บทที่ ๒ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์เทียนเสน

 

 บทที่ ๕

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์เทียนเสน

 

ตารางแสดง มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่างๆ สมัย ราชวงศ์เทียนเสน

                      

 

 

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์เทียนเสน กำเนิดขึ้นเมื่อเกิด สงครามพันทีเรา ปราบปรามชนชาติทมิฬโจฬะ ซึ่งมายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ตามนโยบายของ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ซึ่งต้องการสร้างสงครามขึ้นมาภายในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อขัดขวางมิให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่งมหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป กลับคืน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงทำสงครามกับ อาณาจักรต่างๆ ของชนชาติทมิฬ สลับกับสงครามกับ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง มี มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่างๆ ทำการปกครอง ณ ราชธานีเมืองต่างๆ ดังตารางที่แสดง

     เรื่องราวของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์เทียนเสน เป็นเรื่องราวของสงครามระหว่าง ชนชาติไทย กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทำให้ราชธานีของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จะสลับกันไปมา ระหว่าง กรุงกิมหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี) กับ กรุงโพธิสาร หรือ กรุงพันพาน(พุนพิน-สุราษฎร์ธานี) จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๑๗ สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์ ได้เกิดสงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ โดยการสนับสนุนของ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ส่งกองทัพเข้ามาร่วมช่วย ชนชาติทมิฬ ด้วย สามารถเผาราชธานี กรุงกิมหลิน จนกลายเป็นเมืองร้าง ทำให้ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สลับกัน ระหว่างเมืองในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป กับ เมืองราชธานี ในดินแดนอาณาจักรเทียนสน จนกระทั่ง ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ได้เข้ามามีบทบาทบริหารงาน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

      เรื่องราวรายละเอียด ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์เทียนเสน หาอ่านได้จากหนังสือ สยามประเทศมิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์เทียนเสน ของ นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ในที่นี้จะนำสาระที่สำคัญมาสรุปไว้โดยสังเขป ดังต่อไปนี้

     

(๖) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนเสน กรุงโพธิสาร(พุนพิน)

    ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนเสน(พ.ศ.๗๙๒-๗๙๓) กรุงโพธิสาร นั้น เรียกว่า ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์เทียนเสน คือ สายราชวงศ์ขุนเทียน ที่ได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อาณาจักรไตจ้วง ราชวงศ์นี้ เป็นผู้พลิกสถานการณ์สงคราม จาก สงครามพันทีมัน กลายเป็น สงครามพันทีเรา จนสามารถทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืนมาจากการทำสงครามยึดครองของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง คือ สงคราม ณ สมรภูมิต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

สงครามพันทีเรา กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร)

สงครามพันทีเรา ได้เกิดขึ้นทันทีที่ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนเสน กรุงโพธิสาร(พันพาน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนเสน ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี กรุงพนมมันตัน แคว้นพนมมันตัน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) ทันที

กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไม่สามารถโจมตี กรุงพนมมันตัน ให้แตกพ่ายได้ เพราะกองทัพของ พระเจ้าพันทีมัน เข้มแข็งมาก อีกทั้ง ทราบข่าวว่า กองทัพของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้าช่วยเหลือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อีกด้วย ทำให้ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนเสน ต้องถอยทัพกลับมา แต่ต่อมา พระเจ้าพันทีมัน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงโพธิสาร(พันพาน) ทันที ด้วย

 

สงครามพันทีเรา กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงโพธิสาร(พันพาน)

พระเจ้าพันทีมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ได้ส่งกองทัพใหญ่ นำทัพโดย พระเจ้าพันจีน ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ พระเจ้าพันทีมัน และเป็น พระเจ้าหลานเธอ ของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง ก๊กมหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าโจมตี กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งเป็น แคว้นมหาจักรพรรดิ ส่วนกองทัพของ พระเจ้าพันทีมัน ได้นำกองทัพเข้าโจมตี กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) แคว้นราชคฤห์ ซึ่งเป็น แคว้นจักรพรรดิ

สงครามครั้งนั้น การรบที่ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) เป็นไปอย่างดุเดือด มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนเสน ถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ บาดเจ็บสาหัส ต้องเสด็จกลับเข้าสู่พระราชวังหลวง ส่วน พระเจ้าพันจีน ถูกเพลิงเผาผลาญ เรือพระที่นั่ง บาดเจ็บสาหัส ต้องสละเรือพระที่นั่ง ถอยทัพกลับไป กองทัพเรือสำเภา ของ พระเจ้าพันจีน ถูกเผาไปเป็นจำนวนมาก ทหารบาดเจ็บล้มตาย ไปเป็นจำนวนมาก เช่นกัน ส่วน มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนเสน ซึ่งบาดเจ็บสาหัสจากการถูกยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ ต้องเสด็จกลับมายัง พระราชวังหลวง กรุงโพธิสาร เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ และสวรรคต ในเวลาต่อมา

 

สงครามพันทีเรา กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ กรุงกิมหลิน(โพธาราม)

ส่วนสงคราม ณ สมรภูมิ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) แคว้นราชคฤห์ อาณาจักรนาคฟ้า เกิดการรบกันอย่างดุเดือด ณ สมรภูมิ ปากแม่น้ำแม่กลอง(สมุทรสงคราม) เพราะกองทัพของ พระเจ้าพันทีมัน พยายามยกกองทัพเข้าสู่ แม่น้ำแม่กลอง กองทัพเรือ ของ พระเจ้าพันทีมัน ถูกไฟเผาทำลายไปเป็นจำนวนมาก

พระเจ้าพันทีมัน ซึ่งประทับ บัญชาการรบ อยู่ในเรือพระที่นั่ง ถูก จักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษ บาดเจ็บสาหัส ต้องถอยทัพกลับไป และสวรรคต กลางทะเลอ่าวจีนหลิน(อ่าวไทย) ในเรื่องนี้ จดหมายเหตุจีน ของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้บันทึกไว้ว่าª-

...พระเจ้าพันทีมัน ครองราชย์สมบัติอยู่ ๒๐ ปี(พ.ศ.๗๗๓-๗๙๓) ก็สวรรคต(พ.ศ.๗๙๓) จากการต่อสู้ในสงคราม ณ แคว้นจีนหลิน(บ้านโป่ง) พระราชโอรสพระนาม พันจีน(พระเจ้าหลานเธอ ของ ฮ่องเต้ซุนกวน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ รัชกาลถัดมา...

ความพ่ายแพ้ ของ กองทัพแห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) ครั้งนี้ ทำให้อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) เริ่มกระด้างกระเดื่อง ต่อ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาภายในดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ทั้งนี้เพราะ เมื่อ พระเจ้าพันจีน ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ในขณะที่ บาดเจ็บสาหัส จากการถูกไฟลวก พระสิริโฉม เปลี่ยนแปลงไปมาก เป็นที่น่ารังเกียจ ของ สาวสนมกรมวัง

ส่วน พระเจ้าพันยี่ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พระเจ้าพันจีน จึงได้เข้ายึดอำนาจ ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) ความขัดแย้งในการสืบทอดราชย์สมบัติ ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในเวลาต่อมา

 

                  

ภาพที่-๔๘ แสดงโครงสร้างสายราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์เทียนเสน ผู้ปกครองอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร

 

 

(๗) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(เล็งดอน) กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

     ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ขึ้นครองราชย์สมบัติ ระหว่างปี พ.ศ.๗๙๓-๘๔๕ นั้น พระองค์ได้ทำสงครามพันทีเรา ถึง ๖ ครั้ง ๖ สมรภูมิ คือ สมรภูมิที่-๑ ณ แคว้นราชคฤห์ , สมรภูมิที่-๒ ณ อาณาจักรคามลังกา , สมรภูมิที่-๓ ณ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) , สมรภูมิที่-๔ ณ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ สมรภูมิที่-๕ ณ อาณาจักรไตจ้วง(ตาเกี๋ย) และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ สงครามพันที่เรา ครั้งที่-๖ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) คือ สงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กลับคืน เป็นผลสำเร็จอีกด้วย

 

  สงครามพันทีเรา เพื่อลดทอนอำนาจ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก)

ระหว่าง ปี พ..๘๐๙-๘๒๐ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน ได้ถือโอกาส ทำสงครามพันทีเรา เพื่อทำสงครามปราบปราม รัฐที่ชนชาติทมิฬโจฬะ เข้ายึดครอง เพื่อลดทอนอำนาจ สหราชอาณาจักรพนม (ฟูนันก๊ก) ต่อเนื่องจากสงครามที่ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช และ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนเสน ดำเนินการมาแล้ว เช่น อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) และ อาณาจักรไตจ้วง(ตาเกี๋ย) เป็นต้น ดังนั้นหลังจาก พระเจ้าพันทีมัน สวรรคต เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) อ่อนแอลงเรื่อยๆ คงเหลือเพียง ๒ อาณาจักร เท่านั้น คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เท่านั้น

ขณะนั้น ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) คือ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ล้วนถูกล้อมรอบด้วย ๓ อาณาจักรใหญ่ คือ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อาณาจักรคามลังกา(ขอม) และ อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งพร้อมที่จะส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามได้ทุกเมื่อ เป็นเหตุให้ พระเจ้าพันชุน พยายามติดต่อขอความคุ้มครอง จาก ก๊กแคว้นอู๋ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แต่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ไม่มีขีดความสามารถที่จะให้ความคุ้มครองได้ เพราะ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กำลังอยู่ในภาวะคับขัน เช่นกัน

เนื่องจากตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๐๙ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ก๊กแคว้นเว่ย ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ และเป็นผู้สร้างราชวงศ์จิ๋น แห่ง ก๊กแคว้นเว่ย ขึ้นมาใหม่ ฮ่องเต้อู่ตี้ จึงได้พยายามร่วมมือกับ สายราชวงศ์ตระกูลหยาง วางแผนทำสงครามพิชิต ก๊กแคว้นอู๋ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ขั้นเด็ดขาด จนกระทั่งปี พ.ศ.๘๒๐ ฮ่องเต้อู่ตี้ เริ่มส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตี ก๊กแคว้นอู๋ ซึ่งเป็นสถานการณ์โอกาสเหมาะสมที่ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ซึ่งปกครองโดยชนชาติทมิฬโจฬะ ได้สำเร็จ

ปี พ.ศ.๘๒๐ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ได้ถือโอกาสในขณะที่ ก๊กแคว้นอู๋ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กำลังเผชิญกับสงครามใหญ่ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน มอบให้ จักรพรรดิเจ้าเสนเชน ซึ่งเป็นพระอนุชา แห่ง กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) อาณาจักรชวาทวีป เตรียมกองทัพใหญ่ ร่วมกับอาณาจักรอื่นๆ ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้พร้อมที่จะทำสงครามใหญ่ เมื่อได้โอกาส

จักรพรรดิเจ้าเสนเชน จึงเป็นแม่ทัพใหญ่ นำกองทัพขนาดใหญ่ ของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน เข้าโจมตี อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๘๒๐ เป็นผลสำเร็จ มหาราชาพันชุน ต้องนำไพร่พล อพยพหลบหนีไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ผลของสงครามครั้งนี้ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) จึงได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง โดยที่ ก๊กแคว้นอู๋ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ไม่สามารถส่งกองทัพมาช่วยเหลือได้ ขุนนาง และทหาร ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ส่วนหนึ่ง ได้หลบหนี ไปตั้งรกรากในดินแดน ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) เช่นกัน สงครามครั้งนั้น คือการสิ้นสุด ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน-เขมร) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๒๐ เป็นต้นมาª-๒

ประมาณปี พ.ศ.๘๒๑ ก๊กแคว้นอู๋ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ก็พ่ายแพ้สงคราม ก๊กแคว้นเว่ย แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ของ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์จิ๋น เช่นกัน สงครามครั้งนั้น ทหาร และ ขุนนาง ของ ก๊กแคว้นอู๋ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่วนหนึ่ง ได้หลบหนีไปยัง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ ดินแดน หมู่เกาะชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) เช่นเดียวกัน อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) จึงกลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งขึ้น อย่างรวดเร็ว กลายเป็นหอกข้างแคร่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในการทำสงครามระหว่างกัน ในสมัยต่อๆ มา อย่างต่อเนื่อง

เมื่อ จักรพรรดิเจ้าเสนเชน สามารถทำสงครามยึดครอง กรุงพนมมันตัน ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ได้มอบให้พระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าเชนจู แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชาปกครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรใหม่ เป็น อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) พร้อมกับ ได้ทำการจับกุม พวกราชวงศ์นางนาคโสมา และ นางนาคโสภา ประหารชีวิต ไปทั้งหมด คงเหลือแต่ สตรี ซึ่งถูกนำไปเป็นสนม ของ มหาราชาเชนจู พร้อมกับตั้ง สภาปุโรหิต แห่ง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ให้เป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาใหม่ เพื่อทำการศึกษา เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ ในการบริหารการปกครอง ชนชาติทมิฬโจฬะ ขึ้นใหม่ มิให้เกิดการแย่งชิงราชย์สมบัติ และก่อกบฏ เช่นที่เคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา

มหาราชา เจ้าเชนจู ปกครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) อยู่ประมาณ ๑๘ ปี(พ.ศ.๘๒๑-๘๓๙) ตามตำนานท้องที่ภาคใต้กล่าวว่า เจ้าชายศรีเทพ พระราชโอรสของ มหาราชาเจ้าเชนจู มีพระนามว่า เจ้าจูเทพ หรือ ศรีเทพ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็น มหาอุปราช แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ได้รับการโปรดเกล้า ให้เป็นมหาราชาของอาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๙ โดยทำการปกครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) อยู่ประมาณ ๖๕ ปี(พ.ศ.๘๓๙-๙๐๔) ก็สวรรคต เชื้อสายราชวงศ์เทียนเสน เป็นกษัตริย์ปกครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) จนถึงปี พ.ศ.๙๖๖ ราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ สายราชวงศ์พระเจ้าศรีทรัพย์ ได้ก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม กับ มหาอาณาจักรจีน ราชวงศ์จิ๋น ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) นั้น เมื่อ มหาอาณาจักรจีน รวมตัวเป็นปึกแผ่น จึงได้เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์จิ๋น อีกครั้งหนึ่ง เนื่องมาจากเมื่อ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ก๊กแคว้นเว่ย สามารถพิชิต ก๊กแคว้นอู๋ เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๘๒๑ ก็ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นหนานเย่(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี) ด้วย ขณะนั้น อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ได้ผนวกกับ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เป็น อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เรียบร้อยแล้ว

จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.๘๒๓ ฮ่องเต้อู่ตี้ ยังสามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง ก๊กแคว้นสู่ เป็นผลสำเร็จ มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มรวมตัวเป็นปึกแผ่น และเริ่มแผ่อิทธิพล ทำสงครามเข้ารุกราน ดินแดนต่างๆของ ชนชาติอ้ายไต อีกครั้งหนึ่ง อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากของชนชาติอ้ายไต และ ปกครองโดยอิสระ ล้วนต้องยอมสวามิภักดิ์ ต่อ ราชวงศ์จิ๋น ทั้งสิ้น ยกเว้น อาณาจักรฉานก๊ก(ไทยใหญ่) และ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี) เท่านั้น

ปี พ.ศ.๘๒๓ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ก๊กแคว้นเว่ย ซึ่งเป็นผู้สร้าง ราชวงศ์จิ๋น ขึ้นมาเป็นราชวงศ์ใหม่ ของ มหาอาณาจักรจีน ยังได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง อีกด้วย ทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่งของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ อาณาจักรตาเกี๋ย โดยได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีกองทัพ ของ ฮ่องเต้อู่ตี้ ที่เข้ายึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ด้วยการสนับสนุน ของ กองทัพของสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย โดยสามารถทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรตาเกี๋ย ของชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นผลสำเร็จ หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้ทำการบันทึกถึงเหตุการณ์สงครามครั้งนั้นไว้อย่างสั้นๆ เกี่ยวกับสงครามครั้งนั้นโดยมีบันทึกตอนหนึ่ง ว่า...

"...หลังจาก ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋น ชนะในสงคราม ๓ ก๊ก และสามารถรวบรวมดินแดนจีนเป็นปึกแผ่น เมื่อปี พ.ศ.๘๒๓ เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองอาณาจักรตาเกี๋ย(ชิหนาน) เป็นผลสำเร็จ แต่ต่อมา กองทัพของ ไป่เย่(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) และกองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรตาเกี๋ย(ชิหนาน) เพื่อยึดครองดินแดน กลับคืน ราชวงศ์จิ๋น ได้ส่งกองทัพเข้าขับไล่กองทัพไป่เย่(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) ให้ออกจาก อาณาจักรตาเกี๋ย(ชิหนาน) และส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหลินยี่ (เวียตนาม) กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ไม่สามารถทำสงครามปราบปราม อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สำเร็จ เพราะดินแดนของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ทุรกันดารมาก ในที่สุดกองทัพของ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋น จึงตัดสินใจต้องถอยทัพกลับไป..."

หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ราชวงศ์จิ๋น ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ก่อสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน อีกครั้งหนึ่ง และการที่กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ต้องถอยทัพกลับไปจากดินแดนของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) นั้น แสดงให้เห็นว่า กองทัพของ มหาราชาหลินยี่ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน ผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สามารถทำสงครามขับไล่กองทัพ ของ ราชวงศ์จิ๋น เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ได้เริ่มนำ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) มาก่อสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม)

สงครามครั้งใหม่ ฮ่องเต้อู่ตี้ ได้ส่งกองทัพจีน หลายแสนคน เข้าโจมตี กองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เป็นเหตุให้กองทัพของ มหาราชาหลินยี่ ต้องถอยร่นจาก แคว้นเก้าเจ้า มายัง แคว้นจามปา อีกครั้งหนึ่ง โดยกองทัพใหญ่แห่งราชวงศ์จิ๋น ได้ส่งกองทัพเข้าติดตามโจมตีกองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) มาถึง แคว้นจามปา อีกครั้งหนึ่ง

พร้อมกันนั้น กองทัพของ พระเจ้าพันยี่ พระราชโอรส พระองค์ที่สอง ของ พระเจ้าพันทีมัน และเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ ฮ่องเต้ซุนกวน ได้ยกกองทัพจาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) เข้าโจมตีกองทัพของ มหาราชาหลินยี่ ที่กำลังถูกโจมตี เป็นเหตุให้ กองทัพของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สูญเสียล้มตาย เป็นจำนวนมาก กองทัพจีน และ กองทัพของ พระเจ้าพันยี่ แห่ง ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สามารถยึดครอง แคว้นจามปา และดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ได้ทั้งหมด พร้อมกับสามารถสังหาร มหาราชาหลินยี่ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) สวรรคต ในสงครามครั้งนั้น เป็นผลสำเร็จ ด้วย

ภายหลังสงคราม ครั้งนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้แต่งตั้งให้ พระเจ้าพันยี่ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เป็นมหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๒๖ เป็นต้นมา มีพระนามว่า มหาราชาพันยี่ มีนครหลวงอยู่ที่ แคว้นจามปา เรียกชื่อว่า อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๒๖ เป็นต้นมา

ส่วนชนชาติอ้ายไต จะเรียกอาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ในชื่อใหม่ว่า อาณาจักรเวียตน้ำ หมายถึง อาณาจักรของชนชาติทมิฬโจฬะ ที่รุกรานมาทางน้ำ จาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ หมู่เกาะชบาเหนือ(ฟิลิปินส์) คือที่มาของคำว่า เวียตนาม ในปัจจุบัน นั่นเอง

ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ชนชาติทมิฬโจฬะ เริ่มเข้าไปมีบทบาทในดินแดนประเทศเวียตนาม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๘๒๖ เป็นต้นมา มีการอพยพชนชาติทมิฬโจฬะ จากดินแดนต่างๆ เข้าไปตั้งรกราก ในดินแดนประเทศเวียตนามภาคใต้ ในปัจจุบัน เป็นจำนวนมาก พร้อมกับการเข้าไปของ ศาสนาพราหมณ์ แทนที่ ศาสนาพุทธ ในปีเดียวกัน

 

มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก)

ภายหลังสงครามยึดครอง อาณาจักรตาเกี๋ย ของ มหาอาณาจักรจีน ที่เกิดขึ้นกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สิ้นสุดลง หลังจากนั้นไม่นาน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ทำสงครามปราบปราม อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ซึ่งได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) กลับคืน เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่ง ราชวงศ์จิ๋น จำเป็นต้องส่งกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เข้าทำสงครามโจมตี อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) เมื่อปี พ.ศ.๘๒๘ เพื่อหนุนช่วย อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ด้วย

สงครามรุกราน อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) ของ มหาอาณาจักรจีน ครั้งนั้น เกิดขึ้นเมื่อ มหาอาณาจักรจีน โดย ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋น ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๘๒๘ สามารถสังหารเชื้อสายราชวงศ์ อาณาจักรไทยใหญ่ จนหมดสิ้น ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ที่เป็นหญิงสาว จะถูกส่งไปเป็นสนมเพื่อบำเรอความใคร่ ของ ฮ่องเต้อู่ตี้ จนหมดสิ้น ทำให้ ฮ่องเต้อู่ตี้ มีพระสนม มากกว่า ๑๐,๐๐๐ พระนาง

ผลของสงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต จากดินแดน อาณาจักรไทยใหญ่ ได้อพยพลงมาทางทิศใต้ และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งอพยพเข้าไปตั้งรกราก ในดินแดนของ อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) อีกส่วนหนึ่งอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดน ของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน โดยไม่มีกษัตริย์ ผู้ปกครอง

ต่อมา ขุนนาง และ ประชาชนของ อาณาจักรไทยใหญ่ กลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางมาขอเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ณ กรุงจีนหลิน แคว้นราชคฤห์(บ้านโป่ง-ราชบุรี) ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อร้องขอให้ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน จัดส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ไปเป็นกษัตริย์ ปกครองประชาชนชนชาติอ้ายไต ของ อาณาจักรไทยใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการลี้ภัยสงคราม

 

มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน ให้กำเนิด อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง

      ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) นั้น พระองค์ได้มอบให้ สายราชวงศ์คำ ให้กำเนิด แคว้นโกสมพี(ไชยา) ขึ้นใหม่ และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) สายราชวงศ์คำ ยังเป็นผู้ให้กำเนิด แคว้นโกสมพี(ไทยใหญ่) ขึ้นมาในดินแดนของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน อีกด้วย เนื่องจากมีผู้อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดน ของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน โดยไม่มีกษัตริย์ ผู้ปกครอง เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ต้องจัดส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ไปเป็นกษัตริย์ ปกครองประชาชนชนชาติอ้ายไต ของ อาณาจักรไทยใหญ่ ซึ่งอยู่ระหว่างการลี้ภัยสงคราม ซึ่งเป็นที่มาของการกำเนิด อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่) หรือ อาณาจักรศรีชาติตาลอ(โกสมพี) และ อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) จาก ราชวงศ์คำ แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) ในเวลาต่อมา นั่นเอง

เนื่องจาก พระราชวังหลวง ของ แคว้นโกสมพี(ไชยา) เคยตั้งอยู่ในดินแดนท้องที่ สวนโมกข์ผลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน มาก่อน ก่อนหน้านี้ แคว้นนี้ เคยมีชื่อเรียกว่า แคว้นมิถิลา(ไชยา) และ แคว้นจิวจิ(ไชยา) แต่ต่อมา แคว้นโกสมพี(ไชยา) ต้องล่มสลายลง เพราะผลจากการที่ กองทัพ ของ มหาราชาพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ มหาราชาตาหมิง(มหาราชาพันศักดา) แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพ เข้าโจมตี แคว้นโกสมพี(ไชยา) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๗๗๙ ทำให้ ราชาเจ้าจิวเทียนคำแท่ง(คำแท่ง) หรือ ท้าวคำแท่ง หรือ ท้าวคำ แห่ง ราชวงศ์จิวคำ หรือ ราชวงศ์คำ สวรรคต ณ บริเวณพื้นที่ สระนาเก คือพื้นที่บริเวณ สวนโมกข์ผลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

สงครามทำลายแคว้นโกสมพี(ไชยา) ครั้งนั้น พระนางแสงดาว อัครมเหสี ของ ราชาจิวเทียนคำแท่ง(คำแท่ง) เป็นเชื้อสายราชวงศ์ แห่ง อาณาจักรไทยใหญ่ กำลังทรงพระครรภ์ และกำลังไปบวงสรวง เทวสถานท้าวมหาพรหม ณ บริเวณถ้ำพระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) ภูเขาแม่นางเอ ในขณะที่กองทัพข้าศึก เข้าโจมตีพระราชวังหลวง นั้น พระนางแสงดาว จึงสามารถหลบหนีข้าศึกทมิฬ ไปยัง แคว้นปากคูหา(ระนอง) พร้อมเชื้อสายพวกราชวงศ์ และไพร่พล ได้สำเร็จ

ต่อมา เมื่อ พระนางแสงดาว ทราบข่าวว่า สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ยังไม่ยุติ พระนางแสงดาว จึงได้ว่าจ้างให้ ชาวรามัญ(ชนชาติกลิงค์ ที่ผสมเผ่าพันธุ์กับชนชาติทมิฬ) เพื่อให้เป็นผู้นำทาง เดินทางไปส่งยัง อาณาจักรไทยใหญ่ ซึ่งเป็น อาณาจักร ของ พระราชมารดา แต่เนื่องจาก พระนางแสงดาว ต้องประสูติพระราชโอรส ระหว่างเดินทาง พร้อมกับทรงตั้งพระนามว่า เจ้าชายแสงคำ(แท่งคำ) เป็นเหตุให้ พระนางแสงดาว และไพร่พล ได้ไปอาศัยอยู่กับฤาษี จนกระทั่งพระราชโอรส เจ้าชายแสงคำ(แท่งคำ) เติบใหญ่

ต่อมา มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน หรือ มหาจักรพรรดิท้าวเล็งดอน ได้มอบให้ พระราชโอรสของ เจ้าจิวเทียนคำแท่ง มีพระนามว่า เจ้าแสงคำ ได้เดินทางมาครอบครองแว่นแคว้นเดิม โดยย้ายที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐใหม่ จาก พระราชวังหอคำ บริเวณ สระนาเก สวนโมกข์ผลาราม ในปัจจุบัน ไปสร้างพระราชวังหลวงขึ้นใหม่บริเวณ ภูเขาศรีโพธิ์(ภูเขาสายหมอ)ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของพระราชวังหลวง ดั้งเดิม พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อแคว้นใหม่ว่า แคว้นมิถิลา(ไชยา) และต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งว่า แคว้นกิ่งดาว(ไชยา)

ต่อมา เจ้าแสงคำ ได้อภิเษกสมรสกับราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน ซึ่งมีพระนามว่า พระนางเกศาวดี ซึ่งเป็นไปตามตำนาน สระนาเก ในท้องที่ อ.ไชยา ซึ่งกล่าวว่า ต่อมา เจ้าแสงคำ(คำแท่ง) ได้มาเป็นกษัตริย์ ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) จนกระทั่งมีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าแสงเล(แสงเหมย) , เจ้าแสงลู และ เจ้าแสงไล ตามลำดับª-

เนื่องจาก มหาอาณาจักรจีน โดย ฮ่องเต้อู่ตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋น ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้าโจมตี อาณาจักรไทยใหญ่ เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๘๒๘ สงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต จากอาณาจักรไทยใหญ่ ได้อพยพลงมาทางทิศใต้ เข้ามาตั้งรกรากในดินแดน ของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน โดยไม่มีกษัตริย์ผู้ปกครอง ขุนนาง และ ประชาชนของ อาณาจักรไทยใหญ่ กลุ่มหนึ่ง ได้เดินทางมาขอเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ณ กรุงจีนหลิน แคว้นราชคฤห์ อาณาจักรนาคฟ้า ซึ่งเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อร้องขอให้ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน จัดส่งเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ไปเป็นกษัตริย์ ปกครองประชาชน ชนชาติอ้ายไต ของ อาณาจักรไทยใหญ่ ผู้ที่อยู่ระหว่างการลี้ภัยสงคราม

หลักฐานพงศาวดารไทยอาหม ได้บันทึกไว้ว่า มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ได้เรียก เจ้าสิงห์ฟ้า ราชา แห่ง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) มาหารือ ณ ท้องพระโรง ของ พระราชวังหลวง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี) ได้บรรยายถึงการแต่งเครื่องทรง และ สภาพของพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) เพื่อจัดหาเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ไปปกครอง ประชาชนผู้ที่อพยพมาจาก อาณาจักรไทยใหญ่ ด้วยª-๔

มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ได้ร่วมพิจารณากับ เจ้าสิงห์ฟ้า จนมีข้อสรุปว่า เจ้าแสงคำ(เจ้าคำแท่ง) เป็นผู้ที่มี พระราชมารดา คือ พระนางแสงดาว สืบเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต อาณาจักรไทยใหญ่ มาก่อน อีกทั้ง เจ้าคำแสง(เจ้าคำแท่ง) มีพระราชโอรส กับ พระราชธิดา(พระนางเกศาวดี) ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) จำนวน ๓ พระองค์ มีพระนามว่า เจ้าชายแสงตาเล(แสงเหมย) เจ้าชายพระองค์นี้ ดำรงตำแหน่งเป็น อุปราชของ แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) และจะต้องเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) ในรัชกาลต่อไป

มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน จึงโปรดเกล้าให้ เจ้าชาย ๒ พี่น้อง คือ เจ้าชายแสงตาลู(แสงลูหลวง) และ เจ้าชายแสงตาไล(แสงไล) อพยพไพร่พล จาก เมืองมิถิลา(ไชยา) ออกไปเป็นกษัตริย์ปกครอง ประชาชน ตามที่ประชาชนชาวไทยใหญ่ ร้องขอมา

ต่อมา เจ้าชายสองพี่น้อง(แสงลู และ แสงไล) แห่ง ราชวงศ์คำ ได้เสด็จไปเป็นกษัตริย์ปกครองประชาชน อาณาจักรไทยใหญ่ ผู้ลี้ภัยสงคราม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๓๑ โดยได้สร้างแคว้นใหม่ขึ้น บริเวณเมืองมาว เรียกชื่อว่า แคว้นโกสมพี เพื่อเป็นเกียรติแด่ ราชาจิวเทียนคำแท่ง(คำแท่ง) แห่ง แคว้นโกสมพี(ไชยา) ในอดีต ซึ่งได้ล่มสลายไปเมื่อปี พ.ศ.๗๗๙ โดยมี เจ้าชายแสงตาลู ทำพิธีบรมราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นโกสมพี(เมืองมาว) มีพระนามใหม่ว่า ราชาศรีชาติตาลู และมี เจ้าชายแสงตาไล เป็นอุปราช มีพระนามใหม่ว่า อุปราชศรีชาติตาไล แว่นแคว้นแห่งนี้ ขึ้นต่อ อาณาจักรนาคฟ้า ในระยะแรกๆ ส่วน แคว้นมิถิลา(ไชยา) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) เพื่อให้เกียรติแก่ พระนางแสงดาว และถือเป็นจุดเริ่มต้น ของ กระบวนการพัฒนาการ ของ อาณาจักรชนชาติอ้ายไต สู่ อาณาจักรโกสมพี และ อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) ซึ่งเป็น ๒ อาณาจักร ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่เกิดขึ้นในดินแดนของประเทศพม่า ในปัจจุบัน ในเวลาต่อมาª-๕

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้)

เนื่องจาก เมื่อ มหาราชาหลินยี่ สวรรคต ในสงคราม เมื่อปี พ.ศ.๘๒๖ นั้น พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาหลินยี่ มีพระนามว่า เจ้าชายยี่เกย ถือเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน เป็นมหาราชาปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) พร้อมกับได้ออกไป ทำสงครามซุ่มโจมตี ขับไล่ กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ ให้ออกจากแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เรื่อยมา แต่ยังมิได้ทำสงครามยึดครอง แคว้นจามปา อันเป็นแคว้นนครหลวง ของ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) สำเร็จ เพราะเกรงว่า มหาอาณาจักรจีน อาจจะส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงคราม ช่วยเหลือ มหาราชาพันยี่ ได้

มหาราชาพันยี่ ปกครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ประมาณ ๑๐ ปี ท่ามกลางสงครามกอบกู้เอกราช ของ ชนชาติอ้ายไต ก็เกิดขึ้น โดย จักรพรรดิเจ้าเสนเชน ได้นำกองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ร่วมกับกองทัพของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อาณาจักรคามลังกา(ขอม) อาณาจักรอ้ายลาว และกองทัพของ มหาราชาเจ้ายี่เกย ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตียึดครอง แคว้นจามปา กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สามารถจับกุม มหาราชาพันยี่ ไปสำเร็จโทษ เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๘๓๖ มีการรวมดินแดน อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) เข้ากับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๘๓๖

ภายหลังสงครามครั้งนั้น ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีความมั่นคง ยิ่งขึ้น อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงเป็นผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ทั้งหมด อีกครั้งหนึ่ง ส่วน อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ถูกปกครองโดย ราชวงศ์เทียนเสน สายราชวงศ์หลินยี่ ไปถึงปี พ.ศ.๙๑๕ จึงเกิดสงคราม กับ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

 

 

(๘) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเสนไพ กรุงพันพาน(พุนพิน)

     ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิเจ้าเสนไพ กรุงพันพาน(พุนพิน) ระหว่างปี พ.ศ.๘๔๕-๘๔๙ นั้น ไม่มีสงครามเกิดขึ้นในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พระองค์มุ่งเน้นสร้างความมั่นคงให้กับ ดินแดนสุวรรณภูมิ เหตุการณ์สำคัญในรัชกาลนี้ คือ การส่งเสริมให้ใช้ เงินไพ มาเป็นเครื่องมือในการซื้อขาย มีการส่งเสริมพุทธศาสนา และพัฒนากองทัพให้เตรียมพร้อมในการทำสงคราม และมีการค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้น

 

กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู(เพี้ยว)

มหาจักรพรรดิเจ้าเสนไพ เป็นผู้ผลักดันให้ มหาราชาศรีชาติตาลู(ขุนลู) ให้กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู(เพี้ยว) แยกออกมาจาก อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่) อีกอาณาจักรหนึ่ง เพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่าง กษัตริย์ ๒ พี่น้อง และนำพระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดนของ อาณาจักรโกสมพี และ อาณาจักรศรีชาติตาลู คือดินแดนประเทศพม่า ในปัจจุบัน มหาจักรพรรดิเจ้าเสนไพ ครองราชสมบัติประมาณ ๔ ปี ก็มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา จึงได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ

 

 

                 

   ภาพที่-๔๙ แผนที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ภายหลังสงครามปราบปราม ชนชาติทมิฬโจฬะ โดย มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน สำเร็จ พร้อมกับกำเนิดอาณาจักรใหม่ขึ้นอีก ๒ อาณาจักร

 

 

(๙) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

 

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ หรือ เจ้าจีนแซ กรุงจีนหลิน ขึ้นครองราชย์สมบัติ ระหว่างปี พ.ศ.๘๔๙-๘๕๖ นั้น เป็นสมัยที่มีการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้เข้าสู่ภาวะปรกติ แต่ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้ทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน แห่ง ราชวงศ์จิ๋น เพื่อทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง กวางสี) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง ผลของสงครามครั้งนั้น สงครามเป็นไปอย่างยืดเยื้อ โดยที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนเป็นผลสำเร็จ ในรัชกาลต่อๆ มาอีกครั้งหนึ่ง

 

 

                     

  ภาพที่-๕๐ ภาพถ่ายตะเกียงโรมัน สมัยโบราณ พบที่ เมืองพงตึก อดีตแคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) เส้นทางเดินทางสมัยโบราณไปยัง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง และ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู(เพี้ยว) ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ผ่านเส้นทางด่านเจดีย์ ๓ องค์ ท้องที่ จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีการค้าขาย กับต่างชาติมาอย่างยาวนาน มาแล้ว

 

 (๑๐) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู กรุงพันพาน(พุนพิน)

     ในรัชกาล มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู(พ.ศ.๘๕๖-๘๖๔) กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป ต้องอพยพลงมายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก ฮ่องเต้ ราชวงศ์จิ๋น แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้อพยพชาวจีน เข้าไปตั้งรกรากในดินแดนภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนภาคใต้ และ ดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งเป็นของชนชาติอ้ายไต มาก่อน แล้วทำสงครามขับไล่ ชนชาติอ้ายไต ให้ออกไปจากดินแดน เป็นเหตุให้ชนชาติอ้ายไต ซึ่งไม่ยอมอพยพ ได้รวมตัวกันสร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

ผลของการอพยพ ของ ชนชาติอ้ายไต ลงมาทางใต้ ครั้งนี้ มีการอพยพลงมาในดินแดน ของ อาณาจักรโกสมพี เป็นจำนวนมาก มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู จึงได้เป็นผู้รวบรวมประชาชน ชนชาติอ้ายไต ไปสร้าง แคว้นอังวะ ซึ่งเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) เมื่อสร้างสำเร็จ มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู ก็เสด็จสวรรคต

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน เป็นผู้ทำสงครามโพกผ้าเหลือง ยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย ของ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนเป็นผลสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง ต่อมา มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู กรุงพันพาน ได้มอบให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ร่วมกับ อาณาจักรไหหลำ ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติไตจ้วง กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง โดยถือโอกาสในขณะที่ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กำลังระดมกองทหารเข้าทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

สงครามครั้งนั้น เจ้าเชียงแวน เป็นแม่ทัพใหญ่ สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองต่างๆ ของ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนได้ เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าเชนจู โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าแวน หรือ เชียงแวน มาเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในช่วงเวลาต่อมาด้วย

เจ้าแวนหรือ เชียงแวน ผู้นี้ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศเวียตนาม บันทึกว่า เดินทางมาจากเมืองหยางจู ในแคว้นเจียงสู มารับราชการ ณ ราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๕๖ และได้เดินทางกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน อีกครั้ง เมื่อปี พ.ศ.๘๕๙ มาเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรหลินยี่ โดยมี เมืองเว้ เป็นราชธานี มหาราชาเชียงแวน เป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี ตาเกี๋ย) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ในเวลาต่อมาª-

 

(๑๑) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าแซเทียนชู กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

       ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าแซเทียนชู(พ.ศ.๘๖๔-๘๗๙) กรุงจีนหลิน นั้น ได้กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นมาอีกอาณาจักรหนึ่ง เนื่องจาก มีชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่งถูกยึดครองไปโดย มหาอาณาจักรจีน ได้ก่อสงครามปราบปราม ครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ชนชาติอ้ายไต จึงต้องอพยพหนีความตายลงมายัง อาณาจักรโกสมพี เป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้ต้องกระจายพลเมือง อพยพลงไปทางทิศใต้ ออกไปตั้ง อาณาจักรศรีชาติตาลู ขึ้นอีกหนึ่งอาณาจักร ในรัชกาลนี้ ด้วย

 

กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ª-

เหตุสืบเนื่องมาจาก ผลการสิ้นสุดของ ราชวงศ์จิ๋น ตะวันตก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ครั้งนั้น ได้ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อย่างหนัก ได้เกิดก๊กต่างๆ เพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่ในการปกครอง มหาอาณาจักรจีน ถึง ๑๖ ก๊ก แต่ละก๊ก ได้ทำสงครามยึดครองดินแดนเป็นของตนเอง พร้อมกับทำการอพยพชาวจีน ครั้งใหญ่ จากดินแดนทางภาคเหนือ ลงสู่ดินแดนภาคกลาง , ภาคตะวันออกเฉียงใต้ , ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และ ภาคใต้ ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อเข้ายึดครองพื้นที่ซึ่งเป็นดินแดน อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ผู้เคยครอบครองดินแดนดังกล่าว มาอย่างยาวนาน พร้อมๆ กับการทำสงครามขับไล่ชนชาติอ้ายไต ให้ออกจากแผ่นดิน ส่งผลให้ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนซึ่ง มหาอาณาจักรจีน เข้ายึดครอง ต้องอพยพลงมายัง อาณาจักรโกสมพี เป็นจำนวนมาก อีกครั้งหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการขยายแว่นแคว้นต่างๆ ของอาณาจักรโกสมพี อย่างรวดเร็ว

เนื่องจาก ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างกษัตริย์ ๒ พี่น้อง มาก่อนหน้านี้แล้ว ในการแย่งชิงปกครอง อาณาจักรโกสมพี กรุงมาวหลวง ระหว่างกัน เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าแซเทียนชู ใช้โอกาสดังกล่าว แก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกษัตริย์ ๒ พี่น้อง ด้วยการมอบให้ มหาราชาศรีชาติตาลู(ขุนแสงลู) นำไพร่พลชนชาติอ้ายไต จาก แคว้นโกสมพี อพยพลงไปสร้างแว่นแคว้นใหม่ ทางทิศตะวันตก ของ อาณาจักรโกสมพี โดยสร้างเมืองขึ้นใหม่ที่ แคว้นโพธิ์อู่ติ่ง(เมืองแปรเก่า) หรือ แคว้นปยู(โพธิ์อู่ติ่ง หรือ โพธิ์อู่) เป็นที่มาของการกำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู ต่อเนื่องจาก อาณาจักรโกสมพี ด้วย

พงศาวดารของอาณาจักรไทยใหญ่ ได้บันทึก ว่า มหาราชาศรีชาติตาลู มีพระราชโอรส ๗ พระองค์ ซึ่งได้ร่วมกันออกไปสร้างบ้านแปลงเมืองต่างๆ ตามที่กฎมณเฑียรบาลกำหนดให้ต้องปฏิบัติ จนกระทั่งกลายเป็นผู้ปกครองแว่นแคว้น ต่างๆ ได้แก่ เจ้าชายอ้ายขุนโหลง ครองแคว้นท่ากลอง(ตาโก้ง) เจ้าชายขุนฟ้า ครองแคว้นยาง เจ้าชายขุนงู ครอง แคว้นละมุงไต(ฝาง) เจ้าชายขุนกอดฟ้า ครองแคว้นยอง เจ้าชายขุนละ ครองแคว้นกะลา เจ้าชายขุนส่า ครองแคว้นอังวะ เจ้าชายขุนสู ครองแคว้นยอง เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อมีการอพยพของชนชาติอ้ายไต จาก มหาอาณาจักรจีน เข้ามายังดินแดน ของ อาณาจักรโกสมพี เป็นจำนวนมาก ในสมัยนั้น เป็นเหตุให้ มหาราชาศรีชาติตาลู(ขุนลู) ได้อพยพประชาชนลงไปร่วมกันสร้างแว่นแคว้นต่างๆ ทางทิศตะวันตก ของ อาณาจักรโกสมพี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๘๖๕ มหาจักรพรรดิเจ้าแซเทียนชู จึงประกาศให้กำเนิด อาณาจักรศรีชาติตาลู(พุกาม) เป็นอีกอาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และมอบให้ มหาราชาศรีชาติตาลู(ขุนลู) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรศรีชาติตาลู มีเมืองนครหลวงอยู่ที่ เมืองโพธิ์อู่ติ่ง(ปยู) ส่วนอาณาจักรโกสมพี นั้น มี มหาราชาศรีชาติตาไล(ขุนไล) เป็น มหาราชา ผู้ปกครอง ทั้งสองอาณาจักร ล้วนขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เรื่อยมา

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม)

เนื่องจากเหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๘๓๖ นั้น มหาจักรพรรดิเจ้าแซเทียนชู หรือ แซเทียนจู แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) ซึ่งสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ คือ พระเจ้าพันยี่ ซึ่งสืบทอดมาจากสายราชวงศ์มาจาก มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) เข้าทำสงครามยึดครอง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ มหาราชาพันยี่ สวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น

ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) รวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) โดยมี มหาราชาเจ้ายี่เกย พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาหลินยี่ ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เรื่อยมา จนกระทั่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพมาทำสงครามรุกรานอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง มหาราชายี่เกย สวรรคต ในสงคราม 

ต่อมาเมื่อ มหาราชาเจ้ายี่เกย สวรรคต ได้มีเชื้อสายราชวงศ์ ของ มหาราชาหลินยี่ อีกพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าเชียงแวนไต ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับ เชื้อสายราชวงศ์ อาณาจักรไตจ้วง มาร่วมทำสงครามขับไล่กองทัพของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวแซเทียนชู จึงโปรดเกล้าให้ สายราชวงศ์เจ้าจีนหลิน พระนาม แวนไต หรือ เชียงแวน หรือ เชียงแวนไต ขึ้นครองราชย์สมบัติ เข้าปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในรัชกาล ต่อมา โดยมีราชธานีอยู่ที่ เมืองเว้ ในปัจจุบัน

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศเวียดนาม กล่าวว่าเมื่อ ปี พ.ศ.๘๗๙ มหาราชาเชียงแวน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อาณาจักรจามปา(พ.ศ.๘๗๙-๘๙๒) บุคคลผู้นี้เดินทางมาจาก เมืองยางจู ในแคว้นเจียงสู มหาอาณาจักรจีน มารับราชการที่ เมืองเว้(เมืองแวน) อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เมื่อปี พ.ศ.๘๕๖ และเดินทางกลับไปยัง มหาอาณาจักรจีน อีกเมื่อปี พ.ศ.๘๕๙ และได้กลับมาทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลับคืนเป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๘๗๙ โดยตั้งนครหลวง ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อยู่ที่ เมืองเว้(เมืองแวน) ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

 

สงครามแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน

เนื่องจาก ดินแดน มหาอาณาจักรจีน ในขณะนั้น เต็มไปด้วยสงคราม การแก่งแย่งอำนาจ ระหว่างกัน เกิดการแตกแยกออกเป็นหลายก๊ก หลายอาณาจักร อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถือโอกาส สนับสนุนการทำสงครามโพกผ้าเหลือง เพื่อยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืนมา อีกครั้งหนึ่ง

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ นั้น เป็นสมัยที่มีการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้เข้าสู่ภาวะปรกติ แต่ในปลายรัชสมัยของพระองค์ ได้เกิดสงครามกับราชวงศ์จิ๋น แห่ง มหาอาณาจักรจีน ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา และ ตาเกี๋ย) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน จึงไม่เกิดขึ้น

ต่อมา ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน มหาอาณาจักรจีน แตกออกเป็น ๒ มหาอาณาจักรใหญ่ คือ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ ถือโอกาสส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี ตาเกี๋ย) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๘๗๙

ภายหลังสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา) กลับคืน เมื่อปี พ.ศ.๘๗๙ โดยกองทัพของ มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ หรือ เจ้าจีนแซ เป็นผลสำเร็จเรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิเจ้าหลินแซ ได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช เป็นประธานสภาปุโรหิต รัชกาลถัดมา ส่วน มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ก็เร่งส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ในเวลาต่อมา เช่นเดียวกัน สงครามครั้งใหม่นี้ จึงเป็นสงครามยืดเยื้อ ออกไปอีกหลายรัชกาล และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้นำชนชาติทมิฬโจฬะ มาเป็นเครื่องมือในการก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

 

 

(๑๒) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าจูเทพ กรุงพันพาน(พุนพิน)

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าจูเทพ(พ.ศ.๘๗๙-๘๙๐) กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น ได้เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยที่ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้สร้างพันธมิตร กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) เชื้อสายราชวงศ์ขุนเทียน สายราชวงศ์ขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ให้มาก่อสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง โดยการก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจาก ต่อมา ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งกองทัพเข้าป้องกันรักษาดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ด้วย เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ใช้กองทัพ ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) ของ สายราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) คือ สายราชวงศ์ พระเจ้าพันยี่ ซึ่งได้หลบหนีไปตั้งรกรากในดินแดน ของ หมู่เกาะมินดาเนา(ฟิลิปินส์ภาคใต้) และ หมู่เกาะชบาใน(บอร์เนียว) เข้าโจมตีกองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขนาบหลัง กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงต้องทำศึก หลายด้าน สงครามการป้องกัน อาณาจักรไตจ้วง จึงกลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ อีกครั้งหนึ่ง

สงครามครั้งนั้น จักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ รับผิดชอบเป็นแม่ทัพใหญ่ เข้าควบคุมวางแผนทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน จึงได้พยายามส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นกวางตุ้ง และแคว้นกวางสี กลับคืน แต่เนื่องจาก เหตุการณ์ในขณะนั้น มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งต้องสละราชย์สมบัติ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นที่มาให้ จักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ ต้องเสด็จกลับไปรับตำแหน่ง มหาจักรพรรดิของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในรัชกาลถัดมา

 

(๑๓) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์(พ.ศ.๘๙๐-๙๐๑) กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) นั้น เป็นเหตุการณ์การทำสงครามโพกผ้าเหลือง เพื่อแย่งชิง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา ตาเกี๋ย) กลับคืนให้มาอยู่ภายใต้อำนาจของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง โดย จักรพรรดิเจ้าจูยี่ เป็นแม่ทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ร่วมทำสงครามกับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ทั้งนี้เพราะ มหาราชาเชียงแวนไต ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์อาณาจักรไตจ้วง ด้วย ได้กลายเป็นผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) จึงทำให้ มหาราชาเจ้าเชียงแวนไต(เจ้าแวน) เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ในสงครามครั้งนั้นด้วย

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

ท่ามกลางสงคราม ที่สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นแคว้นชิหนาน(ตาเกี๋ย) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สงครามได้ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๘๙๑ มหาราชาเชียงแวนไต แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) สวรรคต ในสงคราม ทำให้ พระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า มหาราชาเชียงโฟ ได้พยายามส่งกองทัพ ร่วมกับ กองทัพของ จักรพรรดิเจ้าจูยี่ เพื่อทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นกวางตุ้ง แคว้นกวางสี และ กวางเจา กลับคืน เป็นเหตุให้ จักรพรรดิเจ้าจูยี่ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สวรรคต ในสงคราม เมื่อประมาณปี พ.ศ.๘๙๔

หลังจากนั้น มีการเจรจาทางการทูต เพื่อให้ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ส่งมอบ เมืองกวางตุ้ง กลับคืนให้กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างสันติ ซึ่งเป็นกลลวงของ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้วางกลลวง เพื่อวางแผนลวง นำเอา มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ ไปลอบปลงพระชนม์ ณ เมืองกวางตุ้ง ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พ่ายแพ้สงครามกอบกู้เอกราช อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ณ เมืองกวางตุ้ง นั้น สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ยุติลงชั่วคราว เพราะ ฮ่องเต้หยวนตี้ เสนอให้มีการเจรจาทางการทูต เพื่อให้เอกราชแก่ อาณาจักรไตจ้วง โดยจะมีการส่งมอบ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนให้แก่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยดี แท้ที่จริง ข้อเสนอดังกล่าว ของ ฮ่องเต้หยวนตี้ เป็นกลลวง มิให้เกิดศึกสงคราม ของ อาณาจักรจีน ภาคใต้ หลายด้าน เท่านั้น

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ของ ม้าต้วนหลิน ได้อ้างบันทึกของราชวงศ์จิ๋นตะวันออก และบันทึก ของ ราชวงศ์เหลียง และบันทึกในหนังสือ ไทปิงยั่วหลาน ได้กล่าวตรงกันว่า ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เคยส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง ราชบุรี) เมื่อปี พ.ศ.๘๙๙ ซึ่งขณะนั้น มีมหาจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า เทียนชูจันทร์ (เถียน-จู-จัน-ทะ-ระ) เพื่อเจรจาเรื่องการทำสงครามยึดครองแคว้นเย่(กวางตุ้ง กวางสี) โดยราชทูตได้บันทึกถึงสภาพของนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง ราชบุรี) แคว้นราชคฤห์ แห่งอาณาจักรนาคฟ้า ในขณะนั้น ว่า

...ปีที่ ๓๙ ในรัชกาลฮ่องเต้หยวนตี้(พ.ศ.๘๙๙) แห่งราชวงศ์จิ๋นตะวันออก(มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้) ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูตมายัง กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง ราชบุรี) ซึ่งเป็น อาณาจักหนึ่งของ ประเทศฟูนัน(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) โดยมี เมืองจีนหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี)เป็นราชธานี เมืองจีนหลิน(บ้านโป่ง) ตั้งอยู่ห่างจากราชธานี ของ ฟูนันก๊กเดิม(เมืองพนมมันตัน-หรือ เมืองจามปา) ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๒,๐๐๐ ลี้ (๑,๑๕๒ กิโลเมตร)โดยมีอ่าวกิมหลิน(อ่าวไทย) ขวางกั้นอยู่ แคว้นจีนหลิน(บ้านโป่ง) นี้ เป็นดินแดนที่มีแร่โลหะเงิน เป็นจำนวนมาก ชาวเมืองจีนหลิน ชอบจับช้าง มาเลี้ยงไว้ใช้งาน เมื่อช้างตาย ก็ถอดเอางา ไปใช้ด้วย

ประชาชนในเมืองราชธานี(กรุงจีนหลิน) แห่ง ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) เป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย และเล่ห์เหลี่ยม พวกเขา จะเข้าโจมตีเมืองต่างๆ ในทุกแว่นแคว้น ที่ไม่ยอมอ่อนน้อมกับแคว้นราชธานี หลังจากการโจมตี พวกเขาจะกดขี่ประชาชนในเมืองที่โจมตีได้ ให้มาเป็นทาส เพื่อนำไปใช้แรงงาน

สำหรับสินค้า ของเมืองราชธานี(กรุงจีนหลิน) มี ทองคำ เงิน ผ้าไหม บุตรชายของตระกูลที่สำคัญ ใช้ผ้ายกเพื่อนุ่งเป็นโสร่ง สตรี มักจะสวมเสื้อผ้าลงไปทางศีรษะ(สวมผ้าถุง) คนจนจะนุ่งผ้าฝ้ายผืนเดียว ประชาชนแห่ง แคว้นจีนหลิน ชอบหล่อแหวน และกำไล ด้วยทองคำ หล่อภาชนะด้วยโลหะเงิน พวกเขาตัดต้นไม้มาใช้สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือนแบบยกพื้น ส่วน มหาจักรพรรดิ ของ ประเทศนี้ จะประทับอยู่ในพระราชวังหลวง ซึ่งมีกำแพงหลายชั้น ประชาชนเขาล้อมเขตบ้านด้วยรั้วไม้ ริมทะเล มีกอต้นจากเป็นจำนวนมาก ใบจากเหล่านี้ จะใช้มุงเป็นหลังคาบ้านเรือน ประชาชนจะอาศัยอยู่ตามริมแม่น้ำ โดยมีการสร้างบ้านเรือน แบบยกพื้น อีกด้วย

เรือที่ เมืองราชธานี(กรุงจีนหลิน) สร้างยาวระหว่าง ๘-๙ จัง(๑ จัง เท่ากับ ๑๐ ฟุต) กว้างเกือบประมาณ ๑ จัง(๖-๗ ฟุต) หัวและหางของเรือ มีรูปร่างเหมือนหัวและหางปลา เมื่อ มหาจักรพรรดิ เสด็จออกนอกพระราชวังหลวง พระองค์จะทรงช้าง สตรีก็ขี่ช้างได้ด้วย สำหรับการสนุกสนาน มีการชนไก่ การชนหมู ในแคว้นราชธานี นี้ ไม่มีคุก สำหรับการพิจารณาคดี...”

หลักฐานจดหมายเหตุจีนเขียนบันทึกขึ้นโดย ม้าต้วนหลิน อีกฉบับหนึ่ง ซึ่งอ้างบันทึกของ ฮ่องเต้หยวนตี้ ในสมัยราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๙๐๐ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง ราชบุรี) มีพระนามว่า เทียนชูจันทร์(เถียน-จู-จัน-ทะ-ระ) ได้ส่งราชทูต ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้หยวนตี้เมืองนานกิง มีเนื้อหาสรุปว่า...

...ปีที่ ๔๐ ในรัชกาลฮ่องเต้หยวนตี้ แห่งราชวงศ์จิ๋นตะวันออก (พ.ศ.๙๐๐) มีมหาจักรพรรดิแห่ง มหาอาณาจักรทะเลใต้(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) ทรงพระนามว่า เจ้าเทียนชูจันทร์ (เถียน-จู-จัน-ทะ-ระ) ได้ส่งคณะราชทูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการ โดยได้ส่งช้างที่ฝึกมาแล้ว เป็นเครื่องราชบรรณาการ ด้วย...”

      คำกลอนกล่อมลูกเรื่อง ท้าวเทียนชูจันทร์ ในท้องที่ ทุ่งพระยาชนช้าง คันธุลี กล่าวว่า ท้าวเทียนชูจันทร์ ได้คัดเลือกช้างจากทุ่งพระยาชนช้าง ไปส่งมอบให้กับ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ หวังที่จะได้ดินแดนอาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ตามสัญญา แต่ ช้างดิ้นรนไม่ยอมลงเรือสำเภา ที่ท่าเรือเมืองครหิต เพราะเกรงว่า ฮ่องเต้ จีน จะทำการลวง ท้าวเทียนชูจันทร์ ไปฆ่า จนหาศพไม่พบ ในอนาคต

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ เมืองกวางตุ้ง

หลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวว่า ฮ่องเต้หยวนตี้ ได้พยายามยุติสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ชั่วคราว แสดงว่าต้องมีการถอนทหารกลับมาสมทบที่ เมืองกวางตุ้ง อย่างลับๆ เพื่อลวงให้ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ พร้อมกับพวกราชวงศ์ แห่ง อาณาจักรไตจ้วง หลงกล มาทำพิธีรับมอบคืน เมืองกวางตุ้ง แล้วส่งกองทัพขนาดใหญ่ เข้าปิดล้อม เมืองกวางตุ้ง เพื่อทำการสังหาร มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ และ พวกราชวงศ์ไตจ้วง เป็นผลสำเร็จตามแผนลวงที่กำหนด เมื่อปี พ.ศ.๙๐๑

หลักฐานประวัติศาสตร์ ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า ระหว่างปี พ.ศ.๙๐๑-๒ ได้เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อยึดครองแคว้นกวางตุ้ง อีกครั้งหนึ่ง โดย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ส่งกองทัพไปร่วมทำสงคราม ด้วย หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ ได้เสด็จสวรรคต เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๐๑

ตามตำนานท้องที่ภาคใต้ ของไทย ได้กล่าวว่า มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจันทร์ ถูกฮ่องเต้จีน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ลวงไปฆ่า จนต้องสวรรคต ที่ เมืองกวางตุ้ง โดย ฮ่องเต้หยวนตี้ ไม่ยอมส่งพระบรมศพ กลับคืนให้ ทำให้ความสัมพันธ์ ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ราชวงศ์จิ๋น แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน อย่างยาวนาน จึงเกิดสงครามระหว่างกัน อย่างต่อเนื่อง ในเวลาต่อมา

 

 

 

(๑๔) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าจูเจน กรุงพันพาน(พุนพิน)

    ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าจูเจน(พ.ศ.๙๐๑-๙๐๒) กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากสงครามแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง ,กวางสี และ ตาเกี๋ย) โดยเฉพาะ แคว้นกวางตุ้ง ซึ่งได้ถูกกองทัพราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามแย่งชิงไปครอบครองแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๐๑ จนทำให้ จักรพรรดิเทียนชูจันทร์ สวรรคตในสงคราม

สงครามต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๙๐๒ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แห่งราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดน กวางตุ้ง และ แคว้นกวางสี  ของ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ด้วย เป็นเหตุให้ มหาราชาเชียงโฟ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่กองทัพจีน ของ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย ผลของสงครามครั้งนั้น กองทัพของ มหาราชาเชียงโฟ ถูกกองทัพ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ตีโต้ ต้องถอยทัพกลับคืนมา

สงครามครั้งนั้น ตำนานภาคใต้ของไทย กล่าวว่า มหาจักรพรรดิเจ้าจูเจน ต้องส่งกองทัพเรือ จาก สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เข้าหนุนช่วย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ผลของสงครามครั้งนั้น ทำให้ มหาจักรพรรดิเจ้าจูเจน ต้องสวรรคต ในสงคราม ในดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง อีกพระองค์หนึ่ง

 

(๑๕) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

       หลังจาก มหาจักรพรรดิท้าวจูเจน สวรรคต ในสงคราม ณ อาณาจักรไตจ้วง เมื่อปี พ.ศ.๙๐๒ นั้น เป็นเหตุให้ จักรพรรดิเจ้าจันเทียน หรือที่จดหมายเหตุจีนเรียกพระนามว่า จัน-เทียน ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนชูจัน กับ อัครมเหสี จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน(พ.ศ.๙๐๒-๙๑๓) กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง ราชบุรี) เป็น รัชกาลที่ ๑๕ ท่ามกลางสงคราม ระหว่าง กองทัพ ของ ฮ่องเต้หยวนตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ แห่ง ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก กับกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งพยายามส่งกองทัพทำสงครามเข้ายึดครอง แคว้นกวางตุ้ง และแคว้นกวางสี ของ อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน

 

มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ใช้นโยบาย สร้างความแตกแยก ก่อนการทำสงคราม

ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้เลียนแบบการใช้แนวทางนโยบาย ของ ฮ่องเต้ซุนกวน ในอดีต เพื่อผลักดันให้ ชนชาติทมิฬโจฬะ ก่อสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกหลายครั้ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ทำให้ การทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นไปอย่างยืดเยื้อ เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้พยายามส่งขุนนาง ปลอมตัวเป็นพ่อค้า มาสืบสภาพอาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างต่อเนื่อง และพยายาม ดึง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ไปเป็นพวก และ วางแผนแยกสลาย อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ให้แยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อีกครั้งหนึ่ง

ฮ่องเต้หยวนตี้ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้วางกุลอุบายใหม่ เพื่อยุติสงคราม กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี ตาเกี๋ย) เพื่อโดดเดี่ยว สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ด้วยการส่งคณะราชทูตลับ มาเจรจากับ มหาราชาเชียงพันโฟ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) อย่างลับๆ เพื่อแยกสลายแล้วปกครอง และหาทางยุติสงครามต่อกัน โดยเสนอให้ ดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาราชาเชียงพันโฟ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ด้วยª-

เนื่องจาก ฮ่องเต้หยวนตี้ ได้ใช้เล่ห์กล ด้วยการมอบพระราชธิดา ของ ฮ่องเต้หยวนตี้ พระองค์หนึ่ง มาถวายให้เป็นพระชายา ของ มหาราชาเชียงพันโฟ เช่นเดียวกับที่ ฮ่องเต้ซุนกวน เคยใช้สร้างความสัมพันธุ์กับ ขุนพลพันทีมัน ในอดีตอย่างได้ผลมาแล้ว

ฮ่องเต้หยวนตี้ พยายามแสดงความบริสุทธิ์ใจว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มีความสุจริตใจ ต่อ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และต้องการเป็นทองแผ่นเดียวกัน แผนการดังกล่าว ทำให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐเกิดความคลางแคลงใจ ต่อ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ทันที กล่าวหาว่า มหาราชาเชียงพันโฟ เป็นกบฏ จึงเกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ตามแผนการที่ ฮ่องเต้หยวนตี้ กำหนด ในเวลาต่อมา ทันที

 

สงครามกับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ณ สมรภูมิ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

เมื่อข่าวการก่อกบฏ ของ มหาราชาเชียงพันโฟ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ทราบไปถึง มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน ส่งกองทัพ เข้าทำสงครามปราบปราม มหาราชาเชียงพันโฟ ทันทีเมื่อปี พ.ศ.๙๑๒ แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ตามแผนการที่ ฮ่องเต้หยวนตี้ กำหนด ทำให้ มหาราชาเชียงพันโฟ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เตรียมยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงจีนหลิน เช่นกัน

ในขณะที่ มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน ครองราชย์สมบัติได้ประมาณ ๑๑ ปี คือเหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๑๓ กองทัพของ มหาราชาเชียงพันโฟ ได้รับการสนับสนุน จาก กองทัพของ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ร่วมกันยกกองทัพเรือ ของ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) มาโจมตี กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อทำสงครามล้างแค้น กองทัพเรือทั้งสองฝ่าย ปะทะกันอย่างหนัก ผลของสงคราม ครั้งนั้น มหาจักรพรรดิเจ้าจันเทียน ได้รับบาดเจ็บสาหัส และสวรรคต ในปี ดังกล่าว

 

 

 

(๑๖) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ(พ.ศ.๙๑๓-๙๖๖) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ได้พระราชทานชื่อ ภูเขาช้างคัง บริเวณ ทุ่งศรีโพธิ์ เป็นชื่อใหม่ว่า ภูเขาศรีโพธิ์(ภูเขาสายหมอ) และพระราชทานชื่อแคว้นกิ่งดาว(ไชยา) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ตั้งแต่ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ โดยว่าราชการอยู่ที่ กรุงศรีโพธิ์ ซึ่งเป็นที่มาของ คำว่า เสียม ในเวลาต่อมา

 

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่ กลับคืน   

ในรัชกาลนี้ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ซึ่งเป็นอาณาจักรของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ยังตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เช่นเดิม แต่ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(เกาะมินดาเนา) กลายเป็นพันธมิตร ด้วยกัน และได้แยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไปเรียบร้อยแล้ว ตามกลอุบาย ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ โดยเสนอให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) มีอำนาจในการปกครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง อีกด้วย

ในรัชกาลนี้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) จึงทำสงครามกับ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) และ อาณาจักรอ้ายลาว อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นไปตามกุลอุบายที่ ฮ่องเต้หยวนตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นผู้กำหนด คือ สร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ

ในที่สุด มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ได้โปรดเกล้าให้ พระราชโอรสของ มหาราชาเชียงพันโฟ มีพระนามว่า มหาราชาเชียงพันฮูตา ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทำให้ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) กลายเป็น อาณาจักรหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๒๓ เป็นต้นมา อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

ฮ่องเต้หยวนตี้ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน กลายเป็นดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน และ ประเทศเวียตนาม กล่าวตรงกันว่า มหาราชาเชียงพันฮูตา แห่ง อาณาจักรหลินยี่ ได้พยายามส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(ตาเกี๋ย กวางตุ้ง กวางสี และ กวางเจา) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ สงครามยืดเยื้อไปจนถึงปี พ.ศ.๙๒๖ª-

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนเป็นผลสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๙๓๒ ซึ่งขณะนั้น มี ฮ่องเต้อันตี้ ครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน อยู่ที่ เมืองนานกิง ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาภายในดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงขึ้นทันที เมื่อ ฮ่องเต้อันตี้ ถูกถอดถอนออกจากราชย์สมบัติ เพราะพ่ายแพ้สงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องเสียดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ให้กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

ต่อมาไม่นาน มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ สามารถส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืนเป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องสร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

 

              

 ภาพที่-๕๑ โครงสร้างราชวงศ์ไศเลนทร์ ผู้ปกครอง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม)

 

               

 สงครามโพกผ้าเหลือง กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

ประมาณปี พ.ศ.๙๔๒ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้สร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ของ ชนชาติอ้ายไต ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นำกองทัพโดยแม่ทัพ ซุนเอิน(ขุนเอิน แซ่ซุน)เพื่อลุกขึ้นต่อสู้กับกองทัพ ของ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ซึ่งได้ใช้อำนาจปกครอง ยึดครองที่ดินชนชาติอ้ายไต พร้อมกับทำการกดขี่ขูดรีดภาษี ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากในดินแดนดั้งเดิมไปครอบครอง ทหารของฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์จิ๋น ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราม แต่ต้องพ่ายแพ้กลับไป ครั้งแล้วครั้งเล่า

สงครามโพกผ้าเหลือง ครั้งนี้ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) ซึ่งได้รับผลกระทบจากการทำสงครามรุกราน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย จึงได้ทำการจัดตั้ง คณะเชิดหัวเสือ หลายคณะ คล้ายคลึงกับ คณะเชิดหัวสิงห์โต ในสงครามโพกผ้าเหลือง ครั้งก่อน เพื่อทำการออกเรี่ยไรเงินทองจาก ประชาชนชนชาติอ้ายไต ไปสร้างกองทุน สนับสนุนการทำสงครามโพกผ้าเหลือง ครั้งใหม่ จนกลายเป็นประเพณีของ ชนชาติอ้ายไต ในเกาะไหหลำ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

การที่ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทำสงครามปราบปรามกองทัพโพกผ้าเหลือง ครั้งนั้น ทำให้เกิดการขยายตัวของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ออกเป็นกบฏทางเรือ ตลอดแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก ของทะเลจีน กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ตั้งฐานที่มั่นขึ้นหลายแห่ง ตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก มีกองกำลังทั้งทางบก และทางเรือหลายแสนคน โดยการสนับสนุนของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา)

เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๔๒ กองทัพของ มหาราชาเชียงพันฮูตา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ร่วมกับ กองทัพหลักของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ฉวยโอกาสในขณะที่ เกิดสงครามโพกผ้าเหลือง หรือ กบฏชาวนา ของชนชาติอ้ายไต ที่กำลังทำสงครามต่อต้าน มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อย่างได้ผล ได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตังเกี๋ย(แคว้นชิหนาน) กลับคืน จากการครอบครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นผลสำเร็จ

มีหลักฐานว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๙๔๕ กองทัพราชวงศ์จิ๋นตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้พยายามทำสงคราม ปราบปรามกองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กบฏชาวนา ซึ่งนำการต่อสู้โดย ซุนเอิน ที่ลุกขึ้นต่อสู้กับ กองทัพของ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ที่กดขี่ขูดรีดภาษี ชนชาติอ้ายไต กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ตั้งฐานที่มั่นขึ้นหลายแห่ง ตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก มีกองกำลังทั้งทางบกและทางเรือหลายแสนคน ในปีดังกล่าว เกิดการสู้รบกันอย่างหนักจนกระทั่ง แม่ทัพซุนเอิน เสียชีวิต แม่ทัพหลูซุ่น กลายเป็นแม่ทัพ ผู้นำกองทัพโพกผ้าเหลือง คนใหม่ ได้นำกองทัพโพกผ้าเหลือง ทำการต่อสู้ กับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต่อไปª-๑๐

เหตุการณ์สงครามโพกผ้าเหลือง ต่อเนื่องมาจนถึงปี พ.ศ.๙๔๗ ได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาใน ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ แม่ทัพหวนสวน ยกกองทัพเข้าโจมตี เมืองนานกิง อันเป็นราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พร้อมทั้งได้ทำการถอดถอน ฮ่องเต้อันตี้ ออกจากราชย์สมบัติ และตั้งตนเองเป็น ฮ่องเต้หวนสวน ทำให้ แม่ทัพหลิวหยู้ ต้องยกกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม ฮ่องเต้หวนสวน พร้อมทั้งทำการยึดเมืองเจี๋ยนคัง กลับคืนได้สำเร็จ จึงแต่งตั้ง ฮ่องเต้อันตี้ กลับคืน ขึ้นครองราชย์สมบัติ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก ขึ้นใหม่ อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งได้ทำสงคราม ปราบปราบ กองทัพโพกผ้าเหลือง อย่างจริงจัง อีกทั้งได้ส่งกองทัพเข้าทำการปราบปรามรัฐทางเหนือ จนได้รับความสำเร็จ เป็นส่วนใหญ่

ช่วงเวลาดังกล่าว กองทัพของ มหาราชาเชียงพันฮูตา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ร่วมกับ กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ฉวยโอกาสในขณะที่ มีความขัดแย้ง และ เกิดกองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นอีกครั้ง สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี , กวางเจา และตาเกี๋ย) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง แต่ต่อมา ในปี พ.ศ.๙๔๘ แม่ทัพหลิวหยู้ ได้ยกกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ชนชาติอ้ายไต สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน ได้เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

จนกระทั่งในปี พ.ศ.๙๔๙ กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ร่วมกับกองทัพ ของ มหาราชาเชียงพันฮูตา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี และตาเกี๋ย) กลับคืน เป็นผลสำเร็จอีกครั้งหนึ่ง แต่ต่อมาในปี พ.ศ.๙๕๐ แม่ทัพหลิวหยู้ สามารถส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามปราบปราม สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกเช่นกัน

สงครามการแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๙๕๖ เมื่อ มหาราชาเชียงพันฮูตา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ได้สวรรคต ในสงคราม มหาราชาเชียงยังมา ญาติลูกพี่ลูกน้อง เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ต่อมา และได้เสด็จสวรรคต ในสงคราม อีกพระองค์หนึ่ง ทำให้พระราชโอรสของ มหาราชาพันฮูตา มีพระนามว่า มหาราชาเชียงไตเจน(ติเจน) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในรัชกาลถัดมา แต่ด้วยความอ่อนแอของ มหาราชาเชียงไตเจน ในการทำสงคราม พระองค์ต้องสละราชย์สมบัติ ให้กับญาติลูกพี่ลูกน้อง คือ มหาราชาเชียงทอง(ยังมา) พระราชโอรส ของ มหาราชาเชียงไฟ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) ในรัชกาลต่อมาª-๑๑

สงครามโพกผ้าเหลือง ระหว่าง ชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพระพุทธศาสนา กับ ชนชาติจีน ผู้นับถือลัทธิขงจื้อ เพื่อแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ กลายเป็นสงครามที่ยืดเยื้อ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ทั้งสองฝ่าย

ต่อมา ขุนศึกหลิวหยู้ ได้แสร้งเชิญ ฮ่องเต้อันตี้ มาเชิดให้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อีกครั้งหนึ่ง โดยขุนศึกหลิวหยู้ ได้ถือโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าว ช่วงชิงทำสงครามปราบปราม คู่แข่งขันทางการเมือง พร้อมกับได้ทำสงคราม ปราบปรามกองทัพโพกผ้าเหลือง และ กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งถูกส่งไปหนุนช่วย กองทัพโพกผ้าเหลือง อีกด้วย

ขุนศึกหลิวหยู้ ได้ตั้งตนเป็น ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๖๓ เป็นต้นมา ทำให้ สภาพของสงครามโพกผ้าเหลือง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จึงเปลี่ยนแปลงไปทันที เพราะได้เกิดสงครามระหว่าง อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เป็นไปอย่างดุเดือด และต่อมา ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ถูก ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นำมาเป็นเครื่องมือ ในการทำสงครามขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร)

เนื่องจาก เหตุการณ์ในสมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ นั้น ฮ่องเต้หลิวหยู้ ได้ลอกเลียนวิธีการ ของ ฮ่องเต้ซุนกวน ในอดีต เพื่อสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมอบราชธิดา พระนางหนึ่ง ให้มาเป็นพระชายา ของ ราชาพันศรีเทพ ผู้ปกครองแว่นแคว้นแห่งหนึ่ง ของ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) อย่างลับๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด กับ ราชาพันศรีเทพ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ให้กลายเป็นผู้สืบราชการลับ ให้กับ ฮ่องเต้หลิวหยู้ อย่างลับๆ เพื่อให้กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กลายเป็นฝ่ายกระทำในการทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง อยู่ในดินแดนต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ในขณะนั้น

เมื่อ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ มี ราชาพันศรีเทพ ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) สืบทอดมาจาก มหาราชาศรีทรัพย์ สมัยที่ ขุนเทียน ก่อตั้ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งมารับราชการ ณ กรุงพันพาน และต่อมา ได้ไปรับราชการ ณ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เป็นราชาปกครองแว่นแคว้นแห่งหนึ่ง ให้เป็นไส้ศึก คอยส่งข่าวความเคลื่อนไหว ของ กองทัพต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ให้กับ ฮ่องเต้หลิวหยู้ รับทราบอย่างต่อเนื่อง จึงสามารถทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง และ กองทัพของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๖๓ และยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๙๖๖ ชนชาติไต กลายเป็นฝ่ายถูกกระทำ อย่างรุนแรง กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ ชนชาติอ้ายไต ต้องบาดเจ็บล้มตาย เป็นจำนวนมาก

เมื่อ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ทราบความลับต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงร่วมมือกับ ราชาพันศรีเทพ ได้ส่งกองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เข้าโจมตียึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ให้ พระเจ้าพันศรีเทพ(ศรีอินทรวรมัน) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เข้าปกครอง เป็นผลสำเร็จ และเปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) อีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ จักรพรรดิเจ้าจันทัน สวรรคต ในสงครามครั้งนั้น ด้วย หลังจากนั้น พระเจ้าพันศรีเทพ(ศรีอินทรวรมัน) จึงได้ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เมื่อปี พ.ศ.๙๖๖ ทันทีª-๑๒

ส่วน กองทัพ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ จากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ซึ่งได้ยกกองทัพหลัก และ กองทัพหลวง ไปหนุนช่วยสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ครั้งนั้น ผลของสงคราม มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ต้องถอยทัพกลับมา เพราะ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) บาดเจ็บสาหัส และ สวรรคต ระหว่างเสด็จกลับ เมื่อปี พ.ศ.๙๖๖ พระเจ้าพันศรีเทพ จึงอพยพ ชนชาติทมิฬโจฬะ จากเกาะสุมาตรา มาแทนที่

ตำนานท้องที่ไชยา ในคำกลอนกล่อมลูก เรื่อง พระนางแสงดาว ซึ่งกล่าวว่า พระนางแสงดาว สั่งสอนให้ลูกหลานไทย ตีแขก ก่อนตีงู แต่ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ไม่เชื่อฟัง จึงต้องพ่ายแพ้สงครามเพราะการก่อกบฏ ของ พระเจ้าพันศรีเทพ ราชวงศ์แขกทมิฬโจฬะ และเพราะการผิดเหมยบุญ ต่อ ดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว และ จตุคามรามเทพ(พระกฤษณะ) ณ หอคำหลวง สระนาเก บริเวณสวนโมกข์ผลาราม และ ณ เจดีย์พระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ ท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ด้วย

หลังจากสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในดินแดน อาณาจักรโพธิ์หลวง ถูกติดตามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ได้อพยพขึ้นไปทางทิศเหนือ ในดินแดนแคว้นสุวรรณเขต ของ อาณาจักรอ้ายลาว และได้ตั้ง อาณาจักรโพธิ์ใน ของ ชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาใหม่ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

(๑๗) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

       ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์(พ.ศ.๙๖๖) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี) นั้น หลังจากที่ มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์ ได้พ่ายแพ้สงครามต่อกองทัพของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ณ สมรภูมิ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) นั้น จึงต้องรีบถอยทัพกลับมายัง กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) และ ได้ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน ไม่นาน ก็เกิดสงครามระหว่าง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทันที

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง)

เมื่อ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ทราบข่าวว่า มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยมี กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง-ราชบุรี) แคว้นราชคฤห์ อาณาจักรนาคฟ้า เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จึงร่วมมือกับ มหาราชาพันศรีเทพ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) สั่งเคลื่อนกองทัพเรือขนาดใหญ่ จาก อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เข้าโจมตี กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ทันที

กองทัพเรือของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ร่วมกับกองทัพเรือของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตี กรุงจีนหลิน แตกพ่าย มหาจักรพรรดิเจ้าเทียนวงศ์ ครองราชย์สมบัติเพียง ๓ เดือน ก็สวรรคต ในสงคราม ฮ่องเต้หลิวหยู้ ร่วมกับ พระเจ้าพันศรีเทพ สามารถยึดทองคำ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้เป็นจำนวนมาก พร้อมกับได้ทำการเผาพระราชวังหลวง กรุงจีนหลิน จนหมดสิ้น กรุงจีนหลิน ที่บ้านโป่ง จึงร้างไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.๙๖๖ เป็นต้นมา เรื่องราวเหล่านี้ ปรากฏในตำนานคำสอนของคนไทยสมัยโบราณ ซึ่งได้สรุปบทเรียนต่างๆ ให้คนไทย ต้องตีแขก ก่อนตีงูª-๑๓นั่นเอง

 

 

(๑๘) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู กรุงพันพาน(พุนพิน)

       ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู(พ.ศ.๙๖๖-๙๖๗) กรุงพันพาน(พุนพิน) นั้น ได้เกิดสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ อย่างต่อเนื่อง เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ต้องเป็นพันธมิตร กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เพราะมีศัตรู ร่วมกัน คือ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงปรากฏหลักฐาน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในบันทึกของ จดหมายเหตุจีน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ อีกด้วย

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ

      ในช่วงเวลาที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีความขัดแย้งในการแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ นั้น มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ เพื่อร่วมมือกันทำสงครามปราบปราม มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ซึ่งเป็นศัตรู ร่วมกันด้วย

ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคเหนือ เป็นผู้ที่ใช้โอกาส ความขัดแย้ง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ราชวงศ์หลิวซ่ง แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ฉวยโอกาส เร่งส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ณ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน อาณาจักรชวาทวีป ทันที จดหมายเหตุจีนมีบันทึกว่าª-๑๓

...ปีแรก ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้(พ.ศ.๙๖๖) แห่งราชวงศ์เป่ยเว่ย ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับ กรุงพันพาน(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน) ซึ่งมีราชธานี ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของ เกาะใหญ่(เกาะเทียนสน) โดยมีทะเลน้อย(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์) คั่นอยู่กับเกาะใหญ่(เกาะเทียนสน หรือ เกาะทอง) มีอ่าวใหญ่(อ่าวไทย) คั่นอยู่กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียดนาม) ถ้าเดินทางโดยเรือกำปั่น จาก เมืองเกียวเจา มายัง กรุงพันพาน จะต้องใช้เวลาเดินเรือสำเภา ประมาณ ๔๐ วัน

 ประชาชนส่วนใหญ่ใน กรุงพันพาน(พุนพิน) ชอบตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล ประชาชนใน กรุงพันพาน เป็นชนชาติ พวกแย่(ชนพื้นเมืองเทียนเย่ว) ที่กรุงพันพาน(พุนพิน)  ไม่มีการก่ออิฐสร้างกำแพงเมือง เพื่อป้องกันข้าศึก คงใช้แต่เพียงรั้วไม้เท่านั้น ภายในพระราชวังหลวง มหาจักรพรรดิ ประทับแบบครึ่งบรรทม อยู่เหนือเตียงทองคำรูปมังกร ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ต้องคุกเข่าลงอยู่ต่อหน้าพระพักตร์ ลำตัวตรง และต้องใช้มือไขว้ทั้งสองวางอยู่บนบ่า ที่พระราชวังหลวง มีพราหมณ์ชาวอินเดีย มาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อมารับใช้ มหาจักรพรรดิ ในการทำพิธีกรรม จึงได้รับความโปรดปรานจาก มหาจักรพรรดิ เป็นอย่างมาก

ลูกศรที่ใช้อยู่ใน กรุงพันพาน  มีปลายแหลม  ทำด้วยหินแข็งมาก  หอกก็มีใบหอก ทำด้วยเหล็กแหลม  และมีคมทั้งสองข้าง  ในแคว้นพันพาน(พุนพิน) นี้ มีสำนักสงฆ์ และภิกษุอยู่ ประมาณ ๑๐ แห่ง  ท่านเหล่านี้ ศึกษาคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา  ฉันเนื้อสัตว์ แต่ไม่ดื่มเหล้า มีสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งเคร่งครัดมาก นักบวชจะไม่ฉันเนื้อสัตว์ และไม่ดื่มสุรา ประชาชนในกรุงพันพาน(พุนพิน) ชอบเล่าเรื่องผี แต่ไม่ยกย่องนับถือผี มากนัก นักบวชในพระพุทธศาสนา เรียกกันโดยทั่วไปว่า ภิกษุ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งมีคำนำหน้าว่า ท่าน

ข้าราชการชั้นเสนาบดี  มีตำแหน่งเรียกเป็นลำดับ คือ โป-โล-โค-ลัง(พระคลัง) คน-หลุน-ติ-เย(ขุนหลวงเทพ หรือ เจ้าคุณหลวง) คน-หลุน-โป-โร(ขุนหลวงพระ หรือ เจ้าคุณพระ) คน-หลุน-โป-ติ-โส-กัน(ขุนหลวงโพธิ์เทพ หรือ เจ้าคุณเถระ) ในภาษาพื้นเมือง คำว่า คน-หลุน(คุณหลวง) และ คุ-หลง(ครู) มีความหมายเหมือนกัน ใครจะพูดคำไดก็ได้ ขุนนางผู้ปกครอง อาณาจักรต่างๆ เรียกชื่อว่า นา-ยะ-เกีย(นายก) ตรงกับตำแหน่งของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ที่เรียกว่า สือ-ชิ(สมุหนายก) และ เซียน-หลิง(สมุหกลาโหม)...

มีจดหมายเหตุจีน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ยังได้บันทึกอีกว่า ในปี พ.ศ.๙๖๗ สมัย ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ แห่ง ราชวงศ์เป่ยเว่ย ได้บันทึกว่า มหาจักรพรรดิแห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้ส่งคณะราชทูตจาก แคว้นพันพาน(พุนพิน) เพื่อเดินทางไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ ณ เมืองผิงเฉิง อีกด้วย จดหมายเหตุจีน ฉบับนี้ มีเพียงบันทึกเพียงสั้นๆ ว่า...

...ปีที่สอง ในรัชกาลฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ (พ.ศ.๙๖๗) แห่งราชวงศ์เป่ยเว่ย ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน ได้ส่งเครื่องราชบรรณาการ มาถวายแด่ ฮ่องเต้ ด้วย...

      เนื่องจากดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ได้แตกแยกออกเป็น ๒ ก๊ก เป็นส่วนใหญ่ คือ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ และ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ดังนั้น ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เพื่อใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ เป็นเครื่องมือในการทำสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ อย่างต่อเนื่อง ส่วน ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ จะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อใช้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทำสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ด้วย และเมื่อใดที่ มหาอาณาจักรจีน รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จะขาดสะบั้นลงทันที เพราะ มหาอาณาจักรจีน จะทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรอื่นๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครองทันที เช่นกัน

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ณ สมรภูมิ กรุงพันพาน

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู(พ.ศ.๙๖๖-๙๖๗) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพันพาน(พุนพิน-สุราษฎร์ธานี) นั้น ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ พยายามใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ทำสงครามเข้ายึดครองอาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร คือ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) และ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) เพื่อสร้างความแตกแยกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งปกครองโดย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เช่นเดียวกันกับที่ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง ก๊กแคว้นอู๋ ได้ทำสำเร็จ มาแล้ว ในอดีต

การที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร(พันพาน) ได้ส่งคณะราชทูตจากแคว้นพันพาน เดินทางไปสร้างสัมพันธ์ทางการทูต กับ ฮ่องเต้ไท่อู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคเหนือ นั้น ทำให้ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ไม่พอพระทัย เป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ.๙๖๗ ฮ่องเต้หลิวหยู้ แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ร่วมกับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) นำกองทัพเรือใหญ่ เข้าทำสงครามโจมตี กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นผลสำเร็จ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนจู สวรรคตในสงคราม

ส่วน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้เร่งรัด สร้าง สหราชอาณาจักร ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เรียกชื่ออีกว่า สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) อีกครั้งหนึ่ง เพื่ออ้างการเป็นราชวงศ์ไศเลนทร์ ก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) , อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) และ อาณาจักรเวียตน้ำ(หมู่เกาะมินดาเนา) เข้ามารวมกับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กลายเป็น สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) มีราชธานีอยู่ที่ กรุงพนมมันตัน อีกครั้งหนึ่ง

 

(๑๙) สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าเจนศรี กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี)

       ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนศรี(พ.ศ.๙๖๗-๙๗๓) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) นั้น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ อีก จดหมายเหตุจีนบันทึกสั้นๆ ว่า มีคณะราชทูต ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงลังกาสุกะ(ปัตตานี) เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ไมตรี แต่ไม่มีหลักฐานว่า มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีหรือไม่? เนื่องจาก ความสัมพันธ์ทางการทูต ไม่ราบรื่นนัก เพราะ มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ปราบปราบผู้นับถือ พระพุทธศาสนา อย่างรุนแรง

 

สงครามกับ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ณ สมรภูมิ เมืองกาเพ้อ

หลังจากสงคราม ขับไล่ กองทัพของ ฮ่องเต้หลิวหยู้ ผู้ปกครองมหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ให้ต้องถอยทัพออกไปจากดินแดน แคว้นพันพาน และแว่นแคว้นอื่นๆ ริมชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ อาณาจักรชวาทวีป สำเร็จแล้ว ได้เกิดสงครามขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป ต่อไปอีก เพราะ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ร่วมกับ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ได้ส่งกองทัพเข้าครอบครองดินแดนฝั่งทะเลตะวันตก บริเวณ ภูเขาพระนารายณ์ เมืองกาเพ้อ(อ.กะเปอร์ จ.ระนอง) โดยได้ยกกองทัพ เข้ายึดครองดินแดน ของ เมืองกาเพ้อ และ แคว้นปากคูหา(ระนอง) จนสำเร็จ และตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ชนชาติอ้ายไต เรียกประเทศดังกล่าว ว่า ประเทศผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรผัวหมา(พม่า) หรือ อาณาจักรเวียดบก(พม่า) คือ ประเทศพม่า สมัยโบราณ นั่นเอง

      มหาจักรพรรดิเจ้าเจนศรี พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ อยู่หลายปี จนกระทั่ง สวรรคตในสงคราม ราชวงศ์เทียนเสน จึงสิ้นสุดลง ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) จึงขึ้นปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ อีกครั้งหนึ่ง

 

 

                                                    เชิงอรรถ



ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๓

 ª- หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้บันทึกว่า พระเจ้าพันชุน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปยัง เมืองนานกิง ราชธานี ของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่งราชวงศ์ซุน ผู้ปกครอง ก๊กแคว้นอู๋(อาณาจักรวู)  แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ ต่อมา ราชทูตคังไถ และ อุปทูตจูนิง  ซึ่งได้เคยเดินทางมายัง กรุงพนมมันตัน อาณาจักรโจฬะบก(ฟูนันก๊ก) ราชทูตคังไถ ได้ทำการบันทึก เรื่องราวต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ในครั้งสุดท้ายก่อนถูกยึดครองโดย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ว่า...

       "...ที่ อาณาจักรโจฬะบก(ฟูนันก๊ก) เมื่อขุนพลพันทีมัน สวรรคต นัดดาของขุนพลพันทีมัน พระนามว่า ขุนพลฟันจัน ได้ลอบสังหารเจ้าชายจีนเจ้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสของขุนพลพันทีมัน และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ อีกประมาณ ๒๐ ปี ต่อมาพระราชโอรสของขุนพลพันทีมัน พระนาม พันฉัง(พันช่าง) ได้ลอบสังหารขุนพลพันจัน และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่ครองราชย์สมบัติได้ไม่นาน พระราชโอรสของ ขุนพลพันจัน พระนาม พันชุน ได้ลอบสังหารขุนพลฟันฉัง(พันช่าง) อีกครั้งหนึ่ง แล้วขึ้นครองราชสมบัติ โดยได้ส่งคณะราชทูตไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กวู) อีกหลายครั้งระหว่างปี พ.ศ.๘๑๓-๘๒๐ อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้น คณะราชทูตของ อาณาจักรโจฬะบก(ฟูนันก๊ก) ก็หายไปอีกนาน..."

       หลักฐานชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงจีนหลิน ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เมื่อปี พ.ศ.๘๒๐ และในปี พ.ศ.๘๒๑ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ถูก มหาอาณาจักรจีน ภาคเหนือ ทำสงครามปราบปรามจนกระทั่ง ล่มสลาย

 

ª-พงศาวดารไทยอาหม ได้บันทึกเรื่องราวการกำเนิด แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) โดยสรุปว่า

       “...หงิหริงคำ(เจ้าจิวจิ) ได้เสด็จ(จาก อาณาจักรไตจ้วง) มายังประเทศ ของ เทพ(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) แล้วได้มาเสวยราชย์สมบัติ ที่ นยาปุลัข(อาณาจักรชวาทวีป) ณ เมืองกระยาทิพย์(ไชยา) ต่อมา เจ้าดาคำ(จิวเทียนคำแท่ง) ก็ถูกส่งลงมาเช่นกัน ลงมายังดินแดนแห่งผู้ไร้อายุไข(กรุงมิถิลา) เจ้าดาคำ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้า(มหาราชา) แห่งดินแดน ฟ้าร้องและฟ้าแลบ(อาณาจักรชวาทวีป กรุงโกสมพี) ปกครองนาคฟ้า ๘๐๐,๐๐๐ คน

       ต่อมา เจ้าดาคำ(จิวเทียนคำแท่ง) มีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง กับ พระนางแสงดาว มีพระนามว่า เจ้าแท่งคำ(แสงคำ) ซึ่งได้เสด็จมาปกครอง แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) ซึ่งต่อมา เจ้าแท่งคำ(แสงคำ) มีโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าเหมย , ขุนลู และ ขุนไล ต่อมา เจ้าเหมย ได้ปกครอง แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) และ ภูช้างคัง(ภูเขาสายหมอ) ส่วน ขุนลู และขุนไล ได้ไต่บันไดเหล็ก มาสร้างเมืองมังกรี(เมืองมาวหลวง) และ เมืองมังกรัม(เมืองมาว) และได้เสวยราชย์เป็นกษัตริย์ ณ เมืองทั้งสอง(อาณาจักรโกสมพี) ในเวลาต่อมา...

 

ª- กรมศิลปากร พงศาวดารไทยอาหม พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๖-๙

       พงศาวดารไทยอาหม ได้บรรยายถึง สภาพของ พระราชวัง ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ไว้อย่างมากมาย มีข้อความตอนหนึ่ง กล่าวว่า

        “...นครของ มหาราชาผู้ยิ่งใหญ่ แห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) นี้ เปล่งรัศมีอันสดใส เสมือนหนึ่งว่า ได้ฉายแสงออกมาเป็นทองคำ ตามความจริงแล้ว พระราชวัง ทำด้วยทองคำ อันส่องแสงเป็นประกายสดใสขึ้นสู่ท้องฟ้า ราชทูต เล่งเซ็ง ได้สังเกตเห็นว่า ขื่อบนเพดาน ของพระราชวังแคว้นมิถิลา(ไชยา) ประดับประดาด้วยเพชรพลอย และหลังคาฉาบด้วยทองคำ เป็นประกายสดใส อันส่องแสงเป็นประกาย สดใส

        ท้องพระโรงของพระราชวัง ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม มหาราชา(แท่งคำ) แห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) ประทับอยู่บนพระราชวังแปดชั้น อันประดับประดาด้วย รูปภาพของช้าง ต้นไม้ และ พญานาค ซึ่งได้แกะสลักไว้รอบๆ พระแท่น มีพระมู่ลี่ สวยงามประดับประดาไปด้วยทองคำ แขวนอยู่เหนือพระเศียร ของ มหาราชา ผู้ยิ่งใหญ่...

       พงศาวดารไทยอาหม ได้บรรยายถึง สภาพของ พระราชวังหลวง ของ เมืองจีนหลิน(บ้านโป่ง) ซึ่งเป็นเมืองมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ไว้อย่างมากมาย มีข้อความตอนหนึ่ง กล่าวว่า

        “...เมืองเล็งดอน(บ้านโป่ง) เป็นเมืองสูงสุด(เมืองมหาจักรพรรดิ) พระราชวังหลวง ของ เมืองนี้เปล่งรัศมีอันสดใส ผู้ใดมองแล้ว สายตาจะพร่ามัวไปหมด มีภาพสลักของช้าง อันมีขอบทองขัดเงาอยู่บนกำแพงเมือง อันส่องแสงสดใส อาคารบ้านช่องในเมืองเต็มไปด้วยทองคำ เวลามองดูพระราชวัง สายตาจะพร่ามัวไปหมด หลังคาพระราชวังหลวง ก็ฉาบด้วยทองคำ ขื่อก็สร้างด้วยทองคำ ประดับประดาไปด้วยเพชรนิลจินดา ซึ่งฉายแสงเป็นประกาย มหาจักรพรรดิท้าวเล็งดอน(มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน) ประทับอยู่บนบัลลังเก้าชั้น และมีรัศมีสามารถแปล่งแสงออกมาจากพระวรกาย ของ ท้าวเล็งดอน(มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน) ด้วย...

 

ª- สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ สกว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๔ หน้าที่ ๕๘-๕๙

กรมศิลปากร พงศาวดารไทยอาหม พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๕-๑๗

 

ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๐-๑๒๑

 

ª-  อ่านรายละเอียดได้จาก ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ โดย สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ จัดพิมพ์โดย สกว. และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๔

 

ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๓

        ฮ่องเต้หยวนตี้ ราชวงศ์จิ๋นตะวันออก(ราชวงศ์ตงจิ๋น) แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ส่งคณะราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เมื่อปี พ.ศ.๙๑๕ ซึ่งขณะนั้น มหาราชา ซึ่งมีพระนามว่า เชียงพันโฟ ราชทูตจีน ได้บันทึกถึงสภาพของนครหลวงของ อาณาจักรหลินยี่ คือ เมืองจามปา ในขณะนั้น ว่า

...ปีที่ ๕๕(พ.ศ.๙๑๕) ในรัชกาลฮ่องเต้หยวนตี้ มีคณะราชทูตได้เดินทางไปยัง อาณาจักรหลินยี่ กรุงจามปา ได้บันทึกถึงสภาพ กรุงจามปา อันเป็นราชธานีของ อาณาจักรหลินยี่ ว่า ที่ กรุงจามปา เมืองราชธานี ของ อาณาจักรหลินยี่ นั้น ชาวเมืองสร้างผนังบ้านด้วยอิฐเผา และฉาบปูนอีกครั้งหนึ่ง บ้านทั้งหมดมีลานบ้านอยู่ข้างบน เรียกกันว่า กันลาน ซึ่งภาษาจามปา เรียกว่า กะลัน ประตูหน้าบ้าน ส่วนใหญ่ มักหันไปทางทิศเหนือ แต่บ้านเรือนบางหลังก็หันไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก โดยไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน

       ประชาชนชาวนครหลวง เมืองจามปา ทั้งหญิงและชาย มีแต่เพียงผ้าฝ้ายเพียงผืนเดียวเพื่อห่อหุ้มร่างกาย เรียกกันว่า กิเป ชาวจามปา ชอบเจอะหู เพื่อที่จะห้อยห่วงเล็กๆ(ตุ้มหู) ผู้ดีจะสวมรองเท้าหนัง แต่พวกไพร่จะเดินเท้าเปล่า ซึ่งเป็นประเพณีที่ใช้กันทั่วไป เหมือนกับในดินแดนของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ)

มหาราชา ของ อาณาจักรหลินยี่ ทรงสวมพระมาลาทรงสูง ประดับด้วยดอกไม้ทอง และ พู่ไหม เมื่อพระองค์เสด็จออกจากพระราชวัง ก็จะทรงช้าง มีขบวนแห่แหน ประกอบด้วยการเป่าสังข์ และตีกลอง นำหน้าขบวนเสด็จ พระราชาทรงมีกลด ทำด้วยผ้ากิเป กั้น และล้อมรอบไปด้วยข้าราชบริพาร ซึ่งถือธงทำด้วยผ้าชนิดเดียวกัน

งานสมรสของประชาชนชาวเมืองจามปา มักจะมีขึ้นในเดือนแปด ที่นี่มีประเพณีที่ผู้หญิงจะต้องขอผู้ชายแต่งงานด้วย(ตามประเพณีที่สืบทอดมาจากเมืองจามปา แคว้นอังคะ อินเดีย) เพราะยึดถือกันว่า สัตรีเป็นเพศที่ต้อยต่ำกว่าผู้ชาย ผู้ที่อยู่ในสายสกุลเดียวกัน อาจจะสมรสกันก็ได้ ชาวจามปา มีนิสัยชอบสู้รบ และโหดร้าย อาวุธที่ใช้คือ คันศร และธนู ดาบ หอก และหน้าไม้ ที่ทำด้วยไม้ไผ่ เครื่องดนตรีที่ใช้ ก็มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีของชนชาติจีน คือพิณ ๕ สาย ขลุ่ย ฯลฯ นอกจากนี้เขายังใช้หอยสังข์ และกลอง เพื่อใช้ในงานการป่าวประกาศ ชนชาติจามปา มี นัยน์ตา ลึก จมูกตรงโด่ง(จากพันธ์แคว้นอังคะ) ผมดำหยิก สัตรีเกล้าผมไว้เหนือศีรษะ มีรูปร่างคล้ายกับค้อน

พิธีถวายพระเพลิงพระศพ ของ พระราชา จะมีขึ้นภายหลังจากที่ได้สวรรคตแล้ว ๗ วัน ส่วนพิธีเผาศพของขุนนาง จะมีขึ้นหลังจากสิ้นชีวิตไปแล้ว ๓ วัน ส่วนของประชาชนทั่วไป จะต้องเผาศพในวันรุ่งขึ้นทันที ไม่ว่าจะตายอย่างไร ซากศพจะถูกห่อหุ้มอย่างเรียบร้อย นำไปยังริมฝั่งทะเล หรือฝั่งแม่น้ำ โดยมีการตีกลอง และร้องรำประกอบ ต่อจากนั้นจึงนำศพไปเผาบนเชิงตะกอน ซึ่งผู้รับใช้เป็นผู้จัดตั้งขึ้น ผู้ที่เป็นญาติ ทั้งหญิงและชาย จะเดินตามขบวนศพ(เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติ ใน แคว้นอังคะ ของ อินเดีย)

       ในการเผาพระบรมศพของพระราชา กระดูกที่เหลือจากการเผาไฟ จะถูกเก็บไว้ในภาชนะทองคำ อีกส่วนหนึ่งจะนำไปโยนไว้ในทะเล สำหรับกระดูกของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ กระดูกส่วนหนึ่งจะนำไปเก็บไว้ในภาชนะเงิน ส่วนที่เหลือจะนำไปทิ้งที่ปากแม่น้ำ สำหรับผู้ที่ไม่มีบรรดาศักดิ์ ก็จะเก็บกระดูกใส่ภาชนะดินเผา ส่วนที่เหลือจะนำไปทิ้งในแม่น้ำ ผู้ที่ตามไปทิ้งกระดูกที่แม่น้ำ จะต้องตัดผมของตนเองก่อนออกจากฝั่งแม่น้ำ สิ่งนี้เป็นสิ่งเดียวที่แสดงถึงการไว้ทุกข์อย่างสั้นๆ อย่างไรก็ดี ยังมีสตรีที่ไว้ทุกข์ตลอดชีวิตของตน ในอีกรูปแบบหนึ่ง คือการโกนผมของตนเองออก แม้ว่าผมขึ้นแล้ว ก็จะโกนผมออกอีก สตรีเหล่านี้คือแม่หม้าย ที่ไม่ต้องการที่จะแต่งงานอีกต่อไป...

 

ª- ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๔

 

ª-๑๐  ทวีป วรดิลก ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ หน้าที่ ๒๓๕-๒๓๖

 

ª-๑๑  ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จัดพิมพ์ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒๔-๑๒๕

 

ª-๑๒  ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๖

       หลักฐานจดหมายเหตุจีน สมัย ฮ่องเต้หลิวหยู้ ราชวงศ์หลิวซ่ง แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ บันทึกว่า มหาราชาพันศรีเทพ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ จดหมายเหตุจีน ได้มีการบันทึกถึงเรื่องราว การขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ มหาราชาศรีอินทร์วรมัน(พันศรีเทพ) มีบันทึกว่า...

       “...ปีที่ ๓ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้หลิวหยู้(ปี พ.ศ.๙๙๖) มีคณะราชทูตจาก อาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) เดินทางมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ท่านราชทูต ได้แจ้งต่อฮ่องเต้ ว่า ก่อนหน้านี้ ผู้ครองราชย์สมบัติของ อาณาจักรพนม(เขมร) ก่อนหน้า มหาราชาจันถัน(จันทร์ทัน) มีพระนามว่า เฉาเจนจู(เจ้าเจนจู) ท่านผู้นี้เคยบวชพราหมณ์อยู่ในประเทศอินเดีย พระองค์ได้เคยไปปกครองแคว้นพันพาน(พุนพิน) แต่ต่อมาได้มีเสียงเรียกร้องจากประชาชน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ให้ไปปกครอง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เฉาเจนจู(เจ้าเจนจู) เป็นผู้เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ทุกอย่าง ให้เป็นไปตามแบบอย่าง(รัฐทางพระพุทธศาสนา) ของ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) และ ผู้ครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลปัจจุบัน มีพระนามว่า ชีลีเทปะโม(พันศรีเทพ) 

       ราชทูตเล่าว่า อาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) มีมหาราชา มีพระนามว่า ศรีเทพ(พันศรีเทพ) และมีพระนามเดิมว่า โกณฑัญญะ(เกียวเชนหยู) พระองค์เป็นพราหมณ์ มาจากประเทศอินเดีย พระองค์ได้รับโองการจากพระเจ้าว่า ให้เจ้าเดินทางลงไปครอง กรุงพนม(พนมมันตัน-เขมร) พระองค์มีความ ปลื้มติ มาก จึงเดินทางจากอินเดีย มารับราชการที่ แคว้นพันพาน(พุนพิน) ต่อมา เมื่อชาวพนมมันตัน(เขมร) ทราบข่าว จึงชวนกันเดินทางมายัง กรุงพันพาน(พุนพิน) เพื่อเชิญพระองค์ไปเป็นกษัตริย์ปกครอง กรุงพนมมันตัน(เขมร) พระองค์จึงได้ออกเดินทางมาจาก กรุงพันพาน(พุนพิน) ตามคำเรียกร้องของประชาชน และได้ไปเป็นกษัตริย์ปกครอง แคว้นพนมมันตัน(เขมร) ตามคำเรียกร้องของประชาชน พระองค์จึงได้เปลี่ยนแปลงเลิกล้มขนบธรรมเนียมต่างๆ(ประเพณีตามพุทธศาสนา) ที่เคยใช้ใน กรุงพนมมันตัน(เขมร) ให้เป็นไปตามที่มีการใช้อยู่ในประเทศอินเดีย(ศาสนาพราหมณ์) มาแทนที่ ทั้งหมด

       พราหมณ์โกณฑัญญะ (เกียวเชนหยู) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) มีพระนามว่า ชี-ลี-โถ-ปา-โม(ศรีเทพ หรือ ศรีอินทรวรมัน) ซึ่งสืบทอดราชย์สมบัติต่อ จาก พระเจ้าจันทัน พระองค์ได้ส่งคณะราชทูตไปถวายเครื่องราชบรรณาการ แก่ ฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ต่อมา อีก ๓ ครั้ง…”

 

ª-๑๓ คำกลอนกล่อมลูก และ เพลงเรือ เรื่อง พระนางแสงดาว สั่งสอนลูกหลานไทย ให้ตีแขก ก่อนตีงู นิยมร้องในหมู่ผู้สูงอายุ ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีเรื่องราว เนื้อหาคล้ายคลึงกัน คือ สอนลูกหลานไทย ไม่ให้ไว้วางใจ เชื้อสายแขกทมิฬโจฬะ และ แขกทมิฬอาแจ๊ะ มีเรื่องราวโดยสรุป ดังนี้

       พระนางแสงดาว เป็นอัครมเหสี ของ ราชาคำแท่ง ราชวงศ์คำ แห่ง แคว้นโกสมพี(ไชยา) ตั้งพระราชวังหลวง หอคำหลวง อยู่ในพื้นที่ สระนาเก บริเวณสวนโมกข์ผลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน พระนางแสงดาว เป็นผู้ชอบเลี้ยงไก่ฟ้า และนำไข่ มาคิดทำอาหารทอดไข่ดาว เป็นคนแรก ของ ชนชาติอ้ายไต มาใช้เป็นอาหารจนแพร่หลายทั่วไปในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมาพระนางแสงดาว ได้ไปนำเอาเชลยศึกทมิฬโจฬะ จากเมืองสักเวียด มาเป็นข้าทาส รับใช้ในพระราชวัง หอคำหลวง

       ทาสทมิฬโจฬะ ชอบประจบประแจง ประจบสอพลอ มีจิตรใจไม่สุจริต เพราะเป็นสายสืบให้กับ ขุนศึกขุนพลพันทีมัน และ ขุนหลวงศักดา เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ซึ่งวางแผนมาทำสงครามยึดครอง เมืองโกสมพี(ไชยา) ในสมัยสงครามพันทีมัน จนกระทั่ง ราชาคำแท่ง สวรรคต ในสงคราม ณ กลางสระนาลี้เก ในเวลาต่อมา ส่วน พระนางแสงดาว ประทับอยู่ที่ เจดีย์พระกฤษณะ บริเวณภูเขาแม่นางเอ พระนางจึงสามารถหลบหนี รอดชีวิตไปได้ ในขณะที่พระนางทรงพระครรภ์ ต่อมาพระนางได้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า แท่งคำ ได้มารื้อฟื้น แคว้นโกสมพี(ไชยา) กลับคืน

       ในขณะที่ พระนางแสงดาว นำพระราชโอรส เจ้าชายแท่งคำ มารื้อฟื้นแคว้นโกสมพี ขึ้นใหม่นั้น พระนางแสงดาว พร่ำสอน ลูกหลาน อย่างต่อเนื่อง ให้ตีแขก ก่อนตีงู เพราะแขกทมิฬ นั้น ร้ายกว่างู จนกระทั่ง พระนางสิ้นพระชนม์ ลูกหลานได้สร้างเจดีย์เก็บอัฐิไว้ ณ กลางสระนาลี้เก เคียงคู่กับ พระเจดีย์ ของ เจ้าคำแท่ง มีการบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว ด้วยเหมยบุญ ไข่ดาว เรื่อยมา

       จนกระทั่งในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) นั้น เจ้าเจนคำ สืบเชื้อสายมาจาก พระนางแสงดาว ด้วย เนื่องจาก เจ้าเจนคำ ต้องการเปลี่ยนชื่อ แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) จึงได้ไปทำพิธีบวงสรวงเซ่นไว้ ดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว ณ พระเจดีย์พระนางแสงดาว กลางสระนาลี้เก เพื่อขออนุญาต เป็นเหตุให้ ดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว เข้าจับร่าง อัครมเหสี ของ เจ้าเจนคำ ร้องให้ พร่ำสอน ก่อนที่จะอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อ แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ต้องไม่ไว้วางใจ ชนชาติทมิฬโจฬะ ต้องไม่นำมารับราชการ ในดินแดน สุวรรณภูมิ และต้องไม่นำมาเป็นข้าทาส ในพระราชวังหลวง เจ้าเจนคำ ตกปากรับคำ ว่าจะไม่ผิดเหมยบุญ

       ต่อมา ได้มีเชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ ชื่อ พันศรีเทพ เป็นเชื้อสายของ พระเจ้าศรีทรัพย์ ผู้ก่อตั้ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งรับราชการอยู่ที่ อาณาจักรทมิฬโจฬะ อินเดียใต้ นับถือศาสนาพราหมณ์ ซึ่งได้นำครอบครัวลี้ภัยสงคราม มารับราชการอยู่ที่ แคว้นพันพาน มาขอเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ ณ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เพื่อขอไปรับราชการ ณ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) เนื่องจาก แขกทมิฬโจฬะ พันศรีเทพ ผู้นี้ มีนิสัยชอบประจบประแจง ประสบสอพลอ ไม่มีความสุจริต วางแผนเข้ายึดครอง อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร) ของชนชาติอ้ายไต ไปเป็นอาณาจักรของชนชาติทมิฬโจฬะ อีกครั้งหนึ่ง กล่าวกันว่า แม้เพียงคิด ดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว ก็ทราบเรื่อง ความไม่สุจริต ของ แขกทมิฬโจฬะ พันศรีเทพ ผู้นี้แล้ว

       ขณะที่ แขกทมิฬโจฬะ พันศรีเทพ จะเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ นั้น ดวงวิญญาณของ พระนางแสงดาว ได้มาจับร่าง อัครมเหสี ของ มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้ ทหารรักษาพระองค์ ของ พระนาง เข้าตี แขกทมิฬพันศรีเทพ ให้ตาย ก่อนการเข้าเฝ้า ทหารรักษาพระองค์ ปฏิบัติตามคำสั่ง แต่ พบงูใหญ่ เกรงว่า งูจะกัด จึงเสียเวลาในการตีงู เสียก่อน ทำให้ แขกทมิฬโจฬะ พันศรีเทพ เดินทางเข้าเฝ้า มหาจักรพรรดิเจ้าเจนคำ เป็นผลสำเร็จ และได้ไปรับราชการ ณ อาณาจักรโพธิ์หลวง(เขมร)

       ส่วน ทหารรักษาพระองค์ ของ อัครมเหสี ได้กลับไปกราบทูลว่า ไม่สามารถตีแขกทมิฬโจฬะ พันศรีเทพ สำเร็จ เพราะต้องตีงูก่อน เป็นที่มาให้ อัครมเหสี ร้องตะโกนว่า ต้องตีแขก ก่อนตีงู เพราะแขกทมิฬ นั้น ร้ายยิ่งกว่างู คือที่มาของเรื่องราวที่ มหาจักรพรรดิท้าวเจนคำ ผิดเหมยบุญ หรือ ผิดคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้กับดวงวิญญาณ ของ พระนางแสงดาว ทำให้ กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) ถูกข้าศึกทมิฬเข้าโจมตี จนต้องต้องล่มสลาย ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง และคือเรื่องราวหนึ่ง ในหลายๆ เรื่อง ของคำกลอนลายแทงที่ว่า

       ...สระนาลี้เก มีมะพร้าวนาเก ต้นเดียวโนเน ตั้งอยู่กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง ผู้ใดหยั่งถึง คือผู้มีบุญ เอย…”

 

ª-๑๔ ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๒๙-๓๐

 

 

 

 



ª

 

 

 

 

Visitors: 54,238