บทที่ ๕ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์ขุนหลวงจิวใหญ่


บทที่ ๘

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

สมัย ราชวงศ์ขุนหลวงจิวใหญ่



โครงสร้าง สายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก(จิวใหญ่)    มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ

 และ นายก ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก

                                  

 

 

                       

ภาพที่-๗๙ แผนที่ อาณาจักรต่างๆ ๑๕ อาณาจักร ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ก่อนการแตกแยกออก เป็น ๖ ก๊ก

 

ความเป็นมา ของ ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก(ขุนหลวงจิวใหญ่)

      มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก สืบเชื้อสายมาจากเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ราชวงศ์จิว พระราชบิดา ของ ขุนหลวงใหญ่ มีพระนามว่า จิวโต(โต แซ่จิว) หรือ จักรพรรดิจิวเจ้าโต(หลวงโต แซ่จิว) อพยพมาจาก เมืองลั่วหยาง ราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ พระราชบิดา ของ จักรพรรดิเจ้าจิวโต เป็น มหาราชา แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง แต่ได้ถูก กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้ายึดครอง พระราชบิดาของ เจ้าจิวโต พร้อมเชื้อสายราชวงศ์ สามารถหลบหนีไปยังดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      เนื่องจาก เจ้าจิวโต ซึ่งเป็นพระสหาย ของ หยางพุทธทอง เชื้อสายราชวงศ์ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เจ้าจิวโต จึงได้รับราชการ ณ เมืองลั่วหยาง ราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ด้วย แต่ต่อมา มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ก่อสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา เจ้าจิวโต จึงต้องอพยพมายัง ดินแดนสุวรรณภูมิ

       ครั้งแรก ขุนหลวงจิวโต ได้อพยพไพร่พล มาตั้งรกราก ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงได้มาอภิเษกสมรสกับ พระนางตานี เชื้อราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรเทียนสน กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ขุนหลวงจิวโต สามารถพูดได้ทั้งภาษาจีน และภาษาไทย จนกระทั่งต่อมา มหาราชาเจ้าศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ แห่ง แคว้นคันธุลี อาณาจักรชวาทวีป มีชัยต่อสงคราม กับ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ สามารถจับเชลยศึก ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มาขังคุกไว้ ณ ดอนคุกจีน(ภูเขาน้อย อ.ละแม จ.ชุมพร) เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ ขุนหลวงจิวโต ได้รับการติดต่อ เชิญให้มารับราชการ ณ แคว้นคันธุลี และได้รับราชการเป็นราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา เรียกพระนามว่า ขุนหลวงจิวโต หรือ ขุนหลวงโต แซ่จิว ปรากฏชื่อดังกล่าว ในจดหมายเหตุจีน หลายฉบับ

      ราชทูตขุนหลวงจิวโต ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางตานี ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิคะ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) โดยมี พระราชโอรสหลายพระองค์ แต่เสียชีวิตในสงคราม คงเหลือ ๒ พระองค์ มีพระนามว่า ขุนหลวงจิวใหญ่ และ ขุนหลวงจิวตี๋ ทั้งสองพี่น้อง ได้มารับราชการเป็นราชทูต และ อุปทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

      ขุนหลวงจิวตี๋ คือพระราชบิดาของ ราชทูตอาทิตย์ ต่อมา ราชทูตอาทิตย์ สวรรคตในสงคราม เชื้อสายราชวงศ์ของ ราชทูตอาทิตย์ ได้อภิเษกสมรสกับ เชื้อสายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ ต่อมา เชื้อสายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ และ ราชทูตอาทิตย์ ได้ไปอภิเษกสมรสกับ พระยาโยธิกา มีพระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ พระนางนวลจันทร์(อัครมเหสี ของ พระยาศรีทรัพย์) , พระนางจันทร์เทวี(ผู้สร้างแคว้นหิรัญภุญชัย) และ พระนางศรีจันทร์ อัครมเหสี ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ ขุนราม นั่นเอง

ประชาชนส่วนใหญ่ นิยมเรียกพระนามของ ขุนหลวงจิวใหญ่ ว่า ขุนหลวงใหญ่ เคยรับราชการที่ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) อาณาจักรเทียนสน จึงได้ไปอภิเษกสมรสกับ พระนางมาลัย ราชธิดา ของ ราชาแห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ พระยาท่าข้าม(มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ) , ท้าวอุเทน(มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน) และ ท้าวเทพนิมิตร(มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร) ทั้ง ๓ พระองค์ ล้วนขึ้นมาครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

      ในสมัยที่ ขุนหลวงจิวใหญ่ รับราชการเป็นราชทูต ประจำ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น ขุนหลวงใหญ่ ได้เคยไปรับราชการเป็นราชทูต ของ มหาจักรพรรดิพระยาพ่อหมอ ประจำ กรุงคันธุลี และ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ประจำ กรุงพันพาน ด้วย ดังนั้นโดยสายสัมพันธ์ทางเครือญาติแล้ว ขุนหลวงจิวใหญ่ คือพระญาติสนิท ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน และ หยางเจ้าหลีชน นั่นเอง เนื่องจาก ราชธิดาอีกพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิพระยาพ่อหมอ ได้อภิเษกสมรสกับ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน ด้วย

ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง กรุงคันธุลี กล่าวว่า ราชทูตขุนหลวงใหญ่ ต้องเป็นราชทูต เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ หลายครั้ง เนื่องจากขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ เหตุการณ์ในขณะนั้น มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้สนับสนุน ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนาม) ให้ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไม่ให้ชนชาติทมิฬโจฬะ ยอมรับอำนาจของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยังได้สนับสนุน ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ-ทมิฬ ให้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรคามลังกา อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรอ้ายลาว อีกด้วย

เหตุการณ์ในสมัยนั้น มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ยังได้สนับสนุนให้ชนชาติทมิฬโจฬะ ส่งคณะราชทูตของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนาม) ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง และเมื่อคณะราชทูตของ อาณาจักรที่กล่าวมา ซึ่งชนชาติทมิฬโจฬะ ยึดครองไป ได้พบกับ คณะราชทูตของ ขุนหลวงใหญ่ เป็นประจำ จึงมีการพูดจาถากถาง ถึงความอ่อนแอ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีการพูดจาเสียดสี  เยาะเย้ยถากถาง ตลอดมา

เนื่องจากก่อนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จะตัดความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ซึ่งสนับสนุนชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงไม่ยอมต้อนรับคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำให้ ขุนหลวงใหญ่ รู้สึกเสียใจจนต้องแอบร้องให้ เพราะความเศร้าโศกเสียใจ เป็นที่มาให้ถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก หมายถึงเป็นราชทูต เดินทางไปอยู่แดนไกล ได้รับทราบข่าวการดูถูกเหยียดหยาม ชาติตนเอง ทำให้รู้สึกโศกเศร้าเสียใจมาก เพราะทราบข่าวเพิ่มเติมโดยเสมอ ว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ส่งกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครอง เพิ่มมากขึ้น เรื่อยๆ

      เมื่อ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก รับราชการเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มหาราชาขุนหลวงจิวใหญ่ ได้ทำสงครามกอบกู้ศักดิ์ศรีของชนชาติอ้ายไต กลับคืน ด้วยการเปลี่ยนความแค้นให้เป็นพลัง และเร่งสร้างความเข้มแข็งให้กับกองทัพชนชาติอ้ายไต เพื่อสร้างความพร้อมในการทำสงครามยึดครองดินแดน กลับคืน พระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์ จึงกลายเป็นขุนศึกสำคัญ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ในการทำสงครามปรามปรามชนชาติทมิฬ และ ชนชาติมอญ-ทมิฬ ในสงครามโรมรันพันตู

      เมื่อ จักรพรรดิจิวเจ้าโต พระราชบิดา ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ สวรรคต ในสงครามโรมรันพันตู ณ อาณาจักรไตจ้วง ขุนหลวงจิวใหญ่ จึงได้รับตำแหน่งเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน

      ต่อมา ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน นั้น ขุนหลวงจิวใหญ่ ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน เสด็จสวรรคต ในสงคราม นั้น ขุนหลวงจิวใหญ่ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ในรัชกาลถัดมา     

 

ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก จาก มเหสีฝ่ายขวา พระนางมาลัย

      มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก มีพระราชโอรสจาก พระนางมาลัย อัครมเหสี ๓ พระองค์ ล้วนเป็นขุนศึกที่สำคัญ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา คือ พระยาท่าข้าม(พ่อยอดน้ำ) พระยาอุเทน(ท้าวอุเทน) และ พระยาเทพนิมิตร ทั้ง ๓ พระองค์ ล้วนได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

ตำนานพ่อยอดน้ำ ในท้องที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า พระยาท่าข้าม หรือ พ่อยอดน้ำ ได้ผ่านชีวิตการเป็นแม่ทัพใหญ่ ของกองทัพหลวง เคยเป็นมหาราชา ของ อาณาจักรชวาทวีป กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน(พุนพิน)

ในสมัยนั้น พระยาท่าข้าม ได้เร่งสร้างกองทัพเรือขนาดใหญ่ ที่ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) แม่น้ำหลวง และที่ ปากแม่น้ำธารา(แม่น้ำตาปี) อีกทั้งยังเร่งสร้างกองทัพบก อันเข้มแข็งเกรียงไกร ณ เมืองคีรีรัฐนิคม ให้กลายเป็นกองทัพหลวง ที่สำคัญ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ในการทำสงครามโรมรันพันตู กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนมา

พระยาท่าข้าม ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางสไบ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ ประชาชนเรียกพระนามว่า พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) และ พระยาสมุทร เนื่องจาก พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) เป็นผู้ทำสงครามขับไล่ กองทัพทมิฬโจฬะ ออกจาก แคว้นตาโกลุง(อ.สิเกา จ.ตรัง) ในขณะที่ ประชาชนชาวเมืองตาโกลุง ส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ ณ เมืองลุง(พัทลุง) อีกส่วนหนึ่ง หลบหนีไปอยู่ในเขตป่าเขา เป็นเหตุให้ พระยาสิเกา ต้องทำการกวาดต้อน ชาวเมืองตาโกลุง มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ ในพื้นที่ เมืองตาโกลุง ดั้งเดิม พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เมืองสิเกา พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) จึงกลายเป็นราชา ปกครอง แคว้นสิเกา คือ ท้องที่ อ.สิเกา จ.ตรัง ในปัจจุบัน นั่นเอง

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงจิวใหญ่ นั้น พระยาอุเทน มหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า กรุงศรีมหาโพธิ์(ไชยา) ถูกเรียกไปรับราชการในตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) เป็นเหตุให้ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) ได้รับโปรดเกล้าให้ไปเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า เป็นที่มาให้ พระยาสิเกา ต้องเข้าไปรื้อฟื้น แคว้นราชคฤห์ ขึ้นมาใหม่ โดยการขุดคูเมือง พร้อมกับปลูกดอกบัว ไว้ในคูเมืองด้วย เป็นเหตุให้ ประชาชนเรียกพระนามใหม่ว่า พระยาคูบัว ส่วน พระยาสมุทร เป็นผู้เข้าไปรื้อฟื้น แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า ขึ้นใหม่ หลังจากถูกข้าศึกเผาร้างไป กลายเป็นแคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรนาคฟ้า ด้วย

พระยาสิเกา(พระยาบัว) มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า นางแก้ว ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ พระยากง มีพระราชโอรสชื่อ พระยาพาน ต่อมา พระยากง เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรนาคฟ้า เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรทวาราวดี เป็นผู้สมคบกับ สายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างรุนแรง

พระราชโอรสพระองค์ที่สอง ของ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก มีพระนามว่า พระยาอุเทน เคยเป็นแม่ทัพเรือ อาณาจักรชวาทวีป อยู่ที่ แคว้นศรีโพธิ์ โดยได้เคยสร้างกองทัพเรือ อันเข้มแข็งเกรียงไกร ขึ้นที่อ่าวศรีโพธิ์ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) โดยได้สร้างพระราชวังที่ประทับขึ้นที่บริเวณ บ้านท่าน้อย(อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) พร้อมกับได้สร้างกองทัพบก ขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ณ ภูเขาเพลา เมืองเพลา กลายเป็นกองทัพสำคัญ ที่สามารถทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรคามลังกา กลับคืน ในสมัยสงครามโรมรันพันตู

พระยาอุเทน เคยเป็น พระราชา มาหลายแว่นแคว้น และเคยเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรนาคฟ้า กรุงศรีมหาโพธิ์(ปราจีนบุรี) และ อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง(นางรอง) ด้วย ต่อมา ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก พระยาอุเทน ได้รับตำแหน่งเป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ กรุงธารา(บ้านนาเดิม)

เนื่องจาก ท้าวอุเทน ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางกลิ่นตานี แต่ไม่มีพระราชโอรส สืบทอดราชสมบัติ ต่อมาได้นำเอา พระยาพาน ไปเป็นบุตรบุญธรรม จนกระทั่งได้เกิดสงคราม ระหว่าง พระยากง และ พระยาพาน ในเวลาต่อมา ด้วย

ส่วนพระราชโอรสพระองค์ที่สาม ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก มีพระนามว่า ท้าวเทพนิมิตร เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรเทียนสน กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) และเป็นแม่ทัพใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน กรุงสระทิ้งพระ มาก่อนด้วย ดังนั้น ท้าวเทพนิมิตร จึงเป็นผู้รื้อฟื้น แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ที่ถูกข้าศึกชนชาติทมิฬโจฬะ เผาเมืองร้างไป และได้กลายเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรเทียนสน มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี)

      ท้าวเทพนิมิตร มีอัครมเหสี ซึ่งประชาชนเรียกพระนามว่า พระนางโกสมพี เป็น พระราชธิดา ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี มีพระราชโอรส ๖ พระองค์ คือ พระยาธานี(ปกครองแคว้นโพธิ์กลิงค์) พระยากระบี่(ปกครองแคว้นโพธิ์กลิงค์พัง) พระยาจันทร์(ปกครองแคว้นจันทบูรณ์) พระยาอินทร์(ปกครองแคว้นอินทปัต) พระยาสุวรรณ(ปกครองแคว้นโพธิสารหลวง) และ พระยาแก้ว(ปกครองแคว้นตาแก้ว)

      พระราชโอรสทั้ง ๖ พระองค์ ของ ท้าวเทพนิมิตร จึงมีสิทธิในการสืบทอดราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ จักรพรรดิ หรือ นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในอนาคต เป็นที่มาให้มีการใช้วิชามาร ใช้วัฒนธรรมตอแหล ทำลายความชอบธรรม ของ พระราชโอรสทั้ง ๖ พระองค์ ที่กล่าวมา ตามแผนการของ มหาอาณาจักรจีน และ เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ จนกระทั่งได้เกิดความแตกแยก อย่างรุนแรง ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ

      ต่อมา ท้าวเทพนิมิตร มีมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง ประชาชนเรียกพระนามว่า พระนางศรีโพธิ์ หรือ หม่อมแพรไหม ซึ่งเป็นพระราชธิดา พระองค์ที่สอง ของ มหาจักรพรรดิ หยางเจ้าหลีชน มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระยามาลา(ปกครองแคว้นมาลายู) และ พระยายี่หน(ปกครองแคว้นยะโฮ) ในเวลาต่อมา พระราชธิดาที่เหลืออีก ๓ พระองค์ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ได้อภิเษกสมรส กับ ราชวงศ์ขุนหลวง แห่ง อาณาจักรเทียนสน ส่วน พระยาธานี และ พระยากระบี่ มีบทบาทในการปกครอง อาณาจักรเทียนสน ในเวลาต่อมา สายราชวงศ์ท้างเทพนิมิตร อีกส่วนหนึ่ง เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรคามลังกา เป็นที่มาให้ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ พยายามโค่นล้ม สายราชวงศ์พระยาเทพนิมิตร ในเวลาต่อมา  

      ส่วน พระนางโกสมพี อดีตอัครมเหสี ของ พระยาเทพนิมิตร ซึ่งถูกข่มขืน โดย พระยามหาฤกษ์ นั้น ต่อมา พระนางโกสมพี มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง กับ พระยามหาฤกษ์ คือ พระยาโยธิกา เป็นผู้สร้างแคว้นโยธิกา ขึ้นมาที่ แม่น้ำโยธิกา ต่อมา แคว้นโยธิกา ถูกกองทัพของราชวงศ์มอญ-ทมิฬ เข้าตีแตก พระยาโยธิกา จึงได้ไปรื้อฟื้น แคว้นนที(อยุธยา) ขึ้นใหม่ และเรียกชื่อแคว้นนที ในชื่อใหม่ว่า แคว้นโยธิกา(อยุธยา)

      ต่อมา พระยาโยธิกา ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางจันทร์ ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์มาจาก มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ กับ เชื้อสายราชวงศ์ราชทูตอาทิตย์ มีพระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ พระนางนวลจันทร์(อภิเษกสมรสกับ พระยาศรีทรัพย์) , พระนางจันทร์เทวี(อภิเษกสมรสกับ พระยาจันทร์โชติ) และ พระนางศรีจันทร์(อภิเษกสมรสกับ ขุนราม)

  

ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก จาก มเหสีฝ่ายซ้าย นางขอมอินทปัต

สืบเนื่องจาก ผลของสงครามโรมรันพันตู เพื่อทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน นั้น เป็นเหตุให้ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก แห่ง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรคามลังกา จึงได้ พระนางขอมอินทปัต ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ พระเจ้าศรีภววรมัน ราชาแห่ง แคว้นอินทปัต อาณาจักรคามลังกา สายราชวงศ์ขอม-มอญ มาเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย อีกพระองค์หนึ่ง

ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก มีพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์ กับ พระนางขอมอินทปัต มีพระนามว่า ขุนชัยฤทธิ์(พระยาเวียงจันทร์) และ ขุนมหาฤกษ์(พระยาละโว้) ทั้ง ๒ พระองค์ ล้วนมีบทบาทต่อการสร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา จนกระทั่งทำให้ก่อกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ในสมัยต่อมา

พระยาชัยฤทธิ์ ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางมุสิกะ ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาสมเดชะ มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง สืบทอดสายราชวงศ์มาจาก มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ กรุงคันธุลี สายราชวงศ์โคตะมะ ต่อมา พระยาชัยฤทธิ์ ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรอ้ายลาว ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระยากง และ พระยาศรีจง ต่อมา พระยาชัยฤทธิ์ ยังมีพระราชโอรส กับ พระนางสิยา ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายซ้ายอีก ๑ พระองค์ คือ พระยาไกรสร ซึ่งเป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา

พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของ ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กับ พระนางขอมอินทปัต คือ พระยามหาฤกษ์ หรือ พระยาละโว้ ได้อภิเษกสมรส กับ พระนางจันทร์ แห่ง แคว้นจันทร์บูรณ์ และเคยได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา ต่อมาถูกเนรเทศให้ไปสร้าง เมืองละโว้ มีพระราชธิดา มีพระนามว่า หม่อมหญิงวงศ์จันทร์

พระยามหาฤกษ์ ได้เคยกระทำการผิดกฎมณเฑียรบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ พระนางโกสมพี ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ พระยาเทพนิมิตร ถือเป็นการกระทำผิดราชประเพณี อย่างร้ายแรง พระยามหาฤกษ์ จึงถูกเนรเทศให้ไปสร้าง แคว้นละโว้ เป็นเหตุให้ พระยามหาฤกษ์ มีพระนามอีกพระนามหนึ่งว่า พระยาละโว้ และส่งผลต่อมาให้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ต้องจัดให้ พระยาเทพนิมิตร อภิเษกสมรสใหม่ กับ หม่อมหญิงอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน แต่งานอภิเษกสมรส ต้องล้มเหลว เพราะ พระราชโอรส ของ พระยาชัยฤทธิ์ ซึ่งมีพระนามว่า พระยากง แห่ง เมืองเวียงคุก ได้สร้างเรื่องไม่ดีงาม ขึ้นมาอีก โดยนำกองทัพไปฉุด หม่อมหญิงอุษา มาเป็นพระชายา ณ เมืองกง เทือกเขาภูพาน ซึ่งสร้างความชอกช้ำใจให้กับ หม่อมหญิงอุษา มาก จนเป็นเหตุให้ เกิดวัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก ในเวลาต่อมา

      พระยากง มีพระราชโอรสกับ พระนางอุษา ๑ พระองค์ ณ หอแม่นางอุษา เมืองกง เทือกเขาภูพาน อาณาจักรอีสานปุระ มีพระนามว่า ขุนศรีธรนนท์ เป็นผู้ปกครอง แคว้นหงสาวดี(พะโค) ต่อมา พระนางอุษา ถูกข่มขืนโดย พระยาศรีจง ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระยากง มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ขุนศรีธรรมโศก เป็นผู้ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ในเวลาต่อมา

      ส่วน พระยากง ได้ทอดทิ้ง พระนางอุษา ไปมีมเหสีพระองค์ใหม่ เป็นพระราชธิดาของ พระยาสิเกา(พระยาบัว) มีพระนามว่า นางแก้วงาบเมือง มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ พระยาพาน ซึ่ง ยายหอมนำไปฝากให้เป็นบุตรบุญธรรม ของ ท้าวอุเทน และอีกพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระยาจักรนารายณ์ เป็นผู้ปกครอง แคว้นจักรนารายณ์(นครไชยศรี)

      พระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) ผู้ปกครอง แคว้นสมุทรปราการ มีอัครมเหสี ซึ่งมีพระนามว่า พระนางสุรณี มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า พระยาศรีทรัพย์ คือผู้สร้างเมืองนครปฐม และ พระมหาธาตุเจดีย์จักรนารายณ์(พระมหาธาตุเจดีย์นครปฐม) ในเวลาต่อมา

      เรื่องราวรายละเอียด ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก อ่านได้จากหนังสือ สยามประเทศ มิได้เริ่มต้นจาก สุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก โดย นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ในที่นี้ จะนำสาระบางส่วนในรัชกาลต่างๆ มาสรุปไว้ เพื่อง่ายต่อการสร้างความเข้าใจ ดังต่อไปนี้

 

  

(๓๘) สมัย มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก(พ.ศ.๑๑๒๙-๑๑๓๓) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มี พ่อยอดน้ำ(พระยาท่าข้าม) กรุงพันพาน ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ และมี ท้าวอุเทน กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ดำรงตำแหน่ง นายก

      ในรัชกาลนี้ มหาอาณาจักรจีน ได้สนับสนุนให้ ชนชาติมอญ ทำการก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ โดยการสร้างความแตกแยกขึ้นมาในหมู่ชนชาติอ้ายไต ระหว่างกัน ด้วยการนำวัฒนธรรมตอแหล เข้ามาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ผ่านอาณาจักรอีสานปุระ ทำให้เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน อย่างรุนแรง

      ขุนนางขันที ๒ คน ผู้ติดตามรับใช้ พระนางอุษา คือ ตาตอ และ ตาแหล เป็นผู้นำข่าวที่เป็นความจริงส่วนหนึ่ง ความเท็จอีกส่วนหนึ่ง โดยสร้างเป็นเรื่องใหม่ เรียกว่า ทำตอแหล นำออกไปไปป่าวประกาศให้ประชาชนเชื่อว่า เป็นความจริง ทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เป็นที่มาให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกเป็น ๖ ก๊ก ต่อมา

 

     

                                โครงสร้าง ราชวงศ์ไศเลนทร์ อาณาจักรอีสานปุระ

                                 และ อาณาจักรโจฬะ(บก/น้ำ)

                          

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา ปี พ.ศ.๑๑๒๙

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน กรุงสระทิ้งพระ นั้น ท้าวอุเทน ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่สอง ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง โดยมี พระยามหาฤกษ์ เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกา โดยบริหารราชการอยู่ที่ กรุงพระวิหาร ต่อมาเมื่อ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นครองราชย์สมบัติ นั้น สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ได้มีมติให้ ท้าวอุเทน ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายก ว่าราชการอยู่ที่ ภูเขาตอก กรุงธารา(บ้านนาเดิม) นั้น เป็นเหตุให้ มหาอุปราชพระยามหาฤกษ์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง และมีการแต่งตั้งให้ พระยาไกรสร พระราชโอรส ของ ท้าวชัยฤทธิ์ กับ พระนางสิยา เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรคามลังกา แคว้นพระวิหาร(เขาพระวิหาร) ป็นเหตุให้  

      เนื่องจาก ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก นั้น พระองค์เกรงว่า มหาอาณาจักรจีน อาจจะใช้ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เป็นเครื่องมือในการก่อสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา เช่นที่เคยทำมาในอดีตอีก เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระราชโอรสอีก ๓ พระองค์ ของ ท้าวเทพนิมิตร กับ พระนางโกสมพี ให้ไปปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา คือ พระยาจันทร์ ปกครอง แคว้นจันทบูรณ์ , พระยาอินทร์ ปกครอง แคว้นอินทปัต , พระยาแก้ว ปกครอง แคว้นตาแก้ว และ พระยาสุวรรณ ปกครอง แคว้นโพธิสารหลวง(พนมเปญ)   ศก นั้น มหาจะวิหาร)์บูรณ์(จันทบุรี) มาเป็น แคว้นมหาอุปราช

      สงครามกับชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา เกิดขึ้นเนื่องจาก พระเจ้าศรีพาระ พระราชโอรส ของ พระเจ้าศรีภววรมัน พี่น้องต่างมารดา กับ พระนางขอมอินทปัต เป็นเชื้อสายราชวงศ์มอญ เป็นราชาปกครอง แคว้นสมโพธิ์ ต้องการขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา เหมือนกับที่ พระเจ้าศรีภววรมัน เคยก่อกบฏมาแล้วตั้งแต่สมัย สงครามโรมรันพันตู

      เพราะเหตุที่ กฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีข้อกำหนดมิให้ ราชวงศ์มอญ และ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา ยกเว้น อาณาจักรอีสานปุระ อาณาจักร เดียวเท่านั้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ยอมรับให้ ชนชาติมอญ เป็นมหาราชาปกครองได้ เหตุเพราะ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) เคยกำหนดเอาไว้มาตั้งแต่สมัยประกาศก่อตั้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง(พนมเบญจา) เป็นเหตุให้ พระเจ้าจิตรเสน ไม่พอพระทัย เพราะอาณาจักรอีสานปุระ ได้ขยายตัวเติบใหญ่ไปจากเดิมมาก พระเจ้าจิตรเสน จึงต้องการให้ชนชาติมอญ แผ่ขยายอิทธิพลเข้าปกครอง อาณาจักรต่างๆ รอบๆ ดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ ด้วย สห

      ต่อมา พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน จึงได้สมคบกับ ขุนนางจีน ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งมาช่วยราชการ ได้วางแผนสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นกับ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต และ ประชาชนชนชาติอ้ายไต ในดินแดน อาณาจักรคามลังกา เพื่อนำ พระเจ้านันทเสน ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา และ พระเจ้าศรีพาระ เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรคามลังกา โอกาสเกิดขึ้น ในขณะที่ พระนางโกสมพี อัครมเหสี ของ ท้าวเทพนิมิตร เสด็จมาช่วยราชการ พระยาจันทร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ณ แคว้นจันทบูรณ์

      เนื่องจาก พระเจ้าจิตรเสน มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ กับ ท้าวมหาฤกษ์ มีสายราชวงศ์มอญ ผสมอยู่ด้วย ผ่านพระนางขอมอินทปัต ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของ ท้าวมหาฤกษ์ เป็นเหตุให้ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าว วางแผนให้ ท้าวมหาฤกษ์ ลักลอบเข้าข่มขืน พระนางโกสมพี แล้วสร้างข่าวใหม่ว่า พระนางโกสมพี เป็นชู้กับ ท้าวมหาฤกษ์ เพื่อทำลายเชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก พร้อมกับสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นกับ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

      เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อ มหาราชาท้าวมหาฤกษ์ วางแผนเสด็จประภาส แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา จึงได้เรียก พระยาจันทร์ ให้ไปช่วยว่าราชการแทน ณ กรุงพนมรุ้ง(นางรอง) เป็นเหตุให้ พระนางโกสมพี ต้องช่วยว่าราชการ ณ แคว้นจันทร์บูรณ์(จันทบุรี) ดังนั้น เมื่อท้าวมหาฤกษ์ เสด็จประภาสมาถึง แคว้นจันทร์บูรณ์ จึงถือโอกาสใช้กำลังข่มขืนใจ พระนางโกสมพี จนกระทั่ง พระนางโกสมพี ทรงพระครรภ์ เจ้าชายโยธิกา หลังจากนั้น พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ได้ร่วมกันสร้างข่าวไปทั่วดินแดนอาณาจักรคามลังกา ว่า พระนางโกสมพี อัครมเหสี ของ ท้าวเทพนิมิตร เป็นชู้กับ ท้าวมหาฤกษ์ เป็นเหตุให้ พวกขุนนาง และประชาชน กลุ่มหนึ่ง ร่วมกันขับไล่ พระนางโกสมพี ให้ออกจาก เมืองจันทร์บูรณ์ จนกระทั่ง พระนางโกสมพี เกิดความอับอาย จึงเสด็จไปยัง บ้านเกิดเมืองนอน อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ในขณะที่ทรงพระครรภ์ 

      ส่วน พระยาจันทร์ เมื่อทราบข่าว จึงเสด็จจาก แคว้นพนมรุ้ง มายัง แคว้นจันทร์บูรณ์ เพื่อสอบถามความจริงจาก พระนางโกสมพี ซึ่งเป็นพระราชมารดา แต่ พระนางโกสมพี ได้เสด็จไปยัง กรุงแสนหวี อาณาจักรโกสมพี เรียบร้อยแล้ว

      ในช่วงเวลาเดียวกัน พระเจ้านันทเสน ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงพนมรุ้ง พร้อมๆ กับกองทัพของ พระเจ้าศรีพาระ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเขาพระวิหาร ซึ่งปกครองโดย มหาอุปราชพระยาไกรสร ในขณะที่ ท้าวมหาฤกษ์ กำลังเสด็จตรวจราชการแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา

      ผลของสงครามครั้งนั้น พระเจ้านันทเสน สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นพนมรุ้ง ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ไว้ได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้ตั้งตนเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ส่วนผลของ สงคราม ณ แคว้นปราสาทเขาพระวิหาร พระเจ้าศรีพาระ ไม่สามารถทำสงครามยึดครองสำเร็จ กองทัพของ พระยาไกรสร สามารถทำลายกองทัพมอญ ของ พระเจ้าศรีพาระ บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าศรีพาระ ต้องหลบหนีไปยัง อาณาจักรอีสานปุระ ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ ปราสาทเขาพระวิหาร ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ ชนชาติมอญ เรียกพระนามของ พระยาไกรสร อีกพระนามหนึ่งว่า ขุนโหด หรือ หรือ พระยาโหด ตั้งแต่นั้นมา

      พระยาไกรสร ยังส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่กองทัพของ พระเจ้านันทเสน ณ สมรภูมิ แคว้นพนมรุ้ง อีกด้วย ผลของสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงพนมรุ้ง(นางรอง) พระเจ้านันทเสน ต้องถอยทัพไปยัง แคว้นจันทบูรณ์ สามารถยึดครองแคว้นจันทบูรณ์ ไว้ได้สำเร็จ พระยาจันทร์ ต้องล่าถอยไปยังเกาะเทียน(เกาะกง) แต่ต่อมาไม่นาน ท้าวมหาฤกษ์ สามารถนำกองทัพต่างๆ เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นจันทบูรณ์ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ พระเจ้านันทเสน ต้องหลบหนี ไปยัง แคว้นรามัน(ตะนาวสี) ส่วน พระยาจันทร์ จึงได้เสด็จกลับ อาณาจักรเทียนสน และได้รายงานต่อ สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ เพื่อให้พิจารณาสอบสวนลงโทษ ราชวงศ์ชนชาติมอญ

      สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ พิจารณาสอบสวนทวนความเรื่องราวที่เกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง มีผลสรุปว่า พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ร่วมกันใช้ ท้าวมหาฤกษ์ เข้าข่มขืนใจ พระนางโกสมพี เพื่อสร้างความแตกแยกขึ้นในดินแดน อาณาจักรคามลังกา จึงมีมติลงโทษ พระเจ้านันทเสน ซึ่งหลบหนีอยู่ที่ แคว้นรามัน(ตะนาวสี) โดยให้ เนรเทศให้ไปรวบรวมชนพื้นเมือง สร้างแว่นแคว้นขึ้นใหม่ ณ ปากแม่น้ำสะโตง ทางทิศใต้ ของ อาณาจักรพิง คือ เมืองสะโตง ในดินแดนประเทศพม่า ในปัจจุบัน

      ส่วน พระเจ้าศรีพาระ ราชาแห่ง แคว้นสมโพธิ์ อาณาจักรคามลังกา ซึ่งถูกกองทัพของ พระยาไกรสร ขับไล่ไปอยู่ที่ อาณาจักรอีสานปุระ นั้น พระเจ้าจิตรเสน ได้แต่งตั้งให้เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นยโสธรปุระ อ้างว่า เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ผู้ให้กำเนิด ราชวงศ์ไศเลนทร์ และ แคว้นอีสานปุระ

      ส่วน ท้าวมหาฤกษ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา ถูกสภาโพธิลงโทษ สั่งลงโทษ ถูกเนรเทศให้ไปสร้างแว่นแคว้น ขึ้นใหม่ ณ ลุ่มแม่น้ำลพบุรี ในปัจจุบัน คือ แคว้นละโว้ ในเวลาต่อมา นั่นเอง ดังนั้น สภาปุโรหิต จึงมีมติแต่งตั้งให้ พระยาไกรสร เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง(นางรอง) และมี พระยาจันทร์ เป็น มหาอุปราช ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นจันทบูรณ์(จันทบุรี)

      ต่อมา พระนางโกสมพี ได้ประสูติ พระราชโอรส ที่เกิดจากการข่มขืน ของ ท้าวมหาฤกษ์ มีพระนามว่า เจ้าชายโยธิกา และ พระยาจันทร์ ได้เสด็จไปรับ พระนางโกสมพี พระราชมารดา มาประทับอยู่ที่ ลุ่มแม่น้ำโยธิกา ของ แคว้นจันทร์บูรณ์ อย่างเงียบๆ ด้วย 

 

เจ้าชายกง ฉุดเจ้าหญิงอุษา ในงานอภิเษกสมรส ณ กรุงสระทิ้งพระ

ผลจากการที่ สภาโพธิ สอบสวนเรื่องราวที่มีการใส่ความว่า พระนางโกสมพี เป็นชู้กับ ท้าวมหาฤกษ์ จนกระทั่งเกิดสงครามขึ้น ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา ตามที่กล่าวมาแล้ว เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ได้พยายามแก้ไขความขัดแย้ง ที่กำลังเกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๓๐

ผลของการแพร่หลายของวัฒนธรรมการใส่ความ โดย ชนชาติมอญ อาณาจักรอีสานปุระ ครั้งนั้น ยังทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง พระราชโอรส จากมเหสีฝ่ายซ้าย(พระนางขอมอินทปัต) กับ มเหสีฝ่ายขวา(พระนางมาลัย) ลึกร้าวยิ่งขึ้น มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก จึงแก้ไขความขัดแย้งด้วยการจัดให้ เจ้าหญิงอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา และเป็นราชธิดาพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ให้อภิเษกสมรสกับ พระยาเทพนิมิตร  มหาราชา แห่ง อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพราะทั้งสองพระองค์ มีความรักระหว่างกัน มาก่อนหน้านี้แล้ว จึงมีการเตรียมการจัดงาน พิธีอภิเษกสมรสขึ้น ณ กรุงสระทิ้งพระ อาณาจักรเทียนสน

ในการเตรียมจัดงานอภิเษกสมรส ครั้งนั้น เจ้าหญิงศรีโพธิ์ ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ของ เจ้าหญิงอุษา จึงเป็นผู้เดินทางไปยังดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อจัดหาเสื้อผ้า ผ้าแพรไหม มาใช้ตัดเป็นชุดวิวาให้กับ เจ้าหญิงอุษา ซึ่งเป็นพระพี่นาง ในงานอภิเษกสมรส นั้น เจ้าหญิงศรีโพธิ์ ถึงขั้นเดินทางไปจัดหาผ้าชนิดใหม่ๆ  ด้วยพระนางเอง เรียกว่า ผ้าไหม(ผ้าใหม่) จาก มหาอาณาจักรจีน มาตัดเย็บ เป็นชุดวิวา แต่เกิดเหตุร้ายขึ้นอีก จากแผนการชั่วร้าย ของ พระเจ้าจิตรเสน , พระเจ้าศรีพาระ ร่วมกับ พระนางขอมอินทปัต ซึ่งเป็นพระญาติที่ใกล้ชิดสนิทสนม ระหว่างกัน

ตามตำนานคลองแพรไหม กล่าวว่า เมื่อ เจ้าหญิงศรีโพธิ์ นำผ้าแพรไหม เดินทางกลับมาจาก มหาอาณาจักรจีน ได้เกิดลางร้าย ขึ้นก่อนการจัดงานอภิเษกสมรส เนื่องจาก เจ้าหญิงศรีโพธิ์ ได้นำเรือสำเภา บรรทุกผ้าแพรไหม เดินทางเข้ามาทางช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ซึ่งเชื่อมต่อ ระหว่างทะเลฝั่งตะวันออก กับ ฝั่งทะเลฝั่งตะวันตก เจ้าหญิงศรีโพธิ์ ได้ทำผ้าไหมที่จะใช้ตัดชุดวิวา ให้กับ เจ้าหญิงอุษา ตกหล่นหาย ณ สถานที่แห่งนั้น เจ้าหญิงอุษา จึงไม่มีชุดวิวาใหม่ มาใช้สวมใส่ กลายเป็นลางร้าย โหราจารย์ทำนายทายทักว่า งานอภิเษกสมรส จะไม่เกิดขึ้นจริง ตามกำหนด

พื้นที่บริเวณคลองดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า คลองแพรไหม ในเวลาต่อมา ส่วน ผ้าแพรไหม ที่หล่นหายไป มีประชาชนเก็บได้ ก็นำไปขายให้กับพ่อค้าอินเดีย ที่เดินทางมาค้าขายยัง แคว้นตาโกลา(กันตัง) เป็นที่มาให้พ่อค้าชาวอินเดีย เดินทางมาหาซื้อผ้าแพรไหม ในเวลาต่อมาด้วย ซึ่งเป็นที่มาให้มีการนำผ้าไหมจากดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน มาค้าขายยัง ยังเมืองท่าตาโกลา(กันตัง) ทำให้ ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ช่องแคบแพรไหม ต่อเนื่องกันมา และเป็นที่มาให้ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการปลูกหม่อน เลี้ยงตัวไหม และทอผ้าแพรไหม ในเวลาต่อมา อีกด้วย

      ตำนาน พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ปทุมวงศ์ ได้เล่าเรื่องราวการอภิเษกสมรส ของ เจ้าหญิงอุษา โดยสรุปว่า ในงานอภิเษกสมรส ระหว่าง เจ้าหญิงอุษา และ พระยาเทพนิมิตร ครั้งนั้น ทางพระนางขอมอินทปัต มเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ เป็นผู้สร้างกุลอุบาย ขัดขวางมิให้ พระยาเทพนิมิตร ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงอุษา เพื่อตัดสิทธิ์ พระยาเทพนิมิตร มิให้สามารถสืบทอดราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในอนาคต เนื่องจาก พระยาอุเทน ไม่มีทั้งพระราชโอรส และพระราชธิดา สืบทอดราชย์สมบัติ จึงวางแผนส่ง เจ้าชายกง(พระยากง) ไปร่วมงานอภิเษกสมรส และลักพาตัว เจ้าหญิงอุษา เพื่อมิให้เกิดการอภิเษกสมรส

      ดังนั้นการที่ พระเจ้าจิตรเสน ร่วมกับ พระเจ้าศรีพาระ และ พระนางขอมอินทปัต วางกุลอุบายให้ เจ้าชายกง(พระยากง) เจ้าเมืองเวียงคุก ไปร่วมงานพิธีอภิเษกสมรส ของ มหาราชาพระยาเทพนิมิตร กับ เจ้าหญิงอุษา เพื่อทำการแย่งชิง เจ้าหญิงอุษา ขณะเดินทางโดยทางเรือ เพื่อส่งตัวเจ้าสาว ให้กับ มหาราชาท้าวเทพนิมิตร ณ แคว้นสระทิ้งพระ อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) ในงานอภิเษกสมรส เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ ต้องแก้ปัญหาด้วยการให้ เจ้าหญิงศรีโพธิ์ เข้าพิธีอภิเษกสมรส กับ พระยาเทพนิมิตร แทนที่

      ส่วนเรือสำเภา ซึ่ง เจ้าหญิงอุษา ประทับอยู่นั้น ถูกเจ้าชายกง จี้บังคับ ให้เปลี่ยนทิศทาง เป็นการลักพาตัว เจ้าหญิงอุษา ไปยัง เมืองกง เทือกเขาภูพาน คือท้องที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในปัจจุบัน โดยมี ตาตอ และ ตาแหล ซึ่งเป็นอดีตขุนนางขันที ของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชน ซึ่งติดตามเป็น ผู้สนองพระโอฐ เจ้าหญิงอุษา เดินทางไปด้วย

 

                

ภาพที่-๘๐ แผนที่ ร่องรอยโบราณสถาน บริเวณที่ตั้งหอพระนางอุษา ณ เมืองกง ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในปัจจุบัน ห่างจากตัวเมืองอุดรธานี ประมาณ ๖๘ กิโลเมตร

 

      การที่ เจ้าชายกง(พระยากง) สามารถปฏิบัติการตามแผนการที่กำหนด จนสำเร็จการ โดยสามารถแย่งชิง พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ไปสมสู่ในเรือสำเภา ๗ วัน ๗ คืน แล้วนำไปครองรัก ณ เมืองกง เทือกเขาภูพาน นั้น ได้มีการสร้างเรือนหอให้กับ พระนางอุษา ซึ่งเรียกกันว่า หอพระนางอุษา ซึ่งถูกเรียกสืบทอดต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบันª-

 

                          

 ภาพที่-๘๑ พื้นที่ซึ่งเคยเป็นสถานที่ตั้ง หอรักของ พระนางอุษา ซึ่งถูกเจ้าชายกง ฉุดมาสร้างเรือนหอ ครองรักอยู่ที่ เมืองกง เทือกเขาภูพาน ประชาชน ยังคงนิยมเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า หอพระนางอุษา สืบทอดต่อเนื่องมาจนถึง ปัจจุบัน

 

      ต่อมา เจ้าชายกง มีพระราชโอรส กับ พระนางอุษา พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายศรีธรนนท์ เป็นเหตุให้ พระนางอุษา มีความใฝ่ฝัน ที่จะเป็น แม่พระธรณี(อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิ) ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป พระนางอุษา จึงพยายามผลักดันให้ เจ้าชายกง สามารถไต่เต้า มีบทบาทเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในอนาคต จนกระทั่ง พระนางอุษา ได้ตกเป็นเครื่องมือ ของ พระเจ้าจิตรเสน ในการสร้างวัฒนธรรมตอแหล โดยที่ พระนางอุษา ได้มอบให้ ตาตอ และ ตาแหล นำเรื่องราวต่างๆ ออกไปป่าวประกาศ เพื่อใส่ร้ายป้ายสี ฝ่ายตรงกันข้าม จนทำให้ วัฒนธรรมตอแหล ระบาดไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อย่างรวดเร็ว

 

วัฒนธรรมตอแหล วิกฤต ของ สังคมไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ

คำว่า ตอแหล คือ การโกหก ประเภทหนึ่งที่สลับซับซ้อน ใช้ความจริงส่วนหนึ่ง และ ความเท็จอีกส่วนหนึ่ง นำมาบิดเบือนสร้างเรื่องใหม่ตามใจชอบให้ผู้รับฟังเชื่อว่าเป็นเรื่องจริง โดยมุ่งเน้นนำไปใส่ความฝ่ายตรงกันข้ามให้ได้รับความเสียหาย หรือ เพื่อสร้างความแตกแยก กับ ฝ่ายตรงข้าม ทำลายฝ่ายตรงข้าม เพื่อขยายอำนาจของอีกฝ่ายหนึ่ง

วัฒนธรรมตอแหล หรือ วัฒนธรรมการใส่ความชนิดหนึ่ง แต่เป็นการใส่ความที่แนบเนียนมาก ผู้รับฟ้งมักจะหลงเชื่อ เพราะมีมูลความจริงเป็นพื้นฐานอยู่ด้วย วัฒนธรรมตอแหล เคยระบาดแพร่หลายมากในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน ได้แตกแยกออกเป็น ๒ ก๊ก คือ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นส่วนใหญ่ ขุนศึกทั้งสองฝ่าย จึงนำเอา วัฒนธรรมการตอแหล ไปใช้ใส่ความระหว่างกัน เพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นกับฝ่ายตรงกันข้าม และนำไปสู่ชัยชนะใน สงคราม เป็นไปตามตำราพิชัยสงคราม อย่างหนึ่ง ของ ซุนหวู่ เพื่อการเอาชนะศึกสงคราม

ต่อมา เมื่อ มหาอาณาจักรจีน รวมตัวเป็นปึกแผ่น ก็มักจะมีข้อห้าม มิให้นำวัฒนธรรมตอแหล ไปใช้กับประชาชนภายใต้การปกครอง ของ ตนเอง เพราะจะทำให้เกิดวิกฤต ของ สังคม จะทำให้ประชาชนในสังคมเกิดความแตกแยกอย่างรุนแรง และนำไปสู่กุลียุคของสังคมได้ มหาอาณาจักรจีน จึงส่งออก วัฒนธรรมตอแหล มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ

สืบเนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน ซึ่งมีความขัดแย้งกับ ชนชาติอ้ายไต ในการทำสงครามแย่งชิงยึดครองดินแดน ระหว่างกัน ไปครอบครองมาอย่างช้านาน ดังนั้น เมื่อ มหาอาณาจักรจีน นำชนชาติทมิฬโจฬะ , ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติมอญ ไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต เป็นเหตุให้ ขุนนางจีน ได้ถ่ายทอด วิชาตอแหล ให้กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ , ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติมอญ ให้นำมาใช้กับ ชนชาติอ้ายไต ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อสร้างความแตกแยกให้กับ ชนชาติอ้ายไต และทำสงครามยึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ในขั้นสุดท้าย อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

         ตำนาน พ่อตาทุ่งใหญ่ กล่าวถึงเรื่องราวการล่มสลายของ พระราชวังภูเขาศรีโพธิ์ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) กล่าวโดยสรุปว่า ได้เกิดเหตุความไม่สงบ และได้เกิดสงครามขึ้น ณ สมรภูมิ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ในขณะที่ มหาอาณาจักรจีน ได้รวมตัวเป็นปึกแผ่น และ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ครองราชย์สมบัติได้ประมาณ ๕ ปี ก็เสด็จสวรรคตจึงมีการจัดงานพระบรมศพ ณ การพระบรมมหาราชวัง ก็เกิดเหตุความไม่สงบขึ้น

 

            

ภาพที่-๘๒ เทวรูป ๔ องค์ วางเรียงรายตามภาพ ขุดพบในพระปราง เมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จากการสืบสาวเรื่องราวความเป็นมาของการกำเนิดเมืองอู่ทอง จึงสันนิษฐานได้ว่า เป็นเทวรูปจำลองของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก กับพระราชโอรส ซึ่ง พระยาพาน ให้ความเคารพ(จากซ้ายไปขวา) คือ ท้าวชัยฤทธิ์ , ท้าวอุเทน , มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก และ พ่อยอดน้ำ(พระยาท่าข้าม)  

 

สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๑๑๓๓ ได้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นเนื่องจาก พวกข้าทาสชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เมืองสักเวียด(ต.เสวียด อ.ท่าฉาง) ที่พ่ายแพ้สงคราม และถูกจับเป็นเชลยศึก ซึ่งได้เข้ามาร่วมทำงานรับใช้ในงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ได้ร่วมกับ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) วางแผนก่อกบฏ ด้วยการเข้าลอบวางเพลิง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และ พระราชวังหลวง กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมาในพระราชวังหลวง ภูเขาศรีโพธิ์ และ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) หลังจากมีการพระราชทานเพลิงศพ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก เรียบร้อยแล้ว ตำนานพ่อตาทุ่งใหญ่ กล่าวว่า สงครามครั้งนั้น แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ได้กลายเป็นเมืองร้าง พร้อมกับเกิดไข้น้ำ(ไข้ทรพิษ) ระบาด พ่อตาทุ่งใหญ่ ต้องอพยพครอบครัว หนีภัยไข้น้ำ ไปอาศัยอยู่ที่ เกาะเรือ กลางอ่าวศรีโพธิ์ จึงมีชีวิต รอดมาได้

กล่าวกันว่า ในขณะที่กำลังเกิดเหตุ ความสับสนวุ่นวาย อยู่นั้น ได้มีกองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ จากเมืองสักเวียด ซึ่งได้สมคบ กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) และ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ได้ยกกองทัพทางบก จาก ภูเขาพระนารายณ์(เมืองกาเพ้อ-ระนอง) มุ่งเข้าโจมตีราชธานี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ด้วย

พระยาสมุทร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิพ่อยอดน้ำ และเป็นแม่ทัพหลวง ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ไม่ทันได้ตั้งตัว เมื่อเข้าต่อสู้กับกองทัพทมิฬโจฬะ กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม พระยาสมุทร จึงต้องอพยพไพร่พล ลงเรือสำเภา หลบหนีไปยัง เมืองหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) แม่น้ำท่าจีน ส่วน กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกข้าศึกเผาทำลาย กลายเป็นเมืองร้าง

ต่อมา ภูเขาศรีโพธิ์ และกลายเป็นสำนักรักษาโรค ของ พวกหมอ อีกครั้งหนึ่ง และถูกประชาชนเรียกชื่อใหม่ว่า ภูเขาสายหมอ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สงครามครั้งนั้น มีไข้น้ำ(ไข้ทรพิษ) ระบาด กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) จึงร้างไปด้วย พ่อตาทุ่งใหญ่ ต้องหนีไข้น้ำ ไปอาศัยอยู่ที่เกาะเรือ กลางอ่าวศรีโพธิ์ กลายเป็นตำนานพ่อตาทุ่งใหญ่ เล่าสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

 

(๓๙) สมัย มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ กรุงพันพาน(พุนพิน)

 

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ(พ.ศ.๑๑๓๓-๑๑๔๒) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มี ท้าวอุเทน กรุงธารา(ภูเขาตอก-บ้านนาเดิม) ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ และมี ท้าวเทพนิมิตร กรุงสระทิ้งพระ ดำรงตำแหน่ง นายก ในรัชกาลนี้ วัฒนธรรมตอแหล ได้ระบาดอย่างแพร่หลาย สร้างความแตกแยกให้กับ เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต และ ประชาชนชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง

 

พระนางอุษา สร้างพิไลกล ให้นำ เจ้าชายพาน ไปฆ่าทิ้ง ปี พ.ศ.๑๑๓๕

      ตำนานท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้เล่าเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ เชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก โดยเฉพาะการกล่าวถึง พระยาพาน และ พระยาศรีธรรมโศก ว่า พระยาพาน มีพระชนมายุมากกว่า พระยาศรีธรรมโศก ๑ พรรษา ทั้งสองพระองค์ ได้มาใช้ชีวิตในวัยทรงพระเยาว์ ณ ท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ร่วมกัน ทั้งสองพระองค์ จึงมีเรื่องราวตำนานต่างๆ กล่าวถึงชื่อท้องที่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ บุคคลทั้งสอง และเชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก เป็นจำนวนมาก

      สรุปเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ พระราชประวัติของ พระยาพาน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ได้เกิดเหตุไม่ดีงาม ขึ้น ณ แคว้นราชคฤห์(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) คือเชื้อราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์หยาง-โคตะมะ ซึ่งถูกพระเจ้าจิตรเสน เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ใช้มาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความแตกแยกขึ้นมาภายในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในขณะที่ พระนางอุษา ประทับอยู่ที่ หอพระนางอุษา เมืองกง เทือกเขาภูพาน อาณาจักรอีสานปุระ ประมาณ ๔ ปี

      เนื่องจาก พระนางอุษา ต้องการเป็นแม่พระธรณี เช่นเดียวกับ พระราชมารดา(แม่พระธรณีพระนางสา) พระนางอุษา จึงผลักดันให้ ขุนกง(พระยากง) วางแผนเป็น มหาราชา ปกครอง กรุงราชคฤห์ อาณาจักรนาคฟ้า แทนที่ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) พระนางอุษา จึงผลักดันให้ ขุนกง(พระยากง) ไปรับราชการที่ กรุงราชคฤห์ และออกผนวช ณ กรุงราชคฤห์

เมื่อ ขุนกง ลาสิกขา ก็ได้รับโปรดเกล้าจาก พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) ให้เป็น พระยากง หลังจากนั้น พระยาสิเกา จึงได้ถวายพระราชธิดา มีพระนามว่า เจ้าหญิงแก้ว ให้อภิเษกสมรส กับ พระยากง อีกด้วย พร้อมทั้งโปรดเกล้าให้ พระยากง เป็นกษัตริย์ ปกครอง แคว้นราชคฤห์ ของ อาณาจักรนาคฟ้า โดยที่ พระยาสิเกา เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรนาคฟ้า ว่าราชการอยู่ที่ กรุงราชคฤห์(คูบัว-ราชบุรี) เช่นเดียวกัน โดยมี พระยาสมุทร เป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า ว่าราชการอยู่ที่ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร)ª-

ผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น เป็นเหตุให้ พระยากง ได้ทอดทิ้ง พระนางอุษา ไว้ที่ หอพระนางอุษา เมืองกง เทือกเขาภูพาน อย่างโดดเดี่ยว เดียวดาย พระนางอุษา ทราบข่าวว่า พระยากง มีพระนางแก้ว เป็นอัครมเหสี พระนางอุษา จึงเจ็บช้ำใจมาก พระนางอุษา ต้องร้องให้คร่ำครวญ อยู่กลางดงไพร ขอให้ดวงวิญญาณ ของ แม่พระธรณีพระนางสา กรุงคันธุลี ซึ่งเป็นพระราชมารดา มาช่วยเหลือ เป็นไปตามคำกลอนละครใน ซึ่งมีผู้นำเนื้อร้องมาดัดแปลงให้ รวงทอง ทองลั่นทม ร้องเป็นเพลงชื่อ เพลงแม่ธรณีกรรแสง คือเรื่องราวที่ พระนางอุษา ร้องให้คร่ำครวญ อยู่ที่หอพระนางอุษา เมืองกง เทือกเขาภูพาน เรียกร้องให้ดวงวิญญาณ ของ แม่พระธรณีพระนาสา กรุงคันธุลี มาช่วยเหลือ นั่นเอง   

      เมื่อ พระนางอุษา ทราบข่าวว่า พระนางแก้วงาบเมือง ได้ประสูติ พระราชโอรส คือ เช้าชายพาน(พระยาพาน) เป้ฯเหตุให้ พระนางอุษา ซึ่งมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งกับ พระยากง มาแล้ว คือ ขุนศรีธรนนท์ เกรงว่า พระนาง จะไม่ได้เป็น พระแม่ธรณี ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ตามที่ใฝ่ฝันไว้ พระนางอุษา จึงวางแผนฆ่า เจ้าชายพาน(พระยาพาน) เพื่อให้พระนาง ได้เป็นอัครมเหสี ของ พระยากง โดยได้รับคำแนะนำจาก พระเจ้าจิตรเสน วางแผนให้ ตาตอ และ ตาแหล เดินทางไปติดต่อ โหราจารย์ ของ พระยากง อย่างลับๆ

ได้เกิดเหตุไม่ดี ไม่งาม เกิดขึ้นเมื่อ พระนางอุษา ทราบว่า หม่อมแก้วงาบเมือง อัครมเหสี ของ พระยากง ได้ประสูติ พระราชโอรส  พระองค์หนึ่ง ที่เมืองราชคฤห์ มีพระนามว่า เจ้าชายพาน(พระยาพาน) ทำให้ พระนางอุษา สร้างพิไลกุล ให้ตาตอ และ ตาแหล นำสินบนไปมอบให้ โหรร่างทรง เพื่อให้ช่วย กุข่าวคำทำนาย ว่า พระราชโอรส ที่ประสูติ จาก พระนางแก้วงาบเมือง คือ เจ้าชายพาน ที่เพิ่งประสูติมานั้น จะเป็นผู้ฆ่าพระราชบิดา ในอนาคต

เมื่อ พระยากง ได้ฟังคำทำนาย ก็ตกใจ จึงรับสั่งให้ ตาโหด นำ เจ้าชายพาน ไปฆ่าทิ้ง เป็นเหตุให้ พระนางแก้วงาบเมือง ต้องให้สินบน ตาโหด(เพชฌฆาต) อีกทอดหนึ่ง มิให้ฆ่า เจ้าชายพาน และรับสั่งให้นางสนองพระโอฐ คือ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ให้ลักลอบนำ เจ้าชายพาน เดินทางไปมอบให้ จักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งเป็นสมเด็จปู่ เป็นผู้เลี้ยงดู เป็นบุตรบุญธรรม ณ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) แคว้นธารา อาณาจักรชวาทวีป เนื่องจาก ท้าวอุเทน ไม่มีทั้งพระราชโอรส และ พระราชธิดา สำหรับสืบทอดราชย์สมบัติ  

เนื่องจาก พระนางแก้วงาบเมือง อัครมเหสีของ พระยากง ได้นัดหมายกับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ให้นำเจ้าชายพาน ไปพบกันที่ เมืองสมุทรสงคราม ปากแม่น้ำแม่กลอง เพื่อจัดหาเรือสำเภาให้กับ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) นำพระราชโอรส เจ้าชายพาน เดินทางไปฝาก จักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งไม่มีพระราชโอรส และเป็นเสด็จปู่ ณ กรุงธารา แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) เป็นผู้เลี้ยงดู แต่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ไม่กล้าเดินทางไปตามนัดหมาย เพราะพระนางสุวรรณมาลี เป็นที่รู้จักของผู้คน เกรงจะถูกจับได้ ซึ่งจะต้องถูกประหารชีวิต พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) จึงตัดสินใจนำ เจ้าชายพาน ไปเลี้ยงดูที่ปลายน้ำของ แม่น้ำแม่กลอง(แคว้นทองสิงห์คาม) คือ บริเวณ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ในปัจจุบัน จนกระทั่ง เจ้าชายพาน เริ่มตั้งดินได้(เดินได้) มีพระชนมายุประมาณ ๕ พรรษา

 

พระนางอุษา ได้ ขุนศรีจง เป็น พระภัสดา(สามี) องค์ที่สอง

      เหตุการณ์หลังจากที่ พระนางอุษา ประสบความสำเร็จในการวางแผนให้ พระยากง นำพระราชโอรส เจ้าชายพาน ไปฆ่าทิ้งแล้ว พระนางอุษา ได้กลายเป็น นักทำตอแหล แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อขัดขวางการขึ้นสู่อำนาจ ของ เจ้าชายพาน พระราชโอรส ของ พระยากง กับ พระนางแก้วงาบเมือง แห่ง แคว้นราชคฤห์ อาณาจักรนาคฟ้า ทั้งนี้เพราะ พระนางอุษา ต้องการเป็น แม่พระธรณี ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ

      แต่ต่อมา พระนางอุษา ถูกเวรกรรมตามสนอง เพราะถูกพระเจ้าจิตรเสน วางแผนซ้อนแผน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อมิให้ พระนางอุษา มีโอกาสเป็น อัครมเหสี ของ พระยากง และไม่มีโอกาสเป็น แม่พระธรณี ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ อีกต่อไป ด้วยการวางแผนให้ พระยาศรีจง ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระยากง ลักลอบเข้าหา ทำการข่มขืน พระนางอุษา อีกครั้งหนึ่ง

เบื้องหลังที่แท้จริง คือ พระเจ้าจิตรเสน ได้ถือโอกาสสร้างความขัดแย้ง ระหว่าง เจ้าชาย ๒ พี่น้อง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๓๕ ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ด้วยการทำการยุยงให้ พระยาศรีจง ลักลอบเข้าหา ได้เสีย กับ พระนางอุษา ในขณะที่ พระยากง เป็น ราชา ปกครอง กรุงราชคฤห์ จนกระทั่ง พระนางอุษา มีพระราชโอรสอีก พระองค์หนึ่ง กับ พระยาศรีจง มีพระนามว่า เจ้าชายศรีธรรมโศก เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๓๖ ซึ่งถือเป็นต้นราชวงศ์ ปทุมวงศ์ หรือ ปัทมวงศ์ ของ สหราชอาณาจักรเสียม(ศรีวิชัย) อีกพระองค์หนึ่ง ในเวลาต่อมา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนั้น ทำให้กษัตริย์ ๒ พี่น้อง ขัดแย้งกันเอง เรื่อยมา

 

พระยาศรีจง ให้กำเนิด พระมหาธาตุเจดีย์เมืองพระคู่(พะโค) ปี พ.ศ.๑๑๓๙

เนื่องจาก พระยาศรีจง เป็นพระราชโอรส ของ พระยาชัยฤทธิ์ กับ พระนางมุสิกะ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเวียงจันทร์ ต่อมา นายกท้าวเทพนิมิตร ได้ชักจูงให้ พระยาศรีจง ออกผนวช และศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ แคว้นเทียนสน(ยะลา) จนกระทั่ง ได้ผ่านการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยนาลันทา ด้วย ทำให้ พระยาศรีจง มีความสามารถในการก่อสร้าง พระเจดีย์ แบบต่างๆ ตามที่ได้เล่าเรียนมาจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา

 

                       

 ภาพที่-๘๓ เทวรูปจำลอง พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด พระอาจารย์ของกษัตริย์จำนวนมาก ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ กล่าวกันว่า ถูกสร้างจำลองขึ้น ๗ องค์ ในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เทวรูปองค์นี้ สร้างด้วยหยกขาว ไว้ประจำวัดศรีราชัน ซึ่งจะนำไปใช้เป็นพระประธาน ในพิธีสวดสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ กษัตริย์ แต่ปัจจุบัน วัดศรีราชัน มีสภาพเป็นวัดร้าง ประชาชนเกรงว่า เทวรูปองค์นี้จะถูกขโมยไป จึงนำไปเก็บรักษาไว้

 

เมื่อ พระยาศรีจง สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และ มหาวิทยาลัยนาลันทา ก็ได้เสด็จกลับมา ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระยาศรีจง ดำรงตำแหน่งเป็น ราชาแห่ง แคว้นสมุทรปราการ ของ อาณาจักรนาคฟ้า บริหารราชการอยู่ที่ ดงอีเหยี่ยว(ดอนเมือง) แคว้นสมุทรปราการ โดยเตรียมสร้าง อาณาจักรหงสาวดี ขึ้นใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ตามคำแนะนำ ของ นายกท้าวเทพนิมิตร และ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด

การที่ ท้าวเทพนิมิตร และ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด ต้องการให้สร้าง อาณาจักรใหม่ ขึ้นมาทางทิศใต้ของ อาณาจักรพิง และ ทางทิศตะวันออก ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู นั้น มีเรื่องสืบเนื่องมาจากผลของการเนรเทศ พระเจ้านันทเสน พระอนุชา ของ พระเจ้าจิตรเสน ให้ไปสร้าง แคว้นนันทเสน(สะโตง) อยู่ที่ปากแม่น้ำสะโตง ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ผลของการเนรเทศ ทำให้ชนชาติมอญ มีอิทธิพล ในดินแดนดังกล่าว และอาจจะเป็นอันตรายในอนาคต เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับ อาณาจักรอีสานปุระ มาแล้ว จึงต้องการให้ อาณาจักรใหม่ที่จะเกิดขึ้นในดินแดนดังกล่าว เป็น อาณาจักรของ ชนชาติอ้ายไต ด้วย

ดังนั้น ในปีเดียวกัน พระยาศรีจง ได้เสด็จไปยัง แคว้นสุธรรม(เสทิม) เพื่ออภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงสุรณี ราชธิดาของ พระยาวสุ แห่ง แคว้นสุธรรม(เสทิม) ซึ่งเป็นอัครมเหสี เป็นเหตุให้ พระยาวสุ แห่ง แคว้นสุธรรม(เสทิม) และ พระนางสุรณี ผลักดันให้ พระยาศรีจง ไปผลักดัน สร้างอาณาจักรใหม่ ตามคำแนะนำของ นายกท้าวเทพนิมิตร เป็นเหตุให้ พระยาศรีจง ต้องมอบให้ พระนางอุษา เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่ที่แคว้นสมุทรปราการ พระนางอุษา ซึ่งกลายเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ต้องพบกับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่ง ทำให้ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) กลายเป็น นักทำตอแหล นักปล่อยข่าว ที่สำคัญ ในเวลาต่อมา เรื่อยมา

ตำนาน วัดโรงหงส์(วัดสโมสร) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการกำเนิด อาณาจักรหงสาวดี โดยสรุปว่า อาณาจักรหงสาวดี เกิดขึ้นจากการผลักดัน ของ นายกท้าวเทพนิมิตร และ พระยาวสุ พระราชา แห่ง แคว้นสุธรรม(เสทิม) เป็นเหตุให้ พระยาศรีจง ได้ออกไปสร้าง แคว้นพระคู่(พะโค) จึงได้อพยพไพร่พล ๓๐,๐๐๐ คน จาก เมืองพระคู่ แคว้นเทียนสน(ยะลา) ไปพักครั้งแรก ณ เมืองย่างกุ้ง เพื่อเดินทางสำรวจพื้นที่ ราชธานี ของ อาณาจักรใหม่ที่จะสร้างขึ้นใหม่

ไพร่พลของ พระยาศรีจง ได้ไปหากุ้ง มาย่างเป็น เสบียงอาหารแล้วแบ่งไพร่พลส่วนหนึ่ง สร้างเมืองขึ้น ณ ท้องที่ดังกล่าว มีชื่อว่า เมืองย่างกุ้ง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พระยาศรีจง ได้พักที่เมืองย่างกุ้ง อยู่ระยะหนึ่ง เพื่อเดินทางออกไปสำรวจดินแดนที่เหมาะสมในการสร้างราชธานี ของ อาณาจักรใหม่ที่จะเกิดขึ้น จนสำรวจได้สถานที่สร้างเรียบร้อย

ต่อมา ไพร่พล ส่วนใหญ่ ของ พระยาศรีจง ได้เดินทางต่อไป ยังสถานที่ซึ่งเหมาะสมในการสร้างราชธานี ของ อาณาจักรใหม่ ไพร่พลทั้งหลาย จึงได้สร้างร่วมกันสร้างบ้านแปลงบเมือง สร้างแว่นแคว้นใหม่ ขึ้นมาเป็นราชธานี ของ อาณาจักรใหม่ จนสำเร็จ อีกแว่นแคว้นหนึ่ง ในพื้นที่ซึ่ง ชนพื้นเมืองบาซิงงา ครอบครอง ครั้งแรกเรียกชื่อว่า แคว้นพระคู่(พะโค) ตามชื่อถิ่นเดิม ของ ไพร่พลที่ได้มาร่วมสร้างบ้านแปลงเมืองในครั้งนั้นª-

 

                               

ภาพที่-๘๔ภาพถ่ายพระมหาธาตุเจดีย์หงสาวดี ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย พระยาศรีจง เรียกชื่อครั้งแรกว่า พระมหาธาตุเจดีย์วัดพระคู่(พะโค) ซึ่งปัจจุบันชาวมอญเรียกชื่อว่า พระมหาธาตุเจดีย์มุเตา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๓ เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง พระมหาธาตุเจดีย์หงสาวดี พังทลายลงมา และถูกบูรณะขึ้นใหม่ ดังในภาพ

 

ภายหลังการสร้างแคว้นพระคู่(พะโค) เป็นผลสำเร็จ พระยาศรีจง จึงได้เสด็จไปยัง แคว้นสมุทรปราการ เพื่อขอแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่ง พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) เก็บรักษาไว้ในผอบทองคำ เพื่อนำไปสร้าง พระมหาธาตุเจดีย์ เพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ณ เมืองพระคู่(พะโค) ตามที่ได้เคยเล่าเรียนมาจาก มหาวิทยาลัยนาลันทา และตามคำแนะนำของ พระอาจารย์เถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) จนเป็นผลสำเร็จ

พระมหาธาตุเจดีย์เมืองพระคู่(หงสาวดี) ถือเป็น พระมหาธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ที่เกิดขึ้นแห่งแรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งแรก ถูกตั้งชื่อว่า พระมหาธาตุเจดีย์วัดพระคู่ ซึ่งชนชาติมอญเรียกชื่อเพี้ยนในเวลาต่อมา ว่า พระมหาธาตุเจดีย์พะโค คือ พระมหาธาตุเจดีย์หงสาวดี ในปัจจุบัน นั่นเอง ต่อมา ดินแดน เมืองพระคู่(พะโค) คือพื้นฐานของการสร้างราชธานี ของ อาณาจักรหงสาวดี ในเวลาต่อมา นั่นเอง

      ต่อมา อาณาจักรใหม่ เกิดขึ้นเมื่อ พระยาศรีจง มีพระชนมายุ ครบ ๒๕ พรรษา คือเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๔๑ มีชื่อครั้งแรกว่า อาณาจักรพระคู่(พะโค) กรุงพระคู่ ประกอบด้วย ๓ แว่นแคว้น คือ แคว้นพระคู่(พะโค) , แคว้นนันทเสน(สะโตง) และ แคว้นสุธรรม(เสทิม) โดยมี พระยาศรีจง เป็น มหาราชา และมี พระยาวสุ เป็น มหาอุปราช ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นสุธรรม ซึ่งเป็นที่มาให้ พระเจ้านันทเสน ราชวงศ์มอญ ผู้ถูกเนรเทศ ไม่พอพระทัย จึงได้ก่อสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นพระคู่ และ แคว้นสุธรรม ขึ้นมา ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นพระคู่(พะโค) ปี พ.ศ.๑๑๔๑

ตำนาน วัดโรงหงส์(วัดสโมสร) ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึงความเป็นมา ของ เสาหงส์ และ อดีตโรงหงส์ ของวัดดังกล่าว ซึ่งเคยถูกบูรณะฟื้นฟูมาแล้วหลายครั้ง แต่ได้ผุพังไป โดยไม่มีการรื้อฟื้นซ่อมแซมบูรณะขึ้นมาใหม่ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ พระยาศรีจง สร้างพระมหาธาตุเจดีย์วัดพระคู่(เจดีย์หงสาวดี) สำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงมีการจัดงานเฉลิมฉลอง อาณาจักรใหม่ และ พระบรมธาตุเจดีย์ แห่งแรก ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ เมืองพระคู่ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

ในการจัดงานเฉลิมฉลอง พระบรมธาตุเจดีวัดพระคู่ ครั้งนั้น พระยาศรีจง ได้ผลักดันให้พุทธศาสนิกชน เดินทางไปเคารพบูชา พระมหาธาตุเจดีย์วัดพระคู่(พะโค) อย่างคึกคัก เป็นเหตุให้ พระเจ้านันทเสน แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) ได้ถือโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งทหารชนชาติมอญ เข้าไปฝังตัวอยู่ในเมืองพระคู่(พะโค) เพราะ พระเจ้านันทเสน แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) อยากได้ แคว้นพระคู่(พะโค) ไปเป็นของชนชาติมอญ จึงส่งชาวมอญ และ ทหารมอญ เข้าไปตั้งรกรากในแคว้นพะโค อย่างลับๆ เพื่อเตรียมการลุกขึ้นก่อกบฏ เข้ายึด แคว้นพระคู่(พะโค) และสร้าง อาณาจักร ของชนชาติมอญ ขึ้นมาในอนาคต

การก่อกบฏ ของ ชนชาติมอญ ครั้งนั้น กองทัพของ ชนชาติมอญ พระเจ้านันทเสน สามารถยึด เมืองพระคู่(พะโค) โดยไม่เสียไพร่พล เหตุการณ์เริ่มต้น เกิดขึ้นเมื่อ พระยาศรีจง และไพร่พลชนชาติอ้ายไต ถูกยาพิษ "หนามพิษเดือยไก่" บาดเจ็บสาหัส ต้องช่วยกันแบกหามกลับไปรักษา ณ แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) แต่ไม่มีหมอผู้เชี่ยวชาญ รักษา จึงต้องส่งไปยัง แคว้นสมุทรปราการ กรุงดอนเมือง เพื่อการรักษาพยาบาล

      ในช่วงเวลาดังกล่าว ไพร่พลของชนชาติมอญ ซึ่งพระเจ้านันทเสน เตรียมไว้ จึงลุกฮือ ขึ้นยึดเมืองพระคู่ ตามแผนการที่ พระเจ้านันทเสน กำหนด โดยไม่เสียไพร่พล แต่อย่างใด ชนชาติอ้ายไต ๓๐,๐๐๐ คน จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ พระเจ้านันทเสน กษัตริย์ชนชาติมอญ ทันที ไพร่พลชนชาติอ้ายไต บางส่วนที่ไม่ต้องการอยู่ภายใต้การปกครองของ ชนชาติมอญ จึงได้อพยพ ไปสร้างแว่นแคว้นขึ้นใหม่ ณ เมืองย่างกุ้ง ซึ่งมีชนชาติอ้ายไต ได้สร้างเมืองย่างกุ้ง เป็นพื้นฐาน มาแล้ว ทำให้ เมืองย่างกุ้ง เปลี่ยนเป็น แคว้นย่างกุ้ง ปกครองโดย พระยาสุนันท์ พระราชโอรส ของ พระยาวสุ แห่ง แคว้นสุธรรม(เสทิม)  

ส่วน พระยาศรีจง และไพร่พลชนชาติอ้ายไต ที่ถูกพิษ "หนามพิษเดือยไก่" และบาดเจ็บสาหัส ซึ่งกำลังรักษาตัวอยู่ที่ ดอนเมือง นั้น ไม่สามารถรักษา พระยาศรีจง ให้หายขาดได้ จึงต้องนำ พระยาศรีจง และไพร่พลที่เจ็บป่วย จำนวนหนึ่ง เดินทางไปรักษาตัว ณ ภูเขาสายหมอ(ภูเขาศรีโพธิ์) ซึ่งเคยเป็นอดีตที่ตั้งพระราชวังหลวงของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ที่ข้าศึกทมิฬโจฬะ เผาร้างไป และได้กลายเป็นศูนย์กลาง สำนักแพทย์ ของ พวกหมอกลุ่มต่างๆ ที่มาถ่ายทอดวิชาการแพทย์แผนไทย ณ ภูเขาสายหมอ ในสมัยนั้น

ต่อมา พระยาศรีจง และไพร่พลที่เจ็บป่วย จึงได้รับการรักษา ถูกถอนพิษ ด้วยยาสับพิษ จนกระทั่งหายเจ็บป่วย พระยาศรีจง จึงคิดวางแผนทำสงครามยึดครอง แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน โดยไม่เสียไพร่พล ในเวลาต่อมา เช่นเดียวกัน

 

                          

       ภาพที่-๘๕ แผนที่ แสดงที่ตั้ง อาณาจักรหงสาวดี(ระบายสีเทา) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะแรกๆ

 

 สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิแคว้นไกลลาศ(ทวาย) ปี พ.ศ.๑๑๔๑

      ความเดิม แคว้นไกลลาศ เป็นแว่นแคว้นที่เกิดขึ้นจากการอพยพ ของ ชาวเมืองไกลลาศ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ในสมัยที่ พระเจ้าพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ก่อกบฏ และสามารถยกกองทัพเข้าทำลาย แคว้นช้างให้(คันธุลี) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๗๘๒ เป็นผลสำเร็จ ส่งผลให้ ชาวเมืองไกลลาศ ของ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ต้องอพยพหนีภัยสงคราม มาร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ ทางฝั่งทะเลตะวันตก เรียกว่า แคว้นไกลลาศ(ทวาย) ขึ้นต่อ อาณาจักรนาคฟ้า มีกษัตริย์ปกครองสืบทอดกันมาจนถึง ท้าวกงไกลลาศ ซึ่งเป็น พระราชบิดา ของ พระนางสิยา ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาราชาท้าวชัยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ในสมัยนั้น

      เนื่องจากดินแดนใกล้เคียงกับ แคว้นไกลลาศ(ทวาย) มี แคว้นรามัน(ตะนาวสี) ซึ่งมีชนชาติกลิงค์ ซึ่งอพยพหนีภัยสงคราม มาตั้งแต่ในสมัยที่ ขุนเทียน ทำสงครามปราบปราม แคว้นกลิงค์รัฐ ที่เข้ามายึดครอง เมืองครหิต(คันธุลี) อพยพมาตั้งรกราก สร้างบ้านแปลงเมือง มานานแล้ว ต่อมา พระเจ้านันทเสน ซึ่งได้ไปอภิเษกสมรสกับ ราชธิดา ของ พระยารามัน จึงได้พยายามชักจูง พระยารามัน ให้รวบรวมชนชาติกลิงค์(มอญ) ในพื้นที่ดังกล่าว มาเป็นพันธมิตร กับ ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ หวังที่จะร่วมมือกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำสงครามเข้าครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของชนชาติอ้ายไต ทั้งหมด ในอนาคต

      ปฏิบัติการของ พระเจ้านันทเสน แห่ง ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ได้เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้านันทเสน ประสบความสำเร็จในการยึดครอง แคว้นพระคู่(พะโค) สำเร็จมาแล้ว เนื่องจากเหตุการณ์ในขณะนั้น ทั้งราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต และ ประชาชนชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เกิดความแตกแยกกันอย่างหนัก เนื่องจากวัฒนธรรมตอแหล ได้สร้างความแตกแยกกับชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง ชนชาติอ้ายไต แบ่งข้างกันอย่างชัดเจน ระหว่าง ฝ่ายขวา และ ฝ่ายซ้าย เป็นเหตุให้ พระเจ้านันทเสน ใช้โอกาสดังกล่าว วางแผนทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นไกลลาศ(ทวาย) และ แคว้นสุธรรม(เสทิม) ให้เป็นของ ชนชาติมอญ ทันที  

      สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นไกลลาศ(ทวาย) และ แคว้นสุธรรม(เสทิม) เกิดขึ้นในช่วงเวลา เดียวกันกับที่ได้เกิดสงครามระหว่าง กษัตริย์สองพี่น้อง ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ คือ พระยาสิเกา และ พระยาสมุทร ได้ทำสงครามระหว่างกัน เนื่องจากวัฒนธรรมตอแหล ได้สร้างความแตกแยกระหว่างกษัตริย์สองพี่น้อง อย่างรุนแรง จนกระทั่ง ต้องทำสงครามฆ่าล้างกัน ในที่สุด พระยาสมุทร ถูกพระยาสิเกา ฟันคอขาด สวรรคต บนคอช้าง พระเจ้านันทเสน จึงถือโอกาสช่วงเวลาดังกล่าว ก่อสงคราม ทันที  

      ในช่วงเวลาดังกล่าว พระยารามัน ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นไกลลาศ(ทวาย) ด้วย เป็นที่มาให้ ท้าวกงไกลลาศ ต้องอพยพไพร่พล ไปสร้างแว่นแคว้นขึ้นใหม่ ในพื้นที่ จ.สุโขทัย ในปัจจุบัน เรียกว่า แคว้นกงไกลลาศ ปกครองโดย พระราชบิดา ของ พระนางสิยา ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

      ส่วน พระเจ้านันทเสน ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นสุธรรม(เสทิม) ด้วย แต่ไม่สามารถยึดครองสำเร็จ อีกทั้ง กองทัพของ พระยาสุนันท์ จาก แคว้นย่างกุ้ง ได้ส่งกองทัพเข้าไปขับไล่กองทัพของ พระเจ้านันทเสน จึงต้องถอยทัพกลับไปยัง แคว้นนันทเสน(สะโตง) ในช่วงเวลาเดียวกัน พระยาศรีจง ได้เคลื่อนทัพเรือ จาก อาณาจักรชวาทวีป มาพักทัพอยู่ที่ แคว้นย่างกุ้ง ด้วย สงครามแย่งชิง แคว้นพระคู่(พะโค) จึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรหงสาวดี(พะโค)ปี พ.ศ.๑๑๔๑

      ตำนานท้องที่วัดโรงหงส์(วัดสโมสร) อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาในการสร้าง เสาหงส์ และ โรงสร้างนกหงส์ และสงครามการกอบกู้ แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน โดยไม่เสียเสียเลือดเนื้อ จนทำให้วัดสโมสร ถูกประชาชนเรียกชื่อว่า วัดโรงหงส์ หรือ วัดโหรง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ก็เพื่อยกย่องสติปัญญา ของ พระยาศรีจง และ พระอาจารย์เถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) ว่า เป็นผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม

      เรื่องราวที่กล่าวถึง สรุปความได้ว่า พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด(ตาผ้าขาวรอด) ได้แนะนำกลศึก ให้กับ พระยาศรีจง เพื่อยึดครอง แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน โดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อของไพร่พล โดยให้ พระยาศรีจง สร้างนกหงส์ จำลอง ด้วยไม้ทองหลาง ขึ้นมาสองตัว เป็น นกหงส์จำลองตัวผู้ และ นกหงส์จำลองตัวเมีย พระยาศรีจง จึงมอบหมายให้ไพร่พล สร้างโรงงานสร้างนกหงส์ จำลอง ขึ้นมาสองโรง โดยให้สร้างนกหงส์ จำลอง จากไม้ทองหลาง แข่งขันกัน จนสำเร็จ จึงมีการสร้างรถเกวียน ลากนกหงส์ทั้ง ๒ ตัว จาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปยัง แคว้นไทฟ้า(ระนอง) เพื่อเตรียมนำเดินทางลงเรือสำเภาต่อไปยัง แคว้นย่างกุ้ง และนำไปใช้เพื่อทำสงครามการกอบกู้ แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน ในเวลาต่อมา

เรื่องการวางกุลศึก ในการทำสงคราม ขับไล่ชนชาติมอญซึ่งเข้ามายึดครอง แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน ซึ่งเป็นที่มาของ กุลศึก นกหงส์ ตัวผู้ หรือ นกหงส์ตัวเมีย ดีกว่ากัน คือการฆ่าชาวมอญ เพียง ๒ คน แล้วนำไปห้อยไว้ที่ปากนกหงส์ ทั้งตัวผู้ และ นกหงส์ตัวเมีย แล้วสร้างข่าวให้ชนชาติมอญ เกรงกลัว จึงเป็นที่มาให้ ชนชาติมอญ กลัวนกหงส์ มาจิกกินชาวมอญ จึงต่างพากันหนีออกจากเมือง เป็นที่มาให้ กองทัพของ พระยาศรีจง สามารถเข้ายึดครอง แคว้นพระคู่(พะโค) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ โดยไม่เสียไพร่พล แม้เพียงคนเดียว ผลของสงครามครั้งนั้น พระเจ้านันทเสน แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) ต้องยอมสวามิภักดิ์ ต่อ พระยาศรีจง อีกครั้งหนึ่ง ต่อมา พระยาศรีจง จึงจัดให้ไพร่พลในกองทัพ ทำการโต้วาที ระหว่างกัน ในญัตติที่ว่า นกหงสาว หรือ นกหงตัวผู้ ตัวไหนใช้งานได้ผล ดีกว่ากัน

ผลของการโต้วาที ระหว่าง ไพร่พล ของ พระยาศรีจง มีผลสรุปว่า นกหงส์สาว ดีกว่า นกหงตัวผู้ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อ แคว้นพระคู่(พะโค) ในชื่อใหม่ว่า แคว้นหงสาวดี(หงสาวว่าดี) หมายถึง หงส์สาวดีกว่า และมีการเปลี่ยนชื่อ พระมหาธาตุเจดีย์พระคู่(พะโค) เป็นชื่อใหม่ว่า พระมหาธาตุเจดีย์หงสาวดี ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๑๑๔๒ เป็นต้นมา

เกียรติภูมิ ของ พระยาศรีจง ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ ประชาชนได้เรียกพระนาม พระยาศรีจง อีกพระนามหนึ่งว่า พ่อหงสาวดี หลังจากนั้น พระยาศรีจง กลายเป็น มหาราชาปกครอง อาณาจักรหงสาวดี อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๔๒ เป็นต้นมา

 

พระยากง ให้กำเนิด อาณาจักรทวาย ปี พ.ศ.๑๑๔๒

ปรากฏการณ์ ๓ เหตุการณ์สำคัญ ที่เกิดขึ้นในปลายรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ(พระยาท่าข้าม) คือ การเสีย แคว้นพระคู่(พะโค) , แคว้นไกลลาศ(ทวาย) ให้กับชนชาติมอญ และ การที่กษัตริย์สองพี่น้อง คือ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) และ พระยาสมุทร ทำสงครามชนช้างระหว่างกัน ซึ่งเชื่อว่า พระยากง มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจ ด้วย

 

                

 ภาพที่-๘๖ แผนที่แสดงที่ตั้ง อาณาจักรทวาย(ระบายสีเทา) ซึ่งประกาศตั้งขึ้นโดย พระยากง

 

เนื่องจาก มีผู้นำญัตติดังกล่าว เสนอต่อ สภาตาขุน และ สภาเจ้าตาขุน ให้เกิดการอภิปรายอย่างกว้างขวาง จนทำให้ สภาโพธิ และ สภาปุโรหิต นำเรื่องไปพิจารณา ผลการสอบสวน พบหลักฐานว่า พระยากง มีส่วนร่วมในการใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ เรียก พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) เข้าเฝ้า ณ กรุงพันพาน(พุนพิน) เพื่อรับสั่งให้ พระยาสิเกา ทำการเนรเทศ พระยากง และ พระนางแก้วงาบเมือง ออกจากเมืองราชคฤห์(ราชบุรี) เพราะมีหลักฐานที่เชื่อว่า พระยากง สมคบกับ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความปั่นป่วนขึ้นมาในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) เสด็จจาก กรุงพันพาน กลับมายัง กรุงราชคฤห์ ก็เกิดความสงสาร พระนางแก้วงาบเมือง ซึ่งเป็นพระราชธิดา เพียงพระองค์เดียว ของ พระองค์ ซึ่งอยู่ระหว่างทรงพระครรภ์ เจ้าชายจักรนารายณ์ อีกพระองค์หนึ่ง พระยาสิเกา จึงไม่ต้องการเนรเทศ พระยากง ออกจากเมือง เนื่องจากขณะนั้น พระยากง ได้รับราชการเป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรนาคฟ้า ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นราชคฤห์(ราชบุรี) พระยาคูบัว จึงเปลี่ยนแปลงคำสั่งใหม่ โดยมอบหมายให้ พระยากง ไปเจรจากับ พระเจ้านันทเสน ให้ พระเจ้านันทเสน คืน แคว้นไกลลาศ(ทวาย) กลับคืนให้กับ พระยากง ไปปกครอง

พระเจ้านันทเสน ราชา แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) ได้รับข้อเสนอ ของ พระยากง และ ทราบเหตุ จึงสนับสนุนให้นำไพร่พลชนชาติมอญ ให้ไปร่วมรื้อฟื้น แคว้นไกลลาศ กลับคืน อีกด้วย จึงมีการตั้งชื่อ แคว้นไกลลาศ ในชื่อใหม่ว่า แคว้นทวาย ตั้งแต่นั้นมา คำว่า ทวาย จึงมีหมายความถึง ชีวิต ของ พระยากง เกือบจะวอดวายไปแล้ว แต่ได้ฟื้นคืนชีวิต ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง เปรียบเสมือน ตายแล้วเกิดใหม่

      ต่อมาเมื่อ พระนางแก้วงาบเมือง ได้ประสูติพระราชโอรสพระองค์ใหม่ ณ เมืองทวาย(เมืองไกลลาศ) มีพระนามว่า เจ้าชายจักรนารายณ์ พระยากง จึงประกาศตั้ง อาณาจักรทวาย ขึ้นมาอีกอาณาจักรหนึ่ง โดยแบ่งแยกแว่นแคว้นของ อาณาจักรชวาทวีป มาสร้างเป็น อาณาจักรทวาย ซึ่งประกอบด้วย ๓ แว่นแคว้น คือ แคว้นทวาย , แคว้นรามัน(ตะนาวสี) และ แคว้นปากคูหา(มะริด) โดยมีราชธานี ของ อาณาจักรทวาย อยู่ที่ เมืองทวาย

  

ยายหอม นำเจ้าชายพาน เดินทางสู่เมืองครหิต(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๑๔๒

ความเดิม เมื่อ เจ้าชายพาน ซึ่งประทับอยู่ที่ เมืองอู่ทอง มีพระชนมายุได้ประมาณ ๕ พรรษา พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ตัดสินใจ นำ เจ้าชายพาน เดินทางจาก ปลายน้ำแม่กลอง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) มาพบ พระนางแก้วงาบเมือง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้พระนางแก้วงาบเมือง ได้พบกับพระราชโอรส ก่อนที่จะนำไปฝากฝังให้เป็นบุตรบุญธรรม ของ จักรพรรดิท้าวอุเทน ณ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) อาณาจักรชวาทวีป ในช่วงเวลาดังกล่าว พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นชื่อ ยายหอม เรียบร้อยแล้ว

พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ได้นำ เจ้าชายพาน เดินทางมายังปากแม่น้ำท่าจีน แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ได้นำ เจ้าชายพาน มาเลี้ยงดูอยู่ที่ ดอนยายหอม(วัดดอนยายหอม) เมืองปะถม(นครปฐม) อยู่ระยะหนึ่งเกือบ ๒ ปี เพื่อติดต่อกับ พระนางแก้วงาบเมือง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดสงครามหลายแห่ง ในดินแดนของ อาณาจักรนาคฟ้า จนกระทั่ง เจ้าชายพาน มีพระชนมายุครบ ๗ พรรษา พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ไม่สามารถติดต่อกับ พระนางแก้วงาบเมือง ได้สำเร็จ เพราะได้ทราบข่าวต่อมาว่า พระยากง และ พระนางแก้วงาบเมือง ถูกเนรเทศ ให้ไปสร้างแว่นแคว้นใหม่ ที่เมืองไกลลาศ(ทวาย) เรียบร้อยแล้ว

สถานการณ์ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ต้องตัดสินใจนำ เจ้าชายพาน เดินทางต่อไปด้วยตนเอง โดยมุ่งหน้าสู่ ภูเขาตอก แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) แต่เรือสำเภา ที่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) อาศัยโดยสารไปด้วยนั้น ได้ไปส่งพ่อค้ารับซื้อทองคำ ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) นั้น ไม่กล้าเดินทางต่อไปยัง แคว้นพันพาน(พุนพิน) และ แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) เพราะทราบข่าวว่า มีกองทัพของ ข้าศึกชนชาติกลิงค์ ยกกองทัพมาโจมตี แคว้นพันพาน(พุนพิน) พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) จึงตัดสินใจ ตั้งรกรากอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) ชั่วคราว

พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ต้องตัดสินใจนำ เจ้าชายพาน ลงเรือสำเภา ที่ท่าเรือ เมืองครหิต(คันธุลี) แล้วเดินทางไปหาที่พักชั่วคราว ณ ถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี อันเป็น ที่ตั้งพระราชวังร้าง อดีตที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ แคว้นคันธุลี มาก่อน พระนางสุวรรณมาลี ได้พยายามติดต่อว่าจ้าง ตาขำ ให้มาช่วยสร้างที่พักชั่วคราว เพื่อรอสงครามยุติ

 

                                     

ภาพที่-๘๗ เทวรูป เจ้าชายพาน ขณะที่มีพระชนมายุ ๗ พรรษา สลักบนแผ่นหิน แสดงเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ในขณะที่ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) นำเจ้าชายพาน มาเลี้ยงดูอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) และ เจ้าชายพาน มีความสามารถในการขุดหาทองคำ มาแสดงต่อ ยายหอมเป็นประจำ ในภาพ ฝ่าพระหัตถ์ขวา ของ เจ้าชายพาน มีก้อนทองคำ อยู่ด้วย เทวรูปนี้ พบที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี แต่เมื่อสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้ให้ข้อมูลว่า เทวรูปนี้ และ เทวรูปต่างๆ อีกเป็นจำนวนมาก เดิมทีเคยประดิษฐานอยู่ที่ บริเวณถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ประชาชนชาวคันธุลี นิยมเดินทางไปบวงสรวงเซ่นไหว้ เป็นประจำ แต่ต่อมา ในต้นรัชกาลของ สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกรณีขัดแย้ง คือ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ(พระยา คอปล้อง) ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ เป็นพระอนุชา ของ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เป็นผู้ปกครองเมืองไชยา และถูกเรียกกลับให้ไปรับราชการ ณ กรุงเทพฯ หลายครั้ง แต่สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ไม่ยอมเสด็จกลับ เพราะขัดแย้งกันในหลายเรื่องเกี่ยวกับแนวคิดในการรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ ในที่สุด สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จึงมีคำสั่งยึดทรัพย์ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ เรียกว่า ยึดทรัพย์พระยาคอปล้อง เป็นเหตุให้ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้อพยพไพร่พล จาก เมืองไชยา ไปสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ เมืองเวียงสระ พร้อมกับได้นำช้าง มาลำเลียงเทวรูปต่างๆ จากบริเวณถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองเวียงสระ ซึ่ง สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำใช้เป็นฐานที่มั่นทางทหาร ในการทำสงครามกับ กบฏตนกูลามิเด็น

 

ที่เมืองครหิต(คันธุลี) พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ได้พบกับ ตาขำ ซึ่งเลี้ยงวัวฝูงใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออก ของ ภูเขาคันธุลี พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) จึงขอให้ ตาขำ ช่วยสร้างที่พักชั่วคราว ขึ้นมาในบริเวณหน้าถ้ำ ของ ถ้ำตาจิตร บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาคันธุลี เพื่อรอติดต่อกับ จักรพรรดิท้าวอุเทน และนำ เจ้าชายพาน ไปฝากฝังตามคำสั่งของ พระนางแก้วงาบเมือง ต่อไป อีกครั้งหนึ่ง

ด้วยเหตุที่ ยายหอม มีความผูกพัน กับ เจ้าชายพาน ซึ่งเป็นเด็กซุกซุน น่ารัก มีพระชนมายุ ๗ พรรษา มีความสุขอยู่กับการขุดหาทองคำ ณ เมืองครหิต ได้เอง มาแสดงต่อ ยายหอม เป็นประจำ อีกทั้ง เจ้าชายพาน เรียกร้องต้องการให้ ยายหอม ตั้งรกรากอยู่ที่ เมืองครหิต ยายหอม จึงไม่ยอมส่งตัวเจ้าชายพาน ให้กับ ท้าวอุเทน เป็นผู้เลี้ยงดู

ในที่สุด พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ตัดสินใจเลี้ยงดู เจ้าชายพาน เป็นบุตรของพระนางเอง และเมื่อ เจ้าชายพาน เติบโตเป็นหนุ่ม มีพระชนมายุย่างเข้า ๑๖ พรรษา(ปี พ.ศ.๑๑๕๐) พระนางสุวรรณมาลี (ยายหอม) จึงค่อยเปลี่ยนความตั้งใจ กลับนำ เจ้าชายพาน ไปฝากให้ ท้าวอุเทน เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ พระเจ้าจิตรเสน ใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง จนกระทั่งทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยก ออกเป็น ๖ ก๊ก ในเวลาต่อมา และ เจ้าชายพาน เป็นผู้ทำสงครามรวบรวมดินแดน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นปึกแผ่น ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติกลิงค์ อาณาจักรกลิงค์รัฐ ณ สมรภูมิ แคว้นพันพาน

      ตำนาน พระยาพาน ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ และตำนาน พ่อตาพ่อยอดน้ำ ในท้องที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ได้ให้ข้อมูลถึงสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ณ สมรภูมิ กรุงโพธิสาร(พันพาน) สอดคล้องตรงกันว่า ในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร(พันพาน) นั้น พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน เกรงว่า สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ อาจมีมติให้ทำสงครามปราบปราม ราชวงศ์มอญ ของ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ในอนาคตได้ เป็นเหตุให้ พระเจ้าจิตรเสน ต้องเร่งรัดส่งคณะราชทูต อย่างลับๆ ไปเจรจากับ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ซึ่งเป็นชนชาติกลิงค์ ด้วยกัน เพื่อร้องขอให้ช่วยส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี กรุงโพธิสาร(พันพาน) อันเป็น ราธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในขณะนั้น และเข้าโจมตี กรุงโพธิ(ยะลา) ซึ่งเป็นที่ตั้ง สภาโพธิ ด้วย

      พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ยังวางแผนให้ พระยากง ซึ่ง เจ็บแค้น พระยาสิเกา และ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ได้ร่วมมือกับ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน สมคบกัน วางแผนก่อกบฏ โดยยืมมือกองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) เพื่อเสนอแผนให้ พระยากง เตรียมขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างลับๆ

      พระยากง จึงได้ส่งความความลับเกี่ยวกับที่ตั้งทางการทหารที่สำคัญ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้กับ มหาราชา ชนชาติกลิงค์ แห่ง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) อย่างลับๆ พระยากง ยังได้ร่วมมือกับสายลับของ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน เพื่อเสนอแผนสงครามให้กับกองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ทำการส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตีเผาเมือง กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน จนราบเรียบ เป็นหน้ากลอง อีกด้วย

      สงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ถูกข้าศึกกลิงค์ ปิดล้อม บริเวณท่าข้าม ของ แม่น้ำหลวง คือ บริเวณสะพานพระจุลจอมเกล้า อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ ไม่ยอมให้ข้าศึกกลิงค์จับเป็นเชลยศึก ภายใต้วงล้อม จึงกระโดดเข้าสู่ ดง จระเข้ เพื่อให้จระเข้ กัดกิน แทนที่ จนสวรรคต เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๔๒ ประชาชน จึงต้องทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ(พระยาท่าข้าม) ในบริเวณท้องที่ดังกล่าว สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน

      หลังจากที่ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ พ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ กรุงโพธิสาร(พันพาน) และ สวรรคต เรียบร้อยแล้ว จักรพรรดิท้าวอุเทน ทราบข่าว จึงส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ กองทัพของ ชนชาติกลิงค์ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) จนล่าถอยกลับไป

      ส่วนสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงสระทิ้งพระ และ กรุงโพธิ(ยะลา) แห่ง อาณาจักรเทียนสน นั้น กองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม แม่ทัพ แห่ง อาณาจักรกลิงค์รัฐ สิ้นชีวิต ในสงคราม ทหารกลิงค์ ถูกจับเป็นเชลยศึก เป็นจำนวนมาก

 

               

ภาพที่-๘๘ แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ซึ่งเกิดขึ้นโดย ท้าวเทพนิมิตร ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ทางทิศตะวันออก ของ เกาะชบาตะวันตก(สุมาตรา) แล้วส่ง ราชวงศ์ ชนชาติกลิงค์ เข้าปกครอง

 

      การทำสงครามรุกรานของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ นายกท้าวเทพนิมิตร ได้ส่งกองทัพติดตามไล่ล่า เข้าโจมตีกองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ที่กำลังล่าถอย และถูกจับเป็นเชลยศึก เป็นจำนวนมาก นายกท้าวเทพนิมิตร ได้ถือโอกาสดังกล่าว ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) เป็นผลสำเร็จ มหาราชา แห่ง อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) สวรรคต ในสงคราม ดังนั้น สงครามที่เกิดขึ้น จึงมิได้เป็นไปตามแผนการที่ พระยากง และ พระเจ้าจิตรเสน กำหนดแต่อย่างใด

      ภายหลังสงครามครั้งนั้น นายกท้าวเทพนิมิตร ได้ทำการกวาดต้อน ชนชาติกลิงค์ ชนเผ่าอินโดยูโรเปี้ยน ซึ่งเรียกชื่อว่า ชนเผ่ากลิงค์บัง ซึ่งตั้งรกรากในดินแดนของ อาณาจักรเทียนสน จากเมืองโพธิ์กลิงค์(โคกโพธิ์) และ กลิงค์ตัน ซึ่งได้สมรสเกี่ยวดองกับ ราชวงศ์ต่างๆ ของ อาณาจักรเทียนสน พร้อมด้วยเชลยศึกชนชาติกลิงค์ ที่ถูกจับกุม ให้ไปร่วมกันสร้าง อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(ปาเล็มบัง) กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ในดินแดนของ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ที่ทำสงครามยึดครองมาได้ ประมาณครึ่งหนึ่งของ เกาะชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

      ผลของการให้กำเนิด อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง กรุงโพธิ์กลิงค์บัง ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) มีอิทธิพล เหนือดินแดนช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ต้องเร่งใช้ ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ สร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

 

 (๔๐) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน  กรุงธารา(บ้านนาเดิม)

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน(ปี พ.ศ.๑๑๔๒-๑๑๕๑) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) บริเวณภูเขาตอก นั้น มี ท้าวเทพนิมิตร กรุงสระทิ้งพระ ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ และมี ท้าวสิเกา(พระยาคูบัว) กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) ดำรงตำแหน่ง นายก ในเวลาเพียง ๓ ปี พระยาสิเกา ก็ถูกลอบวางยาพิษ สวรรคต

ในรัชกาลนี้ ประชาชน ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) เกิดความแตกแยก เนื่องจากวัฒนธรรมตอแหล ระบาดอย่างรุนแรง ในเวลาเพียง ๒ ปี นายกพระยาสิเกา(พระยาคูบัว) ก็ถูก พระยากง ลอบวางยาพิษ จนกระทั่งสวรรคต สภาปุโรหิต จึงมีมติแต่งตั้งให้ พระยาธานี กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายก ซึ่งมิได้เป็นไปตามแผนการที่ พระยากง กำหนด เป็นเหตุให้ พระยากง ได้ทำการก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องแตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก ในรัชกาลนี้ ด้วย 

 

พระยากง ลอบวางยาพิษ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) ปี พ.ศ.๑๑๔๓

เรื่องราวที่ พระยากง และพวก ลอบวางยาพิษ พระยาสิเกา(พระยาคูบัว) จนกระทั่ง สวรรคต แล้วทำตอแหล ปล่อยข่าวว่า จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร และ พระยาธานี เป็นผู้ลอบวางยาพิษ แทนที่ มีเรื่องราวสาเหตุมาจากการที่ แผนปฏิบัติการ ยืมมือข้าศึก อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) มาทำลายคู่แข่งทางการเมือง ไม่เป็นผลสำเร็จ กลับทำให้ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ถูกยึดครอง โดย อาณาจักรเทียนสน อีกด้วย ขณะเดียวกัน กลับกำเนิด อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง ขึ้นมาอีกอาณาจักรหนึ่ง ณ ดินแดนเกาะชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) อีกด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) จึงมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) อย่างเด็ดขาด อีกครั้งหนึ่ง อีกทั้ง จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ก็มีบารมีสูงเด่นยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ส่งขุนนางขันที มาติดต่อกับ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน อย่างลับๆ เพื่อวางแผนสร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นที่มาให้ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน วางแผนใหม่ โดยยุยงให้ พระยากง ลอบวางยาพิษ นายกพระยาสิเกา เพื่อทำตอแหลใส่ความให้กับ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร อีกชั้นหนึ่ง เพื่อวางแผนดำเนินการก่อกบฏ อย่างมีจังหวะก้าว

แผนการของ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ซึ่งได้แสร้งสนับสนุนให้ พระยากง วางแผนเป็น มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จึงได้ยุยงให้ พระยากง ทำการลอบวางยาพิษ นายกพระยาสิเกา จนกระทั่งสวรรคต ในขณะที่ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร และ พระยาธานี ได้เสด็จมาตรวจราชการ ณ อาณาจักรนาคฟ้า กรุงราชคฤห์ แล้วทำการใส่ความว่า จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร และ พระยาธานี เป็นผู้ลักลอบสังหาร พระยาสิเกา จนกระทั่งสวรรคต เพื่อให้ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เป็นผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับสร้างข่าวปลุกปั่นให้ประชาชนชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรต่างๆ เกลียดชิงชังประชาชนชนชาติอ้ายไต อาณาจักรเทียนสน ด้วย อ้างว่า เป็นกษัตริย์ ไม่ทรงธรรม

เหตุการณ์ครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดความไม่สงบขึ้นมาที่ กรุงราชคฤห์ ราชธานี ของ อาณาจักรนาคฟ้า ด้วย เป็นเหตุให้ มหาอุปราช พระยาสมุทรสาคร ซึ่งปกครองอยู่ที่ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ต้องส่งกองทัพมารักษาความสงบ ณ กรุงราชคฤห์ และขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ  

เมื่อ พระยากง ทราบข่าวว่า พระยาสมุทรสาคร ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า กรุงราชคฤห์ เรียบร้อยแล้ว จึงใช้วิชาตอแหล สร้างข่าวใส่ความไปทั่วว่า พระยาสมุทรสาคร มีส่วนร่วมในการลอบฆ่า พระยาสิเกา อีกด้วย พระยากง จึงได้อ้างเป็นเหตุ ส่งกองทัพจาก อาณาจักรทวาย เข้ายึดครอง กรุงราชคฤห์ พร้อมกับได้ทำการสำเร็จโทษ พระยาสมุทรสาคร และพวก เสียสิ้น พร้อมกันนั้น พระยากง ได้ประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมิได้เป็นไปตามที่ กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยใช้กรุงราชคฤห์ เป็นที่บริหารราชการ ท่ามกลางความสับสน และ งงงวย ของ กษัตริย์ ผู้ปกครองแว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ เป็นอย่างมาก

เนื่องจาก พระยากง ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับ ของกษัตริย์ อาณาจักรต่างๆ ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในยุคสมัยนั้น เพราะเคยถูกประณามว่า ไปแย่งชิง พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) ไปครอบครองแล้วมาทอดทิ้ง ในอดีต อย่างไร้ศีลธรรม และยังถูกสงใสว่า อยู่เบื้องหลัง ในการลอบวางยาพิษ นายกพระยาสิเกา และ ทำการฆ่า พระยาสมุทรสาคร อย่างไร้เหตุผล อีกด้วย ดังนั้น การสร้างข่าวตอแหล เพื่อขึ้นสู่อำนาจ นายก ของพระยากง นั้น ไม่ค่อยได้รับความเชื่อถือ จากเชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ และ ประชาชน มากนัก  

ดังนั้นการที่ พระยากง ใคร่ในอำนาจ ประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น จึงกลายเป็นเรื่องตลก มิได้รับการยอมรับ และสนับสนุน จากกษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ อีกทั้ง สภาต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่ พิจารณาคัดเลือกสรร ผู้ที่มีความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่ง นายก ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ต่างมึนงง ไปตามกัน เพราะไม่เคยเกิดเหตุเช่นนี้ ในดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ นายกพระยาสิเกา สวรรคต สภาปุโรหิต ก็ได้มีคำสั่งโปรดเกล้าให้ พระยาธานี แห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามมติการกลั่นกรอง ของ สภาต่างๆ เป็นเหตุให้ พระยากง อับอายขายหน้า ขุนนาง ต่างๆ เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งให้ พระยากง ต้องทำการก่อกบฏ

 

พระยากง ก่อกบฏ ประกาศตั้ง อาณาจักรทวาราวดี ปี พ.ศ.๑๑๔๔

หลังจากเหตุการณ์ที่ สภาปุโรหิต มีมติแต่งตั้งให้ พระยาธานี ดำรงตำแหน่ง นายก แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) เรียบร้อยแล้ว ทำให้ พระยากง อับอายขายหน้ามาก จึงเริ่มดำเนินก่อกบฏ ประกาศตั้ง อาณาจักรทวาราวดี กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) ขึ้นมาแทนที่ อาณาจักรนาคฟ้า ด้วยการนำเอา ๓ อาณาจักรมารวมกัน คือ อาณาจักรทวาย , อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรหงสาวดี มารวมกันแล้วตั้งชื่อใหม่ว่า อาณาจักรทวาราวดี และเปลี่ยนพระนามจาก พระยากง เป็นพระนามใหม่ ว่า ท้าวปรารพ อีกด้วย

ท้าวปรารพ(พระยากง) มหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า ได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรนาคฟ้า มาเป็น อาณาจักรทวาราวดี โดยได้นำเอาชื่อราชธานี ของ ๓ อาณาจักรใหม่ ซึ่ง พระยากง และ พระยาศรีจง เคยมีส่วนร่วมในการปกครอง โดยสร้างชื่ออาณาจักรใหม่ ว่า อาณาจักรทวาราวดี คือ กรุงทวาย , กรุงราชคฤห์ และ กรุงหงสาวดี ตามลำดับ มาผสมคำเป็นคำว่า ทวาราวดี

ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังได้ประกาศให้ กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) เป็นราชธานี ของ อาณาจักรทวาราวดี และมี กรุงหงสาวดี เป็นศูนย์กลางการศึกษา พระพุทธศาสนา ของ อาณาจักรทวาราวดี แทนที่ อาณาจักรเทียนสน อีกด้วย เหล่านี้ คือขั้นตอนในการก่อกบฏ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งสมคบกับ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ในการประกาศจัดตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี มาแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อสร้างอำนาจปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ในอนาคต นั่นเอง

 

 

                              

ภาพที่-๘๙ แผนที่ แสดงที่ตั้งของ อาณาจักรทวาราวดี ซึ่งเกิดขึ้นจากการนำ ๓ อาณาจักร มารวมกัน คือ อาณาจักรทวาย , อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรหงสาวดีการที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ประกาศให้ กรุงหงสาวดี เป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ครั้งนั้น จึงมีการสร้าง มหาวิทยาลัยหงสาวดี ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้วิชาการต่างๆ เช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ ของ อาณาจักรเทียนสน ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังได้ประกาศตั้ง สภาโพธิ ขึ้นเอง โดยไม่ยอมรับ สภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และ ประกาศใช้ กฎมณเฑียรบาล ฉบับใหม่มาใช้ อีกด้วย

 

ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ส่ง ขุนศรีธรนนท์ พระราชโอรสซึ่งประสูติจาก พระนางอุษา ไปปกครอง แคว้นทวาย มีการพัฒนา แคว้นทวาย , แคว้นปากคูหา(มะริด) และ แคว้นรามัน(ตะนาวสี) ให้เป็นเมืองท่า และศูนย์กลางการค้าขายทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ส่วน แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ถูกสร้างให้เป็นเมืองท่า และศูนย์กลางการค้า ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นการประกาศแข่งขันความยิ่งใหญ่ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างชัดแจ้ง

ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ร่วมกับ ราชวงศ์มอญ คือ พระเจ้าจิตรเสน , พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ร่วมกันใช้วัฒนธรรมตอแหล โดยการส่งขุนนาง ออกไปทำการป่าวร้องให้ประชาชนตามแว่นแคว้นต่างๆ ให้เชื่อว่า กษัตริย์ เชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ที่สืบเชื้อสายจาก อัครมเหสี คือ พระนางมาลัย นั้น เป็นกษัตริย์ไม่ทรงธรรม ไม่สมควรปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ สร้างความแตกแยกอย่างหนัก ระหว่าง ชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับเชื้อสายราชวงศ์ ไปจนถึงขุนนาง และ ประชาชน จนกระทั่ง ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องเรียกร้องให้ชนชาติอ้ายไต มีความสามัคคี อีกครั้งหนึ่ง

ส่วน มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน และ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อทราบข่าว ก็พิจารณาเห็นว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) แห่ง อาณาจักรทวาราวดี(นาคฟ้า) กำลังคิดการใหญ่ จะทำการก่อกบฏ ทั้งนี้เพราะ ประเพณีในอดีตที่ผ่านมา เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ต้องไปศึกษา เรียนรู้ ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์(วัดพระคู่) ก่อนที่จะมารับราชการ ณ แว่นแคว้นต่างๆ ดังนั้น การสร้าง มหาวิทยาลัยหงสาวดี ขึ้นมาให้เชื้อราชวงศ์ และ ประชาชน ทั่วไป มาศึกษา นั้น เป็นการทำลายราชประเพณี และบทบาทการนำ ของ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์(วัดพระคู่ ยะลา) เป็นการสร้างความแตกแยกขึ้นมาระหว่างสายราชวงศ์ต่างๆ ภายใน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงเสนอให้ สภาโพธิ์ เปิดประชุมพิจารณาแก้ไขความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น จึงเป็นที่มาของการที่ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ให้กำเนิด วัดเทพนิมิตร(วัดช้างให้) และ มหาวิทยาลัยเทพนิมิตร ขึ้นที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยนาๆ ชาติ และสำหรับสามัญชน ทั่วไป ได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

 

ท้าวปรารพ ก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ปี พ.ศ.๑๑๔๕

ท้าวปรารพ(พระยากง) ร่วมกับ พระเจ้าจิตรเสน , พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ใช้เวลาประมาณ ๑ ปี เพื่อดำเนินการวางแผนก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี ขึ้นแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม)

ท้าวปรารพ(พระยากง) เริ่มต้นก่อกบฏ ด้วยการประกาศเปลี่ยนชื่อ กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) เป็นชื่อใหม่ว่า กรุงทวาราวดี หลังจากนั้น จึงได้ประกาศตั้ง สภาโพธิ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ขึ้นที่ กรุงหงสาวดี พร้อมๆ กับได้ตั้งสภาต่างๆ เช่น สภาตาขุน , สภาเจ้าตาขุน และ สภาปุโรหิต เลียนแบบการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ด้วย ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังได้แต่งตั้งพรรคพวกบริวาร ให้เป็นสมาชิกของ สภาต่างๆ ในระบบการปกครองแบบราชาธิปไต เพื่อทำการเปลี่ยนแปลง กฎมณเฑียรบาล และกฎหมายต่างๆ ให้เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ที่ผสมเผ่าพันธุ์ กับ สายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ มีสิทธิ์ในการสืบทอดราชย์สมบัติ จนถึงตำแหน่งสูงสุด ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี คือ ตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ เพื่อให้เป็นผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด ได้ด้วย

ในระยะแรกๆ ของการประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี นั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) ดำรงตำแหน่งเป็น มหาจักรพรรดิ บริหารราชการอยู่ที่ แคว้นมหาจักรพรรดิ คือ กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ส่วน พระยาหงสาวดี(พระยาศรีจง) ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ บริหารราชการอยู่ที่ กรุงหงสาวดี(พะโค) โดยมี พระเจ้าจิตรเสน เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ดำรงตำแหน่ง นายก บริหารราชการอยู่ที่ เมืองนายก(นครนายก)

ส่วนการปกครองอาณาจักรต่างๆ นั้น ในขณะนั้น พระเจ้าศรีพาระ เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรอีสานปุระ มี พระเจ้าศรีอีสาน พระราชโอรส ของ พระเจ้าจิตรเสน เป็นมหาอุปราชของ อาณาจักรอีสานปุระ พระเจ้านันทเสน เป็น มหาราชา ของ อาณาจักรทวาราวดี บริหารราชการอยู่ที่ แคว้นนันทเสน(สะโตง) และมี ขุนศรีธรนนท์ กรุงทวาย เป็นมหาอุปราช ของ อาณาจักรทวาราวดี ในขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุย่างเข้า ๑๖ พรรษา เท่านั้น

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ พระนางแก้วงาบเมือง ถือเป็น แม่พระธรณี ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ภาคเหนือ เป็นเหตุให้ พระนางอุษา ซึ่งมี ๒ พระภัสดา(สามี) ต้องชอกช้ำระกำใจมาก อีกครั้งหนึ่ง เพราะ พระนางอุษา จะไม่มีโอกาสเป็น แม่พระธรณี ตามที่พระนางอุษา เคยมีความใฝ่ฝัน อีกต่อไป เพราะขัดกับ กฎมณเฑียรบาล ที่กำหนด  

การประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ในระยะแรกๆ นั้น ประกอบด้วย ๗ อาณาจักร คือ อาณาจักรทวาราวดี(อาณาจักรทวาย + อาณาจักรนาคฟ้า + อาณาจักรหงสาวดี) , อาณาจักรอีสานปุระ(กาละศีล) , อาณาจักรอ้ายลาว(เชียงบาน) , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) , อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) และ อาณาจักรพิง(ฝาง) ส่วน อาณาจักรคามลังกา(ขอม) , อาณาจักรโพธิ์ใน(ลาวภาคใต้) , อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ซึ่งมีอาณาเขตข้าเคียง กับ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ไม่ยอมเข้าร่วมด้วย ทำให้เกิดสงครามแย่งชิงดินแดน ระหว่างกันในเวลาต่อมา

ส่วน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) คงเหลืออาณาจักรต่างๆ ประกอบด้วย ๙ อาณาจักร เท่านั้น คือ อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) , อาณาจักรชวาทวีป , อาณาจักรคามลังกา , อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) อาณาจักรโพธิ์ใน(ลาวภาคใต้) , อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) , อาณาจักรตาเกี๋ย(ไตจ้วง) , อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) และ อาณาจักรไตหวัน(เกาะไต้หวัน) เท่านั้น โดยมีอาณาจักรเมืองขึ้น อีก ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวะนออก) อีกด้วย

ท้าวปรารพ(พระยากง) ยังได้สร้าง เงินเหรียญทวาราวดี มาใช้แทนที่ เงินไพ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกด้วย พร้อมกันนั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้จัดส่งคณะราชทูต ให้นำพระราชสาส์น ไปมอบให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ณ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) เสนอให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี โดยดี มิฉะนั้น จะส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทั้งหมด ทันที

 

                          

ภาพที่-๙๐ ภาพถ่าย เหรียญเงินทวาราวดี ซึ่งใช้เป็นเงินตรา ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ทั้งสองด้าน ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใช้ ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า เมื่อท้าวปรารพ(พระยากง) ก่อกบฏ ด้านหนึ่ง มีภาษาสันสกฤต เขียนว่า ศรีทวารวดี ศวรปุญยะ แปลว่า บุญกุศล ของกษัตริย์ แห่ง ทวาราวดี  

 

      เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ปฏิเสธที่จะยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ให้คณะราชทูต นำพระราชสาส์น ไปส่งให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) เสนอให้รีบสละราชย์สมบัติ ออกผนวช เพื่อให้พ้นความผิด ฐานก่อการกบฏ พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ไปยัง อาณาจักรต่างๆ มิให้ร่วมมือกับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็นกบฏต่อแผ่นดินสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ท้าวปรารพ ต้องเสด็จไปทำการเกลี้ยกล่อม อาณาจักรต่างๆ เป็นที่มาให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องแตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก พร้อมกับได้เกิด สงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ ในเวลาต่อมา

 

                        

ภาพที่-๙๑ แผนที่ ที่ตั้งอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดีเท้าวปรารพ ใช้วิชาตอแหล สร้างความแตกแยกให้กับ อาณาจักรศรีชาติตาลู

 

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่ยอมสละราชย์สมบัติ ออกผนวช ตามข้อเสนอ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เร่งจัดให้ สภาโพธิ จัดส่ง พระธรรมทูต เดินทางไปยังอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง อย่างลับๆ เพื่อให้มหาราชา ของ อาณาจักรต่างๆ ถอนตัว ออกจากการปกครองของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี หรือ แยกตัวออกเป็นอิสระ ชั่วคราว จนกว่าการทำสงครามปราบปรามกบฏ ท้าวปรารพ(พระยากง) และพวก จะสิ้นสุดลง

ผลของการส่งพระธรรมทูต ของ สภาโพธิ ครั้งนั้น ส่งผลดีให้ อาณาจักรต่างๆ ประกาศแยกตัวออกเป็นอิสระ จากทั้ง ๒ คู่ความขัดแย้ง ชั่วคราว คือ อาณาจักรศรีชาติตาลู , อาณาจักรโกสมพี , อาณาจักรพิง , อาณาจักรยวนโยนก และ อาณาจักรอ้ายลาว ได้ประกาศเป็นกลางไม่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ ท้าวปรารพ ทำให้ สหราชอาณาจักรทวาราวดี จึงประกอบด้วย ๒ อาณาจักรเท่านั้น คือ อาณาจักรทวาราวดี และ อาณาจักรอีสานปุระ

พ่อหงสาวดี(พระยาศรีจง) ซึ่งถูกแต่งตั้งเป็น จักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี โดยที่พระองค์ไม่ทราบมาก่อน ได้ขอสละราชย์สมบัติตามการร้องขอ ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ด้วย และ ได้เสด็จกลับไปประทับอย่างลับๆ ณ แคว้นสมุทรปราการ กรุงดอนเมือง เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบข่าว จึงรีบเสด็จไปยัง แคว้นหงสาวดี เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ ขุนศรีธรนนท์ ไปปกครอง แคว้นหงสาวดี แทนที่ทันที พร้อมกับเสด็จไปเกลี้ยกล่อม มหาราชาเจ้าไทยหลง แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ด้วย  

เนื่องจาก ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่พอพระทัยที่ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ถอนตัวออกจากการปกครองของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) พยายามสร้างความแตกแยกขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ด้วย หวังที่จะทำสงครามยึดครอง ในภายหลัง

ผลจากการที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) เสด็จเยี่ยมเยียน อาณาจักรศรีชาติตาลู ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์คำ ครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาในดินแดน ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู ด้วย เนื่องจาก พระเจ้านันทเสน ราชวงศ์ชนชาติมอญ-ทมิฬ แห่ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ได้วางกุลอุบายให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไปลักลอบได้เสียกับ พระนางเมือง(พระนางละไม้) ซึ่งเป็น อัครมเหสี ของ มหาอุปราช เจ้าผาแม้วหลง ซึ่งยังไม่มีพระราชโอรส และพระราชธิดา โดยที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ไปลักลอบเข้าหา พระนางเมือง ขณะที่ พระนางเมือง เสด็จไปสรงน้ำ ณ แม่น้ำ แห่งหนึ่ง จนพระนางทรงพระครรภ์ แล้วใช้วัฒนธรรมตอแหล ให้พระเจ้านันทเสน สร้างข่าวใส่ความว่า พระนางเมือง เป็นชู้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) เพื่อสร้างความแตกแยกขึ้น ในสายราชวงศ์คำ นั่นเอง

เมื่อข่าวดังกล่าว ถูกเผยแพร่ ออกไป จึงได้มีเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ในดินแดน อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู(โพธิ์อู่ติ่ง) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๔๕ ซึ่งขณะนั้น อาณาจักรศรีชาติตาลู ปกครองโดย มหาราชาเจ้าไทยหลง มี มหาอุปราชเจ้าผาแม้วหลง เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ในเรื่องนี้ พงศาวดารไทอาหม ได้บันทึก สรุปถึงเหตุการณ์ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น มีใจความตอนหนึ่งว่าª-๔

...พระนัดดา แห่ง พระเจ้าแห่งสรวงสวรรค์(พระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิแห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ผู้ตั้งตนเป็น มหาจักรพรรดิ) คือ พระอินทร์(ท้าวปรารพ) ได้เสด็จลงมาสรงน้ำในแม่น้ำ ซึ่งพระราชินี(พระนางเมือง) ของ พะเมียวหลวง(เจ้าผาแม้วหลง) เสด็จไปที่นั่น ด้วย และได้ร่วมสังวาสกัน จึงทรงครรภ์ ตอนนั้น พระราชินี(พระนางเมือง) ประทับอยู่กับท้าวเซ็นหลวง พระราชบิดา ในลัคนิมังมุท สุขหันฟ้าผู้ยิ่งใหญ่ ก็ประสูติ สุขหันฟ้า(เจ้าชายสุขอาภา) ประทับอยู่กับ ท้าวเซ็นหลวง ครั้นเมื่อ มหาราชาเจ้าช้างเยอ สิ้นพระชนม์ พะเมียวหลวง(เจ้าผาแม้วหลง) ก็ทรงกระทำ อัตวิบากกรรม ด้วยการเชือดพระศอ ด้วยมีด สวรรคต...

เนื่องจาก พระนางเมือง ที่กล่าวถึง มีพระราชโอรสอย่างลับๆ พระองค์หนึ่ง กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) มีพระนามว่า เจ้าชายสุขอาภา ซึ่งทุกคนเข้าใจว่า เป็นพระราชโอรส ของ มหาอุปราชเจ้าผาแม้วหลง กับ พระนางเมือง(พระนางละไม้) ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์ ของ อาณาจักรไทยอาหม แต่ในเวลา ๒ ปี ต่อมา เมื่อมีการใช้วัฒนธรรมตอแหล ทำให้ความขัดแย้ง ได้ปะทุขึ้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ พระนางเมือง จึงแขวนคอพระนางเอง สวรรคต

ส่วน เจ้าผาแม้วหลง ต้องตัดสินพระทัยฆ่าตัวตาย เพราะกฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไม่ยอมรับ การมีชู้ โดยถือว่า มหาราชา ต้องรับผิดชอบด้วย โดยต้องถูกถอดถอน ออกจากตำแหน่ง มหาราชา เหตุการณ์ครั้งนั้น ต่อมาในปี พ.ศ.๑๑๔๗ ทำให้อาณาจักรต่างๆ ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์คำ คือ อาณาจักรศรีชาติตาลู , อาณาจักรโกสมพี และ อาณาจักรพิง ได้รวมกันเป็น สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู ทำการปกครองโดยอิสระในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง ส่วน เจ้าชายสุขอาภา เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม จึงถูกเนรเทศ ให้ไปสร้างอาณาจักรใหม่ ซึ่งเป็นที่มาของการก่อกำเนิด อาณาจักรไทยอาหม ในเวลาต่อมา นั่นเอง

 

สงครามระหว่าง อาณาจักรอีสานปุระ กับ อาณาจักรคามลังกา ปี พ.ศ.๑๑๔๖

ภายหลังจากการที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี เพียง ๒ ปี เท่านั้น สหราชอาณาจักรทวาราวดี ก็คงเหลืออาณาจักรภายใต้การปกครองเพียง ๒ อาณาจักร เท่านั้น คือ อาณาจักรทวาราวดี และ อาณาจักรอีสานปุระ อีกทั้ง พระยาศรีจง(พ่อหงสาวดี) ก็สละราชย์สมบัติ สละตำแหน่ง จักรพรรดิ อีกด้วย

ดังนั้น เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) เสด็จกลับมายัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ก็ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าจิตรเสน ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ มี พระเจ้าศรีพาระ มาดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ในช่วงเวลาดังกล่าว ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงมีนโยบายให้ทำสงครามปราบปราม ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ซึ่งมาสมรสเกี่ยวดองกับ ราชวงศ์ศรีนเรนทราทิตย์ เป็นกษัตริย์ปกครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา คือ พระยาจันทร์(ปกครอง แคว้นจันทบูรณ์) , พระยาอินทร์(ปกครอง แคว้นอินทปัต) , พระยาแก้ว(ปกครอง แคว้นตาแก้ว) และ พระยาสุวรรณ(ปกครอง แคว้นโพธิสารหลวง)

ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้มอบให้ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง เมืองศรีมโหสถ(ปราจีนบุรี) และ พระเจ้าศรีพาระ แห่ง เมืองนายก(นครนายก) ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ตามที่กล่าวมา

ตำนานเรื่องราวของ เจ้าชายโยธิกา พระราชโอรสลับของ พระนางโกสมพี กับ ท้าวมหาฤกษ์ กล่าวถึงผลของสงครามครั้งนั้นโดยสรุปว่า เหตุการณ์ของสงครามเกิดขึ้นในขณะที่ เจ้าชายโยธิกา มีพระชนมายุ ๑๖ พรรษา(พ.ศ.๑๑๔๖) ประทับอยู่กับ พระนางโกสมพี ณ เมืองโยธิกา ปากแม่น้ำโยธิกา เมื่อเกิดสงครามขึ้น พระนางโกสมพี ต้องนำเจ้าชายโยธิกา หนีภัยสงคราม อพยพไปตั้งรกรากใหม่ ณ แคว้นนที(อยุธยา) สงครามครั้งนั้น เจ้าชายโยธิกา ได้เข้าร่วมสงครามในกองทัพของ ท้าวไกรสร มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง ด้วย สงครามเป็นไปอย่างดุเดือด จนกระทั่ง ท้าวไกรสร มีพระนามใหม่ว่า พระยาโหด

 

                                       

ภาพที่-๙๒ เทวรูป สลักภาพนูนต่ำในแผ่นหิน พบที่ เมืองฟ้าแดดสูงยาง(มหาสารคาม) แว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรอีสานปุระ จากรูปลักษณ์ในภาพ สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นเทวรูปจำลอง พระเจ้าจิตรเสน กับ พระเจ้านันทเสน หรือ พระเจ้าศรีพาระ ทั้งนี้เพราะคำกลอนกล่อมลูก ในท้องที่ภาคใต้ เล่าเรื่องราวของ พระเจ้าจิตรเสน , พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ กล่าวถึงลักษณะ ของ กษัตริย์มอญทั้งสามพระองค์ว่า ... ผิวดำ หน้ากร้อ(พระเจ้าจิตรเสน) คอเอียง(พระเจ้านันทเสน) พูดสองเสียง(พระเจ้าศรีพาระ) คบไม่ได้...

 

ในขณะที่ กองทัพอาณาจักรอีสานปุระ ซึ่งนำทัพโดย พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้าศรีพาระ เข้าทำสงครามโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร นั้น ท้าวไกรสร ได้นำกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ คือ แคว้นศรีมหาโพธิ์ , แคว้นศรีมโหสถ , แคว้นนายก และ แคว้นพระรถ ในดินแดนภาคตะวันออก ของ อาณาจักรทวาราวดี ไปเป็นของ อาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จ กองทัพของ อาณาจักรอีสานปุระ ไม่สามารถยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกาได้เลย ซ้ำร้าย มีกองทัพจาก อาณาจักรโพธิ์ใน(ลาวภาคใต้) และ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เข้ามาหนุนช่วยด้วย เป็นเหตุให้ กองทัพใหญ่ ของ พระเจ้าจิตเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ต้องถอนทัพกลับคืนสู่ อาณาจักรอีสานปุระ เข้ายึดครอง แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) ไปครอบครอง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นศรีอีสาน(ศรีเทพ) ประกาศปกครองอิสระ แยกตัวออกจาก สหราชอาณาจักรทวาราวดี เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ต้องล่มสลายลงทันที

ภายหลังสงครามครั้งนั้น เจ้าชายโยธิกา ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงจันทร์ สายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ ณ แคว้นนที(อยุธยา) ต่อมาได้มีพระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ เจ้าหญิงนวลจันทร์(อัครมเหสี ของ พ่อศรีทรัพย์) , เจ้าหญิงจันทร์เทวี(ผู้สร้างแคว้นหิรัญภุญชัย) และ เจ้าหญิงศรีจันทร์(อัครมเหสี ของ จตุคามรามเทพ) คือ ปฐมวงศ์ ของ ราชวงศ์จันทร์วงศ์ ซึ่งได้เข้าไปอภิเษกสมรสเกี่ยวดอง กับ ราชวงศ์อู่ทอง ซึ่งมีบทบาทในการให้กำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)ในเวลาต่อมา

 

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก ปี พ.ศ.๑๑๔๗

ภายหลังสงครามระหว่าง อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรคามลังกา ทำให้ อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาก่อน ได้รวมกลุ่มกัน ปกครองโดยอิสระ ทั้งหมด ๖ ก๊ก เพื่อรอเวลาให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา ทำสงครามปราบปราม กบฏท้าวปรารพ(พระยากง) ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน

ในช่วงเวลาดังกล่าว มหาอาณาจักรจีน เกรงว่า ถ้าหากว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) มีเอกภาพ รวมตัวเป็นปึกแผ่น และเข้มแข็งขึ้น อาจจะส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครองดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี และ กวางเจา) ซึ่ง กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามยึดครองไป กลับคืนอีก เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน พยายามส่ง คณะราชทูต มาติดต่อกับ กลุ่มอาณาจักรต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างลับๆ เพื่อมอบ ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) เสนอให้เป็นรัฐภายใต้การอารักขาของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งเป็นไปตามนโยบาย แยกสลายแล้วปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน นั่นเอง

ในช่วงเวลาดังกล่าว ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้พยายามส่งคณะราชทูตไปชักจูง ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้รวมตัวกันเป็น สหราชอาณาจักรมหาจามปา อีกด้วย โดยนำเอา อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา-ภาคตะวันตก) มารวมกันเป็น สหราชอาณาจักรมหาจามปา เพื่อก่อสงครามขึ้นมาภายในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ตามตำราพิชัยสงครามของ ซุนหวู่ อีกครั้งหนึ่ง

ในระหว่างปี พ.ศ.๑๑๔๗-๑๑๕๐ คือระยะเวลาที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) พยายามทำสงครามปราบปรามกบฏ ท้าวปรารพ(พระยากง) นั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ได้รวมกลุ่มกันปกครองโดยอิสระ แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก คือ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู(อาณาจักรศรีชาติตาลู + อาณาจักรโกสมพี + อาณาจักรพิง) , อาณาจักรทวาราวดี , อาณาจักรอีสานปุระ(อาณาจักรอีสานปุระ + อาณาจักรยวนโยนก) , สหราชอาณาจักรคามลังกา(อาณาจักรคามลังกา + อาณาจักรอ้ายลาว + อาณาจักรโพธิ์ใน + อาณาจักรโพธิ์หลวง) , สหราชอาณาจักรมหาจามปา(อาณาจักรจามปา + อาณาจักรเวียตน้ำ + อาณาจักรโจฬะน้ำ + อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ) และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ(อาณาจักรชวาทวีป + อาณาจักรเทียนสน + อาณาจักรหลินยี่ + อาณาจักรตาเกี๋ย + อาณาจักรไหหลำ + อาณาจักรไทเป + อาณาจักรกลิงค์รัฐ + อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง) นั่นเอง

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งเขียนบันทึกขึ้นโดย พระถังซำจั๋ง ได้บันทึกว่า พระถังซำจั๋ง ขณะที่เดินทางจากดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย นั้น เมื่อเดินทางไปถึง เมืองสมตฏะ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ นั้น บันทึกจดหมายเหตุ ของ พระถังซำจั๋ง ได้กล่าวถึงที่ตั้งของประเทศ ต่าง ๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร โดยได้กล่าวถึง ๖ ประเทศ หรือ ๖ ก๊ก ในดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร โดยใช้สำเนียงจีน ทับศัพท์ มีข้อความบันทึกตอนหนึ่งว่า...

"...ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ(ของแคว้น สมมตฏะ) จากนี้ไปตามชายฝั่งทะเล เมื่อพ้นภูเขาและหุบเขาไปแล้ว คือ ประเทศ ชี-ลี-ชา-ตา-หลอ(สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู) ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตอนปากอ่าว  เป็น ประเทศ กาม-ลัง-กา(สหราชอาณาจักรคามลังกา) ต่อจากนี้ไปทางทิศตะวันออก(ของแคว้นสมมตฏะ) เรียกว่า ประเทศ ตุย-ลอ-ปอ-ตี่(อาณาจักรทวาราวดี) ต่อไปทางทิศตะวันออกคือ ประเทศ อี-ขัง-นา-ปู-ลอ(สหราชอาณาจักรอีสานปุระ) ต่อนั้นไปทางทิศตะวันออก(ของสหราชอาณาจักรอีสานปุระ) คือ ประเทศ มอ-ฮอ-จอม-ปอ(สหราชอาณาจักรมหาจามปา) และต่อไปทางทิศตะวันตก(ของสหราชอาณาจักรมหาจามปา) เป็น ประเทศ เยียม-วอ-นา-เจา(อาณาจักรชวาทวีป หรือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) รวมเป็นดินแดน ๖ ประเทศนี้ (ถ้าจะเดินทางไป)  ต้องเดินทางผ่านภูเขา และ ทะเล แม้ว่าตนเอง มิได้ไปถึงอาณาเขตของประเทศที่กล่าวมาก็จริง  แต่ก็พอทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณี  ของชนชาวประเทศดังกล่าวบ้าง พอสมควร..."ª-

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ของ พระถังซำจั๋ง ขณะที่เดินทางจาก มหาอาณาจักรจีน ไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ในประเทศอินเดีย นั้น เป็นการชี้ให้เห็นว่า ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ นั้น ได้แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก หลักฐานดังกล่าว เป็นการชี้ให้เห็นถึงตำแหน่งที่ตั้งของ ก๊กต่างๆ ที่ชัดเจน และชี้ให้เห็นว่า ดินแดนทางใต้ ของประเทศไทยในปัจจุบัน เคยถูกเรียกชื่อว่า อาณาจักรชวาทวีป มาก่อน

 

                                          

ภาพที่-๙๓ ภาพวาดลายเส้น พระถังซำจั๋ง ขณะที่เดินทางโดยทางบกไปจาริกแสวงบุญ ในประเทศอินเดีย พร้อมกับได้ศึกษา ณ มหาวิทยาลัยนาลันทา ได้เขียนบนทึกกล่าวถึง อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ ได้แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก  

 

อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) ประกาศแยกตัวเป็นอิสระ ปี พ.ศ.๑๑๔๗

หลังจากที่ พระนางเมือง(พระนางละไม้) ผูกคอตาย และ มหาอุปราชเจ้าผาแม้วหลง ต้องตัดสินพระทัย เชือดพระศอ พระองค์เอง สวรรคต ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น จึงได้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง ระหว่าง อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) , อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) และ อาณาจักรพิง(ฝาง) สายราชวงศ์คำ กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) แห่ง อาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี ความขัดแย้งดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจาก วัฒนธรรมตอแหล และการไม่ปฏิบัติตามศีลธรรมอันดี ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) นั่นเอง

เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มหาราชาเจ้าจ่อจุ่น ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระนางโกสมพี ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรโกสมพี พระนางโกสมพี จึงต้องเสด็จไปยัง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี เพื่อเคารพพระบรมศพพระราชบิดา จึงเป็นโอกาสให้ พระนางโกสมพี ได้ถ่ายทอดเรื่องราวข้อเท็จจริง ต่างๆ ถึงความไม่เหมาะสม ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ที่ร่วมกับ พระเจ้าจิตรเสน , พระเจ้านันทเสน และ พระเจ้าศรีพาระ วางแผนก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาโดยตลอด

พระนางโกสมพี ไม่ต้องการให้ มหาราชาเจ้าจ่อจุ่น แห่ง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ร่วมมือกับ ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงเป็นที่มาให้ อาณาจักรโกสมพี(กรุงแสนหวี) ขัดแย้งกับ อาณาจักรทวาราวดี เรื่อยมา ความขัดแย้งได้ลุกลามขยายตัว มายัง อาณาจักรพิง(ฝาง) ในเวลาต่อมา เนื่องด้วยวัฒนธรรมตอแหล ด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว ราชวงศ์คำ แห่ง อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) , อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) และ อาณาจักรพิง(ฝาง) ประกาศไม่ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรทวาราวดี และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทั้งสามอาณาจักร ได้รวมกัน ภายใต้การปกครองเดียวกัน เรียกว่า สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู หรือ ประเทศศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทราบความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เห็นเป็นโอกาสดี จึงเร่งส่งคณะราชทูตมาสร้างความสัมพันทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ เป็นต้นมา

      หลักฐานต่างๆ ที่จดหมายเหตุจีน บันทึกไว้ จะเห็นว่า สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู ซึ่งประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ๓ อาณาจักร เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์คำ ได้แยกตัวออกเป็นอิสระจาก สหราชอาณาจักรทวาราวดี และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เรียบร้อยแล้ว พุทธศาสนา และ วัฒนธรรมต่างๆ ที่จดหมายเหตุจีน กล่าวถึง คือวัฒนธรรม ของ ชนชาติอ้ายไต ที่มาจากดินแดน อาณาจักรชวาทวีป กรุงโกสมพี(ไชยา) ในอดีต นั่นเอง

      หลักฐานจากจดหมายเหตุจีน ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์คำ จาก แคว้นโกสมพี(ไชยา) แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ได้นำพระพุทธศาสนา เข้าไปยังดินแดนพม่าในปัจจุบัน จากแคว้นโกสมพี(ไชยา) นั่นเอง หลักฐานพระพุทธรูปบัวเข็ม ซึ่งกำเนิดที่ แคว้นพันพาน ซึ่งนับถือกันในดินแดนของประเทศพม่าในปัจจุบัน ขุดพบกันมากบริเวณควนสราญรมย์ อ.พุนพิน และ ในท้องที่ต่างๆ ของ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยเช่นกัน

      หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งได้บันทึก ว่า สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) มีอำนาจการปกครองเหนือแว่นแคว้นต่างๆ ถึง ๑๘ แว่นแคว้น คือแว่นแคว้น ของทั้ง ๓ อาณาจักร ที่นำมารวมเข้าเป็น สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู ส่วนใหญ่เป็นแว่นแคว้นซึ่งตั้งอยู่ในดินแดน ของประเทศพม่า ในปัจจุบัน แสดงให้เห็นชัดเจนว่า อาณาจักรทั้ง ๓ อาณาจักร แห่ง สายราชวงศ์คำ ในดินแดนประเทศพม่า ในปัจจุบัน นั้น เป็นที่ตั้งของรัฐชนชาติอ้ายไต มาก่อนอย่างยาวนาน ก่อนที่ ชนชาติมอญ , ชนชาติทิเบต และ ชนชาติทมิฬโจฬะ จะทำสงครามยึดครองไป และเปลี่ยนแปลงเป็นประเทศพม่า อีกครั้งหนึ่งª-

 

สาเหตุของ สงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ ปี พ.ศ.๑๑๔๘

หลังจากที่ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ลอบฆ่า ฮ่องเต้หยางเจียน พระราชบิดา ของ พระองค์ จนกระทั่ง สวรรคต เพื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๗ เรียบร้อยแล้ว ก็ทราบข่าวว่า พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ พ่ายแพ้สงครามต่อกองทัพของ อาณาจักรคามลังกา อย่างยับเยิน ต้องถอยทัพกลับมายึดครอง แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรอีสานปุระ กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ)

มีแนวโน้มว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อาจจะรวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยางกวง เริ่มเข้าแทรกแซง อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง จึงได้ส่งคณะราชทูต มาติดต่อกับ กษัตริย์ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา และ กษัตริย์ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เพื่อยุยงให้ทำการก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับ ดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต ที่ มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามยึดครองไป ก่อนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จะเข้มแข็งขึ้น และทำสงครามยึดครอง ดินแดนมหาอาณาจักรไตจ้วง กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง

ในช่วงเวลาที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก นั้น ฮ่องเต้หยางกวง จึงต้องเร่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) ตามที่กล่าวมาแล้ว ทันที นอกจากนั้น ฮ่องเต้หยางกวง ยังได้ส่งคณะราชทูต พร้อมด้วยขุนนางขันทีผู้เชี่ยวชาญในการวางแผนทำสงครามมาติดต่อกับ พระเจ้าจิตรเสน แห่ง สหราชอาณาจักรอีสานปุระ และ พระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา เพื่อวางแผนใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร พร้อมๆ กัน ๗ สมรภูมิ คือที่มาของ สงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๔๘ เป็นต้นมา

การที่สงครามครั้งนี้ถูกเรียกชื่อว่า สงครามตอแหล นั้น เพราะลักษณะของสงครามแตกต่างจากสงครามที่ผ่านมา เพราะมีการนำวิชาตอแหล มาใช้ใส่ความผู้ปกครอง ในแต่ละสมรภูมิสงคราม เพื่อสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน ก่อนที่จะทำสงคราม ยึดครอง อีกทั้งสงครามตอแหล ได้สิ้นสุดลงเมื่อ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ต้องทำสงครามปราบปราม พระนางตอแหล(พระนางอุษา) ณ สมรภูมิ เมืองท่าชนะ สงครามจึงสิ้นสุดลง สงครามครั้งนี้จึงถูกเรียกชื่อว่า สงครามตอแหล เป็นตำนาน เล่าสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ คือ สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรยวนโยนก , สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี , สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี , สมรภูมิ อาณาจักรตาเกี๋ย , สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) , สมรภูมิ เขากง อาณาจักรเทียนสน และ สมรภูมิ เมืองท่าชนะ สงครามทั้ง ๗ สมรภูมิ เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ แต่ยุติไม่พร้อมกัน สงครามยืดเยื้อไปถึงปี พ.ศ.๑๑๕๐

สงครามตอแหล ยุติลงเมื่อ พระราชา แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ร่วมกันบริจาคเงินทองและทรัพย์สินต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้าง วัดศรีราชัน ขึ้นที่ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) พร้อมกับให้สัญญาร่วมกันว่า จะไม่นำวัฒนธรรมตอแหล มาสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกต่อไป พร้อมกับมีการสร้าง เงินเหรียญชิตังเม เรียกว่ารุ่น เราชนะวัฒนธรรมตอแหลแล้ว มาใช้ในดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ในรัชกาลต่อมาด้วย เงินเหรียญชิตังเม ดังกล่าว พบกันมากในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน  

คำพังเพย ที่ผู้สูงอายุ ในท้องที่ภาคใต้ นำไปใช้สั่งสอนบุตรหลาน ในการสังเกต บุคลิกลักษณะของ บุคคลประเภทต่างๆ ว่า สมควรคบเป็นมิตรได้หรือไม่ คือคำพังเพยที่ว่า ...ผิวดำ หน้ากร้อ(พระเจ้าจิตรเสน) คอเอียง(พระเจ้านันทเสน) พูดสองเสียง(พระเจ้าศรีพาระ) คบไม่ได้... คำพังเพยดังกล่าว มีความเป็นมาจากตำนานเรื่องราวที่กล่าวถึงสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิที่กล่าวมา ด้วยเช่นกัน

คำพังเพยที่กล่าวมา คือบุคลิกลักษณะ ของ บุคคล ๓ ประเภท ที่มักจะมีนิสัยสันดาน ชอบโกหกตอแหล ซึ่งไม่ควรคบหาสมาคมเป็นมิตรด้วย บุคลิกลักษณะที่ ๑ คือ หน้าตาแบบ พระเจ้าจิตรเสน คือ ผิวดำ หน้ากร้อ คำว่า หน้ากร้อ ในที่นี้หมายถึง รูปร่างหน้าตา รวมทรงผม กลมเหมือนกับลูกตะกร้อ บุคลิกลักษณะที่ ๒ คือ คอเอียง หมายถึงตัวอย่างบุคลิกลักษณะเช่นเดียวกันกับ พระเจ้านันทเสน ซึ่งชอบทำคอเอียง ชำเลืองดูผู้อื่น มักจะมีความระแวง และชอบดูถูก ผู้อื่น และ บุคลิกลักษณะที่ ๓ คือ พูดสองเสียง หมายถึงเสียงพูดเช่นเดียวกับ พระเจ้าศรีพาระ คือ เสียงพูด มีทั้งเสียงผู้หญิง และ เสียงผู้ชาย ตำนานเรื่องราวคำพังเพยที่กล่าวมา คือเรื่องราวของกษัตริย์มอญ ๓ พระองค์ ที่ก่อกบฏ ต่อ ชนชาติอ้ายไต นั่นเอง และนำมาเล่าเรื่องราวของ สงครามตอแหล สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

พระนางอุษา อพยพไปประทับ ณ เมืองคลองวัง(ท่าชนะ) ปี พ.ศ.๑๑๔๘

      ตำนานท้องที่ คันธุลี เล่าเรื่อง พระนางอุษา หรือ แม่นางส่ง สืบทอดกันมาว่า เมื่อ พระยาศรีจง ทราบข่าวว่า พระเจ้าจิตรเสน ทำการก่อกบฏประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรอีสานปุระ กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ) ขึ้นแทนที่ สหราชอาณาจักรทวาราวดี นั้น ท้าวปรารพ จึงได้มาร้องขอให้ พระยาศรีจง รับตำแหน่ง มหาอุปราช ของ อาณาจักรทวาราวดี ดังเดิม

      ในขณะที่ มีการนำวัฒนธรรมตอแหล ปล่อยข่าวสร้างความขัดแย้งระหว่างชนชาติอ้ายไต ไปทั่วดินแดนของ อาณาจักรทวาราวดี นั้น ขณะนั้น พระยาศรีจง ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นสมุทรปราการ กรุงดอนเมือง ต่อมาไม่นาน ก็ทราบข่าวว่า ได้เกิดสงครามตอแหล ขึ้น ๗ สมรภูมิ โดยที่ พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้าศรีพาระ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี อาณาจักรทวาราวดี ๒ ทาง หวังที่จะครอบครองดินแดน อาณาจักรทวาราวดี ทั้งหมดด้วย

      พระยาศรีจง พิจารณาเห็นว่า ดินแดนของ อาณาจักรทวาราวดี ไม่ปลอดภัย จึงรับสั่งให้มเหสี ทั้งสองพระองค์ คือ พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) และ พระนางสุรณี นำพระราชโอรสทั้ง ๒ พระองค์ พร้อมไพร่พล ให้อพยพไปหลบภัยสงคราม ณ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และ เมืองกลิงค์(ดอนธูป) แคว้นครหิต(คันธุลี) ตามลำดับ ขณะนั้น ทั้งสองแว่นแคว้น เป็นแคว้นร้าง จึงถูกนำไปใช้เป็นสถานที่หลบภัยสงคราม ชั่วคราว

       เนื่องจากขณะนั้น พระนางอุษา(แม่ธรณีบีบมวยผม) มเหสีฝ่ายซ้าย ประทับอยู่ที่ เมืองจักรนารายณ์(นครไชยศรี จ.นครปฐม) ได้นำพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายศรีธรรมโศก ซึ่งยังมีพระชนมายุ ๑๒ พรรษา เดินทางจาก เมืองจักรนารายณ์(นครไชยศรี จ.นครปฐม) พร้อมกับ ตาตอ และ ตาแหล ขุนนางขันที ผู้ติดตามมารับใช้ พระนางอุษา มาแต่ดั้งเดิม เพื่อเดินทางไปตั้งรกราก ณ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) โดยได้สร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ที่ บริเวณถ้ำตะเกียบ ของ ภูเขากั้นเขต(ภูเขาประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี) พร้อมกับเปลี่ยนพระนามใหม่เพื่ออำพราง ในพระนามใหม่ว่า "แม่นางส่ง" ทำหน้าที่เป็นกษัตริย์สตรี ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อทำหน้าที่ จัดส่งเสบียงกรัง ให้กับกองทัพ ของ พระยาศรีจง ด้วย

 

                  

   ภาพที่-๙๔ ภาพปูนปั้นในภาพ พบที่เมืองนครปฐม สันนิษฐานว่า เป็นภาพปูนปั้นที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออธิบายประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ในขณะที่เกิดสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ เป็นเหตุให้ พระนางอุษา พร้อมกับ ตาตอ และ ตาแหล ต้องอพยพหนีภัยสงครามจาก เมืองจักรนารายณ์(นครไชยศรี จ.นครปฐม) ลงเรือสำเภา ไปเป็นกษัตริย์สตรี ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งได้ร้างไป โดยที่พระนางอุษา ได้ไปสร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ที่ บริเวณถ้ำตะเกียบ ภูเขากั้นเขต(ภูเขาประสงค์) เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘

 

      พระยาศรีจง ยังได้รับสั่งให้ พระนางอุษา ทำการรื้อฟื้น แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งร้างไป เพื่อให้ เจ้าชายศรีธรรมโศก เป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ในอนาคต ดังนั้นเมื่อ พระนางอุษา เสด็จถึง เมืองคลองวัง จึงได้จัดส่ง เจ้าชายศรีธรรมโศก ให้เสด็จไปอาศัยอยู่กับพระญาติวงศ์สายตระกูลหยาง เพื่อศึกษาต่อ ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งเป็นที่มา เจ้าชายศรีธรรมโศก ได้เจ้าหญิงจีน มาเป็นอัครมเหสี ในเวลาต่อมาด้วย

 

                          

  ภาพที่-๙๖ ภาพถ่ายฆ้องโบราณขนาดใหญ่ สูงเท่าตัวคน พบที่ จ.มุกดาหาร ผู้สูงอายุในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ กล่าวกันว่า ฆ้องลักษณะดังในภาพ พระนางสุรณี เคยนำไปยัง แคว้นครหิต(คันธุลี) ด้วย เคยขุดพบทางทิศตะวันตก ของ ต้นโพธิ์ทอง บริเวณวัดศรีราชัน แต่ไม่สามารถนำขึ้นมาได้ แม้ว่าได้นำช้างไปช่วยลาก และยังคงฝังดิน อยู่ในปัจจุบัน

     

      ส่วน พระนางสุรณี มเหสีฝ่ายขวา ของ พระยาศรีจง ได้นำ เจ้าชายศรีทรัพย์ ซึ่งมีพระชนมายุประมาณ ๒-๓ พรรษา ได้อพยพไพร่พล พร้อมฆ้องใบใหญ่ จาก เมืองสะหมิงไพร(ต.สมิงพราย อ.สำโรง จ.สมุทรปราการ) แคว้นสมุทรปราการ ลงเรือสำเภา เดินทางไปสร้างพระราชวังที่ประทัพอยู่ที่บริเวณ ภูเขาโหรน(ภูเขาจอศรี-คันธุลี) เมืองกลิงค์(ดอนธูป) พร้อมกับได้เปลี่ยนพระนามใหม่ เพื่ออำพรางตนเอง ว่า "แม่นางจอศรี" เป็นกษัตริย์สตรี ปกครอง แคว้นครหิต(คันธุลี) เพื่อหลบภัยสงคราม ชั่วคราว

      พระนางสุรณี ยังได้รับมอบหมายจาก พระยาศรีจง ให้รับผิดชอบในการ จัดหาทหารใหม่ และดำเนินการฝึกทหาร เพื่อส่งกำลังไปหนุนช่วยกองทัพของ พระยาศรีจง ด้วย พระยาศรีจง ยังรับสั่งให้ พระนางสุรณี ทำการรื้อฟื้น แคว้นครหิต(คันธุลี) ซึ่งร้างไป เพื่อให้ เจ้าชายศรีทรัพย์ เป็นกษัตริย์ผู้ปกครอง แคว้นครหิต(คันธุลี) ในอนาคต ด้วย บทบาทของ พระนางสุรณี ดังกล่าว จึงเป็นที่มาให้ พระนางสุรณี ได้พยายามสร้างกองทัพช้างขึ้น ณ ทุ่งพระยาชนช้าง อีกครั้งหนึ่ง ด้วยการดัดแปลง คุกจีน บริเวณ วัดคอกช้าง ภูเขาประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน มาสร้างเป็น คอกช้าง จึงเป็นที่มาให้ชื่อท้องที่ดังกล่าว ถูกเรียกชื่อว่า คอกช้าง สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

      พร้อมกันนั้น พระยาศรีจง ได้ฝากส่งพระราชสาส์น เพื่อแจ้งเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ให้ทราบว่า ได้ส่งพระนางอุษา มาเป็นกษัตริย์สตรี เพื่อช่วยรื้อฟื้น แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และได้ส่ง พระนางสุรณี มาเป็นกษัตริย์สตรี ช่วยรื้อฟื้น แคว้นครหิต(คันธุลี) ขึ้นมาใหม่ด้วย

      พระราชสาส์นดังกล่าว ยังได้แจ้งเรื่องราวให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ทราบเหตุว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้สำนึกผิดในการก่อกบฏ ที่ผ่านมาแล้ว และกำลังเกิดสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ โดยที่ พระเจ้าจิตรเสน ราชวงศ์ชนชาติมอญ กำลังก่อกบฏเพื่อทำสงครามยึดครอง ดินแดน อาณาจักรทวาราวดี หรือ อาณาจักรนาคฟ้า ไปครอบครอง จึงได้ร้องขอความช่วยเหลือจาก มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ให้จัดส่งกองทัพ ไปช่วยเหลือ ด้วย

 

สงครามตอแหล กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นสวนตาล ปี พ.ศ.๑๑๔๘

ความเดิม ภายหลังสงครามโรมรันพันตู นั้น ชนชาติทมิฬโจฬะ ได้พยายามขยายอิทธิพล เข้าครอบงำอาณาจักรต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วยการเข้าไปสมรส เกี่ยวดอง กับ เชื้อสายราชวงศ์มอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เพื่อวางแผนเข้าครอบครองดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด จนกระทั่งได้สืบทอด สายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ มาจนถึงสมัย พระเจ้าจิตรเสน ซึ่งได้เข้าไปสมรสเกี่ยวดอง กับ สายราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจักร(ลาวจก) แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน ด้วย ทำให้ชนชาติมอญ ได้ใช้วัฒนธรรมตอแหล เพื่อขยายความขัดแย้ง เข้าสู่ชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง ในดินแดนยวนโยนก ด้วย

เนื่องจาก อาณาจักรยวนโยนก กำเนิดขึ้นมาจาก สายราชวงศ์แมนสม และได้มาอภิเษกสมรสกับ สายราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ซึ่งเป็นสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไตอีกสายหนึ่ง สืบวงศ์มาจาก แคว้นนที(อยุธยา) ซึ่งได้สืบทอดราชวงศ์ต่อเนื่องมาด้วยการสมรสเกี่ยวดองกับ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) สายราชวงศ์สิงหลวัติ ซึ่งมาจาก แคว้นราชคฤห์ กลายเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน สลับกับสายราชวงศ์แมนสม สืบทอดมาถึงสมัย มหาราชาท้าวลาวยาง กรุงเชียงแสน ซึ่งก่อนหน้านี้ ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก จะสลับไปมา ระหว่าง กรุงเชียงแสน กับ กรุงสวนตาล(พะเยา)

ในต้นรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น ท้าวลาวเงิน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ท้าวลาวยาง ได้สมคบกับ พระเจ้าจิตรเสน ทำการก่อกบฏ ลอบปลงพระชนม์ พระราชบิดา คือ ท้าวลาวยาง จนกระทั่งสวรรคต หลังจากนั้น ท้าวลาวเงิน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน โดยมี เจ้าฟ้าเฮ่ง ราชวงศ์แมนสม กรุงสวนตาล(พะเยา) เป็นมหาอุปราช ในรัชกาลถัดมา การกระทำดังกล่าวมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง สายราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจักร กับ ราชวงศ์แมนสม อย่างเงียบๆ เรื่อยมา เพราะ ท้าวลาวเงิน ไปสมรสเกี่ยวดอง กับ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ

       เนื่องจาก มหาราชาท้าวลาวเงิน ได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงมอญ มีพระนามว่า พระนางเม็ง ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของ พระเจ้าจิตรเสน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายชิน และ เจ้าชายจอมธรรม ซึ่ง พระเจ้าจิตรเสน นำไปเลี้ยงดูที่ อาณาจักรอีสานปุระ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เพื่อให้รับวัฒนธรรมมอญ และชาติพันธุ์มอญ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม มีพระนามว่า ขุนชิน และ ขุนจอมธรรม จึงได้มารับราชการอยู่ที่ อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน

      พระเจ้าจิตรเสน ได้จัดให้ ขุนจอมชิน อภิเษกสมรสกับ พระนางแจ๊ะ หรือ พระนางอาแจ๊ะ เจ้าหญิง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เมื่อ ขุนจอมชิน มีพระชนมายุยังไม่ถึง ๒๐ พรรษา ก็เป็นราชาปกครอง แคว้นเชียงเครือ(เชียงของ) ส่วน ขุนจอมธรรม ได้อภิเษกสมรสกับ พระนางจอมเม็ง พระราชธิดา ของ พระเจ้าสักกรดำ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ขุนจอมธรรม เป็นราชาปกครอง แคว้นนาคอง(เชียงราย)ª-

ขณะที่ ขุนจอมธรรม เป็นราชาปกครอง แคว้นนาคอง(เชียงราย) อยู่นั้น ขุนจอมธรรม มีพระราชโอรส  ๒ พระองค์ กับ พระนางจอมเม็ง คือ เจ้าชายเจือง และ เจ้าชายรุ่ง ทั้งสองพระองค์จึงเป็นสายราชวงศ์มอญ เต็มตัว ที่ก่อกบฏต่อชนชาติอ้ายไต เป็นที่มาให้ จตุคารามเทพ ต้องมาประสูติในภพชาติที่-๔ เพื่อรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยต่อมา

      ก่อนเกิดสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นสวนตาล(พะเยา) นั้น พระเจ้าจิตรเสน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้พ่ายแพ้สงครามอย่างยับเยิน ต่อกองทัพของ อาณาจักรคามลังกา ที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจาก พระเจ้าจิตรเสน ต้องการยึดครอง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน ไปเป็นของราชวงศ์ชนชาติมอญ ตามคำแนะนำของ ขุนนางจีน จึงได้วางแผนใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต และ ราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรยวนโยนก แล้วทำสงครามยึดครอง อีกครั้งหนึ่ง

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นสวนตาล(พะเยา) เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้าจิตรเสน วางแผนให้ พระนางเม็ง สมคบกับ พระนางอาแจ๊ะ ลอบวางยาพิษ ท้าวเงินยาง จนกระทั่งสวรรคต แล้วสร้างข่าวตอแหล ใส่ความว่า มหาอุปราชเจ้าฟ้าเฮ่ง แห่ง แคว้นสวนตาล(พะเยา) เป็นผู้อยู่เบื้องหลังในการลอบวางยาพิษ ได้สร้างความขัดแย้งให้กับชนชาติอ้ายไต ให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง หลังจากนั้น พระเจ้าจิตรเสน ได้ส่งกองทัพจาก กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ) มาช่วยเหลือ ขุนชิน และ ขุนจอมธรรม ยกกองทัพจาก กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ) เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นสวนตาล(พะเยา) ไปครอบครอง

ผลของสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นสวนตาล(พะเยา) เมื่อกองทัพใหญ่ ของ ขุนชิน และ ขุนจอมธรรม ปะทะกับกองทัพ เจ้าฟ้าเฮ่ง ณ สมรภูมิ ชานเมืองสวนตาล(พะเยา) มหาอุปราชเจ้าฟ้าเฮ่ง พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถทำสงครามสู้รบกับ กองทัพมอญ ได้ จึงอพยพไพร่พลออกไปสร้างแคว้นใหม่ ณ เมืองตุมวาง(แพร่) ประชาชนอีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปสร้าง เมืองสวนตาล ขึ้นใหม่ ในท้องที่ จ.น่าน ในปัจจุบัน ต่อมา กองทัพจากแคว้นเชียงขวาง อาณาจักรอ้ายลาว ได้ยกกองทัพมาช่วยเหลือ เจ้าฟ้าเฮ่ง กองทัพมอญ ของ ขุนชิน และ ขุนจอมธรรม จึงล่าถอยกลับไป ต่อมา เจ้าฟ้าเฮ่ง ได้ร้องเรียนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ สภาโพธิ พิจารณาลงโทษ ขุนชิน และ ขุนจอมธรรม แต่เนื่องจากสงครามตอแหลที่เกิดขึ้น ๗ สมรภูมิ สภาโพธิ จึงมิได้ดำเนินการ

ภายหลังสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นสวนตาล(พะเยา) เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ นั้น ขุนชิน จึงประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรยวนโยนก กรุงเชียงแสน พร้อมกับได้ทำการเปลี่ยนชื่ออาณาจักรใหม่ว่า อาณาจักรเงินยาง และเปลี่ยนชื่อ เมืองเชียงแสน เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองเงินยาง อ้างว่าเพื่อให้เป็นเกียรติแก่ ท้าวเงินยาง ที่สวรรคตไปแล้ว ส่วน ขุนจอมธรรม แห่ง แคว้นนาคอง(เชียงราย) ได้ตั้งตัวเป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรเงินยาง โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่อย่างใด ซึ่งเป็นที่มาให้ พระยาพาน ได้ยกกองทัพมาทำสงครามปราบปรามในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามตอแหล กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี พ.ศ.๑๑๔๘

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี เกิดขึ้นหลังจากที่ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรเงินยาง เนื่องจาก ก่อนเกิดสงคราม พระเจ้าจิตรเสน ได้ใช้วัฒนธรรมตอแหล ใส่ความให้ร้าย ท้าวปรารพ(พระยากง) และ กษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรทวาราวดี จนกระทั่ง ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน อาณาจักรทวาราวดี แตกแยกกันอย่างหนัก แล้วแสร้งหาเหตุก่อสงคราม โดยที่ พระเจ้าจิตรเสน ได้ส่งพระราชสาส์น ไปให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) เสนอให้ อาณาจักรทวาราวดี ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรอีสานปุระ กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ) โดยดี ด้วยการส่งต้นไม้เงิน-ต้นไม้ทอง ไปแสดงความจงรักษ์ภักดี มิฉะนั้น จะส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี เกิดขึ้นเมื่อกองทัพใหญ่ ของ พระเจ้าจิตรเสน ได้ส่งกองทัพ จาก แคว้นศรีอีสาน(ศรีเทพ) วางแผนเดินทัพมุ่งหน้าเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นศรีมหาโพธิ์(อ.โคกปีบ จ.ปราจีนบุรี) , แคว้นศรีมโหสถ , แคว้นพระรถ , แคว้นสมุทรปราการ , แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) โดยนัดพบกับกองทัพของ พระเจ้าศรีพาระ ณ เมืองปะถม(นครปฐม) เพื่อเดินทัพพร้อมกันเข้าปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ผลของสงคราม มิได้เป็นไปตามแผนที่ พระเจ้าจิตรเสน กำหนด เนื่องจาก มหาราชา ท้าวไกรสร แห่ง อาณาจักรคามลังกา ได้ส่งกองทัพมาป้องกัน แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่ง อาณาจักรคามลังกา ได้ทำสงครามยึดครองไป ทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพของ พระเจ้าจิตรเสน ณ สมรภูมิ แคว้นศรีมหาโพธิ์(โคกปีบ-ปราจีนบุรี) อย่างดุเดือด พระเจ้าจิตรเสน สวรรคต ในสงคราม ด้วยฝีมือของ มหาราชาท้าวไกรสร

 

                 

ภาพที่-๙๖ เทวรูปในภาพ พบในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูปจำลอง ท้าวไกรสร พระราชโอรส ของ ท้าวไชยฤทธิ์ กับ พระนางสิยา อาณาจักรอ้ายลาว เนื่องจาก ท้าวไกรสร ได้ทำสงครามชนะ พระเจ้าจิตรเสน ณ สมรภูมิ แคว้นศรีมหาโพธิ์ หลายครั้ง จึงมีการสร้างเทวรูป ท้าวไกรสร ไว้ในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ชนชาติไทย รับทราบประวัติศาสตร์ ของชาติตนเอง

 

ส่วนกองทัพของ พระเจ้าศรีพาระ ได้ส่งกองทัพ จาก แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) อาณาจักรอีสานปุระ วางแผนเดินทัพเข้าทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นละโว้ , แคว้นนที(อยุธยา) และนัดพบกับ กองทัพของ พระเจ้าจิตรเสน ณ เมืองปะถม(นครปฐม) เพื่อเดินทัพเข้าปิดล้อม กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ต่อไป

ผลของสงคราม มิได้เป็นไปตามแผนที่ พระเจ้าศรีพาระ กำหนด เนื่องจาก พระยามหาฤกษ์ แห่ง แคว้นละโว้ ได้ส่งกองทัพ เข้าป้องกัน แคว้นละโว้ และ ขุนโยธิกา ได้นำกองทัพมาป้องกัน แคว้นนที(อยุธยา) ด้วย ทำให้เกิดการปะทะกับกองทัพของ พระเจ้าศรีพาระ ณ สมรภูมิ แคว้นนที(อยุธยา) อย่างดุเดือด พระเจ้าศรีพาระ สวรรคต ในสงคราม ด้วยฝีมือของ ขุนโยธิกา ในสงครามครั้งนั้นด้วย กองทัพมอญ ต้องล่าถอยกลับไป

หลังจากสงครามครั้งนั้น พระยาศรีจง ได้ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง แคว้นศรีอีสาน(ศรีเทพ) กลับคืน พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อกลับคืนเป็น แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) ดังเดิม ส่วน ขุนโยธิกา แห่ง แคว้นนที(อยุธยา) นั้น มีเกียรติภูมิสูงเด่นขึ้น ต่อมาจึงได้เดินทางไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ และถูกส่งไปฝึกสงครามด้วยกองทัพช้าง ณ ประเทศอินเดีย เมื่อเสด็จกลับมา เป็นผู้สร้าง ของ้าว มาใช้ในการควบคุมช้างศึก ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีพระนามที่ประชาชนนิยมเรียกอีกพระนามหนึ่งว่า พระยาของ้าว ในเวลาต่อมาด้วย

 

                  

ภาพที่-๙๗ เทวรูปในภาพ พบที่ กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูปจำลอง เจ้าชายโยธิกา พระราชโอรส ของ พระนางโกสมพี กับ ท้าวมหาฤกษ์ เคยประทับอยู่ที่ ปากแม่น้ำโยธิกา ต่อมาได้หนีภัยสงคราม ไปประทับอยู่ที่ แคว้นนที(อยุธยา) เป็นอุปราช ของ แคว้นนที เป็นผู้ทำสงครามกับ กองทัพมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นนที จนกระทั่ง พระเจ้าศรีพาระ สวรรคต ในสงคราม

 

      ผลของสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี ครั้งนี้ ทำให้ สหราชอาณาจักรอีสานปุระ กรุงศรีอีสาน(ศรีเทพ) ต้องล่มสลายลง พระเจ้าศรีอีสาน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ พระราชโอรส ของ พระเจ้าจิตรเสน ได้นำต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ไปขอสวามิภักดิ์ ต่อ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) อีกครั้งหนึ่ง ส่วน พระยาศรีจง เมื่อทราบข่าวว่า สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรหงสาวดี ยังมิได้ยุติ จึงได้ส่งกองทัพไปหนุนช่วย ขุนศรีธรนนท์ ต่อไป

  

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรตาเกี๋ย และ อาณาจักรหลินยี่

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรตาเกี๋ย และ อาณาจักรหลินยี่ มีผลสืบเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสงครามโรมรันพันตู ซึ่ง ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ทำการการเชิด ราชาลีบอน มาเป็น กษัตริย์ปกครอง อาณาจักรตาเกี๋ย เพื่อสร้างความแตกแยกให้กับ ชนชาติอ้ายไต ทำการยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ทางอ้อม แต่หลังจากราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ล่มสลาย มหาอาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตาเกี๋ย) ก็ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่สมัย มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน แต่ต่อมา เมื่อ มหาอาณาจักรจีน ได้รวมตัวเป็นปึกแผ่น ในสมัยราชวงศ์สุย มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งออกวัฒนธรรมตอแหล เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับได้ทำสงครามยึดครองดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง คงเหลือเพียง อาณาจักรตาเกี๋ย เท่านั้น ที่ มหาอาณาจักรจีน ยังไม่สามารถทำสงครามยึดครอง

 ดังนั้นเมื่อ ฮ่องเต้หยางกวง ลักลอบฆ่า ฮ่องเต้หยางเจียน พระราชบิดา เพื่อขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน นั้น ฮ่องเต้หยางกวง ทราบว่า ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ในขณะนั้น กำลังแตกแยกออกเป็น ๖ ก๊ก เนื่องจากวัฒนธรรมตอแหล ที่ถูกนำมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ สามารถสร้างความแตกแยกให้กับ ชนชาติอ้ายไต อย่างได้ผล ฮ่องเต้หยางกวง จึงอยู่เบื้องหลังในการสนับสนุน สงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ ด้วย โดยที่ ฮ่องเต้หยางกวง ได้ติดสินพระทัย ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย เป็นของ มหาอาณาจักรจีน ทันที เพื่อตัดโอกาสมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามยึดครองดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง กลับคืนในอนาคต อีกต่อไป

      สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ อาณาจักรตาเกี๋ย เกิดขึ้นในปี พ.ศ.๑๑๔๘ โดยที่ ฮ่องเต้หยางกวง แห่งราชวงศ์สุย ได้สนับสนุนให้ พระเจ้าศัมภุวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรมหาจามปา ร่วมมือกับ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ทางภาคใต้ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พร้อมๆ กับที่ ฮ่องเต้หยางกวง ได้สนับสนุนให้ เชื้อสายราชวงศ์ ราชาลีบอน นำวัฒนธรรมตอแหล ใส่ความให้ร้าย มหาราชา แห่ง อาณาจักรตาเกี๋ย เพื่อสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต แล้วมอบให้ แม่ทัพเหลียวฟัง ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ไปครอบครอง เป็นผลสำเร็จ

 

                        

  ภาพที่-๙๘ แผนที่ แสดงที่ตั้งดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต ที่คงเหลือ คือ มหาอาณาจักรไตจ้วง ซึ่ง มหาจักรพรรดิหยางเจ้า ได้ทำสงครามกอบกู้กลับคืนมาได้ แต่ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามเข้ายึดครอง กวางสี กวางตุ้ง และ กวางเจา ไปครอบครอง ส่วน อาณาจักรตาเกี๋ย ทางฮ่องเต้หยางกวง ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมื่อปี พ.ศ.๑๑๔๘ ส่วน อาณาจักรไหหลำ และ อาณาจักรไตหวัน กลายเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน และต่อมา ได้ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามเข้ายึดครองอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยราชวงศ์ถัง มหาอาณาจักรไตจ้วง จึงล่มสลายลง อย่างสิ้นเชิง ในสมัยราชวงศ์ถัง แห่ง มหาอาณาจักรจีน

 

      หลังจากที่ แม่ทัพเหลียวฟัง สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย สำเร็จแล้ว แม่ทัพเหลียวฟัง ได้ยกกองทัพเลยเข้าโจมตี ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พร้อมกับทำการปล้นสดมภ์ ทรัพย์สิน ก่อนที่จะถอยทัพกลับดินแดน มหาอาณาจักรจีน เพราะกองทัพ ของ มหาราชาท้าวไชยฤทธิ์ แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว และ กองทัพของ มหาราชาเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้าขับไล่กองทัพของ แม่ทัพเหลียวฟัง จนต้องถอนทัพกลับคืนไปรักษา อาณาจักรตาเกี๋ย อีกครั้งหนึ่ง

      ส่วนสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แว่นแคว้นต่างๆ ทางภาคใต้ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) นั้น มหาราชาเจ้าอีสาน แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรมหาจามปา(เวียตนามใต้) ที่ติดต่อพรหมแดน อาณาจักรโพธิ์หลวง พร้อมๆ กับ กองทัพของ กษัตริย์ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร จาก อาณาจักรคามลังกา ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามขับไล่กองทัพของ ทมิฬโจฬะ ให้ต้องถอยทัพออกไป ผลของสงครามครั้งนี้ ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) รวมตัวเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง และเตรียมทำสงครามใหญ่ ปราบปรามกบฏทมิฬโจฬะ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามตอแหล กับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี ปี พ.ศ.๑๑๔๘

ตำนานความเป็นมาในการเปลี่ยนชื่อ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) มาเป็นชื่อ แคว้นร่ำนอง(ระนอง) และ ตำนานการสร้าง วัดศรีราชัน และ พระมหาธาตุเจดีย์ไชยา ได้กล่าวถึงเรื่องราวของ สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี ไว้สอดคล้องตรงกัน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี เกิดขึ้นเมื่อ พระเจ้านันทเสน แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) ได้ใช้วัฒนธรรมตอแหล สร้างข่าวว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็นกษัตริย์ไม่ทรงธรรม เพราะเคยข่มขืน พระนางอุษา และ พระนางเมือง มาก่อน

มีการทำตอแหล ว่า ขุนศรีธรนนท์ พระราชโอรส ของ ท้าวปรารพ กับ พระนางอุษา นั้น เป็นผู้ขโมย ล๊อคเก็ต และ พระธรรมรงค์ ของ พระเจ้านันทเสน ไปครอบครองด้วย จึงก่อกระแสให้ประชาชนชนชาติอ้ายไต , ชนพื้นเมืองซิงบางา และ ชนชาติมอญ ทำการขับไล่ ขุนศรีธรนนท์ ออกจากแคว้นหงสาวดี อ้างเหตุว่า ขุนศรีธรนนท์ สมควรถูกเนรเทศ ให้ไปสร้างแว่นแคว้นขึ้นใหม่ เช่นเดียวกับที่ พระเจ้านันทเสน เคยถูกสภาปุโรหิต และ สภาโพธิ เคยสั่งลงโทษ ถูกเนรเทศ มาแล้ว แต่ ขุนศรีธรนนท์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม

พระเจ้านันทเสน แห่ง แคว้นนันทเสน(สะโตง) จึงได้ส่งกองทัพเข้าปิดล้อมเมืองหงสาวดี ไว้ พร้อมกับมีพระราชสาส์น เสนอให้ ขุนศรีธรนนท์ อพยพครอบครัว ออกจากเมืองหงสาวดี โดยดี แต่ ขุนศรีธรนนท์ มีพระราชสาส์น ตอบกลับไปให้ พระเจ้านันทเสน นำเรื่องดังกล่าว เสนอต่อ สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ให้พิจารณาไต่สวนลงโทษพระองค์เอง ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ แต่พระเจ้านันทเสน อ้างว่า สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ เป็นสภาของชนชาติอ้ายไต จึงเข้าข้างชนชาติอ้ายไต และชิงชังชนชาติมอญ จึงไม่มีความยุติธรรม ในที่สุด ทั้ง พระเจ้านันทเสน และ ขุนศรีธรนนท์ ไม่สามารถตกลงกันได้ สงครามจึงเกิดขึ้น ตามแผนการที่พระเจ้านันทเสน วางแผนไว้ล่วงหน้ามาแล้ว

สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี จึงเกิดการสู้รบอย่างยืดเยื้อ ระหว่าง กองทัพของ พระเจ้าจิตรเสน ราชวงศ์ชนชาติมอญ กับ ขุนศรีธรนนท์ ราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต เกิดการสู้รบ บาดเจ็บล้มตาย ทั้งสองฝ่าย สงครามครั้งนั้น พระยาสุนันท์ แห่ง แคว้นย่างกุ้ง ได้ส่งกองทัพทำสงครามกับ พระเจ้านันทเสน ซึ่งกำลังปิดล้อม แคว้นหงสาวดี ด้วย

ต่อมา พระยาวสุ แห่ง แคว้นสุธรรม(เสทิม) เกรงว่า สงครามจะลุกลาม จึงได้ส่งพระราชสาส์น ไปยัง แคว้นรามัน(ตะนาวสี) ซึ่งมีสายสัมพันธ์ กับ พระเจ้านันทเสน ให้วางตัวเป็นกลาง มิให้เข้าร่วมสงคราม ในที่สุด สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี ได้ยืดเยื้อมา ๒ ปี ถึงปี พ.ศ.๑๑๕๐ สงครามได้ยุติลงเมื่อ กองทัพใหญ่ ของ พระยาศรีจง ได้เดินทัพมาถึงแคว้นหงสาวดี พร้อมกับแจ้งข่าวให้ พระเจ้านันทเสน ทราบว่า พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้าศรีพาระ สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรทวาราวดี เรียบร้อยแล้ว จึงเสนอให้ พระเจ้านันทเสน ถอนทัพกลับ กรุงนันทเสน(สะโตง) โดยดี มิให้ต้องสวรรคต ไปอีกพระองค์หนึ่ง เป็นเหตุให้ พระเจ้านันทเสน จำใจต้องถอนทัพกลับ

      เนื่องจาก สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ แคว้นหงสาวดี ครั้งนั้น มีผู้บาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก และเกิดไข้ห่า(อหิวาตกโรค) ระบาดซ้ำเติม อีกด้วย พระยาศรีจง เกรงว่า ไข้ห่า จะพร่าชีวิต ชนชาติอ้ายไต ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ณ แคว้นหงสาวดี หมดสิ้น จึงรับสั่งให้ ขุนศรีธรนนท์ ทิ้งเมืองหงสาวดี และให้อพยพไพร่พลประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน เดินทางรอนแรม ๓ เดือน มุ่งหน้าเดินทางสู่อดีต แคว้นครหิต(คันธุลี) อาณาจักรชวาทวีป เพื่อให้ ขุนศรีธรนนท์ เป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นครหิต(คันธุลี) ที่กำลังถูกรื้อฟื้นขึ้นใหม่

การเดินทางรอนแรม ในช่วงเวลา ๓ เดือน ของ ขุนศรีธรนนท์ พร้อมไพร่พล ๓๐,๐๐๐ คน เลียบฝั่งทะเลตะวันตก ครั้งนั้น ได้เกิดตำนานความเป็นมาของ ตำนานที่มาของชื่อท้องที่ ระนอง เกิดขึ้นด้วย ตำนานเรื่องราวต่างๆ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ ขุนศรีธรนนท์ ตัดสินพระทัยทิ้ง เมืองหงสาวดี เนื่องจากไข้ห่า ระบาด นั้น ขุนศรีธรนนท์ มีเป้าหมายเดินทางเลียบชายฝั่งทะเลตะวันตก เข้าสู่ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) แล้วจึงจะเดินทางเข้าสู่ฝั่งทะเลตะวันออก ผ่านเส้นทาง ภูเขาเพลา นั้น พระยาศรีจง ได้มีพระราชสาส์น ด่วน ไปถึง พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ณ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ให้ ขุนศรีธรรมโศก ซึ่งเพิ่งเสด็จกลับจากการศึกษาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ให้ไปทำการต้อนรับ ช่วยส่งเสบียงอาหารให้กับไพร่พล ของ ขุนศรีธรนนท์ ณ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) ด้วย

ขุนศรีธรนนท์ ซึ่งอพยพไพร่พล ๓๐,๐๐๐ คน เดินทางรอนแรม ๓ เดือน มาตามชายฝั่งทะเลตะวันตก มุ่งหน้าเดินทางสู่อดีตแคว้นคันธุลี อาณาจักรชวาทวีป ได้รับพระราชสาส์นให้นัดพบกับ เจ้าชายศรีธรรมโศก พระราชโอรสของ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) พี่น้องต่างบิดา ณ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) เพื่อรับเสบียงอาหารเพิ่มเติม ทั้งสองพี่น้อง ไม่เคยพบกัน มาก่อน มีแต่ ล๊อคเก็ต ของราชสกุล หยางเจ้าหลีชุน ซึ่งพระนางอุษา(แม่นางส่ง) มอบให้ไว้ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แขวนห้อยคอไว้เป็นเครื่องหมาย ทั้งสองพี่น้อง นัดพบกันที่ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) เพื่อเดินทางต่อไปยังเมืองคันธุลี เมื่อ ขุนศรีธรนนท์ และ ขุนศรีธรรมโศก ทั้งสองพระองค์พบกัน ต่างกอดกันร่ำให้ น้ำตาร่ำนอง เนื่องจาก ขุนศรีธรนนท์ เสียพระทัย ที่เคยถูกกล่าวหาว่า ขโมย ล๊อคเก็ตราชสกุล ดังกล่าว ของ พระเจ้านันทเสน ไปครอบครอง เป็นที่มาให้ท้องที่ดังกล่าว ถูกเรียกว่า แคว้นร่ำนอง(ระนอง) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๐ เป็นต้นมา

ในที่สุด ขุนศรีธรนนท์ ก็เดินทางมาถึง เมืองครหิต(คันธุลี) ก็นำไพร่พลขุดสระขึ้นแห่งหนึ่ง เรียกว่า สระหนองตำเสา และนำไพร่พล ตั้งรกรากขึ้น รอบๆ สระน้ำ ดังกล่าว แล้วเข้าไปรื้อฟื้น พระราชวังหลวง ของ แคว้นคันธุลี บริเวณถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาให้ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ต้องนำ เจ้าชายพาน ย้ายที่ประทับไปอาศัยอยู่ที่ สวนยายหอม ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของ ภูเขาคันธุลี แล้วต้องตัดสินใจนำ เจ้าชายพาน ไปฝากฝัง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ณ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ต่อไป

 

สงครามตอแหล กับ อาณาจักรทวาราวดี

ณ สมรภูมิ เขากง นราธิวาส พ.ศ.๑๑๕๐

ตำนานท้องที่ วัดเดิมเจ้า ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และตำนานพระยากง-พระยาพาน ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึง สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ ภูเขากง ล้วนสอดคล้องตรงกันว่า หลังจากที่ อาณาจักรทวาราวดี มีชัยในสงครามตอแหล ต่อ อาณาจักรอีสานปุระ จนกระทั่ง พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้าศรีพาระ สวรรคต ในสงคราม ตามที่กล่าวมาแล้ว เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ย่ามใจ หวังที่จะฟื้นฟูอำนาจ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จึงใช้วัฒนธรรมตอแหล ใส่ความทำลายเชื้อสายราชวงศ์เทพนิมิตร ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทันที

เนื่องจาก พระราชา และ พวกราชวงศ์ หลายแว่นแคว้น ในดินแดนของ อาณาจักรทวาราวดี(อาณาจักรนาคฟ้า) ไม่พอใจการปกครอง ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) เพราะเป็น กษัตริย์ไม่ทรงธรรม และได้ประกาศ กฎอัยการศึก ปราบปรามชนชาติอ้ายไต ด้วยกันเอง จึงได้ร่วมกันมีพระราชสาส์นไป เสนอต่อ สภามนตรี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ให้ทำการถอดถอน ท้าวปรารพ(พระยากง) ออกจากตำแหน่ง มหาราชา แห่ง อาณาจักรทวาราวดี เพราะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมิได้เป็นไปตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อ อาณาจักรทวาราวดี อย่างรุนแรง

กลุ่มพระราชา และ พวกราชวงศ์ จากหลายแว่นแคว้น ได้เสนอให้นำ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เช่น มหาอุปราชพระยาจันทร์ แห่ง อาณาจักรคามลังกา มาดำรงตำแหน่ง มหาราชา แห่ง อาณาจักรทวาราวดี แทนที่ ท้าวปรารพ แต่เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ทราบเรื่องดังกล่าว  ก็พาลไม่พอพระทัยต่อ กษัตริย์ และ เชื้อสายพวกราชวงศ์แว่นแคว้นต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรทวาราวดี เป็นอันมาก จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งคณะตุลาการ ซึ่งเป็นพรรคพวกของพระองค์เอง ขึ้นพิจารณาความผิด ของ กษัตริย์ และ พวกขุนนาง พวกราชวงศ์ ของ แว่นแคว้นต่างๆ ทันที พร้อมทั้งรับสั่งให้ทำการยุบเลิกแว่นแคว้น ไปหลายแว่นแคว้น พร้อมกับทำการแต่งตั้ง เจ้าเมือง หรือ ข้าหลวง ขึ้นมาแทนที่

เหตุการณ์ครั้งนั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ใช้อำนาจตุลากาล ผ่านคณะตุลาการที่ถูกแต่งตั้งขึ้นใหม่ ภายใต้กฎอัยการศึก ให้ทำการพิจารณาโทษ และ ทำการลงโทษ สั่งประหารชีวิต หรือ ทำการถอดถอน และยึดทรัพย์ ของ กษัตริย์ ขุนนาง และพวกเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งเป็นพรรคพวกกับ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ออกจากตำแหน่ง เป็นจำนวนมาก กลุ่มบุคคลดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า พวกเดิมเจ้า ซึ่งในขณะนั้น ไม่ปลอดภัยในการใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนของ อาณาจักรทวาราวดี จึงได้ตัดสินใจ อพยพลี้ภัยการเมือง ไปตั้งรกรากอยู่ในท้องที่ วัดเดิมเจ้า คือท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เพื่อรอการพิจารณาแก้ไขปัญหาของ สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้เสนอให้ส่งกองทัพหลัก เข้ากดดัน อาณาจักรทวาราวดี ให้ ท้าวปรารพ สละราชย์สมบัติออกผนวช และที่ประชุม มีมติตามข้อเสนอของ กษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ เพราะในอนาคต ท้าวปรารพ(พระยากง) อาจจะทำการก่อสงครามกับ อาณาจักรชวาทวีป และ อาณาจักรเทียนสน ได้ แต่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ไม่ทรงเห็นชอบด้วย เสนอจะทำการเจรจาให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) สละราชย์สมบัติ โดยดี และยืนยันว่า ถ้าหาก ท้าวปรารพ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี อาณาจักรชวาทวีป หรือ อาณาจักรเทียนสน ในอนาคต มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน จะสละราชย์สมบัติ ออกจากตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ให้ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ขึ้นดำรงตำแหน่ง แทนที่ ผลการประชุมดังกล่าวจึงยังไม่เป็นที่ยุติ ต้องส่งไปให้ สภาโพธิ พิจารณา หาข้อยุติ อีกครั้งหนึ่ง      

ส่วน ท้าวปรารพ(พระยากง) เมื่อทราบว่า สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) กำลังพิจารณาโทษของพระองค์เอง จึงได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามกับ ราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร ณ สมรภูมิ อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) ทันที แต่ถูกกองทัพของ อาณาจักรเทียนสน ตอบโต้ ต้องล่าถอยไปตั้งกองทัพอยู่ที่ เทือกเขาพระยากง(ภูเขากง) ในท้องที่ จ.นราธิวาส ในปัจจุบัน

สงครามครั้งนี้ ท้าวปรารพ(พระยากง) พ่ายแพ้สงคราม ต่อ กองทัพของ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อย่างยับเยิน ท้าวปรารพ(พระยากง) ถูกจับเป็นเชลยศึก ถูกส่งตัวไปให้กับ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ณ ภูเขากง ซึ่ง จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จะสำเร็จโทษ ด้วยการตัดพระเศียร ของ ท้าวปรารพ ออกประจาน มิให้เป็นตัวอย่างแก่กษัตริย์ต่างๆ อีกต่อไป แต่ ท้าวปรารพ ได้ร้องขอชีวิตไว้ และให้สัญญาว่า จะขอสละราชย์สมบัติออกผนวช ตลอดชีวิต ณ กรุงทวาราวดี จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงไว้ชีวิต และปล่อยตัว ท้าวปรารพ กลับคืนกรุงทวาราวดี รอฟังข่าวการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา    

เมื่อท้าวปรารพ(พระยากง) ถอยทัพกลับไปยัง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) พระองค์ หาได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ต่อ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร แต่อย่างใดไม่ ท้าวปรารพ ได้นำกองทัพเรือ หยุดแวะพัก ณ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) แล้วมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) เป็นกษัตริย์สตรี ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นต่อ อาณาจักรทวาราวดี และได้นำกองทัพไปหยุดแวะพัก ณ แคว้นครหิต(คันธุลี) พร้อมกับมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ ขุนศรีธรนนท์ เป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นครหิต(คันธุลี) แทนที่ พระนางสุรณี ขึ้นต่อ อาณาจักรทวาราวดี อีกแว่นแคว้นหนึ่งด้วย

ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้เสด็จไปพบ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ก่อนที่จะเสด็จกลับ เพื่อให้คำมั่นสัญญา กับ พระนางอุษา ว่า จะสนับสนุนให้ ขุนศรีธรนนท์ พระราชโอรส ของ พระนางอุษา กับ ท้าวปรารพ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น จักรพรรดิ และ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ในอนาคต จึงร้องขอให้ พระนางอุษา ใช้วิชาตอแหล ทำลายราชวงศ์ท้าวเทพนิมิตร เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ขึ้นมาแทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้สำเร็จในอนาคตด้วย

ขากลับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้นำกองทัพเรือ ทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ซึ่งมีแหล่งทองคำสำคัญที่ เมืองกำเนิดนพคุณ(บางสะพาน) ให้เป็นแว่นแคว้นภายใต้การปกครอง ของ อาณาจักรทวาราวดี ในขณะที่เสด็จกลับ อีกด้วย และเมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) เสด็จกลับถึง กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ก็ได้ส่งพระราชสาส์นท้ารบ กับ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่มาของ สงครามตอแหล ณ สมรภูมิ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง 

ส่วนพื้นที่ สมรภูมิ เขากง ดังกล่าว ต่อมา ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงได้สร้างวัดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว เรียกชื่อว่า วัดเขากง เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้กับ พระยากง ซึ่งเป็นวัดที่ดำรงอยู่ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน พื้นที่เขากง จึงเป็นที่มาของคำพังเพยที่ว่า ไม่มีวาจาสัตย์ ในหมู่โจร ทั้งนี้เพราะ พฤติกรรม ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) คือพฤติกรรม ของ โจรปล้นเมือง นั่นเอง

 

สงครามปราบปราม พระนางตอแหล ณ สมรภูมิ ท่าชนะ ปี พ.ศ.๑๑๕๐

สงครามปราบปราม พระนางตอแหล(พระนางอุษา) ณ สมรภูมิ เมืองคลองวัง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เกิดขึ้นเมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) แห่ง อาณาจักรทวาราวดี ได้ประกาศก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกันนั้น พระนางอุษา ได้ส่ง ตาตอ และ ตาแหล ทำการออกป่าวประกาศ ทำตอแหล ตามคำแนะนำ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กล่าวหาว่า จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อดีตคนรัก ของ พระนางอุษา เป็นกษัตริย์ไม่ทรงธรรม และ ไม่มีความสามารถกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน เหมือนกับสายราชวงศ์หยาง-โคตะมะ ซึ่งเคยทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อนแล้ว ซ้ำร้ายยังทำให้เสียดินแดน อาณาจักรตาเกี๋ย ไปให้ มหาอาณาจักรจีน ครอบครองอีกด้วย พระนางอุษา(แม่นางส่ง) จึงเรียกร้องให้ประชาชนสนับสนุนให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ แทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย พฤติกรรมตอแหล ของ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) ครั้งนี้ เป็นที่มาให้ประชาชนเรียกพระนามของพระนางใหม่ ว่า พระนางตอแหล อีกด้วย

เนื่องจาก จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ไม่พอพระทัยบทบาทของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งไม่มีวาจาสัตย์ และไม่เคารพต่อ กฎมณเฑียรบาล ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จึงได้ยกกองทัพเรือ จาก กรุงสระทิ้งพระ อาณาจักรเทียนสน เข้าโจมตี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) และ แคว้นครหิต(คันธุลี) ซึ่งเพิ่งถูกตั้งขึ้นใหม่ ทันที สงครามตอแหล ครั้งนี้ จึงถูกเรียกชื่อว่า สงครามปราบปราม พระนางตอแหล(พระนางอุษา) ด้วย

สงครามเกิดขึ้นเมื่อ กองทัพของ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้เข้าโจมตียึดครอง เมืองคลองวัง ของ พระนางอุษา(พระนางตอแหล) หรือ แม่นางส่ง อดีตคนรัก ที่บริเวณปากคลองวัง เขต ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน จนได้รับชัยชนะ ตาตอ และ ตาแหล ถูกสำเร็จโทษด้วย ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า "ท่าชนะ" ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๐ เป็นต้นมา

สงครามครั้งนั้น จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ต้องส่งทหารมาคอยเฝ้าควบคุมบังคับให้ พระนางอุษา(พระนางตอแหล) หรือ แม่นางส่ง ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของ ขุนศรีธรนนท์ และ ขุนศรีธรรมโศก ออกผนวชเป็นชีพราหมณ์ บังคับให้ถือศีลแปด พระนางอุษา ต้องนำผอบทองคำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธเจ้า ไปเก็บรักษาไว้ด้วย

ก่อนที่ พระนางอุษา จะออกผนวชเป็นชีพราหมณ์ นั้น พระนางอุษา ได้ขอนำ เสบียงกรังต่างๆ ที่เตรียมไว้เพื่อการสนับสนุนกองทัพต่างๆ ไปกอง กระจายไว้ ณ ปากน้ำท่ากระจาย แล้วให้กองทหารของ ท้าวเทพนิมิตร ไปรับเสบียงกรังที่เหลือ เป็นเหตุให้ท้องที่ดังกล่าวถูกเรียกชื่อว่า ปากน้ำท่ากระจาย ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๐ เป็นต้นมาด้วย

หลังเสร็จภารกิจ ณ ท่ากระจาย เรียบร้อยแล้ว พระนางอุษา จึงได้ออกผนวชเป็นชีพราหมณ์ ถือศีลอยู่ในถ้ำใหญ่ ภูเขากั้นเขต(ภูเขาประสงค์) บริเวณ ทุ่งลานช้าง พระนาง ได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สร้างหูกทอผ้าไหม ในเวลาว่าง ภายในถ้ำใหญ่ ตั้งแต่นั้นมา จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงโปรดเกล้าแต่ตั้งให้ ขุนศรีธรรมโศก เป็นเจ้าเมืองศรีโพธิ์ ให้ช่วยทำการรื้อฟื้น แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) กลับคืน พร้อมด้วย เชื้อสายราชวงศ์ พวกเดิมเจ้า ด้วย  

เมื่อ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ชนะสงคราม ณ แคว้นครหิต เรียบร้อยแล้ว จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ก็ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) กลับคืน เป็นผลสำเร็จอีกด้วย หลังจากนั้น จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ก็สร้าง เหรียญเงินชิตังเม รุ่น เราชนะวัฒนธรรมตอแหล มาใช้เป็นเงินตรา และได้ทวงสัญญาให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน สละราชย์สมบัติ ตามที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ในที่ประชุม สภามนตรี ด้วย

 

ยายหอม นำเจ้าชายพาน ถวายเป็นบุตรบุญธรรม ของ ท้าวอุเทน ปี พ.ศ.๑๑๕๐

เนื่องจากสงครามตอแหล ณ สมรภูมิ ท่าชนะ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๐ นั้น คือ สงครามปราบปราม พระนางอุษา(แม่นางส่ง) อดีตคนรักของ จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร มิให้ ขุนศรีธรนนท์ ใช้แคว้นครหิต(คันธุลี) เป็นที่ว่าราชการ เมืองนายก ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ทำให้ พระนางสุวรรณมาลี(ยายหอม) ต้องตัดสินใจนำ เจ้าชายพาน ซึ่งมีพระชนมายุย่างเข้า ๑๖ พรรษา ไปฝากเป็นบุตรบุญธรรมของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งกำลังจะประกาศสละราชย์สมบัติ ตั้งแต่ปี พ..๑๑๕๐ เป็นต้นมา

มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน และ พระนางกลิ่นตานี อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้นำ เจ้าชายพานไปฝากตัวเป็นศิษย์ กับ พระอาจารย์ตาผ้าขาวเถระรอด อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทพนิมิตร กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ซึ่งได้ไปรับตำแหน่ง อธิการบดี ของ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ กรุงโพธิ(ยะลา) เป็นเหตุให้ เจ้าชายพาน ได้บวชเรียนที่ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ แคว้นเทียนสน(ยะลา) แต่ต่อมา จักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้ร้องขอให้ ท้าวอุเทน ช่วยรักษาการในตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไปชั่วคราว ก่อนการประชุมพิจารณา ของ สภาต่างๆ ตามที่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เรียกร้อง

ในคำกลอนของ สุนทรภู่ เรื่อง พระยากง-พระยาพาน สุนทรภู่ ได้กล่าวถึงชีวิตพระยาพาน ว่า พระยาพาน ได้ไปเรียนรู้วิชาการต่างๆ กับหลวงตาผ้าขาวเถระรอด โดยระบุไว้ในคำกลอน ตอนหนึ่งว่า...

"...ครั้นเติบใหญ่ได้วิชาตาปะขาว (รอด) แกเป็นชาวเชิงพนม (ราชวงศ์ไศเลนทร์) อาคมขลัง รู้ผูกผ้าพยนต์มนต์จังงัง มีกำลังลือฤทธิ์พิสดาร...

คำกลอนดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของ ตาผ้าขาวเถระรอด และ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ ของ แคว้นเทียนสน(ยะลา) ซึ่งเป็นแคว้นศูนย์กลางการศึกษาของเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต มาอย่างยาวนาน แสดงให้เห็นว่า เจ้าชายพาน เมื่อได้ไปเป็นบุตรบุญธรรมของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน และ พระนางกลิ่นตานี แห่ง แคว้นธารา(บ้านนาเดิม) แห่งลุ่มแม่น้ำธารา(ตาปี) เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน ได้ส่งเจ้าชายพาน ไปเล่าเรียนที่ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์(ยะลา) แคว้นเทียนสน กับ หลวงตาผ้าขาวเถระรอด ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษา ของ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต เทียบเท่า มหาวิทยาลัยนาลันทา ประเทศอินเดีย ในขณะนั้น

 

 

(๔๑) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิต กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี)

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร(พ.ศ.๑๑๕๐-๑๑๕๖) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) นั้น เนื่องจาก สภาโพธิ และ สภาปุโรหิต ไม่ยินยอมให้ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน สละราชย์สมบัติ แต่ยินยอมให้ลดตำแหน่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน เป็นตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) และมี ท้าวธานี เป็น นายก ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี)

 

                              

ภาพที่ ๙๙ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร สื่อความหมาย ๒ ภพชาติ เคยประดิษฐานอยู่ที่ วัดศรีราชัน แต่ในสมัยสงครามเก้าทัพ วัดศรีราชัน ถูกข้าศึก เผาร้างไป ต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้นำไปเก็บไว้ที่ เมืองไชยา พระหัตถ์หลัง สื่อความหมายถึงเรื่องราวอดีตชาติ ของ ท้าวเทพนิมิตร ส่วนพระหัตถ์ ด้านหน้า แสดงเรื่องราวในภพชาติที่ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ซึ่งได้สร้างวัดศรีราชัน ขึ้นเป็นศูนย์กลางการรณรงค์ ทำลายวัฒนธรรมตอแหล ที่ระบาดอย่างหนักในดินแดนสุวรรณภูมิ ให้สังเกตว่า ฝ่าพระหัตถ์ขวา แสดง เงินเหรียญชิตังเม ซึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร รับสั่งให้สร้างขึ้น ในสมัยนั้น ด้วย  

 

      ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร มีนโยบายมุ่งเน้นปราบปรามวัฒนธรรมตอแหล ให้สิ้นไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ จึงได้สร้าง เงินเหรียญชิตังเม รุ่น เราชนะวัฒนธรรมตอแหลแล้ว มาใช้ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เงินเหรียญชิตังเม ดังกล่าว พบกันมากในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

      มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ยังมีนโยบายมุ่งเน้นให้ ราชาแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ร่วมกันบริจาคเงินทอง และ ทรัพย์สินต่างๆ เพื่อร่วมกันสร้างวัด ขึ้นมาแห่งหนึ่ง ชื่อว่า วัดศรีราชัน(วัดสั่งประดิษฐ์) เพื่อให้กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์ต่างๆ ร่วมกันสาบานว่า จะร่วมกันต่อต้าน ปราบปราม วัฒนธรรมตอแหล คือ การโกหกที่แนบเนียนอย่างหนึ่ง เป็นการผิดศีลห้า เช่นกัน และเป็นต้นตอของการสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ให้สิ้นไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ

      มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงได้เปลี่ยนแปลงที่ตั้งราชธานี จาก กรุงสระทิ้งพระ(สงขลา) มาตั้งอยู่ที่ แคว้นครหิต(คันธุลี) แล้วเปลี่ยนชื่อ แคว้นครหิต(คันธุลี) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีพุทธิ ส่วน แคว้นสระทิ้งพระ นั้น ได้มอบให้ พระยาอินทร์ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร กับ พระนางโกสมพี ไปดำรงตำแหน่ง มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรเทียนสน โดยมี พระยากระบี่ กรุงตาโกลา(กันตัง) เป็น มหาราชา

 

กำเนิด วัดศรีราชัน(วัดสั่งประดิษฐ์) เพื่อแก้ไข วัฒนธรรมตอแหล ปี พ.ศ.๑๑๕๐

ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร พิจารณาเห็นว่า เชื้อสายราชวงศ์ต่างๆ มีการ ทำตอแหล ซึ่งผิดศีลธรรม เรียกกันว่า โกหกตอแหล กันมาก ส่งผลให้เกิดกระแสการทำความผิดศีลธรรม อย่างอื่น ต่อเนื่องไปด้วย ทำให้กระแสสังคม ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเต็มไปด้วย วัฒนธรรมการทำตอแหล เกิดความแตกแยกระหว่างกัน อย่างรุนแรง มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงต้องการพัฒนา รัฐทางพระพุทธศาสนาที่มั่นคง โดยใช้ พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ อย่างจริงจัง จึงมีการรณรงค์ให้ประชาชน เชื้อสายราชวงศ์ และ ขุนนาง พร้อม ประชาชน ปฏิบัติตามศีลห้าข้อ เพื่อแก้ไขกระแส การระบาดของวัฒนธรรมตอแหล ที่เกิดขึ้นทั่วไปในสังคมชนชาติอ้ายไต มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงได้เปลี่ยนชื่อราชธานี จากชื่อ เมืองคันธุลี เป็นชื่อใหม่ว่า กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๐ เป็นต้นมา อาณาจักรต่างๆ ทั้ง ๑๔ อาณาจักร ได้เข้ามารวมกันเป็นปึกแผ่น อีกครั้งหนึ่ง

 

                            

ภาพที่-๑๐๐ ภาพโบสถ์ร้าง ของ วัดศรีราชัน ตั้งอยู่ในท้องที่ บ้านดอนธูป อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ผู้สูงอายุในท้องที่ บ้านดอนธูป เล่าว่า วัดศรีราชัน ถูกข้าศึก เผาร้างไปหลายครั้ง และ ครั้งสุดท้าย วัดศรีราชัน ร้างอีกครั้งในสมัยสงครามเก้าทัพ ต่อมา ในสมัยรัชกาลของ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ซึ่งได้เสด็จประภาสหัวเมืองภาคใต้ และได้มาทดลองโทรเลข ณ พลับพลา ข้างวัดศรีราชัน ซึ่งเป็นวัดร้างในขณะนั้น จึงได้พยายามสอบถามถึงประวัติ วัดร้าง แต่ประชาชนไม่กล้ากราบบังคมทูล เพราะวัดดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ พระเจ้าตากสินฯ ในสมัยที่เคยออกผนวชเป็นสามเณร มีพระนามว่า สามเณรพ่วง ในที่สุด สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รับสั่งให้ เจ้าเมืองไชยา ไปจัดหา พระภิกษุ ผู้ทรงศีล มาเข้าเฝ้า เจ้าเมืองไชยา ได้ไปนิมนต์ หลวงสังข์ ชาวเมืองระนอง ซึ่งบวชอยู่ที่ วัดประสบ เมืองไชยา มาเข้าเฝ้า สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงได้ถวายเงิน ส่วนหนึ่งให้กับ หลวงสังข์ ให้ทำการรื้อฟื้น วัดศรีราชัน ที่ร้างไปขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้พระราชทานพระประธาน มาให้ภายหลัง แต่รอคอยนาน จึงเรียกชื่อว่า หลวงพ่อคอย ปัจจุบัน วัดศรีราชัน กลายเป็นวัดร้าง อีกครั้งหนึ่ง

 

ภายหลังสิ้นสุดสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ และสงครามปราบปราม พระนางตอแหล เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้วางแผนสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดน ของ แคว้นครหิต(คันธุลี) มีเจตนาต้องการทำลายวัฒนธรรมตอแหล ให้สิ้นไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีการสร้าง วัดศรีราชัน ขึ้นมาด้วย

ตำนานความเป็นมาในการสร้าง วัดศรีราชัน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้จัดตั้ง คณะเชิดสิงโต ขึ้นหลายคณะ เพื่อเดินทางไปยังแว่นแคว้น ของ อาณาจักรต่างๆ ทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อทำการแสดงเชิดสิงโต ให้กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ราชวงศ์ต่างๆ ได้ระลึกถึง สมัยสงครามโพกผ้าเหลือง ซึ่งเป็นสงครามเพื่อรักษาดินแดนของชนชาติอ้ายไต มิให้ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครองไป แต่ต้องพ่ายแพ้สงครามโพกผ้าเหลือง มาก่อน คงเหลือเพียงดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นที่อยู่อาศัยของ ชนชาติอ้ายไต เท่านั้น แต่ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มาขัดแย้งด้วยกันเอง ด้วยเหตุของ วัฒนธรรมตอแหล จึงเกิดการแตกความสามัคคี ทำให้ชนชาติอื่น พยายามใช้โอกาสดังกล่าว ทำสงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง

มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงเรียกร้องให้ กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ต่างๆ ระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของชนชาติอ้ายไต ในความยากลำบากในการรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมทั้งเรียกร้องให้ร่วมกันบริจาคเงินทอง เพื่อนำไปร่วมกันสร้าง วัดศรีราชัน และ ทำการณรงค์ให้ชนชาติอ้ายไต ปฏิบัติตามศีลห้าข้อ ให้ร่วมกันต่อต้าน การนำวัฒนธรรมตอแหล มาสร้างความแตกแยกให้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกต่อไป

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้เงินทุนบริจาค จากการดำเนินการของ คณะเชิดสิงโต มาเพียงพอแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงได้มีพระราชสาส์นสั่งให้ พระยาศรีจง มหาราชา แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ทำการเชิญ ตาผ้าขาวสมิงไพร จาก เมืองสมิงไพร แคว้นสมุทรปราการ ให้เดินทางมาช่วยควบคุมการสร้าง วัดศรีราชัน จนเสร็จสิ้น

มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้มีพระบรมราชโองการ ให้ กษัตริย์ แว่นแคว้นต่างๆ คัดเลือกพระภิกษุผู้ทรงศีล นิมนต์ ให้มาจำพรรษา ณ วัดศรีราชัน และคัดเลือกเป็น เจ้าอาวาส ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิ จึงได้พระราชทานชื่อวัดดังกล่าวว่า วัดศรีราชัน พร้อมกับได้มอบหมายให้พระภิกษุ ของ วัดศรีราชัน เดินทางออกไปทำการเทศนา สั่งสอนให้ประชาชน ชนชาติอ้ายไต ตามแว่นแคว้น และ อาณาจักร ต่างๆ ให้รับรู้ถึงพิษภัย ของ วัฒนธรรมตอแหล ให้ร่วมกันต่อต้าน โดยมี วัดศรีราชัน เป็นศูนย์กลางการต่อต้านวัฒนธรรมตอแหล ในสมัยนั้น

พร้อมกันนั้น มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้รับสั่งให้ กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์อาณาจักรต่างๆ ต่างๆ ช่วยกันทำนุ บำรุง วัดศรีราชัน มิให้กลายเป็น วัดร้าง ในอนาคต มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้ทำการสาปแช่งไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่กษัตริย์ และ ราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ปล่อยให้ วัดศรีราชัน กลายเป็น วัดร้าง วัฒนธรรมตอแหล ก็จะระบาดแพร่หลายในสังคมไทย จะไม่มีดินแดนให้ชนชาติอ้ายไต อยู่อาศัย ชนชาติอื่นจะเข้ามายึดครอง แทนที่        

การสร้าง วัดศรีราชันแคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) นั้น ประชาชนทั่วเป็น เห็นว่า เป็นวัดที่ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร สั่งให้สร้างขึ้น ประชาชนจึงนิยมเรียกชื่อวัดนี้ ในอีกชื่อหนึ่ง ว่า วัดสั่งประดิษฐ์ หมายถึงวัดที่ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร มีรับสั่งให้ กษัตริย์ และ พวกราชวงศ์ต่างๆ ซึ่งเป็นราชา ปกครองแว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ร่วมกันประดิษฐ์ คิดสร้างขึ้น นั่นเอง

      ตำนานท้องที่ บ้านดอนธูป กล่าวว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ได้สร้างพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ ขึ้นเป็น ราชธานี ในพื้นที่ทางทิศใต้ ของ วัดศรีราชัน ซึ่งต่อมา ถูกเรียกชื่อว่า ดอนเจ้าตาก(ดอนพระเจ้าตากสินมหาราช)ª- พื้นที่ดังกล่าว กลายเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ในเวลาต่อมา หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงรับสั่งให้ย้าย ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จาก กรุงสระทิ้งพระ(สงขลา) มาตั้งอยู่ที่ กรุงศรีพุทธิ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นคันธุลี เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) ด้วย

      ในการสร้าง วัดศรีราชัน และ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) เพื่อใช้เป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ครั้งนั้น มหาราชาพระยาศรีจง แห่ง อาณาจักรหงสาวดี(พะโค) ได้เสด็จมาช่วยสร้างพระพุทธรูป ปางไสยาสน์ทรงเครื่อง ประดิษฐานไว้ในถ้ำใหญ่ ของ ภูเขาแม่นางส่ง ทุ่งลานช้าง ซึ่งเป็นสถานที่จำศีลของ พระนางอุษา(แม่นางส่ง) เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้าน วัฒนธรรมตอแหล ด้วย 

 

สงคราม กับ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ แคว้นแมนจูเจ้าเก้า ปี พ.ศ.๑๑๕๐

สงครามครั้งนี้ มีเหตุสืบเนื่องมาจาก มหาอาณาจักรจีน ไม่ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนการทำสงครามตอแหล ๗ สมรภูมิ ที่กล่าวมาแล้ว มหาอาณาจักรจีน เพียงสามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ไปครอบครองได้ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังมีกบฏ เกิดขึ้นในดินแดนของ อาณาจักรตาเกี๋ย อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นผู้มีอิทธิพลในการควบคุมเส้นทางการเดินเรือ ทั้งที่ผ่าน ช่องแคบซุนดา และ ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) อีกด้วย ทำให้กระทบกระเทือนต่อกิจการค้ากองเรือสำเภาค้าขายระหว่างประเทศ ทั้งของ มหาอาณาจักรจีน และ สหราชอาณาจักรมหาจามปา เป็นอย่างยิ่ง

ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้สนับสนุนให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) และ แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) โดยที่ กองทัพเรือ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพเรือเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) และกองทัพเรือ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา-ตะวันตก) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เพื่อให้ สหราชอาณาจักรมหาจามปา เข้าไปมีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบแมนจูเจ้า(มะละกา) แทนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย เมื่อ พระยามาลา และ พระยายี่หน แม่ทัพ แห่ง กรุงสระทิ้งพระ ทราบเหตุ ก็ได้ส่งกองทัพเข้าไปช่วยเหลือ ทั้ง ๒ แว่นแคว้น ซึ่งถูกรุกราน

ตำนานความเป็นมาของชื่อ แคว้นมาลายู(มะละกา) และ แคว้นยี่หน(ยะโฮ) ได้กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ว่า แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) และ แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) ถูกกองทัพทมิฬโจฬะ ตีแตก พระราชา และเชื้อสายราชวงศ์ ซึ่งเป็นผู้ชาย สวรรคต ในสงคราม พระนางอยู่ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ ราชา แห่ง แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) และเป็น พระคู่มั่น ของ พระยามาลา สามารถหลบหนีข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปได้ ประชาชน ต้องหลบหนีข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปซ่อนตัวในเขตป่าเขา ต่อมา กองทัพของ พระยามาลา และ พระยายี่หน ได้ยกกองทัพเรือมาถึง จึงสามารถทำสงครามขับไล่ กองทัพของ ทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ แต่ กองทัพทมิฬโจฬะ ได้ทำการเผา ราชธานี ของทั้งสองแคว้น จนร้าง ก่อนถอยทัพกลับไป

สงครามครั้งนั้น พระยามาลา ได้ออกติดตามหา พระคู่มั่น คือ พระนางอยู่ จนพบ จึงได้ร่วมกันกวาดต้อนประชาชนที่หนีภัยสงครามอยู่ในเขตป่าเขา ให้กลับมาร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ และได้อภิเษกสมรส ด้วยกัน พระยามาลา จึงได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น พระราชา ปกครอง แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) ได้ร่วมกับ พระนางอยู่ ทำการสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ พร้อมทั้งได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นแมนจูเจ้าเก้า เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นมาลาอยู่(มะละกา) เพื่อแสดงถึง ความรักระหว่าง พระยามาลา กับ พระนางอยู่ และเพื่อให้เกียรติต่อ ราชวงศ์แมนจูเจ้าเก้า ด้วย ต่อมา ประชาชนเรียกชื่อ แคว้นมาลาอยู่ เพี้ยนเป็น มาลายู หรือ มาลาโย้ หรือ มาลายา เรื่อยมา

ส่วน พระอนุชา ของ พระยามาลา คือ เจ้าชายยี่หน ได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับ เชื้อสายราชวงศ์ ของ แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) และได้ทำการรื้อฟื้น แคว้นยี่หน(ยะโฮ) ขึ้นมาแทนที่ แคว้นแมนจูเจ้าแปด ในช่วงเวลาเดียวกัน ด้วย

เนื่องจาก พระนางศรีโพธิ์ หรือ หม่อมแพรไหม ซึ่งเป็นพระราชมารดาของ พระยามาลา และ พระยายี่หุน เป็นเชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ และ เชื้อสายราชวงศ์หยาง จึงเป็นพระญาติสนิท กับ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย จึงเป็นที่มาให้ แคว้นมาลายู และ แคว้นยี่หุน นำพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ซึ่งนิยมนับถือกันอย่างแพร่หลายในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน มาใช้กับทั้งสองแว่นแคว้น ด้วย อีกทั้ง พระนางศรีโพธิ์ ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้หยางกวง ยินยอมให้ กองเรือสำเภาค้าขาย ของ มหาอาณาจักรจีน เดินทางผ่าน ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) ด้วยการเก็บภาษีค่าผ่านทางที่ถูก ทำให้ความขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรจีน ลดลง ทันที มหาอาณาจักรจีน จึงพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ อีกครั้งหนึ่ง

ในปีเดียวกันนั้นเอง พระนางมาลัย ราชวงศ์ขุนหลวง ซึ่งเป็นพระราชมารดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพมิตร ได้เสด็จสวรรคต มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงโปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) เป็นชื่อใหม่ว่า อาณาจักรมาลัยรัฐ เพื่อให้เป็นเกียรติ แก่ พระนางมาลัย ซึ่งเป็น อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ซึ่ง พระนางมาลัย ได้ สวรรคต ไป ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งยังได้เปลี่ยนชื่อ ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เป็นชื่อใหม่ว่า ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๕๐ อีกด้วย

 

มหาอาณาจักรจีน ส่งคณะราชทูต มายัง กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ปี พ.ศ.๑๑๕๐ 

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ความสัมพันธ์กับ มหาอาณาจักรจีน ก็ดีขึ้น เนื่องจาก พระนางศรีโพธิ์ ซึ่งเป็น อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร มีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติกับ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ด้วย เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง จดหมายเหตุจีน ได้จดบันทึก โดยเรียกชื่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ ว่า ประเทศ ชี-ลี-ฮุด-ชี(ศรีพุทธิ)

การที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) มีอิทธิพลเหนือดินแดน ช่องแคบมาลัยรัฐ(มะละกา) เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรี เมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๐ และต่อมา คณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ก็ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อปี พ..๑๑๕๑ เช่นกัน จดหมายเหตุจีน บันทึกไว้ว่าª-๙

...ปีที่ ๔ ในรัชกาล ฮ่องเต้หยางกวง(พ.ศ.๑๑๕๑) มีคณะราชทูตจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(ชี-ลี-ฮุด-ชี ก๊ก) เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ นี้ ถ้าเดินทางจาก มหาอาณาจักรจีน ต้องเดินทางผ่านภูเขา จวิน-ถู่-น่ง ไปอีกประมาณ ๒,๐๐๐ ลี้ ก็จะถึง กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี)

ดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(ชีลีฮุดชีก๊ก) มีอาณาเขตจากทิศตะวันออก ถึง ทิศตะวันตก กว้าง ๑,๐๐๐ ลี้ และมีความยาวของอาณาเขต จากทิศเหนือถึงใต้ ยาวประมาณ ๔,๐๐๐ ลี้ มีอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครองรวมกันจำนวน ๑๔ อาณาจักร โดยแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ราชธานี(กรุงธารา และ กรุงศรีพุทธิ)

ที่ ราชธานี ด้านตะวันตก(กรุงธารา) กษัตริย์ มีพระนามว่า หลาง-ผอ-อู่-ทือ(หลวงพ่ออุเทน) ราชธานี แห่งนี้ นี้มีสินค้าสำคัญคือ ทองคำ กรวดปรอท และ อัญมณีหลงเหน่า(โมรา) มาก ที่ราชธานี(กรุงธารา) แห่งนี้ เมื่อถึงฤดูร้อนเวลาเที่ยง และตั้งนาฬิกาแดด ใช้ความยาวของเข็มยาว ๘ เชียะ(๑ เชียะ ยาวประมาณหนึ่งฟุต) จะได้เงายาว ๒ เชียะ ๕ นิ้ว(คือที่ตั้งของ เมืองธารา-บ้านนาเดิม) 

อีกราชธานีหนึ่ง คือ กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป-คันธุลี) ที่นี่ มีผู้ชายมาก  มีตัว ถัว-ทา(ควาย) ลายเสือดาว และมีเขา(นอ) เหมือนแรด สามารถใช้ขี่ และใช้ไถนาก็ได้ สัตว์นี้เรียกชื่อว่า ทาหนิวเป้า(ควายเผือก) อีกทั้งยังมีสัตว์สี่เท้า ซึ่งเป็นสัตว์ป่า มีเขาเหมือนแพะภูเขา  เรียกชื่อว่า อวี๋(กวาง) เนื้อกินโอชานัก  จัดเป็นอาหารชั้นเลิศ มักจะใช้ส่งเป็นของกำนัล ระหว่างกัน  ราชธานี แห่งนี้(กรุงศรีพุทธิ) กษัตริย์ มีพระนามว่า เต๋อ-นิ-มี่-โต(เทพนิมิตร).."

      จดหมายเหตุความสัมพันธ์ทางการทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ที่มีการบันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๑ นั้น ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ซึ่งประกอบด้วย ๑๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรมาลัยรัฐ(มาลายู) , อาณาจักรทวาย(ไกลลาศ) , อาณาจักรหงสาดี(พะโค) , อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) , อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี) , อาณาจักรพิง(ฝาง) , อาณาจักรทวาราวดี(ราชบุรี) , อาณาจักรอีสานปุระ(ภาคอีสาน) , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) , อาณาจักรอ้ายลาว(ลาว) , อาณาจักรคามลังกา(ขอม) , อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ทั้ง ๑๔ อาณาจักร รวมกันเป็น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) นั่นเอง ส่วน อาณาจักรโพธิ์กลิงค์บัง(สุมาตรา-ตะวันออก) และ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) เป็นประเทศเมืองขึ้น ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ประกอบด้วยชนชาติกลิงค์ เป็นหลัก

 

พระยาพาน เป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นเคียนซา ปี พ.ศ.๑๑๕๔

หลังจากที่ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ขึ้นมาประมาณ ๕ ปี คือประมาณปี พ.ศ.๑๑๕๔ เจ้าชายพาน ซึ่งได้ออกผนวช และมีพระชนมายุ ๒๑ พรรษา ได้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ กรุงโพธิ เมื่อลาสิขา จึงได้รับการโปรดเกล้าให้เป็น พระยาพาน เป็นแม่ทัพใหญ่ ของ จักรพรรดิท้าวอุเทน จึงได้มาสร้างเมืองขึ้นใหม่ บริเวณ เกาะแก้วพิสดาร(เคียนซา) ซึ่งมีป่าต้นตะเคียนทอง เป็นจำนวนมาก คือ ท้องที่ อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

ตำนานชื่อท้องที่ อ.เคียนซา กล่าวว่า พระยาพาน ได้โค่นต้นไม้ตะเคียนทอง ล้มลงเสียงดัง ซ่าๆ เพื่อนำมาสร้างเรือสำเภา ให้เป็นกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ทำให้แคว้นดังกล่าว ถูกประชาชนเรียกชื่อว่า แคว้นเคียนซา(อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี) สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ประชาชนเรียกพระนาม พระยาพาน ว่า ตาเคียนซา ด้วย ในปีเดียวกัน พระยาพาน ยังได้รับโปรดเกล้าให้เป็น พระราชา แห่ง แคว้นเคียนซา อีกด้วย

นอกจากนั้น พระยาพาน ได้ขยายกองทัพเรือ ที่ ท่าจูลี้(ท่าโรงช้าง) และ ได้ทำการฟื้นฟู กองทัพช้าง และ สร้างกองทัพม้า และ กองทัพบก ที่ เมืองคีรีรัฐ ให้เข้มแข็งขึ้นดังเดิม พระยาพาน ได้กลายเป็นแม่ทัพใหญ่ ของ จักรพรรดิท้าวอุเทน ซึ่งมีบทบาทต่อการทำสงครามรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นปึกแผ่น ในเวลาต่อมาด้วย

 

 สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ แคว้นละโว้ ปี พ.ศ.๑๑๕๕

      ตำนาน พระยากง-พระยาพาน ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวถึง พระยาพาน ได้ พระนางวงศ์จันทร์ พระราชธิดา ของ พระยามหาฤกษ์ มาเป็นอัครมเหสี ภายหลังสงคราม ณ สมภูมิ แคว้นละโว้ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) นั้น ผลจากการรณรงค์ต่อต้าน วัฒนธรรมตอแหล โดยใช้ วัดศรีราชัน เป็นศูนย์กลางการต่อต้าน วัฒนธรรมตอแหล นั้น เป็นไปอย่างได้ผล ทำให้ชนชาติอ้ายไต เริ่มเลิกแบ่งข้าง เริ่มมีความรักสามัคคีกัน อีกครั้งหนึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงเริ่มสะสมกำลังทหาร เพื่อเตรียมทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรมหาจามปา ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ อีกครั้งหนึ่ง

      แต่เนื่องจาก มีเรื่องการพิจารณาโทษ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งถูกพักเรื่องไว้ชั่วคราว เพื่อการรณรงค์ต่อต้าน วัฒนธรรมตอแหล มาก่อนหน้านี้นั้น ได้ถูกนำขึ้นมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากมีการร้องเรียนว่า ท้าวปรารพ(พระยากง) กำลังวิ่งเต้นติดต่อกับ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ เพื่อทำสงครามคุกคาม พระยามหาฤกษ์ แห่ง แคว้นละโว้ และ พระยาโยธิกา แห่ง แคว้นนที(อยุธยา) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก ทั้งสองพระองค์ ไม่เห็นชอบด้วยกับการบริหารราชการ ของ ท้าวปรารพ(พระยากง)

 

                      

ภาพที่-๑๐๑ เทวรูปจำลอง ท้าวมหาฤกษ์ พบที่ภูเขาสมอคอน ลพบุรี เป็นกษัตริย์ ผู้สร้าง แคว้นละโว้ ขึ้นมาเนื่องจาก เคยเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา แต่เป็นกษัตริย์ ไม่ทรงธรรม จึงถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และได้ถูกเนรเทศ ให้ไปสร้าง แคว้นละโว้ เมื่อปี พ.ศ.๑๑๓๐ จนสำเร็จ ต่อมาได้ถวายพระราชธิดา คือ พระนางวงศ์จันทร์ ให้เป็น อัครมเหสี ของ พระยาพาน

     

      ในที่สุด สภามนตรี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) ได้มีมติให้ลงโทษ ท้าวปรารพ(พระยากง) ด้วยการให้ไปเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรทวาย(ไกลลาศ) ดังเดิม และเสนอแต่งตั้งให้ ท้าวมหาฤกษ์ กรุงละโว้ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรทวาราวดี แทนที่ และให้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรทวาราวดี กลับคืนเป็น อาณาจักรนาคฟ้า ดังเดิม มติดังกล่าว ถูกส่งไปให้ สภาโพธิ และ สภาปุโรหิต พิจารณากลั่นกรอง ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ ซึ่งข่าวดังกล่าวได้รั่วไหลให้ ท้าวปรารพ ทราบมติดังกล่าวด้วย จึงเกิดเหตุความไม่สงบ ขึ้น

 การเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ไม่พอพระทัย เป็นอย่างยิ่ง เพราะยังต้องการมีอำนาจปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งหมด จึงเริ่มวางแผน ก่อกบฏอีกครั้งหนึ่ง เตรียมประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเสด็จไปติดต่อกับ อาณาจักรอีสานปุระ ให้ร่วมกันก่อกบฏ โดยยืมมือกองทัพ อาณาจักรอีสานปุระ เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นละโว้ และ แคว้นนที(อยุธยา) อีกครั้งหนึ่ง ส่วน ท้าวปรารพ ได้วางแผน ก่อสงคราม กับ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อีกครั้งหนึ่ง ด้วย

ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรทวาราวดี กับกองทัพของ พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ซึ่งเป็นรัฐของชนชาติมอญ อีกครั้งหนึ่งด้วย สงครามครั้งนั้น พระเจ้าศรีอีสาน ได้มอบให้ พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ให้ทำการส่งกองทัพเข้าโจมตียึดครอง แคว้นละโว้(ลพบุรี) และ แคว้นนที(อยุธยา) เป็นเหตุให้ พระยาพาน ต้องเข้าไปมีบทบาทในสงคราม ครั้งนี้ ด้วย

เนื่องจาก ท้าวไกรสร มหาราชา แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง ทราบข่าวการเคลื่อนไหว ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งได้เสด็จไปติดต่อกับ พระเจ้าศรีอีสาน ในลักษณะผิดปกติ และทราบข่าวทางลับว่า อาณาจักรอีสานปุระ เตรียมทำสงครามล้างแค้น ต่อ แคว้นละโว้ และ แคว้นนที(อยุธยา) อีกครั้งหนึ่ง ท้าวไกรสร จึงได้มีพระราชสาส์น ไปถึง ท้าวอุเทน กรุงธารา(บ้านนาเดิม) เพื่อขอให้ จักรพรรดิท้าวอุเทน ส่งกองทัพไปรักษา แคว้นละโว้ และ แคว้นนที มิให้ ชนชาติมอญ ทำสงครามเข้ายึดครอง

เมื่อ จักรพรรดิท้าวอุเทน ได้รับพระราชสาส์น จาก ท้าวไกรสร จึงรับสั่งให้ พระยาพาน นำกองทัพไปตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่ แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) อย่างลับๆ ทำให้ พระยาพาน ได้ใช้โอกาสดังกล่าว ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเกวียน ออกสำรวจดินแดนต่างๆ ของ อาณาจักรต่างๆ รอบๆ แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) จนเชี่ยวชาญในพื้นที่ พระยาพาน ได้ถือโอกาส สร้างกองพันทหารม้า ณ แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) เพื่อการเคลื่อนที่เร็ว เป็นผลสำเร็จ ด้วย

ต่อมา พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ยกกองทัพที่เข้มแข็ง เข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นละโว้ และ แคว้นนที(อยุธยา) ตามแผนการที่กำหนด พระยามหาฤกษ์ ได้ส่งกองทัพออกไปทำสงคราม ณ สมรภูมิ นอกเมืองละโว้ ส่วน พระยาพาน ได้แสดงฝีมือการรบ ในหลายสมรภูมิสงคราม ณ แคว้นละโว้ ด้วยการสังหาร พระเจ้ายโสธร มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ สวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น บทบาทของ พระยาพาน จึงเป็นที่รู้จักกว้างขวางขึ้น เพราะเชื่อว่าเป็น พระราชโอรส ของ ท้าวอุเทน

ภายหลังสงครามครั้งนั้น เมื่อ มหาอุปราช พระเจ้ายโสธร สวรรคตในสงคราม เป็นเหตุให้ พระเจ้าสักกรดำ พระราชโอรส ของ พระเจ้าศรีอีสาน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรอีสานปุระ แทนที่ พระเจ้ายโสธรวรมัน พร้อมกันนั้น พระเจ้าศรีอีสาน ได้ประกาศก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(คันธุลี) อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ส่งคณะราชทูต ไปขอความคุ้มครอง จาก ฮ่องเต้หยางกวง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ทันที

      หลักฐานของบันทึกในหนังสือ ของ ม้าต้วนหลิน บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๑๕๕ ฮ่องเต้หยางกวง แห่งราชวงศ์สุย ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ม้าต้วนหลิน ได้คัดลอกไว้ในหนังสือของ ม้าต้วนหลิน เมื่อพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ได้กล่าวถึง อาณาจักรอีสานปุระ ด้วยª-๑๐

 

พระยาพาน อภิเษกสมรส กับ พระนางวงศ์จันทร์

ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้เกียรติภูมิ ของ พระยาพาน เริ่มสูงเด่นยิ่งขึ้น พระยามหาฤกษ์ แห่ง แคว้นละโว้ จึงได้ถวาย เจ้าหญิงวงศ์จันทร์ ซึ่งเป็นพระราชธิดา ให้อภิเษกสมรส กับ พระยาพาน ภายหลังสงครามครั้งนั้นด้วย ต่อมา พระยาพาน มีพระราชโอรส และ พระราชธิดา จาก พระนางวงศ์จันทร์ ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายหะนิมิตร , เจ้าหญิงสันลิกา และ เจ้าชายราม(จตุคามรามเทพ)

ภายหลังสงครามปราบปรามชนชาติมอญ-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ เรียบร้อยแล้ว พระยาพาน ได้มาสร้างกองทัพเรือ สร้างอู่ต่อเรือ ขึ้นที่ คลองกลิงค์ ของ เมืองท่าชนะ แคว้นศรีพุทธิ(คันธุลี) พระยาพาน ได้ไปสร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ที่ ทุ่งค้อ(บริเวณโรงเรียนตลาดหนองหวาย อ.ท่าชนะ ในปัจจุบัน) สร้างกองทัพเรือ เลียนแบบ มหาราชาตังเก แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เรือสำเภา ทีถูกสร้างเสร็จเสร็จเรียบร้อย จะถูกล่องไปฝึกซ้อมรบ ที่อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นประจำ

 พระยาพาน มีแม่ทัพที่สำคัญ ๓ คน คือ แม่ทัพไพศาล รับผิดชอบกองทัพเรือ และ แม่ทัพหมัน รับผิดชอบกองทัพบก ที่ตั้งของกองทัพเรือ ของ พระยาพาน ตั้งอยู่ที่ ท่าโรงช้าง(ท่าจูลี้) และ อ่าวศรีโพธิ์(ไชยา) ส่วน แม่ทัพหมัน สร้างกองทัพบกอยู่ที่เมืองคีรีรัฐ นอกจากนั้น พระยาพาน ยังมี พระยายมบา รับผิดชอบโรงงานถลุงเหล็ก โรงตีเหล็ก เพื่อผลิตอาวุธ ต่างๆ อยู่ที่ แหลมศรีโพธิ์(แหลมเขาถ่าน) คือท้องที่ ต.เขาถ่าน อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ก่อนเกิดสงคราม นั้น พระยาพาน ได้เร่งสร้างกองทัพ มาหลายปีแล้ว เพื่อเตรียมทำสงครามรวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ ให้เป็นปึกแผ่น

 

สงครามกับ ท้าวปรารพ ณ สมรภูมิ เขากง นราธิวาส ปี พ.ศ.๑๑๕๖

      ภายหลังการสวรรคต ของ พระเจ้ายโสธร แล้ว ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้ร่วมมือกับ อาณาจักรอีสานปุระ , อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) และ อาณาจักรทวาย ประกาศก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

      การประกาศก่อกบฏ ดังกล่าว ทำให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) เกรงว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อาจจะส่งกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรทวาราวดี ในเวลาไม่นาน เป็นเหตุให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ต้องจับมือ กับ พระเจ้าศรีอีสาน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ มหาราชาท้าวชิน แห่ง อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ได้ตัดสินพระทัย ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง กรุงพุทธทอง(กรุงทอง) แคว้นสระทิ้งพระ แห่ง อาณาจักรมาลัยรัฐ ทันที

      เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ไม่ต้องการทำสงครามกับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ และเป็นเชื้อสายราชวงศ์ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก ด้วยกัน เพราะเป็นการอับอายขายหน้าไพร่พล ที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องแตกแยกกันเอง ออกเป็นหลายก๊ก อีก มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร จึงแสร้งถอยทัพหลวง ไปยังภูเขากง ท้องที่ จ.นราธิวาส ในปัจจุบัน อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับได้ส่งพระราชสาส์น ไปให้กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) โดยหวังที่จะเจรจาให้ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้คิดถึงการที่เคยไว้ชีวิต ท้าวปรารพ ในอดีต ณ ท้องที่ ภูเขากง เพื่อยุติความแตกแยก ภายในดินแดนสุวรรณภูมิ และร่วมกันฟื้นฟู สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นมาปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ดังเดิม

      เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) ได้รับพระราชสาส์น ก็หาได้คิดทบทวนไม่ กลับคิดว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ทำการเยอะเย้ย จึงได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงคราม จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร สวรรคต ในสงคราม นายกพระยาธานี แห่ง แคว้นธานี(ปัตตานี) จึงได้ส่งกองทัพเข้าขับไล่กองทัพของ ท้าวปรารพ จนต้องถอยทัพกลับไป

      ภายหลังสงครามครั้งนั้น ท้าวอุเทน จึงต้องขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ อีกครั้งหนึ่ง โดยมี นายกพระยาธานี เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรศรีพุทธิ ว่าราชการอยู่ที่ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) อาณาจักรมาลัยรัฐ(เทียนสน) ท่ามกลางความแตกแยก อีกครั้งหนึ่ง

  

(๔๒) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน  กรุงธารา (บ้านนาเดิม)

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน(ปี พ.ศ.๑๑๕๖-๑๑๖๕) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงธารา(บ้านนาเดิม) นั้น ท้าวธานี ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ส่วน พระยากระบี่ พระราชโอรส ของ ท้าวเทพนิมิตร กับ พระนางโกสมพี ดำรงตำแหน่ง นายก ว่าราชการอยู่ที่ แคว้นตาโกลา(กันตัง)

 

                           

ภาพที่-๑๐๒ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน พบที่ อ.เสียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี จากการสืบสาวราวเรื่องมีข้อมูลว่า เดิมที เทวรูปนี้ ประดิษฐานอยู่ที่ ภูเขาพระนารายณ์ ต.ลิเล็ด อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ต่อมา ในต้นรัชกาล พระนั่งเกล้าฯ สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ ได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่ เมืองเวียงสระ หลังจากเกิดกรณี ยึดทรัพย์ พระยาคอปล้อง(สมเด็จเจ้าฟ้าหนูดำ)

 

ท้าวปรารพ ก่อกบฏ ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี ปี พ.ศ.๑๑๕๖

เมื่อ ท้าวปรารพ(พระยากง) สามารถฆ่า มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ให้สวรรคต ในสงคราม ณ สมรภูมิ ภูเขากง นั้น ท้าวปรารพ(พระยากง) จึงได้ยกกองทัพกลับ พร้อมกับได้ทำการติดต่อกับ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรเงินยาง(เชียงแสน) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงทวาราวดี(ราชบุรี) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

สหราชอาณาจักรทวาราวดี ที่ประกาศตั้งขึ้นใหม่นี้ ประกอบด้วยเพียง ๓ อาณาจักรเท่านั้น คือ อาณาจักรทวาราวดี(นาคฟ้า) , อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรอีเงินยาง(เชียงแสน) ส่วนอาณาจักรต่างๆ ที่คงเหลือ ยังคงขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ดังเดิม ดังนั้น ดินแดนสุวรรณภูมิ ในปี พ.ศ.๑๑๕๖ จึงแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก คือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ , สหราชอาณาจักรทวาราวดี และ สหราชอาณาจักรมหาจามปา

ท้าวปรารพ(พระยากง) อ้างว่า พระองค์ เป็นฝ่ายชนะสงคราม จึงประกาศขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี กรุงราชคฤห์(ราชบุรี) อีกครั้งหนึ่ง โดยมี พระเจ้าศรีอีสาน กรุงกาละศีล เป็น จักรพรรดิ และมี พระยาจักรนารายณ์ พระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของ ท้าวปรารพ(พระยากง) กับ พระนางแก้วงาบเมือง แห่ง เมืองจักรนารายณ์(นครไชยศรี) เป็น นายก ของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๑๕๖ เป็นต้นมา

       หลังจากที่ ท้าวปรารพ(พระยากง) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรทวาราวดี เรียบร้อยแล้ว ก็ประกาศขยายอาณาเขตการปกครองของ สหราชอาณาจักรทวาราวดี เข้าครอบคลุม พื้นที่ ของ อาณาจักรชวาทวีป ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทั้งหมด ทันที พร้อมกับได้ส่ง พระราชสาส์น ไปยัง มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน กรุงธารา(บ้านนาเดิม) ให้ส่งต้นไม้ไม้เงิน ต้นไม้ทอง มาแสดงความจงรักภักดี แต่ มหาจักรพรรดิท้าวอุเทน และ พระยาพาน ไม่ยอมอ่อนน้อมด้วย จึงเป็นที่มา ของ สงคราม ระหว่าง พระยาพาน กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) ในเวลาต่อมา เรียกว่า สงครามพระยากง-พระยาพาน นั่นเอง

 

 

 

 

                                                   เชิงอรรถ



ª-  เรื่อง พระนางอุษา กับ ท้าวปรารพ(พระยากง) คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ในประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติอ้ายไต มีการเล่ากันหลายตำนานมาก ในตำนานอุรังคธาตุ หรือ ตำนานสร้างพระธาตุนครพนมก็มีกล่าวถึง เนื่องจากต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ซึ่งมีอิทธิพล ปกครองไปถึง อินเดียภาคใต้ จึงมีบันทึกไว้ในหนังสือ คัมภีร์วิษณุปุราณะ ของ ประเทศอินเดีย ด้วย ปัจจุบัน มีผู้รวบรวมเรื่องของ พระนางอุษา ไว้มาก เช่น ตำนานจาก หลังม่านกาลเวลา ของ ผ.ศ.สุกัญญา ภัทราชัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(หนองคาย หน้าที่ ๑๘๐-๑๙๒) ในภาคใต้ มีหลายเรื่อง เช่น เรื่องราวของ พระนางเลือดขาว เรื่องนางทั้งห้า เรื่องสงครามพระยากง-พระยาพาน เรื่องแม่นางส่ง เรื่องแม่ธรณีบีบมวยผม และเรื่อง กำเนิดราชวงศ์ปทุมวงศ์ เป็นต้น ล้วนเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ พระราชประวัติของ พระนางอุษา ทั้งสิ้น

       ในส่วนที่ ผู้เรียบเรียง นำมาเสนอนั้น คือการประมวลเรื่องราว ของ พระนางอุษา จากทุกๆ ตำนาน มาสรุปเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยได้เชื่อมโยงเรื่องราวที่ขาดตอนไป ให้มีเนื้อหาครบถ้วนยิ่งขึ้น โดยนำเรื่องราวตำนาน แม่นางส่ง จากท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งขาดหายไป มานำเสนอไว้ด้วย

 

ª- ศ.ดร.ผาสุก อินทราวุธ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง สุวรรณภูมิ จากหลักฐานโบราณคดี หน้าที่ ๑๑๗ กล่าวว่า พระยาสิกา เป็นพระราชบิดา ของ พระยากง แต่จากผลการค้นคว้า ของ ผู้เรียบเรียง พบว่า พระยาสิกา นั้น แท้จริงมีพระนามว่า พระยาสิเกา เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิพ่อยอดน้ำ กรุงพันพาน ดังนั้น พระยาสิเกา จึงเป็น พ่อตา ของ พระยากง หรือ ท้าวปรารพ เพราะได้ถวาย พระนางแก้ว ให้อภิเษกสมรส กับ พระยากง และต่อมา พระยากง ได้ลอบวางยาพิษ พระยาสิเกา จนกระทั่ง สวรรคต เพื่อแย่งชิงราชย์สมบัติ

 

ª-เนื่องจาก นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก โดยทั่วไปได้ตั้งสมมุติฐานว่า ชนชาติมอญ หรือ ชนชาติกลิงค์ เป็นผู้ก่อตั้ง อาณาจักรหงสาวดี ขึ้น แต่เมื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆ จะพบหลักฐานว่า พื้นที่ อาณาจักรหงสาวดี ในอดีตนั้น จะพบหลักฐานว่า พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเดอร์ ได้เดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ สมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ระหว่างปี พ.ศ.๖๙๓-๗๓๕ ได้บันทึกว่า พื้นที่ที่ตั้ง อาณาจักรหงสาวดี ดังกล่าว เป็นที่ตั้งรกรากของชนพื้นเมืองชาวป่าเขา ชนเผ่าเบซิงงา มาก่อน และหลักฐานบันทึกพงศาวดารไทยอาหม และ พงศาวดาร อาณาจักรโกสมพี ล้วนบันทึกตรงกันว่า พื้นที่ดังกล่าว ทาง กษัตริย์ แห่ง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) ได้พยายามเข้าไปสร้างแว่นแคว้นในดินแดนพื้นที่ดังกล่าว แต่ไม่สามารถสร้างได้สำเร็จ เพราะมีชนพื้นเมือง ครอบครองดินแดนอยู่ และมีความโหดร้าย แม้ว่า ต่อมามีการให้กำเนิด อาณาจักรโกสมพี และขยายตัวมาให้กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู และ อาณาจักรพิง เรียบร้อยแล้ว ดินแดนพื้นที่ อาณาจักรหงสาวดี ยังตกอยู่ในการครอบครอง ของ ชนพื้นเมืองชาวป่าเขาบาซิงงา เช่นเดิม

       ชนชาติอ้ายไต ได้เข้าไปมีอิทธิพล ในดินแดนพื้นที่ อาณาจักรหงสาวดี มีผลมาจาก พระยาวสุ ได้อพยพไพร่พล หนีภัยสงครามชนชาติทมิฬโจฬะ จาก แคว้นสุธรรม(สิชล นครศรีธรรมราช) มาสร้างแคว้นสุธรรม(เสทิม) ขึ้นมาในพื้นที่ดังกล่าว แล้วค่อยๆ ทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองชาวป่าเขา ชนเผ่าบาซิงงา ออกไปตั้งรกราก ณ เมืองยาไข(ยะไข่) และ ผลจากการที่ พระเจ้านันทเสน ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ถูกเนรเทศให้มาสร้างแคว้นนันทเสน(สะโตง) บริเวณปากแม่น้ำสะโตง นั้น มีส่วนช่วยในการทำสงครามขับไล่ชนพื้นเมืองบาซิงงา ทำให้ชนพื้นเมืองบาซิงงา ลดลง ดังนั้น เมื่อ พระยาศรีจง นำไพร่พล อพยพมาสร้าง แคว้นพะโค และ แคว้นย่างกุ้ง ขึ้นมานั้น จึงทำให้ ชนชาติอ้ายไต เข้ามามีอิทธิพล ในพื้นที่ดังกล่าว และได้ก่อตั้ง อาณาจักรหงสาวดี ขึ้นมา ในเวลาต่อมา ส่วนชนชาติมอญ ได้เข้ามามีอิทธิพล ในดินแดนอาณาจักรหงสาวดี ในสมัยต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

ª--  กรมศิลปากร ประวัติศาสตร์อาหม พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่-๓๗

 

ª- ประวัติพระถังซัมจั๋ง นายคงเหลียน สีบุญเรือน แปล สำนักพิมพ์คบไฟ พ.ศ.๒๕๔๒ หน้าที่-๑๕๖

 

ª-นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อ นาย จีอี ฮาร์วี่ย์ ได้ค้นคว้าเรื่องราวความเป็นมา ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) จากบันทึกในจดหมายเหตุจีน ซึ่งได้ทำการบันทึกเรื่องราวต่างในดินแดนทางภาคใต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ไว้ในหนังสือหมานซู ซึ่งมีคณะราชทูตของ มหาอาณาจักรจีน สมัยฮ่องเต้หยางกวง ได้เดินทางมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ได้ทำการบันทึก และได้บรรยายถึงสภาพทั่วไปถึง ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๑๔๗-๑๑๔๘ มีเนื้อหาบางส่วนซึ่งคัดลอกมา จากหนังสือ Harvey ๑๙๖๕ p ๑๒-๑๓ สามารถถอดความตอนหนึ่ง ว่า...

       “...สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ประกอบด้วยเขตปกครองที่มีแว่นแคว้นต่างๆ รวมกันจำนวน ๑๘ แว่นแคว้น แผ่นดินของ ประเทศนี้ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองหย่งชัง ในเขตหมาน ประเทศนี้ ใช้อิฐสีเงิน และใช้อิฐสีเขียวเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองราชธานี รูปกำแพง มีลักษณะเป็นรูปวงกลม วัดโดยรอบมีความยาวประมาณ ๖๐ ลี้ กำแพงเมือง มีประตูเมืองจำนวน ๑๒ ประตู และมีพระเจดีย์ต่างๆ ตั้งอยู่ตามประตูเมืองต่างๆ อีก ๔ แห่ง

       ถ้าจะเดินด้วยเท้า ให้รอบกำแพงเมืองนครหลวง(เมืองปยู) จะต้องใช้เวลาประมาณ ๑ วัน ราษฎรส่วนใหญ่ จะตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ภายในกำแพงเมือง ทั้งสิ้น ส่วนกำแพงพระราชวังหลวง ของ กษัตริย์ มักจะทำด้วยอิฐแผ่นเรียบ ลักษณะกำแพงพระราชวังหลวง เป็นวงกลม เช่นกัน ขณะที่ กษัตริย์ ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) เสด็จออกจากพระราชวังหลวง มหาจักรพรรดิ จะประทับนั่งบนเสลี่ยง ซึ่งทำด้วยทองคำ หากเป็นการเดินทางไกล มหาจักรพรรดิ ของ ประเทศนี้ จะเสด็จด้วยการทรงช้าง และมีสาวสนมกรมวัง หลายร้อยคน คอยปรนนิบัติรับใช้

       กำแพงเมือง ราชธานี กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) มีประตูเมืองจำนวน ๑๒ ประตู ที่หน้าประตู มีการสร้างพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ สูงกว่า ๑๐๐ ฟุตจีน มีสีขาวดั่งหิมะ(พระบัวเข็ม)  ในเมืองราชธานี แห่งนี้ ประชาชนถือธรรมเนียมประหยัดมัธยัสถ์ ถือเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ตั้ง นิสัยใจคอของพลเมือง จะรักความสงบ และพูดน้อย ยึดมั่นในหลักธรรมคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า ในเมืองราชธานี จึงไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตใดๆ ประชาชน สนใจแต่ศาสตร์เกี่ยวกับดวงดาวบนท้องฟ้า (วิชาโหราศาสตร์) เป็นส่วนใหญ่

        ชาวเมืองราชธานี ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) เวลาพบกันจะทักทายด้วยการยกมือขึ้นพนมไหว้ ประชาชนใน แคว้นเพี้ยว(โพธิ์อู่ติ่ง-ปยู) แห่ง สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู มีความรู้เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ประชาชนในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) นับถือศาสนาพุทธ จึงมีวัดหลายร้อยวัด กำแพงวัดทำด้วยอิฐแก้ว ประดับประดาด้วยทองคำ และเงินสีแดง สีสดใส ประเพณีของประชาชนใน ประเทศนี้ มีประเพณีที่จะต้องปฏิบัติ สำหรับเด็กๆ เมื่อมีอายุครบ ๗ ขวบ คือ จะต้องโกนหัว และเข้าบวชเป็นสามเณร ในวัดทางพุทธศาสนา เพื่อการศึกษาเล่าเรียน ประชาชนชาว กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ชอบนุ่งผ้าซิ่น ชอบสวมหมวกซึ่งประดับประดาด้วยดอกไม้ ที่ทำด้วยทองคำ และไข่มุก

       ที่หน้าประตูพระราชวังหลวง ณ ราชธานี กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ซึ่งตั้งอยู่ที่ แคว้นโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) มีระฆังสองใบ แขวนไว้หน้าพระราชวัง ด้วย ระฆัง ใบหนึ่ง ทำด้วยเงิน อีกใบหนึ่งทำด้วยทองคำ ถ้าหากมีข้าศึกเข้ามาโจมตี ราชธานี จะต้องมีการตีระฆังสองใบนี้ และจะมีการจุดธูปบวงสรวงเทพเจ้า เพื่อจะให้ทำนายโชคชะตาอนาคตว่า จะดีร้ายอย่างไร และที่หน้าพระราชวังหลวง ยังมีรูปปั้นเทวรูป ช้างเผือกขนาดใหญ่ สูงราว ๑๐๐ ฟุต ผู้ที่มานับถือจะมาจุดธูป เทียน และคุกเข่าไหว้อยู่ข้างหน้าเทวรูป ช้างเผือก เพื่อที่จะได้ระลึกถึงสิ่งที่ได้กระทำลงไปแล้วว่าถูกหรือผิด อย่างไร จากนั้นก็จากไป หากมีเภทภัยโรคร้ายระบาด มหาจักรพรรดิ จะมาคุกเข่ากราบไหว้ เทวรูป ช้างเผือก และจะทรงตำหนิพระองค์เอง

       หากมีกรณีพิพาทระหว่างประชาชน เกิดขึ้น มหาจักรพรรดิ แห่ง ประเทศนี้ จะให้คู่คดีความ ไปจุดธูปเทียน เพื่อรักษาศีล ที่หน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่(พระบัวเข็ม) เมื่อทั้งสองฝ่ายได้สติแล้ว จึงจะกลับไป หากเกิดโรคระบาด หรือเกิดเหตุวุ่นวายขึ้นมาในเมืองราชธานี มหาจักรพรรดิ จะทรงเสด็จมา จุดธูปเทียน เพื่อทำการสักการบูชาดวงพระวิญญาณ ที่สิงห์สถิต อยู่ใน พระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าพระราชวัง พร้อมกับทำการปลงอาบัติพระองค์เอง ด้วย

       ในเมืองราชธานี ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของ แคว้นโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ไม่มีโซ่ตรวน ในการลงโทษผู้กระทำผิด อาชญากรจะถูกโบยหลังด้วยไม้ไผ่ ๕ ลำ มัดรวมกัน และจะตี ๕ ครั้งสำหรับโทษหนัก หากเป็นโทษเบา จะถูกตี ๓ ครั้ง หากเป็นฆาตกร จะถูกนำไปประหารชีวิต ที่นี่ ลำอ้อยใหญ่เท่าลำขาของผู้ชาย ชาวเมืองใช้เงิน หรือ ทองคำ เป็นเงิน เพื่อใช้แลกเปลี่ยนกับสินค้า เงิน หรือ ทองคำ ซึ่งสร้างเป็นเงิน ของ ประเทศนี้ จะหล่อเป็นรูปวงเสี้ยว(เงินไพ)

       ประชาชนในดินแดนของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู  กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ใช้เทียนไขที่ทำจากขี้ผึ้ง เป็นแสงสว่าง ทดแทนตะเกียงที่ใช้น้ำมัน ในการค้าขายระหว่างกัน ประชาชนจะใช้หนังสัตว์ ฝ้าย เพชรพลอย และภาชนะเครื่องปั้นดินเผา มาแลกเปลี่ยน กับ สินค้าอื่นๆ พวกผู้ชายในราชธานี ของ สหราชอาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ชอบนุ่งห่มด้วยผ้าป่านขาว ส่วนผู้หญิง จะเกล้าผมมวยไว้บนศีรษะ ประดับด้วยสร้อยไข่มุก สตรี นิยมนุ่งผ้าซิ่น สีธรรมชาติ และชอบห่มสไบ ผ้าไหม ภรรยาของพวกขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หากเดินออกจากบ้านพัก มักจะมีคนรับใช้ ๔-๕ คน ถือพัด คอยโบกพัดวี อยู่ข้างๆ เพื่อเดินตามไปด้วย...

 

ª- อ่านเอกสารประกอบเพิ่มเติม จาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ เรื่อง ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง วีรบุรุษ สองฝั่งโขง ของ สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๘

 

ª-  ผู้เรียบเรียง ได้ไปสืบข้อมูล พื้นที่ อดีตที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีพุทธิ(ดอนธูป-คันธุลี) จากสายตระกูลหนึ่ง ซึ่งสืบสายตระกูลมาจาก พระเจ้าหลานเธอ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีสายตระกูล ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ บ้านหน้าสวน ท้องที่บ้านดอนธูป ซึ่งมีดาบ เล่มหนึ่ง เรียกว่า ดาบขุนชัยฤทธิ์ กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ใช้เป็นอาวุธประจำกาย ในการใช้ทำสงครามกอบกู้เอกราช จาก ข้าศึกพม่า และต่อมา ได้พระราชทานให้กับ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์ฯ ซึ่งสืบทอดมาในสายตระกูล และต้องทำพิธีไหว้ครู บวงสรวงเซ่นไหว้ ดาบขุนชัยฤทธิ์ ดังกล่าว เป็นประจำทุกๆ ปี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบข้อมูลเรื่อง ดอนเจ้าตาก และ ที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

       แม่นกเอี้ยง พระราชมารดา ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ และ พระองค์เจ้าอั๋น สองพี่น้อง นั้น เป็นพระราชธิดา ของ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว กับ พระนางติ่ง แซ่แต้(เจิ้งติ่ง เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ ฮ่องเต้จีน) ดังนั้น พระองค์เจ้านกเอี้ยง จึงเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ สมเด็จพระเพทราชา ด้วย ต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว ได้มเหสีอีกพระองค์หนึ่ง จึงได้ลอบวางยาพิษ พระนางติ่ง แซ่แต้ ถึงแก่สิ้นพระชนม์ เพื่อแย่งชิงสมบัติ จนกระทั่ง พระองค์เจ้านกเอี้ยง ถูกลอบปลงพระชนม์ หลายครั้งด้วย เป็นเหตุให้ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ต้องหลบหนี ไปอาศัยอยู่กับ ช่างทองในกรุงศรีอยุธยา ชื่อ นายต้า แซ่ลิ้ม(เป็นญาติ กับ พระนางติ่ง แซ่แต้) จนกระทั่ง ได้เสียกัน และ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ทรงพระครรภ์ พระเจ้าตากสินฯ แต่ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ยังถูกติดตามไล่ฆ่า จาก แม่เลี้ยง เช่นเดิม เป็นเหตุให้ พระองค์เจ้านกเอี้ยง กับ นายต้า แซ่ลิ้ม ต้องหลบหนีมาอยู่ที่ เมืองท่าชนะ และ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ได้ประสูติ พระเจ้าตากสินฯ ภายในถ้ำใหญ่ ภูเขาแม่นางส่ง ทุ่งลานช้าง ให้พระนามว่า พ่วง จึงมีศักดิ์เป็น มจ.พ่วง และต่อมา พระองค์เจ้านกเอี้ยง ได้ไปสร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ในพื้นที่ วัดดอนชาย อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ขณะนั้น วัดศรีราชัน เป็นวัดร้าง ตั้งแต่รัชสมัยที่ พระเจ้าเสือ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เพราะ เจ้าอาวาส องค์เก่า มรณภาพ และไม่มีการโปรดเกล้า เจ้าอาวาส องค์ใหม่ ไปแทนที่ ตามราชประเพณี เช่นในอดีต เป็นเหตุให้ พระภิกษุ ที่เหลือ จึงต้องโยกย้ายไปจำพรรษา ที่วัดอื่นๆ วัดศรีราชัน จึงกลายเป็น วัดร้าง อีกครั้งหนึ่ง

       ต่อมา สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว พระราชบิดา ของ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ถูกพระเจ้าบรมโกษ ใช้วัฒนธรรมตอแหล ใส่ความ กล่าวหาว่า เป็นผู้ขโมย พระธรรมรงค์ แล้วนำไปสำเร็จโทษ พระองค์เจ้านกเอี้ยง จึงได้ร่วมกับ หม่อมดาว(ภรรยา ของ พระยาจักรีมุกดา และเป็นมารดา ของ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์ บุญชู) ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์สิน ไปรื้อฟื้น วัดศรีราชัน ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ สมเด็จเจ้าฟ้าแก้ว ซึ่งเป็นพระราชบิดา และหวังให้เป็นที่ออกบวช ของ ม.จ.พ่วง(พระเจ้าตากสินฯ) ในอนาคต โดยที่ หม่อมดาว เป็นผู้ติดต่อให้ กษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา พระราชทานภิกษุ ผู้ทรงธรรม มาเป็นเจ้าอาวาส ตามราชประเพณี หลังจากนั้น นายต้า แซ่ลิ้ม ไปมีภรรยาใหม่ จึงต้องเลิกร้าง กับ พระองค์เจ้านกเอี้ยง

       ต่อมาเมื่อ ม.จ.พ่วง(พระเจ้าตากสินฯ) มีพระชนมายุได้ ประมาณ ๑๓ พรรษา หลังจากเสด็จกลับจาก ประเทศจีน จึงได้ออกผนวชเป็น สามเณร ณ วัดศรีราชัน มีพระนามซึ่งประชาชนเรียกชื่อว่า สามเณรพ่วง เป็นเหตุให้ พระองค์เจ้านกเอี้ยง ได้มาใช้พื้นที่ พระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร ปรับปรุงเป็น พระราชวังที่ประทับ ส่วน พระราชวังดอนชาย พระองค์เจ้านกเอี้ยง ได้บริจาคทรัพย์สิน สร้างเป็น วัดดอนชาย สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

       ต่อมา เมื่อ ม.จ.พ่วง(พระเจ้าตากสินฯ) ได้ไปรับราชการ ณ ราชธานี กรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งมีพระนามใหม่ที่ประชาชน เรียกชื่อว่า พระยาตากสิน นั้น เจ้าอาวาส วัดศรีราชัน ได้มอบดาบขุนชัยฤทธิ์ ซึ่งเคยทำสงครามต่อสู้กับข้าศึก ในสมัยสงครามโรมรันพันตู ให้กับ ม.จ.พ่วง(พระเจ้าตากสินฯ) ไว้ติดกายต่อสู้กับ ข้าศึก โดยได้ทำนายว่า จะเกิดสงครามใหญ่ เนื่องจาก วัฒนธรรมตอแหล ได้ระบาดมาก ในดินแดนสุวรรณภูมิ

       ก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ นั้น วัฒนธรรมตอแหล ได้ระบาดแพร่หลายในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างหนัก พระยาตากสิน พิจารณาเห็นว่า กรุงศรีอยุธยา ต้องเสียทีแก่ข้าศึกพม่า อย่างแน่นอน เพราะ ขุนนางตอแหล เป็นใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา จึงได้ตัดสินใจได้เสด็จกลับมา ณ วัดศรีราชัน อีกครั้งหนึ่ง เพื่อเตรียมทำสงครามกู้ชาติ ขณะนั้น เจ้าอาวาส วัดศรีราชาชัน ถึงแก่มรณภาพ ด้วย เป็นเหตุให้ พระยาตากสิน ได้ทำพิธีมหาไชยาบรมราชาภิเษก ณ ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชาแห่ง อาณาจักรเสียม(อาณาจักรชวาทวีป ดั้งเดิม) มีพระนามว่า พระศรีสรรเพชร พร้อมกับได้มาใช้ อดีตพระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง มีการใช้ ดอนเจ้าตาก ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ วัดศรีราชัน ระหว่าง พระราชวังที่ประทับ กับ วัดศรีราชัน เป็นสถานที่ฝึกทหาร เพื่อเตรียมทำสงครามกอบกู้ อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา กลับคืน เป็นผลสำเร็จในเวลาต่อมา จึงได้ใช้กรุงธนบุรี เป็น ราชธานี ของ มหาอาณาจักรเสียม-หลอ อีกครั้งหนึ่ง

        ในสมัย มหาอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงธนบุรี ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ บางกุ้ง ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๗ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ได้พระราชทาน ดาบขุนชัยฤทธิ์ ให้กับ พระเจ้าหลานเธอกรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม แล้วโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองเพชรบุรี จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๓๑๙ เจ้านราสุริยวงศ์ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเสียม กรุงศรีธรรมราช สวรรคต สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม ไปเป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรเสียม กรุงคันธุลี ว่าราชการอยู่ที่ อดีตพระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทพนิมิตร อีกครั้งหนึ่ง       

       ต่อมาในปลายรัชกาล ของ พระเจ้าตากสินฯ ได้เกิดกบฏพระยาสรรค์ ขึ้นที่ กรุงธนบุรี กรมขุนอนุรักษ์ ได้ยกกองทัพไปช่วยกรุงธนบุรี แต่พ่ายแพ้สงคราม และ สวรรคต ในสงคราม และต่อมา วัดศรีราชัน ได้ถูกข้าศึกพม่า เผาร้าง อีกครั้งหนึ่ง

       เนื่องจาก พระเจ้าศรีสรรค์เพชร(พระเจ้าตากสินฯ) โดยได้เคยสร้างพลับพลาที่ว่าราชการ ทางทิศใต้ ของ วัดศรีราชัน ซึ่งในสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จประภาสหัวเมืองภาคใต้ และได้มาทดลองโทรเลข ครั้งแรก ณ พลับพลา ดังกล่าว และพบวัดร้างในท้องที่ดังกล่าว แต่ไม่มีผู้ใด กล้ากราบทูล เรื่องประวัติ ของ วัดศรีราชัน ในที่สุด สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงรับสั่ง และ บริจาคเงิน และ พระประธาน หลวงพ่อคอย จึงมีการรื้อฟื้น วัดศรีราชัน ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจาก วัดศรีราชัน ได้ร้างไปนาน

       ส่วน ดาบขุนไชยฤทธิ์ ได้ตกทอดมายังลูกหลาน ของ กรมขุนอนุรักษ์ จึงมีการทำพิธีไหว้ครู บวงสรวงเซ่นไหว้ สืบทอดเรื่อยมา จนกระทั่งในสมัยที่ สังคมชนบท ได้เปลี่ยนเป็นสังคมเมือง ลูกหลาน ของ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม ได้นำเอาฝักทองคำ และ ถอดด้ามทอง ของ ดาบขุนชัยฤทธิ์ ไปขาย และมิได้สืบทอดพระเพณี บวงสรวงเซ่นไหว้ ดาบขุนชัยฤทธิ์ อีกต่อไป จึงเกิดอาถรรพ์ ต่างๆ นาๆ แก่ ลูกหลาน ของ กรมขุนอนุรักษ์ราชสงคราม จึงได้มีการบวงสรวงเซ่นไหว้ ดาบขุนชัยฤทธิ์ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในเวลาต่อมา และสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ª-๙  นายทองแถม นารถจำนง เป็นผู้แปลจาก ภาษาจีนโบราณ ในหนังสือหมานซือ และ ผู้เรียบเรียง นำมาปรับปรุงสำนวน และ เรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อให้ง่ายต่อการสร้างความเข้าใจ

 

ª-๑๐  ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ พิมพ์ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่-๑๕๗-๑๕๙ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก สันนิษฐานว่า เป็นเรื่องราวของ อาณาจักรขอม และ สันนิษฐานอย่างผิดๆ ต่อไปว่า อาณาจักรขอม และ อาณาจักรเจนละ(เขมร) เป็นอาณาจักรเดียกัน สร้างความขัดแย้งทางด้านองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย มาจนถึงปัจจุบัน แท้จริงแล้ว เมื่อตรวจสอบหลักฐานต่างๆ อย่างรอบคอบ ก็จะพบความเป็นจริงว่า อาณาจักรอีสานปุระ เป็นอาณาจักร ของ ชนชาติมอญ ซึ่งได้แย่งชิงดินแดน อาณาจักรนาคดิน ไปจาก ชนชาติไทย นั่นเอง จดหมายเหตุจีน ดังกล่าว มีเนื้อหา ดังนี้

...ปีที่เก้า ในรัชกาลของ ฮ่องเต้หยางกวง(พ.ศ.๑๑๕๖) ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูตไปยังราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ อาณาจักรนี้ มหาราชา(พระเจ้าศรีอีสาน) ประทับอยู่ในเมืองราชธานี ซึ่งมีชื่อว่า อีสาน(กาฬสินธุ์) ในเมืองราชธานี ประกอบด้วยครอบครัวมากกว่า ๒๐,๐๐๐ ครัวเรือน ตรงกลางเมืองราชธานี เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง มีท้องพระโรงใหญ่ ซึ่งมหาราชา เสด็จออกเพื่อว่าราชการ เพื่อให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้า อาณาจักรอีสานปุระ ยังมีเมืองต่างๆ ภายใต้การปกครองอีก ๓๐ เมือง แต่ละเมือง มีพลเมืองอยู่หลายพันครัวเรือน ทุกเมือง มีข้าหลวง(เจ้าเมือง) เป็นผู้ปกครอง ตำแหน่งขุนนาง ของ อาณาจักรอีสานปุระ เหมือนกับ ตำแหน่งขุนนาง ของ อาณาจักรมหาจามปา

ทุกๆ ๓ วัน มหาราชา(พระเจ้าศรีอีสาน) จะเสด็จมาว่าราชการ ตามพิธีการ ยังท้องพระโรง พระองค์เสด็จขึ้นประทับบนพระแท่น ซึ่งเป็นราชบัลลังก์ ทำด้วยไม้หอม ๕ ชนิด และประดับด้วยวัตถุพิเศษ ๗ ประการ เหนือพระแท่น มีพลับพลา ซึ่งหลังคาดาดด้วยผ้าอย่างสวยงาม มีเสาทำด้วยไม้มีลาย และฝา ทำด้วยแผ่นงาช้าง ประดับด้วยดอกไม้ทองคำ ทั้งพระแท่นและพลับพลา นี้ ดูคล้ายกับว่า เป็นพระที่นั่งเล็กๆ และที่ท้ายพลับพลา นั้น ก็มีจักร ซึ่งมีรัศมีรูปแปลวไฟ ทำด้วยทองคำ แขวนอยู่ด้วย เช่นเดียวกับที่คณะราชทูตของ มหาอาณาจักรจีน เคยพบเห็น ณ ท้องพระโรง ของ พระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) มีสถานที่สำหรับใช้เผาเครื่องหอม ทำด้วยทองคำ มีผู้ชาย ๒ คน ทำหน้าที่ดูแลรักษา

ข้างหน้าเครื่องทรง ของ มหาราชา(พระเจ้าศรีอีสาน) ทรงเครื่องด้วยการคาดสายรัดพระองค์ ซึ่งทำด้วยผ้าฝ้ายกิเป มีสีแดงสดใส สายรัดพระองค์ นี้ ยาวลงไปถึงข้อพระบาท  มหาราชา ทรงสวมพระมาลา ซึ่งประดับด้วยทอง และเพชรพลอย ห้อยอุบะไข่มุก ทรงสวมฉลองพระบาทหนัง หรือ บางครั้งรองพระบาททำด้วยงา ทรงกุณฑลทองคำ ฉลองพระองค์มักทำด้วยผ้าสีขาวเนื้อละเอียด เรียกว่า ผ้าปาติก เมื่อมหาราชา ไม่ทรงสวมพระมาลา ก็จะไม่มีเพชรนิลจินดาอยู่เหนือพระเกศา

เครื่องแต่งกาย ของ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ก็เกือบคล้ายกับชุดฉลองพระองค์ ของ มหาราชา ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ หรือเสนาบดี ของ อาณาจักรนี้ มีจำนวน ๕ ท่าน ท่านแรกมีตำแหน่งเรียกว่า กุโลยุ(ปุโรหิต) อีก ๔ ท่าน มีตำแหน่งต่อไปนี้ ตามลำดับ คือ เชียงเกาปิง(เชียงกลิงค์ หรือ สมุหนายกกลิงค์) โพโหโตลิง(โพธิ์กลิงค์-ตัดสินคดีความ) เสมาลิงค์(เสนากลิงค์-สมุหกลาโหมกลิงค์) และ จันลูหลวง(จันทร์ลูกหลวง) ส่วนจำนวนข้าราชการชั้นผู้น้อย นั้น มีอยู่เป็นจำนวนมาก

 ผู้ที่เข้าเฝ้า มหาราชา ต้องทำการหมอบกราบ จรดพื้น ๓ ครั้ง และต้องทำเช่นนี้ที่หน้าบันได ทางขึ้นพระราชบัลลังก์ ถ้ามหาราชามีรับสั่งเรียก และโปรดให้ขึ้นบันใดได้ เขาต้องคุกเข่าลง และเอามือประสานไว้บนบ่า ต่อจากนั้น พวกข้าราชการเหล่านั้น ก็จะเข้าไปนั่งเป็นวงล้อมรอบๆ มหาราชา เพื่อทำการกราบทูลข้อราชการ เมื่อเลิกประชุม พวกข้าราชการ ก็จะนั่งคุกเข่าลงอีกครั้งหนึ่ง ก้มลงหมอบกราบ แล้วคลานถอยออกมา มีทหารรักษาพระองค์ มากกว่า ๑,๐๐๐ คน สวมเสื้อเกราะ และถือหอก ยืนเป็นแนวอยู่ที่เชิงชั้นบันใด ของ พระราชบัลลังก์ ทั้งในบรรดาห้องต่างๆ ภายในพระราชวัง ประจำอยู่ที่ประตู และ ตามระเบียง ของ พระราชวังหลวง

ประชาชนโดยทั่วไป ในเมืองราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ เวลาพวกเขาออกนอกบ้าน พวกเขามักจะสวมเสื้อเกราะ และถืออาวุธ ติดตัวไปด้วย เหตุนี้เอง ไม่ว่าประชาชนในเมืองราชธานี จะทะเลอะเบาะแว้งกันเพียงเล็กน้อย สักเพียงใด พวกเขาก็มักจะต่อสู้ระหว่างกัน จนทำให้เลือดตกยางออก อยู่เสมอ

เฉพาะแต่ พระราชโอรส และ มเหสี อันถูกต้อง ของ มหาราชา เท่านั้น ที่จะมีสิทธิ์ที่จะขึ้นสืบทอดราชย์สมบัติ ในอนาคต วันใดก็ตาม ที่มี มหาราชา พระองค์ใหม่ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ก็จะมีการทำร้ายแก่ พระเชษฐา และ พระอนุชา ของ มหาราชาพระองค์ใหม่ ทั้งหมด บางพระองค์ อาจจะถูกตัดนิ้วพระหัตถ์ บางพระองค์อาจจะถูกตัดพระนาสิก ต่อจากนั้นก็จะบังคับให้แต่ละพระองค์ ให้มีที่ประทับแยกออกจากกัน และไม่เคยให้เชื้อพระวงศ์ พระองค์ใดที่ถูกลงโทษ ตามที่กล่าวมา กลับเข้ารับราชการเป็น ขุนนาง ได้อีกเลย

ประชาชนในเมืองราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ นี้ มีรูปร่างเล็ก และผิวดำ แต่สตรี มักจะมีผิวขาว ทั้งหมดเกล้าผม และ สวมตุ้มหู พวกนี้ มีอารมณ์รุนแรง แต่มั่นคง บ้านและเรือน ของ ประชาชน คล้ายกับบ้านเรือน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงสระทิ้งพระ(เซี๊ยโท้) ประชาชนยึดถือกันว่า มือขวา เป็นมือที่บริสุทธิ์ ส่วนมือซ้าย ไม่บริสุทธิ์ ประชาชนมักจะชำระร่างกายทุกเช้า และสีฟันด้วยเศษไม้ข่อย นอกจากนี้ พวกเขายังอ่าน หรือ ท่องบ่นบทสวดมนต์ อยู่เสมอ เขาชำระล้างร่างกายอีกครั้งก่อนที่จะรับประทานอาหาร จิ้มฟันด้วยไม้ข่อย ภายหลังการรับประทานอาหาร พวกเขาจะทำการสวดมนต์ อีกครั้งหนึ่ง สำหรับอาหารเขาใช้เนย นมเปรี้ยว น้ำตาลผง ข้าว และ ข้าวฟ่าง มีมาก ประชาชนใช้สิ่งเหล่านี้ ทำขนม ซึ่งพวกเขาจะจุ่มขนมนี้ ลงไปในน้ำเนื้อ และรับประทาน ก่อนอาหารอื่นๆ

ประเพณีการแต่งงาน ของประชาชนในเมืองราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ ผู้ที่ต้องการแต่งงาน จะต้องส่งของขวัญไปให้กับหญิงสาว ที่พวกเขาหลงรัก และต้องการแต่งงานด้วย ก่อนการแต่งงานจริง ต่อจากนั้น ครอบครัวของหญิงสาวจะต้องเลือกวันดี เพื่อจะนำเจ้าสาว เดินทางไปยังบ้าน ของ เจ้าบ่าว โดยมีพ่อสื่อ เป็นผู้นำไป ทั้งนี้ ครอบครัว ของ เจ้าสาว และ ครอบครัวของเจ้าบ่าว จะต้องอยู่ในบ้านร่วมกัน จำนวน ๘ วัน โดยไม่ยอมออกไปไหน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กับ เจ้าบ่าว และ เจ้าสาว มีการตามตะเกียง ทั้งกลางวัน และ กลางคืน เมื่อพิธีสมรส สิ้นสุดลงแล้ว เจ้าบ่าว ก็จะได้รับทรัพย์สมบัติส่วนหนึ่ง จากพ่อแม่ของเขา และแยกไปสร้างบ้านอยู่กันเอง เมื่อพ่อแม่ตายไป ถ้ายังมีบุตรธิดา ที่ยังไม่แต่งงาน บุตรธิดาเหล่านี้ ก็จะได้รับทรัพย์สมบัติส่วนที่เหลือ ทั้งหมด แต่ถ้าบุตรธิดา ทั้งหมด ได้แต่งงานไปแล้ว ทรัพย์สมบัติทั้งหมดที่พ่อแม่รักษาไว้สำหรับตนเอง ก็จะต้องนำส่ง ท้องพระคลังหลวง

สำหรับการปลงศพ นั้น จะกระทำกันดังต่อไปนี้คือ บุตรธิดาของผู้ตาย จะต้องอดอาหารเป็นเวลา ๗ วัน พวกเขาจะต้องโกนศีรษะเพื่อการไว้ทุกข์ และร้องห่มร้องให้ ผู้ที่เป็นญาติจะต้องเข้าร่วมประชุมพร้อมกับพระภิกษุ ในพิธีทางพระพุทธศาสนา หรือ นักบวชในลัทธิเต๋า ซึ่งต้องร่วมกันเคลื่อนขบวนศพ ออกไปพร้อมกัน ท่ามกลางการร้องเพลงสวดมนต์ และเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ พร้อมกันไปด้วย ศพจะถูกเผา บนเชิงตะกอน ซึ่งประกอบด้วยไม้หอมทุกชนิด เถ้าถ่านจะถูกเก็บไว้ในโกศทองคำ หรือ โกศเงิน ซึ่งจะถูกทิ้งลงไปในน้ำลึก คนที่ยากจน จะใช้โกศดินเผาระบายศรีต่างๆ แต่คนจนบางคนก็พอใจที่จะทิ้งซากศพนั้นไว้บริเวณภูเขา โดยให้สัตว์ป่า มากิน ก็มี

ในการเดินทางมายัง ราชธานี ของ อาณาจักรอีสานปุระ นั้น ต้องเดินทางผ่านน่านน้ำ ของ อาณาจักรโจฬะบก(อาณาจักรโพธิ์หลวง) ทางทิศเหนือ ของ อาณาจักรโจฬะบก(อาณาจักรโพธิ์หลวง) เป็นดินแดนที่เต็มไปด้วยภูเขา(อาณาจักรอ้ายลาว) และมีหุบเขาผ่ากลาง ทางทิศใต้ ของ อาณาจักรโจฬะบก(อาณาจักรโพธิ์หลวง) เป็นที่ราบลุ่ม เป็นพรุน้ำ ขนาดใหญ่ มีอากาศร้อน ไม่เคยพบเห็นหิมะ หรือเกล็ดน้ำแข็ง ในดินแดนเหล่านี้ พื้นดิน มีกลิ่นเหม็น ของ พรุน้ำ ซึ่งเต็มไปด้วยพิษร้ายของสัตว์ ต่างๆ ในดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ นั้น เขาปลูกข้าว ข้าวไรย์ และยังมีข้าวเดือย และ ข้าฟ่าง บางส่วน...

 

Visitors: 54,405