บทที่ ๓ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม)

บทที่ ๖

 

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

สมัย ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม)

 

กำเนิด ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม)

เชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สืบทอดมาจาก พระนางสิริมหามายา พระราชมารดา ของ พระพุทธเจ้า ซึ่งสืบทอดมาถึง มหาจักรพรรดิท้าวหาญคำ(พระเจ้าสุมิตร) พระราชบิดา ของ พระเจ้าม้าทอง ผู้สร้าง แคว้นคามลังกา มี พระเจ้านกหยก ผู้สร้าง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) และมี พระเจ้าข้าวเปล่า สร้างแคว้น ในศรีลังกา

สายราชวงศ์โคตะมะ สายพระเจ้าม้าทอง เป็นสายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน มาก่อนแล้ว ส่วนสาย พระเจ้านกหยก ได้มีสายราชวงศ์สืบทอดมาถึงอัครมเหสี(แม่ธรณี) ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนศรี เพราะมีพระราชโอรส กับราชธิดาของราชาแห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ที่สำคัญ ๔ พระองค์ คือ เจ้าศรีเทพ ปกครอง แคว้นตาโกลา(ตรัง) เจ้าศรีคำ ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าศรีพิชัย ปกครอง แคว้นตาโกลา(ตรัง) และ เจ้าศรีโพธิ์ ปกครอง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) พระราชโอรสทั้ง ๔ พระองค์ จึงกลายเป็นเชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) สายราชวงศ์ พระเจ้านกหยก ซึ่งได้มีบทบาทเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

พระราชโอรส ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ทั้ง ๔ พระองค์ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนศรี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) กลายเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญในการทำสงคราม ขับไล่ กองทัพ ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้ต้องถอยทัพออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ทำให้ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) มีบทบาทสำคัญในการปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ ราชวงศ์เทียนเสน โดยมี มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่างๆ ดังตารางที่แสดง

        ตาราง แสดงพระนาม มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่างๆ สมัย ราชวงศ์โคตะมะ

                  

 

      เรื่องราวของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) เป็นเรื่องราวของสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยที่ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ มาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกชั้นหนึ่ง ถ้าหากว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ หรือ ชนชาติกลิงค์ ไม่สามารถทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้รับชัยชนะ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะส่งกองทัพใหญ่ เข้าหนุนช่วย อีกครั้งหนึ่ง ดินแดนแห่งความขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ คือ ดินแดนอาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) เช่นที่เคยทำสงครามมาในอดีต สมรภูมิ ของ สงคราม ส่วนใหญ่ อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

      ข้อมูลรายละเอียด ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) หาอ่านได้จากหนังสือ สยามประเทศ มิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์โคตะมะ เรียบเรียงโดย นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ในที่นี้จะนำสาระที่สำคัญจากหนังสือดังกล่าว มาสรุปไว้โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

 

 (๒๐) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าศรีเทพ กรุงตาโกลา(กันตัง)

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีเทพ(พ.ศ.๙๗๓-๙๗๖) กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัน-ตรัง) นั้น ได้มีการส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๙๗๓ จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า...

...ปีที่แปด ในรัชกาลฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ (พ.ศ.๙๗๓) ราชวงศ์เป่ยเว่ย แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้มีคณะราชทูต เดินทางจาก กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) มายัง เมืองผิงเฉิง มหาจักรพรรดิ มีพระนามว่า ศรีเทพ(ชีลีเทปะโม) ได้มีพระราชสาสน์ มาเสนอให้ ฮ่องเต้(ไท่อู่ตี้) ทำการก่อสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พร้อมกับให้ กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) ทำสงครามยึดครอง ดินแดน แคว้นตาเกี๋ย กลับคืน พร้อมกันนั้น มีการถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ตามราชประเพณี ด้วย...

 

สงครามแย่งชิง อาณาจักรไตจ้วง กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

ในปีพ.ศ.๙๗๔ มหาราชาเชียงทอง แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ยกกองทัพเข้าช่วยเหลือกองทัพของ อาณาจักรไตจ้วง เพื่อทำสงครามโจมตี แคว้นเจียวจู(กวางสี) ของ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๙๗๔ เป็นผลสำเร็จนั้น แต่ต่อมา กองทัพของ มหาราชาเชียงทอง ไม่สามารถรักษาแคว้นกวางสี(เจียวจู) ไว้ได้ เพราะ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพใหญ่มาทำสงครามยึดครอง แคว้นกวางสี กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) ด้วย มหาราชาเชียงทอง แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) จึงได้ขอกำลังสนับสนุนจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(ตรัง) มีรับสั่งให้ จักรพรรดิเจ้าศรีคำ แห่ง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ยกกองทัพไปช่วยเหลือหนุนช่วย กองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เพื่อเข้ายึดครองแคว้นตาเกี๋ย และ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน จากการที่ ฮ่องเต้หลิวซ่ง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยึดครองไป

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรผัวหมา(พม่า)

ผลของสงครามแย่งชิง แคว้นตาเกี๋ย(ชิหนาน) ครั้งนั้น ทำให้ ฮ่องเต้หลิวซ่ง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มอบให้ พระเจ้าพันศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เขมร) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกา ด้วย พร้อมๆ กับที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ด้วย  

ส่วน มหาราชาเชียงทอง แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ก็ได้ส่งกองทัพเรือกว่า ๑๐๐ ลำ เข้ายึดครอง แคว้นชิหนาน(ตาเกี๋ย) กลับคืน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ อีกเช่นกัน พระองค์ต้องรีบถอยทัพกลับ เพราะทราบข่าวว่า กองทัพใหญ่ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ทำสงครามย้อนศร ยกกองทัพเรือเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นการล้างแค้น ด้วย แต่ได้เกิดพายุใหญ่ เสียก่อน กองทัพเรือทั้งสองฝ่าย จึงต้องถอยทัพกลับไป

ส่วนสงครามในดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา เมื่อ พระเจ้าพันศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ทราบข่าวว่า กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ถอนทัพกลับไปแล้ว พระเจ้าพันศรีเทพ จึงถอนทัพกลับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

      ต่อมา มหาจักรพรรดิเจ้าศรีเทพ ได้นำกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) และ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ในดินแดนฝั่งทะเลตะวันตก ของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) ผลของสงคราม เจ้าศรีเทพ ถูกศรอาบยาพิษ สวรรคต ในสงคราม

 

                        

ภาพที่-๕๒ ภาพโครงสร้างราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม)

 

                                         

                                          

ภาพที่-๕๓ แผนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์โคตะมะ โดยที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ให้กับชนชาติทมิฬโจฬะ ปกครอง

 

 

                          

ภาพที่-๕๔ อาณาจักรต่างๆ(สีเทา) ๕ อาณาจักร ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ภายใต้การคุ้มครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

 

 

(๒๑) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าศรีคำ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

 

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีคำ(พ.ศ.๙๗๖-๙๗๗) กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้มีการส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๙๗๖ ด้วย จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า บริเวณแหลมศรีโพธิ์(เขาถ่าน) ของ กรุงศรีโพธิ์(จิวจิ) มีแร่เหล็ก เป็นจำนวนมาก

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา

ในปี พ.ศ.๙๗๗ พระเจ้าพันศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง แคว้นออกแก้ว ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับเปลี่ยนพระนามในการขึ้นครองราชสมบัติใหม่ เป็น พระเจ้าเศรษฐวรมัน เป็น มหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬ และ ชนชาติกลิงค์ ทั้งหมด ในดินแดนหมู่เกาะเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ตามรูปแผนที่ ภาพที่-๕๔ ในชื่อว่า สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) อย่างเป็นทางการ อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น พระเจ้าเศรษฐวรมัน(พันศรีเทพ) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา เพิ่มขึ้น สมรภูมิของสงครามระหว่าง ชนชาติทมิฬโจฬะ กับ ชนชาติอ้ายไต จึงเกิดขึ้นทั่วดินแดน อาณาจักรคามลังกา ซึ่งเป็นที่มาให้ชนชาติอ้ายไต ได้สร้างปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่คันธุลี เล่าเรื่องราวต่างๆ สืบทอดต่อกันมาว่า เมื่อ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ร่วมกับ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองอาณาจักรคามลังกา นั้น เจ้าชายศรีนเรนทร พร้อมกับ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ พระราชโอรสของ มหาราชาจันทร์พาณิช แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ให้ออกไปจากดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ เจ้าชายศรีนเรนทร ได้เจ้าหญิง ของ อาณาจักรคามลังกา พระนาม นางรอง มาเป็นมเหสี พระองค์แรก เป็นที่มาให้กำเนิด ปราสาทเขาพนมรุ้ง แคว้นพนมรุ้ง(นางรอง บุรีรัมย์) ในเวลาต่อมา ด้วย

เจ้าชายสองพี่น้อง ทั้งสองพระองค์ เป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาจันทร์พานิช คือ เจ้าชายศรีนเรนทร และ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ แห่ง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ เป็นศิษย์ ของ ฤษี ๕ ตน ได้เล่าเรียนวิชาการต่างๆ จนกระทั่งมีขีดความสามารถในการทำสงคราม เมื่อเริ่มแตกเนื้อหนุ่ม เห็นว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สมคบกับ ชนชาติทมิฬ ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ จึงขออาสา นำกองทัพ ทำสงครามขับไล่ทมิฬโจฬะ ให้ออกไปจาก ดินแดนสุวรรณภูมิ

 

 

                                  

ภาพที่-๕๕ เทวรูปในภาพ อยู่ที่ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า เป็นเทวรูป ของ พระนางรองเมือง มเหสีฝ่ายซ้าย ของ เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ พระนามว่า ท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เมื่อปี พ.ศ.๙๙๗-๙๙๘ พระนางรองเมือง มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ กับ เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ คือ เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีนราทิตย์ ส่วนอีกพระองค์หนึ่ง สวรรคตในสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง ตั้งแต่วัยเยาว์ พระนางรองเมือง เป็นผู้ผลักดันให้ เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีนราทิตย์ เป็นผู้สร้างปราสาทหินพนมรุ้ง ณ เมืองนางรอง เป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา

 

 

      ผลของสงครามครั้งนั้น เจ้าชายศรีนเรนทร และ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ แห่ง แคว้นเวียงจันทร์ อาณาจักรอ้ายลาว สามารถส่งกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ต้องถอยทัพกลับ พระเจ้าพันศรีเทพ(เศรษฐวรมัน) จึงได้เริ่มทำสงครามรุกราน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ต่อไป ทำให้ มหาราชาเชียงทอง สวรรคต ในสงคราม

 

                     

 ภาพที่-๕๖ ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราว พระราชประวัติ ของ เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการสร้างยา รักษาพิษงู มาตั้งแต่สมัยทรงพระเยาว์

 

       เจ้าชายสองพี่น้อง แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว กรุงเวียงจันทร์ คือ เจ้าชายศรีนเรนทร และ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ ร่วมกับ กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สามารถทำสงครามขับไล่ข้าศึกทมิฬโจฬะ ให้ต้องถอยทัพออกไปได้ พร้อมกับได้แต่งตั้งให้ เจ้าเชียงเงิน ซึ่งเป็นพระอนุชาของ มหาราชาเชียงทอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นรัชกาล ถัดมา อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) จึงตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

 

เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ ผู้สร้าง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

สงครามครั้งนั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยังได้ส่งกองทัพเข้าขับไล่ กองทัพของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จนต้องถอยทัพกลับไป ผลของสงครามครั้งนั้น เจ้าชายศรีนเรนทร ได้เจ้าหญิง แห่ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ มีพระนามว่า พระนางรองเมือง มาเป็นพระชายา ต่อมา พระนางรองเมือง มีพระราชโอรสพระองค์ ที่สำคัญ ๒ พระองค์ กับ เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ มีพระนามว่า หิรัญยะ และ ศรีนราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้สร้าง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง และ ปราสาทหินพิมาย และกลายเป็นแม่ทัพสำคัญ ในการทำสงคราม กอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิกลับคืนมา ในเวลาต่อมา

สงครามครั้งนั้น เจ้าชายศรีนเรนทร ได้ทำการกวาดต้อนเชื้อสายราชวงศ์ขุนเทียน ซึ่งเคยเป็นเชลยศึก จาก แคว้นพนมรุ้ง อาณาจักรชวาทวีป ไปเป็นเชลยศึก ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน จนกระทั่ง มีพระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีนราทิตย์ ซึ่งเป็นผู้สร้าง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ขึ้นเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ในเวลาต่อมา

 

 

                                                        

ภาพที่-๕๗ แสดงภาพ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่ง มหาจักรพรรดิศรีนเรนทราทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เป็นผู้ก่อสร้างขึ้น ในสมัยที่ทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ออกไปจาก อาณาจักรคามลังกา ต่อมา พระราชโอรส ๒ พระองค์ จาก พระนางรองเมือง คือ เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีนราทิตย์ ได้มาสร้างต่อ จนกลายเป็น ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา

 

       ส่วน เจ้าชายศรีธนูรักษ์ ได้ เจ้าหญิงแก้ว(นางแก้ว) แห่ง แคว้นออกแก้ว อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เชื้อสายราชวงศ์ขอม-ไต ได้พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ตังเก เป็นผู้สร้าง กองเรือตังเก ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานท้องที่คันธุลี และ ความเป็นมาของคำไทย คำว่า เรือตังเก มีเรื่องราวโดยสังเขปว่า เจ้าชายศรีธนูรักษ์ แห่ง แคว้นคันธุลี สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง กับ นางแก้ว พระราชธิดา ของ แคว้นออกแก้ว แห่งราชวงศ์ขอม มีพระนามว่า เจ้าชายตังเก ต่อมาเมื่อเจ้าชายพระองค์นี้ เจริญวัยขึ้น มีความสามารถในการต่อเรือสำเภา ให้สามารถเดินทางรอนแรม ไปในทะเลได้หลายสัปดาห์ เป็นที่มาให้ มีการเรียกชื่อเรือดังกล่าวว่า เรือตังเก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมา เจ้าชายสองพี่น้อง ได้รับเชิญให้ไปรื้อฟื้น แคว้นช้างให้(คันธุลี) ขึ้นใหม่ จึงได้ส่ง ฤษีเจ้ายอดปล่อง ให้เดินทางไปสำรวจ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งถูกเผาไป เพื่อสำรวจหาที่ตั้งพระราชวังหลวง ต่อมา เจ้าชายทั้งสองพระองค์ พิจารณาเห็นว่า บริเวณท้องที่ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งถูกเผาร้างไป ไม่มีพื้นที่เหมาะสม สำหรับการตั้งพระราชวังหลวง จึงไปสำรวจพื้นที่ อดีต แคว้นช้างให้(คันธุลี) และในที่สุด ได้เลือกเอาพื้นที่ เกาะกันไพรี ซึ่งมีภูเขาคันธุลี อยู่กลางเกาะ เป็นที่ตั้ง พระราชวังหลวง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อ แคว้นช้างให้ใหม่ เป็น แคว้นคันธคีรี ซึ่งชาวจีน เรียกเพี้ยนในเวลาต่อมาว่า แคว้นคันธุลี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แคว้นคันธุลี ได้กลายเป็นเป็นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรชวาทวีป ในเวลาต่อมา

 

(๒๒) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าศรีพิชัย กรุงตาโกลา(กันตัง)

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีพิชัย(พ.ศ.๙๗๗-๙๗๘) กรุงตาโกลา(กันตัง) นั้น ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ส่งคณะราชทูตมาสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงตาโกลา เมื่อปี พ.ศ.๙๗๗ ด้วย จดหมายเหตุจีนบันทึกว่า..

...ปีที่ ๑๒ ในรัชสมัยฮ่องเต้ไท่อู่ตี้(พ.ศ.๙๗๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ พระองค์ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(โฮลิงตัน-กันตัง) ซึ่งราชธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของ แคว้นพันพาน(พุนพิน) แคว้นนี้มีชื่อเดิมว่า แคว้นตักโกลา(ตาโกลา-กันตัง) มหาจักรพรรดิ มีพระนามว่า ชีลีพิชิยะ(ศรีพิชัย)

กำแพงเมือง ของ เมืองราชธานี กรุงโฮลิงตัน(กันตัง) นี้ ทำด้วยก้อนหินที่นำมาจัดเรียงซ้อนกัน บ้านเรือนของประชาชนมุงด้วยฟางข้าว หรือหญ้า(ใบจาก) ประเทศนี้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒๕ แว่นแคว้น กองทหารใช้ธนู ดาบหอก และโล่ที่ทำด้วยหนังสัตว์ ธงประดับด้วยขนนกยูง ทหารใช้ช้างในการรบ กองทัพช้างกองหนึ่งๆ ประกอบด้วยช้าง ๑๐๐ เชือก และช้างแต่ละเชือก จะต้องมีทหารห้อมล้อม ๑๐๐ คน บนหลังช้าง จะมีนักรบประจำหลังช้าง ๔ คน โดยมีธนู และหอก เป็นอาวุธที่สำคัญ

ประเพณีการสมรสของพวกขุนนาง ณ เมืองโฮลิงตัน(กันตัง) นั้น เจ้าสาว และเจ้าบ่าว จะใช้ผ้าเช็ดหน้าผูกไว้บนศีรษะ ในพิธีสมรส ฝ่ายเจ้าบ่าว ให้แต่หมากเป็นของขวัญ บางครั้งอาจจะมีหมากถึง ๒๐๐ ถาด นอกนั้นไม่มีอะไรอื่นให้กับเจ้าสาว หลังพิธีสมรส ผู้หญิงต้องไปอยู่กับครอบครัวของสามี เมื่อคนตาย พวกเขาจะเผาเพื่อเอาขี้เถ้า ส่วนกระดูกจะนำไปใส่เก็บไว้ในผอบ ส่วนที่เหลือ จะนำไปโปรยลงในน้ำทะเล ประเพณีทั่วๆไป เหมือนกับ แว่นแคว้น ข้างเคียง...

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา)

เมื่อเกิดสงครามใหญ่ ขึ้นมาทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ สหราชอาณาจักรพนม กรุงพนมมันตัน นั้น อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรพนม ได้ทำการส่งกองทัพเข้าสงคราม กับ อาณาจักรชวาทวีป ทางฝั่งทะเลตะวันตก สามารถยึดแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรชวาทวีป ทางฝั่งทะเลตะวันตก ได้เป็นจำนวนมาก และใช้ ภูเขาพระนารายณ์ ของ เมืองกาเพ้อ(ระนอง) ตั้งอาณาจักรของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า อาณาจักรเวียดบก หรือ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา มหาจักรพรรดิเจ้าศรีพิชัย แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปรามกองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ภูเขาพระนารายณ์ เมืองกาเพ้อ(กะเปอร์ ระนอง) ด้วย ผลปรากฏว่า ถูกกองทัพ ของชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ประจำภูเขาพระนารายณ์ สามารถทำลายกองทัพของ มหาจักรพรรดิศรีพิชัย สวรรคต ในสงคราม จักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ แห่ง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่อมา

 

 

(๒๓) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

 

กำเนิด เมืองแสนหวี ราชธานีใหม่ ของ อาณาจักรโกสมพี

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์(พ.ศ.๙๗๘-๙๘๗) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกข้าศึกเข้าทำลาย กลายเป็นเมืองร้าง อีกครั้งหนึ่ง แคว้นคันธุลี จึงก่อกำเนิดขึ้นมาแทนที่ ในรัชกาลนี้ จึงมีเรื่องราวของการกำเนิด กรุงแสนหวี ราชธานี แห่งใหม่ ของ อาณาจักรโกสมพี ด้วย

ตามตำนานคำกลอนลายแทง ที่กล่าวว่า ..ที่สระนาลี้เก มีพร้าวนาเก ต้นเดียวโนเน อยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ผู้ใดหยั่งถึง คือผู้มีบุญเอย... มีเรื่องราวตอนสุดท้าย ที่กล่าวถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ สระนาลี้เก ก่อนที่ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) จะร้างไป อีกครั้งหนึ่ง ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) คือเรื่องราวของการกำเนิด แคว้นแสนหวี ของ อาณาจักรโกสมพี นั่นเอง

มีเรื่องราวโดยสังเขปว่าขณะที่ ขุนตึง กำลังฝึกว่าราชการอยู่ที่ เมืองละใด ของ อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่) และ พระอนุชามีพระนามว่า เจ้าไทฟ้า ฝึกราชการอยู่ที่ แคว้นคูหา(ระนอง) ก่อนที่ ขุนตึง จะไปปกครอง เมืองละใด นั้น ขุนตึง เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้เสด็จไปยัง แคว้นมิถิลา(ไชยา) หรือ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เพราะทราบข่าวว่า มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ ไม่มีพระราชโอรส สืบทอดราชย์สมบัติ มีแต่พระราชธิดา หลายพระองค์ ซึ่งได้อภิเษกสมรสไปแล้วกับ เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แว่นแคว้นต่างๆ เรื่อยมา คงเหลือ พระราชธิดาพระองค์เล็ก ซึ่งประชาชนเรียกพระนามว่า เจ้าหญิงนาคฟ้า ถึงวัยที่จะต้องอภิเษกสมรส มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ จึงประกาศให้เจ้าชาย ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต จากแว่นแคว้นต่างๆ มาแสดงสติปัญญา เพื่อมอบ เจ้าหญิงนาคฟ้า ให้อภิเษกสมรส ด้วย

มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ วางแผนให้ เจ้าหญิงนาคฟ้า ไปบวงสรวงดวงวิญญาณบรรพชน อยู่ที่กลางสระนาลี้เก และประกาศให้ เจ้าชายเมืองต่างๆ เดินทางไปพบ เจ้าหญิงนาคฟ้า กลางสระนาลี้เก โดยตัวไม่เปียกน้ำ ถ้าผู้ใดทำได้ จะมอบ เจ้าหญิงนาคฟ้า ให้อภิเษกสมรส ด้วย ปรากฏว่า ขุนตึง แห่ง อาณาจักรโกสมพี ได้สร้าง แพต้นกล้วย เดินทางเข้าไปหา เจ้าหญิงนาคฟ้า กลางสระนาลี้เก ได้สำเร็จ จึงได้ เจ้าหญิงนาคฟ้า มาเป็นอัครมเหสี ได้ไปสร้าง แคว้นแสนหวี ขึ้นมาอีกแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรโกสมพี โดยมีพระราชโอรสที่สำคัญพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ขุนตึงลู

ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๙๘๖ ขุนตึงลู ได้อภิเษกสมรส กับ พระนางปัพวดี และได้เป็นราชาปกครอง แคว้นแสนหวี ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ขุนตึงลู ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรโกสมพี เป็นเหตุให้ มหาราชาขุนตึงลู ใช้แคว้นแสนหวี เป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่) เรื่อยมา แคว้นแสนหวี จึงได้กลายเป็น เมืองราชธานี ของ อาณาจักรโกสมพี แทนที่ เมืองมาว เรื่อยมาª-๑

 

กษัตริย์ ๒ พี่น้อง ทำสงครามขับไล่ ทมิฬโจฬะ ออกจาก อาณาจักรคามลังกา

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องเสียดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก ไปหลายแว่นแคว้น และยังเสียดินแดน บางแว่นแคว้น ของ อาณาจักรคามลังกา(ขอม) และ บางแว่นแคว้น ของ อาณาจักรอีสานปุระ อีกด้วย เป็นเหตุให้ เกิดสงครามหลายสมรภูมิ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ตามตำนาน ทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่ คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กล่าวว่า เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายศรีนเรนทราทิตย์ และ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ แห่ง แคว้นเวียงจันทร์(เชียงบาน) อาณาจักรอ้ายลาว ได้มาสร้างฐานที่มั่นทางการทหาร อยู่ที่ เมืองนางรอง(บุรีรัมย์) แคว้นพนมรุ้ง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) ประมาณ ๑๐ ปี เพื่อทำสงครามขับไล่กองทัพ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ออกไปจาก อาณาจักรคามลังกา(ขอม) และ อาณาจักรอีสานปุระ อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะไปสร้าง แคว้นคันธุลี อีกครั้งหนึ่ง

เจ้าชายศรีธนูรักษ์ มีพระชายาพระองค์แรก มีพระนามว่า นางแก้ว ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ มหาราชาแห่ง แคว้นออกแก้ว อาณาจักรคามลังกา มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ตังเก ซึ่งเป็นผู้ที่มีกองทัพเรือ ซึ่งมีความสามารถในการเดินเรือ รอนแรมกลางทะเล มาก เรียกว่า เรือตังเก ต่อมา เจ้าชายตังเก มีความสามารถในการทำสงครามทางเรือ นำกองทัพเรือตังเก รอนแรมกลางทะเล เดินทางออกโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ เรื่อยมา จนกระทั่งได้นำกองทัพเข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลับคืน เป็นเหตุให้ เจ้าตังเก ได้อภิเษกสมรส กับ ราชธิดา ราชวงศ์เชียง พระองค์หนึ่ง ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) จนกระทั่ง มีพระราชโอรสที่สำคัญพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ตังเกฉุน ซึ่งเป็นผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในเวลาต่อมา

ดังนั้น การทำสงคราม ของ เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายศรีนเรนทร และ เจ้าชายศรีธนูรักษ์ แห่ง แคว้นพนมรุ้ง(นางรอง) เพื่อขับไล่ กองทัพทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ให้ออกไปจาก ดินแดน ของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรอีสานปุระ อย่างต่อเนื่อง นั้น เป็นเหตุให้ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรคามลังกา ต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา และเป็นที่มาให้ เจ้าชายตังเก เป็นมหาราชาปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในเวลาต่อมา ด้วย

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

สงครามในดินแดน ของ อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งมี แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ในขณะนั้น กองทัพของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ร่วมกับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ได้ยกกองทัพใหญ่เข้าโจมตี กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๘๗ เป็นเหตุให้ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกกองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ตีจนแตกพ่าย

มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์ สวรรคต ในสงคราม เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกเผาราบเรียบเป็นหน้ากลอง ประชาชนบาดเจ็บ ล้มตายไป เป็นจำนวนมาก แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) จึงร้างไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๘๗ ไปหลายสิบปี

 

กษัตริย์ ๒ พี่น้อง ปกครอง อาณาจักรชวาทวีป กรุงคันธุลี(ท่าชนะ)

ภายหลังจากการที่ กรุงศรีโพธิ์ ถูกเผา เรียบร้อยแล้ว ด้วยความสามารถ ของ กษัตริย์สองพี่น้อง จาก กรุงพนมสายรุ้ง อาณาจักรคามลังกา จึงได้รับโปรดเกล้าให้มาดำรงตำแหน่ง มหาราชา ของ อาณาจักรชวาทวีป ทั้งสองพระองค์ จึงได้เสด็จมาสร้างพระราชวังหลวง ของ อาณาจักรชวาทวีป ณ แคว้นคันธคีรี(คันธุลี) ขึ้นมาจนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ท้าวศรีนเรนทร กษัตริย์ผู้พี่ ก็ทำพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชาเจ้าศรีโพธิ์นเรนทร ส่วน มหาอุปราชท้าวศรีธนูรักษ์ ผู้น้อง ก็ขึ้นครองราชสมบัติเป็น มหาอุปราชเจ้าศรีธนูรักษ์ แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงคันธคีรี(คันธุลี) ทันที

แคว้นคันธุลี ในขณะนั้น ประกอบด้วยเมืองต่างๆ เช่น เมืองละแม่(อ.ละแม ชุมพร) , เมืองชวา(ภูเขาชวาลา) , เมืองคลองหิต(ครหิต) , เมืองคลองกลิงค์(คลองตลิ่ง) , เมืองหนองนิล(ท่าชนะ) , เมืองหนองหวาย , เมืองเพลา(ภูเขาเพลา) , เมืองห้อยยอด , เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) , เมืองตาหมิง(ห้วยตาหมิง) และ เมืองสักเวียด(ท่าฉาง) เป็นต้น

ส่วนแคว้นพนมรุ้ง นั้น พระนางรองเมือง เป็น กษัตริย์สตรี ผู้ปกครองแคว้นพนมรุ้ง ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อกษัตริย์ ๒ พี่น้อง สร้างพระราชวังหลวง ณ กรุงคันธุลี สำเร็จเรียบร้อย ก็เกิดสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทันที

 

  

(๒๔) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้าย กรุงพันพาน(พุนพิน)

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้าย(พ.ศ.๙๘๗-๙๙๕) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น มีหลักฐานว่า ปี พ.ศ.๙๘๗ , พ.ศ.๙๘๘ และปี พ.ศ.๙๙๐ จดหมายเหตุจีน ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เป่ยเว่ย ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้บันทึกว่า มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูตจาก แคว้นพันพาน(พุนพิน) เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ราชวงศ์เป่ยเว่ย แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ พร้อมถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามราชประเพณี แต่ไม่มีรายละเอียดประกอบ

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้าย กรุงพันพาน(พุนพิน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั้น มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้ายได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พระเจ้าพันศรีเทพ(พระเจ้าเศรษฐวรมัน) แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ซึ่งตั้งเมืองนครหลวงอยู่ที่ แคว้นพนมมันตัน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๘๗

ครั้งแรก  พระเจ้าพันศรีเทพ(พระเจ้าเศรษฐวรมัน) แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้เริ่มทำสงครามขับไล่กองทัพของ มหาราชาเชียงทอง แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ให้ต้องถอยทัพออกไปจาก แคว้นออกแก้ว แต่ถูกกองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๙๗ เป็นต้นมา

สงครามครั้งนั้น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำ แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ถูกอาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ อาณาจักรคามลังกา ทำสงครามยึดครอง กลับคืน ไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง สามารถส่งกองทัพเข้าปิดล้อม แคว้นพนมมันตัน อันเป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) เป็นผลสำเร็จ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงส่งกองทัพใหญ่ เข้าไปหนุนช่วย ส่วนพระเจ้าพันศรีเทพ เร่งส่งคณะราชทูต ไปขอความคุ้มครองจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

ผลของสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ครั้งนั้น พระเจ้าพันศรีเทพ(พระเจ้าเศรษฐวรมัน) แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) สวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๙๘๘ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้าพันศรีเทพ(พระเจ้าเศรษฐวรมัน) สามารถหลบหนีไปได้ และได้เดินทางไปขอกำลังจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้ส่งกองทัพมาช่วยเหลือ

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้  ณ สมรภูมิ แคว้นคันธุลี

หลังจากที่ พระเจ้าพันศรีเทพ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน พ่ายแพ้สงคราม และ สวรรคต ในสงคราม เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เร่งส่งกองทัพเรือใหญ่ ซึ่งนำกองทัพโดยพระราชโอรส ๔ พระองค์ ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ เป็นแม่ทัพ ได้แบ่งกองทัพใหญ่ออกเป็น ๔ กองทัพ เข้าทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ทันที

 

 

 

 

 ภาพที่-๕๘ แผนที่ กรุงคันธุลี สมรภูมิ ของ สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ และดอนคุกจีน บริเวณ ภูเขาน้อย สถานที่กักขัง เชลยศึกทหารจีน ผู้พ่ายแพ้สงคราม พระราชวังหลวง กรุงคันธุลี ตั้งอยู่บริเวณถ้ำตาจิตร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาคันธุลี

 

    เมื่อ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าโจมตี กรุงคันธุลี เมื่อปี พ.ศ.๙๘๘ นั้น กองทัพที่สอง ได้เข้ามาโจมตี แคว้นตาเกี๋ย เมื่อปี พ.ศ.๙๘๘ เพื่อดึงกองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ให้มาช่วยเหลือ กองทัพที่สาม ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เข้าโจมตีกองทัพของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ แคว้นพนมมันตัน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๙๘๘ ด้วย เพื่อมิให้ เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ถูกยึดครอง เพราะจะเป็นอันตรายต่อ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ในอนาคต เป็นอย่างยิ่ง ส่วนกองทัพที่สี่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เข้าโจมตี เมืองเว้ ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ระหว่างปี พ.ศ.๙๘๘-๙๘๙ ด้วย

 

                          

ภาพที่-๕๙ ท้องที่ ดอนคุกจีน ตั้งอยู่ที่ ภูเขาน้อย ต.บ้านดวด อ.ละแม จ.ชุมพร เป็นที่ตั้ง คุก เพื่อคุมขัง เชลยศึกทหารจีน ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เมื่อปี พ.ศ.๙๘๘

 

ตำนานดอนคุกจีน ท้องที่บ้านดวด อ.ละแม จ.ชุมพร และ ตำนานพ่อตาจิตร(พ่อตาบางตาแก่) ซึงนับถือกันที่ ถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน และ ตำนานถ้ำเชลยศึกจีน บริเวณ ภูเขาประสงค์ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ได้ให้ข้อมูลถึงผลของสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยสังเขป ดังนี้

หลังจากที่กษัตริย์สองพี่น้อง คือ ท้าวศรีโพธิ์นเรนทร และ เจ้าศรีธนูรักษ์ มารับราชการเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรชวาทวีป ณ กรุงคันธุลี ได้เพียง ๑ ปี ก็ได้เกิดสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สงครามครั้งนั้น ตาจิตร อ้างว่าแก่แล้ว ต้องการสละชีพเพื่อชาติ จึงได้ขออาสา ปลอมตัวเป็นสายลับ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยได้แสร้งยอมสวามิภักดิ์ ต่อ กองทัพจีน แสร้งให้ข่าวลวงว่า กองทัพของ กรุงคันธุลี ได้หนีออกจากที่ตั้งพระราชวังหลวง ไปแล้ว และชี้ทางให้ กองทัพเรือใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นำกองทัพเข้าสู่ คลองคันธุลี และ คลองบางตาแก่(คลองตาจิตร) เพื่อให้กองทัพ ของ กษัตริย์สองพี่น้อง ทำการปิดล้อมโจมตี

ผลของสงครามครั้งนั้น กองทัพของ พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง ราชวงศ์หลิวซ่ง ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นแม่ทัพ ผู้ยกกองทัพเข้ามาโจมตี กรุงคันธุลี ถูกปิดล้อม กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ สวรรคต ในสงคราม ทหารจีน แห่ง กองทัพแห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ที่รอดชีวิต ล้วนถูกจับเป็นเชลยศึกทั้งหมด เป็นที่มาให้ เจ้าศรีโพธิ์นเรนทร และ เจ้าศรีธนูรักษ์ ต้องสร้าง คุกจีน ขึ้นที่เชิงภูเขาน้อย ทางทิศเหนือของภูเขาคันธุลี ห่างไปประมาณ ๕ กิโลเมตร เพื่อขังคุกเชลยศึกทหารจีน ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า ดอนคุกจีน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วน ตาจิตร ถูกทหารจีน จับประหารชีวิต ตาจิต จึงได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้ที่เสียสละชีวิตเพื่อชาติ ดวงวิญญาณ สิงสถิต อยู่ที่ ถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ได้รับการเคารพนับถือ กราบไหว้ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

                                          

ภาพที่-๖๐ ไหมีหู ขุดพบที่ ดอนคุกจีน เล่ากันว่า ทหารจีน ซึ่งถูกจับเป็นเชลยศึก ได้มาสร้าง ไห และ เครื่องถ้วยชาม ต่างๆ ในขณะที่ถูกคุมขัง สิ่งของดังกล่าว ประชาชน ขุดพบ ณ ดอนคุกจีน แต่เกิดอาถรรพ์ จึงต้องมอบให้ วัดดอนดวด  

 

 

      ยังมี คุกจีน อีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บริเวณ ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) บริเวณวัดคอกช้าง ต.ตลาด อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้ง คุกจีน อีกแห่งหนึ่ง เชลยศึกชาวจีน ถูกเกณฑ์แรงงาน ไปสกัดถ้ำหิน ยาวหลายกิโลเมตร เริ่มต้นจาก บริเวณวัดคอกช้าง ยาวไปจนถึง วัดถ้ำตะเกียบ เคยเรียกชื่อว่า ถ้ำจีน ปัจจุบัน ถูกเรียกชื่อว่า ถ้ำพระยาตากสินª-ส่วนพื้นที่คุกจีนในเวลาต่อมา ถูกดัดแปลงเป็นคอกช้าง แทนที่

  

                                                              

 ภาพที่-๖๑ ภาพถ่าย ภูเขาแม่นางส่ง หรือ ภูเขาประสงค์ บริเวณที่ตั้งคุกจีน อีกแห่งหนึ่ง บริเวณวัดคอกช้าง ในปัจจุบัน ทางทิศตะวันตก ของ วัดคอกช้าง มีถ้ำใหญ่ ยาวหลายกิโลเมตร เรียกว่า ถ้ำพระยาตากสิน หรือ ถ้ำจีน กล่าวกันว่า เชลยศึกทหารจีน เป็นผู้สร้างขึ้น สมัยสงครามคันธุลี

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้  ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

ส่วนสงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นพนมมันตัน(เขมร) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) นั้น มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้ามาช่วยเหลือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เพื่อทำการขับไล่กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้ถอยทัพไป

เกิดการสู้รบกันอย่างดุเดือด ผลของสงคราม มหาราชาเชียงทอง แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สวรรคต ในสงคราม ณ แคว้นพนมมันตัน ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ต่อมา กองทัพต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กลับคืน แล้วส่งกองทัพเข้าสมทบ เข้าทำสงครามยึดครอง ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในปี พ.ศ.๙๘๙ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้  ณ สมรภูมิ อาณาหลินยี่(เวียตนาม)

มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่ สามารถยึดครอง เมืองเว้ ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นผลสำเร็จ สามารถยึดได้ทองคำบริสุทธิ์ เป็นจำนวนมาก

เมื่อ มหาอุปราชเชียงเงิน พระราชโอรสของ มหาราชาเชียงทอง ทราบข่าว จึงได้ยกทัพกลับมา จากแคว้นตาเกี๋ย จึงเกิดการสู้รบกับกองทัพใหญ่ ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๘๙ กองทัพของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ต้องถอยทัพกลับไป มหาราชาเชียงเงิน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นรัชกาล ถัดมาª-

ส่วนกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยกกองทัพเรือเข้าโจมตี แคว้นพันพาน อีกด้วย ผลปรากฏว่า กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พ่ายแพ้ สงคราม เป็นครั้งที่สอง จึงต้องถอยทัพกลับไป เป็นเหตุให้ กองทัพของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้าย และ นายกเจ้าพิชัยยี่ ถือโอกาส สถานการณ์ดังกล่าว ยกกองทัพเรือ เข้าติดตาม กองทัพเรืออาณาจักรโจฬะบก(เขมร) แต่ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยอ้าย ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ บาดเจ็บสาหัส จึงต้องถอยทัพกลับ พระองค์เสด็จกลับมาสวรรคต ณ กรุงพันพาน

 

 

(๒๕) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย(พ.ศ.๙๙๕-๙๙๖) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) นั้น หลักฐานจดหมายเหตุจีน สมัย ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ แห่งราชวงศ์เป่ยเว่ย ได้บันทึกเรื่องราวความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ไว้อย่างสั้นๆ ว่า..

"...ปีแรกของรัชสมัย ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้(พ.ศ.๙๙๖)มีคณะราชทูต ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ แคว้นพันพาน ได้ส่งคณะราชทูต มาเจริญสัมพันธไมตรี พร้อมกับถวายเครื่องราชบรรณาการ ตามราชประเพณี ราชทูตแจ้งว่า กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) นั้น ตั้งมานานมากกว่า ๔๐๐ ปี มาแล้ว ..."

โดยข้อเท็จจริงแล้ว แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ตั้งขึ้นจริงเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๓๒๗ โดย เจ้านกหยก พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าหาญคำ(พระเจ้าสุมิตร) แห่ง ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) เป็นผู้สร้าง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ขึ้นมาเป็นอีกแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ) ตั้งแต่สมัย สหราชอาณาจักรเทียน

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กำเนิด แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) 

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย นั้น ได้กำเนิด แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ขึ้นมาด้วย เนื่องจาก ได้เกิดเหตุแห่งความไม่สงบขึ้นมาในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เนื่องจากมีการทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดนยึดครองของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เนื่องจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ หลังจากที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พ่ายแพ้สงคราม ที่แคว้นคันธุลี ถึง ๒ ครั้ง

ขณะเดียวกัน ได้มีการปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย ทำให้ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ผู้ศรัทธา ลัทธิเต๋า อย่างแรงกล้า ถูกประชาชนต่อต้าน จนกระทั่งขุนนางขันที ชนชาติอ้ายไต ชื่อ จงอ้าย ได้ลอบสังหาร ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ผู้ศรัทธา ลัทธิเต๋า จนสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๙๙๕ ทำให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ทำการปราบปรามชนชาติอ้ายไต อย่างรุนแรง

ผลของการสวรรคต ของ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ พระราชโอรสซึ่งยังทรงพระเยาว์ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ ยังไม่สามารถว่าราชการได้ เป็นเหตุให้ อำนาจการปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จึงตกไปอยู่ในมือ ของ พระพันปีหลวง คือ พระพันปีหยางไท่โฮ่ ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์หยาง ผู้ศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา อย่างแรงกล้า

พระนางหยางไท่โฮ่ ได้ทำการส่งเสริมการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อย่างรวดเร็ว มีพระภิกษุต่างชาติ เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ถึง ๓,๐๐๐ รูป พระภิกษุของจีน เริ่มเดินทางโดยทางเรือ เข้าสู่ประเทศอินเดีย เพื่อศึกษา พระธรรมคำสอน ของ พระพุทธศาสนา เป็นจำนวนมาก

เนื่องจาก การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ยังขยายตัวเข้าสู่ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อย่างรวดเร็ว อีกด้วย เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เกรงว่าจะเกิดสงครามโพกผ้าเหลือง อีกครั้งหนึ่ง จึงเริ่มทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สงครามปราบปรามครั้งนั้น ย่อมทำให้ชนชาติอ้ายไต ที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดน มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้รับความเดือดร้อน อีกครั้งหนึ่งด้วย 

เนื่องจากในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น คือเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๙๙๕ กองทัพของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่งราชวงศ์หลิวซ่ง ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้นำกองทัพใหญ่ นำทัพโดย พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ เป็นผู้ยกกองทัพเข้ามาโจมตี แคว้นคันธุลี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยกกองทัพเข้าทำสงครามโจมตี กรุงคันธุลี เมื่อปี พ.ศ.๙๙๕ อีกครั้งหนึ่ง กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม อีกเช่นเคย พระราชโอรส ของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ สวรรคต ในสงคราม อีกพระองค์หนึ่ง ทหารจีน ของ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ บาดเจ็บล้มตาย จำนวนมาก ส่วนที่เหลือ ถูกจับเป็นเชลยศึก ทั้งหมด และถูกขังคุกอยู่ที่ คุกจีน บริเวณวัดคอกช้าง ในปัจจุบัน อีกครั้งหนึ่ง

 ผลจากการพ่ายแพ้สงคราม ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๙๙๕ นั้น ส่งผลให้ในปี พ.ศ.๙๙๖ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง ราชวงศ์หลิวซ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ก็ถูกรัชทายาท ลอบสังหาร จากผลของการพ่ายแพ้สงคราม กับ นายกเจ้าศรีนเรนทร แห่ง แคว้นคันธุลี โดยมี ฮ่องเต้เหวินตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แทนที่ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เหวินตี้ ทำสงครามล้างแค้น ปราบปรามชนชาติอ้ายไต ณ ดินแดน อาณาจักรดั้งเดิม ของ ชนชาติอ้ายไต บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

ในปี พ.ศ.๙๙๖ นั้น กองทัพของ ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ทำสงครามปราบปราม ชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ทำให้ ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ในดินแดนที่ได้ยึดครองไปจากชนชาติอ้ายไต คือการปราบปรามชาวพุทธ ที่ เมืองเซี่ยงไฮ้ , เมืองนานกิง , เมืองกวางตุ้ง , เมืองกวางสี , เมืองกวางเจา มีเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ราชวงศ์จิว แห่ง อาณาจักรไตจ้วง นำพาโดย โกล้ง , โกยะ และ โกสิ่ว ได้ตัดสินใจ อพยพไพร่พล ชนชาติอ้ายไต มายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยได้มาสร้าง แคว้นหลังยะสิ่ว ขึ้นที่ ปากแม่น้ำท่าจีน(สมุทรสาคร) ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาของ ตำนานการกำเนิด แคว้นหลังยะสิ่ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๙๖ เป็นต้นมา นั่นเอง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

เนื่องจาก เหตุการณ์ในขณะนั้น จักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่ บริหารราชการ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อยู่ที่ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ของ อาณาจักรชวาทวีป ได้ถูกกองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตี กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) เช่นกัน

แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ก็ถูกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ยกกองทัพเข้าโจมตีด้วย ส่วน แคว้นคันธุลี ถูกกองทัพเรือ ของ ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามโจมตีล้างแค้น พร้อมกัน เป็นครั้งที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ.๙๙๖ อีกครั้งหนึ่ง

ผลของสงคราม ครั้งนี้ มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) แห่งราชวงศ์โคตะมะ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถูกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) เข้าโจมตี มหาจักรพรรดิเจ้าคำอ้าย กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ได้รับบาดเจ็บ และสวรรคต ในเวลาต่อมา ส่วนกองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และกองทัพเรือ ของ ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ต้องถอยทัพกลับไป

 

  

(๒๖) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่ กรุงพันพาน(พุนพิน)

       ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่(พ.ศ.๙๙๖-๙๙๗) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น ท้าวศรีนเรนทร กรุงคันธุลี เป็น จักรพรรดิ และ เจ้าพิชัยสงคราม กรุงพันพาน เป็น นายก

  ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ปี พ.ศ.๙๙๗

      ในรัชกาลนี้ ได้มีการส่งคณะราชทูตจากกรุงพันพาน(พุนพิน) เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เฮียววู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๙๙๗ ด้วย

 สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ยกกองทัพเรือ เข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เพื่อทำสงครามล้างแค้น แต่เกิดพายุใหญ่ ระหว่างทาง พระองค์ต้องถอยทัพกลับมายัง แคว้นพันพาน พายุใหญ่ได้พัดเอาเรือหลวงของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่ แตกล่มลงกลางทะเล ตำนานภาคใต้ กล่าวว่า มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยยี่ ได้หายสาบสุญไป

 

  

(๒๗) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทร์ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทร์(พ.ศ.๙๙๗-๙๙๘) มีพระนามอีกหลายพระนาม เช่น ท้าวศรีนเรนทราทิตย์ หรือ ท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ หรือ ท้าวพนมรุ้ง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) ในรัชกาลนี้ ได้มีการส่งคณะราชทูตจาก กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) หรือ กรุงครหิต(คันธุลี) เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เฮียววู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อ พ.ศ.๙๙๗ มีบันทึกสั้นๆ ว่า..

...ปีแรก ในรัชกาลของ ฮ่องเต้เฮียววู(พ.ศ.๙๙๗) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ มี มหาจักรพรรดิ จาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงกันโตลิ(กันโตลิก๊ก) ทรงพระนามว่า เชโปโลนาเลนโท(ศรีโพธิ์นเรนทร)  ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี ราชทูต มีนามว่า จิวเหลียวโต(หลวงโต แซ่จิว) ได้นำเครื่องราชบรรณาการมาถวายแด่ ฮ่องเต้ ตามราชประเพณี ด้วย...

ในปีถัดมา ฮ่องเต้เฮียววู แห่ง ราชวงศ์เป่ยเว่ย ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ส่งคณะราชทูต ให้เดินทางมาเจริญสัมพันธไมตรี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เมื่อปี พ.ศ.๙๙๘ จดหมายเหตุจีน ได้ทำการบันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า...

...ในปีที่ ๒ รัชกาลฮ่องเต้เฮียววู(พ.ศ.๙๙๘) ฮ่องเต้ (เฮียววู) ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาจักรพรรดิ แห่ง อาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงคันโตลิ(คันธุลี) ซึ่งมีที่ตั้งพระราชวังหลวงตั้งอยู่บนเกาะ(เกาะกันไพรี) ในดินแดนทะเลใต้(อ่าวไทย) ประเพณี และความเป็นไปของ ราชธานี กรุงคันโตลิ เหมือนกับราชธานี ของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม-เขมร) และ หลินยี่(เวียตนาม) กรุงคันโตลิ นี้ ทอผ้าเป็นลวดลาย และมีสีต่างๆ มีสินค้าฝ้าย และหมาก สินค้าเหล่านี้ มีคุณภาพดีกว่าของ เมืองอื่น...

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา)

ในรัชกาลนี้ ได้เกิดสงครามครั้งใหญ่ ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลีกับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ พร้อมๆ กัน หลายสมรภูมิ อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรต่างๆ ของชนชาติทมิฬโจฬะ ทุกๆ อาณาจักร ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน(เขมร) ได้ร่วมกันยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พร้อมๆ กัน

อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ในขณะนั้นปกครองโดย พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ได้ร่วมกันยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นพันพาน(พุนพิน) และ แคว้นคันธุลี(ท่าชนะ) ส่วน อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเทียนสน(นาคน้ำ) ด้วย

ส่วน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตี ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรเทียนสน ทางฝั่งทะเลตะวันตก และ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรเวียดบก(ภูเขาพระนารายณ์-เมืองกาเพ้อ) มีมหาราชา ทรงพระพระนามว่า พระเจ้ามังกู ได้ยกกองทัพบก เข้าโจมตี แคว้นคันธุลี และ แคว้นพันพาน ทางบก ด้วย

ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง กล่าวว่า ในการรบทางเรือ นั้น กองทัพเรือ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ณ สมรภูมิ อ่าวบ้านดอน นั้น ชนชาติทมิฬโจฬะ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป คงเหลือแต่สมรภูมิสงคราม ทางบก เท่านั้น

เนื่องจาก กองทัพของ พระเจ้ามังกู แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ซึ่งได้ยกกองทัพบก ๒ กองทัพใหญ่ เข้าโจมตี แคว้นพันพาน และ แคว้นคันธุลี(ท่าชนะ) พ่ายแพ้สงคราม ระหว่างทาง จึงต้องถอยทัพกลับไปยัง ภูเขาพระนารายณ์(พังงา) คือ ท้องที่ อ.กะเปอร์ จ.ระนอง ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ตั้ง ราชธานี ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า)

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี ราชธานี ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) บริเวณภูเขาพระนารายณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ภูเขาพระนารายณ์ เป็นเหตุให้เกิดการรบระหว่าง มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ กับ พระเจ้ามังกู และ พระเจ้ามังกา กษัตริย์สองพี่น้อง ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์ เป็นไปอย่างดุเดือด

 

 สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๒

สงคราม ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์(พังงา) ราชธานี ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) นั้น พระเจ้ามังกู เกรงว่า เทวสถานทางศาสนาพราหมณ์ ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) จะถูกทำลาย จึงทรงช้างออกมาสู้รบกับ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์

การรบระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่าย ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์ เป็นไปอย่างดุเดือด มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทร สามารถตัดศีรษะช้างทรงของ พระเจ้ามังกู ขาดเป็นสองท่อน พระเจ้ามังกู จึงต้องหนีเข้า พระราชวัง

กองทัพของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทร ได้ปิดล้อมเมืองไว้ แต่ยังไม่สามารถตีหักเอาพระราชวังหลวง ของ พระเจ้ามังกู ณ ภูเขาพระนารายณ์ สำเร็จ เพราะพระราชโอรสองค์ที่สาม จากมเหสีฝ่ายซ้าย(พระนางรองเมือง-แคว้นพนมรุ้ง-บุรีรัมย์) ซึ่งเป็นพระอนุชาของ เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีราทิตย์ สวรรคต ในสงคราม ขณะเดียวกัน ได้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร ด้วย เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร จึงต้องตัดสินพระทัย ถอยทัพกลับคืน กรุงคันธุลี ชั่วคราว

 

                     

ภาพที่-๖๒ แสดงภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวการทำสงครามของชนชาติไทย สมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ ซึ่งได้ยกกองทัพไปทำสงครามกับ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์ เมืองกาเพ้อ(กะเปอร์ จ.ระนอง)

 

ในขณะที่ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร ถอยทัพกลับกรุงคันธุลี นั้น พระเจ้ามังกู ได้ส่งกองทัพ ไล่ติดตามโจมตี จึงได้ปะทะกับกองทัพของ พระเจ้ามังกู ณ สมรภูมิสนามรบ ภูเขาเพลา(คันธุลี) เกิดการรบพุ่งกันอย่างดุเดือด แม่ทัพของ พระเจ้ามังกู เสียชีวิต ณ ภูเขาเพลา กรุงคันธุลี ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร ได้ท้าชนช้างกับ พระเจ้ามังกู ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง เรียกกันว่า สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๒

 

 

                                                 

ภาพที่-๖๓ ภาพสลักแสดงเรื่องราวสงครามในประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย สมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี สลักเรื่องราวเป็นหลักฐานไว้ ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวการทำสงครามของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ ชนช้างกับ พระเจ้ามังกู ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ ในปัจจุบัน ในภาพ แสดงให้เห็นถึง มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ กระโจนตัวขึ้นในอากาศ เพื่อจ้วงฟัน พระเจ้ามังกู กษัตริย์ทมิฬโจฬะ ขาดเป็นสองท่อน 

 

สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง เป็น สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๒ ระหว่าง มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์นเรนทร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี กับ พระเจ้ามังกู แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ตำนานเรื่องราวของสงคราม ครั้งนั้น เล่ากันเป็นตำนานเรื่องยาว เป็นเรื่องของ กองทัพช้าง ทั้งสองฝ่าย ทำสงครามระหว่างกัน ในบริเวณสนามรบ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร กระโจนตัวขึ้นไปในอากาศ สามารถฟัน พระเจ้ามังกู ขาดเป็น ๒ ท่อน ส่วน พระเจ้ามังกา ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระเจ้ามังกู สามารถหลบหนีกลับไปได้

ผลของสงคราม ครั้งนั้น กองทัพของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) กรุงกาเพ้อ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป แต่เมื่อ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีโพธิ์นเรนทร ส่งกองทัพไล่ติดตามข้าศึก ได้ถูกข้าศึกซุ่มยิงด้วย ศรอาบยาพิษ บาดเจ็บสาหัส ต้องนำกลับมารักษา ณ พระราชวังคันธุลี แต่ไม่สามารถรักษาพิษให้หายได้ จึงสวรรคต ในเวลาต่อมา

สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้างครั้งที่ ๒ ระหว่าง มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี กับ พระเจ้ามังกู แห่ง อาณาจักรผัวหมา(พม่า) กรุงกาเพ้อ เมื่อปี พ.ศ.๙๙๘ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร สวรรคต และ ภายหลังการสวรรคต มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทร ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ ศิลาจารึกหลักที่ K-๓๘๔ ซึ่งพบที่ วัดโบสถ์ จ.นครราชสีมา ได้จารึกเรื่องราว ไว้ด้วยª-

เนื่องด้วย พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ พระนาม เจ้าชายหิรัญญะ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๒๐ พรรษา ได้เข้าร่วมทำสงครามครั้งนั้นเมื่อปี พ.ศ.๙๙๘ ด้วย เจ้าชายหิรัญญะ เป็นผู้สร้างศิลาจารึก K-๓๘๔ ไว้ที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เพื่อสรรเสริญ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระองค์ในเวลาต่อมา ณ ปราสาทเขาพนมรุ้ง ด้วย

 

 

(๒๘) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม กรุงพันพาน(พุนพิน)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม(พ.ศ.๙๙๘-๑๐๒๗) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น ท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิ รัชกาลนี้ มีการทำสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ อย่างดุเดือด ตลอดรัชกาล ในรัชกาลนี้ ได้มีการส่งคณะราชทูตจาก กรุงพันพาน เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เฮียววู แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ หลายครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ.๙๙๘ , ๙๙๙ , ๑๐๐๐ และปี พ.ศ. ๑๐๐๗

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว)

ในรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม นั้น พระองค์ได้ให้กำเนิด ตำราพิชัยสงคราม ของชนชาติไทย ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ และพยายามวางแผนทำสงคราม ปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา)

มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ร่วมกับ มหาราชาเชียงเงิน แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้ส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี) พระนาม จิวจูโล หรือ มหาราชาจูโล แซ่จิว ไปปกครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๙๘ ด้วย

ส่วน พระเจ้าพันจีนเฉง เชื้อสายราชวงศ์เหงียน-ทมิฬ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้หลบหนี ไปยังดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เพื่อขอความช่วยเหลือจาก กองทัพของ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

ต่อมา พระเจ้าพันจีนเฉง ได้ไปส้องสมกำลังอยู่ที่ หมู่เกาะมินดาเนา(ฟิลิปินส์ใต้) และตั้งอาณาจักรของตนเอง ขึ้นปกครอง เรียกว่า อาณาจักรเวียดน้ำ(ฟิลิปินส์) อีกอาณาจักรหนึ่ง ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

 

 สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม)

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม ยกกองทัพจาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กลับ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) กองทัพของ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ร่วมกับกองทัพของ พระเจ้าพันจีนเฉง แห่ง อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์) จึงได้ถือโอกาสยกกองทัพย้อนศร เข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และพยายามทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ แคว้นจามปา ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๐๑ และได้ใช้ แคว้นจามปา เป็นฐานที่มั่น ทำสงคราม ยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ต่อไป

สงครามครั้งนั้น มหาราชาเชียงเงิน แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สวรรคตในสงคราม ทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ถูกแบ่งออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นเหตุให้ พระเจ้าพันจีนเฉง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งเคยปกครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แคว้นจามปา ประกาศตั้ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นอาณาจักรของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

ส่วน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) กองทัพของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ไม่สามารถทำสงครามยึดครองสำเร็จ และได้ทำสงครามสู้รบกับ กองทัพของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) อย่างยืดเยื้อ เป็นเหตุให้ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม กรุงพนมมันตัน(เขมร) จึงได้ส่งคณะราชทูต พร้อมกับได้มีพระราชสาส์น ไปยัง ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อขอกำลัง ช่วยเหลือ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กลับคืน ต่อไป

ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จึงได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ของชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นผลสำเร็จ มหาราชาจิวจูโล แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) จึงยอมเป็นอาณาจักรหนึ่ง ภายใต้การปกครอง ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ตั้งแต่นั้นมา

สงครามแย่งยึดดินแดน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ครั้งนั้น ยืดเยื้อไปจนถึงปี พ.ศ.๑๐๑๖ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ กองทัพเรือตังเก ของ เจ้าตังเก ต้องทำสงครามอย่างหนัก แต่สงครามยังไม่ยุติ ด้วยเหตุที่ กองทัพของอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ กองทัพของ ฮ่องเต้เหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง สงครามครั้งนั้น จึงเป็นสงครามที่ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ เสียไพร่พล จำนวนมาก ทั้งสองฝ่าย จึงสร้างความไม่พอใจให้เกิดขึ้น กับ ขุนศึก ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นอย่างมาก

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

เนื่องจาก เจ้าชายศรีนราทิตย์ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ ได้กลายเป็นแม่ทัพเรือใหญ่ แห่ง กองทัพประจำการ ของ จักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) โดยได้ไปสร้างกองทัพเรือใหญ่ อยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ร่วมกับ กองทัพของ เจ้าชายตังเก พระราชโอรสของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ ทำให้กองทัพข้าศึก เริ่มถูกกองทัพเรือ ของ เจ้าชายศรีราทิตย์ และ เจ้าชายตังเก ทำสงครามตอบโต้ จนต้องพ่ายแพ้ เรื่อยมา

ต่อมา ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างขุนศึก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ในสงครามแย่งชิงดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ครั้งนั้น ส่งผลให้เกิดความไม่สงบขึ้นในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศจีน บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๒ ราชวงศ์หลิวซ่ง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ถูกโค่นล้ม โดย ขุนศึกเซียวเต้าเฉิง อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาให้ ขุนศึกเซียวเต้าเฉิง ให้กำเนิด ราชวงศ์ฉีภาคใต้ มาแทนที่ ราชวงศ์หลิวซ่ง โดย แม่ทัพเซียวเต้าเฉิง ได้ตั้งตนเป็นฮ่องเต้ เรียกพระนาม ว่า ฮ่องเต้เกาตี้ เรียกราชวงศ์ใหม่ว่า ราชวงศ์ฉีภาคใต้ มีฮ่องเต้สืบทอดต่ออีก ๗ พระองค์ ในเวลา ๒๓ ปี(สิ้นสุดราชวงศ์ในปี พ.ศ.๑๐๔๕)

เนื่องจาก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๒๒ เป็นต้นมา ฮ่องเต้เกาตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายไปจากเดิม โดยได้สั่งถอนกองทัพออกจาก การคุ้มครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เพราะไม่มีนโยบายที่จะหนุนช่วยการทำสงครามให้กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) อีกต่อไป ดังนั้นการที่ ฮ่องเต้เกาตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบาย ครั้งนี้ เป็นเหตุให้ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ จึงอ่อนกำลังลงเป็นอันมาก

การเปลี่ยนแปลงนโยบาย ของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ครั้งนี้ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน จึงมีนโยบายให้ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี เตรียมทำสงครามปราบปราม อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เข้ามายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

 

กำเนิด เมียขวัญ และ เมียแก้ว ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี

เนื่องจาก เจ้าศรีนราทิตย์ พระราชโอรสองค์ที่ ๒ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ กับ พระนางรองเมือง ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ได้รับมอบหมายจาก จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ให้เป็นแม่ทัพเรือใหญ่ ของ กองทัพประจำการ ของ จักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี โดยได้ไปสร้างกองทัพเรือใหญ่ อยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ร่วมกับ กองทัพของ เจ้าตังเก ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กับ พระนางแก้ว ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ได้ทำสงครามก่อกวนกองทัพข้าศึก กองทัพเรือของข้าศึกทมิฬโจฬะ เริ่มถูกกองทัพเรือ ของ เจ้าศรีนราทิตย์ และ เจ้าตังเก ทำสงครามตอบโต้ ข้าศึกทมิฬโจฬะ ทำให้ข้าศึกทมิฬโจฬะ ต้องพ่ายแพ้ สงคราม เรื่อยมา

ตำนานท้องที่คันธุลี กล่าวถึงความเป็นมาของคำไทยคำว่า เมียขวัญ-นางแก้ว หรือ เมียขวัญ-เมียแก้ว เป็นเรื่องราวของการทำสงครามกู้ชาติของ ชนชาติไทย มีเรื่องราวโดยสรุปว่า จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี มีมเหสี ๒ พระองค์ มเหสีฝ่ายขวา มีพระนามว่า นางขวัญ เป็นเชื้อสายราชวงศ์จิว จากอาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ส่วนมเหสีฝ่ายซ้าย มีพระนามว่า นางแก้ว ทั้งสองพระนาง ล้วนได้รับการยกย่องให้เป็น แบบอย่างของ ภรรยาที่ดี ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี ทั้งสองพระนาง เรียกว่า  เมียขวัญ-เมียแก้ว ถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้หญิงของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ นำไปเป็นแบบอย่าง

พระนางขวัญ หรือ นางขวัญ หรือ เมียขวัญ ซึ่งเป็นมเหสีฝ่ายขวา ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง คือ พระนางสุมิตา ซึ่งได้อภิเษกสมรส กับ หยางเจ้าจูเหลียน เนื่องจาก พระนางขวัญ เป็นผู้ที่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชนชาติไต มาเป็นอย่างดี จึงคอยนำเรื่องราววีรชน ของ ราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต และ วีรชน ประชาชนชนชาติอ้ายไต ซึ่งเคยต่อสู้ด้วยความเสียสละ เพื่อรักษาดินแดนไว้ให้สืบทอดมาถึงลูกหลาน พระนางขวัญ จึงเป็นผู้ที่คอยให้กำลังใจแก่ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ให้มีขวัญกำลังใจในการต่อสู้ ท่ามกลางความยากลำบาก มิให้เกิดการท้อถอย เรื่อยมา

พระนางขวัญ ยังเป็นผู้สร้างขวัญกำลังใจให้กับ ขุนนาง และ ทหาร ให้มีจิตรวิญญาณ ในการต่อสู้กับข้าศึก โดยไม่เคยคิดย่อท้อ และเมื่อมีการปะทะกับข้าศึก พระนางขวัญ จะทำหน้าที่ปลอบขวัญทหาร มิให้เสียขวัญ และให้มีแรงใจในการทำสงครามต่อสู้กับ ข้าศึก เรื่อยมา เป็นที่มาให้ประชาชนเรียก พระนางขวัญ ว่าเป็น เมียขวัญ ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี กลายเป็นที่มาของคำว่า เมียขวัญ ซึ่งเป็นคำไทย ที่ถูกใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ส่วน พระนางแก้ว หรือ นางแก้ว แม้ว่าจะเป็นมเหสี ฝ่ายซ้าย ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ก็ตามที นางแก้ว ก็ไม่เคยทำอะไรบกพร่องให้ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ไม่สบายพระทัย นางแก้ว ได้ช่วยแบ่งเบาภาระ ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ มาโดยตลอด และไม่เคยมีปากเสียง กับ พระนางขวัญ ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์

กล่าวกันว่า นางแก้ว เป็นผู้เตรียมเสบียงอาหารให้กับ เจ้าตังเก และ เจ้าศรีนราทิตย์ เพื่อให้นำ เรือตังเก ออกไปลอยลำ คอยรักษาน่านน้ำ อ่าวกิมหลิน(อ่าวไทย) เพื่อขัดขวางมิให้ข้าศึก ยกกองทัพมาทำลายแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อ เรือตังเก ของ เจ้าตังเก นำกองเรือตังเก กลับเข้าฝั่ง พร้อมกับทำการหาปลา มาด้วย นางแก้ว ก็จะนำไพร่พล ออกไปช่วยนำปลาต่างๆ มาตากแห้ง เพื่อใช้เป็นเสบียงอาหาร เพื่อเตรียมใช้เป็นเสบียงอาหาร ในการที่เรือตังเก จะต้องออกไปลาดตระเวน หรือ ต้องออกไปทำศึกสงคราม ต่อไป ซึ่งเป็นที่มาให้ประชาชนเรียก นางแก้ว ว่าเป็น เมียแก้ว ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กลายเป็นที่มาของคำว่า เมียแก้ว ที่ถูกใช้เป็นคำไทย ที่ถูกใช้สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

เมื่อทหาร ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีขวัญกำลังใจที่ฮึกเหิม พร้อมทำสงคราม ซึ่งเป็นผลจาก เมียขวัญ และ เมียแก้ว ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ อีกทั้งการที่ ฮ่องเต้เกาตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เปลี่ยนแปลงนโยบาย ไม่นำกองทัพไปทำสงครามสนับสนุนอาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ อีกต่อไป จึงเป็นที่มาให้ กองทัพของ เจ้าชายตังเก และ เจ้าชายศรีราทิตย์ สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๖

สงครามครั้งนั้น พระเจ้าพันจีนเฉ็ง สายราชวงศ์เหงียน-ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต ในสงคราม เป็นที่มาให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลายเป็นปึกแผ่น อีกครั้งหนึ่ง เจ้าตังเก ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กับ พระนางแก้ว จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชาเจ้าตังเก ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๒๖ เป็นต้นมา

ผลจากสงครามครั้งนั้น เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬเหงียน-ทมิฬ และ ราชวงศ์ทมิฬ-พันศรีเทพ ได้หลบหนีไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา-ฟิลิปินส์ใต้) และเป็นที่มาให้ เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ พยายามทำสงคราม ยึดครองดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

      ในช่วงเวลาดังกล่าว ก่อนที่จะเกิดสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) นั้น พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ได้มอบให้ พระเจ้าวีรวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ พระเจ้าพันศรีเทพ ได้ส่งกองทัพเข้าทำการยึดครอง อาณาจักรตาหมิง หรือ อาณาจักรโพธิ์ใน หรือ อาณาจักรชบาใน หรือ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เป็นผลสำเร็จ พร้อมกับได้มอบให้ พระเจ้าวีรวรมัน ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ขึ้นเป็นมหาราชาปกครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) พร้อมกับได้ทำการฆ่าเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่งราชวงศ์ไตจ้วง คือ มหาราชาจิวจูโล และเชื้อสายราชวงศ์ อย่างเหี้ยมโหด

      การที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน มีชัยในสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลับคืน เป็นผลสำเร็จนั้น เป็นที่มาให้ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เขมร) เสียฐานที่มั่นที่สำคัญไปมาก เพราะขณะนั้น สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ประกอบด้วยเพียง ๒ อาณาจักรเท่านั้น คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เท่านั้น

      ท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ถือโอกาสส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)  เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๗ อีกครั้งหนึ่ง โดยมอบให้ให้ มหาราชาตังเกฉุน แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ส่งกองทัพมาจาก ทางทิศตะวันออก มหาราชาหิรัญญะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง(เมืองนางรอง-บุรีรัมย์) ได้ส่งกองทัพบุกเข้าไปทางทิศตะวันตก กองทัพของ อาณาจักรอ้ายลาว ส่งกองทัพเข้าทางทิศเหนือ ส่วนกองทัพ ของ เจ้าศรีนราทิตย์ ยกกองทัพเรือ จาก อาณาจักรชวาทวีป บุกเข้าทางทิศใต้ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เข้าทำสงครามโจมตีแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) พร้อมๆ กัน

      ผลของสงครามครั้งนั้น ปรากฏว่า พระเจ้าศรีอินทรวรมัน สวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๗ แต่ในที่สุด กองทัพของ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ต้องถอยทัพกลับ เพราะ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน ชนชาติมอญ แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ และ พระเจ้าพันจูน ราชวงศ์เหงียน-ทมิฬ ได้พยายามก่อสงครามขึ้นมาในดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

      สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ยังไม่ยุติ เนื่องจาก กองทัพของ พระเจ้าชัยวรมัน ซึ่งเป็น พระราชโอรส ของ พระเจ้าศรีอินทรวรมัน ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๒๗ ได้ทำการต่อต้านอย่างหนัก และยังพยายามขอให้กองทัพจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้มาร่วมทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง ด้วย กองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงต้องถอยทัพกลับ สงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ครั้งนั้น จึงยังไม่สำเร็จ เพราะทราบข่าวว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กำลังเคลื่อนทัพ มาร่วมในสมรภูมิ ด้วย ª-

 

 

เจ้าชายหิรัญญะ เป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง

  

                             

ภาพที่-๖๔ เทวรูปนี้ พบที่ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เมื่อสังเกตดูเครื่องทรง จึงสันนิษฐานว่า เป็นเทวรูปจำลอง เจ้าชายหิรัญญะ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี กับ พระนางรองเมือง เนื่องจาก เจ้าชายหิรัญญะ ได้เสด็จกลับมาสร้าง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง หลังจากเสร็จศึกสงครามต่อสู้กับ ข้าศึกชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง และต่อมา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรคามลังกา ด้วย

 

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม กรุงพันพาน นั้น ได้กำเนิด ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ขึ้นมาด้วย เนื่องจาก หลังจากเสร็จศึก สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้างครั้งที่ ๒ ณ แคว้นคันธุลี เรียบร้อยแล้ว เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายหิรัญญะ และ เจ้าชายศรีนราทิตย์ ได้เสด็จกลับไปปกครอง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง ราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา และได้สร้าง ปราสาทพนมรุ้ง ต่อจากที่พระราชบิดา สร้างไว้ หลังจากการสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้ง สำเร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าชายหิรัญญะ มีพระชนมายุครบ ๒๕ พรรษา จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรคามลังกา โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐ อยู่ที่ เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง คือท้องที่ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในปัจจุบัน

      ส่วน เจ้าชายศรีทราทิตย์ ได้เสด็จไปสร้าง ปราสาทหินพิมาย ในดินแดนของ แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) จนสำเร็จ แล้วใช้ แคว้นพิมาย เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรนาคดิน(อีสานปุระ) เป็นที่มาให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต กับ สายราชวงศ์มอญ ในดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ ต่อมา ด้วย

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

      สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีพื้นฐานมาจาก เจ้าชายตังเก พระราชโอรสของ จักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี กับ นางแก้ว ซึ่งเป็นมเหสี ฝ่ายซ้าย ได้มาสร้างอู่ต่อเรือ และ กองเรือตังเก อยู่ที่ ปากคลองกลิงค์(คลองหลิง) และ ท่ากระจาย อ่าวคันธุลี ทำให้ กองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีกองเรือ เป็นจำนวนมาก

      ต่อมา เจ้าชายตังเก ได้ปกครอง แคว้นออกแก้ว ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้นำกองเรือตังเก ออกทำสงคราม กับ ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ โดยสามารถนำกองทัพเรือ เดินทางเข้าไปโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้พระราชธิดา ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) สายราชวงศ์เชียง มาเป็นพระชายา พระองค์หนึ่ง มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ มีพระนามว่า ตังเกฉุน และ ตังเกฟัน คือต้นกำเนิด ของ ราชวงศ์ตังเกฉุน ที่เกิดขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ในเวลาต่อมา เนื่องจาก เจ้าชายตังเกฟัน คือ มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่ ในเวลาต่อมา คือ พระราชบิดา ของ ฟันถูลิ(พันธุลี)แห่ง ราชวงศ์ตังเกฉุน แห่ง อาณาจักรหลินยี่ ในเวลาต่อมา นั่นเอง

      ต่อมา เจ้าชายตังเก แห่ง แคว้นออกแก้ว ได้ส่งกองทัพเรือตังเก เข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งชนชาติทมิฬโจฬะ ยึดครองไป กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เรื่อยมา โดยได้รับการสนับสนุนจาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน จนกระทั่งสามารถทำสงคราม ครอบครองดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เรื่อยมา

      ต่อมา เจ้าชายตังเก จึงได้ทำสงครามกับ พระเจ้าพันจีนเฉ็ง แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เรื่อยมา จนกระทั่งพระราชโอรส มีพระนามว่า เจ้าตังเกฉุน เป็นผู้สืบทอดการทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๖

 

เจ้าชายศรีนราทิตย์ ให้กำเนิด แคว้นพิมาย ราชธานีใหม่ ของ อาณาจักรนาคดิน

      ภายหลังสงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง เจ้าศรีนราทิตย์ ได้เสด็จไปสร้าง ปราสาทหินพิมาย ในดินแดนของ แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) จนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และใช้ แคว้นพิมาย เป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรนาคดิน(ภาคอีสานเหนือ) เป็นที่มาให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต กับ สายราชวงศ์มอญ ในดินแดน ของ อาณาจักรอีสานปุระ ในเวลาต่อมา ด้วย

      ต่อมา พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ร่วมกับกองทัพ ของ เจ้าชายปฤถิวีนทรวรมัน ซึ่งเป็นสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ปราสาทหินพิมาย เป็นผลสำเร็จ มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ แห่ง อาณาจักรนาคดิน ต้องถอยทัพมาอยู่ที่ แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) แต่ยังถูกกองทัพ ของ อาณาจักรอีสานปุระ ราชวงศ์มอญ-ทมิฬ ส่งกองทัพติดตามโจมตี อย่างต่อเนื่อง

      ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง กล่าวว่า มหาราชาศรีนราทิตย์ ต้องถอยทัพมาที่ แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) แล้วได้สร้างกองทัพเรือ ขึ้นที่ แคว้นหลังยะสิ่ว เพื่อต่อสู้กับ กองทัพเรือ ของ พระเจ้าชัยวรมัน แล้วได้ล่องกองทัพเรือ เดินทางไปหา จักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ ณ กรุงคันธุลี ซึ่งเป็นเสด็จอา เจ้าศรีนราทิตย์ ได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพใหญ่ ของ กองทัพประจำการ ของ จักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี โดยได้ไปสร้างกองทัพเรือใหญ่ อยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ร่วมทำงานกับ เจ้าตังเก ซึ่งเป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง

      ดังนั้น ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยสงคราม แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน นั้น เจ้าศรีราทิตย์ ได้ร่วมมือกับ เจ้าตังเก และ หยางเจ้าจูเหลียน ร่วมกันสร้างกองทัพเรือใหญ่ ขึ้นที่ อ่าวศรีโพธิ์ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) แคว้นคันธุลี เพื่อส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงคราปราบปราม กองทัพของข้าศึกทมิฬโจฬะ อย่างต่อเนื่อง กองทัพของ มหาจักรพรรดิเจ้าพิชัยสงคราม จึงเข้มแข็ง ขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นกองทัพเรือที่สามารถเข้าทำสงคราม ทำลายกองทัพเรือของข้าศึกทมิฬโจฬะ ให้ได้รับความเสียหาย อย่างต่อเนื่อง

 

 

 (๒๙) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ)

 

 

                                            

 ภาพที่-๖๕ เทวรูปจำลอง มหาจักรพรรดิ ท้าวศรีธนูรักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สื่อความหมายว่า เป็นพระนารายณ์ อวตาลมา ๒ ภพชาติ แสดงความหมายที่ พระหัตถ์ด้านหน้า และพระหัตถ์ ด้านหลังว่า เคยประสูติมาเป็น มหาจักรพรรดิ ในดินแดนสุวรรณภูมิ มาแล้ว ๒ ภพชาติ คือ ภพชาติแรก ได้สื่อความหมายด้วยพระหัตถ์ ด้านหลังว่า เคยประสูติมาเป็น ท้าวหารคำ สมัย สหราชอาณาจักรเทียน มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ และได้มาร่วมปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ๒ พระองค์ ส่วน ภพชาติที่-๒ วิญญาณได้มาประสูติเป็น มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ แสดงอาการครุ่นคิด เพื่อวางแผนทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน

  

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์(พ.ศ.๑๐๒๗-๑๐๔๕) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) นั้น ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๗ นั้น ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทำให้ ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี จึงเริ่มเปลี่ยนแปลงไป เพราะ ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ ปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา ความสัมพันธ์ทางการทูตกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จึงขาดสะบั้นลง

ส่วนความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เกิดขึ้นในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ เนื่องจาก สถานการณ์ขณะนั้น มีเหตุความไม่สงบเกิดขึ้นในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เช่นเดียวกัน

เนื่องจากในปี พ.ศ.๑๐๔๔ นั้น แม่ทัพเซียวเอี้ยน ผู้บัญชาการทหาร เมืองเซียงหยาง(นานกิง) ได้เข้ายึดอำนาจโค่นล้มราชวงศ์ฉีภาคใต้ ผู้ปกครองดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พร้อมกับทำการกวาดล้างพวกราชวงศ์ดั้งเดิม แล้วตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ มีพระนามว่า ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ และเปลี่ยนนโยบายใหม่ และ พยายามแสร้งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ซึ่งเคยมีความขัดแย้ง กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อย่างรุนแรง มาอย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้สถานการณ์สงครามโพกผ้าเหลือง ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เริ่มลดลงทันที

เป็นที่น่าแปลกใจว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งไม่ยอมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มาโดยตลอด แต่กลับมีหลักฐานว่า ในปี พ.ศ.๑๐๔๕ นั้น จดหมายเหตุจีน แห่ง ราชวงศ์เหลียง ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ทำการบันทึกว่า ได้มีคณะราชทูตของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ได้เดินทางไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ บันทึกดังกล่าวสามารถแปลความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ª-

...ในปีที่ ๑ รัชสมัยฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้(พ.ศ.๑๐๔๕) ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้มีมหาจักรพรรดิแห่ง กันถัวลี่ก๊ก(กรุงคันธุลี) มีพระนามว่า ศรีธนูรักษ์(ชี-ลี-ถุน-ซิว-ป๋า-ถัว-หลัว) ได้ทรงพระสุบิน ในวันที่ ๘ ของเดือน ๔ ได้นิมิตเห็นพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งมากล่าวกับพระองค์ว่า จงก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้) ในขณะนั้น มีฮ่องเต้(เหลียงอู่ตี้) ผู้ล้ำเลิศ ภายหลังจากนี้อีก ๑๐ ปี พระพุทธศาสนา จะรุ่งเรืองใน จงก๊ก(มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้) ถ้าหากว่า มหาจักรพรรดิ กรุงคันธุลี แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณการ แด่ ฮ่องเต้ ของ จงก๊ก ด้วยความคารวะ จะทำให้แผ่นดินของ กันถั่วลี่ก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี) จะอุดมผาสุก เหล่าพ่อค้าวาณิช จะเพิ่มเป็นร้อยเท่า หากไม่เชื่อ พระภิกษุ องค์นั้น เขตแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ก็จักไม่สงบสุข

ครั้งแรก มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ แห่ง กรุงคันธุลี ไม่ทรงเชื่อ แต่ต่อมา พระองค์ท่าน ได้ทรงพระสุบินซ้ำอีก ทรงนิมิตเห็นภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า หากพระองค์ท่านไม่เชื่อ อาตมาจะพาพระองค์ท่านไปชมดูแล้วในพระสุบินนั้น มหาจักรพรรดิ แห่ง กรุงคันธุลี ได้ไปถึงเมืองหลวง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พระองค์ ได้เข้าเฝ้าฮ่องเต้(เหลียงอู่ตี้) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พระองค์จึงทรงรู้สึกประหลาดพระทัย หลังจากนั้น มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์(ถัว-หลัว) จึงทรงวาดรูป และ แต้มสีรูปพระพักตร์ ของ ฮ่องเต้(เหลียงอู่ตี้) ที่ทรงเห็นในพระสุบิน ด้วยพระองค์เอง จากนั้นจึงได้ส่งคณะราชทูตนำพระบรมสาทิสลักษณ์ (ที่ทรงวาด) และพระราชสาส์น มาถวาย พร้อมถาดหยก ด้วย

เมื่อคณะราชทูต ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กรุงคันธุลี เดินทางไปถึง เมืองเซียงหยาง(นานกิง) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ตามที่ได้ทรงพระสุบิน ราชทูต ได้คัดลอกพระบรมสาทิสลักษณ์(ของฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้) นำกลับไปยัง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เพื่อนำไปถวายให้กับ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์(ถัว-หลัว) ทอดพระเนตรเปรียบเทียบภาพแล้ว ปรากฏว่า ภาพวาดของ ฮ่องเต้(เหลียงอู่ตี้) ที่ได้รับ เหมือนกันกับที่ทรงเห็นในพระสุบิน ที่ได้ทรงวาดรูปไว้ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ แห่ง กรุงคันธุลี จึงทรงศรัทธาเชื่อมั่น เพิ่มความคารวะนับถือ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ มากขึ้น...

จดหมายเหตุจีนดังกล่าว มีการอ้างว่า ถ้าสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี สามารถสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แล้ว พระพุทธศาสนา ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะรุ่งเรืองภายใน ๑๐ ปี เป็นการแสดงให้เห็นถึง ความขัดแย้ง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ที่มีความขัดแย้งต่อกัน เพิ่มขึ้น อีกด้วย และถ้าไม่ดำเนินการดังกล่าว เขตแดน ก็จักไม่สงบสุข อีกด้วย

ตำนานท้องที่คันธุลี กล่าวว่า ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ใช้พระภิกษุ เป็นราชทูต เดินทางมาติดต่ออย่างลับๆ กับ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ เพื่อสถาปนา ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี เพื่อลดความรุนแรง ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ที่กำลังขยายตัวในดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ในอนาคต นั่นเอง

 

กำเนิด แคว้นพุทธทอง(สระทิ้งพระ สงขลา)

เนื่องจาก ระหว่างปี พ.ศ.๑๐๒๗-๑๐๒๙ นั้น ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ แห่งราชวงศ์เป่ยเว่ย ผู้ปกครองดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่งศรัทธาในลัทธิเต๋า ได้ใช้นโยบาย เปลี่ยนแปลงชนพื้นเมือง ชนชาติเซียนเป่ย และ ชนชาติอ้ายไต ให้เป็นชาวฮั่น จนกระทั่งในปี พ.ศ.๑๐๓๖ ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ ยังได้มีคำสั่งห้ามชนพื้นเมืองในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ใช้ภาษาของชนพื้นเมือง พวกแย่(ไป่เย่) รวมทั้งชนชาติอ้ายไต ด้วย ล้วนถูกห้ามมิให้ใช้ภาษาของชาติตนเอง ทั้งการพูด และ การเขียน อีกทั้งยังสนับสนุนให้ขุนนาง ชนพื้นเมือง เซียนเป่ย และ ชนชาติอ้ายไต ให้แต่งงานกับชาวฮั่น เพื่อสร้างชาติพันธุ์ อันเดียวกัน เป็นเหตุให้ ชนพื้นเมืองพวกแย่(ไป่เย่) รวมทั้ง ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนจีน ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ รวมไปถึง เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ราชวงศ์หยาง ชื่อ หยางเจ้าพุทธทอง ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ แม่ทัพหยางจุ้น และเป็นพระอนุชา ของ พระนางพันปีหยางไท่โฮ่ คนหนึ่งด้วย ต้องอพยพมาตั้งรกรากในดินแดน สุวรรณภูมิ ณ แคว้นคันธุลี ด้วย

ก่อนหน้านี้ เชื้อสาย ราชวงศ์หยาง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ โดย พระนางพันปีหยางไท่โฮ่ ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ และเป็นพระราชมารดา ของ ฮ่องเต้เฮียววู และ ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ เนื่องจาก หยางจุ้น เป็น พระราชบิดาของ พระนางหยางไท่โฮ่ เป็นขุนศึก ผู้มีอำนาจ เนื่องจาก เชื้อสายราชวงศ์หยาง ล้วนนับถือพระพุทธศาสนา เป็นที่มาให้ ราชวงศ์หยาง ได้ส่งเสริมการนำพระพุทธศาสนา สายเถรวาท เข้าเผยแพร่ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ อย่างรวดเร็ว

เนื่องจาก หยางพุทธทอง เป็นพระอนุชา ของ พระนางหยางไท่โฮ่ จึงมีบทบาทในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มาอย่างต่อเนื่อง หยางพุทธทอง จึงมีความสนิทสนมกับ มหาจักรพรรดิท้าวพิชัยสงคราม และ จักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ มาก่อนหน้านี้แล้ว หยางพุทธทอง จึงได้มาเป็นราชา ของ แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) โดยได้สร้างพระราชวังที่ประทับอยู่ที่ ภูเขาพุทธทอง บริเวณ สวนโมกข์ผลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เพื่อสร้างพระพุทธรูป ไปส่งให้กับวัดต่างๆ ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ในขณะนั้น ทั่วทั้งดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์เป่ยเว่ย พระนางพันปีหยางไท่โฮ่ ได้ส่งเสริมให้มีวัดถึง ๓๐,๐๐๐ วัด มีพระพุทธรูปถึง ๕๑,๐๐๐ องค์ มีพระภิกษุต่างชาติ มาประทับอยู่ที่ เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) ถึง ๓,๐๐๐ รูป มีพระภิกษุจีน เดินทางไปศึกษาในประเทศอินเดีย และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นจำนวนมาก ทำให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ในอดีต จึงมีความสัมพันธ์ ที่ดี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาโดยตลอด

เนื่องจากเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๑๐๒๙ นั้น ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ แห่ง ราชวงศ์เป่ยเว่ย ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่ง ศรัทธาในลัทธิเต๋า เริ่มปราบปรามผู้นับถือ พระพุทธศาสนา อย่างรุนแรง ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากในดินแดน มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จึงต้องอพยพมาตั้งรกราก ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ ความสัมพันธ์ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ขาดสะบั้นลง อย่างรวดเร็ว หยางพุทธทอง จึงได้อพยพมาอยู่ที่ ภูเขาพุทธทอง เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) แคว้นคันธุลี จนกระทั่งได้สร้าง แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ได้หลบหนีการปราบปราม มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เพิ่มขึ้น และ หยางพุทธทอง ได้อภิเษกสมรสกับ พระราชธิดาของ ท้าวโพธิคะ แห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) จึงได้รวบรวมไพร่พลจาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปร่วมสร้าง แคว้นพุทธทอง ขึ้นมาที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา อาณาจักรเทียนสน และได้เปลี่ยนชื่อจากชื่อ แคว้นพุทธทอง เป็นชื่อใหม่ ในเวลาต่อมาว่า แคว้นสระทิ้งพระ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา หยางพุทธทอง มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า หยางเจ้าจูเหลียน ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าหญิงสุมิตา พระราชธิดาของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ กรุงคันธุลี ด้วย คือต้นราชวงศ์ หยาง-โคตะมะ นั่นเอง ต่อมา หยางเจ้าจูเหลียน ได้เป็นราชา ปกครอง แคว้นพันพาน เป็นแม่ทัพที่สำคัญคนหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

 

   สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ นั้น ได้เกิดสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก ฮ่องเต้ถังยู่ ราชวงศ์ฉีตอนใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าช่วยเหลือกองทัพ ของ พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , กองทัพของ มหาราชาพันจูนง แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา ฟิลิปินส์ใต้) , กองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้เข้าร่วมสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ซึ่งปกครองโดย มหาราชาตังเก พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ กับ นางแก้ว เกิดสงครามยืดเยื้อหลายปี เป็นเหตุให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ต้องแตกแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ถูกกองทัพ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ทำสงครามยึดครอง เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๓๕ เรียบร้อยแล้ว กองทัพของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) แห่ง แคว้นภูเขาพระนารายณ์(ระนอง) ซึ่งได้ยกกองทัพเข้าตีท้ายครัว แคว้นคันธุลี และ แคว้นพันพาน(พุนพิน) พร้อมกับที่ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพข้าศึกทมิฬโจฬะ เข้าโจมตี แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) แห่ง อาณาจักรเทียนสน(อาณาจักรขุนหลวง) ด้วย แต่ต้องถอยทัพกลับไป เพราะ หยางพุทธทอง ได้ส่งกองทัพเข้าปิดล้อม กองทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ข้าศึกทมิฬโจฬะ จึงได้รับบาดเจ็บ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ต้องพ่ายแพ้สงคราม อย่างยับเยิน ส่วนที่เหลือ ต้องถอยทัพกลับไป

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรผัวหมา(พม่า)

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ครั้งนี้ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราม อาณาจักรผัวหมา(พม่า) ณ ภูเขาพระนารายณ์(เมืองกาเพ้อ ระนอง) เป็นผลสำเร็จ มหาราชา ของ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) พ่ายแพ้สงคราม ต้องอพยพไพร่พล กลับไปตั้งรกราก ณ เกาะกาละ(สุมาตรา) หรือ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) อีกครั้งหนึ่ง

หลังสงคราม ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์(ระนอง) ครั้งนั้น ทำให้ มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ได้ถือโอกาส เข้ารื้อฟื้น แคว้นพังงา และ แคว้นกาเพ้อ(ระนอง) กลับคืน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ แคว้นปากคูหา(ระนอง) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นไทฟ้า(ระนอง) เมืองกาเพ้อ ขึ้นต่อ แคว้นไทยฟ้า(ระนอง) ด้วย

แคว้นไทฟ้า ปกครองโดย ราชาเจ้าไทฟ้า ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ มหาราชาขุนตึง หรือเป็น พระเจ้าอา ของ มหาราชาเจ้าตึงลู  มหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรโกสมพี กรุงแสนหวี ในขณะนั้น นั่นเอง

  

หยางพุทธทอง ให้กำเนิด แคว้นสระทิ้งพระ(อ.จะทิงพระ จ.สงขลา)

      เหตุการณ์ความไม่สงบ ต่อมา เกิดขึ้นเมื่อ หยางพุทธทอง ได้ทำการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นมาที่ บริเวณ ภูเขาพุทธทอง เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อส่งไปให้เช่าในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จนกระทั่งมีพระพุทธรูป จำนวนมากถึง ๕๑,๐๐๐ องค์

      ฮ่องเต้เสี้ยวเหวินตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ไม่พอพระทัย ที่มีการสร้างพระพุทธรูป ไปประดิษฐานไว้ตามวัดวาอาราม ต่างๆ เป็นจำนวนมาก จึงได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองท่า ในดินแดนของ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ซึ่งเป็นสถานที่ กระจายพระพุทธรูป เข้าสู่ดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๔๒

      สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ครั้งนั้น ทำให้ชนชาติอ้ายไต ต้องนำพระพุทธรูปลงทิ้งไปในสระน้ำ เรียกว่า สระทิ้งพระ แล้วร่วมกันอพยพประชาชน ชนชาติอ้ายไต ผู้หลบหนีภัยสงคราม ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยได้อพยพทางเรือ ไปตั้งรกรากที่ เมืองพุทธทอง ในท้องที่ จ.สงขลา ในปัจจุบัน แล้วเปลี่ยนชื่อเรียกเมืองใหม่ ว่า เมืองสระทิ้งพระ(สงขลา) คือการกำเนิด เมืองต่างๆ ในท้องที่ จ.สงขลา ในเวลาต่อมา หยางพุทธทอง จึงเป็นปฐมกษัตริย์ ผู้ให้กำเนิด เมืองสงขลา ณ เมืองสระทิ้งพระ ในระยะเริ่มต้น นั่นเอง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) มีผลมาจากเหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๔๑ เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ได้มอบให้ มหาราชาตังเกฉุน แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ส่งกองทัพใหญ่ ทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สงครามครั้งนั้น พระเจ้าพันจูนง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เสด็จสวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น ด้วย

ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวศรีธนูรักษ์ ได้โปรดเกล้าให้ มหาราชาเชียงเทียนไต แห่ง ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๔๑ เป็นต้นมา พร้อมกับได้ส่งกองทัพใหญ่ อีกกองทัพหนึ่ง เข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และ ตาเกี๋ย) กลับคืนด้วย มีการสร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ทำสงครามกู้ชาติ อีกครั้งหนึ่ง

ประมาณปี พ.ศ.๑๐๔๑-๑๐๔๕ ได้เกิดสงครามโพกผ้าเหลือง ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ทำสงครามยึดครองไป อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้สนับสนุน กองทัพต่างๆ ของ อาณาจักรทมิฬโจฬะ และ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ อย่างลับๆ เพื่อให้ร่วมกันก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ โดย พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน(เขมร) ได้มอบให้ พระเจ้าวิชัยวรมัน ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๔๕

ต่อมา มหาราชาพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน และ มหาอุปราชพระเจ้ายโสธรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ร่วมกับ พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน(เขมร) ได้ร่วมกันทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกา ของชนชาติอ้ายไต ซึ่งปกครองโดย มหาราชาหิรัญญะ เป็นเหตุให้ อาณาจักรคามลังกา ถูกแบ่งแยกออกเป็น อาณาจักรคามลังกาเหนือ ปกครองโดย มหาราชาหิรัญญะ มีราชธานีอยู่ที่ กรุงพนมรุ้ง(นางรอง) และ อาณาจักรคามลังกาใต้ ปกครองโดย พระเจ้าภววรมัน พระราชโอรส ของ มหาราชาพระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มีราชธานีอยู่ที่ แคว้นพนมเปญ(โพธิสารหลวง)

สงครามกับชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เกิดขึ้นเมื่อกองทัพข้าศึกทมิฬโจฬะ ของ พระเจ้าชัยวรมัน และ พระเจ้าวิชัยวรมัน สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ มหาราชาเชียงเทียนไท แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สวรรคต ในสงคราม พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ จึงโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ พระเจ้าวิชัยวรมัน ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็นมหาราชา ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๔๕ เป็นต้นมา

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงพนมรุ้ง

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ คือ สงครามระหว่าง อาณาจักรอีสานปุระ กรุงกาละศีล(กาฬสินธุ์) ของ ชนชาติมอญ กับ อาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงพนมรุ้ง ของ ชนชาติอ้ายไต นั่นเอง สงครามครั้งนั้น มหาราชาหิรัญญะ ได้นำกองทัพออกไปทำการต่อต้านข้าศึกมอญ อย่างเต็มความสามารถ ในหลายสมรภูมิสงคราม แต่ในที่สุด มหาราชาหิรัญญะ สวรรคต ในสงคราม มหาอุปราชศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ต้องทำสงครามรักษา แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ ต่อไป

ขณะนั้น แม่ทัพเรือ เจ้าศรีนราทิตย์ ซึ่งเป็น พระอนุชา และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีโพธิ์นเรนทราทิตย์ กับ พระนางรองเมือง และ เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ ซึ่งได้มาควบคุมกองทัพเรือหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อยู่ที่ อ่าวศรีโพธิ์ ทำสงครามอยู่ที่ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาใต้

เมื่อ เจ้าศรีนราทิตย์ ทราบข่าวว่า มหาราชาหิรัญญะ ซึ่งเป็นพระเชษฐา และเป็นมหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรคามลังกา(ขอม) เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง ได้เสด็จสวรรคต  เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๔๕ นั้น มหาจักรพรรดิเจ้าศรีธนูรักษ์ จึงรับสั่งให้ แม่ทัพเรือ เจ้าศรีนราทิตย์ เสด็จไปขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรคามลังกาเหนือ ณ กรุงพนมรุ้ง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) เป็นรัชกาลถัดไป โดยมี เจ้าชายศรีสุริยะ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาราชาหิรัญญะ เป็น มหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงพนมรุ้ง ในรัชกาลถัดมา เป็นเหตุให้ มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ ต้องส่งกองทัพเข้าทำสงคราม ปราบปราม อาณาจักรอีสานปุระ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ ซึ่งถูกยึดครองโดยราชวงศ์ ชนชาติมอญ ต่อไป

 

 

 

(๓๐) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์พิชัย กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์พิชัย(พ.ศ.๑๐๔๕-๑๐๕๘) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น หลักฐานจดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้บันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า ในปี พ.ศ.๑๐๔๕ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิโพธิ์พิชัย ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

 

 

                          

ภาพที่-๖๖ แผนที่ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้

 

 

สงครามกับ ชนชาติมอญ และ ทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ

 

ในรัชกาลนี้ ได้เริ่มก่อกำเนิด ปราสาทเขาพระวิหาร ของ ชนชาติอ้ายไต คือ พระราชวังหลวงอีกแห่งหนึ่ง ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ เกิดขึ้นจากผลของสงคราม ระหว่าง อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติมอญ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ กับ ชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกา

เหตุสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์สงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๔๓ นั้น พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน เชื้อสายราชวงศ์มอญ-ทมิฬ พระราชโอรส ของ พระเจ้าพันศรีเทพ กับ พระนางอีมอญ ดังนั้น พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน จึงเป็นพี่น้องต่างมารดา กับ พระเจ้าชัยวรมัน ด้วย

เนื่องจาก พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา ชนชาติมอญ ผู้ปกครอง อาณาจักรอีสานปุระ ได้ก่อสงครามยึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต จนกระทั่ง มีอิทธิพลเหนือ อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์(อาณาจักรนาคดิน) ของชนชาติไต เป็นเหตุให้ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน ชนชาติมอญ-ทมิฬ ร่วมมือกับ พระเจ้าชัยวรมัน ชนชาติทมิฬโจฬะ ร่วมมือกันก่อสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกาใต้ ไปครอบครอง ด้วย จึงเป็นที่มา ของ สงคราม ณ สมรภูมิต่างๆ ในดินแดน ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ ใต้ ในเวลาต่อมา นั่นเอง

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ ได้ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๑๐๔๕ กองทัพต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ได้ก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ ด้วยการสนับสนุนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยที่ กองทัพของ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน และ พระเจ้ายโสธรวรมัน ได้พยายามส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรคามลังกาเหนือ เข้าโจมตี ปราสาทเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง อันเป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ด้วย

สงครามครั้งนั้น มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ ต้องยกกองทัพ ไปช่วยพระเชษฐา คือ มหาราชาหิรัญญะ ผลของสงคราม ปรากฏว่า มหาราชาหิรัญญะ สวรรคต ในสงคราม และ กองทัพของ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน และ พระเจ้ายโสธรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ต้องถอยทัพกลับไป มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ จึงต้องขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาราชา ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ กรุงพนมรุ้ง ในรัชกาล ถัดมา

ต่อมา พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ร่วมกับ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน และ พระเจ้ายโสธรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ของชนชาติมอญ ได้ร่วมกันส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ(อีสานใต้) ซึ่งปกครองโดย มหาราชาศรีนราทิตย์ และ มหาอุปราชศรีสุริยะ(พระราชโอรสของ หิรัญญะ) จึงเกิดสงคราม การสู้รบ หลายสมรภูมิ อย่างดุเดือด สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรคามลังกาเหนือ ครั้งนั้น ได้ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๑๐๔๘

การก่อสร้าง ปราสาทหินเขาพระวิหาร ในครั้งนั้น สืบเนื่องมาจาก เหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๔๘ เนื่องจาก อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์(อาณาจักรนาคดิน) ของ ชนชาติอ้ายไต ถูกยึดครอง จึงกำเนิด อาณาจักรอีสานปุระ ของชนชาติมอญ ขึ้นมามีอำนาจ แทนที่ ขณะนั้น สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของชนชาติทมิฬโจฬะ ประกอบด้วย ๗ อาณาจักร คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อาณาจักรคามลังกาใต้(ขอม) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) , อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) , อาณาจักรอีสานปุระ(กาฬสินธุ์) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ทำให้กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ เข้มแข็งขึ้นมาก

จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๐๔๙ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน มหาราชา แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ ได้พยายามทำสงครามยึดครอง อาณาจักรคามลังกาเหนือ ซึ่งปกครองโดย มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ กรุงคันธุลี ขณะนั้น อาณาจักรคามลังกาเหนือ มีเมืองราชธานี อยู่ที่ ปราสาทพนมรุ้ง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง(บุรีรัมย์) ถูกกองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ ยกกองทัพใหญ่ เข้ายึดครองอีก

พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน แห่ง อาณาจักรอีสานปุระ กษัตริย์ ๒ พี่น้องต่างมารดา ร่วมราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ได้ร่วมกันยกกองทัพเข้าโจมตียึดครองแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ(อีสานใต้) จนกระทั่ง ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง เมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๕๐ เป็นผลสำเร็จ

ผลของสงครามครั้งนั้น เป็นเหตุให้ มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ และ มหาอุปราชศรีสุริยะ ต้องยอมทิ้ง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง ชั่วคราว และได้นำไพร่พล อพยพไปสร้างปราสาทหินเขาพระวิหาร เป็นฐานที่มั่นทางทหาร เพื่อการทำสงคราม กอบกู้และรักษาดินแดน อาณาจักรคามลังกา ต่อไป

 

แคว้นศรีสุริยะ(เขาพระวิหาร) ราชธานีใหม่ ของ อาณาจักรคามลังกาเหนือ

เนื่องจาก มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ ได้นำไพร่พล อพยพไปสร้าง ปราสาทเขาพระวิหาร และใช้เป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ชั่วคราว เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๕๑ จนกระทั่งปี พ.ศ.๑๐๕๖ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ได้มอบให้ หยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน นำกองทัพใหญ่ ของ อาณาจักรต่างๆ ร่วมกับกองทัพของ มหาราชาเจ้าศรีนราทิตย์ ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตี อาณาจักรอีสานปุระ ทำให้ พระเจ้าปฤถิวีนทรวรมัน ถูกปราบปราม จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

หลังสงครามครั้งนั้น มหาราชาศรีนราทิตย์ จึงได้อพยพไพร่พล กลับมายัง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง เมืองนางรอง แคว้นพนมรุ้ง อีกครั้งหนึ่ง ส่วน เมืองศรีสุริยะ(เขาพระวิหาร) มหาราชาศรีทราทิตย์ ได้มอบให้ มหาอุปราชศรีสุริยะ เป็นผู้ปกครอง เมืองศรีสุริยะ(เขาพระวิหาร) เรียกชื่อครั้งแรกว่า แคว้นศรีสุริยะ(เขาพระวิหาร) ซึ่งได้กลายเป็น แคว้นมหาอุปราช ของ อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา

ต่อมา มหาอุปราชศรีสุริยะ ผู้นี้ เป็นผู้ก่อสร้างปราสาทหินเขาพระวิหาร ในเวลาต่อมา โดยใช้เชลยศึก ข้าทาสชนชาติทมิฬโจฬะ ที่พ่ายแพ้สงคราม ถูกกวาดต้อนมาจาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) มาสร้างปราสาทหินเขาพระวิหาร ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในเวลาต่อมา

 

 สงครามยึดครอง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรกลิงค์รัฐ กลับคืน

สืบเนื่องมาจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ใช้ ชนชาติทมิฬโจฬะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) และ ชนชาติกลิงค์(เกาะชวา) มาร่วมทำสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาโดยตลอด เจตนาของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น เพื่อต้องการก่อสงครามนอกดินแดนตนเอง ตามตำราพิชัยสงคราม ของ ซุนหวู่ เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ก่อสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน นั่นเอง

เนื่องจาก ดินแดนของ อาณาจักรเทียนสน ในขณะนั้น เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีราชธานีอยู่ที่ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น ถูกกองทัพทั้ง ๒ อาณาจักร ส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกราน เรื่อยมา มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์พิชัย จึงได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) และ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ทำให้ทั้ง ๒ อาณาจักร เป็นผลสำเร็จ ทั้ง ๒ อาณาจักร จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

การทำสงครามปราบปราม อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ครั้งนั้น ทำให้ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน(เขมร) คงเหลืออาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง เพียง ๕ อาณาจักร เท่านั้น คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรคามลังกาใต้(พนมเปญ) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียดน้ำ(เกาะมินดาเนา) หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงวางแผนทำสงครามยึดครอง ทั้ง ๕ อาณาจักร ที่กล่าวมา กลับคืน เพื่อมิให้ตกเป็นเครื่องมือ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกต่อไป

 

สงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กลับคืน

สงครามใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ สงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งปกครองโดย พระเจ้าชัยวรมัน สงครามครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๕๗ เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์พิชัย กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) มอบให้ แม่ทัพ หยางเจ้าจูเหลียน นำกองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จากอาณาจักรต่างๆ เข้าทำสงครามโจมตี แคว้นพนมมันตัน ราชธานี ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ขั้นเด็ดขาด

สงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ครั้งนั้น พระเจ้าชัยวรมัน ได้เสด็จสวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๕๗ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

สงครามครั้งนั้น พระราชโอรส ของ พระเจ้าชัยวรมัน มีพระนามว่า พระเจ้ารุทวรมัน สามารถหลบหนีไปยัง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) โดยได้ไปเป็นราชาปกครอง แว่นแคว้นแห่งหนึ่ง ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) หลังจากนั้น  มหาจักรพรรดิเจ้าโพธิ์พิชัย แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) จึงโปรดเกล้าให้ มหาราชาเจ้าคำตัน ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต มาจาก เจ้าเจนคำ เป็น มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร)

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศเขมร กล่าวอีกว่า มีข้าศึก ส่งกองทัพเข้ามารุกราน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๑๐๕๗ สามารถยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เป็นผลสำเร็จ และได้นำ พระเจ้าชัยวรมัน ไปประหารชีวิต ส่วน เจ้าชายศัมภุวรมัน พระราชโอรส ของ เจ้าชายคุณวรมัน ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระเจ้ารุทธวรมัน สามารถหลบหนีไปยัง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้สำเร็จ คำว่าข้าศึก ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ที่ประเทศเขมร บันทึกไว้ ก็คือ กองทัพอันเกรียงไกร ของแม่ทัพ หยางเจ้าจูเหลียน แห่ง กรุงพันพาน(พุนพิน) นั่นเองª-๗

เนื่องจาก ภายหลังสงครามปราบปราม พระเจ้าชัยวรมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ครั้งนั้น มหาอุปราชศรีสุริยะ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงเขาพระวิหาร ได้นำเชลยศึกทมิฬโจฬะ ไปก่อสร้าง ปราสาทเขาพระวิหาร จนสำเร็จ อาณาจักรคามลังกาเหนือ และ อาณาจักรคามลังกาใต้ ได้รวมเป็นหนึ่งเดียว อีกครั้งหนึ่ง โดยมีราชธานี อยู่ที่ กรุงพนมรุ้ง

ต่อมาเมื่อ มหาราชาศรีนราทิตย์ แห่ง อาณาจักรคามลังกา กรุงพนมรุ้ง เสด็จสวรรคต มหาราชาศรีสุริยะ จึงใช้ เมืองปราสาทเขาพระวิหาร เป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา อีกครั้งหนึ่ง ส่วน เมืองปราสาทเขาพนมรุ้ง จึงกลายเป็นเมืองมหาอุปราช อีกครั้งหนึ่ง สลับไปมาเช่นนี้ จนกระทั่ง เมืองพระนคร ได้กลายเป็นราชธานี ของ อาณาจักรคามลังกา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม อีกครั้งหนึ่ง

   

(๓๑) สมัยมหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

  

                  

ภาพที่-๖๗ ภาพวาดของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แสดงภาพราชทูต ชื่อ อาทิตย์ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ได้ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๑๐๕๙ ราชทูตอาทิตย์ เป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิเจ้าจิวโต อดีตมหาราชา แห่ง อาณาจักรไตจ้วง และเป็นพระอนุชา ของ ขุนหลวงจิวใหญ่ ด้วย ราชทูตอาทิตย์ ได้สิ้นพระชนม์ในสงคราม ในเวลาต่อมา 

 

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์(พ.ศ.๑๐๕๘-๑๐๖๐) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) นั้น มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งราชทูตมายัง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว จดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้บันทึกไว้อย่างสั้นๆ ว่า

"...ปีที่ ๑๓  ในรัชกาลฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้(พ.ศ.๑๐๕๘) แห่ง ราชวงศ์เหลียง พระองค์ได้ส่งคณะราชทูตเดินทางมายัง มหาอาณาจักรแห่งทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) โดยคณะราชทูตได้เดินทางมายัง กรุงหลังยะสิ่ว ซึ่งเป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เวียตนามใต้) ห่างออกไปอีกประมาณ ๒,๐๐๐ ลี้ มหาจักรพรรดิ ของ กรุงหลังยะสิ่ว มีพระนามว่า ภคทัตต์(พะ-คะ-ทัด)...

ต่อมาในปี พ.ศ.๑๐๕๙ มหาจักรพรรดิภคทัตต์ ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูตชื่อว่า อาทิตย์ จาก กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) เพื่อไปสร้างความสัมพันธ์ กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จดหมายเหตุจีนบันทึกว่า..

...ปีที่ ๑๔ ในรัชกาล ของ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๕๙) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีพระนามว่า ภคทัตต์(พะคะทัด) ได้ส่งคณะราชทูต มาถวายเครื่องราชบรรณาการ ราชทูต มีนามว่า อาทิตย์(อา-ทิ-ตะ-ยะ)...

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร)

การที่ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) นั้น ทำให้  สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) แตกสลาย และทำให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะชบาเหนือ-ฟิลิปินส์) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กลายเป็นอาณาจักรที่ปกครองอิสระ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงเตรียมทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็น อาณาจักรต่อๆ ไป เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต้องกระโดดลงมาร่วมสงคราม อย่างลับๆ อีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจาก ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้พยายามผลักดันให้ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็นฐานที่มั่นใหญ่ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในการทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไม่มีโอกาสที่จะทำสงครามยึดครอง ดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ยึดครองไป กลับคืน อีกต่อไป

ดังนั้น หลังจากสงครามปราบปราม อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เรียบร้อยแล้ว มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้พยายามสนับสนุนให้ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) อีกหลายครั้ง เรื่อยมา

ในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิเจ้าภคทัตต์ กรุงหลังยะสิ่ว แคว้นหลังยะสิ่ว แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า นั้น มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) ได้พยายามทำสงครามปราบปราม อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรอีสานปุระ เรื่อยมา ต่อมา ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้สนับสนุนให้ พระเจ้าวิชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ร่วมกับ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรอีสานปุระ ร่วมกันทำสงคราม ปราบปราม สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) อีกครั้งหนึ่ง

จากหลักฐานจดหมายเหตุจีน เชื่อว่า มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ น่าจะครองราชสมบัติได้ประมาณ ๒ ปี สันนิษฐานว่า ถูกกองทัพต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่กล่าวมา ทำสงครามเข้าโจมตี แคว้นหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ สวรรคต ในสงคราม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๐๖๐ เชื้อสายราชวงศ์ มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ ที่รอดชีวิต ได้กลายเป็นสายราชวงศ์ผู้ปกครอง อาณาจักรละโว้ กรุงศรีอยุธยา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ในเวลาต่อมา ª-๘

 

 

(๓๒) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์(พ.ศ.๑๐๖๐-๑๐๖๒) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งคณะราชทูตมายัง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) จดหมายเหตุจีน ได้บันทึกไว้ว่า...

...ปีที่ ๑๕  ในรัชกาล ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๖๐) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางมายัง มหาอาณาจักรแห่งทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) โดยได้เดินทางมายังราชธานี กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) เป็นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรทะเลใต้(อาณาจักรเทียนสน) เมืองโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) เป็นราชธานี ของ มหาอาณาจักร แห่ง ทะเลใต้ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ตั้งอยู่บนเกาะใหญ่(เกาะเทียนสน-เกาะทอง) ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทะเลน้อย(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์) ทางทิศใต้ของ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) เป็นแหลมใหญ่(แหลมมาลายู) ทิศตะวันออก ติดต่อกับทะเลใหญ่(อ่าวไทย) ส่วนทิศตะวันตก ติดต่อกับ แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา)

ที่กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ซึ่งเป็นราชธานี ของ มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) มีอากาศร้อนเหมือนฤดูร้อนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ประชาชนในเมืองสามารถทำนาได้ปีละ ๒ ครั้ง ในเมืองมีพันธุ์ไม้กินได้ที่อุดมสมบูรณ์  ในทะเลมีหอยสังข์หลายจุด มีหินชนิดหนึ่งเรียกว่า กัมปารา(ศิลาแลง) ซึ่งเมื่อขุดขึ้นใหม่ๆ ไม่มีความแข็ง สามารถนำมาตัดเป็นรูปร่างตามที่ต้องการได้ แต่พอแห้งก็แข็งมาก ประชาชนของเมืองนี้ ใช้ฝ้ายมาทอสำหรับทำเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สำหรับสวมใส่

มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) สวมเครื่องทรงเป็นผ้าไหม ลายดอกไม้  ใช้ผ้าไหม พันรอบพระวรกาย บนพระเศียรทรงพระมาลาทองคำ ทรงสูงมากกว่า ๑ ฟุต มีรูปร่างคล้าย เปียน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แต่ประดับด้วยอัญญะมณีมีค่า พระองค์ทรงพระแสงดาบ ซึ่งประดับด้วยทองคำ และประทับนั่งบนบัลลังก์ทองคำ วางพระบาทบนม้านั่งที่ทำด้วยโลหะเงิน

พวกนางสนองพระโอฐ จะแต่งกายประดับด้วยดอกไม้ซึ่งทำด้วยทองคำ และสิ่งของมีค่าทุกชนิด บางนางถือพัดที่ทำด้วยขนนกยูง เมื่อ มหาจักรพรรดิ เสด็จออกจากพระราชวัง พระองค์จะประทับบนรถพระที่นั่ง ซึ่งสร้างด้วยไม้หอมชนิดต่างๆ รถพระที่นั่งของมหาจักรพรรดิ ต้องลากด้วยช้าง หลังคาของรถพระที่นั่ง มีลักษณะแบนราบประดับด้วยขนนก มีม่านประดับด้วยผ้าลูกไม้ทั้งสองด้าน มีคนเป่าสังข์ และตีกลองนำหน้าขบวนเสด็จ และตามหลังด้วยราชรถ ของขบวนเสด็จ ด้วย...

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งบันทึกโดยม้าต้วนหลิน ยังได้บันทึกว่า มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) มีพระนามว่า ชีลีเทโรปะโม (ศรีทรัพย์)ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) เดินทางไปยัง กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๑ เพื่อสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ แห่งราชวงศ์เหลียง พร้อมถวายเครื่องราชบรรณาการ มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๑๖ ในรัชกาลฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้(พ.ศ.๑๐๖๑) แห่งราชวงศ์เหลียง มีมหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) มีพระนามว่า ศรีทรัพย์(ชีลีเทโรปะโม) ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พระองค์(มหาจักรพรรดิเจ้าศรีทรัพย์) ได้แจ้งในพระราชสาส์นว่า พระองค์ เป็นเชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์ มาจาก พระนางศิริมหามายา(ผ่านพระเจ้านกหยก ผู้สร้างเมืองลังกาสุกะ) ซึ่งเป็นพระราชมารดาของ พระพุทธเจ้า

พระองค์(มหาจักรพรรดิเจ้าศรีทรัพย์) ยังมีพระราชสาส์นไปยัง ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เหลียง ที่ส่งไปพร้อมกับคณะราชทูต เนื้อหาใน พระราชสาส์น ของ พระองค์(มหาจักรพรรดิเจ้าศรีทรัพย์) ยังได้แสดงความชื่นชมที่ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ได้ยอมรับพระไตรปิฎกไปศึกษา และทรงบำรุงพระพุทธศาสนา ให้มีความเจริญรุ่งเรือง ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย...

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์ นั้น พบหลักฐานว่า สาเหตุที่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พยายามที่จะ สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น ไม่น่าที่จะสุจริตใจนัก ทั้งนี้เพราะสถานการณ์ในขณะนั้น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เรียบร้อยแล้ว ทำให้ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง  สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เวียตนามใต้) ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ใช้เป็นเครื่องมือมาโดยตลอด ได้เริ่มแตกสลาย ชนชาติทมิฬโจฬะ อ่อนแอลงไปมาก

เนื่องจาก อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ คือ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรเวียดน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กลายเป็นอาณาจักรที่ปกครองโดยอิสระ อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรเหล่านี้ ถ้าตกเป็นเครื่องมือของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกต่อไป ก็จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งได้พยายามวางแผน ที่จะทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี) กลับคืนจากการครอบครองของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ

เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็นจริงในขณะนั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ พระเจ้ารุทรวรมัน และ พระเจ้าวิชัยวรมัน ต้องอพยพไพร่พล ไปยังดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๑

ส่วน พระเจ้าคุณวรมัน สามารถหลบหนีไปยัง อาณาจักรเวียดน้ำ(ชบาเหนือ-หมู่เกาะมินดาเนา) สำเร็จ ชนชาติทมิฬโจฬะ จึงอยู่ระหว่างการสะสมกำลังเพื่อเตรียมทำสงครามเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงต้องส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ และ อาณาจักรเวียตน้ำ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต้องส่งกองทัพใหญ่เข้าช่วยเหลือ กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องถอยทัพกลับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จึงต้องแสร้งตีสองหน้า อีกครั้งหนึ่ง

 

พระเจ้าวิชัยวรมัน ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน

      ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่า ก่อนที่ จักรพรรดิพระยาพ่อหมอ จะได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ในรัชกาลถัดมา นั้น มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) เป็นผลสำเร็จ แต่ ต้องเสีย อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง

      ทั้งนี้เนื่องจาก ในเวลาเดียวกันนั้น ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่พ่ายแพ้สงคราม ได้อพยพหนีภัยสงคราม จากดินแดนเกษียรสมุทร ไปยังดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ด้วยการสนับสนุนของ กองทัพ จาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย พระเจ้าวิชัยวรมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ จึงกลายเป็น มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) อีกครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๒

      ขากลับ กองทัพเรือ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์ ถูกพายุใหญ่พัด เรือแตก มหาจักรพรรดิท้าวศรีทรัพย์ จมน้ำ สวรรคต กลางทะเล หลังจากนั้น ชนชาติอ้ายไต จะเรียกชื่อ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ว่า อาณาจักรเวียตน้ำ เรื่อยมา คำว่า เวียตน้ำ แปลว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ ผู้รุกรานที่มาจากทางน้ำ นั่นเอง

 

 

  (๓๓) สมัยมหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ(พ.ศ.๑๐๖๒-๑๐๖๖) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) นั้น จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) มีพระนามว่า พระยาพ่อหมอ ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงคันธุลี เดินทางไปยัง กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๒ และ ๑๐๖๓ มีบันทึกว่า

....ปีที่ ๑๗ รัชกาลฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๖๒) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พระราชโอรส ของ พ่อธนูรักษ์(ป๋า-ถัว-หลัว) แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงคันธุลี มีพระนามว่า พระยาพ่อหมอ(ผี-เจิ้น-ยา-ป๋า-หมอ) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อ เทียนเหยียนศก ปีที่ ๑๗(พ.ศ.๑๐๖๒) พระยาพ่อหมอ ได้ส่งคณะราชทูต มีราชทูต ชื่อว่า ขุนหลวงใหญ่(คุน-หลุน-หะ-โย) พร้อมกับได้นำพระราชสาส์น มาถวายพร้อมกับ ดอกบัวทองคำ และเครื่องหอมต่างๆ เป็นต้น...”

 

กำเนิด พระราชบิดา ของ แพทย์แผนไทย

คำกลอนเชิดชู พระยาพ่อหมอ ของ หมื่นพิทักษ์โรคนิทานª-(นายขำ พิทักษ์ธรรม) ในพิธีไหว้ครู ของ หมอแพทย์แผนไทย ทำให้ทราบพระราชประวัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ ว่า พระยาพ่อหมอ ได้ศึกษาตำรายา มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อทรงออกผนวชเป็นพระภิกษุ พระองค์ได้มาสร้างสำนักสงฆ์ ณ ภูเขาศรีโพธิ์ ซึ่งเคยใช้เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ แคว้นศรีโพธิ์ แต่ได้ร้างไปเพราะสงคราม

พระยาพ่อหมอ ได้สร้าง หมอยา ซึ่งเป็นพระภิกษุขึ้นหลายคณะ และได้แยกออกเป็นหลายสาย เพื่อเดินทางไปรักษาประชาชน ทำให้ ภูเขาศรีโพธิ์ ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ถูกเรียกชื่อใหม่ ว่า ภูเขาสายหมอ ซึ่งเป็นชื่อใหม่ที่ถูกเรียกสืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ จึงถูกยึดถือว่า เป็น พระยา และ เจ้าพระยา พระองค์แรก ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ และได้รับการยกย่อง ว่า เป็น พระราชบิดา ของแพทย์แผนไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกด้วย

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ณ สมรภูมิ สระทิ้งพระ เกาะไหหลำ

ตามตำนานทุ่งพระยาชนช้าง ท้องที่คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ได้เล่าเรื่องสืบทอดต่อเนื่องกันมาว่า ในรัชสมัยที่ มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี นั้น หลังจากที่ กองทัพเรือใหญ่ ของฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ส่งกองทัพติดตาม เข้าปราบปราม ผู้อพยพชนชาติอ้ายไต ที่อพยพมาอยู่ที่ เกาะไหหลำ ทำให้ เจ้าชายหยางเจ้าหลีชน ต้องนำพระพุทธรูป อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งตกค้างอยู่ และยังไม่ได้ส่งให้กับวัดต่างๆ ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ และถูกเก็บรักษาไว้ ณ ข้างสระน้ำใหญ่ แห่งหนึ่ง ในดินแดน ของ เกาะไหหลำ ต้องนำพระพุทธรูป ดังกล่าว ทิ้งลงไปในสระ แห่งหนึ่ง เรียกว่า สระทิ้งพระ(พุทธรูป) แล้วทำสงคราม ต่อสู้กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ณ สมรภูมิ สระทิ้งพระ ดังกล่าว ผลของสงคราม หยางเจ้าพุทธิ สวรรคตในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๕

ต่อมา เจ้าชายหยางเจ้าหลีชน ได้ทำการรวบรวม ประชาชน ชนชาติอ้ายไต มารวมกัน ณ สระทิ้งพระ เกาะไหหลำ แล้วอพยพไพร่พล ชนชาติอ้ายไต ซึ่งเคยตั้งรกรากในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ให้มาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ จนเป็นตำนานที่มาของ แคว้นสระทิ้งพระ ของ อาณาจักรเทียนสน ในเวลาต่อมา

หลังจากนั้น ในสมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ได้จัดการให้ เจ้าชายหยางเจ้าหลีชน ปกครอง แคว้นสระทิ้งพระ และได้อภิเษกสมรส กับ พระนาสา ซึ่งเป็น พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ ซึ่งมีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงอุษา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น แม่นางส่ง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ภูเขาแม่นางส่ง(ภูเขาประสงค์) ในท้องที่ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง บุคคลต่างๆ ที่กล่าวมา ได้มาเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติที่ ๓ ในเวลาต่อมาด้วย

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ณ สมรภูมิ กรุงคันธุลี

 

 

                           

 ภาพที่-๖๘ ภาพถ่ายกระเบื้องมุงหลังคา พระราชวังหลวง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ทำด้วยดินขาว พบจำนวนมาก บริเวณใกล้ถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี ประชาชนเก็บไปกองไว้ ในบริเวณถ้ำตาจิตร ยังกองอยู่อีกเป็นจำนวนมาก สันนิษฐานว่า พื้นที่ดังกล่าว เคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ กรุงคันธุลี ในอดีต

 

ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวพระยาพ่อหมอ นั้น ได้มีกองทัพเรือใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ยกทัพเรือขนาดใหญ่ เข้าโจมตี กรุงคันธุลี(ท่าชนะ) , กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) และ กรุงพันพาน(พุนพิน) พร้อมกับทำการเผาพระราชวังกรุงคันธุลี บริเวณถ้ำตาจิตร ภูเขาคันธุลี จนราบเป็นหน้ากลอง แล้วถอยทัพกลับไป เหตุการณ์ครั้งนั้น ทำให้ มหาจักรพรรดิเจ้าพระยาพ่อหมอ เสด็จสวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๖

ส่วน หยางเจ้าจูเหลียน สามารถป้องกัน แคว้นพันพาน(พุนพิน) ไว้ได้ จึงได้อพยพไพร่พลจาก กรุงคันธุลี ให้ไปตั้งรกรากเพิ่มขึ้น ณ แคว้นพันพาน(พุนพิน) เป็นที่มาให้ หยางเจ้าจูเหลียน ซึ่งเป็น มหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรชวาทวีป กรุงพันพาน ได้รับการคัดเลือกจากสภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ให้ขึ้นดำรงตำแหน่ง นายก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในรัชกาลถัดมาด้วย

 

                          

ภาพที่-๖๙ ภาพถ่ายพื้นที่ เกาะกันไพรี ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ภูเขาคันธุลี ตั้งอยู่ กลางเกาะ ซึ่งมีน้ำล้อมรอบ มีพื้นที่ของเกาะทั้งหมด ประมาณ ๑๐ ตารางกิโลเมตร ล้อมรอบด้วย คลองหิต , คลองคันธุลี , คลองบางตาแก่ และ อ่าวไทย พื้นที่ดังกล่าว คือที่ตั้ง พระราชวังหลวง ของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ หลายรัชกาล บริเวณที่ตั้งพระราชวังหลวง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของ ภูเขาคันธุลี บริเวณถ้ำตาจิตร พื้นที่ดังกล่าว มีร่องรอยโบราณวัตถุ เป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ เกาะกันไพรี ได้ถูกทำลายโดย กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา และได้เผาทำลายพระราชวัง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๖

 

ส่วนเหตุการณ์ในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ซึ่งมีการปราบปรามชนชาติอ้ายไต ครั้งใหญ่ นั้น ชนชาติอ้ายไตที่หลงเหลืออยู่ ก็ลุกขึ้นก่อกบฏ ทำให้ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ก๊ก คือ อาณาจักรเว่ยตะวันตก(ซีเว่ยก๊ก) และ อาณาจักรเว่ยตะวันออก(ตุงเว่ยก๊ก) เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ ดินแดนมหาอาณาจักรจีน ถูกแบ่งแยกดินแดนปกครองเป็น ๓ อาณาจักร หรือ ๓ ก๊ก อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเกิดสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี ที่กล่าวมา

 

 

(๓๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวโพธิคะ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิคะ(พ.ศ.๑๐๖๖-๑๐๖๗) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) นั้น จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโฮลิง(ปัตตานี) มีพระนามว่า โพธิคะ ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงโฮลิง(ปัตตานี) เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๖ มีบันทึกว่า...

...ปีที่ ๒๑ ในรัชกาลฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๖๖) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้มีคณะราชทูตของ มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) มีพระนามว่า โปติกะ(โพธิคะ) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แก่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ตามราชประเพณี ราชทูตมีชื่อว่า เจาตี๋(เจ้าตี๋) ...

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี)

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิเจ้าโพธิคะ ซึ่ง ครองราชย์สมบัติ อยู่ประมาณ ๑ ปี และสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๗ ด้วยสาเหตุของสงคราม เนื่องจาก แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ถูกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรเวียตน้ำ(เวียตนามใต้ และ มินดาเนา) ส่งกองทัพเข้าโจมตี ด้วยการสนับสนุนอย่างลับๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พร้อมกับเข้าเผาทำลาย แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) กลายเป็นเมืองร้าง ไปชั่วคราว

หลังจากสงครามครั้งนั้น แคว้นสระทิ้งพระ ปกครองโดย หยางเจ้าหลีชน ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ แห่ง ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ได้กลายเป็น ราชธานี ของ อาณาจักรเทียนสน แทนที่ แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) บทบาทของ แคว้นสระทิ้งพระ(สงขลา) จึงได้กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรเทียนสน(มาลายู) หรือ อาณาจักรนาคน้ำ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา ด้วย

 

 

                      

ภาพที่-๗๐ ภาพพระสถูป สำหรับเก็บอัฐิ ของ เชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ ตั้งแต่สมัย อาณาจักรเทียน หรือ อาณาจักรเทียนสน หรือ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ สายราชวงศ์โคตะมะ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) พบพระสถูปนี้ที่ เมืองยะรัง จ.ปัตตานี

 

      ร่องรอยโบราณคดี ในดินแดนของ เมืองปัตตานี ยังมีอีกมากมาย และถูกชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ทำลายไปมาก ด้วย เนื่องจาก ตนกูลามิเด็น ได้ก่อกบฏ ได้อพยพชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ จากเกาะสุมาตรา มาตั้งรกรากในเมืองปัตตานี เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี มาแล้ว เป็นจำนวนมาก

 

(๓๕)สมัยมหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์ฆะทัตต์

        กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร)

 ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์ฆะทัตต์(พ.ศ.๑๐๖๗-๑๐๗๐) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) นั้น จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า มี มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีพระนามว่า โพธิ์ฆะทัตต์ ได้ส่งคณะราชทูต จาก กรุงหลังยะสิ่ว เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กรุงนานกิง เมื่อปี พ.ศ.๑๐๖๗ และปี พ.ศ.๑๐๗๐ ราชทูตมีชื่อว่า เจ้าตี๋(บุตรของ ราชทูตเจ้าอาทิตย์) เช่นเดิม มีบันทึกสั้นๆ ดังนี้

...ปีที่ ๒๒ ในรัชกาล ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์เหลียง(พ.ศ.๑๐๖๗) มหาจักรพรรดิ แห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีพระนามว่า โพธิ์ฆะทัตต์(โปติกะทัด) ได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธุ์ ราชทูตมีนามว่า เจ้าตี๋(เจาตี๋) พร้อมกับ ได้ถวายเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้เหลียงอู่ตี้ ตามราชประเพณี ด้วย...

 

สงคราม กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร)

ในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์ฆะทัตต์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) นั้น พระเจ้าวิชัยวรมัน แห่ง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ยกกองทัพใหญ่ พร้อมด้วยกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าโจมตีราชธานี กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า พร้อมกับเข้าเผาทำลาย กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) กลายเป็นเมืองร้าง ไปชั่วคราว

เชื้อสายราชวงศ์ท้าวโพธิ์ฆะทัตต์ และ ท้าวภคทัตต์ ได้อพยพไพร่พลไปตั้งรกรากอยู่ที่ แคว้นนที(อยุธยา) กลายเป็นผู้ปกครอง แคว้นนที สืบทอดต่อมา อีกส่วนหนึ่ง หลบหนีไปอยู่ที่ อาณาจักรคามลังกา ภาคเหนือ สายราชวงศ์นี้ ได้มีบทบาทในการปกครอง อาณาจักรละโว้ และ อาณาจักรคามลังกา ในนาของ มหาอาณาจักรศรีจานาศะปุระ ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้(เสียม-หลอหู) ในเวลาต่อมา

ในช่วงเวลาเดียวกัน จักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน กรุงพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน ทำให้ พระเจ้าวิชัยวรมัน สวรรคต ในสงครามเช่นกัน จักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง

แต่เมื่อ จักรพรรดิหยางเจ้าจูเหลียน ยกกองทัพกลับ กรุงพันพาน พระเจ้าพันพิชัย ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ร่วมกับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืนได้ในเวลาต่อมาอีก ทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) แตกออกเป็น ๒ ก๊ก คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๐๗๐ เป็นต้นมา อีกครั้งหนึ่ง

      เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิ์ฆะทัตต์ เสด็จสวรรคต ในสงคราม จึงถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ในการปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์ถัดมา คือ ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ ได้เข้ามาปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ ท่ามกลางสงครามที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อย่างดุเดือด

      สงครามสมัยต่อมา คือ สงคราม โรมรันพันตู ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แทนที่ โดยมี ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติมอญ เข้ามาร่วมสงครามในหลายสมรภูมิ ด้วย

 

 

 

                                                         

 

 

เชิงอรรถ 

 



ª- สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ สกว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๔ หน้าที่ ๑๗

 

ª- ถ้ำพระยาตากสิน ในอดีตเรียกชื่อว่า ถ้ำจีน หรือ ถ้ำเชลยศึกจีน ต่อมา ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า ถ้ำพระยาตากสิน เนื่องจาก ในสมัยสงครามก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่-2 พระยาตากสิน เคยใช้ถ้ำดังกล่าว เป็นกองบัญชาการทำสงครามกับ ข้าศึกพม่า ซึ่งได้ส่งกองทัพมารุกรานภาคใต้ของไทย จึงถูกกองทัพของ พระยาตากสิน เข้าโจมตี พม่าพ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไปทาง เมืองกุย ถ้ำจีน จึงถูกเรียกชื่อใหม่ว่า ถ้ำพระยาตากสิน เรื่อยมา

       ต่อมาในสมัยราชวงศ์จักรกรี ซึ่งเข้ายึดอำนาจจากพระเจ้าตากสินเป็นผลสำเร็จ พร้อมกับการทำลายอำนาจเก่า และทำการบิดเบือนเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่แท้จริง โดยกลุ่มอำนาจใหม่ ซึ่งได้สั่งขุนนางภาคใต้ สั่งห้ามเรียกถ้ำ ดังกล่าวว่า ถ้ำพระยาตากสิน และให้เรียกชื่อใหม่ว่า ถ้ำวัดคอกช้าง แต่ประชาชนส่วนใหญ่ ยังคงนิยมเรียกชื่อว่า ถ้ำพระยาตากสิน โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

 

ª-ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ พิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๕

 

ª- ศ.ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๓๘๐-๓๘๓

       ศิลาจารึกหลักที่ K-๓๘๔ ซึ่งจารึกไว้ด้วยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์ พระนาม หิรัญญะ เป็นผู้สร้างศิลาจารึก สรรเสริญ พระราชบิดา ของ พระองค์ ศิลาจารึกนี้ เป็นภาษาสันสกฤต นายเอโมนิเยร์ ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้พบที่วัดโบสถ์ จ.นครราชศรีมา ต่อมา กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำไปเก็บรักษา ณ กรุงเทพ และ พันตรี ลูเนต์ ลาจองกิเยร์ ได้ทำสำเนาจารึกไว้ จารึกส่วนหนึ่ง เจ้าชายหิรัญญะ เป็นผู้สร้างขึ้นไว้ที่ปราสาทพนมรุ้ง มีเนื้อหาแปลความได้ดังต่อไปนี้

...พระองค์(ศรีนเรนทราทิตย์) มีความสามารถในการรบพุ่งที่จะเอาชนะแก่ข้าศึกได้ด้วยพระหัตขวา อันทรงพลัง โดยมิต้องใช้พระหัตซ้าย ต่อจากนั้นก็ทรงเอาชนะข้าศึกด้วยพระหัตซ้ายอีก คือความสามารถพิเศษ ของ พระองค์(ศรีนเรนทราทิตย์) ในการใช้พระหัตซ้าย และ พระหัตขวา

พระองค์เป็นผู้ถือกำเนิดในราชสกุลวงศ์ชั้นสูง(ราชวงศ์โคตะมะ) พระองค์จึงมีความสามารถในการปราบปรามผู้ที่ถือกำเนิดในราชสกุลอื่นๆ ได้ ดังนั้นพระองค์จึงได้ขึ้นเสวยราชย์สมบัติ(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงคันธุลี) ภายหลังจากการที่ได้ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรอื่นๆ ได้ด้วยกำลังอานุภาพของพระองค์เอง

ศีรษะช้างข้าศึก ซึ่งพระองค์ได้ทรงตัด และโยนลงไปในทะเลเลือด แห่งสงครามการรบพุ่ง(ณ ภูเขาพระนารายณ์ ระนอง) เปรียบเสมือนศีรษะช้างที่มีชีวิตอยู่ กำลังสนุกสนานในทะเลสาบเลือดสีแดง

เมื่อข้าศึกได้เห็นพระองค์ในสงครามการรบพุ่งอันดุเดือด(ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์ ระนอง) ในการใช้ทั้งพระหัตขวาและพระหัตซ้าย ในการตัดข้าศึกออกเป็นสองท่อน(..ซึ่งแต่ละเชือกมีค่าเท่ากับ..) ข้าศึก ๑๐๐ คน ต่างก็ส่งเสียงร้อง และมีร่างกายเต็มไปด้วยเลือด และเนื่องจากข้าศึกเกรงว่า พระองค์จะทรงทำลาย ศาสนสถาน(เทวสถาน ภูเขาพระนารายณ์) ข้าศึกจึงสร้างอุปสรรคต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับการทำสงครามของพระองค์(ณ สมรภูมิ ภูเขาพระนารายณ์ ระนอง)

ข้าศึกคนเดียวที่กำลังหนีลูกศรที่กำลังพุ่งไปอย่างรวดเร็ว ผ่านด้านหน้ากองทัพของพระองค์(ในสงครามการรบ ณ ภูเขาเพลา) เป็นสิ่งเดียวที่แม่ทัพของข้าศึกใช้นับคะแนนได้ว่า มีผู้ที่มีชีวิตอยู่เท่าใด และตายไปแล้ว เท่าใด

ในการรบพุ่งด้วยธนู(ณ ภูเขาเพลา) ที่พระองค์แผลงศรออกไป เพื่อประหารชิวิดข้าศึก โดยมิต้องทรงเล็งก่อนเท่านั้น ก็จะไปยังศีรษะของบรรดาพลทหารข้าศึก และดูจะย้อนกลับมาในทันที แต่ถ้าธนูนี้ทิ้งระยะ ก็หมายความว่า เพื่อรอดูว่า ศีรษะของแม่ทัพข้าศึก จะหลุดออกจากบ่าแล้วหรือยัง

ศีรษะของข้าศึกที่โอ้อวด และถูกตัดด้วยจักรของพระองค์(ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง) มักจะนึกถึงภรรยาของตน ก่อนถึงความตาย และดวงวิญญาณพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ในเวลาไม่ช้า ดวงวิญญาณของข้าศึก ก็กลับตกมายังพื้นดิน คล้ายกับว่า ถูกบรรดานางอัปสร ขับไล่ให้กลับลงมา เนื่องจากยังคงระลึกถึงภรรยาของตนอยู่

ในสนามรบ(ณ ทุ่งพระยาชนช้าง) ซึ่งปลายแหลมของพระขรรค์ของพระองค์(มหาจักรพรรดิท้าวศรีนเรนทราทิตย์) กำลังกวัดแกว่งอยู่ แต่มิได้มีชัยชนะ หรือสามารถสังหารข้าศึกได้ พระองค์ก็ทรงกระโจนขึ้นในอากาศ คล้ายกับดวงไฟอันกำลังลุกโชติช่วง และสามารถสังหารมหาราชา(พระเจ้ามังกู แห่ง อาณาจักรผัวหมา) ของกองทัพช้างของข้าศึก ด้วยกำลังอำนาจ คล้ายกับว่าสายฟ้าอันประเสริฐ ได้ตกลงยังภูเขาพร้อมกับสายฝน อันนำรสพระธรรม มาให้(ด้วยการสวรรคต ของ มหาจักรพรรดิ ศรีนเรนทราทิตย์)...

 

ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๖

หลักฐานจดหมายเหตุจีน บันทึกโดย ม้าต้วนหลิน บันทึกว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้เกาตี้ ราชวงศ์ฉีภาคใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้บันทึกว่า มหาราชาแห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) มีพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมัน(เช-เย-ปะ-โม) ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการแก่ ฮ่องเต้เกาตี้ แห่ง ราชวงศ์ฉีภาคใต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พระองค์ทรงมีพระราชสาส์น มีเนื้อหาว่า...

...ปีที่ ๖ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้เกาตี้ ราชวงศ์ฉีภาคใต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้มีคณะราชทูต ของ พระเจ้าชัยวรมัน(เช-เย-ปะ-โม) แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เขมร) ร้องขอให้ ฮ่องเต้เกาตี้ แห่งราชวงศ์ฉีภาคใต้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ช่วยส่งกองทัพไปทำสงครามปราบปราม อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ซึ่งมี มหาราชาพระองค์ใหม่ มีพระนามว่า ตังเกฉุน(ตังเกนชุน) ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อ้างว่า เพื่อการขยายประเทศราช ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เขมร) ให้เพิ่มมากขึ้น

       พระราชสาสน์ ยังทรงแจ้งว่า สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก-เขมร) เป็นเจ้าประเทศราชของ ราชาจิวจูโล(อาณาจักรโจฬะน้ำ) เท่านั้น จึงต้องการได้ประเทศราชเพิ่มเติม ผลปรากฏว่า ฮ่องเต้เกาตี้ มิได้ช่วยส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ตามการร้องขอของ พระเจ้าชัยวรมัน แต่อย่างใด...

 

ª- นายทองแถม นารถจำนง แปลจากต้นฉบับภาษาจีนโบราณ ผู้เรียบเรียง ได้นำมาปรับปรุงสำนวน และเรียงลำดับเนื้อหา ให้สามารถอ่านเข้าใจง่ายขึ้น

 

ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๘

 

ª-ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ แห่ง ประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๘๕

หลักฐาน ศิลาจารึก ซึ่งขุดพบที่ เมืองอโยธยาศรีเทพราม(อยุธยา) ระบุ พ.ศ.๑๔๘๒ จารึกเป็นภาษาสันสกฤต และ ภาษาขอม ได้กล่าวถึงพระนามของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรศรีจานาศะปุระ ซึ่งสืบทอดสายราชวงศ์มาจาก มหาจักรพรรดิท้าวภคทัตต์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงหลังยะสิ่ว(สมุทรสาคร) มีจารึกข้อความตอนหนึ่งว่า...

...มหาราชาพระองค์แรก คือ พระเจ้าภคทัตต์ และต่อจากนั้น อีกหลายชั่วคน ก็สืบราชวงศ์มาถึง เจ้าชายสุนทรปรากรม และพระราชโอรส ของ พระองค์ คือ เจ้าชายสุนทร แล้วถึงพระราชาอีก ๒ พระองค์ คือ พระเจ้านรปิติสิงห์ และ พระเจ้ามงคล ทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายสุนทร พระเจ้ามงคล เป็นผู้สร้างจารึกหลักนี้ และได้ทรงสร้างรูปพระเทวี เพื่ออุทิศถวาย แด่พระราชมารดา ของ พระองค์ ด้วย...

 

ª-หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน มีชื่อจริงว่า นายขำ พิทักษ์ธรรม เป็นบุตรของ พระองค์เจ้าหญิงหีด กับ ขุนหลวงพิทักษ์มาก นายทหารรักษาพระองค์คนหนึ่ง ของ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ มีข้อมูลว่า หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน เป็นผู้สืบทอด ตำราแพทย์แผนไทย ต่อจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ด้วย

       พระองค์เจ้าหญิงหีด เป็นราชธิดา ของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท กับ สมเด็จเจ้าฟ้าศรีสุนทร(หยางฮุ่งเชี่ยน) ซึ่งเป็นบุตรคนที่ ๒ ของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจง) ส่วน สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงชมนาท นั้น เป็นพระราชธิดาของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา(พระราชธิดาพระองค์ที่ ๒ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ กับ พระนางวาโลม) กับ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ดังนั้น หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน จึงสืบทอดสายตระกูลมาจาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ด้วย จึงได้รับการถ่ายทอด ตำราแพทย์แผนไทย จาก สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ในเวลาต่อมาด้วย จึงได้รับการโปรดเกล้าให้เป็นหมอประจำเมืองครหิต(คันธุลี) เพื่อทำหน้าที่รักษาคนไข้ สมัยโบราณ เรื่อยมา

       ต่อมา ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้เสด็จประภาส หัวเมืองภาคใต้ มาถึง เมืองครหิต(คันธุลี) มาทดลองโทรเลขอยู่ที่ ข้างวัดศรีราชัน(วัดสังข์ประดิษฐ์) นายขำ พิทักษ์ธรรม ได้มาเข้าเฝ้าด้วยทำให้ สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทราบว่า นายขำ พิทักษ์ธรรม มีความสามารถในการรักษาโรคต่างๆ และสามารถเล่านิทานต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นมาในการรักษาโรคต่างๆ ในสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี จึงโปรดเกล้าให้มีตำแหน่งเป็น หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน พร้อมกับได้พระราชทานเหรียญที่ระลึกส่วนพระองค์ ให้แก่ หมื่นพิทักษ์โรคนิทาน เหรียญหนึ่ง ในวันดังกล่าว ไว้เป็นหลักฐานด้วย

       ผู้เรียบเรียง ได้ไปสังเกตพิธีกรรมไหว้ครู ของลูกหลานหมื่นพิทักษ์โรคนิทาน ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี พบว่า มีเรื่องราวพระราชประวัติ ของ มหาจักรพรรดิพระยาพ่อหมอ รวมอยู่ในบทกลอนการไหว้ครู ด้วย จึงได้นำมาสรุปเรื่องราวไว้ ในที่นี้ โดยสังเขป

 

Visitors: 54,278