรูป นางศรีรัตนเทวี เสด็จออกหน้า ผินพระพักตร์ คืนหลัง แล้วควัดรูปพระยาติโคตรบูร ทรงดำเนินตามหลัง นางผินพระพักตร์สู่ทิศตะวันตก

       ส่วนรูปพระมหากัสสปะเถระเจ้า นั้น มือซ้ายถือไม้เท้า มือขวาแบไว้ รูปพระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้นสะพายบาตร ยกมือทั้งสองขึ้นประณม รูปทั้งหลายเหล่านี้ ควัดรูปไว้เบื้องบนรูปท้าวพระยาทั้ง ๖ มีพระยาสุวรรณภิงคาร เป็นต้น อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

       รูปอินทจิตตเทวบุตร ปัญจสิกขเทวบุตร อังกูรเทวบุตร สุปิยเทวบุตร และ มาตลีเทวบุตร แล้วจึงควัดรูปเทวบุตรทั้งหลาย ถือเครื่องอุปัฏฐาก มีรูปบุปผเทวบุตร และเทวบุตร ที่มีนามปรากฏตามตระกูลวงศา ทั้งสิ้น จึงได้ควัดรูปเป็นดาวคั่นไว้ แล้วจึงควัดรูป ท้าวจตุโลกบาล รูปสุริยจันทเทวบุตร และรูปนางเทวดา ทั้งหลาย ยกพระหัตถ์ขึ้นประณม ตามกันโดยลำดับ พระวิษณุกรรมเทวบุตร(เจ้าพระยาศรีธรรมโศก) ลงมาสู่ภูกำพร้า ควัดรูปและลวดลายนั้นๆ ไว้ที่อุโมงค์ พระอุรังคธาตุ ครั้งนั้น เดือน ๑๒ เพ็ญวันอังคาร ตั้งแต่เวลาเที่ยงวัน ไปจนถึงเวลาเที่ยงคืน จึงเสร็จบริบูรณ์...

      หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ไปเป็นประธานสร้าง พระธาตุพนม เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ได้เสด็จประภาส อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) เพื่อหารือกับ พระเจ้าสักกรดำ ราชวงศ์มอญ ในการอยู่ร่วมกันในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยไม่เกิดสงครามระหว่างกัน อีกต่อไป ซึ่งเป็นที่มาของการสมรสเกี่ยวดองกัน ระหว่าง ราชวงศ์มอญ กับ ราชวงศ์อู่ทอง และเกิดการสร้างจุลศักราช ในปีถัดมา ด้วย

 

ท้าวอู่ทอง ประกาศสร้าง จุลศักราช ปี พ.ศ.๑๑๘๑

ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ หรือ พงศาวดารเหนือ เล่าความเรื่องการตั้งจุลศักราช ว่า พระเจ้าสักกรดำ มหาราชา แห่ง (อาณาจักรอีสานปุระ) กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) ได้ร่วมกับ พระเจ้าอนุรุธ แห่ง (อาณาจักรหงสาวดี) กรุงอริมัททนะปุระ(สะโตง) ร่วมกับเมืองต่างๆ อีก ๙๙๘ เมือง ได้ร่วมกันทำพิธีลบศักราช ประกาศสร้าง จุลศักราช ขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๑ โดยยึดถือว่า ปี พ.ศ.๑๑๘๒ เป็นปีจุลศักราช ๑ ซึ่งในปีนั้น พระเจ้าสักกรดำ มีพระชนมายุ ๗๒ พรรษา ได้เสด็จสวรรคต พระยากากะพัตร พระราชโอรส ของ พระเจ้าสักกรดำ กลายเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติต่ออีก ๑๐ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๙๑ พระเจ้ากากะพัตร สวรรคต พระเจ้ากาฬวรรณดิศราช(พระเจ้ากาฬสินธุ์) เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) เป็นรัชกาลถัดมา    

ตำนานขุนบรม ซึ่งเล่ากันในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึง พระราชประวัติ ของ ขุนบรม ซึ่งมีเรื่องราวโยงใยเกี่ยวกับการประกาศตั้งจุลศักราช เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๑ โดยสรุปว่า ก่อนประกาศตั้ง จุลศักราช ขึ้นมา ๑ ปี คือปี พ.ศ.๑๑๘๐ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เสด็จไปเป็นประธานในพิธีก่อสร้าง พระธาตุพนม ให้กับ มหาราชาพระยาอินทร์ แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร(นาคดิน) หลังจากเสร็จภารกิจ ดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้เสด็จไปหารือกับ พระเจ้าสักกรดำ ณ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) ราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ เพื่อหาหนทางอยู่ร่วมกันในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างสันติ ยุติการทำสงครามระหว่างกันในอนาคต เนื่องจากเป็นสายราชวงศ์ไศเลนทร์ ด้วยกัน ในที่สุดทรงเห็นชอบร่วมกันที่จะสมรสเกี่ยวดองกัน เป็นเหตุให้ พระเจ้าสักกรดำ มหาราชาแห่ง อาณาจักรอีสานปุระ จึงได้พระราชทาน เจ้าหญิงอีเลิศ ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์เล็ก ให้มาเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ของ เจ้าพระยาศรีทรัพย์ เจ้าเมืองปะถม(นครปฐม)

ในปีถัดมา(พ.ศ.๑๑๘๑) พระนางอีเลิศ ได้ประสูติ พระราชโอรส ขึ้นมาพระองค์หนึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงถือโอกาสทำพิธีฉลอง พระมหาธาตุปะถมเจดีย์ จึงได้เชิญ มหาราชา ราชา เจ้าเมือง จากอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งหมด ๑,๐๐๐ เมือง มาร่วมพิธีดังกล่าว พร้อมกับมีข้อตกลงร่วมกันที่จะตั้ง จุลศักราช มาใช้ร่วมกันกับทุกๆ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ในปี พ.ศ.๑๑๘๑ ด้วย ในการจัดพิธีฉลองครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ถือโอกาสพระราชทานพระนามให้กับ พระราชโอรส ของ พระนางอีเลิศ กับ เจ้าพระยาศรีทรัพย์ ทรงพระนามว่า เจ้าชายบรมฤกษ์

การตั้งจุลศักราช ครั้งนั้น พระเจ้าอนุรุท แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงอริมัททนะปุระ(สะโตง) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้านันทเสน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้มาร่วมกันทำพิธีลบศักราช และร่วมกันตั้ง จุลศักราช มาใช้ร่วมกันด้วย ได้ร้องขอมิให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรหงสาวดี กรุงอริททนะปุระ(สะโตง) ไปครอบครอง อีกต่อไป  

      ผลของการตั้งจุลศักราช ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ตั้งอยู่ในความประมาท คิดไปเองว่า จะมีสันติภาพกับ ชนชาติมอญ ตลอดไป แต่ ๓ อาณาจักร ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ชนชาติมอญ คือ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรหงสาวดี เร่งสะสมกำลังทหาร เตรียมทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างลับๆ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

ตาโร ให้กำเนิด ดนตรีกลองยาว ณ เมืองร้อยเอ็ด ปี พ.ศ.๑๑๘๒

ตำนานท่าดอนร้อยเอ็ด(ท่าดอนเอ็ด) ในท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความเป็นมาในการกำเนิดเมืองร้อยเอ็ด และการกำเนิดกลองยาว มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมืองร้อยเอ็ด เดิมชื่อ เมืองสาเก เนื่องจากมีต้นสาเก มาก ก่อนหน้านั้น เมืองสาเก เป็นเมืองหนึ่ง ของ อาณาจักรนาคดิน ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรศรีโคตรบูร ต่อมา เมืองสาเก ได้ร้างไป ในสมัยที่ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ทำการก่อกบฏ ทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร ไปครอบครอง ประชาชนจึงหลบหนีออกจากเมือง

ต่อมาในสมัย สงครามพระยากง-พระยาพาน ได้มี พระยาศรีจง เข้าไปรื้อฟื้น เมืองสาเก ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ พระยาศรีจง ได้ พระนางศรีพนม มาเป็นพระสนม มีพระราชโอรส พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายสุริยะกุมาร จนกระทั่ง ในสมัยสงครามกันตาพาน เมืองสาเก ได้ร้างไปอีกครั้งหนึ่ง พระนางศรีพนม ต้องนำ เจ้าชายสุริยะกุมาร ไปเลี้ยงดูอยู่ที่กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) อาณาจักรอ้ายลาว จนเติบใหญ่

ในสมัยที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) มีสงครามครั้งที่-๒ กับ สหราชอาณาจักรมหาจามปา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๔ นั้น สงครามครั้งนั้น กองทัพของ จักรพรรดิพระยาศรีจง และ กองทัพของ พระยาโยธิกา พ่ายแพ้สงคราม ต่อกองทัพของทมิฬโจฬะ จนกระทั่งทหารในกองทัพไทย ติดโรคหนองใน จากหญิงทมิฬโจฬะ ในดินแดนอาณาจักรจามปา กันงอมแงม ผลของสงครามครั้งนั้น เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพระยาศรีจง และ พระยาโยธิกา ทั้งสองพระองค์ สำนึกนความผิดพลาด จึงได้สละราชย์สมบัติ ออกจำศีล เป็นฤษี อยู่ที่เมืองร้าง เมืองสาเก จักรพรรดิพระยาศรีจง เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า ฤษีอมรณี

เมื่อแม่ทัพใหญ่ ๒ พระองค์ ออกจำศีลเป็นฤษี เป็นเหตุให้ ทหาร ของ พระยาศรีจง และ พระยาโยธิกา ทั้งที่ติดโรคหนองใน และ ไม่ติดโรค ขาดผู้บังคับบัญชา กลายเป็นคนว่างงาน เป็นคนร่อนเร่พเนจร เรียกกันว่า เณรเกตุ บางคนติดโรคหนองใน จาก หญิงสาวทมิฬโจฬะ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) นำไปแพร่หลาย สู่ผู้อื่น โรคหนองใน จึงระบาด อย่างรวดเร็ว ทั่วดินแดนอาณาจักรศรีโคตรบูร และ อาณาจักรใกล้เคียง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง หาหนทางที่จะระงับการระบาด ของ โรคหนองใน จึงมีความคิดรื้อฟื้น เมืองสาเก ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง  

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงมอบให้ พระยาตาโร ไปทำการรวบรวม เณรเกตุ และ ผู้ติดโรคหนองใน ทั้งหญิงชาย มารวมกันไว้ที่ เมืองสาเก นำหมอ จาก ภูเขาสายหมอ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปทำการทดสอบการติดโรคหนองใน เพื่อทำการวางแผนรักษา ผู้ติดโรคหนองใน พร้อมกับทำการรื้อฟื้น เมืองสาเก ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง คือเหตุการณ์ก่อนที่จะสร้าง พระธาตุพนม ๒ ปี(พ.ศ.๑๑๗๘)

พระยาตาโร ได้ทดสอบผู้ติดโรคหนองใน ด้วยการนำ สาเกเชื่อม มาให้ เณรเกตุ ที่ถูกกวาดต้อนมา รับประทาน เพื่อทดสอบว่า เป็นโรคหนองใน หรือไม่ เพื่อส่งไปให้หมอ ทำการรักษา จนสามารถรักษาโรคหนองใน ให้กับ เณรเกตุ และ หญิง ที่ติดโรคหนองใน ให้หายขาด ด้วยพืชสมุนไพร ต้นอโยธยา ต่อมา พระยาตาโร จึงนำหญิงชาย ดังกล่าว มาร่วมกันรื้อฟื้นสร้าง เมืองสาเก ขึ้นใหม่ เมืองนี้ ในระยะแรกๆ จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองสาเกตุ หมายถึง เมืองที่ พวกเณรเกตุ ถูกลงโทษให้มาร่วมสร้างเมืองให้สาสมกับความเป็น เณรเกตุ

เนื่องจาก เมืองสาเกตุ ใช้เวลาในการรักษาโรค และ สร้างเมือง รวมเวลาประมาณ ๔ ปี จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.๑๑๘๒ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ประสบความสำเร็จในการสร้างเมืองใหม่ได้ถึงเมืองที่ ๑๐๐(หนึ่งร้อย) เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงมีความคิดที่จะสร้างเมืองสาเกตุ ให้เป็นเมืองที่ ๑๐๑(หนึ่งร้อยหนึ่ง)

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงมอบหมายให้ พระยาโร ซึ่งประชาชนเรียกชื่อว่า ตาโร เป็นผู้รับผิดชอบในการสร้างกำแพงเมือง ให้มีประตูเมือง ๑๐๑ ประตู แล้วให้พวกเกเร ที่ชอบเที่ยวผู้หญิง และติดโรคผู้หญิง ซึ่งรักษาให้หายขาด แล้วนำไปร่วมขุดสระน้ำ สร้างวัด ประจำเมือง สระน้ำดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า สระสาเกตุ หรือ สระเกตุ หมายความว่า  พวกเกเรที่ติดโรคผู้หญิง ต้องขุดสระน้ำ ด้วยความเหนื่อยยาก สาสมกับความเป็นเณรเกตุ ในที่สุด อดีตผู้เกเร และผู้ที่ใช้ชีวิตร่อนเร่พเนจรทั้งหลาย ก็สามารถสร้างเมืองที่ ๑๐๑(หนึ่งร้อยหนึ่ง) สำเร็จ มีการเชิญ ขุนสุริยะ พระราชโอรส ของ พระยาศรีจง กับ พระนางศรีพนม ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา มาปกครอง เมืองสระเกตุ และ ขอจัดงานฉลองชัยชนะความสำเร็จในการสร้างเมือง ดังกล่าว พร้อมกับเชิญ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาทำพิธีเปิดเมืองใหม่ เมืองที่ ๑๐๑(ร้อยเอ็ด) ด้วย

พระยาโร ผู้ควบคุมการสร้าง เมืองสระเกตุ ซึ่งเป็นเมืองที่ ๑๐๑(หนึ่งร้อยหนึ่ง) และได้รับโปรดเกล้าจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ให้เป็นแม่ทัพ ของ เมืองสาเกตุ มีพระนามใหม่อีก ๒ ชื่อว่า พระยาสาเกตุ หรือ พระยาสระเกตุ จึงได้จัดให้ประชาชน ทำการการฉลองชัยชนะ ในการสร้าง เมืองสระเกตุ ขึ้นมาเกินกว่าเป้าหมายที่กำหนด ๑๐๐ เมือง เป็นเมืองที่ ๑๐๑ จึงมีการเตรียมดนตรี ซักซ้อมร้องเพลง เพื่อฉลองชัยชนะกันครั้งยิ่งใหญ่ เนื่องจาก พระยาตาโร เป็นผู้ที่พูดจา และ ร้องเพลงเสียงดังที่สุด ได้เตรียมการฉลองกันมาหลายวัน จึงได้สร้างกลองยาว ขึ้นมาเป็นของตนเอง แล้วตั้งคณะกลองยาวขึ้น เพื่อเตรียมฉลอง ในวันทำพิธีเปิด เมืองสาเกตุ ด้วย

ในวันที่มีการฉลองชัยชนะในการสร้างเมืองสาเกตุ เมืองที่ ๑๐๑(หนึ่งร้อยหนึ่ง) ขึ้นมาจริงๆ พระยาตาโร ได้นำคณะดนตรีกลองยาว ของตนเองมาร่วมฉลองด้วย โดยการคิดประดิษฐ์กลองยาว ขึ้น แล้วร่วมกันร้องเพลงกลองยาว ร่วมกับวงแคน ขึ้นมาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อใช้แสดงในงานดังกล่าว เป็นการแสดงต่อหน้าพระพักตร์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ด้วย จึงเกิดการร้องเพลงฉลอง ส่งเสียงดัง เอ็ดอึงไปทั่ว เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ทำการตักเตือน หรือ เอ็ดพระยาตาโร ให้ลดเสียงลงมาบ้าง จึงเป็นที่มาของคำไทยที่ว่า เสียงดังเอ็ดตาโร เป็นที่มาของตำนานกลองยาว ซึ่งเกิดขึ้นที่เมืองสาเกตุ ผลของการฉลองชัยชนะ ครั้งนั้น ทำให้เกิดคำไทย คำว่า "เอ็ด" ถูกนำไปใช้ในภาษานับเลข ของไทย สืบทอดกันมา ตั้งแต่นั้นมา และเป็นที่มาของการฉลองชัย เมื่อสามารถทำงานบรรลุ เป็นเลข ๑๑ , ๒๑ , ๓๑ ....., ๑๐๑ ล้วนต้องมีการฉลองชัยชนะ ส่งเสียงร้องดังเอ็ดตาโร ทั้งสิ้น เมืองสาเกตุ จึงถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า เมืองร้อยเอ็ด สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การส่งเสียงดัง จึงเป็นที่มาของคำไทยที่ว่า เอ็ดตาโร และ คำว่า เอ็ด ยังมีความหมายว่า ตักเตือน ด้วย คำไทยเหล่านี้ จึงถูกนำมาใช้ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ผลของการฉลองชัยชนะการสร้าง เมืองสาเกตุ หรือ สระเกตุ ซึ่งถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองร้อยเอ็ด นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงส่งเสริมให้ทุกแว่นแคว้น และทุกมุมเมือง สร้างคณะดนตรีกลองยาว เพื่อใช้ในงานเฉลิมฉลองต่างๆ ของประชาชน และยังจัดให้ พระยาสุพรรณ ซึ่งได้ร่วมเดินทางไปฉลองชัย ณ เมืองร้อยเอ็ด ด้วย และเกิดติดอกติดใจดนตรีคณะกลองยาว ของ คณะพระยาตาโร มาก ใหจัดประกวดแข่งขัน ดนตรีคณะกลองยาว ขึ้นที่เมืองสุพรรณ ขึ้นมาทันที จึงมีเมืองต่างๆ ไปฝึกกลองยาวกับ พระยาตาโร เพื่อไปประกวดแข่งขัน การประกวดกลองยาวที่ เมืองสุพรรณ ในครั้งนั้น  เป็นที่มาให้การใช้ ดนตรีกลองยาว ของ พระยาตาโร แห่งเมืองร้อยเอ็ด ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

 ตำนานยาแผนโบราณ ในการรักษาโรคหนองใน ของ หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน กล่าวถึง ยารักษาโรคหนองใน ว่า มีพืชสมัยไพร ชนิดหนึ่ง ซึ่ง พระยาโยธิกา นำมาจาก เมือง อโยธยา ประเทศอินเดีย มาปลูกไว้ที่ เมืองกุรุนทะ(อยุธยา) จึงเรียกชื่อว่า ต้นอโยธยา ต่อมา เมื่อมีการรักษาผู้ติดโรคหนองใน ณ เมืองสระเกตุ หายขาดแล้ว จึงมีการเปลี่ยนชื่อ เมืองสระเกตุ เป็นชื่อ เมืองร้อยเอ็ด เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงพระราชทานชื่อ เมืองกุรุนทะ เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองอโยธยา ตั้งแต่นั้นมา ส่วน พระยาโยธิกา ซึ่งออกผนวชเป็นฤษี ได้กลับมาเป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นอโยธยา อีกครั้งหนึ่ง    

ตำนานพระธาตุพนม(อุรังคธาตุ) กล่าวว่า ผลของการสร้างเมืองร้อยเอ็ด ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาอินทราธิราช) ได้พบกับ พระยาศรีจง(ฤษีอมรณี) และ พระยาโยธิกา ซึ่งออกผนวชเป็น ฤษี ทั้งสองพระองค์ จึงได้เรียกทั้งสองพระองค์ กลับไปรับราชการดังเดิม พระยาศรีจง ได้รับโปรดเกล้าให้เป็นแม่ทัพหลวง ส่วน พระยาโยธิกา ได้กลับไปปกครอง เมืองโยธิกา(อยุธยา) ดังเดิม ตำนานพระธาตุพนม บันทึกว่า...

...พระยาศรีอมรณี(พระยาศรีจง) และ พระยาโยธิกา ทั้ง ๒ จึงพร้อมกัน ราชาภิเษก เจ้าสุริยะกุมาร(พระราชโอรส ของ พระยาศรีจง) ให้เป็น พระสุริยะวงศาสิทธิเดช แล้วประทาน ช้าง ๑ ตัว ม้า ๑ ตัว พร้อมทั้งควาญ และ นายม้าที่มีฤทธิ์ กับทั้งอำมาตย์ ข้าทาส บริวาร มี ออกขุนพลเทพ เป็นต้น มีครัวหญิงชายน้อยใหญ่ มาออกด้วยขุนพลเทพ ๕,๐๐๐ ครัว ออกขุนพรหม มีครัวมาด้วย ๕,๐๐๐ ครัว ออกขุนบุญขวาง มีครัวมาด้วย ๕,๐๐๐ ครัว ออกขุนโลกบาล มีครัวมาด้วย ๕,๐๐๐ ครัว อำมาตย์ที่ออกมานานแล้วนี้ ให้มาช่วยอยู่ดูแลรักษาช้างม้าในเมืองสาเกต...

       ...ครั้น อาณาประชาราษฎร ทั้งหลาย ที่เป็นชาวต่างประเทศ เห็นว่า พระราชอาณาจักร ของ พระสุริยะวงศาสิทธิเดช สมบูรณ์ไปด้วย เครื่องอุปโภค และบริโภค ก็พากันหนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งบ้านเรือนอยู่คราวละเล็กละน้อย บ่อมิได้ขาด แต่นั้นมา ผู้คนภายในพระราชอาณาจักร ของ พระองค์ จึงมีมาก และเป็นราชธานี ใหญ่กว่า ราชธานีท้าวพระยาทั้งหลาย มีจำนวนพลเมืองที่ใช้ราชการได้ ๔,๗๘๙,๐๐๐ คน...

      หลักฐานตำนานพระธาตุพนม แสดงว่า เมืองร้อยเอ็ด เคยเป็นราชธานี ของ อาณาจักรศรีโคตรบูร ในเวลาต่อมา โดยมีจำนวนพลเมืองใน เมืองร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นราชธานี มากถึง ๔,๗๘๙,๐๐๐ คน ดูจะไม่น่าเชื่อถือ เพราะมากเกินเหตุ จำนวนพลเมืองดังกล่าว น่าจะเป็นจำนวนพลเมืองของทั้ง อาณาจักรศรีโคตรบูร(อาณาจักรนาคดิน) มากกว่า

      ตำนานพระธาตุพนม ยังกล่าวว่า ภายหลังจากที่ พระสุริยะวงศาสิทธิเดช ออกผนวช ก็ได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก อีกครั้งหนึ่ง ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระยาสุริยะวงศาธรรมิกราชเอกราช ต่อมาเมื่อ มหาราชาพระยาอินทร์ แห่ง อาณาจักรศรีโคตรบูร เสด็จสวรรคต พระยาสุริยะวงศาธรรมิกราชเอกราช จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรศรีโคตรบูร(นาคดิน) กรุงร้อยเอ็ด จนกระทั่งต้องเสียเมืองร้อยเอ็ด ให้กับ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม กับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ ดินแดนเกษียรสมุทร ปี พ.ศ.๑๑๘๓

เนื่องจาก ในปลาย รัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี เป็นผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธานี(ปัตตานี) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๘ นั้น มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง ได้สนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ทำสงครามกันตาพาน ด้วยการส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) เพื่อทำให้ มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง มีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เป็นผลสำเร็จ

หลังจากนั้น กองทัพของ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ยังได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นมาลายู(มะละกา) และ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ซึ่งขณะนั้น แคว้นมาลายู ปกครองโดย พระยามาลา เนื่องจาก พระยามาลา มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระยามาลายู และ พระยามาลายา และ พระราชธิดา อีกหลายพระองค์

ในช่วงเวลาของสงครามกันตาพาน ดังกล่าว พระยามาลา ร่วมกับ พระยายี่หน กษัตริย์ ๒ พี่น้อง พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร กับ พระนางแพรไหม สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพทมิฬโจฬะ ออกไปได้ ภายหลังสงครามกันตาพาน ครั้งนั้น พระยามาลายู ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระยามาลายา ได้ไปปกครองอยู่ที่ แคว้นสระทิ้งพระ ต่อมา เมื่อ จักรพรรดิพระยาศรีจง สละราชสมบัติ ออกผนวชเป็นฤษี พระยามาลา จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงสระทิ้งพระ ซึ่งมีหน้าที่ ทำสงครามกอบกู้ ดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน ในอนาคต อีกครั้งหนึ่ง แต่ จักรพรรดิพระยามาลา มิได้ดำเนินการแต่อย่างใด

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ไม่พอพระทัย จักรพรรดิเจ้าพระยามาลา แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ เพราะไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ สหราชอาณาจักรมหาจามปา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๗๒ และ พ.ศ.๑๑๗๔ เนื่องจากไม่ยอมส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตราตะวันออก) ของ ชนชาติกลิงค์ กลับคืนมา

อีกทั้ง พระยามาลา ไม่ยอมทำสงครามก่อกวน ดินแดนเกษียรสมุทร ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ตามคำสั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง อีกด้วย ทั้งๆ ที่เป็นบทบาทหน้าที่ ของตำแหน่ง จักรพรรดิ ที่ต้องทำสงคราม โดยตรง ต่อมา หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง พยายามสามัคคี กับ ราชวงศ์ชนชาติมอญ-ทมิฬ เรียบร้อยแล้ว จึงเตรียมทำสงคราม กับ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนเกษียรสมุทร และ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ทันที

ปี พ.ศ.๑๑๘๒ หลังจากมีการสร้างจุลศักราช และสร้างเมืองร้อยเอ็ด ขึ้นเรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ยื่นคำขาดให้ จักรพรรดิพระยามาลา และ นายกพระยาศรีจง ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ ซึ่งกฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ คือ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) กลับคืน มิฉะนั้น จะเสนอให้ สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ พิจารณา ถอดถอน ออกจากตำแหน่ง จักรพรรดิ

เหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๘๓ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ขุนศรีไชยนาท มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ได้เสด็จกลับมาจาก อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) มายัง กรุงสระทิ้งพระ พอดี ขุนศรีไชยนาท ซึ่งผ่านการทำสงครามในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน มาแล้วอย่างโชกโชน จึงได้ขออาสา ต่อ จักรพรรดิพระยามาลา เพื่อนำกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตราตะวันออก) ของ ชนชาติกลิงค์ กลับคืน ก่อนเสด็จออกผนวช เพื่อร่วมแก้ไขปัญหา ความขัดแย้ง ที่กำลังเกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ

ประมาณต้นปี พ.ศ.๑๑๘๓ ขุนศรีไชยนาท ได้นำกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร จึงเริ่มเข้าไปสมรสเกี่ยวดอง กับทั้ง ๓ อาณาจักรที่กล่าวมา

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง จึงเริ่มมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง ส่วน ขุนศรีไชยนาท หลังจากร่วมทำสงครามครั้งนั้น เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ออกผนวช ณ วัดพระคู่ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ แล้วเสด็จไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และ มหาวิทยาลัยนาลันทา อินเดีย ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๑๑๘๓ เป็นต้นมา ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาอาณาจักรจีน ได้สนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรจามปา กรุงจามปา และ อาณาจักรมาลัยรัฐ ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง

 

ราชวงศ์เทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ก่อกบฏ ปี พ.ศ.๑๑๘๓

เนื่องจาก ก่อนรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง นั้น ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ เริ่มตื้นเขิน เป็นอุปสรรคต่อการที่เรือสำเภา จะเดินทางผ่านได้ อย่างสะดวก ทำให้บทบาท ของ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ซึ่งตั้งอยู่ในเขตการปกครองของ แคว้นมาลายู(มะละกา) และ แคว้นยี่หน(ยะโฮ) มีความสำคัญในการเดินเรือสำเภา ขึ้นมาแทนที่ และเริ่มมีบทบาทสำคัญ ในการเป็นเส้นทางเดินเรือสำเภา การค้าขาย และการเก็บภาษี ที่สำคัญ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) กลายเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ ทางการค้า ของ มหาอาณาจักรจีน ในการติดต่อค้าขาย กับ อินเดีย และ อาหรับ ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง ได้มีนโยบายเปิดการค้า กับ ดินแดนของชาติต่างๆ อย่างจริงจัง มากขึ้น

เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน ได้วางแผนต้องการเข้ามามีอิทธิพล เหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) แทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ด้วยการสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา มีอิทธิพล เหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) มาโดยตลอด แต่เหตุการณ์ในปี พ.ศ.๑๑๗๔ สหราชอาณาจักรมหาจามปา พ่ายแพ้สงครามต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง มหาอาณาจักรจีน จึงสนับสนุนให้ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(เกาะสุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ประกาศแยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำให้ มหาอาณาจักรจีน มีอิทธิพล เหนือช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง

ในปี พ.ศ.๑๑๘๓ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) ได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้กระทบต่อการค้า ของ มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง อย่างรุนแรง ทันที

เนื่องจากเหตุการณ์ปี พ.ศ.๑๑๘๓ นั้น มหาอาณาจักรจีน ทราบว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ปลด พระยามาลายู ออกจากตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กลายเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เท่านั้น แทนที่ เจ้าพระยาตานี พร้อมกันนั้น จึงมีการโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาศรีจง ขึ้นดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นดอนเมือง และโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาหะนิมิตร ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงอู่ทอง เป็นที่มาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

 ต่อมา พระนางอุษา(แม่นางส่ง) , พระนางศรีโพธิ์ และ กลุ่มสายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ล้วนสนับสนุนให้ พระยามาลายู รับข้อเสนอ ของ มหาอาณาจักรจีน เพราะ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งปกครองเมืองพัทลุง ไม่พอพระทัย การขับไสไล่ส่ง ขุนศรีไชยนาท และ พระนางบัวจันทร์ มาก่อนหน้านี้ เมื่อทราบเหตุเรื่องข้อเสนอของ มหาอาณาจักรจีน พระนางอุษา ซึ่งได้เสด็จไปพบกับ พระนางแพรไหม ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ได้ร่วมกันใช้ วิชาทำตอแหล กับ เชื้อสายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาตานี , พระยามาลายู และ พระยามาลายา ไม่พอพระทัย การดำเนินการ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นอย่างมาก จึงประกาศก่อกบฏ ตามคำแนะนำ ของ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

มหาอาณาจักรจีน ได้ใช้โอกาสดังกล่าว ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ พระยามาลายู และ เจ้าพระยาตานี แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ อย่างลับๆ ทันที เพื่อเสนอให้ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดย มหาอาณาจักรจีน จะส่งกองทัพมาให้ความคุ้มครอง เป็นที่มาให้ พระนางอุษา และพี่น้องทั้ง ๕ สนับสนุนให้ พระยามาลายู แห่ง แคว้นสระทิ้งพระ และ เจ้าพระยาตานี แห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เริ่มวางแผน ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๓ อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ.๑๑๘๓ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ พระนางศรีโพธิ์ แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ อย่างลับๆ ให้ทำการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(สระทิ้งพระ) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน

เนื่องจาก พระยามาลายู ไม่กล้ารับตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ทำให้ เจ้าพระยาตานี ขออาสาเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรศรีโพธิ โดยมี กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เป็นเมืองนครหลวง มี พระยามาลายู แห่ง แคว้นสระทิ้งพระ ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ ดังเดิม และมี พระยามาลายา แห่ง แคว้นมาลายู(มะละกา) ดำรงตำแหน่งเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ด้วย

ดังนั้นในปี พ.ศ.๑๑๘๓ เจ้าพระยาตานี จึงประกาศ ก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) แยกออกมาจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง โดยที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ประกอบด้วย อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) , อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) พร้อมกับได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน ในปี พ.ศ.๑๑๘๓ ทันที การก่อกบฏ ครั้งนั้น เจ้าพระยาตานี ยังได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นธานี(ปัตตานี) มาใช้ชื่อ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ดังเดิม อีกด้วย

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า ในสมัยของ ฮ่องเต้ถังไถ้จง แห่งราชวงศ์ถัง ในปี พ.ศ.๑๑๘๓ ได้มีกษัตริย์(พระยาตานี) แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ถังไถ้จง พร้อมกับได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามราชประเพณี มีเนื้อหา แปลความได้ว่า...

...ปีที่ ๑๔ ในรัชกาล ของ ฮ่องเต้ถังไถ้จง(พ.ศ.๑๑๘๓) มหาจักรพรรดิ(เจ้าพระยาตานี) แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ(ชีลีฮุดชี ก๊ก) กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ได้ส่งคณะราชทูตมาสู่ราชสำนัก พร้อมกับถวายพระราชราชสาส์น มีคำร้องเรียนว่า มีขุนนางของก๊กชายแดน(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง) ได้ส่งกองทัพเข้ารุกราน จึงขอให้ มหาอาณาจักรจีน ช่วยส่งกองทัพเข้าคุ้มครอง ด้วย ฮ่องเต้ยี่ถัง จึงมีพระราชโองการให้ ข้าหลวง เมืองกวางเจา ช่วยดูแลให้ความคุ้มครอง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุง ลังกาสุกะ(ปัตตานี) ด้วย

มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุง ลังกาสุกะ ยังได้ถวายคนแคระ ชาย และ หญิง เผ่าเชิงฉี (ชาวซาไก) อย่างละสองคน พร้อมกับถวาย คณะดนตรี และคณะระบำ อีกด้วย ฮ่องเต้ ยังได้ทรงแต่งตั้งราชทูต ให้เป็น เจ๋อ-ชง (ขุนนางทะลวงฟันผู้ภักดี) ส่วน มหาจักรพรรดิ(พระยาตานี) แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ได้รับแต่งตั้งให้มีตำแหน่ง เป็น จั๋ว-เวย-ชง-ต้า-เจียง-จวิน(ขุนพลทะลวงฟันผู้ภักดีฝ่ายซ้าย) ฮ่องเต้ ยังทรงโปรดพระราชทาน อาภรณ์สีม่วง และเข็มขัดทองคำ ไปถวายแก่ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ ด้วย...

หลักฐานที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ได้ก่อกบฏ ตามคำแนะนำ ของ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) และพวก อีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยการสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อมีอิทธิพลเหนือ ช่องแคบมาลายู(มะละกา) เมื่อ มหาจักรพรรดิ ท้าวอู่ทอง ทราบข่าว จึงยกกองทัพด้วยพระองค์เอง เข้าทำสงครามปราบปราม ทันที

 

อาณาจักรจามปา ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ปี พ.ศ.๑๑๘๓

ประมาณต้นปี พ.ศ.๑๑๘๓ ในช่วงเวลาที่ อาณาจักรมาลัยรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ก่อกบฏ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ก็ได้รับรายงานข่าวว่า มหาอาณาจักรจีน ได้พยายามสนับสนุนให้ พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งปกครองโดย ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำการก่อกบฏ ด้วย

ขณะนั้น สหราชอาณาจักรมหาจามปา ประกอบด้วย อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียตน้ำ(ฟิลิปินส์) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้รับการสนับสนุนจาก มหาอาณาจักรจีน ทั้งนี้เพื่อลดอิทธิพล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา , ตาเกี๋ย) กลับคืน อีกทั้ง มหาอาณาจักรจีน ต้องการที่จะมีอิทธิพลเหนือดินแดนเส้นทางเดินเรือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกด้วย

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ทราบข่าวว่า พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ซึ่งปกครองโดย สายราชวงศ์คันธุลี อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๓

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงสั่งให้ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ , พระยาอินทร์ และ พระยาสุวรรณ เป็นแม่ทัพใหญ่ นำกองทัพใหญ่ จาก, อาณาจักรอ้ายลาว , อาณาจักรศรีโคตรบูร , อาณาจักรคามลังกาใต้ และ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เข้าทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรมหาจามปา กรุงจามปา อีกครั้งหนึ่ง

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา ครั้งนั้น มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลินยี่ สามารถหลบหนีไปยัง แคว้นเชียงขวาง ของ อาณาจักรอ้ายลาว กองทัพของ เจ้าพระยาชัยฤทธิ์ สามารถเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๓ แล้วส่งราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เชื้อสายราชวงศ์คันธุลี เข้าปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) อีกครั้งหนึ่ง และเตรียมทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม กับ ราชวงศ์เทพนิมิตร ณ สมรภูมิ ลังกาสุกะ(ปัตตานี) ปี พ.ศ.๑๑๘๔  

การก่อกบฏ ของ ราชวงศ์เทพนิมิตร ดังกล่าว เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามปราบปราม เจ้าพระยาตานี ซึ่งกระด้างกระเดื่อง ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ทันที จึงเรียกสงครามครั้งนี้กันว่า สงครามปัตตานี(ปัด-ตานี) คือเหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๘๔ ซึ่งเป็นที่มาให้ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) หรือ แคว้นลังกาสุกะ ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แคว้นปัตตานี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้น คำว่า ปัตตานี จึงมีความหมายถึง การทำสงคราม(ปัด) ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อต่อต้านการก่อกบฏ ของ ราชวงศ์เทพนิมิตร ซึ่งนำโดย ตานี(พระยาตานี) นั่นเอง

สงครามปัดตานี ณ สมรภูมิ เมืองลังกาสุกะ ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มอบให้ นายกเจ้าพระยาหะนิมิตร ทำหน้าที่ดูแลเมืองราชธานี มอบให้ จักรพรรดิพระยาศรีจง นำกองทัพเข้าปราบปราม มหาราชาขุนศรีธรนนท์ อาณาจักรชวาทวีป ที่แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) และมอบให้ แม่ทัพหมัน , แม่ทัพไพศาล และ แม่ทัพพระยายมบา นำกองทัพเข้าปิดล้อม แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ส่วน มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ไปตั้งกองทัพอยู่ที่ ภูเขากง เพื่อบัญชาการรบ

ผลของสงครามปัดตานี ครั้งนั้น จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ได้เจรจาให้ มหาราชาขุนศรีธรนนท์ แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ยอมจำนน ยอมนำ อาณาจักรชวาทวีป ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อไป ส่วนสงครามที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เจ้าพระยาตานี เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม และ สวรรคต ในสงคราม

หลังจากสงครามปัตตานี สิ้นสุดแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงได้สร้าง วัดเขากง ขึ้นที่ ภูเขากง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๔ เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ พระยากง ผู้เป็นพระราชบิดา ภายหลังสงครามปัตตานี ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงพระราชทานชื่อ แคว้นลังกาสุกะ เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นปัดตานี(ปัตตานี) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๔ เป็นต้นมา คำว่า ปัดตานี จึงหมายถึง การทำสงครามปราบปราม กบฏ เจ้าพระยาตานี นั่นเอง คำว่า ปัดตานี จึงถูกนำมาใช้ เป็นชื่อเมือง แทนที่เมืองลังกาสุกะ หรือ เมืองโพธิ์กลิงค์ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน หลังจาก มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง สร้าง วัดเขากง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยกทัพกลับ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี)

การดำเนินการ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ภายหลังสงครามปัตตานี ที่กล่าวมา เป็นเหตุให้เชื้อสาย ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร และ กลุ่มนางทั้งห้า นำโดย เจ้าอยู่หัว(พระนางอุษา) ไม่พอพระทัย การสั่งประหารชีวิต เจ้าพระยาปัตตานี เป็นอย่างมาก เพราะสายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร มิได้มีตำแหน่งที่สำคัญในการปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกต่อไป พระยามาลายู แห่ง แคว้นสระทิ้งพระ อาณาจักรมาลัยรัฐ จึงเริ่มประกาศ ก่อกบฏ ภายหลังการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ โดยไม่ยอมขึ้นต่อ อำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ อีกครั้งหนึ่ง

  

เจ้าชายราม(จตุคามรามเทพ) ฝากตัวเป็นศิษย์ ตาผ้าขาวเถระรอด ปี พ.ศ.๑๑๘๔

      คำว่า จตุคามรามเทพ เป็นพระนาม ของ เจ้าชายจตุคามรามกุมาร ซึ่งเมื่อเจริญวัยขึ้น มีพระชนมายุครบ ๑๖ พรรษา และจบการศึกษาเบื้องต้น ได้รับพระราชทานพระนามว่า ขุนราม และได้เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๒๐๑ ต่อมา จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท ซึ่งเป็น พระเชษฐา ได้พระราชทานพระนามใหม่ ให้เมื่อปี พ.ศ.๑๒๒๔ ว่า จตุคามรามเทพ เนื่องจาก ในปีดังกล่าว มีการประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยมีเมืองจักรพรรดิ อยู่ที่ เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) 

      เจ้าชายจตุคามรามกุมาร เป็น พระราชโอรส พระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง กับ พระนางวงศ์จันทร์ ประสูติเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๗๘ เมื่อมีพระชนมายุครบ ๗ พรรษา คือเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๘๔ ต้องออกบวชเป็นสามเณร เพื่อการศึกษา ตามราชประเพณี ดังนั้น หลังจากสงครามปัดตานี คือสงครามปราบกบฏ เจ้าพระยาตานี เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงได้ส่ง เจ้าชายจตุคามรามกุมาร ไปฝากเป็นศิษย์ ของ พระมหานาคเสนเถระ(ตาผ้าขาวเถระรอด) ณ เมืองโพธิ แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ    

      เจ้าชายจตุคามรามกุมาร ได้ศึกษาเล่าเรียน จนถึงพระชนมายุ ๑๖ พรรษา(พ.ศ.๑๑๙๔) จึงได้เสด็จกลับกรุงอู่ทอง ได้รับแต่งตั้งให้เป็น ขุนราม ไปปกครองเมืองราม(อภัยสาลี)

 

ราชวงศ์เทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ก่อกบฏ ปี พ.ศ.๑๑๘๕

เนื่องจาก สายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ไม่พอพระทัย การสั่งประหารชีวิต เจ้าพระยาปัตตานี เป็นอย่างมาก เพราะสายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร มิได้มีตำแหน่งที่สำคัญในการปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกต่อไป พระนางแพรไหม ซึ่งเป็นสมเด็จย่า ของ พระยามาลายู ไม่พอพระทัยการบริหารงาน ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง เป็นอันมาก เป็นเหตุให้ พระนางแพรไหม สนับสนุนให้ พระยามาลา แห่ง กรุงสระทิ้งพระ อาณาจักรมาลัยรัฐ จึงเริ่มประกาศ ก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ยอมขึ้นต่อ อำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕

เนื่องจาก พระนางแพรไหม มีสายสัมพันธ์ กับ อัครมเหสี ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง จึงพยายามวิ่งเต้นให้ มหาอาณาจักรจีน ให้ความคุ้มครองต่อ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ซึ่งจะประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และ เริ่มเก็บภาษี เรือสำเภาค้าขาย ของแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่เดินทางผ่าน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง

สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ที่ พระยามาลา ประกาศตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ ประกอบด้วย ๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) พร้อมกับได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ ทันที

สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ เริ่มทำการเก็บภาษี เรือสำเภา ของ อาณาจักรต่างๆ ที่ต้องเดินทางผ่าน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มาลายู) ทันที เช่นกัน ความขัดแย้ง จึงเริ่มเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และได้สร้างความไม่พอใจให้กับ อาณาจักรต่างๆ ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นจำนวนมาก กองทัพเรือ ของ หลายอาณาจักร จึงเริ่มปะทะกับกองทัพเรือ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ

พระยามาลา ได้เร่งส่งคณะราชทูต ไปขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เพราะขณะนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รับสั่งให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ อีกครั้งหนึ่ง

หลักฐานจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ได้บันทึกไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ มีคณะราชทูต จาก สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ(สงขลา) อาณาจักรมาลัยรัฐ ได้เดินทางไปยังดินแดน มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกแปลความได้โดยสรุป ว่า

"...คณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) ได้นำพระราชสาส์น และ เครื่องราชบรรณาการ ไปถวายแด่ฮ่องเต้ ราชทูตกราบทูลรายงานว่า ประเทศของตน(สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ) กำลังถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง) เรือสินค้าถูกรบกวนปล้นสดมภ์ จึงขอให้ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพมาให้ความคุ้มครองด้วย อีกทั้ง ยังกราบทูลขอผ่อนผันข้อจำกัดทางการค้า ที่ต้องค้าขายระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงเซี๊ยโท้(สระทิ้งพระ) ด้วย..."

หลักฐานจดหมายเหตุจีนที่กล่าวมา เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ณ ปี พ.ศ.๑๑๘๕ นั้น มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ แคว้นสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) เหตุการณ์ในขณะนั้น เชื้อสายราชวงศ์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ไม่ยอมรับอำนาจของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง ตามที่กล่าวมา

ตำนานที่มาของชื่อท้องที่ ประจวบ กล่าวถึงเรื่องราวครั้งนั้นว่า คำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ที่สั่งให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ครั้งนั้น แม่เจ้าอยู่หัว หรือ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองพัทลุง ทราบข่าว จึงมีพระราชสาส์น นัดพบกับ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ณ จุดนัดพบ คือ ท้องที่ จ.ประจวบคีรีขัน ในปัจจุบัน เพื่อร้องขอมิให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ทำการส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปราม สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ตามคำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง โดยที่ พระนางอุษา รับเป็นราชทูต ไปเจรจา กับ พระยามาลายู อีกครั่งหนึ่ง

ในช่วงเวลาดังกล่าว ขุนศรีชัยนาท พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้เสด็จกลับมาจากอินเดีย พอดี และได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน อาณาจักรมาลัยรัฐ เมื่อได้ทราบเรื่องราวดังกล่าว จึงพยายามเข้าไปร่วมแก้ไขปัญหาการก่อกบฏ ของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ เพื่อลดอิทธิพล ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งต้องการมีอิทธิพล เหนือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา)

เนื่องจาก ขุนศรีไชยนาท เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ แม่เจ้าอยู่หัว หรือ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งเป็นพระพี่นาง ของ พระนางแพรไหม ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของ พระยามาลา ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระยามาลายู ดังนั้นเมื่อ ขุนศรีไชยนาท รับอาสาไปแก้ไขปัญหาการก่อกบฏ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ

ขุนศรีไชยนาท จึงได้นำสมเด็จย่า พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) จากเมืองพัทลุง เดินทางไปยัง เพื่อสร้างความเข้าใจกับ พระนางแพรไหม และ สายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เพื่อให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ ยุติการก่อกบฏ โดยไม่ต้องทำสงครามระหว่างกัน ผลการเจรจา ของ ขุนศรีไชยนาท ครั้งนั้น เป็นที่มาให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ ยอมเป็นอาณาจักรภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงมีอิทธิพลเหนือ ช่องแคบมาลายู(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง ส่วน ขุนศรีไชยนาท เมื่อเสด็จกลับไปยัง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ก็ได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น เจ้าพระยาศรีไชยนาท

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทราบว่า จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง มิได้นำกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงสระทิ้งพระ ตามคำสั่ง แต่ประการใด กลายเป็น เจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นผู้คลี่คลายปัญหา แทน มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงเสนอให้ จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง นำกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(ฟิลิปินส์) เพื่อแก้ตัว

จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ขอสละราชย์สมบัติ ขอลาออกจากตำแหน่ง จักรพรรดิ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ และเสนอให้ เจ้าพระยาหะนิมิตร ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๕ เป็นต้นมา

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง มอบหมายให้ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท เร่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อมิให้ขัดแย้งที่ มหาอาณาจักรจีน จำเป็นต้องใช้ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เป็นเส้นทางเดินเรือการค้า ของ มหาอาณาจักรจีน  

 

สงคราม กับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรมหาจามปา ปี พ.ศ.๑๑๘๕

ตามที่ มหาอาณาจักรจีน แห่งราชวงศ์ถัง สนับสนุนให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ก่อกบฏประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๓ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมๆ กับที่ มหาอาณาจักรจีน สนับสนุนให้ สายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ทำการก่อกบฏประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๓ ภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน เช่นกัน ทำให้เกิดสงครามขึ้น ๒ จุดใหญ่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามที่กล่าวมาแล้ว สงครามที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) นั้น ยืดเยื้อมาจนถึงปี พ.ศ.๑๑๘๕

สงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) นั้น พระเจ้าฟันเจนเลง พระราชโอรส ของ พระเจ้าฟันถูลิ  ได้ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๔ สงครามยืดเยื้อต่อมาจนถึงปี พ.ศ.๑๑๘๕ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถส่งกองทัพเข้าทำการปิดล้อม เมืองจามปา ราชธานี ของ อาณาจักรจามปา มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๕ พระเจ้าฟันเจนเลง ได้ส่งคณะราชทูต ไปขอความช่วยเหลือจาก มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง อีกครั้งหนึ่ง อ้างว่า มีประเทศข้างเคียง รุกราน เช่นเดียวกันกับ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ

ต่อมาในปี พ.ศ.๑๑๘๕ หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้คลี่คลายปัญหาการก่อกบฏ ของ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เรียบร้อยแล้ว และ ขุนศรีไชยนาท ได้สำเร็จการศึกษา พร้อมกับได้เสด็จมารับราชการมีตำแหน่งเป็นแม่ทัพใหญ่ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

เจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงขออาสา นำกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ด้วยพระองค์เอง เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ส่งพระราชสาส์น ไปยัง พระเจ้าฟันเจนเลง ให้ยอมจำนน ต่อกองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยดีก่อนการทำสงครามใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕

พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ต้องยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงได้ถอนทัพกลับ ผลของการที่ พระเจ้าฟันเจนเลง ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้เข้าไปสมรสเกี่ยวดองกับ เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ของ อาณาจักรอีสานปุระ จึงได้วางแผน ก่อกบฏอย่างลับๆ เรื่อยมา

ผลของสงครามครั้งนั้น จักรพรรดิเจ้าพระยาศรีจง ต้องขอสละราชย์สมบัติ ขอลาออกจากตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ จึงมีการเสนอให้ นายกเจ้าพระยาหะนิมิตร ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๕ เป็นต้นมา มหาจักรพรรดิ ท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงมอบหมายให้ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท เร่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งที่ มหาอาณาจักรจีน จำเป็นต้องใช้เส้นทางเดินเรือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เป็นเส้นทางเดินเรือการค้า ของ มหาอาณาจักรจีน ต่อไปในอนาคต 

 

ท้าวอู่ทอง สร้างความสัมพันธ์ กับ มหาอาณาจักรจีน ปี พ.ศ.๑๑๘๖

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น เมื่อสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรมหาจามปา และ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๕ เรียบร้อยแล้ว สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงเป็นรัฐผู้มีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อย่างเต็มที่ เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๖ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากได้ขาดความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ไปนาน

เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน พยายามสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬ มีอิทธิพล ในดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร มาอย่างยาวนาน ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มอบหมายให้ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท ซึ่งเป็นพระสหายกับ อัครมเหสี ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) เร่งรีบสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน เพื่อมิให้เกิดความขัดแย้งขึ้นอีก เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน จำเป็นต้องใช้ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เป็นเส้นทางเดินเรือสำเภา ในการเปิดการค้า ของ มหาอาณาจักรจีน กับ อินเดีย และ อาหรับ ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นอย่างมากด้วย  

มีหลักฐานว่า หลังจากที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ดังเดิมเรียบร้อยแล้ว ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๖ ราชทูตมีชื่อว่า จางชุ่น และ อุปทูตมีชื่อว่า หวังซุ่นเช็ง เดินทางมายัง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ซึ่งเป็น เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ เมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เนื้อหาในจดหมายเหตุซึ่งราชทูตจางชุ่น ได้ทำการบันทึกไว้ สามารถแปลเป็นภาษาไทย มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

"...ในปีที่ ๓ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ถังไถ้จง(พ.ศ.๑๑๘๖) แห่ง ราชวงศ์ถัง ฮ่องเต้ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ปัญญาชน ชาวเมือง ก๊กอู๋(เมืองนานกิง) มีนามว่า จางชุ่น ตำแหน่งผู้รักษาพระราชทัพย์ฝ่ายทหาร เป็นหัวหน้าคณะราชทูต และขุนนางผู้รักษาทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อ วัง-ชุ่น-เซ็ง เป็นอุปทูต เพื่อมอบให้อัญเชิญพระราชสาส์น และ เครื่องราชบรรณาการ ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(อั๋ว-กวั่ว)

คณะราชทูต ได้ลงเรือสำเภา ออกเดินทางจาก เมืองหนำไฮ้(กวางตุ้ง) เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๑๑๘๖ โดยเดินทางระหว่างลมมรสมตะวันออกเฉียงเหนือ(ลมหนาว) กำลังดี เรือเล่นใบในทะเล ๒๐ วัน ๒๐ คืน ถึง ภูเขาเกียวชี ผ่านเลยมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เรือได้หยุดทอดสมอที่ เกาะ เล่ง-เทีย-ปัว-ป๊อก-โก-จิว ซึ่งทิศตะวันตก ของเกาะ หันไปสู่ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) เรือเล่นต่อมาทางใต้ ก็ถึง ไซ-จื้อ-เจี๊ยะ จากนั้นก็เดินทางผ่านไปยังหมู่เกาะใหญ่น้อย เป็นจำนวนมาก อีก ๒-๓ วันต่อมา ก็มองเห็นทิวเขา(ทิวเขาชลบุรี) ของ แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก เมื่อเรือเล่นลงมาทางใต้ ผ่าน เกาะ เกย-ลั่ง-เต้า(เกาะสีชัง) ก็ถึงเขตุแดน ของ แคว้นอู่ทอง(อั๋ว-กวั่ว) อันเป็น แคว้นนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง

ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ.๑๑๘๖ คณะราชทูตจางชุ่น ได้เดินทางมาถึงเขตเมืองนครหลวง ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มหาจักรพรรดิอู่ทอง แห่ง กรุงอู่ทอง ทรงโปรดให้พระราชโอรส(จักรพรรดิเจ้าพระยาหะนิมิตร) แต่งกายด้วยชุดขาว ถือศีลพราหมณ์ พร้อมด้วยขบวนเรือ ๓๐ ลำ ออกมาคอยต้อนรับคณะราชทูต ถึงกลางทะเล  ด้วยการเป่าสังข์  ตีกลอง แสดงความยินดี และเป็นการให้เกียรติ ในการต้อนรับคณะราชทูต ตามราชประเพณี จากนั้น ขบวนเรือต้อนรับ ก็ใช้โซ่ทองคำ ผูกหัวเรือพระราชสาส์น ลากจูงเข้าสู่ชายฝั่ง โดยมีการนำขบวนเรือ ทำการแห่แหน เดินทางต่อไป ไปตามลำแม่น้ำ(แม่น้ำแม่กลอง) โดยใช้เวลาถึง ๓๐ วัน(จากเกาะสีชัง ถึง ราชบุรี) คณะราชทูตพวกเรา จึงเดินทางไปถึงเมืองนครหลวง(เมืองอู่ทอง-ราชบุรี) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๑๑๘๖ พวกเราเดินทางถึงที่พักในพระราชวังหลวง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(อั๋ว-กวั่ว) ได้ส่งพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ซึ่งทำหน้าที่ นายะเกีย(นายก) มาทำหน้าที่ต้อนรับ ท่านราชทูตจางชุ่น และคณะ ด้วยพิธีเอิกเกริก ในชั้นต้น ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ได้ส่งพนักงานต้อนรับ ให้นำถาดทองคำ บรรจุไว้ด้วย ดอกไม้หอม กระจกเงา หวีทองคำ หม้อน้ำมันหอม ๒ หม้อ น้ำหอมอีก ๘ หม้อ พร้อมผ้าขาวอีก ๔ ผืน เพื่อมอบให้คณะราชทูตใช้อาบน้ำ และแต่งกายใหม่ เพื่อการเตรียมตัวเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิ(ท้าวอู่ทอง) และเตรียมถวายพระราชสาส์น ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน

ในวันเดียวกันนั้น เวลาบ่าย ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ได้ส่งช้างมา ๒ เชือก มาเตรียมการเพื่อการถวายพระราชสาส์น ตามราชประเพณี ช้างเชือกหนึ่งมีผ้าคาดเพดาน ซึ่งประดับด้วยขนนกยูง ช้างอีกเชือกหนึ่ง มีพานทองคำ สำหรับใส่พระราชสาส์น มีลวดลายเป็นดอกไม้สีทอง เพื่ออัญเชิญพระราชสาส์น  ขบวนนำพระราชสาส์น มีผู้หญิงผู้ชาย ๑๐๐ คน ทำหน้าที่เป่าสังข์ ตีกลอง โดยมีพราหมณ์ ๒ ท่าน นำหน้าขบวน เพื่อนำคณะราชทูต เดินทางเข้าไปยังพระราชวังหลวง(คูบัว) ท่านราชทูตจางชุ่น ได้เข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เพื่อถวายพระราชสาส์น ในพระราชมณเฑียร ที่ว่าราชการของ มหาจักรพรรดิ ซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ นั่งเฝ้าอยู่บนพื้น เมื่อมีการอ่าน และแปล พระราชสาส์นแล้ว มีขุนนาง ทำหน้าที่มาเชิญให้ท่านราชทูตจางชุ่น และคณะ นั่งลง ดนตรีจึงเริ่มบรรเลง เมื่อดนตรีบรรเลง จบลง ก็มีขุนนางมาเชิญท่านราชทูตจางชุ่น และคณะราชทูต เดินทางกลับเข้าที่พัก

ในเวลาเย็น ณ บ้านพักรับรองของคณะราชทูต มีขุนนางแต่งชุดขาว หลายคน มาดำเนินการเพื่อจัดงานเลี้ยงรับรองคณะราชทูต อาหารในงานเลี้ยงคณะราชทูต นั้น ถูกจัดไว้ในกระทงใหญ่ ทำด้วยใบตอง กว้างถึงกระทงละ ๑๐ ฟุต ใช้เป็นถาดใส่อาหาร ประธานจัดงานเลี้ยงรับรอง ได้กล่าวต้อนรับ คณะราชทูต แห่ง มหาอาณาจักรจีน ว่า

...ท่านเป็นข้าราชการ ของ มหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ ท่านเป็นแขกที่มีเกียรติ ของ ขุนนาง และ ข้าราชการ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง จึงขอเชิญให้คณะราชทูต รับประทานอาหารอันต่ำต้อย ที่ประเทศของเรา(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง) จัดมาเพื่อเป็นเกียรติ แก่คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ของท่านเถิด...

อีกสามวันต่อมา(วันที่ ๒ ธันวาคม พ.ศ.๑๑๘๖) มีการจัดงานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ซึ่งเป็น มหาราชา ราชา และเจ้าเมือง ของ อาณาจักร และแว่นแคว้นต่างๆ มาร่วมงานด้วย ท่านราชทูตจางชุ่น และคณะ ได้รับเชิญจากท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ให้ไปร่วมงาน ในงานพิธีพระราชทานเลี้ยงแขกเมือง ตามราชประเพณี ด้วย ในงานนี้ มีการแห่แหนแขกเมือง ซึ่งมีพิธีการคล้ายคลึง กับ การขอเข้าเฝ้า ของ คณะราชทูต มีทหารเดินนำไปข้างหน้าขบวนแขกเมือง ผ่านด้านหน้าที่ประทับ ของ มหาจักรพรรดิ(ท้าวอู่ทอง) ซึ่งมีการสร้างยกพื้นขึ้น ๒ ชั้น

บนพระที่นั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง นั้น มีการยกพื้นชั้นแรก มีกระทงทำด้วยใบตอง ใช้วางอาหารต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก แต่ละกระทงที่ใช้วางอาหารเพื่อการเลี้ยงแขกเมือง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ถึง ๑๕ ฟุต มีขนมชั้น สร้างขึ้นโดยประกอบด้วยชั้นสีต่างๆ ๔ สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีแดง ส่วนอาหารต่างๆ ที่วางอยู่ในกระทง มีเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปลา เนื้อเต่าทะเล เนื้อเต่าน้ำจืด และมีอาหารอื่นๆ นับได้อีกกว่า ๑๐๐ ชนิด

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้เชิญให้ท่านราชทูตจางชุ่น ขึ้นไปนั่งบนพระที่นั่ง ยกพื้นสูงชั้นที่ ๒ ที่จัดไว้ให้  ส่วนพวกขุนนาง และข้าราชการ จะนั่งกันกลางพื้น รอบๆ พระที่นั่ง พลับพลาที่ประทับ ของ มหาจักรพรรดิ แขกเมืองที่สำคัญ แต่ละคน มีขันซึ่งทำด้วยทองคำ สำหรับใช้ประจำแต่ละคน เพื่อใช้สำหรับการดื่มเหล้า ในงานนี้ มีคณะหญิงสาว คอยทำการบรรเลงดนตรี โดยรอบพระที่นั่ง ที่ประทับของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง อีกด้วย

ภายหลังความสำเร็จทางภารกิจ ของ คณะราชทูตจางชุ่น ซึ่งต้องเดินทางกลับ มหาอาณาจักรจีน นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ทรงโปรดเกล้าให้ ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณาการ เป็นการตอบแทน โดยคณะราชทูต ของ ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) เดินทางไปพร้อมกับ คณะราชทูต ของ ท่านราชทูตจางชุ่น ด้วย ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ได้นำสิ่งของพื้นเมืองไปถวาย พร้อมด้วย มงกุฎทองคำ ซึ่งสร้างขึ้นเป็นรูป ดอกชบา และการบูร เป็นเครื่องราชบรรณาการ อีกทั้ง พระราชสาส์น ถูกสร้างขึ้นด้วยแผ่นทองคำ ซึ่งได้เขียนตัวอักษร ลงไว้ในแผ่นทองคำ พระราชสาส์น ซึ่งบรรจุอยู่ในหีบทองคำ ขากลับของ คณะราชทูต แห่ง มหาอาณาจักรจีน มีพวกขุนนาง แต่งชุดขาว ถือดอกไม้หอม มีการเป่าสังข์ ตีกลอง เดินนำหน้าขบวน ทำการแห่แหน พระราชสาสน์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาส่งลงเรือสำเภา ของท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) อีกด้วย

เมื่อเรือสำเภา เดินทางออกจากปากแม่น้ำ สู่ท้องทะเลใหญ่ ท่านราชทูตจางชุ่น ได้พบเห็นปลามีสีเขียว รูปร่างเหมือนใบไม้(ปลากระเบนเขียว) ฝูงหนึ่ง กระโจนขึ้นสู่เหนือน้ำ เรือของคณะราชทูต แล่นไปในท้องทะเล อีกประมาณ ๑๐ วัน ก็ถึงดินแดน ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) อันประกอบด้วยทิวเขาสูง เรือสำเภา ของ คณะราชทูต ได้แล่นเลียบชายฝั่ง มุ่งหน้าไปทางทิศเหนือ ในเวลาไม่นาน เรือของคณะราชทูต ทั้ง ๒ คณะ ก็เดินทางถึงเกียวจี่..."

หลักฐานจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่า มหาอาณาจักรจีน ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ยี่ถัง ได้พยายามเข้ามามีอิทธิพลเหนือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) จึงพยายามสนับสนุนให้ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) แยกตัวเป็นอิสระ ตั้งเป็น สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน เช่นเดียวกันกับที่ ฮ่องเต้ซุนกวน และ ฮ่องเต้จีน อีกหลายพระองค์ ได้เคยทำสำเร็จมาแล้ว ตามแนวคิด ของ กลุ่มปัญญาชนขงจื้อ

จะเห็นว่า เมื่อ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน จำเป็นต้องส่งคณะราชทูตจางชุ่น เข้ามาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

การที่คณะราชทูตจางชุ่น ต้องเดินทางจาก เกาะสีชัง มาสู่ ปากแม่น้ำแม่กลอง และเดินทางทวนกระแสน้ำ ของ แม่น้ำแม่กลอง เพื่อเดินทางเข้าไปยัง พระราชวังหลวงคูบัว กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) โดยใช้เวลาถึง ๓๐ วัน นั้น แสดงให้เห็นว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ต้องการถ่วงเวลา เพื่อให้มีเวลาตระเตรียมการ เพื่อการจัดงานต้อนรับมหาราชา และ ราชา รวมไปถึงเจ้าเมืองต่างๆ ของ อาณาจักร แว่นแคว้น และ เมืองต่างๆ มาร่วมงานต้อนรับแขกเมือง ด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ยังคงเป็นรัฐ ที่มีอำนาจ และอิทธิพล อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร และมีอิทธิพลเหนือดินแดน เส้นทางเดินเรือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกด้วย

ดังนั้น การจัดงานเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง ดังกล่าว ตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน โดยที่ ท่านราชทูตจางชุ่น และคณะ ได้รับเชิญจากท่านนายกเจ้าพระยาศรีชัยนาท ให้ไปร่วมงาน ในงานพิธีพระราชทานเลี้ยงแขกเมือง ตามราชประเพณี ในงานนี้ด้วย ก็เพื่อส่งสัญญาณ ให้กับ มหาอาณาจักรจีน ทราบว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ได้ผ่านพ้นวิกฤตความขัดแย้ง มาสู่ความเป็นเอกภาพ เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม การเดินทาง ของ คณะราชทูต แห่ง มหาอาณาจักรจีน ครั้งนั้น คณะราชทูต ได้พบเห็นความขัดแย้งใน สายราชวงศ์อู่ทอง พอสมควร เพราะ ขณะเดินทางกลับ นั้น พระนางวงศ์จันทร์ ได้ออกมาสำแดงฤทธิ์ กับ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท และ พระนางบัวจันทร์ อีกครั้งหนึ่ง

 

นายกศรีชัยนาท เป็นราชทูต เดินทางไป มหาอาณาจักรจีน ปี พ.ศ.๑๑๘๗

ตามหลักฐานจดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ของท่านราชทูตจางชุ่น ได้กล่าวไว้ก่อนแล้วว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้ทรงโปรดเกล้าให้ ท่านนายกเจ้าพระยาศรีชัยนาท เป็นหัวหน้าคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ มหาอาณาจักรจีน เป็นการตอบแทน โดยคณะราชทูต ของ ท่านนายกเจ้าพระยาศรีชัยนาท ได้ออกเดินทางไปพร้อมกับ คณะราชทูต ของ ท่านราชทูตจางชุ่น ด้วย

จดหมายเหตุจีนของราชทูตจางชุ่น ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ท่านนายกเจ้าพระยาศรีชัยนาท ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ได้นำสิ่งของพื้นเมืองไปถวาย พร้อมด้วย มงกุฎทองคำ ซึ่งสร้างขึ้นเป็น รูปดอกชบา และ การบูร เป็นเครื่องราชบรรณาการ อีกทั้ง พระราชสาส์น ถูกสร้างขึ้นด้วยแผ่นทองคำ ซึ่งเขียนตัวอักษร ลงไว้ในแผ่นทองคำ ด้วย พระราชสาส์น ซึ่งบรรจุอยู่ในหีบทองคำ โดยมีพวกขุนนาง แต่งชุดขาว ถือดอกไม้หอม มีการเป่าสังข์ ตีกลอง เดินนำหน้าขบวน แห่พระราชสาสน์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มาส่งลงเรือสำเภา ของท่านนายกพระยาศรีไชยนาท ขณะที่ออกเดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน ด้วย

ในหนังสือหมานสื่อ ของม้าต้วนหลิน ยังได้ทำการบันทึก เพิ่มเติม ไว้อีกว่า ในปี พ.ศ.๑๑๘๗ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน มีบันทึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการทูต ในครั้งนั้นแปลได้ใจความ อย่างสั้นๆ ว่า...

"...ในฤดูใบไม้ผลิ  ปีที่หกแห่งรัชกาลฮ่องเต้ถังไถ้จง(พ.ศ.๑๑๘๗) ท่านราชทูตจางชุ่น และท่านนายก(พระยาศรีไชยนาท) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ได้เข้าเฝ้า ฮ่องเต้ยี่ถัง เพื่อถวายพระราชสาส์น และ เครื่องราชบรรณาการ ทางฮ่องเต้ยี่ถัง ได้พระราชทานสิ่งของต่างๆ ถึง ๒๐๐ กว่าชนิด ให้แก่ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) ซึ่งเป็น ราชทูต และคณะ พร้อมกับทรงแต่งตั้งให้ท่านนายก(นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท) มีตำแหน่งซึ่งสามารถเข้าเฝ้าฮ่องเต้ยี่ถัง ได้ทุกโอกาส..."

หลักฐานชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่า การที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถวาย ดอกชบาทองคำ นั้น แสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้พยายามสื่อความให้ มหาอาณาจักรจีน ทราบว่า อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) นั้น ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง เรียบร้อยแล้ว

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในปี พ.ศ.๑๑๘๗ ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง กับ มหาอาณาจักรจีน นั้น ยังคงมีความสัมพันธ์ที่ดีอยู่ แต่ในปีเดียวกัน นั้นเอง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) โดย แคว้นมาลายู(มะละกา) ได้ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และได้เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปลายปี พ.ศ.๑๑๘๗ ด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง อย่างแน่นอน จึงคำถามว่า ได้เกิดความขัดแย้งอะไรขึ้นอีก ในขณะนั้น?

 

นายกศรีไชยนาท ถูกพระนางวงศ์จันทร์ ขับไล่ออกจากกรุงอู่ทอง พ.ศ.๑๑๘๗

เนื่องจาก ในปี พ.ศ.๑๑๘๗ เมื่อ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท เสด็จกลับมาจากการเป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ตามที่ได้รับมอบหมาย นั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) และ จักรพรรดิเจ้าพระยาหะนิมิตร ต้องเสด็จออกว่าราชการในแว่นแคว้นต่างๆ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท จึงเป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ในเมืองราชธานี กรุงอู่ทอง(ราชบุรี)

ได้เกิดความขัดแย้งขึ้น ระหว่าง หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ กับ หม่อมหญิงบัวจันทร์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ จึงได้ถือโอกาสใช้ช่วงเวลาดังกล่าว นำขุนนาง และบ่าวไพร่ ทำการชุมนุมขับไล่ไสส่ง  หม่อมหญิงบัวจันทร์ และ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท ให้เสด็จกับไปอาศัยอยู่ในดินแดนของ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) อีกครั้งหนึ่ง อ้างว่า ทั้งสองแม่ลูก เป็นเชื้อสายราชวงศ์ ชนชาติเงี้ยว(ชนชาติแมนจู ผสมชนชาติเตอร์กตะวันออก) มิใช่ชนชาติอ้ายไต อย่างแท้จริง จึงไม่ต้อนรับให้อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

อีกทั้งการแต่งตั้งให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท รับตำแหน่ง นายก ก็มิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เพราะมีพระชนมายุไม่ครบ ๒๕ พรรษา มีการกล่าวหา ทำตอแหล ว่า นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท เป็นผู้ให้สินบนแก่ สมาชิก ของ สภาปุโรหิต และ สภาองคมนตรี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกด้วย

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ นายกเจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้มีพระราชสาส์นถึง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ขอลาออกจากตำแหน่ง นายก หลังจากนั้น เจ้าพระยาศรีไชยนาท และ หม่อมหญิงบัวจันทร์ พร้อมไพร่พล ต้องเสด็จแล่นเรือสำเภาไปพบกับ พระนางสุวรรณจักรี(พระนางหยางกุ่ย) ณ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อเล่าเหตุการณ์ให้กับ พระนางสุวรรณจักรี(พระนางหยางกุ่ย) ทราบเหตุ

ต่อมา แม่เจ้าอยู่หัว หรือ พระนางอุษา ทราบข่าว จึงได้มีการนัดหมายให้เดินทางไปสมทบกัน ณ แคว้นมาลายู(มะละกา) เพื่อพบกับ พระนางแพรไหม ผู้เป็นพระขนิษฐา ของ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) และเป็นสมเด็จย่า ของ พระยามาลายา มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เป็นที่มาให้ แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ไม่พอใจ เป็นอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้ พระยามาลายู ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู ทำการก่อกบฏ เป็นครั้งที่ ๓ พร้อมกับได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

พระยามาลายู เสนอให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท รับตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู อีกด้วย แต่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว เพราะไม่ต้องการสร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้บันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ.๑๑๘๗ และปี พ.ศ.๑๑๘๘ นั้น ได้มีคณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู จาก แคว้นมาลายู(มะละกา) แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ได้เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) แห่ง มหาอาณาจักรจีน แสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ได้ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นครั้งที่ ๓ อีกครั้งหนึ่ง

เจ้าพระยาศรีไชยนาท ให้กำเนิด แคว้นตาม้าซิก(สิงค์โป) ปี พ.ศ.๑๑๘๗

ตามตำนาน เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) ได้กล่าวถึงพระราชประวัติ ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ว่า ก่อนที่ประชาชนจะเรียกพระนาม ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ว่า ตาม้ากลิงค์ นั้น เจ้าพระยาศรีไชยนาท ถูกประชาชนในดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เรียกพระนามว่า ตาม้าซิก มาก่อนที่จะถูกเรียกพระนามว่า ตาม้ากลิงค์

เนื่องจาก เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้เสด็จจาก กรุงอู่ทอง เพราะถูก พระนางวงศ์จันทร์ ขับไล่ จึงต้องไปสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ บนเกาะแห่งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และทำหน้าที่ควบคุม ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) หลังจากที่ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ ได้ทำการระดมมวลชน ทำการขับไล่ใสส่งให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท และ พระนางบัวจันทร์ ต้องออกจาก พระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง และได้ไปประทับอยู่ที่ เกาะแห่งหนึ่ง ต้องร้องให้ส่งเสียง ซิกๆ ด้วยความเสียใจ

เป็นที่มาให้ประชาชนเรียกชื่อเกาะดังกล่าว ว่า เกาะตาม้าศรีไชยนาท และถูกเรียกชื่อในเวลาต่อมาว่า เกาะตาม้าซิก ซึ่งเป็นที่มาให้ พ่อค้าเรือชาวจีน เรียกชื่อเกาะดังกล่าว เพี้ยนต่อมาว่า เกาะตาม้าซิก หรือ เกาะเทมาเซ็ก ในเวลาต่อมา คือชื่อของ เกาะสิงคโป ในปัจจุบัน นั่นเอง

ขณะที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เสด็จไปสร้าง เมืองตาม้าซิก(เทมาเส็ก) และทำการปกครอง เกาะตาม้าซิก(สิงค์โป) อยู่นั้น เจ้าพระยาศรีไชยนาท ได้อพยพไพร่พล เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ซึ่งชอบเชิดสิงค์โต มาตั้งแต่สมัย สงครามโพกผ้าเหลือง และนับถือพระพุทธศาสนา มาตั้งรกรากในดินแดนของ เกาะตาม้าซิก พร้อมกับได้ร่วมกันสร้างวัด และปลูกต้นโพธิ์ ขึ้นมาในพื้นที่ดังกล่าว เป็นที่มาให้คนไทยเรียกชื่อ เกาะตาม้าซิก(เทมาเส็ก) อีกชื่อหนึ่งว่า เกาะสิงค์โพธิ์(สิงค์โป) สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ยังมีตำนานความเป็นมาของ ขนมลอดช่องสิงค์โป ได้กล่าวถึงความเป็นมาของ ขนมลอดช่องสิงค์โป ว่า ขณะที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ทำการปกครอง เมืองสิงค์โพธิ์ อยู่นั้น หม่อมหญิงบัวจันทร์ ได้ทราบข่าวว่า พระนางเงี้ยว(พระนางสุวรรณปทุม) แห่ง รัฐเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ เจ้าพระยาศรีไชยนาท และเป็นพระญาติวงศ์ที่ใกล้ชิดกับ พระนางสุวรรณจักรี(พระราชมารดา ของ หม่อมหญิงบัวจันทร์) ทราบข่าวว่า เจ้าพระยาศรีไชยนาท และ หม่อมหญิงบัวจันทร์ ถูกขับไล่ส่งให้ต้องออกจากพระราชวังหลวง กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง และได้มาประทับอยู่ที่ เกาะสิงค์โป พระนางเงี้ยว(สุวรรณปทุม) จึงได้นำพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายโกลี และ เจ้าชายกุลี เสด็จจาก อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) มายังดินแดนของ อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) และพระนางยังเสด็จเลยมามาถึง เกาะสิงค์โป เพื่อเรียกร้องให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท เสด็จกลับไปปกครอง อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องเสด็จไปยัง อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกครั้งหนึ่ง ด้วย

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน กล่าวถึง เจ้าชายทูลี่(เจ้าพระยาศรีไชยนาท) ว่า เป็นกษัตริย์ชาวป่าเขา ซึ่งเป็นพระสหายสนิท กับ อัครมเหสี ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) อีกด้วย และตำนาน ลอดช่องสิงค์โป กล่าวว่า พระนางเงี้ยว(พระนางสุวรรณปทุม) ผู้นี้ ได้เสด็จมายังเกาะสิงค์โพธิ์ เป็นผู้นำเครื่องมือผลิต ลอดช่องสิงค์โป มายัง เกาะตาม้าซิก เป็นตำนานการกำเนิด ขนมลอดช่องสิงค์โป อีกด้วย

 

ความขัดแย้งในราชสำนัก ราชธานี กรุงอู่ทอง ปี พ.ศ.๑๑๘๗

ส่วนเหตุการณ์ที่ พระราชวังหลวงคูบัว กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) และ จักรพรรดิเจ้าพระยาหะนิมิตร เสด็จกลับมาจากการตรวจราชการ และทราบว่า หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ และ คณะขุนนาง บ่าวไพร่ ร่วมกันทำการขับไล่ใสส่ง หม่อมหญิงบัวจันทร์ และ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ออกจากพระราชวังหลวง อีกครั้งหนึ่ง จนเป็นเหตุให้ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ทำการก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นครั้งที่ ๓

ผลจากการที่ ราชวงศ์เทพนิมิตร ได้ส่งคณะราชทูต ไปขอการคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๗ และปี พ.ศ.๑๑๘๘ นั้น เป็นการได้สร้างความเดือดร้อนให้กับเรือสำเภา ของ พ่อค้าแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งต้องเดินทางผ่าน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เพื่อแล่นเรือไปค้าขายกับ ประเทศอินเดีย และ ดินแดนประเทศอาหรับ ต้องเสียภาษี ให้กับ แคว้นมาลายู(มะละกา) ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ นั้น จึงมิได้ราบรื่น ดังเดิม

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ทรงพระพิโรธ มาก ที่ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ สร้างเหตุไม่ดีงามขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่า หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ จะอ้างว่า เป็นการต่อต้านคัดค้าน การทำตอแหล ของ พระนางอุษา ก็ตาม มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงรับสั่งขับไล่ให้ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ ให้ไปประทับอาศัยอยู่กับ เจ้าพระยามหาฤกษ์ ณ แคว้นละโว้ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์

หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงได้ส่ง จักรพรรดิเจ้าพระยาหะนิมิตร ให้เสด็จไปขอความช่วยเหลือจาก พระมหานาคเสนเถระเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เพื่อขอให้เป็นผู้คลี่คลาย ความขัดแย้ง ที่กำลังเกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) พ.ศ.๑๑๘๘

เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน ได้วางแผนต้องการเข้ามามีอิทธิพล เหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) แทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วยการสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา หรือ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ เข้าไปมีอิทธิพล เหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) มาโดยตลอด

เหตุการณ์ในปี พ.ศ.๑๑๘๕-๑๑๘๗ นั้น สหราชอาณาจักรมหาจามปา และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงมาลายู พ่ายแพ้สงครามต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ดังเดิม แม้ว่า มหาอาณาจักรจีน จะสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬ ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ถูก กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามปราบปรามเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๑๘๘ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ทำการก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจากเหตุการณ์ปี พ.ศ.๑๑๘๗-๑๑๘๘ นั้น มหาอาณาจักรจีน ทราบว่า ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง เจ้าพระยาศรีไชยนาท(ทูลี่) ต้องเสด็จไปเป็นมหาราชาปกครอง อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) จนกระทั่งได้เกิด สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และได้ส่งคณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู(มะละกา) ไปยังดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๗ และ พ.ศ.๑๑๘๘ ตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ต่อมา พระมหานาคเสนเถระเจ้า เป็นผู้คลี่คลายปัญหาความขัดแย้ง ทำให้ มหาอาณาจักรจีน หันไปใช้ อาณาจักรจามปา มาเป็นเครื่องมือ เพื่อก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง โดยสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ทำการก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เป็นที่มาให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

มหาอาณาจักรจีน ได้ใช้โอกาสดังกล่าว ส่งคณะราชทูตลับ ไปติดต่อกับ พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้ทำการก่อกบฏ และประกาศแยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง แต่ถูกปฏิเสธจาก พระเจ้าฟันเจนเลง จึงเป็นที่มาให้ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูตลับไปติดต่อกับ พระเจ้าภัทเรศวร มหาราชา แห่ง อาณาจักรเวียดน้ำ(มินดาเนา) อย่างลับๆ เพื่อเสนอให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ทำการก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง

มหาอาณาจักรจีน เสนอว่าจะส่งกองทัพมาให้ความคุ้มครอง เป็นที่มาให้ พระเจ้าภัทเรศวร สนับสนุนให้กลุ่มขุนนางทมิฬโจฬะ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งรับราชการอยู่ใน พระราชวังหลวง ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ให้ทำการลักลอบสังหาร พระเจ้าฟันเจนเลง แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) จนกระทั่ง สวรรคต หลังจากนั้น พระเจ้าภัทเรศวร แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระเจ้าพันถูลิ ก็ประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิของ สหราชอาณาจักรมหาจามปา โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐ อยู่ที่ อาณาจักรเวียตน้ำ(มินดาเนา) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๘๘ เป็นต้นมา

ส่วนเหตุการณ์ในดินแดนของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เมื่อ พระเจ้าฟันเจนเลง สวรรคต ทำให้ อัครมเหสี ของ พระเจ้าฟันเจนเลง ซึ่งเป็นเชื้อสาย ราชวงศ์คันธุลี กลายเป็นผู้สำเร็จราชการ แทนที่ พระราชโอรสซึ่งมีพระนามว่า เจ้าชายชคัทธรรม อยู่ระยะหนึ่ง ต่อมา เจ้าชายชคัทธรรม ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงศรวาณี ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระเจ้าศรีอีสาน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรจามปา อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางศรวาณี เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ก็ได้นำเชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ เข้าไปมีบทบาทในดินแดน อาณาจักรจามปา มากขึ้นเรื่อยๆ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ จึงได้เข้าไปมีบทบาท ในการปกครอง ๔ อาณาจักรในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ด้วย

      ในขณะที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรจามปา นั้น มหาอาณาจักรจีน ได้สนับสนุนให้ พระเจ้ามังกูร่า แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง เป็นผลสำเร็จ

 

เจ้าพระยาศรีไชยนาท ปกครอง อาณาจักรหูหลำ ปี พ.ศ.๑๑๘๘

การที่ เจ้าพระยาศรีไชยนาท(ทูลี่) ต้องเดินทางไปยัง ทูลี่ก๊ก ในดินแดนภาคเหนือ ของ มหาอาณาจักรจีน หลังจากที่ พระยามาลายู ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงมาลายู เมื่อปี พ.ศ.๑๑๘๘ นั้น เจ้าพระยาศรีไชยนาท(ทูลี่) ได้รับข้อเสนอให้ดำรงตำแหน่ง มหาราชา ทำการปกครอง อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ)

เจ้าพระยาศรีไชยนาท(ทูลี่) จึงได้นำ พระนางเงี้ยว และ พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายโกลี และ เจ้าชายกุลี เพื่อเดินทางจาก อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) มายังดินแดน ของ อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) เพื่อรับตำแหน่ง มหาราชา แห่ง อาณาจักรหูหลำ เพื่อถ่อยห่างจากความขัดแย้งที่กำลังเกิดขึ้นใน ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

 

นางทั้งห้า ขอขมาลาโทษ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ปี พ.ศ.๑๑๙๐

ส่วนเหตุการณ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่ง พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) พยายามสร้างความสมานฉัน ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) ได้ค้นหาสาเหตุ ของ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น สรุปความได้ว่า เป็นผลมาจาก การทำตอแหล ของ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งได้สร้างข่าวให้เกิดความเข้าใจผิด ของ พระนางอุษา มาแต่ดั้งเดิม ให้เข้าใจว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นผู้ฆ่า พระยากง ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระยาพาน

พระนางอุษา ได้มอบให้ ขุนนาง ซึ่งเป็นขุนนางสนองพระโอฐ ออกไปสร้างข่าวใส่ไข่ และส่งข่าวไปยังแว่นแคว้นต่างๆ กล่าวหาว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) เป็นผู้ฆ่า พระยากง ทำให้เกิดความเข้าใจผิดไปทั่ว ซึ่งเรียกว่า ทำตอแหล เป็นเหตุให้ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ ไม่พอพระทัย พระนางอุษา ซึ่งเป็นสมเด็จย่า ของ หม่อมหญิงบัวจันทร์ เป็นเหตุให้ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ จึงพาลเกลียดชัง หม่อมหญิงบัวจันทร์ และ เจ้าพระยาศรีชัยนาท(ทูลี่) ไปด้วย

พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) จึงเสนอให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จัดงานสมานฉัน ขึ้นมาที่ พระราชวังหลวงคูบัว เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ปรับความเข้าใจซึ่งกันและกัน และให้ พระนางทั้งห้า ของ สายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน เดินทางไปขอขมาลาโทษ ที่ได้กระทำ การทำตอแหล ต่อ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ที่ผ่านมา จึงเป็นที่มาให้ พระนางทั้งห้า ได้เดินทางไปร่วมทรงดนตรี ในงานดังกล่าว และ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้สร้างเทวรูป การทรงดนตรี ของพระนางทั้งห้า เพื่อสื่อเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ในอดีตด้วย

มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง ได้รับสั่งให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก สร้างเทวรูป ของ พระนางอุษา เป็นเทวรูป ของ แม่ธรณีบีบมวยผม เพื่อสื่อความถึง ๓ ภพชาติ ของ พระนางอุษา ให้เห็นว่า พระนางอุษา ควรจะเป็น แม่ธรณีของ แผ่นดินสุวรรณภูมิ แต่ พระนางไม่สามารถเป็นแม่ธรณี ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ตามที่ปรารถนาได้ เพราะวัฒนธรรม การทำตอแหล ของ ชนชาติมอญ-ทมิฬ ที่ใช้พระนางอุษา ไปเป็นเครื่องมือ พระนางอุษา จึงต้องใช้มือบีบมวยผม เพื่อแสดงความเจ็บปวด ไว้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เพื่อสื่อความหมายให้ประชาชนได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) หรือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงมาลายู จึงยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง การสร้างความสมานฉัน ของ พระมหานาคเสนเจ้า(ตาผ้าขาวเถระรอด) ครั้งนี้ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ต้องยอมปฏิบัติตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงโปรดเกล้าให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ผู้ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ดูแล อาณาจักรชวาทวีป และ อาณาจักรมาลัยรัฐ และเมืองขึ้นในดินแดนเกษียรสมุทร ต่อไป

ส่วน เจ้าพระยาหะนิมิตร ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ก็ต้องลดตำแหน่ง ลงเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมุ่งเน้น บริหารงาน อาณาจักรต่างๆ นอกเหนือจาก อาณาจักรชวาทวีป และ อาณาจักรมาลัยรัฐ ส่วน เจ้าพระยาศรีไชยนาท(ทูลี่) ยังคงเป็น มหาราชาปกครอง อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) เช่นเดิม การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นเหตุให้ ลูกหลานของ พระยาตานี แห่ง ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ไม่พอใจ จึงประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ โดยใช้ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

 

ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ก่อกบฏ เป็นครั้งที่ ๔ ปี พ.ศ.๑๑๙๑

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๑ จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกว่า ในสมัยของ ฮ่องเต้ถังไถ้จง แห่ง ราชวงศ์ถัง นั้น มีบันทึกกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๑ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) หรือ กรุงตานี(ปัตตานี) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ถังไถ้จง แห่ง มหาอาณาจักรจีน พร้อมถวายเครื่องราชบรรณาการ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๑

แสดงให้เห็นถึงหลักฐาน การก่อกบฏ ของ ลูกหลาน เจ้าพระยาตานี ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๑ เป็นผลให้ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี สหราชอาณาจักรศรีคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) อีกครั้งหนึ่ง

การก่อกบฏ ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ ได้ยุติลงตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๑ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๒ เนื่องจาก ฮ่องเต้ถังไถ้จง ได้เสด็จสวรรคต ฮ่องเต้ถังเกาจง พระราชโอรส สืบทอดราชย์สมบัติ แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ภายใต้ อัครมเหสี คือ พระนางอู๋เจ๋อเทียน ของ ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) ซึ่งได้ตั้งตนเป็น จักรพรรดินี พระองค์แรก และพระองค์สุดท้ายของ มหาอาณาจักรจีน โดยได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ต่อจาก ฮ่องเต้ยี่ถัง(ถังไถ้จง) เป็นเวลาอีก ๑๕ ปี พระนางอู๋เจ๋อเทียน(ฮ่องเต้บูเช็คเทียน) ได้สถาปนา ราชวงศ์โจว์ ขึ้นมาใหม่ นโยบายการสร้างอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ของ ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จึงต้องยุติลง ชั่วคราว

อีกทั้ง เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ได้ยอมรับในอำนาจ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง หลังจากมีการแต่งตั้งให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด แห่ง มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และ สภาโพธิ เป็นผู้คลี่คลายความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นด้วย

 

จตุคามรามเทพ สร้าง กระทะราม มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ปี พ.ศ.๑๑๙๒

มหาอาณาจักรจีน มอบม้าพันธุ์ดี ให้กับ ท้าวอู่ทอง ปี พ.ศ.๑๑๙๒

ตำนานของไทย ซึ่งเล่าสืบทอดต่อกันมาว่า ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ได้รับม้าขาว พันธุ์ดีจาก พระนางอู๋เจ๋อเทียน จำนวน ๔ ตัว และอีก ๒ ปี ต่อมา ได้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์มอญ-ทมิฬ กับ อาณาจักรอ้ายลาว เรียกว่า สงครามแย่งนาง และ สงครามทุ่งไหหิน หลังจากนั้น ยังเกิด สงครามแย่งม้า ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาประมาณ ๔ ปี สงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงยุติลงชั่วคราว

จากการตรวจสอบหลักฐาน จดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ของ มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) มีหลักฐานว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๙๒ นั้น ฮ่องเต้ยี่ถัง ได้เสด็จสวรรคต และ ฮ่องเต้ถังเกาจง พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์สมบัติ ภายใต้อำนาจที่แท้จริง ของ พระนางอู๋เจ๋อเทียน และในปีนั้นเอง เป็นที่มาให้ เจ้าพระยาศรีไชยนาท ต้องนำคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เดินทางจาก อาณาจักรหูหลำ ไปยัง มหาอาณาจักรจีน ตามราชประเพณี ซึ่งมีการเปลี่ยนรัชกาล เกิดขึ้นในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย

ในปี พ.ศ.๑๑๙๒ นั้น พระเจ้ากากะพัตร แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) ได้เสด็จสวรรคต พระเจ้ากาฬวรรณดิศราช หรือ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ หรือ พระยากาฬ ซึ่งเป็น พระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา(กาฬสินธุ์) แทนที่ ได้ได้วางแผนก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง อีกครั้งหนึ่ง  

ช่วงเวลาดังกล่าว ฮ่องเต้(พระนางอู๋เจ๋อเทียน) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้พระราชทานม้าขาวพันธุ์ดี มาถวายแด่ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ด้วย ม้าขาวพันธ์ดี ดังกล่าว ได้กลายเป็นเรื่องที่ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ มหาราชาท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) และ พระเจ้านันทเสน แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) กรุงหงสาวดี(พะโค) นำมาใช้เพื่อแสร้งอ้างให้เป็นต้นเหตุของ สงครามแย่งนาง , สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า ในอีก ๒ ปี ถัดมา

 

ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ปกครอง แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) ปี พ.ศ.๑๑๙๓

ชนชาติมอญ และ ทมิฬโจฬะ ขอม้าขาว แสร้งหาเหตุทำสงคราม ปี พ.ศ.๑๑๙๓

เนื่องจาก พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงตักกะสิลา ได้สมคบกับ ท้าวชิน และ ขุนจอมธรรม แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) กรุงเชียงแสน สมคบกับ พระเจ้าอนุรุท แห่ง อาณาจักรหงสาวดี กรุงอริมัทนะปุระ(สะโตง) สมคบกับ พระเจ้าชคัทธรรม แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กรุงจามปา ได้แสร้งหาเหตุเพื่อวางแผนทำสงคราม ยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ไปจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง ด้วยการแสร้งต้องการม้าขาว ซึ่งได้รับพระราชทานมาจาก ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๙๒ จึงเป็นที่มาให้ รัฐมอญ ได้ส่งพระราชสาส์น เพื่อขอม้าขาว อาณาจักรละ ๑ ตัว รวมทั้งหมด ๔ ตัว มายัง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี)

 

ในเรื่องที่ พระเจ้ากาฬดิษฐ์ แห่ง ราชวงศ์มอญ มีพระราชสาส์น ขอม้าพันธ์ดี ๔ ตัว นั้น มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) มีพระราชสาส์น ตอบกลับไปว่า ม้าขาว ที่ได้รับจาก มหาอาณาจักรจีน นั้น เป็นม้าขาว ตัวผู้ และตัวเมีย ซึ่งต้องรอการผสมพันธุ์ เพื่อขยายพันธ์ม้าสีขาว จึงต้องรอการขยายพันธุ์ม้าพันธุ์ดี ที่ได้รับก่อน จึงเป็นที่มา ให้ สายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) และ อาณาจักรจามปา ได้แสร้งหาเหตุอื่น เพื่อหาเหตุก่อสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง จึงเป็นที่มาของ สงครามแย่งนาง , สงครามทุ่งไหหิน และ สงครามแย่งม้า ในเวลาต่อมา

Visitors: 54,233