บทที่ ๖ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย สงคราม พระยากง-พระยาพาน

บทที่ ๙

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

สมัย สงคราม พระยากง-พระยาพาน

 

           

ภาพที่-๑๐๓ เทวรูป พระยาพาน หรือ มหาราชา ตาเคียนซา พบที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี(เทวรูปเดิม ประดิษฐานอยู่ที่ ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา) ในภาพ เป็นการสร้างภาพเชิงซ้อนด้วยคอมพิวเตอร์ จากเทวรูปจริง เพื่อให้ได้ภาพเหมือน สอดคล้องกับความเป็นจริงที่สุด ให้สังเกตว่า มีใบโพธิ์ทอง ทำด้วยทองคำ ห้อยไว้แทนตุ้มหู และมี พระธรรมจักร ทำด้วยทองคำ อยู่ด้านหลัง ด้วย

     

      สงครามพระยากง-พระยาพาน มิใช่สงครามความขัดแย้ง ระหว่าง พ่อ กับ ลูก ที่แท้จริงเป็นสงครามที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พยายามทำการรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นปึกแผ่น ทั้งนี้เนื่องจาก พระยาพาน(พระยาตาเคียนซา) เป็นแม่ทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ต้องทำหน้าที่ ปราบปรามกบฏ ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องการมีอำนาจ โดยมิได้ปฏิบัติตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซ้ำร้าย ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังดึงเอาชนชาติมอญ มาร่วมยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง อีกด้วย เป็นพื้นฐานที่ทำให้ รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อ่อนแอลง และยังทำให้ชนชาติอ้ายไต นำวัฒนธรรมตอแหล มาใส่ความให้ร้ายซึ่งกันและกัน สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ร้าวลึก อย่างยาวนาน สืบทอดมาถึงปัจจุบัน

      เนื่องจากฝ่าย ท้าวปรารพ(พระยากง) และ ชนชาติมอญ เป็นฝ่ายกบฏ จึงมีการใช้วัฒนธรรมตอแหล มาใส่ความ ฝ่ายตรงกันข้าม เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายกบฏ ใช้ประชาชนเป็นเครื่องมือในการสร้างข่าว ทำให้ ประชาชนบางส่วน เข้าใจว่า สงครามที่เกิดขึ้น เป็นสงครามที่มีผลจากความขัดแย้ง ระหว่าง พ่อ คือ ท้าวปรารพ(พระยากง) และ ลูก คือ พระยาพาน แต่ในความเป็นจริง สงครามพระยากง-พระยาพาน สมัยนั้น มีการทำสงครามปราบกบฏ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) อีกด้วย

 

 

สาเหตุของ สงครามระหว่าง พระยากง กับ พระยาพาน

ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ บางพานใหญ่ และ บางพานน้อย ให้ข้อมูลของความเป็นมาที่เล่าถึง สาเหตุของสงคราม ระหว่าง พระยาพาน และ ท้าวปรารพ(พระยากง) มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า ก่อนเกิดสงคราม พระยากง-พระยาพาน นั้น แว่นแคว้นสุดท้ายที่กองทัพเรือ ของ มหาราชา พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เข้ายึดครอง กลับคืน จากการที่ มหาจักรพรรดิท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง คือ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ซึ่งมีแหล่งทองคำ จำนวนมากที่ เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพาน) ให้ขึ้นต่อ อาณาจักรชวาทวีป ดังเดิม และเมื่อ พระยาพาน นำกองทัพ กลับคืนมาได้ไม่นาน ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าว ก็ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) กลับคืนอีกเช่นกัน

เมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวว่า แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ถูกยึดครอง พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ก็ส่งกองทัพเรือ เข้ายึดครอง แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเกณฑ์เชลยศึก ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้ไปทำการขุดทองคำ ที่เมืองกำเนิดนพคุณ ได้ทองคำมา ๒ ไหใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาให้ เมืองกำเนิดนพคุณ ถูกท้าวอุเทน พระราชทานชื่อใหม่ ว่า บางพานใหญ่ และ บางพานน้อย หลังสงครามยุติ  

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าวว่า แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ถูกยึดครองกลับคืนอีก ก็ไม่พอพระทัย เป็นอันมาก ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงส่งพระราชสาส์น ไปยัง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ให้ส่งคืน ทองคำ ๒ ไหใหญ่ ให้กับ สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ทันที มิฉะนั้น จะต้องเกิดสงคราม ระหว่างกัน อย่างแน่นอน

 

             

  ภาพที่-๑๐๔ แผนที่ตำแหน่งที่ตั้ง สมรภูมิ ๑-๕สงครามพระยากง-พระยาพาน ในท้องที่ภาคใต้

 

          ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ได้นำพระราชสาสน์ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไปหารือในที่ประชุม ของ สภามนตรี พระยาพาน เสนอ มิให้คืนทองคำทั้ง ๒ ไห กลับคืนให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) โดยเสนอให้แสร้งนำทองคำ ๒ ไหใหญ่ที่ขุดได้ ไปซ่อนไว้ที่ เมืองคลองหิต แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่ออ้างว่า เป็นทองคำที่ขุดหาได้จาก เมืองคลองหิต แล้วแสร้งปล่อยข่าวผ่าน ขุนศรีธรนนท์ พระราชโอรส ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้รายงานข่าวกลับไป ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้มอบให้ พระยาพาน ตอบพระราชสาส์น กลับไป ในนามของ พระยาตาเคียนซา มหาราชา แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ได้ตอบพระราชสาส์น กลับไปยัง ท้าวปรารพ ว่า

"...ทองคำ ๒ ไห ดังกล่าว เป็นทองคำที่ขุดหาได้จาก เมืองคลองหิต ส่วนทองคำที่เมืองกำเนิดนพคุณ นั้น เป็นทองคำ ในแว่นแคว้นภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรชวาทวีป และ ท้าวปรารพ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองไป โดยมิชอบ ท้าวปรารพ จึงต้องเป็นผู้ส่งมอบทองคำ ที่ขุดหาได้ จากเมืองกำเนิดนพคุณ กลับคืนให้แก่ อาณาจักรชวาทวีป โดยดี มิฉะนั้น จะต้องส่งเรื่องราวให้ สภาโพธิ เป็นผู้พิจารณาโทษ ของ ท้าวปรารพ เช่นกัน..."

ท้าวปรารพ(พระยากง) เมื่อได้รับพระราชสาส์น ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) แล้ว ทรงพิโรธ มาก จึงตอบพระราชสาส์น กลับไปว่า

"...สหราชอาณาจักรทวาราวดี เป็นผู้ชนะสงคราม กับ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ดังนั้น แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด จึงเป็นดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี อย่างชอบธรรม ทั้งสิ้น อีกทั้ง กษัตริย์ แห่งแคว้นนาลองกา ก็สมัครใจที่จะนำดินแดนไปขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ดังนั้น ทองคำ ที่ขุดหามาได้ จากเมืองกำเนิดนพคุณ จึงเป็นสมบัติ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี จึงให้ ท้าวอุเทน ส่งมอบคืนทองคำ ๒ ไห โดยดี มิฉะนั้นจะต้องเกิดสงครามระหว่างกัน อย่างแน่นอน..."

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงมีพระราชสาส์น ตอบกลับไปว่า

"...ถ้าอยากได้ทองคำ ๒ ไห ให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพมาทำสงคราม แย่งยึดเอาไป..."

สงคราม ระหว่าง พระยากง-พระยาพาน จึงเกิดขึ้นทันที ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๙ เป็นต้นไป เป็นเวลาต่อเนื่อง ๖ ปี และขยายลุกลาม ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเนื้อแท้ก็คือ สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ สหราชอาณาจักรทวาราวดี เพื่อรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นปึกแผ่น นั่นเอง

ยังมีคำกลอนลายแทง ที่กล่าวว่า "...ภูเขาน้อยบังตา เขาชวาลา ปากช่อง ใครทายต้อง จะได้ทอง ๒ ไห.." คำถามนี้ คือคำถามเพื่อให้อธิบายถึงสาเหตุของสงคราม ระหว่าง พระยากง และ พระยาพาน และยังมีคำถามต่ออีกว่า ตาผ้าขาวเถระรอด นั่งอยู่ที่ไหน และเกิดเรื่องอะไรขึ้น และทองสองไห มีความเป็นมาอย่างไร และถูกซ่อนไว้ที่ไหน? เป็นคำถาม พี่สอนน้อง ที่เล่าเรื่องความเป็นมา ของสาเหตุของ สงครามระหว่าง พระยากง-พระยาพาน จนกระทั่งสงครามสิ้นสุด และตาผ้าขาวเถระรอด มีบทบาทในการยุติสงคราม จนกระทั่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) ถูก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ฟันด้วยของ้าว คอขาด สวรรคต บนคอช้าง ณ ทุ่งลานช้าง ก่อนที่จะส่งคืนทองคำ ๒ ไห ที่ พระยาพาน เก็บซ่อนไว้ เมื่อสิ้นสงคราม

 

สงคราม พระยากง พระยาพาน ณ สมรภูมิ ปากพานคูหา ปี พ.ศ.๑๑๕๙

สงครามครั้งแรก เกิดขึ้นที่ ทะเลปากพานคูหา(ท้องทะเล อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี) คือ พื้นที่หมายเลขที่-๑ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๔ กองทัพเรือของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ส่งกองทัพใหญ่ หวังที่จะทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองธารา(บ้านนาเดิม) บริเวณภูเขาตอก ซึ่งเป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวการเคลื่อนทัพ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงวางแผน ป้องกัน ราชธานี กรุงธารา ทันที

 พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มหาราชา แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงท่าชนะ และ แม่ทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้มอบให้ พระยายมบา¨-๑สร้างโซ่เหล็ก ณ โรงงานตีเหล็ก แหลมศรีโพธิ์(ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี) เพื่อใช้ควบคุมการเดินทางเข้าออก ของ เรือสำเภา ณ ปากแม่น้ำ ทุกเส้นทางที่ เรือสำเภา สามารถใช้เดินทางเข้าสู่ ราชธานี กรุงธารา ได้ นอกจากนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้มอบให้ แม่ทัพพระยาหมัน¨-แม่ทัพบก นำกองทัพบก กองทัพต่างๆ ไปป้องกัน การเข้าโจมตีทางบก และมอบให้ แม่ทัพพระยาไพศาล¨-นำกองทัพเรือ ไปคอยสกัดกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ ทะเล ปากพานคูหา คือ ท้องที่ ทะเล ปากคลองท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี

ตำนานความเป็นมาของคำไทย กล่าวถึงที่มาของการเปลี่ยนชื่อ เรือตังเก มาเป็นชื่อใหม่ว่า เรือสำเภา คือ เรื่องราวของ สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ ปากพานคูหา ด้วย มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) สร้างสัญลักษณ์ ของ กองทัพเรือตังเก ที่ออกแล่นลาดตระเวนในท้องทะเล ด้วยการใช้ เภา(ก้อนหิน สำหรับตั้งรองหม้อ ในการปรุงอาหาร) จำนวน ๓ ก้อน ไปใช้ในกองเรือตังเก จึงเป็นที่มาให้ เรือตังเก ของ กองทัพพระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ถูกประชาชน เรียกชื่อว่า เรือสามเภา คือ ที่มาของชื่อ เรือสำเภา ตั้งแต่นั้นมา   

สงคราม ณ สมรภูมิ ปากพานคูหา เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพเรือใหญ่ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เดินทางมาถึง ท้องทะเล แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) กองทัพเรือสามเภา ของ แม่ทัพเรือพระยาไพศาล ได้นำกองทัพเรือสามเภา เข้าปิดล้อม กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) แล้วเริ่มปะทะกับกองทัพเรือของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ ทะเล ปากพานคูหา นั่นเอง

ผลของสงครามครั้งแรก ณ สมรภูมิ ปากพานคูหา นั้น กองทัพเรือของ ท้าวปรารพ(พระยากง) พ่ายแพ้อย่างยับเยิน ทหารบาดเจ็บล้มตาย เป็นส่วนใหญ่ เรือรบ ของ กองทัพเรือท้าวปรารพ(พระยากง) ถูกกองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เผาทำลาย จมลงไปในท้องทะเล ปากพานคูหา เป็นจำนวนมาก เรือรบที่เหลือถูกกองทัพเรือ ของ แม่ทัพเรือพระยาไพศาล เข้ายึดครอง จับทหาร ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นเชลยศึก เป็นจำนวนมาก

ส่วน พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) พยายามออกติดตาม เรือหลวงพระที่นั่ง ของ กองทัพหลวง ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพเข้าใช้ไฟ เผาเรือหลวงพระที่นั่ง เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องตัดสินพระทัย ทิ้งเรือหลวง ลงเรือเล็ก หนีไป สงครามครั้งนั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) ถูกไฟลวก ต้องหลบหนีไปนอน สลบ สไล อยู่ที่ ปากบางน้อย(ปากคลองไชยา) ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องปลอมตัวเป็นสามัญชน เข้าปล้นเรือชาวประมง เดินทางกลับ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ด้วยความเจ็บปวด กองทัพเรือ ส่วนที่เหลือ ถูก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ยึดครองไป ทำให้ กองทัพ ของ พระยาตาเคียนซา เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ ทะเลปากพานคูหา เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) มีพระราชสาส์น เสนอให้ ท้าวปรารพ ยอมจำนน โดยดี โดยยินยอมที่จะอภัยโทษให้ และจะให้ไปปกครอง อาณาจักรทวาย ตามมติ ของ สภาโพธิ เช่นเดิม แต่ ท้าวปรารพ(พระยากง) กลับมีพระราชสาส์น ตอบกลับมาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ยอมนำ อาณาจักรต่างๆ ไปขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรทวาราวดี โดยดี มิฉะนั้น สงครามจะไม่ยุติ   

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ ท่าโรงช้าง ปี พ.ศ.๑๑๖๐

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่สอง เกิดขึ้น ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์(ท้องที่ ต.ลิเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี) และที่ สมรภูมิ ท่าโรงช้าง(ท่าแมนจูลี้) พื้นที่หมายเลขที่-๒ ในแผนที่ ภาพที่-๑๐๔ สงครามครั้งนี้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มอบให้ พระยายมบา สร้างโซ่เหล็ก เพื่อใช้ควบคุมการเข้าออกของเรือสำเภา และเพื่อทำการปิดล้อม กองเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไว้ล่วงหน้า อย่างเป็นฝ่ายกระทำ ด้วย

สงคราม ณ สมรภูมิ ท่าโรงช้าง เกิดขึ้นหลังจากที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) กลับไปสร้างกองทัพเรือ ขึ้นใหม่ และเข้าใจว่า กองทัพเรือใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ตั้งอยู่ที่ ท่าโรงช้าง แต่เพียงแห่งเดียว โดยไม่ทราบว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มีกองทัพเรือ อีกกองทัพหนึ่ง ซ่อนอยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์(ไชยา) และที่ ท่าสมอทอง เมืองท่าชนะ ด้วย

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพเรือใหญ่ หวังจะทำลายกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ณ ท่าโรงช้าง ซึ่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) เข้าใจว่า มีกองทัพเรือใหญ่ ตั้งอยู่ที่ ท่าโรงช้าง หรือ ท่าแมนจูลี้(ท่าจูลี้) เพียงแห่งเดียว จึงมุ่งเน้นส่งกองทัพเรือ และ กองทัพบก เข้าทำลายกองทัพเรือ ที่ท่าโรงช้างให้เสียหาย หมดสิ้น เพื่อส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ต่อไป

ก่อนเกิดสงคราม ณ สมรภูมิ ท่าโรงช้าง นั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) คาดการไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) มีโอกาส ส่งกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี กองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ณ ท่าโรงช้าง อย่างแน่นอน เป็นเหตุให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) วางแผนลวงให้นำกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เดินทางเข้าทาง ปากอ่าวแม่น้ำหลวง และ แม่น้ำธารา(แม่น้ำตาปี) สู่ ท่าโรงช้าง โดยสะดวก ในที่สุด กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เดินทางเข้าสู่ ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) ตามแผนการที่กำหนด โซ่เรือ ของ พระยายมบา ซึ่งถูกสร้างไว้ สามารถปิดล้อม กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้ตกอยู่ภายในวงล้อม ได้สำเร็จ

 

                                 

 ภาพที่-๑๐๕ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน พบที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี มีข้อมูลว่า เทวรูป ของ ท้าวอุเทน รูปนี้ เดิมที ประดิษฐานอยู่ที่ ภูเขาพระนารายณ์ ต.ลิเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ใกล้เคียงกับ ภูเขาศรีวิชัย เพื่อแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย สมัยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ยกกองทัพใหญ่ มาโจมตี กองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ณ ท่าโรงช้าง แต่ถูกปิดล้อม จึงเรียกร้องให้ ท้าวอุเทน มาเจรจา ณ ภูเขาพระนารายณ์ เพื่อให้ พระยาพาน ปล่อยตัว ท้าวปรารพ(พระยากง) ออกจากวงล้อม ต่อมา เทวรูปนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้นำไปประดิษฐานไว้ที่ เมืองเวียงสระ

 

เมื่อท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบว่า เป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ จึงทำพระราชสาส์น ส่งไปยัง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เพื่อขอเจรจากับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ณ ภูเขาพระนารายณ์ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จะเดินทางมาถึง นั้น กองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้เข้าโจมตีกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ ภูเขาพระนารายณ์ เสียหายอย่างยับเยิน เรียบร้อยแล้ว และกองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ตกอยู่ในวงล้อม ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่สามารถตีแหกวงล้อม ออกไปได้

ต่อมา เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เสด็จมาถึง ภูเขาพระนารายณ์ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ขอให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ยุติการโจมตี กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ชั่วคราว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน รับสั่งให้ปล่อย ท้าวปรารพ พร้อม คณะราชทูต มาเจรจา ณ ภูเขาพระนารายณ์ ตามที่เรียกร้อง

ในการเจรจาครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เรียกร้องให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ รู้จักทบทวนตนเอง ให้ยอมรับในกฎมณเฑียรบาล ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ยุติการใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยก ให้กับชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาภายในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกต่อไป

ผลการเจรจา ครั้งนั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องจำยอม และต้องแสร้งยอมรับข้อเสนอของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เพื่อรักษาชีวิต เป็นเหตุให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้รับสั่งให้ปล่อย กองทัพ ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้ออกจากวงล้อม และนำกองทัพที่เหลือ ถอยทัพกลับไปยัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง ทหารของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ตกเป็นเชลยศึก ในสงครามครั้งนั้น เป็นจำนวนมาก และได้กลับกลายเป็นกำลังกองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เข้มแข็ง เกรียงไกร มากยิ่งขึ้นไปอีก

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ เมืองกงชัง ปี พ.ศ.๑๑๖๑

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่สาม เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๑ ในสมรภูมิ หลายท้องที่ แต่ไปสิ้นสุดที่ เมืองกงชัง(พื้นที่หมายเลข-๓ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๔) จึงเรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามกงชัง หมายถึง สงครามที่ พระยากง ต้องชิงชัง เพราะพ่ายแพ้สงคราม เหตุของสงครามเกิดขึ้นเพราะ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่ยอมปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ณ ภูเขาพระนารายณ์ โดยยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นโจรกบฏ เพื่อปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด ท่ามกลางความแตกแยกของ อาณาจักรต่างๆ ต่อไป ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้นำกองทัพจาก อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) เข้าร่วมสงคราม ครั้งนี้ ด้วย

ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องการทำสงครามล้างแค้น เพื่อปราบปราม อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งปกครองโดย พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เนื่องจาก ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบจุดอ่อนของกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ซึ่งยกกองทัพเรือ โดยอาศัยลมบก-ลมทะเล ซึ่งต้องแล่นเรือ เลียบชายฝั่งทะเล ทำให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) สามารถสังเกต ทราบการเคลื่อนกองทัพ ล่วงหน้า เป็นเหตุให้ กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ และกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม มาแล้วหลาย ครั้ง

การเคลื่อนทัพ และการวางแผนทำสงคราม ครั้งใหม่ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ครั้งนี้ ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบในการทำสงคราม โดยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ร่วมกับ กองทัพของ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ทำการรวมศูนย์กองทัพเรือ ที่ เกาะเทียน(เกาะกง) แล้วอาศัยลมมรสม มุ่งหน้าเดินทางสู่ เมืองท่าทอง(เมืองท่าอุเทน) อย่างลับๆ และได้ตั้งทัพใหญ่ อยู่ที่ ทุ่งพระยากง(ทุ่งกง) คือท้องที่แห่งหนึ่ง ใน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง ราชธานี กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไปครอบครอง

อย่างไรก็ตาม กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่สามารถ ยกกองทัพเรือ เข้าสู่ลำแม่น้ำต่างๆ เข้าไปยัง เมืองธารา(บ้านนาเดิม) ได้สำเร็จ เพราะมีโซ่เรือ ควบคุมมิให้ เรือสำเภา เดินทางเข้าไปได้ อีกทั้ง แม่ทัพหมัน ของ พระยาตาเคียนซา ได้ส่งกองทัพบกเข้าปิดล้อม กองทัพ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ ทุ่งกง ในที่สุด ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องเปลี่ยนใจ ยกกองทัพเรือมุ่งหน้าเข้าทำสงคราม ยึดครอง กรุงสระทิ้งพระ แทนที่

ผลของสงครามครั้งนี้ กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ที่ ทุ่งกง ถูกกองทัพแม่ทัพไพศาล ทำลายเสียหายยับเยิน หลังจากนั้น กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงได้ยกกองทัพมุ่งหน้า เดินทางไปยัง แคว้นสระทิ้งพระ เป็นเหตุให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องนำกองทัพเรือ ออกติดตามไปตั้งรับที่ เมืองโมคคลาน(นครศรีธรรมราช) เกิดการสู้รบกันอย่างหนัก จาก สมรภูมิ ท้องทะเล ขึ้นสู่บนบก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) แสร้งถอยทัพไปยัง เมืองลานสกา ในท้องที่ อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองลานสกา เกิดการสู้รบกันที่ เมืองกงชัง อย่างดุเดือด ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ที่ เมืองกงชัง กองทัพมอญ อาณาจักรอีสานปุระ ต้องถอยทัพกลับ แม่ทัพเรือ พระยาไพศาล ได้ส่งกองทัพเรือ ออกไล่ติดตามโจมตี ไปถึง เกาะเทียน(เกาะกง) จึงทราบว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ใช้ เกาะเทียน(เกาะกง) เป็นฐานที่มั่นในการส่งกำลังบำรุง จึงได้ยกกองทัพกลับมา แจ้งข้อมูลให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน รับทราบ  

ผลของสงครามครั้งนี้ ทำให้ สมรภูมิ ของ สงคราม ในท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า เมืองกงชัง หมายถึง ท้องที่ซึ่ง พระยากง พ่ายแพ้สงคราม ในท้องที่ดังกล่าว จึงต้องชิงชัง ท้องที่ ดังกล่าวมาก ประชาชน จึงเรียกชื่อว่า เมืองกงชัง สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน ส่วน พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ภายหลังชนะสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองกงชัง เรียบร้อยแล้ว ได้เดินทัพ ข้ามภูเขาหลวง ไปอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อมุ่งหน้าเดินทัพไปยัง แคว้นเคียนซา ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) เมื่อทราบข่าวว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เดินทัพข้ามภูเขาหลวง จึงเร่งเดินทัพ ผ่านช่องภูเขาหลวง ไปยัง เมืองทุ่งสง ติดตามข่าวการเคลื่อนทัพ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เพื่อเตรียมดักซุ่มโจมตี ณ สมรภูมิ เมืองกงชิง ต่อไป

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ เมืองกงชิง ปี พ.ศ.๑๑๖๑

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่สี่ เกิดขึ้นที่ เมืองกงชิง คือพื้นที่หมายเลข-๔ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๔ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๑ เกิดขึ้นเมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ชนะสงคราม ที่ เมืองกงชัง จึงอพยพไพร่พล ข้ามภูเขาหลวง เพื่อเดินทางไปยัง แคว้นตาเคียนซา แต่ทราบว่า มีกองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กำลังติดตาม ดักซุ่มโจมตี

ในที่สุด พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงตัดสินใจ สร้างฐานที่มั่น ขึ้นใหม่ ณ เมืองกงชิง บริเวณเชิงภูเขาหลวง ในท้องที่ อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ ท้องที่ดังกล่าว มีทำเลที่เหมาะสมมิให้ กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทำลายง่าย

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวว่า มีทหารมอญ-ทมิฬ ของ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) มาร่วมทำสงครามด้วย มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จึงต้องรับสั่งให้ กองทัพ ของ แม่ทัพพระยาหมัน เข้าทำสงครามยึดครอง เมืองกง บริเวณเทือกเขาภูพาน ของ อาณาจักรอีสานปุระ เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่น เตรียมนำกองทัพใหญ่ เตรียมทำสงครามกับ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) เพื่อให้ต้องถอนทัพออกจากการหนุนช่วย กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ต่อไป

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้มีพระราชสาส์นไปถึง มหาราชาท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา สั่งการให้ เตรียมกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย โดยได้ส่ง แม่ทัพพระยาหมัน ไปทำการประสาน เพื่อเตรียมทำสงคราม ยึดครองดินแดน ของ อาณาจักรอีสาน เพื่อกดดันให้ อาณาจักรอีสานปุระ ต้องถอนทัพกลับจากการหนุนช่วย ท้าวปรารพ(พระยากง) และทำการปราบปราม พระเจ้าศรีอีสาน ผู้ก่อกบฏ อีกด้วย

นอกจากนี้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ยังได้มีพระราชสาส์นไปถึง ท้าวมหาฤกษ์ แห่ง แคว้นละโว้ และ พระยาโยธิกา แห่ง แคว้นนที(อยุธยา) สั่งการให้ ตระเตรียมกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ด้วย โดยได้ส่ง แม่ทัพพระยายมบา ให้ไปทำการประสานงาน เพื่อเตรียมทำสงคราม โดยที่ พระยายมบา ได้ไปตั้งทัพอยู่ที่ เมืองพิชัย(อุตรดิษถ์) ไปสร้างโรงตีเหล็ก สร้างอาวุธ เหล็กน้ำพี้ ในท้องที่ดังกล่าว ส่วน พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จะนำกองทัพ ไปพบกันที่ เมืองกง เทือกเขาภูพาน อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าวว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กระจายกองทัพ ออกทำสงคราม กับ อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องเร่งส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองกงชิง อย่างเร่งด่วน ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองกงชิง ครั้งนั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) สามารถตี เมืองกงชิง แตกพ่าย สามารถยึดฐานที่มั่นของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ เมืองกงชิง เป็นผลสำเร็จ ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกประชาชน เรียกชื่อว่า เมืองกงชิง สืบทอด ต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

สงครามที่สมรภูมิ ณ เมืองกงชิง ครั้งนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มุ่งเน้นทำลายกองทัพ ของ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง เป็นหลัก ดังนั้น ในขณะที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องทิ้งฐานที่มั่น เมืองกงชิง เพื่อล่าถอยไปยัง เมืองเคียนซา นั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้รับบาดเจ็บ เล็กน้อย จากอุบัติเหตุ ในขณะที่ต้องอพยพไพร่พล จาก เมืองเคียนซา มุ่งสู่ เมืองคีรีรัฐ ก่อนที่จะตัดสินใจ ถอยทัพ เลียบไปทางภูเขากั้นเขต(ภูเขาสก) มุ่งสู่ท้องที่ บ้านน้ำดำ อีกครั้งหนึ่ง

ตำนานชื่อ ภูเขาสก กล่าวถึงความเป็นมาของชื่อ ภูเขาสก โดยสรุปว่า ในขณะที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กำลังถอยทัพ เลียบไปทางภูเขากั้นเขต(ภูเขาสก) นั้น บาดแผลของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เลือดไหล สกๆ ท่ามกลางฝนตก สกๆ(หมายถึงฝนตกประปราย) พระยาพาน ต้องถอยทัพเลียบผ่าน ภูเขากันเขต(ภูเขาสก) ไปตั้งกองทัพใหม่ ที่ บ้านน้ำดำ ท้องที่ต่อเขต ระหว่าง อ.ท่าชนะ และ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ท่ามกลางการไล่ติดตาม ของ กองทัพ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) อย่างกระชั้นชิด เป็นเหตุให้ ภูเขากั้นเขต จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ภูเขาสก ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

 

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ ปี พ.ศ.๑๑๖๑

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่ห้า เกิดขึ้นที่ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ คือพื้นที่ หมายเลขที่-๕ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๔ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๑ สงครามเกิดขึ้นเมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้รับพระราชสาส์น จาก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ให้เตรียมทำสงคราม ปราบปรามกบฏ ชนชาติมอญ คือ พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) เพื่อแยกสลาย ๒ อาณาจักร ออกจาก การก่อกบฏ

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงต้องถอยทัพจากสมรภูมิ เมืองกงชิง มารับทหารที่ เมืองคีรีรัฐ เพื่อเดินทางไปเตรียมเสบียงอาหาร ณ บ้านน้ำดำ เพราะกองทัพเรือ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) รอการเคลื่อนทัพ อยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา)

ดังนั้น หลังจากที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เตรียมเสบียงอาหาร เรียบร้อยแล้ว จึงต้องถอยทัพ มุ่งหน้าสู่ อ่าวศรีโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ตั้ง กองทัพเรือ และจะต้องนำกองทัพเรือ เดินทางมุ่งหน้าสู่ แม่น้ำบางปะกง เพื่อเตรียมทำลายกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ ที่ เกาะเทียน(เกาะกง) ต่อไป แต่ กองทัพของ ท้าวปรารพ เข้าปิดล้อม บ้านน้ำดำ จึงเกิดการรบกันอย่างดุเดือด ทหารบาดเจ็บล้มตาย ทั้งสองฝ่าย จำนวนมาก จนน้ำในลำธาร กลายเป็นสีดำ

ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ณ บ้านน้ำดำ ด้วย ผลของสงคราม ครั้งนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เกรงว่า บ้านน้ำดำ จะกลายเป็น สมรภูมิเลือด ของ สงคราม อาจจะทำให้ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่ บ้านน้ำดำ จะต้องบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก จึงส่งกองทัพ ตีแหกวงล้อม กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ออกจาก สมรภูมิ บ้านน้ำดำ มุ่งหน้าสู่ ที่ตั้งกองทัพเรือ ณ อ่าวศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นผลสำเร็จ  

ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่พอพระทัย ประชาชนที่ บ้านน้ำดำ ที่ทำการหุงหาอาหาร ช่วยเหลือ กองทัพ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) และ ช่วยจัดหาเสบียงกรัง ให้กับ ทหาร ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ด้วย ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงรับสั่งให้ทหาร ออกติดตามไล่ฆ่า ลูกเล็กเด็กแดง ผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่หลบหนีไม่ทัน ก็จะถูกทหารของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ฆ่าตาย ไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังสั่งให้ทหาร เข้า ทุบทำลาย หม้อ ไห ถ้วยชาม และเครื่องใช้ปรุงอาหารต่างๆ ของ ประชาชน จนหมดสิ้น อีกทั้ง ประชาชน ที่สามารถ หลบหนี ออกไปได้ กลายเป็นคนบ้า ไปเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ถอนกองทัพ ออกไป ประชาชน จึงร่วมกันก่นด่าว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นผู้ที่มีน้ำใจดำ ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า บ้านน้ำดำ หมายถึง หมู่บ้านซึ่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) มีจิตใจดำ ฆ่าผู้บริสุทธิ์ และ ทำลายทรัพย์สินแม้กระทั่ง เครื่องหงหาอาหาร ของ ประชาชน อย่างไร้ศีลธรรม ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ้านน้ำดำ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีท้องที่ ๒ แห่ง ที่มีตำนานเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ สงคราม พระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ คือท้องที่ บ้านหนองบ้า และ ป่าช้าผู้เสียชีวิตในสงคราม พระยากง-พระยาพาน(ป่าช้าดอนสัก) มีเรื่องราวโดยสรุปว่า มีประชาชน บ้านน้ำดำ กลายเป็นคนบ้า มาทำการรักษา ในท้องที่ บ้านหนองบ้า เป็นจำนวนมาก ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ้านหนองบ้า สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วน ป่าช้าผู้เสียชีวิตในสงคราม พระยากง-พระยาพาน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า หลังจากที่ สงคราม ณ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ ยุติลงแล้ว มีประชาชน ผู้บาดเจ็บ จากสงครามครั้งนั้น เป็นจำนวนมาก พระยาศรีธรนนท์ กษัตริย์ แห่ง แคว้นศรีพุทธิ(ดอนธูป-คันธุลี) และ พระยาศรีธรรมโศก กษัตริย์ แห่ง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ไปนำผู้บาดเจ็บจากสงคราม ไปรักษา ณ วัดศรีราชัน เป็นจำนวนมาก ต่อมามีผู้เสียชีวิต จึงนำไปเผาศพ ณ ป่าช้าดังกล่าว เป็นจำนวนมาก ป่าช้าดังกล่าว ปัจจุบันเรียกชื่อว่า ป่าช้าดอนสัก¨-มีผีดุมาก มาจนถึงปัจจุบัน

ยังมีตำนาน การกำเนิด ข้าวหลาม จากผลของสงครามครั้งนี้ ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วย มีเรื่องราวตำนาน โดยสรุปว่า สงคราม ณ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ ครั้งนั้น ทหารทั้งสองฝ่าย และ ประชาชน บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งน้ำในลำธารบ้านน้ำดำ มีศพเน่า กลิ่นเหม็น กลายเป็นน้ำสีดำ เป็นเหตุให้ เจ้าชายศรีทรัพย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) กับ พระนางสุรณี เป็นผู้คิดค้นคว้าประดิษฐ์ ข้าวหลาม ขึ้นที่ ภูเขาจอศรี เพื่อนำไปใช้เป็นเสบียงอาหารในการเดินทัพ ออกไปฝังศพ และ นำทหาร หรือ ประชาชนที่บาดเจ็บ จากสงคราม มารักษา ณ วัดศรีราชัน แคว้นศรีพุทธิ ด้วย

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ ปากน้ำบางปะกง ปี พ.ศ.๑๑๖๒

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่หก เกิดขึ้น ณ สมรภูมิ ปากแม่น้ำบางปะกง คือ พื้นที่หมายเลข-๖ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ สงครามครั้งนี้ เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๒ หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน มีนโยบายให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) พยายามเปลี่ยนสมรภูมิการรบใหม่ จาก อาณาจักรชวาทวีป ไปยัง อาณาจักรอาณาจักรทวาราวดี(นาคฟ้า) อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน)

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้สั่งให้ กองทัพเรือของ แม่ทัพไพศาล เดินทางมุ่งหน้าสู่ เกาะช้าง หวังที่จะเข้าโจมตี ฐานที่มั่น เกาะเทียน(เกาะกง) ซึ่งใช้เป็นฐานที่มั่นส่งกำลังบำรุง ให้กับกองทัพ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ด้วย และ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวว่า มีทหารมอญ ของ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ผู้สนับสนุน ท้าวปรารพ(พระยากง) มาตั้งกองทัพ อยู่ในพื้นที่ เกาะเทียน(เกาะกง) ด้วย

 

                    

      ภาพที่-๑๐๖ แผนที่ แสดงที่ตั้ง สมรภูมิสงครามพระยากง-พระยาพาน สมรภูมิที่-๖ ถึง ๑๒

 

       เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าวว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เตรียมส่งกองทัพเข้าโจมตี เกาะเทียน(เกาะกง) และมีกองทัพเรือ อยู่ที่เกาะช้าง เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องส่งกองทัพเรือ จาก กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) แล่นเรือเลียบชายฝั่ง มุ่งหน้าไปช่วยเหลือ และเพื่อรักษาฐานที่มั่น เกาะเทียน(เกาะกง) ทันที

เนื่องจาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้นำกองทัพเรือ ไปดักซุ่มอยู่ที่ปากแม่น้ำบางปะกง ดังนั้นเมื่อกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) แล่นเรือผ่าน ปากน้ำบางปะกง กองทัพเรือของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงส่งกองทัพเรือ ออกจากที่ซ่อน เข้าโจมตีกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ ปากแม่น้ำบางปะกง ทันที

ผลของสงครามครั้งนี้ กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพไปตั้งหลัก ที่เกาะเทียน(เกาะกง) กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ถูกโจมตี ถูกไฟเผา เรือสำเภา จมลงบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง เป็นจำนวนมาก เป็นที่มาให้แม่น้ำดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า แม่น้ำบางปะกง ตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๒ เป็นต้นมา

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ เกาะกง ปี พ.ศ.๑๑๖๒

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่เจ็ด เกิดขึ้น ณ สมรภูมิ เกาะเทียน(เกาะกง) คือ พื้นที่หมายเลข-๗ ในรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ สงคราม ณ สมรภูมิ เกาะกง เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ ปากแม่น้ำบางปะกง ทำให้ กองทัพท้าวปรารพ ต้องนำกองทัพเรือ ที่เหลือ ถอยทัพไปตั้งหลัก ที่ เกาะเทียน(เกาะกง)

ต่อมา พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงสั่งให้ แม่ทัพไพศาล ส่งกองทัพจาก เกาะช้าง และ พระยาจันทร์ ส่งกองทัพ จากแผ่นดินบก ตรงข้ามเกาะเทียน เข้าโจมตีกองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ณ เกาะเทียน(เกาะกง) โดยให้ แม่ทัพไพศาล จับเป็น ท้าวปรารพ(พระยากง) ตามที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้รับสั่งไว้ สงครามครั้งนั้น แม่ทัพไพศาล และ พระยาจันทร์ สามารถฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้หลายครั้ง แต่เกรงว่า จะขัดคำสั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ที่ต้องการให้ จับเป็น ท้าวปรารพ(พระยากง) ในที่สุด ต้องปล่อยให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) หลบหนีไปได้ หลายครั้ง

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เกาะกง ครั้งนั้น กองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) สามารถยึดครอง เกาะเทียน(เกาะกง) เป็นผลสำเร็จ ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องนำกองทัพเรือ หลบหนี การตามล่า ของ กองทัพเรือของ แม่ทัพพระยาไพศาล ไปขึ้นฝั่งที่ อาณาจักรคามลังกา แล้วเดินทาง แล่นเรือ กลับไปยัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง

ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ เกาะเทียน ที่กล่าวมา ทำให้ เกาะเทียน ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เกาะกง ตั้งแต่ ประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๒ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน หลังจากนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้นำกองทัพออกติดตามตามไล่ล่า ทำลายกองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไปถึง ปากแม่น้ำแม่กลอง เข้ายึด เมืองสมุทรสงคราม ไว้ด้วย

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ แม่ทัพพระยาไพศาล เป็น เจ้าเมือง ผู้ปกครอง เมืองสมุทรสงคราม เพื่อขัดขวางมิให้ กองทัพเรือ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เคลื่อนกองทัพเรือ ออกจาก ปากแม่น้ำแม่กลอง อีกต่อไป หลังจากนั้น กองทัพเรือ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงกลายเป็นกองทัพเรือ ผู้ควบคุม น่านน้ำ ในทะเลตะวันออก(อ่าวไทย) ทำให้ กองทัพเรือของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา เริ่มได้เปรียบในสงคราม เป็นเหตุให้ ียน ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องทำสงคราม โดยทางบก เท่านั้น

ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ได้ถือโอกาส ในขณะที่ แม่ทัพไพศาล ทำการปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ไว้นั้น ได้มีพระราชสาส์น ติดต่อกับ ท้าวเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา และ ท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ให้รับฟังคำสั่งทางการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา เพื่อเตรียมทำสงครามปราบปราม พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย สถานการณ์ในขณะนั้น ท้าวปรารพ แห่ง อาณาจักรทวาราวดี เริ่มโดดเดี่ยว กลายเป็นเพียง แว่นแคว้นเล็กๆ แว่นแคว้นหนึ่ง เท่านั้น

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ กรุงอีสานปุระ ปี พ.ศ.๑๑๖๒

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่แปด เกิดขึ้นที่ สมรภูมิ แคว้นกาละศีล แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ คือ พื้นที่ หมายเลข-๘ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ สงครามครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทราบว่า พระเจ้าศรีอีสาน กษัตริย์ราชวงศ์ชนชาติมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เป็นกบฏ อีกทั้งยังได้ ส่งกองทัพเข้าสนับสนุน กบฏ ท้าวปรารพ(พระยากง) แห่ง อาณาจักรทวาราวดี อีกด้วย อีกทั้ง พระเจ้าศรีอีสาน มิได้ปฏิบัติตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ มาอย่างต่อเนื่อง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้รับมติจาก สภาโพธิ ให้ทำสงครามปราบปราม มาหลายปี แล้ว แต่โอกาส ยังไม่อำนวย

 

                   

 ภาพที่-๑๐๗ เทวรูปจำลอง พระเจ้าศรีอีสาน พบที่ เมืองคูบัว ราชบุรี อดีตราชธานี ของ อาณาจักรทวาราวดี สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูปจำลอง พระเจ้าศรีอีสาน มหาราชา ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เป็นการสร้างให้เห็นเป็นยักษ์มาร แสดงบุคลิกลักษณะ ความโหดร้าย เคยกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ การสร้างเทวรูป ดังกล่าว ก็เพื่ออธิบายถึง ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ของ ชนชาติไทย ในสมัยที่ พระเจ้าศรีอีสาน ก่อกบฏ จนกระทั่ง พระยาพาน ต้องทำสงครามปราบปราม

 

      ตำนาน พ่อตาพระยาพัน ในท้องที่ ท่าเสาธง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) อาณาจักรอีสานปุระ โดยสรุปว่า เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ ราชธานี ของ กษัตริย์มอญ พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ตั้งอยู่ที่ กรุงสังข์ปุระ(อุบลราชธานี) แต่ต่อมา หลังจากที่ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งราชทูต มาเสนอให้ อาณาจักรอีสานปุระ เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน นั้น ทาง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้รับสั่งให้ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา , ท้าวเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ ท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ทำสงครามปราบปราม พระเจ้าศรีอีสาน เป็นเหตุให้ พระเจ้าศรีอีสาน ต้องย้ายราชธานี ไปอยู่ที่ เมืองกาละศีล(กาฬสินธุ์) จึงเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ต้องรับสั่งให้ แม่ทัพพระยาหมัน ส่งกองทัพ มายึดครอง เมืองกง เทือกเขาภูพาน เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นทางการทหาร เพื่อการทำสงครามปราบปรามกบฏมอญ พระเจ้าศรีอีสาน ล่วงหน้า มาก่อนหน้านี้แล้ว

      เมื่อ แม่ทัพพระยาหมัน มายึดครอง เมืองกง เทือกเขาภูพาน เพื่อใช้เป็นฐานที่มั่น สร้างกองทัพใหญ่ เพื่อเตรียมทำสงครามปราบปราม อาณาจักรอีสานปุระ ในปี พ.ศ.๑๑๖๒ นั้น แม่ทัพพระยาหมัน ได้ร่วมกับ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา และ ท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เข้ายึดครอง เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรนาคดิน ดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่ตั้งรกราก ของ ชนชาติอ้ายไต มาอย่างยาวนาน แต่ถูกกองทัพมอญ ทำสงครามยึดครองไป เช่น เมืองหนองหารน้อย(อุดรธานี) , หนองหารหลวง(นครพนม) , หนองคาย และ พิมาย กลับคืนมา เป็นของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เช่นเดิม แม่ทัพหมัน ได้ร่วมกับ พระยาอุดร เจ้าเมือง หนองหารน้อย(อุดรธานี) บิดา ของ พระยาพัน(พ่อตาพระยาพัน) ทำการฝึกทหารใหม่ และ ได้สร้างกองทัพ ขึ้นใหม่ อีกหลายกองทัพ เพื่อรอ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มาวางแผนทำสงคราม ทำให้ พระยาพัน ได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่ทัพ กองทัพหนึ่ง ด้วย  

เมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เสด็จมาถึง เมืองกง เทือกเขาภูพาน นั้น พระองค์ ได้จัดกองทัพออกเป็นหลาย กองทัพ เช่น กองทัพที่ปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ได้มอบให้ แม่ทัพเรือ พระยาไพศาล เป็นผู้ดำเนินการเพื่อกดดันให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ยอมจำนน ส่วนการเข้ายึดครอง อาณาจักรอีสานปุระ นั้นมี กองทัพของ ท้าวเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ซึ่งได้มอบให้ พระยาอุดร และ แม่ทัพพระยาพัน แห่ง เมืองหนองหารน้อย(อุดรธานี) เป็นกองทัพที่เตรียมเข้ายึดครอง กรุงกาละศีล ทางทิศเหนือ ส่วน กองทัพ ของ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา เตรียมทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นยโสธร และ แคว้นสังข์ปุระ(อุบลราชธานี) พร้อมๆ กันด้วย ก่อนเกิดสงครามจริง ชาวมอญ ในดินแดนอาณาจักรอีสานปุระ ได้อพยพหนีภัยสงครามไปยัง อาณาจักรเงินยาง จำนวนมาก  

ในที่สุด กองทัพของ แม่ทัพพระยาหมัน แห่ง เมืองกง เทือกเขาภูพาน และกองทัพของ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา กองทัพทั้งสาม เตรียมทำสงครามเข้าโจมตี อาณาจักรอีสานปุระ จนกระทั่ง สามารถส่งกองทัพเข้าปิดล้อม เมืองกาละศีล(กาฬสินธุ์) ซึ่งเป็น เมืองราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ เป็นผลสำเร็จ ส่วนกองทัพของ ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา ได้ส่งกองทัพเข้าปิดล้อม เมืองยโสธร อันเป็นเมืองมหาอุปราช ของ อาณาจักรอีสานปุระ และ เมืองสังข์ปุระ(อุบลราชธานี) เป็นผลสำเร็จ ตามแผนการที่กำหนด

ผลของสงคราม ปราบปราม ราชธานี กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) อาณาจักรอีสานปุระ ครั้งนั้น พระเจ้าศรีอีสาน สวรรคต ในสงคราม พระเจ้าสักกรดำ มหาอุปราช ของ อาณาจักรอีสานปุระ กรุงยโสธรปุระ(ยโสธร) จึงได้ขอเจรจาขอหย่าศึก และยอมรับในอำนาจ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ซึ่งปกครองโดย มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เช่นเดิม

ต่อมา พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงได้มอบหมายให้ แม่ทัพพระยาหมัน นำกองทัพ จาก เมืองกง เทือกเขาภูพาน ไปตั้งทัพที่ เมืองสองแคว(พิษณุโลก) เพื่อประสานงานกับ กองทัพของ พระยายมบา ณ แคว้นพิชัย(อุตรดิษถ์) และประสานงานกับ เจ้าฟ้าเฮ่ง แห่ง แคว้นตุมวาง(แพร่) เพื่อเตรียมทำสงคราม ปราบปราม ท้าวชิน แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ซึ่งเป็นพันธมิตร ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) อีกอาณาจักรหนึ่ง ต่อไป ส่วน พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) นั้น ยังคงตั้งกองทัพ อยู่ที่ เมืองกง เทือกเขาภูพาน เช่นเดิม

 

พระยาพาน ได้ เจ้าหญิงบัวจันทร์ เป็น มเหสีฝ่ายซ้าย ปี พ.ศ.๑๑๖๒

เมื่อย้อนรอยเหตุการณ์ไปเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๓๖ ซึ่งเป็นปีที่ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ประสูติ เจ้าชายศรีธรรมโศก และเมื่อเกิดสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ นั้น พระนางอุษา ต้องนำ เจ้าชายศรีธรรมโศก หลบภัยสงคราม ไปประทับอยู่ที่ เมืองคลองวัง(ท่าชนะ) และ ได้นำ เจ้าชายศรีธรรมโศก ไปศึกษาเล่าเรียน ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน กับญาติพี่น้อง สายตระกูลหยาง เป็นที่มาให้ เจ้าชายศรีธรรมโศก ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงจีน พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงหยางกุ่ย(พระนางสุวรรณจักรี) ซึ่งเป็นราชธิดา ของ ฮ่องเต้หยางกวง กับ ราชธิดา ของราชา แห่ง อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ซึ่งคนไทยเรียกว่า ชนชาติเงี้ยว รูปร่าง ผิวขาว จมูกโด่ง และ สูงใหญ่ เป็นเชื้อสายเจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์หนึ่ง เรียกว่า ราชวงศ์แมนสม

 

                                               

ภาพที่-๑๐๘ พระเศียร ของ เทวรูป สตรี ถูก ลักลอบตัดพระเศียร แต่นำไปไม่ได้ จึงถูกนำไปทิ้งไว้ในท้องที่แห่งหนึ่งของ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อสังเกต จากรูปจักร ที่พระมาลา จึงสันนิษฐานได้ว่า น่าจะเป็นเทวรูปจำลองของ พระนางหยางกุ่ย หรือ พระนางสุวรรณจักรี อัครมเหสี ของ พระยาศรีธรรมโศก และเป็น พระราชมารดา ของ เจ้าหญิงบัวจันทร์ และ เจ้าชายศรีวิชัย ผู้สูงอายุในท้องที่ อ.ท่าชนะ กล่าวว่า เทวรูปนี้ เคยประดิษฐานอยู่ที่ วัดถ้ำตะเกียบ ภูเขาประสงค์ อ.ท่าชนะ

 

ต่อมาเมื่อ เจ้าชายศรีธรรมโศก ได้ไปรับการศึกษา และ ทำการฝึกทหาร เพื่อการสงครามอยู่ที่ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) จนกระทั่งเมื่อเสด็จกลับมาจาก มหาอาณาจักรจีน พระนางหยางกุ่ย อัครมเหสี ของ เจ้าชายศรีธรรมโศก ได้มาประทับอยู่ที่ เมืองคลองวัง ด้วย พระนางหยางกุ่ย ได้นำ จักร และ กรี(สามง่าม) มาฝึกทหารไทย ให้รู้จักใช้ จักร เป็นอาวุธในการทำลายข้าศึก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย เป็นเหตุให้ พระนางหยางกุ่ย ได้รับพระราชทานพระนาม เป็นภาษาไทย ว่า พระนางสุวรรณจักรี ส่วนประชาชน เรียกพระนามว่า พระนางตะเกียบ¨- ซึ่งต่อมา ได้มีพระราชธิดา และ พระราชโอรส กับ พระยาศรีธรรมโศก ๒ พระองค์ มีพระนามว่า เจ้าหญิงบัวจันทร์ และ เจ้าชายศรีวิชัย ด้วย

 

                                       

ภาพที่-๑๐๙ เทวรูป เจ้าหญิงบัวจันทร์ พระราชธิดา ของ พระยาศรีธรรมโศก กับ พระนางสุวรรณจักรี ซึ่งได้อภิเษกสมรส กับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ พระราชวังภูกูเวียน เมืองกง เทือกเขาภูพาน ต่อมา มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายศรีไชยนาท ผู้สร้างเมือง ตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) พระนางบัวจันทร์ จึงเป็นดิลก แห่ง ราชวงศ์ปทุมวงศ์ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์หนึ่ง ของ ราชวงศ์ไศเลนทร์ ผู้มีบทบาทในการปกครอง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ในเวลาต่อมา เทวรูปนี้ พบทั้งในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และ ในท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช ด้วย

 

เนื่องจาก เจ้าหญิงบัวจันทร์ มีรูปร่างหน้าตาที่สวยมาก ทำให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) แอบหลงรัก และขอแต่งงานด้วย มานานแล้ว ตำนานเรื่องราวของ อาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ไข่ลูกเขย คืออาหารที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ฝึกทำขึ้นเอง เพื่อนำไปมอบให้กับ พระนางสุวรรณจักรี(พระนางตะเกียบ) , พระยาศรีจง พระนางอุษา และ พระยาศรีธรรมโศก ตั้งแต่สมัยที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ดำรงตำแหน่งเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรชวาทวีป และสร้างพระราชวังประทับ ว่าราชการอยู่ที่ เมืองท่าชนะ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่อสู่ขอ เจ้าหญิงบัวจันทร์ มาเป็น มเหสี ด้วย จนกระทั่ง มีการตกลง ถวาย เจ้าหญิงบัวจันทร์ ให้อภิเษกสมรส กับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ด้วย และ อย่างมีเงื่อนไข มาก่อนหน้านี้แล้ว

เงื่อนไขที่ว่านั้น คือ ได้มีการส่ง เจ้าหญิงบัวจันทร์ ไปยัง เมืองกง เทือกเขาภูพาน ซึ่ง พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้สร้างพระราชวังประทับให้ กับ เจ้าหญิงบัวจันทร์ อยู่ที่ ภูกูเวียน ซึ่งมีการนำทหาร ไปเฝ้ารักษา เจ้าหญิงบัวจันทร์ ก่อนงานอภิเษกสมรส พื้นที่ดังกล่าว ทหารจำนวนมาก มีส่วนร่วมในการลาดตระเวร คอยคุ้มครองรักษาความปลอดภัยให้กับ เจ้าหญิงบัวจันทร์ ดังนั้น เมื่อ ทหาร สอบถามเพื่อนทหาร ด้วยกัน ณ เมืองกง ทหารส่วนใหญ่ตอบว่า กูเวียนด้วย เป็นที่มาให้ถูกเรียกชื่อว่า ภูกูเวียน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนั้น ยังมีเงื่อนไขให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องให้ความร่วมมือกับ พระยาศรีจง และ พระยาศรีธรรมโศก ร่วมกันสร้างวัด ขึ้นมาแห่งหนึ่ง ณ เมืองกง คือ วัดพ่อตา ลูกเขย จนสำเร็จ จึงได้จัดงานอภิเษกสมรส ขึ้น คือตำนานความเป็นมาของ คำไทย คำว่า พ่อตา , ลูกเขย และคำว่า แม่ยาย ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แทรกเรื่องราวของ สงคราม พระยากง-พระยาพาน ด้วย

เมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้ เจ้าหญิงบัวจันทร์ มาเป็น มเหสี อีกพระองค์หนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๒ ในขณะที่เกิดสงคราม พระยากง-พระยาพาน นั้น พระนางบัวจันทร์ ได้ให้พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง กับ พระยาพาน มีพระนามว่า เจ้าชายศรีชัยนาท หรือมีพระนามเล่นว่า เจ้าชายจู ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างมารดา ของ จุคามรามเทพ(ขุนราม) นั่นเอง ต่อมา เจ้าชายศรีไชยนาท และ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) กลายเป็นบุคคลสำคัญ ในการทำสงครามกอบกู้เอกราช ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน จาก ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬ ในสมัยต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

ภายหลังงานอภิเษกสมรส ระหว่าง พระยาตาเคียนซา กับ เจ้าหญิงบัวจันทร์ เรียบร้อยแล้ว แม่ทัพพระยาหมัน ได้รับคำสั่งให้เคลื่อนทัพ ไปอยู่ที่ เมืองสองแคว(พิษณุโลก) โดยได้ร่วมกับ เจ้าฟ้าเฮ่ง วางแผนเตรียมทำสงครามปรามปราม ท้าวชิน และ ท้าวจอมธรรม แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ซึ่งเป็นกบฏ ผู้สนับสนุน อาณาจักรทวาราวดี เป็น อาณาจักร เป้าหมายในการทำสงครามปราบปราม ต่อไป

      ส่วน พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กับ เจ้าหญิงบัวจันทร์ ซึ่งอยู่ระหว่าง การดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ และ ทำการจัดคัดเลือกผู้ปกครอง ให้ไปปกครอง เมืองต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรอีสานปุระ มิให้เกิดการกบฏบ่อยครั้ง อีกต่อไป นั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กำลังรอรับข้อมูลต่างๆ เพื่อการเตรียมทำสงครามปราบปราม ท้าวชิน และ ท้าวจอมธรรม แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ต่อไป อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ เมืองกง-พาน ปี พ.ศ.๑๑๖๒

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่เก้า เกิดขึ้นที่สมรภูมิ เมืองกง-พาน หรือ เมืองพาน-กง เทือกเขาภูพาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๒ คือ พื้นที่หมายเลขที่-๙ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ นั้น สงครามเกิดขึ้นเมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่ง ประทับอยู่ที่ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) และกำลังถูกปิดล้อมโดย กองทัพของ แม่ทัพพระยาไพศาล เพื่อให้ยอมจำนน ได้วางแผน ปลอมพระราชสาสน์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน สั่งให้ แม่ทัพพระยาไพศาล นำกองทับกลับไปยัง ท่าโรงช้าง ท้าวปรารพ(พระยากง) สร้างข่าว ทำตอแหล อ้างว่า ให้นำกองทัพไปป้องกัน กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ซึ่งกำลังเคลื่อนกองทัพ ทำสงครามเข้ายึดครอง ราชธานี กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ทันที  

เนื่องจาก ในช่วงเวลาระหว่างการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ ภูกูเวียน เมืองกง เทือกเขาภูพาน นั้น มีทหาร มารายงานว่า ได้พบแหล่งทองคำ แหล่งใหญ่ บริเวณ ภูเขาพนมพา ในท้องที่ของ จ.พิจิตร ในปัจจุบัน เป็นเหตุให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้มีพระราชสาส์น แจ้งให้ แม่ทัพพระยายมบา นำไพร่พลจาก เมืองพิชัย(อุตรดิษถ์) ไปขุดหาทองคำ ณ ภูเขาพนมพา เพื่อใช้เป็นกองทุน ในการทำสงคราม ต่อไปด้วย ซึ่งเป็นที่มาให้ ภูเขา ดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า ภูเขาพนมยมบา และได้เพี้ยนมาเป็น ภูเขาพนมพา ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเวลาดังกล่าว แม่ทัพพระยายมบา สามารถขุดหาทองคำ ณ ภูเขาพนมยมบา(พนมพา) ได้เป็นจำนวนมาก าว มีชื่อเรียกว่า ภูเขาพนมยมบา และได้เพี้ยนเป็น ภูเขาพนมพา ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

ส่วน แม่ทัพพระยาไพศาล เมื่อได้รับ พระราชสาส์น คำสั่งปลอม ซึ่งอ้างว่า ส่งมาจาก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน สั่งให้ เร่งรัดนำกองทัพเรือ เดินทางกลับ ณ ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) เพื่อเตรียมกองทัพใหญ่ ป้องกัน กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ ทำสงครามรุกราน อาณาจักรชวาทวีป นั้น แม่ทัพพระยาไพศาล จึงได้ถอนทัพ กลับไปยัง ท่าโรงช้าง ตามแผนลวง ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพ จาก กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) เพื่อเดินทางเข้าโจมตี เมืองกง ณ เทือกเขาภูพาน ทันที เช่นกัน

เหตุการณ์ครั้งนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทราบเหตุว่ามีการปลอมแปลง พระราชสาส์น จึงคาดว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องส่งกองทัพไปยัง เมืองกง เทือกเขาภูพาน อย่างแน่นอน สงครามสองพ่อลูก จึงยังไม่ยุติ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จึงรับสั่งให้ แม่ทัพพระยาไพศาล เร่งรัดนำกองทัพเรือ กลับเข้าไปตั้งกองทัพ ไว้ที่ เมืองสมุทรสงคราม และ เมืองหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) อีกครั้งหนึ่ง

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน รับสั่งไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) พ่ายแพ้สงคราม ต่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) และต้องถอยทัพกลับ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ก็ให้ แม่ทัพพระยาไพศาล ส่งกองทัพ เข้าปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ทันที มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ยังได้ส่งพระราชสาส์น ไปถึง พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กำชับให้ จับเป็น ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้ได้ และยังสั่งให้ มิให้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) อย่างเด็ดขาด ซึ่งเป็นที่หนักใจ และ สงสัย ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มาก

เบื้องหลังคำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ครั้งนั้น เพราะ สถานการณ์ในขณะนั้น มีเพียง ๓ คน เท่านั้น คือ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) , ท้าวอุเทน และ พระนางกลิ่นตานี ที่ทราบว่า แท้ที่จริงแล้ว พระยาตาเคียนซา คือ พระยาพาน ซึ่งเป็น พระราชโอรสที่แท้จริง ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางแก้วงาบเมือง ดังนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จึงไม่ต้องการให้เกิดกรณี ลูกฆ่าพ่อ หรือ พ่อฆ่าลูก ขึ้นมาในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพราะถือว่า เป็นการผิดศีลธรรม เป็นอย่างยิ่ง ขณะนั้น คนทั่วไป เข้าใจว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) คือ พระราชโอรสที่แท้จริง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน กับ พระนางกลิ่นตานี ทั้งสิ้น   งส่งกองทัพไปยัง เมืองกง อย่างแน่นอน สงครามสองพ่อลูก จึงยังไม่ยุติ

ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) เมื่อยกกองทัพไปถึง เมืองกง เทือกเขาภูพาน ก็ทำการปิดล้อม เมืองกง ไว้ทันที เพื่อรอกองทัพของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) มาเสริมกำลัง ในระหว่างที่รอกองทัพ ของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) มาหนุนช่วย นั้น ได้เกิดสงคราม ที่เมืองกง เทือกเขาภูพาน เพื่อประลองกำลังระหว่างกัน กองทัพทั้งสองฝ่าย ได้ส่งกองทัพเข้าประลองกำลังระหว่างกัน ต่างผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ แล้วถอยทัพ กลับที่ตั้ง

ต่อมา ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้รับพระราชสาส์น จาก มหาราชาท้าวชิน แห่ง อาณาจักรเงินยาง(ชียงแสน) ว่า ไม่สามารถส่งกองทัพ มาหนุนช่วยได้ เพราะมีกองทัพ ของ เจ้าฟ้าเฮ่ง กองทัพของ แม่ทัพพระยาหมัน และ กองทัพของ แม่ทัพพระยายมบา ได้ยกกองทัพมาขัดขวาง และยังทราบข่าวว่า แม่ทัพพระยายมบา ค้นพบ แหล่งทองคำ ด้วย  

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าว จึงต้องการเป็นเจ้าของ เหมืองทองคำ ทันที และได้ตัดสินพระทัย นำกองทัพเข้าทำสงครามปรามปราม กองทัพของ พระยายมบา ที่ เมืองพิจิตร เพื่อให้ กองทัพของ อาณาจักรเงินยาง สามารถเดินทางมาหนุนช่วยได้ สงครามพระยากง-พระยาพาน จึงเกิดขึ้นที่ สมรภูมิ เมืองพิจิตร ในการบของ สมรภูมิ ต่อไป

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ เมืองพิจิตร ปี พ.ศ.๑๑๖๓

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่สิบ ระหว่าง พระยากง กับ พระยาพาน เกิดขึ้น ณ สมรภูมิ เมืองพิชิต(พิจิตร) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๓ คือ พื้นที่หมายเลขที่-๑๐ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ นั้น ขณะนั้น พระยาพิชิต เป็นเจ้าเมือง ผู้ปกครอง เมืองพิจิตร สงครามครั้งนี้ มีเรื่องราวโดยสรุป ดังนี้

เนื่องจาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้แสร้งปล่อยข่าวว่า ได้พบแหล่งทองคำ จำนวนมากที่ เมืองพิพิจิตร โดยได้แสร้งนำทองคำที่ขุดพบได้ที่ ภูเขาพนมยมบา(พนมพา) ไปแสร้งวางทิ้งไว้ ตามลำธารต่างๆ ในท้องที่ เมืองพิจิตร ในปัจจุบัน แล้วแสร้งนำกองทัพ ไปรักษาแหล่งทองคำ ดังกล่าว วางแผนลวงให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ติดตามไปถึง พื้นที่ ของ เมืองพิจิตร เพื่อลอบซุ่มโจมตี จับเป็น ท้าวปรารพ(พระยากง) ตามแผนการที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กำหนด

เนื่องจาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) มีความต้องการแหล่งทองคำ เป็นของ อาณาจักรทวาราวดี มาอย่างยาวนาน มาแล้ว บังเอิญพื้นที่ซึ่ง แม่ทัพพระยายมบา ได้ไปพบแหล่งทองคำ ณ ดินแดน ภูเขาพนมยมบา(ภูเขาพนมพา) นั้น ตั้งอยู่ในดินแดน ของ อาณาจักรนาคฟ้า ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรทวาราวดี แต่เมื่อ ท้าวมหาฤกษ์ ได้ประกาศตั้ง อาณาจักรละโว้(ลพบุรี) ขึ้นมาแทนที่ อาณาจักรทวาราวดี ตามมติของ สภาโพธิ โดยไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรทวาราวดี แหล่งทองคำ ภูเขาพนมยมบา(พนมพา) จึงยึดถือว่า เป็นทรัพย์สินของ อาณาจักรละโว้ ด้วย

พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงใช้เงื่อนไขดังกล่าว เพื่อลวงให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพเข้ามายึดครองแหล่งทองคำ ซึ่งถูกลวงให้เข้าใจว่า ทองคำ มีอยู่มากในท้องที่ เมืองพิจิตร หวังที่จะสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้น ระหว่าง ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ ท้าวมหาฤกษ์ แห่ง อาณาจักรละโว้ เพื่อวางแผนจับกุม ท้าวปรารพ(พระยากง) ไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ตามที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) วางแผนไว้

เมื่อ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้สร้างข่าว เปลี่ยนทำเลที่ตั้ง ของ แหล่งพบทองคำ ที่แท้จริง ให้ไปตั้งอยู่ในพื้นที่ เมืองพิจิตร โดยได้นำทองคำที่ขุดได้จริง จาก ภูเขาพนมยมบา(ภูเขาพนมพา) ไปโปรยทิ้งไว้ที่ ตามลำธาร ห้วยหนอง คลองบึง และ ในเขตป่าเขา ของ เมืองพิจิตร แล้วร่วมกันสร้างข่าวลือ ให้แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ประชาชน อพยพมาขุดหาทองคำ เพื่อให้ข่าว การพบแหล่งทองคำ ทราบไปถึง ท้าวปรารพ(พระยากง) เพื่อลวงให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) นำกองทัพเข้ายึดครอง โดยที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) วางแผนส่งกองทัพ เข้าปิดล้อม หวังที่จะเข้าจับกุม ท้าวปรารพ(พระยากง) ไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ตามที่ได้มีพระราชสาส์น สั่งเสียไว้

ในที่สุด กองทัพ ท้าวปรารพ(พระยากง) ก็ตกหลุมพราง ตามแผนการที่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) วางกับดักไว้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้นำกองทัพ มาที่ เมืองพิจิตร เพื่อมาตรวจหาแหล่งทองคำ ตามที่เป็นข่าว จึงถูกกองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เข้าทำการปิดล้อม กองทัพของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นผลสำเร็จ ตามแผน

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองพิจิตร กองทัพทั้งสองต่างต่อสู้ระหว่างกัน บาดเจ็บล้มตายทั้งสองฝ่าย จนกระทั่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) ขาดแคลนเสบียงอาหาร สามารถตีแหกวงล้อมไปได้ สูญเสียไพร่พล จำนวนมาก จนกระทั่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องล่าถอย ไปที่ แคว้นละโว้(ลพบุรี) เพื่อขอความช่วยเหลือ จาก ท้าวมหาฤกษ์

เนื่องจาก ท้าวมหาฤกษ์ เป็นพระเจ้าอา ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) และ ไม่พึงพอใจการก่อกบฏ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) มาอย่างนาวนาน เพราะไม่ยอมกลับเนื้อกลับตัว เป็นคนดี มาโดยตลอด อีกทั้ง ท้าวมหาฤกษ์ ยังเป็น พ่อตา ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) อีกด้วย เป็นเหตุให้ ท้าวมหาฤกษ์ ได้ทำการขับไล่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ให้ออกไปจาก เมืองละโว้ ในสงครามครั้งนั้น อีกด้วย

ในที่สุด ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงต้องนำกองทัพที่เหลือ เพียงไม่กี่ร้อยคน เดินทางกลับไปรักษา กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพไพศาล จึงสั่งให้ทหาร เข้าปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ตามคำสั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทันที  

 

สงคราม พระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ อาณาจักรเงินยาง ปี พ.ศ.๑๑๖๓

เนื่องจากในขณะที่ เกิดสงคราม พระยากง-พระยาพาน นั้น สายราชวงศ์ท้าวชิน และ ท้าวจอมธรรม ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) นั้น เป็นกบฏ และเป็นพันธมิตร กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งได้ส่งกองทัพ เข้าร่วมทำสงคราม กับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มาในหลายสมรภูมิ มาก่อนหน้านี้ด้วย เป็นเหตุให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องการทำสงคราม ปราบปราม อาณาจักรเงินยาง(ชียงแสน) สายราชวงศ์มอญ ให้ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็น อาณาจักร ต่อไปด้วย 

เนื่องจาก เมื่อย้อนรอยเหตุการณ์ไปในสมัยที่ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วยการลอบวางยาพิษ ท้าวเงินยาง สวรรคต พร้อมกับได้ทำการยึดครอง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) เป็นของชนชาติมอญ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) นั้น เหตุการณ์ต่อมา ท้าวจอมธรรม มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ซึ่งปกครองอยู่ที่ เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) มีอัครมเหสี คือ พระนางจอมเม็ง พระราชธิดา ของ พระเจ้าศรีอีสาน นั้น ได้ร่วมกันก่อกบฏ ด้วย¨-

เนื่องจาก ก่อนเกิดสงคราม พระยากง-พระยาพาน นั้น พระนางเม็ง ซึ่งเป็น พระราชธิดา ของ พระเจ้าจิตรเสน และเป็นพระราชมารดา ของ มหาอุปราชท้าวจอมธรรม นั้น ได้แสร้งหาเหตุทำสงครามยึดครอง เมืองสวนตาล(พะเยา)เมืองหลวงของ แคว้นยวนโยนก(พะเยา) ซึ่งปกครองโดย เจ้าฟ้าเฮ่ง เชื้อสาย ราชวงศ์ยวนโยนก(ราชวงศ์แมนสม) ด้วยการแสร้งส่งคณะราชทูตไปสู่ขอ เจ้าหญิงยวน พระราชธิดา ของ เจ้าฟ้าเฮ่ง แห่ง แคว้นยวนโยนก(สวนตาล-พะเยา) ให้มาเป็นพระชายา ของ ท้าวจอมธรรม เพื่อแสร้งหาเหตุทำสงคราม ยึดครองดินแดน อาณาจักรเงินยาง เป็นของ เชื้อสายราชวงศ์มอญ ทั้งหมด

 

                       

ภาพที่-๑๑๐ เทวรูปยักษ์มาร พบที่ เมืองคูบัว จ.ราชบุรี สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูป ที่สร้างขึ้นมาเพื่อจำลอง พระเจ้าจิตรเสน เพื่อสื่อความหมายถึง ความโหดร้าย ของ ราชวงศ์มอญ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ผู้อยู่เบื้องหลังในการลอบวางยาพิษ ท้าวลาวเงิน ถึงแก่สวรรคต เพื่อให้ราชวงศ์มอญ เข้ายึดครอง อาณาจักรยวนโยนก เป็นของ ชนชาติมอญ เจตนาของการสร้างเทวรูป นี้ ก็เพื่อให้ ชนชาติไทย ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติตนเอง นั่นเอง

 

เมื่อ เจ้าฟ้าเฮ่ง ได้รับพระราชสาส์น จึงปฏิเสธคำขอ เป็นเหตุให้ ท้าวจอมธรรม แสร้งอ้างเป็นเหตุ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) ของ แคว้นยวนโยนก(พะเยา) เป็นเหตุให้เชื้อสายราชวงศ์ยวนโยนก(ราชวงศ์แมนสม) จึงต้องอพยพไพร่พล ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ มีชื่อว่า เมืองตุมวาง(แพร่) ขึ้น ณ ท้องที่เมืองแพร่ ในปัจจุบัน พร้อมกับเรียกชื่อแคว้นใหม่ว่า แคว้นยวนโยนก(แพร่) ซึ่งปกครองโดย เจ้าฟ้าเฮ่ง อีกเช่นกัน มหาราชาท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเวียงจันทร์(เชียงบาน) จึงได้ส่งกองทัพเข้าคุ้มครอง เจ้าฟ้าเฮ่ง ด้วย ท้าวจอมธรรม จึงได้ยุติการคุกคาม ราชวงศ์แมนสม ในช่วงเวลาดังกล่าว

 

                                                          

      ภาพที่-๑๑๑ แผนที่ แสดงตำแหน่งที่ตั้ง ของ อาณาจักรเงินยาง กรุงเชียงแสน(ระบายสีเทา)

 

            ประชาชน อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ท้าวจอมธรรม ในครั้งนั้น ได้อพยพไปสร้าง เมืองสวนตาล(น่าน) ขึ้นใหม่ ในดินแดนของ ลุ่มแม่น้ำน่าน ขึ้นด้วย ส่วน เมืองสวนตาล(พะเยา) แคว้นยวนโยนก(พะเยา) ดั้งเดิม นั้น ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แคว้นสวนตาล(พะเยา) ปกครองโดย ท้าวจอมธรรม พระอนุชา ของ มหาราชาท้าวชิน ซึ่งเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) เป็นเหตุให้ เจ้าฟ้าเฮ่ง มีพระราชสาส์น ร้องเรียนไปยัง สภาโพธิ ในที่สุด สภาโพธิ ได้มีมติให้ ท้าวชิน คืนเมืองสวนตาล(พะเยา) กลับคืนให้ เจ้าฟ้าเฮ่ง แห่ง ราชวงศ์แมนสม เช่นเดิม แต่ มหาราชาท้าวชิน ไม่ยอมปฏิบัติตาม กลับประกาศก่อกบฏ ร่วมประกาศเป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ด้วย

ต่อมาในสมัย สงครามพระยากง-พระยาพาน มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา จึงได้มอบหมายให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เร่งรัดส่งกองทัพเข้าไปทำสงครามปราบปราม ราชวงศ์ชนชาติมอญ ของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ให้ยอมขึ้นต่อกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยดี ดังเดิม ด้วย

สงครามปราบปราม อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ครั้งนั้น เกิดขึ้นในดินแดนของ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ภายใต้การปกครอง ของ มหาราชาท้าวชิน สายราชวงศ์มอญ คือ พื้นที่หมายเลขที่-๑๑ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ นั้น เกิดขึ้นเนื่องจาก กองทัพของ ท้าว ปรารพ(พระยากง) เคยใช้ กองทัพของ มหาราชาท้าวชิน เข้าร่วมทำสงครามกับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มาในสงครามที่ สมรภูมิ กงชัง , กงชิง และ บ้านน้ำดำ มาก่อน เป็นเหตุให้ แม่ทัพพระยาหมัน ต้องนำกองทัพ จาก เมืองสองแคว(พิษณุโลก) ขึ้นไปตั้งอยู่ที่ เมืองตุมวาง(แพร่) ของ แคว้นยวนโยนก(แพร่) ของ เจ้าฟ้าเฮ่ง เพื่อเตรียมส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ของ มหาราชาท้าวชิน แห่ง ราชวงศ์มอญ ให้ยอมรับในอำนาจ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ต่อไป

ดังนั้น ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ เมืองพิจิตร เสร็จสิ้นแล้ว พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ทราบข่าวว่า ท้าวชิน และ ท้าวจอมธรรม ได้อพยพชนชาติมอญ จาก อาณาจักรอีสานปุระ เข้าไปตั้งรกราก เพื่อยึดครอง แผ่นดิน ของ ชนชาติอ้ายไต พร้อมกับได้ขยายอิทธิพล ของ ชนชาติมอญ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงได้ส่งกองทัพ วางแผนทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) กลับคืน

ผลของสงคราม ท้าวจอมธรรม พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองสวนตาล(พะเยา) จึงต้องล่าถอยกลับไปที่ เมืองพาน(อ.พาน จ.เชียงราย) ทำให้ กองทัพของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ไล่ล่า ติดตามโจมตี กองทัพของ ท้าวจอมธรรม ทหารมอญ บาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก ท้าวจอมธรรม ต้องถอยทัพไปอยู่ เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้เคลื่อนกองทัพ ไปตั้งกองทัพอยู่ที่ เมืองพาน เพื่อเตรียมทำสงคราม ยึดครอง เมืองเชียงเครือ(เชียงราย) และ เมืองเงินยาง(เชียงแสน) ต่อไป แต่ในที่สุด มหาราชาท้าวชิน พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถสู้รบ กับ กองทัพใหญ่ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้อย่างแน่นอน จึงได้ส่งคณะราชทูต นำต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาถวายให้กับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ เมืองพาน ขอนำ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ดังเดิม พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) กลับคืนเป็น อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ดังเดิม อีกครั้งหนึ่ง

ผลจากสงครามครั้งนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงได้รวบรวมชนชาติอ้ายไต มาตั้งเมืองใหม่ ขึ้นมาในพื้นที่ตั้งทัพ ประชาชน จึงเรียกชื่อท้องที่ดังกล่าวในเวลาต่อมา ว่า เมืองพาน หลังจากนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้ส่งคืน เมืองสวนตาล(พะเยา) กลับคืนให้กับ ราชวงศ์แมนสม ของ เจ้าฟ้าเฮ่ง ปกครองดังเดิม พร้อมกับได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าฟ้าเฮ่ง เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรยวนโยนก ต่อไป จึงเป็นที่มาให้ เจ้าฟ้าเฮ่ง ได้อพยพประชาชน ชนชาติอ้ายไต จาก เมืองตุมวาง(แพร่) กลับไปครอบครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) ดังเดิม เป็นเหตุให้ เมืองตุมวาง(แพร่) กลายเป็นเมืองร้าง ไปด้วย

 

พระยาพาน ให้กำเนิด ชื่อเมืองตุมวาง เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองแพร่

เนื่องจากเมื่อ เจ้าฟ้าเฮ่ง ได้อพยพผู้คน กลับมาครอบครอง เมืองสวนตาล(พะเยา) ดังเดิม นั้น ทำให้ เมืองตุมวาง(แพร่) มีประชาชน อาศัยอยู่น้อยมาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องการให้ เมืองตุมวาง(แพร่) มีผู้คน มาอยู่อาศัยมากขึ้น จึงวางแผนมอบให้ พระยายมบา ไปนำทองคำ ที่ขุดได้จาก ดินแดน ภูเขาพนมยมบา(พนมพา) ของ เมืองพิจิตร นำไปแสร้งทิ้งไว้ตามลำธาร ณ ดินแดน ของ เมืองตุมวาง(แพร่) แล้วสร้างข่าวลือ ให้แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว ว่าได้พบแหล่งทองคำ ขนาดใหญ่ ณ เมืองตุมวาง เพื่อลวงให้ ประชาชน อพยพมาขุดหาทองคำ ตามแผนที่กำหนด

เมื่อข่าวการพบแหลง ทองคำ แพร่ ออกไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ประชาชนจากหลายท้องที่ เดินทางอพยพมายัง เมืองตุมวาง(แพร่) อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ เมืองตุมวาง(แพร่) มีประชาชนเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว ท้องที่ เมืองตุมวาง(แพร่) จึงถูกเรียกชื่อว่า เมืองแพร่ ตั้งแต่นั้นมา คำว่า แพร่ หมายถึง ข่าวการตื่นทอง ได้แพร่ขยาย อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นกุศโลบาย ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ในการสร้าง เมืองแพร่ นั่นเอง

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ยังได้มอบให้ ไพร่พล ไปจับวัวป่า มาฝึกเทียมเกวียน และฝึกใช้ไถนา แทนควาย เพื่อนำวัว ไปใช้งาน ตามแว่นแคว้นต่างๆ มากขึ้น ผลของสงครามครั้งนั้น วัวป่า ได้ถูกแพร่พันธุ์ จาก เมืองแพร่ ไปใช้ยังดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ดังนั้น การแพร่พันธุ์ ของ วัวป่า เพื่อนำไปฝึกใช้ทำนา จึงเป็นที่มาให้ท้องที่ เมืองแพร่ ถูกเรียกชื่อว่า เมืองแพร่ อย่างรวดเร็ว อีกด้วย

ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ครั้งนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ได้สร้างตำนานท้องที่ต่างๆ ขึ้นหลายท้องที่ ในดินแดนของ อาณาจักรเงินยาง และเป็นเหตุให้ มหาราชาท้าวชิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) ต้องยอมสวามิภักดิ์ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง ตามที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน รับสั่ง และยังทำให้หลายท้องที่ มีชื่อของ พระยาพาน หรือ เรื่องราวของ พระยาพาน เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย เช่น เมืองพิจิตร , เมืองพาน และ เมืองแพร่ เป็นต้น ซึ่งเมืองดังกล่าว ถูกเรียกชื่อ ในเวลาต่อมา สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

 

สงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ กรุงทวาราวดี ปี พ.ศ.๑๑๖๓

สงครามพระยากง-พระยาพาน ครั้งที่-๑๒ เกิดขึ้น ณ สมรภูมิ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ราชธานี ของ อาณาจักรทวาราวดี คือ พื้นที่หมายเลขที่-๑๒ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๑๐๖ นั้น สงครามครั้งนี้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) วางแผนทำสงครามเผด็จศึก เป็นครั้งสุดท้าย เพื่อต่อรองให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ยอมจำนน ตามที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน วางแผนไว้

แผนสงคราม พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงรับสั่งให้ แม่ทัพพระยายมบา , แม่ทัพพระยาหมัน และ แม่ทัพพระยาไพศาล ส่งกองทัพบก และ กองทัพเรือ เข้าปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรทวาราวดี เพื่อกดดันให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ยอมจำนน ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นครั้งสุดท้าย พร้อมกับทำการจับกุม ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งมอบให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ตามที่ได้รับสั่งไว้  

เนื่องจาก ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบดีว่า เป็นฝ่ายเสียเปรียบ และ ขาดแคลนเสบียงอาหาร จึงได้ส่งพระราชสาส์น มอบให้คณะราชทูต เดินทางไปพบกับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ณ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) มีเนื้อหาสรุปความได้ว่า ขอให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถอนกองทัพ ออกจากการปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) พร้อมทั้งให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน คืนแคว้นนาลองกา และ ทองคำสองไห กลับคืนให้กับ อาณาจักรทวาราวดี เพื่อให้ อาณาจักรทวาราวดี ยอมรับในอำนาจ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ดังเดิม ต่อไป

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทรงพระพิโรธ มาก พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ตอบกลับไปว่า แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) เป็นแว่นแคว้น ของ อาณาจักรชวาทวีป มาอย่างยาวนาน การที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ส่งกองทัพเข้าแย่งยึด แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ไปครอบครอง ก็เพื่อหวังที่จะได้แหล่งทองคำ จากเมืองกำเนิดนพคุณ ไปครอบครองนั้น เป็นการกระทำที่ผิดราชประเพณี และ กระทำตนเป็นกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) อย่างชัดแจ้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงต้องทำสงครามปราบปราม ตามมติของที่ประชุม สภาโพธิ และ สภาปุโรหิต ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามราชประเพณี

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จึงต้องการให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นฝ่ายส่งคืนทองคำ ที่ขุดหามาได้ จาก เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพาน) กลับคืนให้กับ อาณาจักรชวาทวีป และยอมปฏิบัติตามที่กฎมณเฑียรบาล ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ อย่างเคร่งครัด สงครามจึงจะยุติ มิฉะนั้น จะสั่งให้ กองทัพ ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ตัดศีรษะ มาถวาย

ฝ่าย พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ทราบข่าว เกรงว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) อาจจะฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็น พระราชบิดา ตามคำทำนายที่โหราจารย์ ซึ่งเคยทำนายไว้ จึงได้ลักลอบเดินทางจาก กรุงธารา(บ้านนาเดิม) มายัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) โดยได้ฝ่ากองทหาร ของ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เพื่อลักลอบไปพบกับ พระนางแก้วงาบเมือง เป็น

ผลสำเร็จ พร้อมกับได้ แจ้งข่าวแก่ พระนางแก้วงาบเมือง ว่า พระยาตาเคียนซา นั้น แท้ที่จริง คือ พระยาพาน ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระนางแก้วงาบเมือง นั่นเอง

 

                    

ภาพที่-๑๑๒ เทวรูป สตรี ทำด้วยศิลา ในภาพ พบที่ เมืองคูบัว จ.ราชบุรี สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูป จำลอง พระนางแก้วงาบเมือง เพื่อแสดงเรื่องราว ขณะที่พระนาง ได้ปลอมตัวเป็นสามัญชน เดินทางไปพบกับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ ค่ายกองบัญชาการทหาร ปากแม่น้ำแม่กลอง เพื่อขอร้องให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ยุติการทำสงคราม

 

ต่อมา พระนางแก้วงาบเมือง ได้ชักชวน พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ปลอมตัวเป็นสามัญชน หลบหนีออกจาก พระราชวังหลวง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) เพื่อลักลอบไปพบกับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ กองบัญชาการรบ ของ พระยาตาเคียนซา ปากแม่น้ำแม่กลอง เพื่อให้ข้อมูลที่แท้จริง แก่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) และหาทางยุติสงครามระหว่างสองพ่อลูก ในการพบครั้งนั้น พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ไม่กล้าไปพบ ด้วย เพราะ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เคยโกหก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มาก่อนว่า พระยาตาเคียนซา เป็นพระราชโอรส ของ ท้าวอุแทน กับ พระนางกลิ่นตานี และ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เชื่ออย่างสนิทใจ

เมื่อ พระนางแก้วงาบเมือง ได้พบกับ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ณ ปากแม่น้ำแม่กลอง ซึ่ง พระนางแก้วงาบเมือง ได้โผเข้าไปโอบกอด พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ด้วยความคิดถึง และพยายามที่จะอธิบายว่า พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) เป็นพระราชโอรส ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางแก้วงาบเมือง แต่ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ไม่เชื่อถือ พร้อมกับรับสั่งให้ ทหาร นำพระนางแก้วงาบเมือง ออกไปจากค่ายทหาร กล่าวหาว่า พระนางแก้วงาบเมือง เป็นหญิงบ้า อีกด้วย

ในที่สุด พระนางแก้วงาบเมือง ได้ตัดสินพระทัย ชักชวน พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เดินทางไปยัง มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) อาณาจักรมาลัยรัฐ เพื่อร้องขอให้ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) ซึ่งเป็น ประธานสภาโพธิ ให้เป็นตัวกลาง ในการเจรจายุติสงคราม ระหว่างกัน พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด จึงกลายเป็น ผู้ยุติสงคราม ระหว่าง พระยากง-พระยาพาน ในเวลาต่อมา

 

พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด เจรจาสงบศึก สงครามพระยากง-พระยาพาน

เรื่องราวการยุติ สงครามพระยากง-พระยาพาน ตามข้อเสนอของ พระอาจารย์เถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) ซึ่งเป็น พระอาจารย์ ของ กษัตริย์ และ เชื้อสายพวกราชวงศ์ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ข้อเสนอ สัญญาสันติภาพ ของ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด จึงเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย ของ อาณาจักรต่างๆ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) มีข้อเสนอโดยสังเขป ดังนี้

ประการแรก ให้ มหาราชา ของ อาณาจักร ต่างๆ ร่วมกันบริจาคทองคำ หรือ เงินทอง เพื่อร่วมสร้าง เทวรูป พระพุทธสามัคคีศรีราชัน ซึ่งจะร่วมกันสร้างขึ้น ณ วัดศรีราชัน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) อาณาจักรชวาทวีป เพื่อเป็นคำมั่นสัญญาระหว่างกันว่า จะไม่ใช้ วัฒนธรรมตอแหล ไปใช้ใส่ความ สร้างความแตกแยกความสามัคคี กันอีกต่อไป

ประการที่สอง ให้มหาราชา ของ อาณาจักร ต่างๆ ร่วมกันบริจาคทรัพย์ เพื่อร่วมกันฟื้นฟู วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) ในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อถวายเป็นกุศลให้กับดวงวิญญาณของ บูรพกษัตริย์ไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในอดีต

ประการที่สาม ให้ทำการย้าย หลักเมือง(เสื้อเมือง) ของ กรุงจีนหลิน(เมืองเก่ากรุงราชคฤห์) ซึ่งมีดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ เป็นเสื้อเมือง สิงห์สถิตย์ อยู่ด้วย และไม่รับการบวงสรวงเซ่นไหว้ สักการะ หลังจาก กรุงจีนหลิน ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เผาร้างไป เนื่องจาก ดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ ไม่สงบ จึงให้นำไปประดิษฐานใหม่ กลางพื้นที่ วัดศรีราชัน แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่อให้ประชาชน บวงสรวงเซ่นไหว้ สักการะ ต่อไป

ประการที่สี่ ให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ถวาย ทองคำ ๒ ไห กลับคืนให้กับท้าวปรารพ(พระยากง) โดยยึดถือว่า เป็นทรัพย์สินอันชอบธรรม ของ อาณาจักรชวาทวีป การถวายทองคำ กลับคืน ถือเป็นการถวายทรัพย์สิน จาก พระราชโอรส ให้กับ พระราชบิดา เพื่อเป็นการไถ่บาป ที่ได้ละเมิดล่วงเกิน พระราชบิดา มาในอดีต เท่านั้น

ประการที่ห้า ให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน , ท้าวปรารพ , จักรพรรดิท้าวธานี , นายกพระยากระบี่ , พระยาศรีจง , พระยาศรีธรนนท์ , พระยาศรีธรรมโศก และ พระยาพาน ร่วมกันปลูก ต้นโพธิ์ทอง ขึ้นกลางวัดศรีราชัน เพื่อสัญญากันว่า จะร่วมกันสร้างรัฐทางพระพุทธศาสนา ให้รุ่งเรือง และจะไม่เป็นศัตรูต่อกัน อีกต่อไป

ภายใต้ข้อตกลง ๕ ประการ ดังกล่าว พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ซึ่งได้รับทราบความเป็นจริงจาก พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ว่า เป็นพระราชโอรสที่แท้จริง ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางแก้วงาบเมือง จึงได้ยินยอมยุติการปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) และนำกองทัพ กลับคืน อาณาจักรชวาทวีป ตามที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้มีพระราชสาส์น สั่งให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ถอยทัพกลับคืน อาณาจักรชวาทวีป พระยาพาน ได้ไปประทับอยู่ที่ พระราชวัง เมืองท่าชนะ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ของ อาณาจักรชวาทวีป เพื่อรอปฏิบัติตามสัญญาสันติภาพ

 

 

สิ้นสุดสงครามพระยากง-พระยาพาน ณ สมรภูมิ ทุ่งลานช้าง ปี พ.ศ.๑๑๖๔

ตามตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ "คลองพา" และ "ดอนธูป" อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงเรื่องราว การสิ้นสุดของ สงครามพระยากง-พระยาพาน มีเรื่องราว โดยสรุปว่า เมื่อ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ได้ผลักดันให้มีข้อตกลงร่วมกัน นั้น ทุกฝ่ายสามารถปฏิบัติได้สำเร็จ ไปทั้ง ๒ ประการแล้ว จึงมีการย้ายเสื้อเมือง กรุงจีนหลิน(เมืองเก่ากรุงราชคฤห์-บ้านโป่ง) ซึ่งมีดวงวิญญาณ อดีตบูรพกษัตริย์ เป็นเสื้อเมือง สิงห์สถิตย์อยู่ด้วย ให้มาประดิษฐานใหม่ในบริเวณ กลางวัดศรีราชัน เรียบร้อยแล้ว ทุกฝ่ายร่วมมือด้วยดี

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ซึ่งได้มาร่วมงาน ตามสัญญาสันติภาพ ณ วัดศรีราชัน ด้วย ได้ฝันไปว่า ไฟได้ลุกท่วมตัว ยายหอม โหรทำนายทายทักว่า สงครามพระยากง-พระยาพาน จะยังไม่จบสิ้น และ ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ที่ปลายยอดน้ำของ คลองกั้นเขต(คลองท่าชนะ) ด้วย เพราะมี ควายเผือกฝาแฝด เกิดมา ๒ ตัว ซึ่งถือว่า เป็นนิมิต ดี โหรทำนายว่า สงครามพระยากง-พระยาพาน จะยุติ ถ้านำควายเผือก ฝาแฝด ๒ ตัว มาเวียนรอบ อุโบสถ ของ วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) ครบ ๓ รอบ

ประชาชน ต่างเกรงว่า สงครามพระยากง-พระยาพาน จะยังไม่ยุติ จึงยอมปฏิบัติตามคำทำนาย ของ โหราจารย์ พากันเดินทางไปนำพา ควายเผือก ฝาแฝด ๒ ตัว พากันมาจัดพิธีเวียนรอบพระอุโบสถ ณ วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) ๓ รอบ เป็นที่มาให้ คลองกั้นเขต(คลองท่าชนะ) ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า คลองพา ตั้งแต่นั้นมา

ในช่วงเวลาของ การประดิษฐาน เสื้อเมือง นั้น พระนางสุวรรณมาลี เกรงว่า สงครามจะเกิดขึ้นอีก จึงนัดหมายประชาชน ให้มาร่วมกันทำพิธีกรรม จุดธูป บวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ บูรพกษัตริย์ เสื้อเมือง ทุกๆ บ้านเรือนใน เมืองคลองหิต(ครหิต) ของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่อวิงวอนให้สงครามพระยากง-พระยาพาน ยุติ เป็นเหตุให้ ควันธูป และ กลิ่นธูป คละคลุ้งไปทั่วทั้ง เมืองคลองหิต(คันธุลี) จึงเป็นที่มาให้ท้องที่ เมืองคลองหิต(ครหิต) ถูกประชาชนเรียกชื่อใหม่ว่า "เมืองดอนธูป" สืบทอดต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน

ต่อมา ในวันที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา ข้อที่สี่ คือให้ พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ต้องคืนทองคำ ๒ ไห กลับคืนให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) นั้น โดยยึดถือว่า เป็นทรัพย์สินอันชอบธรรม ของ อาณาจักรชวาทวีป การมอบทองคำ ๒ ไห กลับคืน ถือเป็นการมอบทรัพย์สินจาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็น พระราชบิดา เพื่อเป็นการไถ่บาป ที่ได้ละเมิดล่วงเกิน มาในอดีต จึงมีการนัดพบกัน ณ ทุ่งลานช้าง บริเวณหน้าถ้ำใหญ่ ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) คือท้องที่ วัดถ้ำใหญ่ ทุ่งลานช้าง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

 

                       

  ภาพที่-๑๑๓ ภาพท้องที่ ทุ่งลานช้าง ในปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณ วัดถ้ำใหญ่ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ สมรภูมิ ของ สงคราม พระยากง-พระยาพาน ครั้งสุดท้าย ซึ่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) ถูก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ฟันด้วย ของ้าว คอขาด สวรรคต บนคอช้าง

 

            ในการนัดหมายคืนทองคำ ๒ ไห ให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ตามนัดหมาย ณ ทุ่งลานช้าง ครั้งนั้น พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) พร้อมที่จะคืนทองคำ ๒ ไห ตามที่นัดหมาย คือ ให้ร่วมกันเดินทางไปพบกัน เพื่อไปตั้งขบวน เดินทางพร้อมกัน ไปยังจุดฝังทองคำ ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ท้าวปรารพ(พระยากง) , พระยาพาน พร้อม พระราชา แว่นแคว้นต่างๆ ได้ทรงช้างเดินทางไปตามนัดหมาย เพื่อร่วมขบวน เป็นสักขีพยาน ณ ทุ่งลานช้าง เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ได้เกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่ง

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งทรงช้างมาเป็นกรรมการ ให้ปฏิบัติตามข้อตกลง เพื่อส่งมอบทองคำ ๒ ไห คืนให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ตามสัญญานั้น จะต้องมีการตั้งขบวน ณ ทุ่งลานช้าง เพื่อเดินทางแห่ขบวนไปยัง ทุ่งพระยาชนช้าง ด้วย เพื่อแสดงให้ประชาชนเห็นว่า กษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ ได้สามัคคี กันแล้ว และ สงครามพระยากง-พระยาพาน ได้สิ้นสุดลงแล้ว

ดังนั้น เมื่อ พระยาพาน และ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทรงช้าง มาพบกัน ณ ทุ่งลานช้าง ต่อหน้า พระราชา แว่นแคว้น ต่าง ๆ จำนวนมาก พระยาพาน ก็แจ้งให้ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ให้ขึ้นรถลากพระที่นั่ง นำหน้าขบวน นำ ท้าวปรารพ(พระยากง) เดินทางไปรับทองคำ ๒ ไห ซึ่งฝังไว้ ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ตามที่ตกลงไว้ เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่พอพระทัย จึงเกิดอารมณ์ความรู้สึกโกรธแค้น พระยาพาน ขึ้นมาอย่างรุนแรง และอย่างทันทีทันใด ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงทรงช้าง ตั้งของ้าว ใสช้าง วิ่งปราดเข้าหา ช้างทรงของ พระยาพาน มีเจตนาหวังที่จะฆ่า พระยาพาน ให้สวรรคต ณ ทุ่งลานช้าง ทันที

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งทรงช้าง อยู่ระหว่างกลาง เมื่อพบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว เห็นว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา จึงใสช้างวิ่งเข้าหาช้างทรงของ ท้าวปรารพ(พระยากง) หวังที่จะสกัดกั้นมิให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ฆ่า พระยาพาน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของพระองค์เอง แต่ ท้าวปรารพ(พระยากง) กลับเงื้อของ้าว มาแต่ไกล หวังเข้าฟัน พระยาพาน ที่ทรงช้างอยู่ เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ต้องตัดสินพระทัย ใช้ของ้าวฟันคอ ท้าวปรารพ(พระยากง) คอขาด บนหลังช้าง สวรรคต ณ บริเวณ ทุ่งลานช้าง ใกล้ถ้ำใหญ่ ของ ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

เนื่องจากเหตุการณ์ ครั้งนั้น พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) หรือ แม่นางส่ง ยืนทอดพระเนตรเหตุการณ์ อยู่ที่หน้าปากถ้ำใหญ่ พบเห็นว่า ท้าวปรารพ(พระยาพาน) คอขาดบนคอช้าง ใกล้ๆ กับ ช้างทรง ของ พระยาพาน จึงคิดไปเอง ว่า พระยาพาน เป็นผู้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ผู้เป็นพระราชบิดา ตามคำทำนายของโหราจารย์ในอดีต ด้วยความไม่พอใจ พระยาพาน ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม พระนางอุษา จึงสร้างข่าว ทำตอแหล ใส่ความพระยาพาน ว่า พระยาพาน เป็นผู้ฆ่า พระยากง ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระองค์เอง พระยาพาน จึงเป็นลูกทรพี กลายเป็นเรื่องที่เล่าลือกัน สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

 

                           

 ภาพที่-๑๑๔ ภาพต้นโพธิ์ทอง ของ วัดศรีราชัน ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งปลูกขึ้นตามสัญญาสันติภาพ เพื่อระลึกถึง การสิ้นสุด ของ สงคราม พระยากง-พระยาพาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๔ ปัจจุบัน วัดศรีราชัน มีสภาพเป็น วัดร้าง

 

หลังจาก ท้าวปรารพ(พระยากง) สวรรคต บนคอช้าง แล้ว ไพร่พล ก็นำพระบรมศพ กลับไปทำ พระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ ณ วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) ในงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน , พระยาพาน , พระยาศรีจง , พระยาศรีธรนนท์ , พระยาศรีธรรมโศก , ขุนศรีทรัพย์ และกษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ ที่ได้มาร่วมเป็นสักขีพยานในการยุติสงคราม พระยากง-พระยาพาน และร่วม งานพระบรมศพ ของ ท้าวปรารพ(พระยาก) ครั้งนั้น ได้ร่วมกันปลูกต้นโพธิ์ทอง ซึ่ง พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ได้เตรียมไว้ จนสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันทุกข้อ ยกเว้นสัญญาข้อสี่ ซึ่งถือว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นผู้ผิดสัญญา จึงต้องชดใช้กรรมด้วยความตาย จึงถือเป็นการยุติสงครามพระยากง-พระยาพาน หลังจากการปลูกต้นโพธิ์ทอง ณ วัดศรีราชัน ร่วมกัน

อย่างไรก็ตาม ความสงบภายในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยังไม่ยุติ เพราะ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ตัดสินพระทัยสละราชย์สมบัติ ออกผนวช ในเวลาต่อมา อ้างว่า มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้สำเร็จภารกิจ ในการรวบรวมดินแดน สุวรรณภูมิ ให้เป็นปึกแผ่น เรียบร้อยแล้ว ในช่วงเวลาดังกล่าว พระยาจักรนารายณ์ พระอนุชา ของ พระยาพาน กลายเป็น ราชา ผู้ปกครอง แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) โดยว่าราชการอยู่ที่ เมืองจักรนารายณ์ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) จึงกลายเป็นเมืองขึ้นต่อ แคว้นจักรนารายณ์ ชั่วคราว ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงเริ่มเข้าสู่ความสงบสุข อีกครั้งหนึ่ง

 

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน สละราชย์สมบัติ ออกผนวช ปี พ.ศ.๑๑๖๕

ตำนานชื่อท้องที่ บ้านท่าน้อย-ตากแดด กล่าวถึงการสละราชย์สมบัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ว่า ภายหลังจากการที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้ร่วมปลูกต้นโพธิ์ทอง ณ วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) ตามสัญญาสันติภาพ เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้นัดหมาย พระนางกลิ่นตานี เสด็จกลับไปยัง กรุงธารา(เขาตอก-บ้านนาเดิม) และได้ไปประชุม สภาปุโรหิต และ สภามนตรี เรียบร้อยแล้ว จึงได้เสด็จออกมาประกาศต่อ คณะขุนนาง อำมาต ว่า พระองค์ จะสละราชย์สมบัติ ออกผนวช โดยจะขอออกผนวช ล้างบาป จากสาเหตุที่ได้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) สวรรคต ณ ทุ่งลานช้าง ด้วย

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ส่งมอบงานให้กับ จักรพรรดิท้าวธานี ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ พร้อมกับได้เสนอให้ สภาต่างๆ พิจารณาให้ มหาราชาพระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) และมี พระยากระบี่ แคว้นตาโกลา มีตำแน่งเป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย

หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้สละราชสมบัติ เตรียมออกผนวช แล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน พร้อมด้วย พระนางกลิ่นตานี และคนรับใช้เพียงไม่กี่คน ได้ช่วยกันลำเลียง ทรัพย์สินต่างๆ ที่จำเป็น ลงเรือสำเภาพระที่นั่ง เสด็จจากพระราชวังหลวง กรุงธารา(เขาตอก บ้านนาเดิม) เดินทางมุ่งหน้าสู่ บ้านท่าน้อย ซึ่งเคยเป็นที่ประทับ ของ ท้าวอุเทน ในสมัยที่ได้มาสร้างกองทัพเรือ สมัยทรงพระเยาว์ ท่ามกลางฝนตก ย่างหนัก

ตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ บ้านท่าน้อย-ตากแดด ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ ต.ตลาด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เล่าเรื่องราว สืบทอดต่อๆ กันมาว่า ขณะที่ ท้าวอุเทน นำเรือสำเภาเดินทางมาทอดสมอ ณ ท่าน้อย เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น ได้เกิดฝนตกอย่างหนัก ข้าวของทรัพย์สินต่างๆ ล้วนเปียกปอน ท้าวอุเทน จึงได้นำสิ่งของลงจากเรือสำเภา ขึ้นมาตากแดด ในพื้นที่บริเวณ พระราชวังท่าน้อย ท้องที่บริเวณ บ้านท่าน้อย จึงถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า "บ้านท่าน้อย  ตากแดด" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ท้าวอุเทน ได้สร้างพระราชวังเล็กๆ ขึ้นมาในพื้นที่ดังกล่าว ให้กับ พระนางกลิ่นตานี อัครมเหสี ก่อนที่จะออกผนวช ด้วย

ขณะนั้น ท้าวอุเทน อยู่ในวัยชราแล้ว  พระองค์เกิดความเสียใจ อย่างรุนแรง ที่ต้องกลายเป็นผู้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของพระองค์เอง ท้าวอุเทน ได้ออกผนวช ณ วัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) และได้มาสร้างสำนักสงค์อยู่ที่ บริเวณคอกช้าง(วัดคอกช้าง อ.ท่าชนะ) ในเวลาต่อมา

ตำนานวัดใหม่ใน และ วัดใหม่นอก กล่าวว่า ก่อนการสวรรคต ภิกษุอุเทน ได้สั่งเสียให้ พระนางกลิ่นตานี อัครมเหสี ของพระองค์เอง ให้นำทรัพย์สินต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้ไปสร้างวัด เพื่อล้างบาป และอุทิศส่วนกุศลให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) คือการสร้าง วัดเขากง ในท้องที่ จ.นราธิวาส ในปัจจุบัน และ ในสมัยต่อมา พระนางกลิ่นตานี ยังได้ใช้ทรัพย์สิน ตามเจตนา ของ ท้าวอุเทน คือการสร้าง วัดใหม่ใน และ วัดใหม่นอก ขึ้นมาในท้องที่ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) อีก ๒ วัด ตามเจตนารมณ์ ที่ ภิกษุอุเทน ได้เคยสั่งเสียไว้ ในเวลาต่อมา ด้วย

 

 

(๔๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี)

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี(ปี พ.ศ.๑๑๖๕-๑๑๖๘) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น มี ท้าวกระบี่ แห่ง แคว้นตาโกลา(กันตัง) อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) เป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นตาโกลา(กันตัง) และมี พระยาพาน เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) ของ อาณาจักรชวาทวีป แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ คือ สงครามกันตาพาน เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่าง ชนชาติอ้ายไต กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ อีกครั้งหนึ่ง

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น อาณาจักรทวาราวดี ได้ล่มสลายลง และได้กำเนิด อาณาจักรละโว้ ขึ้นมาแทนที่ โดยมีราชธานี อยู่ที่ กรุงละโว้(ลพบุรี) มี ท้าวมหาฤกษ์ เป็น มหาราชา และมี พระยาโยธิกา แห่ง แคว้นโยธิกา(อยุธยา) ดำรงตำแหน่งเป็น มหาอุปราช ส่วน กรุงทวาราวดี ได้ร้างไป กลายเป็นเมืองภายใต้การปกครอง ของ แคว้นจักรนารายณ์(นครชัยศรี) แทนที่ พระนางแก้วงาบเมือง จึงได้เสด็จไปประทับ ณ แคว้นจักรนารายณ์ กับ พระยาจักรนารายณ์ ด้วย  

 

สภาปุโรหิต มีมติ ปรับปรุงกฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ 

ได้เกิดการเปลี่ยนแปลง กฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) มีสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์ต่างๆ ที่ผสมกับ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ที่มิได้เป็นสายตรง และ ได้ผ่านการพิสูจน์ ทั้งด้านคุณธรรม และ ความสามารถ มาแล้ว ว่าเป็นผู้ที่ มีทั้ง คุณธรรม และ ความสามารถ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง แก้ไข กฎมณเฑียรบาล ให้ พระยาพาน สามารถขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และตำแหน่ง นายก ได้ เป็นเหตุให้ บทบาทของ พระยาพาน สามารถดำรงตำแหน่ง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีบทบาทสูงเด่นยิ่งขึ้น

ต่อมาไม่นาน ได้เกิดสงคราม ระหว่าง ชนชาติทมิฬโจฬะ กับ ชนชาติอ้ายไต เพื่อแย่งชิงอิทธิพลเหนือช่องแคบ มาลายู(มะละกา) ด้วยการสนับสนุนของ มหาอาณาจักรจีน เรียกว่า สงครามกันตาพาน ทำให้ ท้าวธานี และ ท้าวกระบี่ สวรรคต ในสงคราม พระยาพาน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในรัชกาลต่อมา ซึ่งเป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ นั่นเอง

 

พระยาพาน สำเร็จโทษ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ปี พ.ศ.๑๑๖๕

ตำนาน สวนยายหอม ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาคันธุลี ได้เล่าตำนานเรื่องราว ตำนาน ชีวิตครั้งสุดท้าย ของ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) โดยสรุปว่า พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เสียใจมาก ที่ นายกพระยาพาน ถูกต่อต้านจาก พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ซึ่งได้ใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างข่าว ใส่ความ นายกพระยาพาน อีกครั้งหนึ่ง

พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เข้าใจว่า การที่ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ลาสิกขา ออกจากการเป็นชีพราหมณ์ แล้วนำวัฒนธรรมตอแหล มาใส่ความ สร้างความเสียหายให้กับ นายกพระยาพาน อีก ล้วนเป็นสาเหตุมาจากการที่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เป็นผู้โกหกว่า พระยาพาน เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เป็นเหตุให้ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ได้หลบหนีจาก กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ไปอาศัยอยู่ที่ สวนยายหอม ของ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) อย่างเงียบๆ อีกครั้งหนึ่ง

 

                             

 ภาพที่-๑๑๕ ภาพถ่ายประชาชนในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันนำ อาหารคาวหวาน หมูเห็ดเป็ดไก่ และ เครื่องบวงสรวงเซ่นไหว้ ต่างๆ เดินทางไปบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ ของ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ณ บริเวณ ศาลยายหอม ในพื้นที่ สวนยายหอม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาคันธุลี เป็นประจำทุกๆ ปี มีการเชิญดวงวิญญาณยายหอม มาประทับร่างทรง แล้ว ประชาชนจะขอ เลขเด็ด เพื่อไปแทงหวย ด้วย

 

ส่วน นายกพระยาพาน ซึ่งอยู่ระหว่างความสับสน ที่ถูก แม่ชีพราหมณ์อุษา ใช้วัฒนธรรมตอแหล ใส่ความกล่าวหาว่า นายกพระยาพาน เป็นผู้ฆ่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ผู้เป็นพระราชบิดา เป็นเหตุให้ นายกพระยาพาน ต้องการทราบข้อเท็จจริงต่างๆ จากปากของ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ถึง พระราชประวัติ ของ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ด้วย

นายกพระยาพาน จึงได้เสด็จไปสอบถาม พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ด้วยพระองค์เอง ณ สวนยายหอม แต่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ไม่กล้ากราบทูล พระยาพาน ถึงเรื่องราวของ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ด้วยเกรงว่า อาจจะทำให้ พระยาพาน ทรงพิโรธ อาจจะไป สำเร็จโทษ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ได้ จึงเป็นที่มาให้ นายกพระยาพาน ประหารชีวิต พระนางสุวรรณมาลี ณ ท้องที่ดังกล่าว ด้วยอารมณ์โกรธ และ ได้มาสำนึกบาป ในภายหลัง อีกครั้งหนึ่ง

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี นั้น นายกพระยาพาน ยังถูก พระเจ้าสักกรดำ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ใช้วัฒนธรรมตอแหล ด้วยการสร้างข่าวเท็จ เพื่อนำไปปล่อยข่าว ใส่ความว่า นายกพระยาพาน เป็นผู้ฆ่า พระยากง ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์เองด้วย เป็นเหตุให้ประชาชนแว่นแคว้นต่างๆ ร่วมกัน ประณาม นายกพระยาพาน ว่า เป็นลูกทรพี ด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าว ได้สร้างความเสียหายให้กับ นายกพระยาพาน เป็นอันมาก ในการดำรงตำแหน่ง เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ครั้งนั้น แต่ข่าวตอแหล เกิดขึ้นไม่นาน สงครามกันตาพาน ได้เกิดขึ้นมา กลบข่าว เงียบหายไป  

หลังจากการประหารชีวิต พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) เรียบร้อยแล้ว และ นายกพระยาพาน ได้สำนึกผิดถึงบาปบุญคุณโทษ ที่ได้กระทำลงไป จึงได้สร้าง สวนผลไม้สาธารณะประโยชน์ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งแรก บริเวณทิศตะวันออก ของ ภูเขาคันธุลี และ ในเวลาต่อมา นายกพระยาพาน ยังได้ไปสร้าง วัดดอนยายหอม ขึ้นมาในพื้นที่ ดอนยายหอม ของ เมืองปะถม แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี) เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) พร้อมกับได้นำพันธ์ข้าวยายหอม ซึ่งเรียกว่า ข้าวหอม ไปส่งเสริมเป็นพันธ์ข้าว ให้ประชาชน ปลูกขึ้น จนกลายเป็น พันธุ์ข้าวหอม หลายชนิด ที่ได้แพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อีกด้วย

 

เจ้าชายศรีไชยนาท กับ พระนางบัวจันทร์ เสด็จไปประทับ ณ ทูลี่ก๊ก พ.ศ.๑๑๖๕

เนื่องจาก เรื่องราวเกี่ยวกับ พระราชประวัติ ของ เจ้าชายศรีไชยนาท พระเชษฐา ของ จตุคามรามเทพ(ขุนราม) คือเรื่องราวของ ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ระหว่างข้อต่อของ การเปลี่ยนแปลงจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ไปสู่ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

เรื่องราวเกี่ยวกับ พระราชประวัติ ของ เจ้าชายศรีไชยนาท ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น จะเป็นกุญแจสำคัญ ในการสร้างความเข้าใจถึง การเปลี่ยนแปลงอำนาจในการปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร หลังจากที่ ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมคบกัน ทำสงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง ทั้งนี้เพราะ ต่อมา กษัตริย์ ๓ พี่น้อง คือ เจ้าชายหะนิมิตร(พ่ออู่ทอง) , เจ้าชายศรีไชยนาท(ตาม้ากลิงค์) และ เจ้าชายราม(จตุคามรามเทพ) ได้กลายเป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำสงคราม กอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืนมา เป็นผลสำเร็จ

เมื่อย้อนรอยเหตุการณ์ กลับไปยัง พระราชวังภูกูเวียน เมืองกง เทือกเขาภูพาน ในสมัยของ สงครามพระยากง-พระยาพาน นั้น เจ้าชายศรีชัยนาท เป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาพระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) กับ พระนางบัวจันทร์ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระนางหยางกุ่ย(พระนางสุวรรณจักรี) แห่ง ราชวงศ์แมนสม กับ พระยาศรีธรรมโศก โดยที่ เจ้าชายศรีไชยนาท ได้ประสูติ ณ พระราชวัง ภูกูเวียน ใกล้วัดพ่อตา-ลูกเขย หอพระนางอุษา เมืองพาน-กง เทือกเขาภูพาน เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๓ ต่อมา เมื่อสงครามพระยากง-พระยาพาน สิ้นสุดลง พระยาตาเคียนซา(พระยาพาน) จึงได้รับ พระนางบัวจันทร์ และ เจ้าชายศรีไชยนาท มาประทับอยู่ที่ พระราชวังท่าชนะ(โรงเรียนตลาดหนองหวาย) จนกระทั่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) สวรรคต และสิ้นสุด สงครามพระยากง-พระยาพาน

เมื่อ พระนางบัวจันทร์ ได้นำ เจ้าชายศรีไชยนาท เสด็จมาประทับ ณ พระราชวังท่าชนะ(โรงเรียนตลาดหนองหวาย) นั้น พระนางบัวจันทร์ ได้นำ เจ้าชายศรีไชยนาท ไปเยี่ยมเยียน พระนางสุวรรณจักรี(พระนางหยางกุ่ย) ณ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) เป็นเหตุให้ พระนางสุวรรณจักรี ได้พระราชทาน พระนามเล่นให้กับ เจ้าชายศรีชัยนาท ว่า เจ้าชายจู เนื่องจาก มีเชื้อสาย ราชวงศ์แมนจูเจ้า ผสมอยู่ด้วย

ต่อมา เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข กฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่กล่าวมา จนกระทั่ง พระยาพาน สามารถขึ้นดำรงตำแหน่ง เป็น นายก แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น เจ้าชายศรีไชยนาท มีพระชนมายุประมาณ ๓ พรรษา เจ้าชายศรีไชยนาท ประทับอยู่ที่ พระราชวังท่าชนะ(โรงเรียน ตลาดหนองหวาย) เมืองท่าชนะ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ก็เกิดกระแส วัฒนธรรมตอแหล ระบาดในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

ในขณะที่ วัฒนธรรมตอแหล ระบาด อีกครั้งหนึ่งนั้น นายกพระยาพาน และ พระนางวงศ์จันทร์ ประทับอยู่ที่ พระราชวังภูเขาตอก กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ส่วน พระนางบัวจันทร์ ประทับอยู่ที่ พระราชวังท่าชนะ ใกล้กับ พระราชวังสุวรรณจักรี(วัดถ้ำตะเกียบ) ของ สมเด็จยาย ของ เจ้าชายศรีชัยนาท คือ หม่อมหญิงสุวรรณจักรี(พระนางหยางกุ่ย) ห่างกันประมาณ ๘ กิโลเมตร ขณะนั้น ความขัดแย้งระหว่าง พระนางบัวจันทร์ และ พระนางวงศ์จันทร์ มเหสี ทั้งสองพระนาง ของ นายกพระยาพาน ยังไม่เกิดขึ้น แต่ต่อมา พระนางทั้งสอง ต่างขัดแย้งกันอย่างรุนแรง

พื้นฐานความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ท้าวปรารพ(พระยากง) สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๕ เนื่องจาก แม่ชีอุษา(แม่นางส่ง) เกลียดชัง นายกพระยาพาน มาตั้งแต่วัยเด็ก และเมื่อทราบว่า พระยาตาเคียนซา คือ พระยาพาน และมีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาล ยอมรับให้ พระยาพาน มีตำแหน่งเป็น นายก ทำให้ แม่ชีอุษา(แม่นางส่ง) เกิดความอิจฉา จึงใช้วัฒนธรรมตอแหล ทำตอแหล เพื่อหลอกลวงให้ประชาชนเข้าใจผิด ว่า นายกพระยาพาน เป็นผู้ฆ่า พระยากง(ท้าวปรารพ) ซึ่งเป็นพระราชบิดาที่แท้จริง ของ นายกพระยาพาน ณ สมรภูมิ ทุ่งลานช้าง โดยที่ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) แสร้งอ้างว่า พระนาง ประทับอยู่ที่ หน้าถ้ำใหญ่ เฝ้าเห็นเหตุการณ์ด้วยตา ของ พระนาง เองว่า พระยาพาน เป็นผู้ฆ่า พระยากง ทำให้ ประชาชน พิจารณาเห็นว่า แม่นางชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) อยู่ในชุดขาว ของ นักบวช ถือศีลแปด จึงย่อมพูดความจริง ไม่พูดโกหก ประชาชน จึงหลงเชื่อ  

แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) จงใจใช้ชุดขาว ของ ชีพราหมณ์ เสด็จออกไปเยี่ยมเยียนประชาชน ใช้วัฒนธรรมตอแหล ทำตอแหล ใส่ความ นายกพระยาพาน ให้ได้รับความเสียหาย ทั้งๆ ที่ยังอยู่ใน สมณชีพราหมณ์ อีกทั้ง ยังชักชวนให้ ขุนนาง และ คนรับใช้ ของ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ออกไปสร้างข่าว ยังแว่นแคว้นต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ว่า นายกพระยาพาน เป็นผู้ทำ ปิตุฆาต ท้าวปรารพ(พระยากง) ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์เอง ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ พระเจ้าสักกรดำ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ ท้าวเงิน แห่ง อาณาจักรยวนโยนกเชียงแสน และ สหราชอาณาจักรมหาจามปา นำวัฒนธรรมตอแหล ออกไปทำลาย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

การเคลื่อนไหว ของ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) มีเจตนามุ่งเน้นใช้ วิชาตอแหล ด้วยการใช้ ความจริงส่วนหนึ่ง และ ความเท็จเป็นส่วนใหญ่ ไปสร้างเป็นเรื่องใหม่ ที่แตกต่างจากความเป็นจริง หรือ ตรงข้ามกับความจริง แล้วทำการสร้างข่าวใหม่ เป็นเรื่องใหม่ ให้ประชาชน เข้าใจผิด เพื่อขัดขวางมิให้ นายกพระยาพาน ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในอนาคต เป็นเหตุให้ นายกพระยาพาน ได้รับความเกลียดชังจากประชาชน เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้น เมื่อ พระนางวงศ์จันทร์ ทราบข่าว จึงไม่พอพระทัย แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ซึ่งเป็นสมเด็จย่า ของ หม่อมหญิงบัวจันทร์ เป็นเหตุให้ หม่อมหญิงวงศ์จันทร์ นำไพร่พล ออกชี้แจงข้อเท็จจริง โดยนำกษัตริย์ที่อยู่ในเหตุการณ์ รวมทั้ง ภิกษุท้าวอุเทน มาช่วยชี้แจง ข้อเท็จจริง ต่อประชาชน ด้วย เป็นเหตุให้ ประชาชนชาว เมืองท่าชนะ และ เมืองศรีพุทธิ(ดอนธูป) ไม่พอใจ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) เป็นอย่างมาก

ในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางวงศ์จันทร์ ได้รวบรวมประชาชน จำนวนมาก เดินทางเป็นขบวน มาถึง ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) แล้วเสด็จขึ้นไปด่ากราด แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ถึงหน้าปากถ้ำใหญ่ ขอให้ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ลาสิขาออกจาก สมณเพศชีพราหมณ์ พร้อมทั้งได้ประกาศตั้งสมยานาม แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่ยางส่ง) ในพระนามใหม่ว่า พระนางตอแหล จึงเป็นที่มาให้ แม่ชีพราหมณ์อุษา(แม่นางส่ง) ต้องถอดชุดชีพราหมณ์ ออก เลิกใช้ชีวิตถือศีล เป็น นักบวชชีพราหมณ์ อีกต่อไป พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ทนความอับอาย ไม่ได้ จึงได้เสด็จไปยัง กรุงสระทิ้งพระ ไปประทับอยู่กับ พระขนิษฐา คือ พระนางศรีโพธิ์ หรือ หม่อมแพรไหม ในเวลาต่อมา

พระนางวงศ์จันทร์ ยังพาลไม่พอพระทัย หม่อมหญิงบัวจันทร์ ไปด้วย ท่ามกลางสถานการณ์สงครามที่ นายกพระยาพาน ต้องเตรียมทำสงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ เพื่อกอบกู้ ดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นเหตุให้ หม่อมหญิงบัวจันทร์ จึงได้เสนอต่อ นายกพระยาพาน ขอเสด็จไปประทับ ณ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) พร้อมกับ พระนางสุวรรณจักรี(พระนางหยางกุ่ย) เพื่อสืบข่าว ของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย

ด้วยเหตุความไม่สงบดังกล่าว เป็นเหตุให้ พระนางหยางกุ่ย(พระนางสุวรรณจักรี) และ พระนางบัวจันทร์ ต้องการให้ เจ้าชายศรีไชยนาท ได้รับการเรียนรู้เบื้องต้น ตามวัฒนธรรม ของ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ด้วย จึงได้นำ เจ้าชายศรีไชยนาท เพื่อไปศึกษาเล่าเรียน ความรู้เบื้องต้น ตามราชประเพณี ณ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ระหว่างที่มีพระชนมายุได้ ๓-๖ พรรษา(ปี พ.ศ.๑๑๖๕-๑๑๖๘) ด้วย  

เจ้าชายศรีชัยนาท ได้ใช้ชีวิตอยู่ในดินแดน อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) ประมาณ ๔ พรรษา ได้รับการศึกษาตามแบบอย่าง ของ อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) มีความรู้ใน ประวัติศาสตร์ต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นอย่างดี และมีความสามารถในการทำสงครามด้วยกองทัพม้า มาตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์ อีกด้วย ต่อมา เมื่อ พระยาพาน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) เจ้าชายศรีไชยนาท และ พระนางบัวจันทร์ จึงได้รับพระราชสาส์น จาก พระยาพาน ให้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อร่วมงาน พิธีมหาบรมราชาภิเษก ของ พระยาพาน อีกครั้งหนึ่ง

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ปี พ.ศ.๑๑๖๗

เหตุการณ์ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น เหตุการณ์ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๖๑ เป็นต้นมา ได้เปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจาก ฮ่องเต้ หยางกวง ถูกลอบปลงพระชนม์ จนกระทั่งเสด็จสวรรคต โดยฝีมือของ แม่ทัพหลี่เอียน ซึ่งเป็นที่มาให้ แม่ทัพหลี่เอียน แห่ง ราชวงศ์ถัง ได้แสร้งนำเอา ฮ่องเต้หยางอิ้ว พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้หยางกวง มาเชิดไว้ ชั่วคราว เพื่อรอการปราบกบฏ ๑๒ ก๊ก ให้ลดลง

ในที่สุด ฮ่องเต้หยางอิ้ว ได้ถูกกดดันให้ต้องสละราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๑ จนกระทั่ง แม่ทัพหลี่เอียน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เกาจู แห่ง ราชวงศ์ถัง ทำให้ มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มแตกแยก ออกเป็น ๑๒ ก๊ก อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง ราชวงศ์ถัง สามารถทำสงครามปราบปรามกบฏ ภายในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้พยายามวางแผนเข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า หรือ ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจากในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา นั้น เนื่องจาก พระนางหยางกุ่ย หรือ พระนางสุวรรณจักรี อัครมเหสี ของ พระยาศรีธรรมโศก นั้น เป็นพระราชธิดา ของ ฮ่องเต้หยางกวง ทำให้ ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน จึงค่อนข้างใกล้ชิด อีกทั้ง หม่อมศรีโพธิ์ หรือ พระนางแพรไหม ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์โคตะมะ และ ราชวงศ์ หยาง ก็เป็นพระญาติ กับ ฮ่องเต้หยางกวง ด้วย พระนางศรีโพธิ์ จึงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด กับ ฮ่องเต้หยางกวง ด้วย

เมื่อ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ถูกโค่นล้มลงด้วย โดย แม่ทัพหลี่เอียน แห่ง ราชวงศ์ถัง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๖๑ ทำให้ ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงด้วย ดังนั้น เมื่อ ฮ่องเต้เกาจู ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ขึ้นครองราชย์สมบัติ นั้น พระนางแพรไหม(หม่อมศรีโพธิ์) ยังได้พยายามเชื่อมความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้เกาจู แห่ง ราชวงศ์ถัง ต่อไป

พระนางแพรไหม ได้พยายามเชื่อมสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้เกาจู ผ่าน อาณาจักรเตอร์กตะวันออก(ทูลี่ก๊ก) อีกด้วย แต่ถูก ฮ่องเต้เกาจู หวาดระแวงมาก เนื่องจากพระนางศรีโพธิ์(หม่อมแพรไหม) มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ กับ ฮ่องเต้หยางกวง ที่เพิ่งถูกโค่นล้มลงด้วย ทำให้ ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน จึงเป็นไปอย่างเย็นชา

เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ ฮ่องเต้เกาจู ได้พยายามใช้ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา มาทำสงครามยึดครองดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) หลายครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จึงไม่ยอมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เกาจู ด้วย แม้ว่า มหาจักรพรรดิท้าวธานี จะขึ้นครองราชย์สมบัติ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๖๕ เรียบร้อยแล้ว แต่ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) กับ มหาอาณาจักรจีน ก็ยังไม่เกิดขึ้น

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้บันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๖๗ ได้มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เดินทางจาก แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ซึ่งเป็นแคว้นมหาจักรพรรดิ หรือ เมืองราชธานี ได้เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และถวายเครื่องราชบรรณการ แด่ ฮ่องเต้เกาจู ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย หลังจากนั้น ความสัมพันธ์ทางการทูต ได้หายไปนาน เพราะ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไม่พอใจที่ มหาอาณาจักรจีน พยายามใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ มาก่อสงคราม สงครามกันตาพาน เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง  

 

สาเหตุ ของ สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ  

เมื่อย้อนรอยเหตุการณ์ไปในสมัย สงครามพระยากง-พระยาพาน นั้น คือ เหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๑ ซึ่งเป็นรัชสมัยของ ฮ่องเต้เกาจู ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญขึ้นมาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน คือเปลี่ยนจาก ราชวงศ์สุย เป็น ราชวงศ์ถัง เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน มีนโยบาย เข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มสร้างความสัมพันธ์ กับ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ซึ่งเป็นรัฐ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ อีกครั้งหนึ่ง

 ตำนานพระยาพาน ของไทย ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวธานี มีนโยบายให้ นายกพระยาพาน เร่งปรับปรุงกองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และเตรียมทำสงครามยึดครองดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตาเกี๋ย) ซึ่งเป็นของชนชาติอ้ายไต ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามยึดครองไป กลับคืน เป็นเหตุให้ นายกพระยาพาน เร่งรัด ต่อเรือสำเภา เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นจำนวนมาก เป็นที่มาให้เกิด สงครามกันตาพาน ในเวลาต่อมา

การเคลื่อนไหวดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ ฮ่องเต้เกาจู ราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ซึ่งกำลังทำสงครามปราบปรามกบฏ ๑๒ ก๊ก ที่กระด้างกระเดื่อง ต่อ ราชวงศ์ถัง ระแวงต่อการเคลื่อนไหว ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย อีกทั้ง พระยามาลา แห่ง แคว้นมาลายู ได้ทำการเก็บภาษี เรือสำเภา ของ พ่อค้าจีน ที่ผ่าน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ด้วยการสนับสนุน ของ พระนางศรีโพธิ์ และ พระนางสุวรรณจักรี ซึ่งใกล้ชิดกับ ราชวงศ์สุย ที่เพิ่งถูกโค่นล้มไป จึงเป็นที่มาให้ ราชวงศ์ถัง ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน จึงต้องสนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ก่อสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต อีกครั้งหนึ่ง เรียกชื่อว่า สงครามกันตาพาน มเป็นพันธ์ข้าว ให้ประชาชน ปลูกขึ้น จนกลายเป็น พันธุ์ข้าวหมครอง ของ แค  

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้บันทึกว่า ในปี พ.ศ.๑๑๖๑, ๑๑๖๖ และ ๑๑๖๘ นั้น พระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา กรุงจามปา ซึ่งประกอบด้วย อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) ได้ส่งคณะราชทูตจาก กรุงจามปา เดินทางไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เกาจู หลังจากห่างหาย ไปนาน

ในปี พ.ศ.๑๑๖๘ นั้น สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) อีกครั้งหนึ่ง โดยได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของทั้ง อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) และ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) ด้วย สงครามกันตาพาน จึงเกิดขึ้น

      ตำนานความเป็นมา ของชื่อ ทะเลอันดามัน ซึ่งเพี้ยนมาจากชื่อ ทะเลกันตาพาน เกิดขึ้นจากผลของ สงครามกันตาพาน นั่นเอง สงครามครั้งนี้ ได้กล่าวถึงบทบาท ของ พระยาพาน ในการทำสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ จนสามารถรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ ในหลายสมรภูมิ จนกระทั่ง ทะเลตะวันตก ถูกประชาชน เรียกชื่อใหม่ว่า ทะเลกันตาพาน คือ ทะเลอันดามัน นั่นเอง

 

                           

ภาพที่-๑๑๖ แผนที่ สมรภูมิ สงครามกันตาพาน ๑๑ สมรภูมิ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๖๘ คือ พื้นที่สี่เหลี่ยม ระบายสีดำ เกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป

 

 สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ

ตำนานพระยาพาน ของไทย ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึง สงครามกันตาพาน ว่า ในช่วงเวลาที่ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์ถัง ต้องการมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) และ ต้องการขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) และ ดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตาเกี๋ย) กลับคืน ด้วย จึงได้เกิดสงครามครั้งนี้ขึ้น เรียกว่า สงครามกันตาพาน นั่นเอง

สงครามกันตาพาน หมายถึง สงครามที่ มหาอาณาจักรจีน ใช้ทมิฬโจฬะ เป็นเครื่องมือ เพื่อขัดขวางมิให้ พระยาพาน ทำสงครามยึดครองดินแดน ของ มหาอาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ผลของสงครามกันตาพาน ครั้งนั้น ทำให้ ทะเลตก ถูกประชาชนเรียกชื่อใหม่ว่า ทะเลกันตาพาน ด้วย สงครามครั้งนี้ เกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรมาลัยรัฐ และ อาณาจักรชวาทวีป เฉพาะที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรมาลัยรัฐ เกิดขึ้น ๗ สมรภูมิ ดังนี้

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๑ ณ แคว้นมาลายู(มะละกา) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นมาลายู(มะละกา) แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ สามารถยึดครอง แคว้นมาลายู(มะละกา) ไว้ได้สำเร็จ เป็นเหตุให้ พระยามาลา แห่ง แคว้นมาลายู(มะละกา) ต้องหลบหนีไปยัง แคว้นยี่หน(ยะโฮ) ต่อมา กองทัพของ พระยายี่หน พระอนุชา ของ พระยามาลา สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นมาลายู กลับคืน สำเร็จ

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๒ ณ แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ สามารถยึดครอง แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) ไว้ได้สำเร็จ เป็นเหตุให้ จักรพรรดิพระยากระบี่ นำกองทัพมาจาก แคว้นตาโกลา(กันตัง) เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) กลับคืน สำเร็จ แต่ จักรพรรดิพระยากระบี่ สวรรคต ในสงคราม  

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๓ ณ แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ สามารถยึดครอง แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก) ไว้ได้สำเร็จ ต่อมา จักรพรรดิพระยากระบี่ ได้นำกองทัพมาจาก แคว้นตาโกลา(กันตัง) เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วส่งกองทัพไปทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ณ แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) และ สวรรคต ในสงคราม ณ แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) ในเวลาต่อมา

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๔ ณ แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ สามารถยึดครอง แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) ไว้ได้สำเร็จ พร้อมกับกวาดต้อนชนชาติอ้ายไต ไปเป็นเชลยศึก กลับไปยังดินแดน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก)

ต่อมา นายกพระยาพาน มอบให้ แม่ทัพพระยาไพศาล นำกองทัพมาจาก แคว้นกระบี่(โพธิ์กลิงค์พัง) เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้ทำการอพยพประชาชน จาก เมืองเคียนซา อาณาจักรชวาทวีป เข้ามาตั้งรกราก ณ แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นชื่อ แคว้นเคียนซา(ไทรบุรี) ซึ่งจดหมายเหตุจีน ของ หลวงจีนอี้จิง เรียกชื่อเพี้ยนเป็น แคว้นเคี๊ยซะ(ไทรบุรี) ในเวลาต่อมา

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๕ ณ แคว้นตาโกลา(กันตัง) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นตาโกลา(กันตัง) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ พ่ายแพ้สงคราม แต่ต่อมา จักรพรรดิพระยากระบี่ นำกองทัพมาจาก แคว้นตาโกลา(กันตัง) เข้าช่วยเหลือแว่นแคว้นอื่นๆ โดยสามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นโพธิ์รักษ์(เปรัก) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้วส่งกองทัพไปทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ณ แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) และ สวรรคต ในสงคราม ณ แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) ตามที่กล่าวมา

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๖ ณ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ยกกองทัพเข้าโจมตี ราชธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิท้าวธานี ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องหลบหนี ไปหลบซ่อนอยู่ในเขตป่าเขา และ สวรรคต ในเวลาต่อมา

ต่อมา นายกพระยาพาน ได้ส่งกองทัพจาก อาณาจักรชวาทวีป มาทำสงครามขับไล่ ข้าศึกทมิฬโจฬะ ออกไป แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระยาตานี พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี ขึ้นครองราชย์สมบัติ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ต่อมา  

      สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๗ ณ แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) ผลของสงคราม กองทัพทมิฬโจฬะ สามารถยึดครอง แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) ไว้ได้สำเร็จ ต่อมา กองทัพของ นายกพระยาพาน และ กองทัพของ แม่ทัพพระยาหมัน ได้ยกกองทัพมาทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬโจฬะ ออกไปสำเร็จ ผลของสงครามครั้งนี้ ได้เกิดตำนานชื่อท้องที่ เมืองสงผลา(สงขลา)¨-๗ และ เมืองลง เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองพัดลุง(พัทลุง) ด้วย

      กล่าวโดยสรุป ผลของสงครามกันตาพาน ๗ สมรภูมิ ณ อาณาจักรมาลัยรัฐ นั้นส่งผลให้ มหาจักรพรรดิท้าวธานี และ จักรพรรดิพระยากระบี่ สวรรคต ในสงคราม ส่งผลให้ นายกพระยาพาน ต้องขึ้นดำรงตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที อีกทั้ง ผลของสงครามกันตาพาน ยังทำให้ แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นเคียนซา , เมืองลง ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองพัดที่ลง(พัทลุง) และ ยังกำเนิด เมืองสงผลา จากผลของสงคราม คือ เมืองสงขลา อีกด้วย   

 

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรชวาทวีป

สงครามกันตาพาน ณ สมรภูมิ อาณาจักรชวาทวีป นั้น เกิดขึ้น ๔ สมรภูมิ คือ สมรภูมิ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นพังงา และ แคว้นร่ำนอง(ระนอง) สงครามเกิดขึ้น ทั้งฝั่งทะเลตะวันออก และ ฝั่งทะเลตะวันตก และเกิดขึ้นพร้อมๆ กับ สงครามกันตาพาน ณ สมรภูมิ อาณาจักรมาลัยรัฐ ผลของสงครามครั้งนี้ มีผลให้มีการเปลี่ยนชื่อ เกาะตาเกี๋ย(เกาะสมุย) เป็นชื่อ เกาะหมุย(เกาะสมุย) ในสงครามครั้งนี้ ด้วย

ผลของ สงครามกันตาพาน ณ สมรภูมิ อาณาจักรชวาทวีป ฝั่งทะเลตะวันตก นั้น พระยาโยธิกา ได้ส่งกองทัพจาก แคว้นโยธิกา(อยุธยา) มาร่วมสงคราม ด้วย ส่วน พระยาพาน ได้ส่งกองทัพเรือ ออกไล่ล่าโจมตี ทำลาย กองทัพเรือทมิฬอาแจ๊ะ ในท้องทะเลตะวันตก เป็นที่มาให้ ประชาชน เรียกชื่อ ทะเลตก ในชื่อใหม่ว่า ทะเลกันตาพาน(อันดามัน) ด้วย

สงครามกันตาพาน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ สมรภูมิที่ ๑ ณ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) สงครามครั้งนี้ กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) ได้นำกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) หวังที่จะทำลายกองทัพของ พระยาพาน ที่มีข่าวเลื่องลือว่า เป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ เมื่อกองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) นำกองทัพเรือมาแวะที่ เกาะตาเกี๋ย(เกาะสมุย) ซึ่ง ชนชาติอ้ายไต อพยพจากอาณาจักรตาเกี๋ย มาตั้งรกราก ณ เกาะสมุย ในสมัยที่เกิดสงครามตอแหล และ มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ ทำให้ชนชาติอ้ายไต จาก อาณาจักรตาเกี๋ย อพยพมาตั้งรกราก ณ เกาะสมุย เป็นจำนวนมาก ทำให้เกาะดังกล่าว มีชื่อเรียกว่า เกาะตาเกี๋ย(เกาะสมุย) ในช่วงเวลาดังกล่าว ไปด้วย

ตำนานความเป็นมาที่ทำให้ เกาะตาเกี๋ย มีชื่อใหม่ว่า เกาะหมุย เกิดขึ้น ในสมัยสงครามกันตาพาน เช่นกัน มีเรื่องราวกล่าวว่า กองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งได้แวะมารวมพล ณ เกาะตาเกี๋ย(เกาะสมุย) นั้น ได้พยายามซักถาม ชาวตาเกี๋ย ซึ่งพูดภาษาไทย ไม่ชัด เพื่อต้องการทราบที่ตั้งกำลังทหาร ของ พระยาพาน ณ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) แต่ ชาวตาเกี๋ย ไม่ยอมขายชาติ กลับพูดเหมือนกันทุกคนว่า หมุย หมายถึง ไม่ทราบ แม้จะ ถูกทรมาน จาก ทหารทมิฬโจฬะ ดังนั้น ภายหลังสงครามกันตาพาน พระยาพาน จึงพระราชทานชื่อ เกาะตาเกี๋ย ในชื่อใหม่ว่า เกาะหมุย ตั้งแต่นั้นมา  

ต่อมา เมื่อกองทัพทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) ยกกองทัพจาก เกาะสมุย เข้าสู่ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) ซึ่งต้องยกกองทัพเรือ เข้าทาง แม่น้ำธารา(ตาปี) และ แม่น้ำหลวง จึงถูกปิดล้อมด้วยโซ่เรือ ของ แม่ทัพพระยายมบา ซึ่งเคยใช้ควบคุมการเข้าออกของ เรือสำเภา ตั้งแต่สมัยสงครามพระยากง-พระยาพาน ผลของสงคราม ครั้งนั้น กองทัพทมิฬโจฬะ ถูกปิดล้อม แม่ทัพพระยาหมัน สามารถเผาทำลายเรือสำเภา จำนวนมาก ทหารทมิฬโจฬะ บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก มีชีวิตรอดกลับไป น้อยมาก

ส่วน สงครามกันตาพาน ณ สมรภูมิ อาณาจักรชวาทวีป ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก กองทัพ ของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ สามารถทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นพังงา , เมืองกาเพ้อภูเขาพระนารายณ์(อ.กะเปอร์ จ.ระนอง) , แคว้นร่ำนอง(ระนอง) ไว้ได้ อีกครั้งหนึ่ง และได้ประกาศตั้งขึ้นเป็น อาณาจักรผัวหมา(พม่า) อีกครั้งหนึ่ง ด้วย ผลของสงคราม ครั้งนี้ แม่ทัพพระยาไพศาล สามารถป้องกัน แคว้นโพธิ์กลิงค์พัง(กระบี่) ไว้ได้ พระยาพาน จึงใช้ แคว้นกระบี่ เป็นฐานที่มั่นในการทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ออกจากดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

เรื่องราวของสงครามครั้งนี้ คือ เรื่องราวตำนานความเป็นมาของ การกำเนิด คำไทย คำว่า ทะเลกันตาพาน(อันดามัน) และชื่อ หมู่เกาะกันตาพาน นั่นเอง มีเรื่องราวตำนานต่างๆ โดยสังเขปว่า

ทะเลอันดามัน ก่อนที่ นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จะทำสงครามขับไล่ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ออกไปนั้น ประชาชนเรียกชื่อ ทะเลอันดามัน ว่า ทะเลตก หรือ ทะเลตะวันตก การเปลี่ยนแปลงชื่อทะเลดังกล่าว มาเรียกชื่อใหม่ว่า ทะเลกันตาพาน เกิดขึ้นเมื่อ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ได้ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก พร้อมกับได้ตั้งรัฐ ขึ้นมาใหม่ คนไทยเรียกว่า อาณาจักรเวียดบก หรือ อาณาจักรผัวหมา(พม่า)

ผลของการสร้างรัฐ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ขึ้นมา โดยมีราชธานี ณ เมืองกาเพ้อ(กะเปอร์-ระนอง) เป็นเหตุให้ นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ได้ส่ง แม่ทัพพระยาไพศาล นำกองทัพเรือ มายังฝั่งทะเลตก เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นพังงา , แคว้นร่ำนอง(ระนอง) และ เมืองกาเพ้อ บริเวณ ภูเขาพระนารายณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ให้ออกไปจากการครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ

 

                               

 ภาพที่-๑๑๗ ในภาพ เป็นเทวรูปที่พบในท้องที่ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา บริเวณ ภูเขาพระนารายณ์ สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูปจำลอง พระยาโยธิกา สองภพชาติ พระหัตถ์ด้านหน้า สื่อความหมาย เพื่อแสดงเรื่องราวในภพชาติที่ พระยาโยธิกา เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรละโว้ บริหารราชการอยู่ที่ แคว้นโยธิกา(อยุธยา) และได้มาช่วยราชการสงคราม ณ อาณาจักรชวาทวีป ในสมัย สงครามกันตาพาน  สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) สามารถทำสงครามด้วยกองทัพช้าง มีชัยในสงครามต่อกองทัพทมิฬอาแจ๊ะ ณ สมรภูมิ แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) จ.พังงา ในปัจจุบัน ต่อมา พระราชธิดา พระองค์เล็ก ของ พระยาโยธิกา มีพระนามว่า เจ้าหญิงศรีจันทร์ ได้อภิเษกสมรส กับ ขุนราม หรือ จตุคามรามเทพ นั่นเอง

 

นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รับสั่งให้ แม่ทัพพระยาหมัน นำกองทัพบก และกองทัพเรือ ซึ่งนำโดย แม่ทัพพระยาไพศาล ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) และ เมืองกาเพ้อ ที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ด้วย ผลของสงครามครั้งนั้น กองทัพบก ของ แม่ทัพพระยาหมัน ไม่สามารถทำสงครามโจมตี อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ให้แตกพ่ายได้ เพราะกองทัพช้าง ของ แม่ทัพพระยาหมัน ไม่สามารถต่อสู้กับ กองทัพช้าง ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ซึ่งมีความสามารถในการรบด้วยกองทัพช้าง ได้

ในที่สุด นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงมีคำสั่งให้ พระยาโยธิกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการทำสงครามด้วย กองทัพช้าง เดินทางมาจาก แคว้นโยธิกา มาร่วมนำกองทัพช้าง เข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา เมื่อ เมืองกาเพ้อ ราชธานี ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ถูกกองทัพ พระยาพาน ตีแตก ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ส่วนที่รอดตาย ได้หลบหนีไปยัง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) อีกส่วนหนึ่ง หลบหนีไปตามทะเล ทางทิศเหนือ นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) จึงกลายเป็นผู้มีอิทธิพล ในการควบคุมน่านน้ำทะเลตะวันตก เพราะได้สั่งให้ กองทัพเรือของ แม่ทัพพระยาไพศาล ส่งกองทัพเรือ ออกลาดตระเวร เข้าโจมตีขับไล่ กองทัพเรือทมิฬอาแจ๊ะ ทุกๆ หมู่เกาะ ในทะเลตะวันตก ซึ่ง กองทัพ ทมิฬอาแจ๊ะ เข้ายึดครอง หมู่เกาะต่างๆ ทำสงครามต่อต้าน กองทัพพระยาพาน มิให้นำกองทัพ เข้าโจมตี อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ตะวันตก) อีกด้วย

ผลของสงคราม ตามหมู่เกาะต่างๆ ในที่สุด กองทัพชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ต้องหลบหนีไปตั้งหลัก ณ หมู่เกาะแห่งหนึ่ง เพื่อมิให้กองทัพของ นายกท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) รุกคืบหน้าไปได้ หมู่เกาะดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า หมู่เกาะกันตาพาน(หมู่เกาะอันดามัน) ส่วนทะเลตะวันตก ก็ถูกเรียกว่า ทะเลกันตาพาน(อันดามัน) และเพี้ยนมาเป็น ทะเลอันดามัน ในสมัยที่ ฝรั่งชาติตะวันตก เข้ามาล่าอาณานิคม ในสมัยต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

ภายหลังจากชัยชนะ ของ พระยาพาน ในการทำสงครามปราบปราม อาณาจักรผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรเวียดบก(พม่า) ครั้งนั้น ทำให้เกียรติภูมิ ของ พระยาพาน สูงเด่นยิ่งขึ้น และ เนื่องจาก จักรพรรดิพระยากระบี่ และ มหาจักรพรรดิท้าวธานี สวรรคต ในสงคราม ดังนั้นในขณะที่ นายกพระยาพาน ได้ทำสงครามขับไล่ชนชาติทมิฬโจฬะ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น นายกพระยาพาน จึงดำรงตำแหน่งเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ด้วย

ต่อมา นายกพระยาพาน ซึ่งต้องขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ พระยาพาน พิจารณาเห็นว่า เมืองธารา(บ้านนาเดิม) นั้น ไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็น ราชธานี เพราะมีน้ำท่วมขัง บ่อยครั้ง จึงได้ส่ง พระยายมบา ไปรื้อฟื้น พระราชวังหลวง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองใหม่ว่า เมืองอู่ทอง ใช้เป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง เป็นรัชกาลถัดมา พร้อมกับได้สถาปนา ราชวงศ์ใหม่ ขึ้นมาอีกราชวงศ์หนึ่ง เรียกชื่อว่า ราชวงศ์อู่ทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๖๘ เป็นต้นมา

 

สาเหตุที่ พระยาพาน เปลี่ยนพระนามเป็น ท้าวอู่ทอง

สืบเนื่องจาก ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวธานี แห่ง กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น หม่อมศรีโพธิ์ ได้สมคบกับ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) วางแผน ใช้วัฒนธรรมตอแหล ทำตอแหล เพื่อทำลายภาพพจน์ ของ นายกพระยาพาน ซึ่งเป็นที่เกรงกลัว ของ กษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้คน เข้าใจว่า พระยาพาน เป็นลูกทรพี ฆ่าพระราชบิดา ของพระองค์เอง สร้างความเจ็บปวด ให้กับ พระยาพาน ในช่วงเวลาดังกล่าว มาก แต่ต่อมา สงครามกันตาพาน ได้มาช่วยยุติ ข่าวลือ ไว้ชั่วคราว

เนื่องจาก ภายหลังสิ้นสุด สงครามกันตาพาน เรียบร้อยแล้ว การปล่อยข่าวเพื่อทำลายชื่อเสียงของ พระยาพาน ยังเป็นไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเป็นที่มาให้ นายกพระยาพาน ต้องเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า ท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) พระยาพาน ได้เสด็จไปใช้ กรุงทวาราวดี แห่ง อาณาจักรละโว้ เป็นที่ว่าราชการ ของ มหาจักรพรรดิ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อ กรุงทวาราวดี(นาคฟ้า) ในชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่งว่า กรุงอู่ทอง ตามที่กล่าวมา ด้วย

ส่วน พระยาจักรนารายณ์ ซึ่งเป็น พระอนุชา ของ พระยาพาน ได้ไปปกครอง แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี) เป็นเหตุให้ พระยาศรีธรนนท์ จึงเป็น มหาราชาปกครอง อาณาจักรชวาทวีป อยู่ที่ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ส่วน พระยาศรีธรรมโศก ได้ไปรื้อฟื้น แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ส่วน ขุนศรีทรัพย์ ได้ไปรับราชการเป็น อุปราช อยู่ที่ แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี) โดยได้สร้าง เมืองปะถม(นครปฐม) ในเวลาต่อมา ด้วย

 

 

 

                                               เชิงอรรถ

 



¨-   เรื่อง พระยายมบา ถือเป็นพ่อตาเจ้าที่ ในท้องที่ ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี มีศาล พ่อตาพระยายมบา ตั้งอยู่ในท้องที่ เขาหัวแมว ต.เขาถ่าน ด้วย กล่าวกันว่า เป็นที่นับถือ ของ ช่างตีเหล็ก มาอย่างช้านาน ในอดีต กล่าวกันว่า พระยายมบา ในสมัยที่มีชีวิตอยู่ ได้สร้างเตาเผาถ่านขนาดใหญ่ จำนวนมาก ไว้ในพื้นที่ ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง เพื่อใช้ในการหลอมเหล็ก และตีเหล็ก จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า เขาถ่าน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวกันว่า พระอาจารย์พุทธทาสภิกขุ แห่ง สวนโมกข์ผลาราม เคยสืบค้นเรื่องราว ของ พระยายมบา ไว้อย่างละเอียด และมอบข้อเขียนดังกล่าว เก็บรักษาไว้กับ นายธรรมทาส พาณิช เพื่อจัดพิมพ์  แต่ นายธรรมทาส พาณิช ได้ทำหายไป จึงมีเพียงกล่าวถึง พระยายมบา ไว้ในหนังสือโบราณคดี รอบอ่าวบ้านดอน เพียงเล็กน้อย เท่านั้น

 

¨- แม่ทัพพระยาหมัน เป็นแม่ทัพคนสำคัญคนหนึ่ง ของ พระยาพาน ในบั้นปลายชีวิต นั้น แม่ทัพพระยาหมัน ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ บ้านหนัง(บ้านนัง) ในท้องที่ ต.ป่าเว อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และเป็นผู้ให้กำเนิด หนังตะลุง มาใช้แสดงเพื่อปลูกฝังความรักชาติ ให้กับชนชาติไทย เมื่อ แม่ทัพพระยาหมัน ถึงแก่ อนิจกรรม ลูกหลาน และ ประชาชน ได้ร่วมกัน ตั้งศาลเพียงตา พ่อตาพระยาหมัน ขึ้นที่ บ้านหนัง(บ้านนัง) และต้องนำหนังตะลุง ไปแสดง บวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

 

¨- แม่ทัพพระยาไพศาล เป็นแม่ทัพที่สำคัญ อีกคนหนึ่ง ของ พระยาพาน ในบั้นปลายชีวิต เป็นแม่ทัพ ควบคุม กองทัพทหารรักษาพระองค์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ณ เกาะดอนขวาง บริเวณ ภูเขาสุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน) ถึงแก่ อนิจกรรม ในสงครามแย่งช้าง ณ เกาะดอนขวาง มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง จึงได้สร้างเทวรูปจำลอง แม่ทัพพระยาไพศาล ด้วยหินศิลาทรายแดง ตั้งไว้ที่ศาลเพียงตา ของ แม่ทัพพระยาไพศาล ปัจจุบัน เทวรูป แม่ทัพพระยาไพศาล ตั้งอยู่ที่ ศาลาวัดนพ ดอนขวาง และถูกขโมย ตัดศีรษะ ออกไปขาย ฝรั่ง คงเหลือแต่ องค์เทวรูป ที่ไม่มีศีรษะ ตั้งอยู่ จนถึงปัจจุบัน

  

¨-ป่าช้าดอนสัก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ บ้านดอนสัก มีตำนานความเป็นมา ของ บ้านดอนสัก ว่า ในสมัยสงครามพระยากง-พระยาพาน นั้น ทหารมอญ จาก อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ที่บาดเจ็บจาก สงคราม ณ สมรภูมิ บ้านน้ำดำ เมื่อถูกนำมารักษา ณ วัดศรีราชัน จนหาย ก็จะถูกนำไปสักตัว ณ ดอนสัก เพื่อแสดงว่า เป็น ชนชาติมอญ แล้วจัดที่ทำกิน ให้ตั้งรกรากอยู่ที่ ท้องที่ ดอนสัก เรียกชื่อว่า บ้านดอนสัก ซึ่งตั้งอยู่ ใกล้เคียงกับ ป่าช้า ผู้เสียชีวิตในสงครามพระยากง-พระยาพาน นั่นเอง ทำให้ป่าช้า ดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า ป่าช้าดอนสัก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ด้วย

 

¨- พระนางตะเกียบ หรือ พระนางหยางกุ่ย หรือ พระนางสุวรรณจักรี อัครมเหสี ของ พระยาศรีธรรมโศก ได้เคยตั้งพระราชวังที่ประทับอยู่ในพื้นที่ บริเวณ วัดถ้ำตะเกียบ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เนื่องจาก พระนางหยางกุ่ย มีความเคยชินกับ การใช้ ตะเกียบ แทน ช้อน ในการรับประทานอาหาร ทำให้ประชาชนนิยมเรียกชื่อว่า พระนางตะเกียบ เรื่อยมา

            เนื่องจาก ต่อมา พระยาศรีธรรมโศก ได้ไปสร้าง พระราชวังแห่งใหม่ ขึ้นที่ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) คือ พระราชวังศรีเวียงไชย ซึ่งมีกำแพงเมืองยาวโดยรอบ ประมาณ ๘ กิโลเมตร ทำให้ พระยาศรีธรรมโศก ต้องไปประทับอยู่ที่ พระราชวังศรีเวียงไชย เพื่อบริหารราชการแผ่นดิน ส่วน พระนางหยางกุ่ย(พระนางตะเกียบ) ยังคงประทับอยู่ที่ พระราชวังถ้ำตะเกียบ จนกระทั่งเสด็จ สวรรคต

            ต่อมา พระราชธิดา และ พระราชโอรส ของ พระนางหยางกุ่ย(พระนางตะเกียบ) คือ พระนางบัวจันทร์ และ มหาจักรพรรดิพ่อศรีวิชัย มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) รัชกาลที่-๓ จึงได้ พระราชทาน พระราชวังถ้ำตะเกียบ ให้เป็นที่สร้างวัด มีชื่อเรียกว่า วัดสุวรรณจักรี ตามพระนาม ของ พระนางสุวรรณจักรี(พระนางตะเกียบ) พร้อมกับได้สร้าง เทวรูป พระนางหยางกุ่ย(พระนางตะเกียบ) ประดิษฐาน ไว้ ณ วัดดังกล่าว คู่กับ พระยาศรีธรรมโศก ด้วย แต่ ประชาชนไม่นิยมเรียกชื่อ วัดสุวรรณจักรี แต่กลับนิยมเรียกชื่อว่า วัดถ้ำตะเกียบ ตามชื่อของ พระนางตะเกียบ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึง ปัจจุบัน

 

¨- อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากหนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ มหากาพย์ของ อุษาคเนย์ เรื่อง ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง วีรบุรุษ สองฝั่งโขง สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ จัดพิมพ์ ปี พ.ศ.๒๕๓๘

            ส่วนเรื่องราวที่ผู้เรียบเรียง นำมาเสนอ นั้น เก็บเรื่องราวจากตำนานท้องที่ บ้านดอนยวน ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีเรื่องราวใกล้เคียงกัน แต่เนื้อหา มิได้ยกย่องให้ ท้าวฮุ่ง และ ขุนเจือง ให้เป็นวีรบุรุษ สองฝั่งโขง แต่ถือเป็น กบฏ ต่อ แผ่นดินสุวรรณภูมิ และต่อมา จตุคามรามเทพ(ขุนราม) พร้อม พระเชษฐา คือ จักรพรรดิพ่อศรีไชยนาท(ตาม้ากลิงค์) และ ขุนลอ ได้ทำสงครามปราบปราม อีกครั้งหนึ่ง

 

¨- คำว่า สงขลา มีที่มาจากคำว่า สงผลา เกิดขึ้นในสมัย สงครามกันตาพาน เมื่อพระยาพาน ยกกองทัพไปขับไล่ ชนชาติทมิฬโจฬะ และติดตามช่วยเหลือ หม่อมศรีโพธิ์(พระนางแพรไหม) ณ เมืองสระทิ้งพระ ซึ่งหลบหนีไปยัง เมืองลง(พัทลุง)

            ตำนานที่มาของชื่อท้องที่ สงขลา เกิดขึ้น ขณะที่ พระยาพาน ยกกองทัพไปทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬโจฬะ ให้ออกไปจาก แคว้นสระทิ้งพระ นั้น ได้มีประชาชน ชาวสงขลา ได้มาร่วมกันจัดหาเสบียงกรัง เพื่อส่งไปสนับสนุน กองทัพ ของ พระยาพาน ด้วยการย่างปลา เป็น ผลา(แผงไม้ไผ่สาน ย่างปลา) แล้วส่งเสบียงกรังเป็น ผลา เรียกว่า ส่งผลา เพื่อสนับสนุน กองทัพ คำว่า ส่งผลา ได้เพี้ยนเป็น สงขลา ในเวลาต่อมา

            ส่วนคำว่า พัทลุง เกิดขึ้นเมื่อ พระนางศรีโพธิ์ ทรงช้าง ไปเยี่ยมเยียน ราษฎร ณ เมืองลุง(พัทลุง) เพื่อปลุกระดม ประชาชน ชาวเมืองลุง ให้ลุกขึ้นต่อสู้ กับ ข้าศึกทมิฬโจฬะ เนื่องจาก ในขณะที่ พระนางศรีโพธิ์ ประทับอยู่บนหลังช้าง พระนาง ซึ่งได้ใช้ พัดวี ตกลงมาจาก หลังช้าง พระนางศรีโพธิ์ จึงเรียกให้ ประชาชน ช่วยเก็บ พัดวี ที่ตกลงไป ส่งมาให้กับ พระนาง ด้วย โดยส่งเสียงและชี้ไปยัง พัดวี ว่า พัดที่ลง กว่าจะทำความเข้าใจ กับ ประชาชน ให้เข้าใจได้ ก็ใช้เวลานาน เป็นที่มาให้ เมืองลุง ถูกประชาชน เรียกชื่อใหม่ว่า พัดที่ลุง และเพี้ยนเป็น พัทลุง ในปัจจุบัน

 

Visitors: 54,293