บทที่ ๑ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัย ราชวงศ์ขุนเทียน

 

      สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๖๙๓ เนื่องจาก จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) กรุงพนมสายรุ้ง สามารถทำสงครามยึดครอง ดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น กองทัพโพกผ้าเหลือง ก็มีชัยในสงคราม ต่อ มหาอาณาจักรจีน เป็นส่วนใหญ่ อาณาจักรไตจ้วง ได้กลายเป็นศูนย์บัญชาการในการทำสงครามโพกผ้าเหลือง ของ ชนชาติไต ขุนเทียน จึงจัดระบบการปกครองใหม่ คลายคลึงกับ ระบบการปกครองแบบสหพันธ์รัฐ ประกอบด้วย ๓ รัฐใหญ่ คือ ประเทศสุวรรณภูมิ , ประเทศชบา(ดินแดนเกษียรสมุทร) และประเทศไตจ้วง(รัฐในดินแดนจีน)

                          

 ภาพที่-๓๗ เทวรูป ท้าวเทพพนม หรือ ขุนเทียน หรือ ท้าวภูบาล หรือ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา ผู้ให้กำเนิด ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ และ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

 

      เมื่อ จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมสายรุ้ง มีพระนามใหม่ว่า ท้าวพันตา เมื่อสวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามว่า ท้าวเทพพนม เนื่องจาก เมื่อขุนเทียน ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมสายรุ้ง นั้น ขุนเทียน ได้ประกาศตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมา โดยแยกออกมาจากราชวงศ์ขุนหลวง เรียกว่า ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ หรือ ราชวงศ์พนม หรือ ราชวงศ์บรรพตภูบาล พร้อมกันนั้น มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ได้ตั้งเมือง ๓ รัฐ ขึ้นมาในท้องที่ เมืองธารา(อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี) และตั้ง สภาตาขุน และ สภาเจ้าตาขุน ตั้งอยู่ที่เมืองเจ้าตาขุนส่วน ราชธานี ซึ่งเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งอยู่ที่ เมืองพนมสายรุ้ง(อ.เขาพนม จ.กระบี่)

      ราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ ในสมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ประกอบด้วย ๖ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์เทพพนม(ขุนเทียน) , ราชวงศ์เทียนเสน , ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) , ราชวงศ์หยาง-โคตะมะ , ราชวงศ์ขุนหลวงจิวใหญ่(ขุนหลวงใหญ่ไกลโศก) และ ราชวงศ์อู่ทอง มี มหาจักรพรรดิ ปกครองตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๙๓-๑๒๒๔ ทั้งหมด ๔๗ รัชกาล เมื่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ล่มสลาย ได้กำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม ขึ้นมาแทนที่

      เรื่องราวของ จตุคามรามเทพในภพที่ ๓ คือเรื่องราวประวัติศาสตร์ชาติไทย ในสมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์อู่ทอง นั่นเอง รายละเอียดเรื่องราวประวัติศาสตร์ ของ สหราชอาณาจักรเทียน แต่ละราชวงศ์ ปรากฏรายละเอียดในหนังสือ สยามประเทศ มิได้เริ่มต้นจากสุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์ขุนเทียน เรียบเรียงโดย นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ ในที่นี้จะนำสาระที่สำคัญ บางส่วนมาเสนอไว้โดยสังเขป เท่านั้น

 

      เรื่องราวของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัย ราชวงศ์เทพพนม(ขุนเทียน) ประกอบด้วย มหาจักรพรรดิ ๕ รัชกาล ตามตารางข้างล่าง มีเรื่องราวโดยสังเขป ดังนี้

 

                

        

                                             

                                          

 

 

                   

                                 ภาพที่ ๓๘ แผนที่สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

 

(๑) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวพันตา กรุงพนมรุ้ง(อ.เขาพนม จ.กระบี่)

 

 

                                               

ภาพที่-๓๙ ภาพเงินตรา หัวนะโม ซึ่งถูกนำมาใช้ในสมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อเนื่องไปจนถึงสมัย สหราชอาณาจักรเสียม และ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ พบทั่วไปในเมืองท่าสำคัญ ริมฝั่งทะเล ภาคใต้ และมักจะพบทั่วไป ในโกศ สำหรับบรรจุ อัฐิ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยรวมอยู่ใน อัฐิ ด้วย

  

กำเนิด ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ต่างๆ

 

มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) มีพระราชโอรส และ พระราชธิดา กับ พระนางราชคฤห์ ซึ่งเป็น มเหสีฝ่ายขวา ๓ พระองค์ คือ เจ้าหญิงพิกุล , เจ้าชายเจตราช(ขุนพันวัง) และ เจ้าชายเสนะราช เรียกสายราชวงศ์นี้ ว่า ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์เจ้าไต โดยตรง สายราชวงศ์นี้จะเป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต่อมา

เจ้าหญิงพิกุล เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา ได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าชายจิวจันทร์(จันทร์ แซ่จิว) แห่ง แคว้นโกสมพี(ไชยา) ต่อมาทั้งสองพระองค์ ได้ไปสร้าง แคว้นเวียงจันทร์ ขึ้นมา ณ เมืองเชียงบาน ทำให้ เมืองเชียงบาน เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เมืองเวียงจันทร์ กลายเป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว แทนที่ เมืองเชียงทอง(หลวงพระบาง) ในเวลาต่อมา

เจ้าชายเจตราช(ขุนพันวัง) ใช้ชีวิต อย่างสับปลับเสเพล มีนางสมถึง ๑,๐๐๐ พระนาง มีพระราชวังถึง ๑,๐๐๐ วัง เป็นที่มาให้ เจ้าชายเจตราช มีพระนามอีกพระนามหนึ่งว่า ขุนพันวัง ซึ่งเป็นที่มาให้เกิดความเสื่อมถอยของรัฐไทย ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ ชนชาติทมิฬโจฬะ ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ บางส่วน ไปครอบครอง ภายใต้การสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ต่อมา ขุนพันวัง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ รัชกาลที่ ๒ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง(ขุนพันวัง) กรุงพนมสายรุ้ง(ภูเขาพนมเบญจา) มีพระราชโอรสที่สำคัญ ๔ พระองค์ คือ เจ้าชายเจตเทียน , เจ้าชายเจตตาล(เจ้าตาขุน) , เจ้าชายเจตไต(มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน) และ เจ้าชายเจตสาร

นอกจากนี้ ขุนพันวัง ยังพระราชโอรสอีก ๒ พระองค์ กับมเหสีฝ่ายซ้าย คือ พระนางโสภา ซึ่งเป็นชนชาติทมิฬโจฬะ มีพระนามว่า พันทีมัน และ พันศักดา(ตาหมิง) ทั้งสองพระองค์ เป็นผู้ทำสงครามก่อกบฏ ต่อ ชนชาติอ้ายไต ภายใต้การสนับสนุน ของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ เป็นเหตุให้เกิดสงครามแย่งชิงดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างยืดเยื้อ ในเวลาต่อมา

เจ้าชายเสนะราช เป็นพระราชโอรสอีกพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) จากมเหสีฝ่ายขวา ต่อมาได้เป็นมหาราชา แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า กรุงกิมหลิน(ราชบุรี) มีพระราชโอรสกับ มเหสีฝ่ายขวา คือ พระนางสิงห์ พระราชธิดาของกษัตริย์แห่งแคว้นทองสิงห์คาม ๒ พระองค์ คือ คือ เจ้าชายเทียนเสน(มหาจักรพรรดิท้าวเทียนเสน) และ เจ้าชายเทียนยี่ กลายเป็น ราชวงศ์เทียนเสน ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

เนื่องจาก เจ้าชายเทียนยี่ สวรรคตในสงคราม ตั้งแต่วัยหนุ่ม จึงไม่มีผู้สืบทอดราชสกุล ส่วน เจ้าชายเทียนเสน เป็นผู้ทำสงครามกู้ชาติ จากการยึดครองของ ทมิฬโจฬะ เป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้น เจ้าชายเสนะราช มีมเหสีฝ่ายขวา พระนาม พระนางหลิน ราชธิดา ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรไตจ้วง มีพระราชโอรส ๕ พระองค์ คือ เสนอ้าย(จีนหลิน) , เสนยี่ , เสนเชน , เสนชัย และ เสนไพ

เจ้าเทียนเสน ยังมีมเหสีฝ่ายซ้าย คือ พระนางแสง เป็นพระราชธิดาของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรฉาน(ไทยใหญ่) มีพระราชธิดา ที่สำคัญ ๑ พระองค์ คือ พระนางแสงดาว ซึ่งต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ เจ้าคำแท่ง พระราชโอรส ของ ท้าวจิวจิ ผู้ปกครองแคว้นโกสมพี(ไชยา) มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายแท่งคำ สายราชวงศ์จากมเหสีฝ่ายซ้ายนี้ ต่อมา พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าแสงลู และ เจ้าแสงไล เป็นผู้สร้าง อาณาจักรศรีชาติตาลู(ปยู) และ อาณาจักรศรีชาติตาลอ(โกสมพี) ซึ่งเป็นอาณาจักรของชนชาติไต ขึ้นมาในดินแดนของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน ด้วย

 

ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ

มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) มีพระราชโอรส-ธิดา จากมเหสีฝ่ายซ้าย เชื้อสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ คือ พระนางโสมา ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายศรีทรัพย์ , เจ้าหญิงโสภา และ เจ้าชายพันจัน ทั้ง ๓ พระองค์ คือผู้เริ่มต้นกระบวนการพัฒนา รัฐของชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ให้ก่อกำเนิดเป็น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ที่มีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็น ประเทศเขมร ในปัจจุบัน

พระนางโสภา พระราชธิดาของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา กับ พระนางโสมา ได้มาเป็นพระชายา ของ เจ้าชายเจตราช หรือ ขุนพันวัง ซึ่งเป็นพี่น้องต่างพระมารดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ต่อมา พระนางโสภา กับ ขุนพันวัง มีพระราชโอรส ที่สำคัญ ๒ พระองค์ คือ เจ้าชายพันมัน(พันทีมัน) และ เจ้าชายศักดา(ตาหมิง) ผู้ก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา นั่นเอง

เจ้าชายพันทีมัน เป็นบุคคลสำคัญที่ถูก ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง ก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) ใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เพื่อทำลายกองทัพโพกผ้าเหลือง ถึงขั้นที่ ฮ่องเต้ซุนกวน ได้มอบราชธิดา พระองค์หนึ่ง มาให้อภิเษกสมรสกับ เจ้าชายพันทีมัน โดย เจ้าชายพันทีมัน ได้มีพระราชโอรสที่สำคัญ ๓ พระองค์ กับ เจ้าหญิงจีน คือ พันจีน , พันยี่ และ พันชั่ง ต่อมา เจ้าชายพันทีมัน เป็นผู้ก่อกบฏ ต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นที่มาให้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างกัน ทำให้ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ของชนชาติทมิฬโจฬะ ได้รับการสนับสนุนจาก มหาอาณาจักรจีน อ้างการเป็นเชื้อสายราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา อย่างต่อเนื่อง

ส่วน ขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ได้อภิเษกสมรสกับ ราชธิดา ของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ เช่นเดียวกัน เป็นผู้ให้กำเนิด อาณาจักรโจฬะน้ำ กรุงโพธิ์ใน ขึ้นในดินแดนของ เกาะชบาใน(เกาะบอร์เนียว) ขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) มี มเหสี หลายพระองค์ จึงมีพระราชโอรส และ พระราชธิดา จำนวนมาก จึงมีบทบาทในสร้าง อาณาจักรโจฬะน้ำ ณ เกาะบอร์เนียว และเป็นเครื่องมือของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ ได้ก่อกบฏ ทำสงครามปราบปรามชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง

 

ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ชนชาติมอญ 

มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ยังมีพระราชโอรส-ธิดา จากมเหสีฝ่ายซ้าย เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติกลิงค์ เป็นชนชาติใหม่ เรียกว่า ชนชาติมอญ คือ พระนางอีสาน มีพระราชโอรสที่สำคัญ ๔ พระองค์ คือ ฟ้าอีสาน , ฟ้าแดด , ฟ้าสูง และ ฟ้ายาง ซึ่งได้ไปสร้าง แคว้นอีสานปุระ หรือ แคว้นกาละศีล(กาฬสินธุ์) ฯลฯขึ้นมาในดินแดน ภาคอีสานของประเทศไทย ในปัจจุบัน จนกลายเป็น อาณาจักรอีสานปุระ เป็นของชนชาติมอญ และได้สืบทอดราชวงศ์มาจนถึง พระเจ้าจิตรเสน และ พระเจ้านันทเสน ผู้ทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ไปครอบครอง เป็นที่มาให้ จตุคามรามเทพ มาประสูติในภพที่ ๓ เป็น ขุนราม เพื่อทำสงครามรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไป

 

ความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ประเทศกรีก

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(พ.ศ.๖๙๓-๗๔๓) กรุงพนมรุ้ง(พนม) ได้มีการส่งเสริมการค้าขาย ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ประเทศอินเดีย และ ประเทศกรีก ปรากฏหลักฐาน ของ ประเทศกรีก คือ บันทึกเรื่องราวการเดินทาง ของ พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเดอร์ ซึ่งได้เดินทางมาค้าขายยังดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ระหว่างปี พ.ศ.๖๙๓-๗๓๕ ได้เดินทางมาค้าขาย ในขณะที่สงครามโพกผ้าเหลือง ยังไม่รุนแรง

หลักฐานบันทึกดังกล่าว อีก ๑๐๐ ปีต่อมา ได้มีชาวกรีก แห่ง เมืองไทร์ อีกคนหนึ่ง มีชื่อว่า มารีนัส ได้รวบรวมข้อมูลของพ่อค้าต่างๆ ที่เดินทางมาค้าขาย รอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวเปอร์เชีย ในประเทศอินเดีย ดินแดนเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับได้ทำการบันทึกข้อมูลเพิ่มเติม ขึ้นอีก

ต่อมา มีชาวกรีกแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย อีกคนหนึ่งมีชื่อว่า คลอดิอุส ปโตเลมี ได้นำข้อมูลบันทึกการเดินทางของ อเล็กซานเดอร์ และการรวบรวมข้อมูลบันทึกของ มารีนัส มาใช้สร้างรูปแผนที่โลกขึ้นจำนวน ๘ เล่ม โดยได้ทำการรวบรวมชื่อเมืองต่างๆ ไว้ประมาณ ๒,๐๐๐ เมือง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายเป็นการอธิบายถึง แผนที่โลก โดยตรง ซึ่งเชื่อกันในสมัยนั้น ว่า โลกแบน ชื่อเมืองต่างๆ ส่วนหนึ่ง คือชื่อเมือง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ นั่นเอง

ในดินแดน เกาะทอง ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรเทียนสน ปโตเลมี ใช้ เมืองปะลิส เป็นเส้นศูนย์สูตร โดย ปโตเลมี ได้ระบุชื่อเมืองต่างๆ คือ เมืองท่า ตาโกลา(กันตัง) , แหลมตาโกลา(ปะเหลียน) , เมืองโกลา โปลิส(เมืองโกลา ปะลิส) , เมืองปาลันดา(เมืองป้าหลินดา ไทรบุรี) , แม่น้ำปาลันดา(แม่น้ำป้าหลินดา) , แหลมมาลิว โคลอน หรือ แหลมโกลา มาลิว(แหลมโกลามาลี-เมืองบัตเตอร์เวิต) , เมืองตาไล ตาโกลัม(เมืองโกลาอำเภอ-สลังงอ) และ เมืองโคกโคนาคนักกรา(เมืองโคกโคนาคกะ-โคกโพธิ์) เป็นต้น

จากชื่อเมืองต่างๆ ที่กล่าวมา ล้วนเป็นชื่อเมืองในดินแดน ของ อาณาจักรเทียนสน แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ทั้งสิ้น แต่ อเล็กซานเดอร์ กล่าวถึง ชื่อเมืองต่างๆ ทางปลายแหลมแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) ไว้น้อยมาก อาจจะเนื่องจาก การเดินเรือสำเภา ในพื้นที่ของ แหลมแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เป็นพื้นที่ ลมสงบ การเดินทางโดยเรือสำเภา ในสมัยนั้นอาจจะไม่สะดวก หรือการค้าไม่คึกคัก อเล็กซานเดอร์ จึงไม่กล่าวถึง

ในดินแดนแผ่นดินทอง ของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) อเล็กซานเดอร์ จะกล่าวถึงชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำ และ ชื่อแหลม เป็นภาษากรีก โดยได้บันทึกถึง ชื่อต่างๆ เช่น แหลมเบอราไบ(แหลมโพธิ์นารายณ์-อ.สิเกา-ตรัง) , ช่องแคบเบอราไบ(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ กันตัง-ปากพนัง) , แหลมที่อยู่ตรงข้ามฝั่งทะเล กับ เมืองตาโกลา(แหลมสุธรรม) , อ่าวเพอริมูล่า(อ่าวไทย) , แม่น้ำคริสโซน่า(แม่น้ำท่าทอง) , เมืองคริสโซน่า(เมืองท่าทอง) , แม่น้ำธารา(แม่น้ำธารา-แม่น้ำตาปี ตอนใต้) , เมืองธารา(บ้านนาเดิม) , เมืองพาริสา(โพธิสาร) , แม่น้ำพาริสา(แม่น้ำโพธิสาร-แม่น้ำตาปี ตอนเหนือ) , เมืองสามรัฐ(สามรัฐ-บ้านนาเดิม) , ปากแม่น้ำโซปาก หรือ ปากแม่น้ำโซปานา(ศรีโพธิ-คลองท่าฉาง) , เมืองท่าเซบาก หรือ เซปานา(ศรีโพธิ์-ไชยา) , ปากแม่น้ำพินธุบาน หรือ ปากแม่น้ำพินทุนสาติ(พินธุสาน-คลองอู่ตะเภา) , เมืองพินโทบาสเต หรือ เมืองพินธุบาน หรือ เมืองพินทุนสาติ(พินธุสาน-ชุมพร) และ เมืองบาลองกา(นาลองกา-ทับสระแก) เป็นต้น©-

 

สงครามโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ ดินแดน มหาอาณาจักรไตจ้วง©-๒

 

ภาพที่-๔๐ แผนที่ แสดงที่ตั้งดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ที่คงเหลือ เมื่อเกิดสงครามโพกผ้าเหลือง กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

 

ปฏิบัติการของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) ซึ่งมี จักรพรรดิท้าวห้าว และ นายกท้าวหาร ซึ่งเป็นพระอนุชา เป็น จักรพรรดิ และ นายก ทำหน้าที่บัญชาการกองทัพโพกผ้าเหลือง อยู่ที่ อาณาจักรไตจ้วง กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ทำการสั่นคลอน ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในสงครามครั้งนั้น อย่างรุนแรง

 

 ภาพที่-๔๑ แผนที่ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรไตจ้วง รัฐภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งเป็นแกนนำในการทำสงครามโพกผ้าเหลือง เพื่อทำสงครามยึดครองดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน

 

ชนชาติไต ได้สร้างพระเพณีการเชิดสิงห์โต เพื่อการเรี่ยไรทรัพย์สินเงินทอง สนับสนุนกองทัพโพกผ้าเหลือง มีการปลุกระดมให้ชนชาติอ้ายไต ให้ร่วมมือกัน ลุกขึ้นจับอาวุธ ทำสงครามขับไล่ข้าศึกจีน ออกจากดินแดนของ ชนชาติไต เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง ในดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศจีน กล่าวว่า มีการขยาย กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ถึงจำนวน ๓๐ กองทัพ มีจำนวนพล กองทัพละ ประมาณ ๗,๐๐๐ คน มีกำลังพลทั้งหมด ประมาณ ๓๖๐,๐๐๐ คน กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ มหาอาณาจักรไตจ้วง ได้เสนอคำขวัญว่า ฟ้าเงิน(ราชวงศ์ฮั่น) จะต้องดับสูญ ฟ้าเหลือง(พุทธศาสนา) จะต้องเข้าแทนที่

 

 ภาพที่-๔๒ แผนที่ แสดงที่ตั้งอาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า คงเหลือเพียง ๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรหนานเจ้า , อาณาจักรยูนนาน , อาณาจักรสิบสองพันนา และ อาณาจักรฉาน(ไทยใหญ่) ซึ่งล้วนยอมรับตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) จาก มหาอาณาจักรจีน เพื่อขอเป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งสิ้น ดังนั้น ในสงครามโพกผ้าเหลือง นั้น มหาอาณาจักรหนานเจ้า จึงมิได้ร่วมทำสงครามโพกผ้าเหลือง ร่วมกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แต่อย่างใด

หลังจากที่ ก๊กขันทีทั้งห้า สามารถทำสงครามปราบปราม กลุ่มปัญญาชน ขุนนางบัณฑิตขงจื้อ เป็นผลสำเร็จ ทำให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง นำพาโดย แม่ทัพจางเจี่ยว , แม่ทัพจางเปา และ แม่ทัพจางเหลียง ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ภายใต้การสนับสนุนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ลุกขึ้นทำสงคราม ต่อต้านการครอบครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต เป็นกระแสใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๑๒ เป็นต้นมา

จักรพรรดิท้าวห้าว แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ร่วมกับ มหาอาณาจักรไตจ้วง ทำการระดมมวลชนหลายแสนคน จากหลายแว่นแคว้น ที่เคยถูก มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามเข้ายึดครอง ในอดีต ให้ร่วมกันลุกขึ้นจับอาวุธ สร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นต่อสู้ และทำสงครามจรยุทธ์ ลอบฆ่าขุนนางราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเป็นเจ้าที่ดิน ผู้ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ ของชนชาติอ้ายไต ซึ่งมีผลประโยชน์จาก ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ และ ค่าเช่านา ที่ยึดไปจากชนชาติอ้ายไต เป็นเหตุให้ ขุนนางราชวงศ์ฮั่น ต้องล้มตายไปเป็นจำนวนมาก กองทัพโพกผ้าเหลือง แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง สามารถทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต กลับคืนจาก ขุนนางศักดินา ราชวงศ์ฮั่น ได้เป็นจำนวนมาก

 

มหาอาณาจักรจีน ในขณะนั้น นำทัพโดย แม่ทัพเหอจิ้น อดีตพ่อค้าขายเนื้อ ซึ่งเป็นพี่ชาย ของ พระพันปีหลวง(พระนางเหอหวงโฮ่) ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ ผู้นำกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ ชนชาติอ้ายไต แต่เมื่อ แม่ทัพเหอจิ้น ซึ่งเป็นฝ่าย เพลี่ยงพล้ำในสงคราม อย่างต่อเนื่อง เรื่อยมา แม่ทัพเหอจิ้น จึงได้ทำการประกาศ รับสมัคร อาสาสมัครทหาร จากการคัดเลือกของเจ้าที่ดินผู้เข้าครอบครองดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต ให้มาร่วมกันสร้างกองทัพจีน เพื่อร่วมกันทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ ชนชาติอ้ายไต เป็นเหตุให้ เกิดการสู้รบกันอย่างยืดเยื้อ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๑๒ เป็นต้นมา เป็นเวลาเกือบ ๒๐ ปี สร้างความสั่นสะเทือนต่ออำนาจของ ฮ่องเต้ฮั่นหลิงตี้ แห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และ ก๊กขุนนางขันทีทั้งห้า เป็นอย่างยิ่ง

กองทัพโพกผ้าเหลือง แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง ได้วางแผนส่งกองทัพเข้ายึดครอง เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) ราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน ในวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ.๗๒๗ แต่แผนการรั่วไหล ในขณะที่มีการส่งสายลับ เข้าไปฝังตัวในเมืองลั่วหยาง โดยที่ขุนนาง ของ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) ชื่อ หม่าเอียนยี่ ได้ติดต่อเพื่อร่วมมืออย่าง ลับๆ กับ ขุนนางขันที ภายในพระราชวังหลวง ให้ร่วมกันก่อกบฏ แต่ถูกทรยศหักหลัง ทำให้ หม่าเอียนยี่ ถูกจับกุม พร้อมไพร่พลอีกประมาณ ๑,๐๐๐ คน ถูกจับเค้นเอาความลับ และถูกประหารชีวิต หลังจากนั้นสายลับต่างๆ ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง เริ่มถูกจับกุมคุมขัง เป็นเหตุให้ จักรพรรดิเจ้าขุนหลวงห้าว แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องเร่งรัดทำสงคราม เข้ายึดเมืองนครหลวง เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) ของ มหาอาณาจักรจีน ก่อนแผนการเดิม ที่กำหนดไว้

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง ซึ่งนำพาโดย แม่ทัพจางเจี่ยว , แม่ทัพจางเปา และ แม่ทัพจางเหลียง ได้ส่งกองทัพเข้ายึด เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) เมื่อ เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ.๗๒๗ ก่อนแผนการที่กำหนดไว้ประมาณ ๑ เดือน พร้อมกับมีการส่งกองทัพเข้ายึดเมืองต่างๆ รอบๆ เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) อันเป็นนครหลวง ของ มหาอาณาจักรจีน และขยายสงครามเข้าสู่เมืองต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำเหลือง และ แม่น้ำฉางเจียง(อาณาจักรเสฉวน) โดยสามารถทำสงคราม เข้ายึดแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต กลับคืนได้ เป็นจำนวนมาก และยังส่งกองทัพเข้ายึด เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) อันเป็นเมืองราชธานี ของ มหาอาณาจักรจีน อีกด้วย

แม่ทัพเหอจิ้น ซึ่งเป็นพี่ชาย ของ พระพันปีหลวง พระนางเหอหวงโฮ่ ซึ่งเป็นลง ของ ฮ่องเต้ฮั่นหลิงตี้ ได้รับโปรดเกล้า ให้เป็นแม่ทัพใหญ่ ผู้นำกองทัพเข้าปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้พยายามทำสงครามเพื่อป้องกัน เมืองลั่วหยาง(ลกเอี๋ยง) อันเป็นเมืองนครหลวง อย่างเต็มความสามารถ แต่ กองทัพของ แม่ทัพเหอจิ้น เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ในระยะแรกๆ ต้องล่าถอย อย่างต่อเนื่อง จึงได้ทำการประกาศ รับอาสาสมัครทหาร จากการคัดเลือก ของ เจ้าที่ดินต่างๆ ให้ร่วมสร้างกองทัพ ทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ที่เข้ายึดครองดินแดนต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ดั้งเดิม กลับคืน

เหตุการณ์ครั้งนั้น แม่ทัพเล่าปี เป็นอาสาสมัครคนหนึ่ง มี แม่ทัพกวนอู เป็นสหายมือขวา เป็นแม่ทัพอยู่ที่แคว้นสู่ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของ อาณาจักรเสฉวน ได้ทำการปราบปรามกองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดน อาณาจักรเสฉวน มีความสามารถในการทำสงคราม ได้รับชัยชนะหลายครั้ง แม่ทัพเล่าปี่ จึงได้รับแต่งตั้งให้ปกครอง แคว้นสู่ ดินแดนส่วนหนึ่งของ อาณาจักรฉาน(ไทยใหญ่) ของ ชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมาด้วย

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า ภายในเวลา ๙ เดือน กองทัพโพกผ้าเหลือง ซึ่งนำทัพโดย แม่ทัพจางเจี่ยว , แม่ทัพจางเปา และ แม่ทัพจางเหลียง ถูกกองทัพของ แม่ทัพโจโฉ(เฉาเชา) และ แม่ทัพซุนกวน ทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง เสียไพร่พลทั้งหมด ประมาณ ๑๘๐,๐๐๐ คน แม่ทัพทั้งสาม เสียชีวิต ในสงคราม เรือสำเภา ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ถูกกองทัพของ แม่ทัพโจโฉ และ แม่ทัพซุนกวน ยึดครองไปเป็นจำนวนมาก เมื่อปี พ.ศ.๗๒๘ ส่วนอาณาจักรเสฉวน ถูกแม่ทัพเล่าปี่ ส่งกองทัพเข้ายึดครองกลับคืนไปเป็นของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ด้วย

ต่อมา ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้ง ของ ขุนศึก ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อย่างรุนแรง ครั้งนั้น เป็นเหตุให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดนของ แคว้นเสฉวน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คน ได้ลุกขึ้นทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณ ปี พ.ศ.๗๓๕ พร้อมกับส่งกองทัพเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ซึ่งเคยเป็นดินแดน ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ส่วน กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดน อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) หลายแสนคน สามารถทำสงครามอย่างได้ผล สามารถเข้าขึ้นยึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง)) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ เช่นกัน อีกทั้งยังสามารถส่งกองทัพโพกผ้าเหลือง เข้ายึดเมือง และแว่นแคว้น ต่างๆ ซึ่งเคยเป็นของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง อำนาจของ แม่ทัพโจโฉ(เฉาเชา) จึงเริ่มสั่นคลอน อีกครั้งหนึ่ง

 

สงครามโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ ลุ่มแม่น้ำไหว ปี พ.ศ.๗๓๖

สงครามโพกผ้าเหลือง ในปี พ.ศ.๗๓๕ ครั้งนั้น ตำนานท้องที่ภาคใต้ ของไทย กล่าวว่า จักรพรรดิเจ้าขุนห้าว แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สวรรคต ในสงคราม นายกเจ้าขุนหาร จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิ แทนที่ ผลของสงครามครั้งนั้น มหาราชาเจ้าจูเหลียน แห่ง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ได้รับบาดเจ็บ จากการทำสงครามยึดครองแคว้นตาเกี๋ย กลับคืน และ สวรรคต ในเวลาต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) เกรงว่า มหาอาณาจักรจีน อาจจะส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ไปอีกอาณาจักรหนึ่ง จึงมอบให้ จักรพรรดิเจ้าขุนหาร จักรพรรดิพระองค์ใหม่ ซึ่งเป็นพระอนุชา นำกองทัพไปป้องกัน อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เพิ่มขึ้นอีก

บันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศจีน บันทึกว่า แม่ทัพต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง เพื่อเข้ายึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) กลับคืนต่อไป ในสงครามโพกผ้าเหลือง แย่งชิงอาณาจักรเสี่ยงให้ เมื่อปี พ.ศ.๗๓๖ นั้น กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ชนชาติไต ถูกกองทัพจีน ฆ่าแบบล้างเผ่าพันธุ์ ซากศพทหาร ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ที่ถูกโยนทิ้งไปในแม่น้ำไหว ได้ทับถมลงไปใน แม่น้ำไหว ในดินแดนของ อาณาจักรเสี่ยงให้ กองทับถมกันมากมาย กลายเป็นทำนพกั้นน้ำ ทำให้น้ำใน แม่น้ำไหว ในดินแดน อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) กลายเป็นแม่น้ำสีเลือด น้ำไม่อาจไหลได้

ในที่สุด แม่ทัพโจโฉ(เฉาเชา) สามารถยึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้ ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืนเป็นผลสำเร็จ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) ผู้ร่วมทำสงคราม จึงได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ปกครองดินแดน อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) โดยเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเสี่ยงให้ เป็นชื่อใหม่ ว่า แคว้นอู๋ อีกครั้งหนึ่ง โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ เมืองนานกิง แม่ทัพซุนกวน จึงเริ่มตั้งตัวเป็นใหญ่ ในดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ของ มหาอาณาจักรจีน เรียกกันว่า ก๊กแคว้นอู๋ หรือ ก๊กซุนกวน(ซุนฉวน) หรือ ก๊กมหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ในเวลาต่อมา

การที่ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) สามารถทำสงคราม เข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี) เข้ามาอยู่ภายใต้การปกครองของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ทำให้กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดนของ อาณาจักรเสี่ยงให้ และ อาณาจักรเสฉวน อยู่ในสภาพถูกปิดล้อม จนกระทั่งในปี พ.ศ.๗๓๖ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) สามารถทำสงครามปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง โดยสามารถฆ่าทหาร กองทัพโพกผ้าเหลือง และประชาชนชนชาติอ้ายไต แบบล้างเผ่าพันธุ์ จำนวนหลายแสนคน ณ อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) เป็นที่มาให้ เชลยศึกชนชาติอ้ายไตส่วนหนึ่ง ต้องเชิดสิงโต รอบๆ มังกร เพื่อเป็นสัญลักษณ์ แสดงความจงรักษ์ภักดี ของ ชนชาติอ้ายไต ต่อ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่นั้นมา

สงครามกองทัพโพกผ้าเหลือง ระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน ยังคงยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๗๓๙ เมื่อ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา กวางตุ้ง กวางสี) ไว้ได้ จักรพรรดิเจ้าขุนหาร สวรรคตใน สงครามโพกผ้าเหลือง ณ อาณาจักรไตจ้วง เป็นเหตุให้ ท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่

 

ต่อมา แม่ทัพซุนกวน ผู้ทำสงครามยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไตไปครอบครอง คือ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ และ นานกิง) และ อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา) โดยสร้างเมืองนครหลวงอยู่ที่ เมืองนานกิง บริเวณปากแม่น้ำฉางเจียง ของ อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) โดยมีกำลังทหารประมาณ ๕๐,๐๐๐ คน มีพลเมืองประมาณ ๑๑ ล้านคน ได้กลายเป็นก๊กหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งมีพรหมแดนติดต่อกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงยังคงมีสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต อีกต่อไป

 

 

 กำเนิด อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) แทนที่ อาณาจักรจุลนี

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๗๓๓ นั้น เจ้าชายศรีมาระ ซึ่งมีพระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา ได้บวชเป็นพระภิกษุ ในบวรพระพุทธศาสนา มาแล้วประมาณ ๒-๓ พรรษา เรียกว่า ภิกษุศรีมาระ ซึ่งได้เดินทางมาจาริกแสวงบุญในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับทำหน้าที่เป็นพระธรรมทูต เผยแพร่พุทธศาสนา ณ ดินแดนของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ด้วย

เนื่องจากเหตุการณ์ในขณะนั้น ได้เกิดสงครามในดินแดนของ ประเทศอินเดีย ระหว่าง ราชวงศ์อันธาระ กับ ราชวงศ์กุษาณะ จนกระทั่ง ภิกษุศรีมาระ ไม่สามารถเดินทางกลับไปยังประเทศอินเดีย ได้ ทำให้ ภิกษุศรีมาระ ได้ลาสิกขา และขอเข้ารับราชการอยู่ในดินแดนของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) และได้อภิเษกสมรสกับ พระนางหลินยี่ ราชธิดา ของ มหาราชาเจ้าจูเหลียน แห่ง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เจ้าชายศรีมาระ จึงได้รับโปรดเกล้าให้สร้าง แคว้นจามปา ขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) ขึ้นปกครอง อีกแว่นแคว้นหนึ่งเพื่อรองรับผู้อพยพมาจาก เมืองจามปา ประเทศอินเดีย

เนื่องจาก แคว้นอังคะ แห่ง อาณาจักรปาณฑยะ ประเทศอินเดีย มีราชธานี อยู่ที่ เมืองจามปา ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน ดังนั้นเมื่อเกิดสงครามขึ้น เจ้าชายศรีมาระ เป็นผู้อพยพไพร่พลจาก เมืองจามปา ประเทศอินเดีย มาสร้างแว่น แคว้นจามปา ขึ้นมาในดินแดน ของ อาณาจักรจุลนี ระหว่างปี พ.ศ.๗๓๓-๗๓๘ ด้วยการสนับสนุน ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน)

เนื่องจาก กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พ่ายแพ้สงครามโพกผ้าเหลือง ต่อกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน เชื้อสายราชวงศ์ที่สำคัญ สิ้นพระชนม์ ไปจำนวนมาก มหาจักรพรรดิท้าวพันตา เกรงว่า มหาอาณาจักรจีน อาจจะส่งกองทัพเข้าทำสงครามรุกราน อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) และ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) ด้วย จึงชักชวน เจ้าชายศรีมาระ มาเป็นพันธมิตร ร่วมสร้าง อาณาจักรจุลนี ต่อมา แคว้นจามปา กลายเป็นราชธานี ของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) เป็นเหตุให้ อาณาจักรจุลนี ถูกเรียกชื่อว่า อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เปลี่ยนชื่อเป็น อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) ในเวลาต่อมา ด้วย

      ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) พระองค์ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช และเป็น ประธานสภาปุโรหิต เมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ต่อมาเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา เสด็จสวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า ท้าวเทพพนม ด้วย   

 

(๒) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง กรุงพนมรุ้ง(อ.เขาพนม จ.กระบี่)

  

สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ พ่ายแพ้ สงครามโพกผ้าเหลือง

 

     ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง(พ.ศ.๗๔๓-๗๗๙) กรุงพนมรุ้ง(พนมเบญจา) นั้น แม่ทัพโจโฉ(เฉาเชา)ได้ยกกองทัพ ๒๐๐,๐๐๐ คน เข้าโจมตี ก๊กแคว้นอู๋ ของ แม่ทัพซุนกวน ซึ่งมีทหารเพียง ๕๐,๐๐๐ คน เมื่อปี พ.ศ.๗๕๑ ผลปรากฏว่า กองทัพใหญ่ของ แม่ทัพโจโฉ(เฉาเชา) กลับต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน  เป็นที่มาให้ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) แห่ง ก๊กแคว้นอู๋ กรุงนานกิง ยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๗๕๓ พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรไตจ้วง เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นเย่ อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้แตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก อย่างชัดเจน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๕๓ เป็นต้นมา พร้อมกับ ความพ่ายแพ้ ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๕๓ เป็นต้นมา ความพยายามในการทำสงครามยึดครองดินแดน ของ ชนชาติอ้ายไต ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป กลับคืน จึงต้องยุติลง ชั่วคราว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๕๓ เป็นต้นมา

 

ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ มีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิ

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง นั้น พระองค์ได้หันไปเลื่อมใสในพิธีกรรมคุณไส และ การดูหมอ ด้วยร่างทรง ตามวิธีการของผู้นับถือ ศาสนาพราหมณ์ ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ(เขมร) ซึ่งขัดกับคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา โดยตรง เมื่อมีการคัดค้าน มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) จึงได้สั่งปลด ท้าวเสนะราช(ขุนราชคฤห์) ซึ่งเป็นพระอนุชา ออกจากตำแหน่ง จักรพรรดิ เรียบร้อยแล้ว มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) จึงสั่งยุบ สภาตาขุน , สภาเจ้าตาขุน และ สภาโพธิ คงเหลือแต่ สภาปุโรหิต เท่านั้น ้าอา มหาจาเป็นพันธมิตร มาจากประเทศอินเดีย้วย ต่อมา แคว้นจามปา กลายเป็นราชธานี ของ อาณาจักรจุลนี เป็นเหตุให้ อาณาจักซึ่งล้วนเป็นพรรคพวกของ มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ท้าวพันวัง) ทั้งสิ้น อำนาจเผด็จการ จึงเกิดขึ้นในดินแดนของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง ยังได้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาล ให้ มหาจักรพรรดิ สามารถดำรงตำแหน่งได้ตลอดชีวิต อีกด้วย ทำให้ปัญญาชน สมาชิก สภาตาขุน , สภาเจ้าตาขุน ต่างแยกย้ายกันเดินทางกลับแว่นแคว้นดั้งเดิม ของพวกตน เป็นเหตุให้ พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง จาก พระนางโสภา ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ(เขมร) เข้ามามีอิทธิพล อย่างเต็มที่ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงอ่อนแอลงมาก

 

 

                          

ภาพที่-๔๓ แผนที่แสดงที่ตั้ง อาณาจักรต่างๆ ทางทิศตะวันออก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

 

      ในการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ตำนานทุ่งพระยาชนช้าง กล่าวว่า มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) ถูกพระนางโสภา ทำประจบประแจง ทำการปลุกปั่นยุยง จึงได้สั่งโยกย้าย กำลังกองทัพหลัก คือ กองทัพบก ที่ เมืองคีรีรัฐ(อ.คีรีรัฐ) และ กองทัพเรือ ที่ เมืองท่าจูลี้(ท่าโรงช้าง) ได้ถูกโยกย้ายให้ไปตั้งอยู่ที่ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ภายใต้การบัญชาการของ ขุนพลพันทีมัน แม่ทัพอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ จาก มเหสีฝ่ายซ้าย(พระนางโสภา) อีกด้วย

การตัดสินพระทัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) ดังกล่าว ทำให้กำลังทหารของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ เติบโตเข้มแข็ง อย่างรวดเร็ว พร้อมกับความอ่อนแอของ ศูนย์กลางอำนาจรัฐ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และได้กลายเป็นผลร้ายต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา

 

มหาราชาขุนหลวงศักดา ให้กำเนิด อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว)

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง นั้น ได้กำเนิด อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ขึ้นมาด้วย ความเป็นมาของ อาณาจักรโจฬะน้ำ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เดิมที ดินแดน เกาะชบาใน หรือ เกาะบอร์เนียว(โพธิ์ใน) เป็นที่ตั้งรกรากของ ชนพื้นเมืองแขกดำ ซึ่งกินเนื้อมนุษย์ ด้วยกัน ต่อมา เมื่อดินแดนเกษียรสมุทร ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) เป็นผู้ส่งเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ๒ ท่าน คือ ตาหยุง และ ตากูเต ไปสร้างแว่นแคว้นขึ้นในดินแดนดังกล่าว คือ แคว้นตาหยุงปุระ และ แคว้นตากูเต นั่นเอง  

เนื่องจาก ชนพื้นเมืองแขกดำในดินแดน เกาะชบาใน(บอร์เนียว) ชอบล่าหัวมนุษย์ ด้วยกัน จึงไม่มีผู้ใดนิยมเข้าไปตั้งรกรากในดินแดนดังกล่าว ต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) เป็นบุคคลแรกที่พยายาม กวาดต้อนเชลยศึกชนชาติทมิฬโจฬะ ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ให้ไปตั้งรกราก ณ ดินแดนเกาะชบาใน(บอร์เนียว) ทางทิศตะวันตก ของเกาะดังกล่าว พร้อมกับส่งชนชาติทมิฬโจฬะ พระญาติวงศ์ ของ พระนางโสมา เข้าไปปกครองดินแดนดังกล่าว ตั้งแต่ต้นรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ขุนเทียน) คำกลอนกล่อมลูกเรื่อง โพธิ์ต้นเตี้ย ซึ่งนิยมร้องกล่อมเด็ก ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้กล่าวว่า ท้าวพันตา ได้มอบให้ ขุนหลวงศักดา พร้อมพระราชโอรสที่สำคัญ ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายโพธิ์ใน , เจ้าชายโพธิ์เตี้ย และ เจ้าชายพันเชอ ไปร่วมกันสร้างแว่นแคว้นขึ้นมาอีก ๓ แว่นแคว้น ในดินแดน เกาะชบาใน คือ แคว้นโพธิ์ใน(บอร์เนียว) , แคว้นโพธิ์เตี้ย และ แคว้นพันเชอ พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากชื่อ เกาะชบาทวีปใน เป็นชื่อใหม่ว่า เกาะโพธิ์ใน(บอร์เนียว) ดินแดนดังกล่าว จึงได้รับการพัฒนา เรื่อยมา

 

  ภาพที่-๔๔ แผนที่ อาณาจักรโจฬะน้ำ หรือ อาณาจักรตาหมิง ซึ่งกำเนิดขึ้นในดินแดนหมู่เกาะชบาใน(บอร์เนียว) และ หมู่เกาะชบานอก(เกาะซีลีบีช) เป็น อาณาจักรหนึ่งภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ปกครองโดย มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) พระราชโอรสของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง กับ พระนางโสภา

 

ตามบทกลอนกล่อมลูกเรื่อง โพธิ์ต้นเตี้ย ซึ่งได้นำมาปลูกไว้ ณ เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ได้กล่าวถึงได้โพธิ์ต้นเตี้ย ซึ่งนิยมร้องกล่อมเด็ก ในท้องที่ อ.ละ เจ้าชายพันเชอ ไปร่วมกันสร้างแว่นแคว้นขึ้นมาอีก ๓ แว่นแควบุคคลสำคัญ ที่มีบทบาทในการพัฒนา เกาะบอร์เนียว(โพธิ์ใน) จนกลายเป็น อาณาจักรโจฬะน้ำ คือ ขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ พระนางโสภา ผู้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ของ มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) มีพระนามจริงว่า เจ้าชายศักดา มีพระราชประวัติ โดยสรุปว่า เจ้าชายศักดา ประสูติที่ พระราชวังวังนางนาคโสมา บริเวณท้องที่บ้านเนินสูง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เมื่อเติบโตขึ้น ได้รับการศึกษา ตามราชประเพณี ณ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน แห่ง อาณาจักรเทียนสน เจ้าชายศักดา จึงนับถือพระพุทธศาสนา มาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และ ถูกพระสหาย เรียกพระนามเล่น ว่า ตาหมิง จึงถูกประชาชนเรียกพระนามว่า ตาหมิง เรื่อยมา

เมื่อ เจ้าชายศักดา(ตาหมิง) จบการศึกษาขั้นต้น จึงถูกเรียกพระนามว่า ขุนศักดา หรือ ตาหมิง ได้กลับมารับราชการที่ แคว้นโกสมพี(ไชยา) จึงได้รับมอบหมายให้ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นมาเมืองหนึ่ง ตามราชประเพณี มีชื่อว่า เมืองตาหมิง ปัจจุบันคือ บ้านห้วยตาหมิง ตั้งอยู่ใกล้กับ ภูเขาเพลา ในบริเวณตำบลปากหมาก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

เมืองตาหมิง ตั้งอยู่ระหว่าง เมืองสักเวียด(ต.เสวียด อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี) กับ เมืองละแม(อ.ละแม จ.ชุมพร) ต่อมา ขุนศักดา(ตาหมิง) ได้รับโปรดเกล้าให้เป็น อุปราช ของ แคว้นโกสมพี(ไชยา) จนกระทั่งมีพระชนมายุ ครบเกณฑ์ต้องออกผนวช จึงได้ออกผนวช ณ วัดโพธินารายณ์(ยะลา) พร้อมกับได้รับการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เมืองโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน ตามราชประเพณี จึงได้ลาสิกขา ออกไปรับราชการยังดินแดน อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) จึงถูกเรียกพระนามว่า ขุนหลวงศักดา ส่วนประชาชนยังคงเรียกพระนามว่า ตาหมิง เช่นเดิม

อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ถูกจัดตั้งขึ้นมาในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) ปกครองโดย มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) เป็นพระองค์แรก ประกอบด้วย ๕ แว่นแคว้น คือ แคว้นโพธิ์ใน(บอร์เนียว) แคว้นโพธิ์เตี้ย(ปอนเตีย) แคว้นตาหยุงปุระ(ตันหยุงปุระ) แคว้นพันเชอ(บันเจอมาชิน) และ แคว้นตากูเต(กุเต) จึงมีการเปลี่ยนชื่อดินแดนแห่งนี้จากชื่อ แคว้นโพธิ์ใน(เกาะบอร์เนียว) เป็น อาณาจักรโจฬะน้ำ โดยมี เมืองโพธิ์ใน เป็นราชธานี แต่ประชาชนนิยมเรียกชื่อว่า แผ่นดินโพธิ์ใน หรือ ประเทศตาหมิง

จดหมายเหตุจีน จะเรียกชื่อ อาณาจักรโจฬะน้ำ ว่า ตาหมิงก๊ก อีกชื่อหนึ่ง นอกเหนือจากชื่อ เจนละน้ำ(อาณาจักรโจฬะน้ำ) ต่อมา อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) , อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ได้วางแผนก่อกบฏ อย่างลับๆ เพื่อเตรียมทำสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วยการสนับสนุนของ ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ อาณาจักรโจฬะน้ำ จึงหลุดออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัยต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

บทบาทครั้งแรก ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(ตาหมิงก๊ก) คือ การยกกองทัพเรือ เข้าร่วมกับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) เข้าทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี) กลับคืนจากการยึดครองของ มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ คือ ก๊กแคว้นอู๋ ของ แม่ทัพซุนกวน เป็นผลสำเร็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๗๖๕ เป็นที่มาให้ แม่ทัพซุนกวน แห่งก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) ต้องหันมาสนใจ แม่ทัพพันทีมัน และ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ถึงขั้นมอบราชธิดา ๒ พระองค์ ให้เป็นชายา ของ กษัตริย์สองพี่น้อง เพื่อหวังสร้างมิตรไมตรี นำเอาชนชาติทมิฬโจฬะ ไปเป็นเครื่องมือ ในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมา อีกด้วย

 

ราชวงศ์ไศเลนทร์ สายราชวงศ์ทมิฬโจฬะ วางแผน ก่อกบฏ อย่างลับๆ

      ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้ใช้ มหาราชาพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เป็นเครื่องมือในการทำสงครามแย่งยึดอาณาจักรไตจ้วง กลับคืนเป็นผลสำเร็จ และสามารถใช้ชนชาติทมิฬโจฬะ มาใช้เป็นเครื่องมือก่อสงครามขึ้นมาภายในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง 

ดังนั้น ในปี พ.ศ.๗๗๓ แม่ทัพซุนกวน(ซุนฉวน) จึงได้ทำพิธีบรมราชาภิเษก ตั้งตนเป็น ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ เป็นก๊กที่สาม อย่างเป็นทางการ อ้างว่า เพื่อรวบรวมดินแดน มหาอาณาจักรจีน ให้เป็นปึกแผ่น มีเมืองนครหลวงอยู่ที่ เมืองนานกิง แคว้นอู๋(นานกิง , เซี่ยงไฮ้) มหาอาณาจักรจีน จึงแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก อย่างชัดเจน มีฮ่องเต้จำนวน ๓ พระองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๗๓ เป็นต้นมา

เมื่อ ฮ่องเต้ซุนกวน ขึ้นครองราชย์สมบัติ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๗๓ เป็นต้นมา ฮ่องเต้ซุนกวน ได้พยายามส่งคณะราชทูต มาเจริญสัมพันธไมตรีอย่างลับๆ กับ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) เพื่อให้รับรองทางการทูต กับ ก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) ดังนั้น จดหมายเหตุจีน ของ ฮ่องเต้ซุนกวน เมื่อปี พ.ศ.๗๗๔ ได้บันทึกว่า...

"...ปีที่สอง ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ซุนกวน(พ.ศ.๗๗๔) แห่งราชวงศ์วู บันทึกว่า พ้นเขตแดนของก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) ออกไปทางทิศใต้ เป็นแผ่นดินของ หลินยี่ก๊ก(เวียตนามใต้) , ฟูนันก๊ก(เขมร) , และ แผ่นดินตาหมิงก๊ก(ตาหมิงก๊ก-เกาะบอร์เนียว) ทั้งสามก๊ก ต่างส่งคณะราชทูตมาจิ้มก้อง กับ ฮ่องเต้ซุนกวน ทั้งสิ้น..."

หลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มหาราชาพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , มหาราชาศรีมาระ แห่ง อาณาจักรหลินยี่(เวียตนาม) และ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ล้วนเป็นกบฏต่อ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๗๗๔ ก่อนที่ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง จะเสด็จสวรรคต(พ.ศ.๗๗๙) เสียอีก แสดงให้เห็นว่า มหาราชาพันทีมัน วางแผนเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มานานแล้ว โดยที่ มหาจักรพรรดิท้าวเจตราช(ขุนพันวัง) ซึ่งอยู่ในสภาพ ชราภาพ หาได้ทราบเรื่องราวแผนชั่วร้าย แต่อย่างใดไม่

 

(๓)สมัย มหาจักรพรรดิเจ้าตาขุน(ท้าวเจตตาล)

     กรุงเจ้าตาขุน(อ.ตาขุน)

  ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ อินเดีย

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิเจ้าตาขุน(ท้าวเจตตาล) ขึ้นครองราชย์สมบัติ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงเจ้าตาขุน เมื่อปี พ.ศ.๗๗๙ นั้น มหาจักรพรรดิท้าวเจตตาล(เจ้าตาขุน) ได้ส่ง ราชทูตซูวู(ขุนวู แซ่ซู) พร้อมคณะ ให้เดินทางไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกษัตริย์ แห่ง ราชวงศ์มุรุณฑะ แห่ง ประเทศอินเดีย ทันที เพื่อแจ้งให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งได้มี มหาจักรพรรดิ พระองค์ใหม่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับถวายสิ่งของที่ระลึก ตามราชประเพณี

ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดสงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ระหว่าง ราชวงศ์ไศเลนทร์ ๒ ราชวงศ์ คือ สายราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ กับ สายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาด้วย จดหมายเหตุจีน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กซุนกวน) บันทึกเรื่องนี้ ดังนี้©-

"...สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง(ฟูนัน)  ได้ส่งราชทูตซึ่งมีนามว่า ขุนวู แซ่ซู(ซูวู) ให้เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินเดีย โดยราชทูต ขุนวู แซ่ซู(ซูวู) ลงเรือที่ ท่าจูลี้(ถูจูลิ หรือ ท่าโรงช้าง) ราชทูตขุนวู แซ่ซู  ได้เดินทางถึงอินเดีย และเดินทางไปตามแม่น้ำคงคา โดยเดินทางไปถึงนครหลวง แห่ง ราชวงศ์มุรุณฑะ มหาจักรพรรดิอินเดีย ให้การต้อนรับราชทูตขุนวู เป็นอย่างดี พร้อมกันนั้น มหาจักรพรรดิ แห่ง ประเทศอินเดีย ได้ถวายม้าพันธ์อินเดียซิเถียน จำนวน ๔ ตัว มาถวายแด่ มหาจักรพรรดิ พระองค์ใหม่ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง(ฟูนัน) ด้วย พร้อมกันนั้น มหาจักรพรรดิ แห่ง ราชวงศ์มุรุณฑะ ได้ส่งชาวอินเดียมีนามว่า พระเสน(เสนสงฆ์) เดินทางกลับมา พร้อมกับ คณะราชทูต ด้วย แต่ คณะราชทูตซูวู ทราบว่า มีสงครามเกิดขึ้นในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ(สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑) จึงติดอยู่ในประเทศอินเดีย ถึง ๔ ปี จึงสามารถเดินทางกลับมาได้..."

 

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ แคว้นโกสมพี(ไชยา)

เรื่องราวปฏิบัติการก่อกบฏ ของ ราชวงศ์ไศเลนทร์ เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ซึ่งได้ปฏิบัติการก่อกบฏเกิดขึ้นเมื่อ กองทัพของ มหาราชาพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) จำนวน ๓ กองทัพ รับผิดชอบในการเตรียมกองทัพเข้าโจมตี แคว้นพนมรุ้ง(กระบี่) ซึ่งปกครองโดย มหาจักรพรรดิท้าวเจตตาล(เจ้าตาขุน) ขณะนั้น แคว้นเจ้าตาขุน(อ.ตาขุน) ปกครองโดย ท้าวเจตสาร และ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) ปกครองโดย จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน)

ส่วนกองทัพของ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) จำนวน ๒ กองทัพ รับผิดชอบในการเข้าโจมตี แคว้นโกสมพี(จิวจิ-ไชยา) ซึ่งปกครองโดย ราชาจิวคำ(จิวตาคำ) และ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ปกครองโดย ขุนสุวรรณมาลี ซึ่งตั้งพระราชวังหลวงอยู่ที่ เมืองสุวรรณมาลี(คันธุลี) บริเวณ ภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ)

สงครามพันทีมัน ครั้งที่-๑(พ.ศ.๗๗๙) มีการวางแผนเตรียมการอย่างเป็นฝ่ายกระทำ โดยมี ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กแคว้นอู๋-นานกิง) มีส่วนร่วมในการวางแผนทำสงครามให้กับ มหาราชาพันทีมัน เพื่อวางแผนให้ มหาราชาพันทีมัน ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นภาษาทมิฬ ว่า สหราชอาณาจักรพนม(ประเทศฟูนัน หรือ ฟูนันก๊ก) มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ แคว้นพนมมันตัน(สวายเรียง) บริเวณ ภูเขาทมิฬมันตัน(โมตัน) และวางแผนให้ มหาราชาหลวงศักดา(ตาหมิง) ขึ้นเป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรพนม(ประเทศฟูนัน) โดยมี แคว้นช้างให้(คันธุลี) แหล่งทองคำสำคัญในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ แคว้นจักรพรรดิ จึงมีการเรียกสงครามปี พ.ศ.๗๗๙ ครั้งนั้น ว่า "สงครามพันทีมัน ครั้งที่-๑" สงครามครั้งนี้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องเสีย แคว้นโกสมพี(ไชยา) ของ ราชาจิวคำ(เจ้าคำแท่ง) เพียงแคว้นเดียว เท่านั้น

แผนการก่อสงคราม ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ เกิดขึ้นก่อนที่ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง จะสวรรคต หลายปี โดยที่ มหาราชาพันทีมัน และ มหาราชาขุนหลวงศักดา ได้ดำเนินการอย่างลับๆ ด้วยการส่งทหารชนชาติทมิฬ มาฝังตัวที่ เมืองคลองหิต(ครหิต) , เมืองสักเวียด(ต.เสวียด อ.ท่าฉาง) , เมืองตาหมิง(ห้วยตาหมิง) รวมทั้ง เมืองคีรีรัฐนิคม ด้วย ดังนั้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง สวรรคต จริง แผนปฏิบัติการก่อกบฏ จึงเริ่มขึ้น

กองทัพทั้ง ๕ กองทัพ ได้เดินทางนัดพบกัน ณ พระราชวังขุนหลวงศักดา ทุ่งลานช้าง โดยนำกองทัพเรือทั้งหมด มุ่งตรงมายัง ท่าเรือท่าม่วง(บ้านปากกิ่ว ต.วัง อ.ท่าชนะ) ใกล้พระราชวังขุนหลวงศักดา หรือ พระราชวังตาหมิง โดยอำพรางว่า จะเดินทางมาเพื่อเคารพ พระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง ผู้เป็นพระราชบิดา ซึ่งตั้งพระบรมศพ อยู่ที่ เมืองพนมสายรุ้ง แคว้นพนมสายรุ้ง ภูเขาพนมเบญจา อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน เมื่อเดินทางมาถึง ก็นัดหมายปฏิบัติการทำสงครามยึดอำนาจรัฐ ทันที

ในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี กรุงพนมสายรุ้ง ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และ อีกหลายแว่นแคว้นในดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) สามารถจับเชื้อสายราชวงศ์จากเมืองพนมสายรุ้ง ไปเป็นตัวประกัน จำนวนมาก อีกทั้ง แคว้นโกสมพี(ไชยา) ซึ่งปกครองโดย ราชาจิวคำ ถูกตีแตก ราชาจิวคำ สวรรคต ในสงครามพันทีมัน คือเรื่องราวตามคำกลอนลายแทงที่กล่าวว่า

"..น้องเอย เรื่องสระนาลี้เก มีพร้าว(มะพร้าว) ต้นเดียว ตั้งอยู่โนเน(โดดเดี่ยว) กลางทะเลขี้ผึ้ง ฝนตกก็ไม่ต้อง ฟ้าร้องก็ไม่ถึง ผู้ใดหยั่งถึง คือผู้มีบุญเอย..."

      คำกลอนลายแทงดังกล่าวคือเรื่องราวของสงครามพันทีมัน และเรื่องราวการกำเนิด อาณาจักรโกสมพี(แสนหวี-ไทยใหญ่) และ อาณาจักรศรีชาติตาลู(พม่า) ในดินแดนของประเทศพม่า ในปัจจุบัน นั่นเอง

สงครามพันทีมันครั้งที่ ๑ คือสงครามทำลาย แคว้นโกสมพี(ไชยา) เมื่อปี พ.ศ.๗๗๙ นั่นเอง สงครามครั้งนั้น ทำให้ พระนางแสงดาว อัครมเหสี ของ ราชาจิวเทียนคำแท่ง(คำแท่ง) แห่ง ราชวงศ์คำ เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต แห่ง อาณาจักรไทยใหญ่ กำลังทรงพระครรภ์ พระนางกำลังบวงสรวงเซ่นไหว้ จตุคามรามเทพ ในภพชาติพระกฤษณะ อยู่ที่ หน้าถ้ำพระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ พระนางแสงดาว จึงสามารถหลบหนีข้าศึกทมิฬโจฬะ ไปยังแคว้นปากคูหา(ระนอง) พร้อมเชื้อสายพวกราชวงศ์ และไพร่พล ได้สำเร็จ แต่เมื่อทราบข่าวว่า สงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ยังไม่ยุติ พระนางแสงดาว จึงได้ว่าจ้างให้ ชาวรามัญ(ชนชาติกลิงค์ ที่ผสมเผ่าพันธุ์กับชนชาติทมิฬโจฬะ) เพื่อให้เป็นผู้นำทาง เดินทางไปยังอาณาจักรไทยใหญ่ ซึ่งเป็นอาณาจักรของ สายราชวงศ์ พระราชมารดา ของ พระนางแสงดาว ด้วย

 

           

ภาพที่-๔๕ แสดงพื้นที่ ๖ สมรภูมิ สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ตามหมายเลข ๑-๖ ที่แสดง

 

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ กรุงพนมสายรุ้ง(อ.เขาพนม จ.กระบี่)

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ กรุงพนมสายรุ้ง(หมายเลข-๒ ในแผนที่) บริเวณภูเขาพนมเบญจา ท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน เกิดขึ้นเมื่อ มหาราชาพันมัน แห่งอาณาจักรโจรละบก(เขมร) ได้ถือโอกาสดังกล่าว นำกองทัพมาซุ่มซ่อนกำลังไว้ล่วงหน้า ณ ภูเขาพนมสายรุ้ง(ภูเขาพนมเบญจา) และ เมืองกาเพ้อ(กะเปอร์ จ.ระนอง) เมื่อถึงเวลานัดหมาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ขุนนางต่างๆ ต้องเดินทางไปร่วมพิธีสวดพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง ณ บริเวณพระราชวังหลวง ภูเขาพนมสายรุ้ง(ภูเขาพนมเบญจา) บริเวณวัดเทพพนม อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน จึงเป็นโอกาสให้ มหาราชาพันมัน ส่งกองทหารเข้าจับกุมครอบครัวขุนนาง ณ กรุงพนมรุ้ง ไปเป็นตัวประกัน แล้วยกกองทัพเข้ายึดครอง พระราชวังพนมรุ้ง ได้สำเร็จ ท่ามกลางแขกเหรื่อในงานพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง จึงมีการต่อสู้ระหว่างกัน น้อยมาก เพราะมหาราชาพันทีมัน ใช้ตัวประกันครอบครัวขุนนาง และเชื้อพระวงศ์ เป็นโล่กำบัง ส่วนขุนนาง และ สมาชิกสภาปุโรหิต และ ขุนนางต่างๆ สามารถหลบหนีไปได้ บางส่วน

ปฏิบัติการครั้งนั้น มหาราชาขุนพันมัน ใช้เชื้อพระราชวงศ์ ที่ถูกจับกุมได้ มาใช้ต่อรอง จนสามารถจับกุม มหาจักรพรรดิท้าวเจตตาล(เจ้าตาขุน) พร้อมกับเชื้อสายราชวงศ์ ได้สำเร็จ ตามแผนการกำหนด หลังจากนั้น มหาราชาพันทีมัน ก็นำตัวประกัน ซึ่งเป็นเชลยศึก เดินทางลงเรือสำเภา ไปตามแม่น้ำหลวง โดยไม่มีการต่อสู้ เพราะเกรงว่า มหาราชาพันมัน จะสังหาร มหาจักรพรรดิท้าวเจตตาล(เจ้าตาขุน) และ เชื้อสายราชวงศ์ ตัวประกัน อื่นๆ

ขณะที่ มหาราชาพันมัน ปฏิบัติการยึดอำนาจอยู่นั้น จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน) ผู้ควบคุมกองทัพหลวง ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งตั้งประจำอยู่ที่ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) อยู่ระหว่างเดินทางไปตรวจราชการอยู่ที่ ท่าจูลี้(ท่าโรงช้าง) เมื่อทราบข่าว ว่า มีข้าศึกเข้าโจมตี เมืองพนมรุ้ง อันเป็น เมืองราชธานี อีกทั้ง แคว้นโพธิสาร(พันพาน) ก็ถูกกองทัพที่สาม ของ ข้าศึกทมิฬโจฬะ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) เข้าโจมตีด้วย แม่ทัพหลวง จึงส่งกองทัพหลวง ออกทำการต่อสู้ กับข้าศึก พร้อมกับทำการปิดทางเข้าออกของ แม่น้ำหลวง(แม่น้ำโพธิสาร-ภูเขาศรีวิชัย) และ แม่น้ำตาปี(ปากแม่น้ำธารา-บางกุ้ง) เพื่อสกัดกองทัพข้าศึก ทุกช่องทาง อีกทั้งยังส่งกองทัพหลวง เข้าโจมตีกองทัพทมิฬโจฬะ เพื่อมิให้ พระราชวังหลวง ของ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) ถูกข้าศึกยึดครอง อีกด้วย สงครามครั้งนั้น กองทัพที่สาม ของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) สามารถจับประชาชน เมืองโพธิสาร ไปเป็นเชลยศึก ส่วนหนึ่ง แล้วถอยทัพกลับไป เชลยศึกเมืองโพธิสาร เหล่านี้ คือผู้ไปสร้าง แคว้นโพธิสารหลวง ในดินแดน อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา นั่นเอง

ส่วนการรบ ของ กองทัพที่สอง ของ มหาราชาพันทีมัน ซึ่งส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นเจ้าตาขุน(หมายเลข-๓ ในแผนที่) และต้องการจับเชื้อสายราชวงศ์เป็นตัวประกัน ตามแผนที่กำหนด เพื่อการเข้ายึดเมืองเจ้าตาขุน เช่นกัน แต่เนื่องจาก เมืองเจ้าตาขุน ตั้งอยู่ลึกจาก แม่น้ำหลวง(แม่น้ำโพธิสาร) มิได้อยู่ในเส้นทางเดินทางไปเคารพพระบรมศพ ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง ดังนั้นเมื่อกองทัพที่สอง ของ มหาราชาพันทีมัน แห่งอาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้นำกองทัพไปซุ่มซ่อนกำลังไว้ก่อนนั้น เกิดการเสียลับ จากการที่ประชาชนมารายงาน และเนื่องจาก ประชาชนแคว้นเจ้าตาขุน ได้เลี้ยงสุนัข ไว้เพื่อการเฝ้ายาม สุนัขจึงได้เห่า ทหารของข้าศึก ทำให้เกิดการสู้รบกันตั้งแต่กลางคืน จนถึงรุ่งเช้า กองทัพที่สอง ของ มหาราชาพันทีมัน ไม่สามารถตีหักเอาเมืองเจ้าตาขุน ได้ ในที่สุด ต้องถอยทัพกลับไป

ขณะที่ กองทัพที่สอง ของมหาราชาพันทีมัน ต้องถอยทัพกลับไป นั้น ต้องปะทะกับกองทัพหลวง ของ จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน) ตลอดเส้นทาง และยังปะทะกันที่ ปากแม่น้ำหลวง(ภูเขาศรีวิชัย หมายเลขที่-๔ ในแผนที่) เกิดการสู้รบกันอย่างดุเดือด กองทัพที่สอง ของ มหาราชาพันทีมัน ไม่สามารถแล่นเรือออกจากปากแม่น้ำหลวง(ภูเขาศรีวิชัย) ได้

ต่อมา กองทัพที่หนึ่ง ของ มหาราชาพันทีมัน ถอยทัพจากเมืองพนมสายรุ้ง มาพบกับ กองทัพที่สอง ที่ปากแม่น้ำหลวง(ภูเขาศรีวิชัย) จึงมีการใช้ตัวประกัน มหาจักรพรรดิท้าวเจ้าตาขุน(ขุนเจตตาล) และเชื้อสายพวกราชวงศ์ มาต่อรอง เป็นที่มาให้ กองทัพหลวง ของ จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน) ต้องยอมให้กองทัพเรือของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) แล่นเรือออกจากปากแม่น้ำหลวง เข้าสู่อ่าวไทย และสามารถเดินทางกลับสู่ แคว้นพนมมันตัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้สำเร็จ พร้อมกับ มหาจักรพรรดิท้าวเจตตาล(เจ้าตาขุน) พร้อมครอบครัว ของพวกราชวงศ์ เมืองพนมรุ้ง ซึ่งเป็นตัวประกัน

ต่อมา พวกเชื้อสายราชวงศ์ เมืองพนมรุ้ง ซึ่งเป็นเชลยศึก ถูกบังคับให้ไปสร้างเมืองพนมสายรุ้ง ขึ้นใหม่ ในดินแดนของ อาณาจักรคามลังกา ณ เมืองพนมเปญ ในปัจจุบัน คำว่า พนมเปญ แปลว่า เมืองพนมสายรุ้ง ที่เกิดขึ้นใหม่ ชนชาติอ้ายไตซึ่งเป็นเชลยศึก บางส่วนได้หลบหนี ไปตั้งรกรากใหม่ ณ เมืองพนมรุ้ง อาณาจักรอีสานปุระ ส่วนที่เหลือ ถูกขุนพลพันทีมัน บังคับให้นับถือศาสนาพราหมณ์

เชื้อสายราชวงศ์ดังกล่าว ได้ตั้งรกราก ณ กรุงพนมเปญ สืบทอดมาจนถึงสมัยของ พระนางรองเมือง ซึ่งเป็นมเหสี องค์หนึ่ง ของ เจ้าชายศรีนเรนทร ซึ่งได้อพยพไพร่พลชาวเมืองพนมรุ้ง ดั้งเดิม จาก กรุงพนมเปญ ให้ไปตั้งรกรากใหม่อยู่ที่ เมืองนางรอง และได้ร่วมสร้าง ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ราชธานีแห่งใหม่ของ อาณาจักรคามลังกา อีกครั้งหนึ่ง ในสมัย สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ สมัยราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ต่อมา นั่นเอง

 

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ แคว้นช้างให้(คันธุลี อ.ท่าชนะ)

สงครามพันที่มัน ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ แคว้นช้างให้(หมายเลข-๕ ในแผนที่) เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพที่สอง อีกกองทัพหนึ่ง ของ มหาราชาหลวงศักดา(ตาหมิง) ได้ทำสงครามเข้ายึดครอง เมืองไกลลาศ(คลองหลิง) ของ แคว้นช้างให้(คันธุลี) เนื่องจาก เมืองไกลลาศ ทำหน้าที่เก็บภาษีจากการขุดหาทองคำ โดยการแบ่งครึ่งจากทองคำที่หาได้ เมื่อเมืองนี้ถูกกองทัพของ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) เข้าโจมตี เช่นกัน จึงมี คำกลอนลายแทง กล่าวว่า

"...น้องเอย ที่ทุ่งไทรใหญ่ คือเมืองไกลลาศ ใครถึงฆาต? ใครอาสัญ? พวกมัน คือพวกใคร? ที่ทุ่งไทรใหญ่ มีทองสองไห เป็นของใคร? ผู้ใดหัวใส จะได้ทองสองไห เอย..."

เนื่องจาก เมืองไกลลาศ(คลองหลิง) ของ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ในขณะนั้น มีพระราชา ทรงพระนามว่า ขุนสุวรรณมาลี ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ท้าวไกลลาศ โดยตั้งพระราชวังอยู่ที่ เมืองสุวรรณมาลี บริเวณ ภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ)

สงคราม ณ สมรภูมิ แคว้นช้างให้ เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพที่สอง ของ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ซึ่งรับผิดชอบในการเข้าโจมตี เมืองไกลลาศ ประกอบด้วย ๒ กองทัพ คือกองทหารชนชาติทมิฬจาก อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) ที่ปลอมตัวมาขุดหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คลองหิต) และ เมืองไกลลาศ โดยอำพรางทหารไว้อย่างลับๆ เริ่มก่อสงครามก่อน

ส่วนอีกกองทัพหนึ่ง ของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) เป็นกองทัพเรือ ที่ทอดสมออยู่ในคลองกั้นเขต(คลองท่าชนะ) และคลองกลิงค์(คลองหลิง) เพื่อนำกองทัพดังกล่าวเข้าโจมตี เมืองไกลลาศ พร้อมๆ กัน และ เข้ายึด เมืองสุวรรณมาลี ซึ่งเป็นที่ตั้ง พระราชวังหลวง ของ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ณ ภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ) ต่อไป

เมื่อ ขุนสุวรรณมาลี แห่ง แคว้นช้างให้(คันธุลี) ทราบว่า มหาราชาขุนหลวงศักดา ยกกองทัพที่สอง เข้าโจมตีเมืองไกลลาศ ขุนสุวรรณมาลี ก็นำทหารออกทำสงคราม ตีสกัดข้าศึกไว้ แล้วรวบรวมไพร่พล ล้อมข้าศึกไว้ ทำให้กองทัพของ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ไม่สามารถถอยออกจากเมืองไกลลาศ ได้ การรบยืดเยื้อหลายวัน ต่อมา แม่ทัพของ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) กองทัพที่สอง จึงนำทองคำที่ได้จากการเก็บภาษี ๒ ไหใหญ่ ซึ่งยึดมาได้ จากเมืองไกลลาศ นำไปฝังซ่อนเก็บรักษาที่ดงไทรใหญ่ จนกระทั่งกองทัพของ จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน) และ กองทัพจาก แคว้นพันธุ์สาร(หลังสวน) เดินทางเข้ามาหนุนช่วย ทำให้ กองทัพทมิฬโจฬะน้ำ กองทัพที่สอง ต้องพ่ายแพ้สงคราม ในที่สุด

ส่วน มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ซึ่งประทับอยู่ที่ พระราชวังขุนหลวงศักดา บริเวณ ทุ่งลานช้าง(ต.วัง อ.ท่าชนะ) เมื่อทราบว่า กองทัพหลวงจาก แคว้นโพธิสาร(พันพาน) นำทัพโดย จักรพรรดิเจ้าเจตไต(ขุนพันพาน) และ กองทัพจาก แคว้นพันธุ์สาร(หลังสวน) ยกกองทัพเข้ามาทำการปราบปราม กองทัพทมิฬโจฬะ และเข้าปิดล้อม พระราชวัง ของ มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ณ ทุ่งลานช้าง(หมายเลข-๖ ในแผนที่) ภูเขากั้นเขต มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) ต้องรีบฝังทรัพย์สินไว้ในพื้นดิน ก่อนการหลบหนี

ผลของการปิดล้อมพระราชวังของ มหาราชาขุนหลวงศักดา ทำให้ มหาราชาขุนหลวงศักดา และ พระชายา ซึ่งเป็นราชธิดา ของ ฮ่องเต้ซุนกวน พยายามหลบหนีกลับไปยังดินแดน อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) แต่ถูกปิดล้อมทุกด้าน ในที่สุด มหาราชาขุนหลวงศักดา(ตาหมิง) และ พระชายา ต้องยอมจำนน ยอมให้ให้จับกุม และถูกนำมาสอบสวน พร้อมกับนำไปประหารชีวิต ณ ที่ตั้งพระราชวังขุนหลวงศักดา ในเวลาต่อมา ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า "วังขุนหลวงศักดา" หรือ "วังตาหมิง" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือพื้นที่บ้านม่วง อ.ท่าชนะ ซึ่ง ประชาชนขุดพบ ลูกปัดโบราณ จำนวนมาก ในปัจจุบัน นั่นเอง

 

(๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน กรุงโพธิสาร(พันพาน)

 

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน(พ.ศ.๗๗๙-๗๘๒) กรุงโพธิสาร(พันพาน) นั้น ได้เกิดสงครามพันที่มัน กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในหลายสมรภูมิ อย่างต่อเนื่องอีก ๔ ปี คือ สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๒ และ ครั้งที่ ๓ นั่นเอง ในรัชกาลนี้ มีเหตุการณ์สำคัญ ดังต่อไปนี้

 

พระนางแสงดาว ให้กำเนิด เจ้าชายแสงคำ(แท่งคำ)©-๔

ผลของสงครามพันทีมันครั้งที่-๑ เมื่อปี พ.ศ.๗๗๙ นั้น พระนางแสงดาว ต้องหนีภัยสงครามในขณะที่ทรงพระครรภ์ จนกระทั่งในปี พ.ศ.๗๘๐ พระนางแสงดาว พระราชธิดา ของ เจ้าเทียนเสน กับ พระนางแสง แห่ง ราชวงศ์ อาณาจักรไทยใหญ่ ซึ่งเป็นอัครมเหสี ของ ราชาจิวคำ(คำแท่ง) แห่ง ราชวงศ์คำ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ได้ประสูติ เจ้าชายแสงคำ ระหว่างเส้นทางเดินทางไปยังอาณาจักรไทยใหญ่ พงศาวดารไทยใหญ่ บันทึกว่า...

"...อัครมหาเทวี(พระนางแสงดาว) แห่งแคว้นโกสมพี(ไชยา) พระนางทรงตั้งพระครรภ์แก่มากแล้ว วันหนึ่ง พระนาง ได้ไปนอนผึ่งแดด เพื่อรับแสงพระอาทิตย์ และบังเอิญในวันนั้น พระนาง ห่มผ้าคลุมสีแดง นกมหาติลังคะ(กองทัพเรือของชนชาติทมิฬโจฬะ) เกิดบินผ่านเข้ามา ได้คาบนางบินไปไว้ยังป่าหิมวันต์ พระนางตื่นขึ้นมาก็ตกใจร้องเสียงดัง เจ้านกติลังคะ ก็ตกใจเช่นเดียวกัน ถึงกับบินหนีไป อัครมเหสี(พระนางแสงดาว) เมื่อร้องเสียงดังด้วยความตกใจ ก็ประสูติพระราชโอรส และร้องขอความช่วยเหลือ บริเวณนั้น มีฤาษีอิสิตัปปะ บำเพ็ญพรตอยู่ในป่า  ได้ยินเข้า ก็นำพระนาง และพระราชโอรสมาเลี้ยงดู พร้อมกับได้ตั้งชื่อให้กับ พระราชโอรส ของ พระนางว่า แสงอู(แสงคำ) เป็นพระราชโอรส แห่ง ราชวงศ์คำ(เจ้าจิวคำ)...

      ราชาจิวคำ(คำแท่ง) สืบทอดสายราชวงศ์มาจาก สายราชวงศ์จิวจิ แห่ง อาณาจักรไตจ้วง ที่ได้มาสมรสเกี่ยวดองกับ สายราชวงศ์ของ แคว้นโกสมพี(ไชยา) จึงเป็นที่มาให้ แคว้นมิถิลา(ไชยา) เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นชื่อ แคว้นโกสมพี(ไชยา)©- ส่วนจดหมายเหตุจีน จะเรียกชื่อ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ว่า แคว้นจิวจิ(ไชยา) ตามที่เชื้อสายราชวงศ์ไตจ้วง มาปกครอง แคว้นมิถิลา(ไชยา) ด้วย

      ดังนั้น เจ้าจิวคำ(ตาคำ หรือ คำแท่ง) จึงเป็นต้นวงศ์ ราชวงศ์คำ พระองค์หนึ่ง ที่สืบทอดสายราชวงศ์มาถึง เจ้าชายแสงคำ(เจ้าแท่งคำ) ในขณะที่ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ล่มสลายด้วยฝีมือของ กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ สมัยสงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ ต่อมา เจ้าแสงคำ(เจ้าแท่งคำ) เติบโตขึ้น จึงได้อภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงเกศาวดี(พระราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิเจ้าจีนหลิน) มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายแสงเหมย , เจ้าชายแสงลู และ เจ้าชายแสงไล จึงได้ไปปกครอง แคว้นโกสมพี(ไชยา) อีกครั้งหนึ่ง โดยตั้งพระราชวังหลวงอยู่ที่ ภูเขาศรีโพธิ์(ภูเขาสายหมอ) พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) โดยมี เจ้าชายแสงเหมย เป็นผู้สืบทอดราชสมบัติ ปกครอง แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) ในสมัยต่อมา  

      ส่วน เจ้าชายแสงลู และ เจ้าชายแสงไล แห่ง ราชวงศ์คำ ได้รับมอบหมายให้อพยพไพร่พล ไปสร้าง อาณาจักรโกสมพี(ไทยใหญ่) กรุงมาวหลวง ขึ้นใหม่ ในดินแดนของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน คือกระบวนการพัฒนา ของ ราชวงศ์คำ ที่มีพื้นที่พระราชวังหลวง หอคำ เริ่มต้น ณ พื้นที่ สวนโมกข์ผลาราม ในปัจจุบัน ที่ได้ขยายเติบใหญ่ ขยาย อาณาจักรโกสมพี ออกไปอีก ๒ อาณาจักร คือ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู(เพี้ยว) และ อาณาจักรพิง กรุงละมุงไต(ฝาง-เชียงใหม่) พร้อมๆ กับ การเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดน ของ ประเทศพม่า ในปัจจุบัน อย่างรวดเร็ว อีกด้วย

 

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๒ ณ สมรภูมิ อาณาจักรเทียนสน กรุงโพธิ(ยะลา)

เนื่องจาก ภายหลังสงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑ สภาโพธิ แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ที่ เมืองโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ของ อาณาจักรเทียนสน ได้พิจารณาโทษ ของ มหาราชาพันทีมัน ซึ่งไม่ปฏิบัติตาม กฎมณเฑียรบาล ที่กำหนด รวมทั้ง ธรรมราชา ที่กำหนดให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติ คือ ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ราชสังคหะ หรือ พระราชจรรยานุวัตร ๔ ประการ และ จักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ อีกด้วย

ที่ประชุม สภาโพธิ ณ มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ มีมติว่า มหาราชาพันทีมัน มีความผิดจริง จึงสั่งให้ถอดถอน มหาราชาพันทีมัน ออกจากตำแหน่ง แต่ มหาราชาพันทีมัน ขัดขืน สภาโพธิ จึงมีมติให้ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้าทำการปราบปราม อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ทันที เป็นเหตุให้ มหาราชาพันทีมัน ช่วงชิงส่งกองทัพเข้าโจมตี ราชธานี ของ อาณาจักรเทียนสน ทันที เช่นกัน

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๒ จึงเกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่ง เมื่อประมาณปี พ.ศ.๗๘๐ กองทัพชนชาติทมิฬโจฬะ แห่ง อาณาจักรโจฬะน้ำ(เกาะบอร์เนียว) จึงยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นเทียนสน ของ อาณาจักรเทียนสน มีการเผาทำลาย มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ พร้อมกับ ตัดศีรษะ พระภิกษุ ณ วัดโพธิ์นารายณ์ จำนวนมาก ส่วนกองทัพของ อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ได้ยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นช้างให้ เพื่อล้างแค้นให้กับ มหาราชาขุนหลวงศักดา อีกครั้งหนึ่ง ในเวลาไล่เลี่ยกัน จดหมายเหตุจีน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กซุนกวน) ได้บันทึกถึงสงคราม ณ สมรภูมิ อาณาจักรเทียนสน ดังนี้©-๖ 

"...เทียนสนก๊ก(อาณาจักรเทียนสน) ในปัจจุบัน(พ.ศ.๗๘๒) ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ของ อดีตเมืองหลวง(แคว้นพนมรุ้ง) ของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) จากเขตพรมแดนด้านทิศใต้ ของ อดีตเมืองหลวงฟูนันก๊ก(แคว้นพนมรุ้ง) ออกไปอีกกว่า ๓๐๐ ลี้(๑๗๓ กิโลเมตร) ซึ่งตั้งอยู่บนแผ่นดินแรก เมื่อขึ้นจากช่องแคบทะเลน้อยระหว่างมหาสมุทร(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์) ก็คือแผ่นดินเทียนสนก๊ก(อาณาจักรเทียนสน)

เทียนสนก๊ก(อาณาจักรเทียนสน) มีแผ่นดินบก(แหลมมาลายู) ยาวกว่า ๑,๐๐๐ ลี้(๕๗๖ กิโลเมตร) เมืองราชธานี(เมืองโพธิ-ยะลา) ของ เทียนสนก๊ก(อาณาจักรเทียนสน) ตั้งอยู่ห่างจากทะเล ๑๐ ลี้(๕.๗๖ กิโลเมตร) เทียนสนก๊กในอดีต(สหราชอาณาจักรเทียนสน เมื่อปี พ.ศ.๖๘๘) เคยปกครองกษัตริย์ รัฐต่างๆ อีก ๕ พระองค์(รัฐเทียนสน , รัฐชวาทวีป , รัฐนาคฟ้า , รัฐนาคดิน และ รัฐยวนโยนก) แต่ในปัจจุบัน(พ.ศ.๗๘๒) เป็นที่ยอมรับของกษัตริย์รัฐต่างๆ ทั้ง ๕ พระองค์ ว่า เทียนสนก๊ก  ได้ยอมขึ้นต่อการปกครองของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม-เขมร) เรียบร้อยแล้ว ทิศตะวันออกของ เทียนสนก๊ก(อาณาจักรเทียนสน) คือ แผ่นดินชิหนาน(ตาเกี๋ย) ส่วนทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทียนเจ้าก๊ก(อินเดีย) และ อันชิก๊ก(ประเทศปาร์เทีย)..."

      หลักฐานชิ้นนี้ แสดงให้เห็นว่า ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน กรุงโพธิสาร(พุนพิน) นั้น ขุนพลพันทีมัน ราชวงศ์ทมิฬโจฬะ พี่น้องต่างมารดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน นั้น ได้ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง กรุงโพธิ(ยะลา) แคว้นเทียนสน ราชธานี ของ อาณาจักรเทียนสน เรียบร้อยแล้ว เพื่อกดดันให้ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ยอมขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนัน) กรุงพนมมันตัน ด้วย 

 

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๓ ณ สมรภูมิ กรุงโพธิสาร(พันพาน) ปี พ.ศ.๗๘๓

      สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๓ นั้น คือสงคราม ระหว่าง พระเจ้าพันทีมัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) กับ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน ณ สมรภูมิ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน อีกด้วย ผลของสงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน สวรรคต ในสงคราม

      นายกท้าวเทียนเสน พระราชโอรส ของ จักรพรรดิท้าวเสนะราช เป็นผู้ทำสงครามขับไล่กองทัพข้าศึก ทมิฬโจฬะ จนต้องถอยทัพ กลับไป ดังนั้น ในรัชกาลถัดมา ท้าวเทียนเสน จึงขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น จักรพรรดิท้าวเทียนเสน ว่าราชการอยู่ที่ กรุงโพธิสาร แคว้นพันพาน(พุนพิน) ในรัชกาลถัดมา     

สงครามพันทีมัน ครั้งที่ ๑-๓ นั้น เป็นสงครามยืดเยื้อ ประมาณ ๔ ปี เมื่อ คณะราชทูตซูวู(ขุนวู แซ่ซู) ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ เดินทางกลับ ราชทูตซูวู ก็ถูกจับเป็นเชลยศึก ขณะที่เดินทางกลับมายัง ท่าจูลี้(ท่าโรงช้าง) แคว้นโพธิสาร(พันพาน) พร้อมกับ ขุนพันจัน ซึ่งเป็นพระเจ้าน้า ของ ขุนพลพันทีมัน และถูกนำไปรับราชการเป็นราชทูต ที่ แคว้นพนมมันตัน แห่ง อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ในเวลาต่อมาด้วย

      ภายหลังสงครามครั้งนี้ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ จึงแตกออกเป็น ๒ ก๊ก โดยฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ สนับสนุนให้ มหาราชาพันทีมัน ก่อกบฏทำสงครามยึดครองอาณาจักรต่างๆ แล้วก่อตั้งเป็น สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ขึ้นมาอีกก๊กหนึ่ง

 

                       

ภาพที่-๔๖ แสดง อาณาจักรต่างๆ ๖ อาณาจักร ใต้การปกครองของ มหาจักรพรรดิพันทีมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) กรุงพนมมันตัน 

 

 

 

                         

ภาพที่-๔๗ แสดง อาณาจักรต่างๆ ๙ อาณาจักร ภายใต้การปกครองของ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงกิมหลิน(โพธาราม) หลังจากเกิดกบฏพันทีมัน

 

(๕) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช กรุงกิมหลิน(โพธาราม)

  

มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช ฟื้นฟู สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ

      ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช(พ.ศ.๗๘๒-๗๙๒) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงกิมหลิน(โพธิ์ธาราม-ราชบุรี) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช ต้องทำการฟื้นฟู สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ขึ้นใหม่ นอกจากนั้น นายกเจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ได้ไปสร้าง กรุงจีนหลิน(บ้านโป่ง) ขึ้นใหม่ พร้อมกับได้ทำการฟื้นฟู สภาเจ้าตาขุน และ สภาตาขุน ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

      นายกเจ้าจีนหลิน ได้ทำการฟื้นฟู กองทัพ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ขึ้นใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ส่วน จักรพรรดิท้าวเทียนเสน ได้ว่าราชการอยู่ที่ กรุงโพธิสาร(พุนพิน) แคว้นพันพาน(พุนพิน) ได้เร่งฟื้นฟูกองทัพใหม่ ให้เข้มแข็งขึ้น เช่นกัน ดอน) ได้ไปสร้าง กรุงจีนหลิน ขึ้นีกครั้ง   

      สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในสมัยต้นรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช นั้น คงเหลือ อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นรัฐทางพระพุทธศาสนา ภายใต้การปกครองเพียง ๙ อาณาจักร คือ อาณาจักรเทียนสน(มาลายู) , อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรนาคฟ้า(ภาคกลาง) , อาณาจักรอีสานปุระ(ภาคอีสาน) , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรอ้ายลาว(เวียงจันทร์) , อาณาจักรหลินยี่(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรไตจ้วง(ตาเกี๋ย) และ อาณาจักรไหหลำ(เกาะไหหลำ) ดังนั้น ภาระหน้าที่สำคัญ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ การรักษาอาณาจักรต่างๆ มิให้ถูกยึดครอง และต้องทำสงครามปราบปราม สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) มิให้ตกเป็นเครื่องมือ ของ มหาอาณาจักรจีน ต่อไป    

 

กำเนิด สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ปี พ.ศ.๗๘๒

      ในปลายรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน กรุงโพธิสาร(พันพาน) นั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แตกแยกออกเป็น ๒ ก๊ก โดยฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง มหาอาณาจักรจีนภาคใต้ ได้สนับสนุนให้ มหาราชาพันทีมัน ก่อกบฏทำสงครามยึดครองอาณาจักรต่างๆ ไปครอบครอง แล้วก่อตั้งเป็น รัฐทางศาสนาพราหมณ์ คือ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ขึ้นมาอีกก๊กหนึ่ง ประกอบด้วย อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) , อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) , อาณาจักรคามลังกา(ขอม) , อาณาจักรจามปา(เวียตนามใต้) , อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) และได้ก่อสงครามกับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงโพธิสาร(พันพาน) อย่างต่อเนื่อง จดหมายเหตุจีน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กซุนกวน) ได้บันทึกว่า©-

...มหาจักรพรรดิพระองค์แรก ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ(ฟูนันก๊ก) มีพระนามว่า ขุนเทียน(ฮุนเทียน) พระองค์มีพระชนมายุถึง ๙๐ พรรษา จึงจะสวรรคต พระราชโอรสผู้สืบทอดราชย์สมบัติต่อมา มีพระนามว่า ขุนพันวัง(ฮุนพันฮวง) พระองค์มีพระชนมายุถึง ๙๐ พรรษา จึงสวรรคต เช่นกัน ราชย์สมบัติ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ(ฟูนันก๊ก) จึงตกทอดมาถึง ขุนพันพาน(ฮุนพันพาน) ผู้เป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติได้เพียง ๓ พรรษา ก็สวรรคต(ปี พ.ศ.๗๘๒) ขุนพลฟันจีมัน(พันทีมัน) เป็นผู้ก่อกบฏ และชนะสงคราม พระองค์จึงมีความชอบธรรม ในการขึ้นครองราชย์สมบัติ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม-เขมร) ในรัชกาลถัดมา

ก่อนที่ ขุนพลฟันจีมัน(พันทีมัน) จะขึ้นครองราชย์สมบัติฟูนันก๊ก(พ.ศ.๗๘๒-๗๙๓) นั้น ขุนพลฟันจีมัน(พันทีมัน) ได้ยกกองทัพเข้าปราบปราม รัฐข้างเคียง ไว้ได้ถึง ๕ รัฐ คือ เทียนสนก๊ก(แคว้นเทียนสน-ยะลา) , ฉูตูคุนก๊ก(แคว้นเจ้าตาขุน) , จิวจิก๊ก(แคว้นโกสมพี-ไชยา) , ฉางไห่ก๊ก(แคว้นช้างให้-คันธุลี) และ ฟูนันก๊ก(แคว้นพนมรุ้ง) หลังจากนั้น ขุนพลฟันจีมัน(พันทีมัน) จึงประกาศตั้ง ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม) ขึ้นมาทันที(พ.ศ.๗๘๒)..

ในหนังสือเหลียงซู ได้นำพระราชสาสน์ของ มหาราชาพันทีมัน มาสรุปไว้ด้วย มีบันทึกตอนหนึ่ง กล่าวว่า...

"..ปีที่ ๙ ในรัชสมัยฮ่องเต้ซุนกวน(พ.ศ.๗๘๒) มีคณะราชทูต ของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม กรุงพนมมันตัน) ราชทูตชื่อ ซูวู ได้เดินทางมาถวายพระราชสาส์น พร้อมเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ด้วย ราชทูตซูวู ได้กราบทูลต่อฮ่องเต้ ว่า ที่ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) ผู้สืบราชวงศ์ ต่อจาก มหาจักรพรรดิท้าวพันตา(ฮุนเทียน) มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวพันวัง(ฮุนพันฮวง) พระองค์มีพระชนมายุถึง ๙๐ พรรษา จึงสวรรคต ราชย์สมบัติ ของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) จึงตกทอดมาถึง มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน(ฮุนพันพาน) ผู้เป็นพระราชโอรส ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติได้เพียง ๓ พรรษา ก็สวรรคต ขุนพลพันทีมัน(ฟันจีมัน) เป็นผู้ชนะสงคราม จึงได้รับเชิญให้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม กรุงพนมมันตัน) ในรัชกาล ต่อมา

ราชทูตซูวู กราบทูลต่อฮ่องเต้ว่า เหตุการณ์ก่อนหน้านี้เมื่อ ๔ ปีมาแล้ว(พ.ศ.๗๗๙) สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง(อ.พนม) ได้เคยส่งราชทูตซึ่งมีนามว่า ขุนวู แซ่ซู(ซูวู) ให้เดินทางไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ประเทศอินเดีย มาแล้ว โดยราชทูต ขุนวู แซ่ซู(ซูวู) ลงเรือที่ถูจูลิ(ท่าจูลี้ หรือ ท่าโรงช้าง-พุนพิน) ราชทูตขุนวู แซ่ซู  ได้เดินทางถึง ประเทศอินเดีย และได้เดินทางไปตามแม่น้ำคงคา โดยเดินทางไปถึงนครหลวง แห่ง ราชวงศ์มุรุณฑะ พระราชา ประเทศอินเดีย ให้การต้อนรับราชทูตซูวู เป็นอย่างดี พระราชาแห่งประเทศอินเดีย ได้ถวายม้าพันธ์อินเดียซิเถียน จำนวน ๔ ตัว มาถวายแด่ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง ด้วย พร้อมกันนั้น มหาราชาแห่งราชวงศ์มุรุณฑะ ได้ส่งชาวอินเดียมีนามว่า พระเสน(เสนสงฆ์) เดินทางมาด้วย หลังจากนั้นอีก ๔ ปี ราชทูตขุนวู แซ่ซู ก็เดินทางมาเป็นราชทูต มายัง ก๊กแคว้นอู๋(มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้)..."

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าพันทีมัน ได้ทำสงครามพันทีมัน ครั้งที่-๑ กับ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงพนมรุ้ง เมื่อปี พ.ศ.๗๗๘-๗๗๙ สงครามครั้งนั้น สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ต้องเสีย แคว้นจิวจิ(โกสมพี-ไชยา) หลังจากนั้นก็เกิดสงครามพันทีมัน ครั้งที่-๒ เมื่อปี พ.ศ.๗๘๐-๗๘๑ สงครามครั้งนั้น แคว้นเทียนสน(ยะลา) และ แคว้นช้างให้(คันธุลี) ถูกทำลาย ทำให้ศูนย์กลางอำนาจรัฐของ อาณาจักรเทียนสน(ยะลา) ย้ายไปตั้งใหม่ ณ แคว้นตาโกลา(กันตัง) หรือ แคว้นโพธิ์กลิงค์ตัน(กันตัง) ส่วนประชาชนจาก แคว้นช้างให้(คันธุลี) ได้อพยพไปสร้างแว่นแคว้นใหม่ ทางชายฝั่งทะเลตะวันตก เรียกว่า แคว้นไกลลาศ(ทวาย) คือท้องที่เมืองทวาย ในประเทศพม่า ปัจจุบัน

ส่วน สงครามพันทีมัน ครั้งที่-๓ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๗๘๑-๗๘๒ กองทัพของ ขุนพลพันทีมัน สามารถทำลาย เมืองเจ้าตาขุน(อ.ตาขุน) และ เมืองพนมสายรุ้ง(อ.เขาพนม กระบี่) เป็นผลสำเร็จ สามารถจับตัว ราชทูต ซูวู ไปเป็นเชลยศึก เป็นผลสำเร็จ สงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวพันพาน สวรรคต ในสงคราม จักรพรรดิท้าวเสนะ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงกิมหลิน(โพธาราม) โดยมี เจ้าเทียนเสน ซึ่งเป็นพระราชโอรส เป็น จักรพรรดิพระองค์ใหม่ ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ และมี เจ้าจีนหลิน(ท้าวเล็งดอน) ดำรงตำแหน่ง นายก  

หลักฐานจดหมายเหตุจีน ของ มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้ กล่าวว่า หลังจากที่ราชทูตซูวู เดินทางไปยัง มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กแคว้นอู๋) แล้ว ฮ่องเต้ซุนกวน ได้ส่งราชทูตจีน ชื่อ คังไถ และอุปทูต ชื่อ จูจิง เดินทางมายัง สหราชอาณาจักรพนม(เขมร) แคว้นพนมมันตัน(สวายเรียง) คือเหตุการณ์ปี พ.ศ.๗๘๕ มีการบันทึก ไว้โดยราชทูต คังไถ มีเนื้อหาเกี่ยวกับสภาพในเมืองพนมมันตัน ว่า..

"...ปีที่ ๑๒ ในรัชกาลฮ่องเต้ซุนกวน(พ.ศ.๗๘๕) แห่งราชวงศ์ซุน ได้ส่งคณะราชทูตของ ก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) ราชทูตมีชื่อว่า คังไถ และ อุปทูตมีชื่อว่า จูนิง ได้เดินทางมายัง ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม-เขมร) กรุงฟูนัน(กรุงพนมมันตัน) พร้อมกับได้ทำการบันทึก ถึงเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ เมืองฟูนัน ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ว่า

เมืองหลวงของ ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรพนม) มีชื่อว่า กรุงฟูนัน(กรุงพนมมันตัน-สวายเรียง) ในเมืองนครหลวง มีกำแพงเมืองล้อมรอบ มีทั้งพระราชวัง และบ้านเรือนของประชาชน ประเทศนี้ ประชาชนในเมืองนครหลวง มีหน้าตาน่าเกลียดมาก ผิวดำ ผมหยิก ชอบเปลือยกาย และชอบเดินเท้าเปล่า มีอัธยาศัย ใจคอง่ายๆ ไม่ชอบลักขโมย ทำการเพาะปลูกโดยการหว่านพืชปีหนึ่ง สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลไปได้ถึง ๓ ปี ประชาชนชอบสลักเครื่องประดับ และทำการเกะสลัก ภาชนะที่ใช้รับประทานอาหารมักจะทำด้วยเงิน ภาษีที่เก็บเป็นทอง เงิน ไข่มุก หรือ เครื่องหอม ในพระราชวัง มีหนังสือ มีหอจดหมายเหตุ เพื่อบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ตัวอักษรที่ใช้(ภาษาขอมไทย) คล้ายคลึงกับตัวอักษรของชนชาติหูหลำ(อาณาจักรไหหลำ)..."

การส่งคณะราชทูต ของ ก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) มายัง สหราชอาณาจักรพนม(เขมร) อย่างเปิดเผย ครั้งนี้ เป็นการส่งสัญญาณให้ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงกิมหลิน(โพธาราม) ให้ทราบว่า ฮ่องเต้ซุนกวน แห่ง ก๊กแคว้นอู๋(นานกิง) พร้อมที่จะให้ความคุ้มครองกับ สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ดังนั้นถ้า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ในอนาคตนั้น มหาอาณาจักรจีน ภาคใต้(ก๊กแคว้นอู๋) อาจจะก่อสงครามกับ อาณาต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ได้ทันที

 

สงครามพันทีเรา กับ ชนชาติทมิฬโจฬะ ณ สมรภูมิ ต่างๆ

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช กรุงกิมหลิน(โพธาราม) เป็นผู้ทำสงครามชนะกองทัพทมิฬโจฬะ หลายสมรภูมิ อย่างต่อเนื่อง สามารถยึดครอง อาณาจักรคามลังกา , อาณาจักรจามปา , อาณาจักรกลิงค์รัฐ และ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ จึงเรียกสงครามครั้งนั้นว่า สงครามพันทีเรา ซึ่งเกิดขึ้นหลายสมรภูมิ เพื่อทำสงครามขับไล่ ชนชาติทมิฬโจฬะ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง

      จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.๗๙๒ มหาจักรพรรดิท้าวเสนะราช ได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช ตามที่กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ต้องปฏิบัติ เป็นเหตุให้ จักรพรรดิท้าวเทียนเสน จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในรัชกาลต่อมา จึงเกิดสงครามพันทีเรา อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง ขุนพลพันทีมัน แห่ง สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ถูกศรอาบยาพิษ สวรรคตในสงครามกลางทะเลอ่าวไทย จึงได้กำเนิด ราชวงศ์เทียนเสน ขึ้นมาปกครอง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ แทนที่ คือเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ในบทต่อไป  

 

 

 

 


 

 

 

©-Coades op. cit.และ ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี อาณาจักรศรีวิชัย วัดพระบรมธาตุไชยา พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๑-๑๖

      แท้ที่จริงแล้ว คลอดิอุส ปโตเลมี เป็นเพียงผู้รวบรวมข้อมูลจาก มารีนัส แห่งเมืองไทร์ ประเทศกรีก ซึ่งได้อ้างว่า ได้รวบรวมข้อมูลมาจาก พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเดอร์ และพ่อค้าเรือสำเภา คนอื่นๆ มาทำการบันทึกเพิ่มเติม อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ อเล็กซานเดอร์ เสียชีวิตไปแล้ว ประมาณ ๑๐๐ ปี บันทึกเหล่านี้ ได้กลายเป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ชาติตะวันตกนำมาเป็นหลักฐาน ประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ในเวลาต่อมา เรียกกันว่า จดหมายเหตุภูมิศาสตร์ ของ ปโตเลมี โดยได้มีการระบุ เส้นรุ้ง และ เส้นแวง กำกับไว้ด้วย ทำให้พอที่จะนำมาสังเคราะห์ ข้อมูล หาที่ตั้งเมือง อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ได้ หลักฐานดังกล่าวทำให้วิเคราะห์ได้ว่า เมืองใดตั้งอยู่ทางทิศเหนือ-ใต้ หรือ ทิศตะวันออก-ตก ของอีกเมืองหนึ่ง

      ต่อมา พันเอก เยรินี ได้ทำการวิจัย แผนที่ภูมิศาสตร์ ของ ปโตเลมี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ โดยได้นำมาสร้างรูปแผนที่ขึ้นใหม่ โดยอ้างว่า ปโตเลมี มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๖๓๐-๖๙๓ เป็นผู้รวบรวมข้อมูลการเดินทางของ พ่อค้า นักสำรวจ นักเดินเรือชาวกรีก ชาวโรมัน และชาวเปอร์เชีย และนำมาจัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ แต่ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นมาในหมู่นักประวัติศาสตร์ อย่างมากมาย

      ต่อมา ลีโอ บาโกร ได้เขียนหนังสือ วิเคราะห์ความเป็นมาของแผนที่ภูมิศาสตร์ ของ ปโตเลมี ไว้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดยกล่าวว่า พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเตอร์ เป็นผู้เดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ.๖๙๓-๗๓๕ และอีก ๑๐๐ ปี ถัดมา มารีนัส แห่งเมืองไทร์ ประเทศกรีก ซึ่งได้อ้างว่า ได้รวบรวมข้อมูลมาจาก พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเดอร์ และพ่อค้าเรือสำเภา นักสำรวจ นักเดินเรือชาวกรีก ชาวโรมัน และชาวเปอร์เชีย คนอื่นๆ มาทำการบันทึกเพิ่มเติม อีกครั้งหนึ่ง ปโตเลมี จึงเขียนหนังสือเล่มแรก ซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงเรื่องการทำแผนที่ เท่านั้น และเขียนขึ้นในอีก ๑๐๐ ปีถัดมา ส่วนหนังสืออีก ๗ เล่มที่อ้างว่า ปโตเลมี ได้เขียนมานั้น ลีโอ บาโก ได้ชี้ให้เห็นหลักฐานว่า แท้จริง ได้ถูกเขียนขึ้นมาใหม่ เมื่อ พุทธศตวรรษที่ ๒๐ และ ๒๑ ในสมัยของการล่าอาณานิคม ซึ่งขณะนั้น ชาติตะวันตกได้เดินทางมายังดินแดนตะวันออก อย่างพลุกพล่าน แล้ว โดยการนำข้อมูล ของ ปโตเลมี มาประกอบการเขียนขึ้นใหม่ หนังสืออีก ๗ เล่ม นั้น จึงขาดความน่าเชื่อถือ เพราะบางเมือง ยังไม่เกิดขึ้นในสมัย ของ ปโตเลมี แต่อย่างใด แผนที่ ปโตเลมี จึงขาดความเชื่อถือ ลงไปอีกมาก เพราะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการล่าอาณานิคม ของ ชาติตะวันตก

      ผู้เรียบเรียง ได้ทำการศึกษา แผนที่ภูมิศาสตร์ ของ ปโตเลมี จากผลการศึกษา ของ พันเอก เยรินี และ ลีโอ บาโก โดยศึกษาถึง เส้นทางการเดินเรือ ชื่อเมือง ชื่อแม่น้ำต่างๆ และ ชื่อเกาะ ตามตำแหน่งที่ตั้งตาม เส้นละติจูด และ ลองติจูด ที่ ปโตเลมี หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้สมมุติขึ้น โดยนำมาเชื่อมโยงกับ ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ชื่อเมือง และ ตำแหน่งที่ตั้งเมืองที่แท้จริง ในปัจจุบัน และนำมาเสนอไว้โดยสังเขป เท่านั้น

 

©-  ทวีป วรดิลก ประวัติศาสตร์จีน สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ.๒๕๓๘ หน้าที่ ๒๑๔-๒๑๗

      หลักฐานประวัติศาสตร์ของ ประเทศจีน กล่าวถึงสงครามโพกผ้าเหลือง ว่าเป็นเรื่องของสงครามภายในประเทศ เป็นกบฏชาวนา ชาวพุทธ ส่วนตำนานท้องที่ภาคใต้ กล่าวถึง สงครามโพกผ้าเหลืองว่า เป็นสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กับ มหาอาณาจักรจีน มหาอาณาจักรไตจ้วง เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม จึงถูก มหาอาณาจักรจีน เข้าครอบครองดินแดน สอดคล้องกับบันทึกของ พงศาวดารไทยอาหม ได้กล่าวถึง ดินแดนของ มหาอาณาจักรไตจ้วง ว่า ได้ถูกยึดครองไป ก่อนกำเนิด อาณาจักรโกสมพี และ อาณาจักรศรีชาติตาลู กรุงปยู

 

©- Wang Gung Wu, op.cit.(๑๙๘๕), p.๔๐

 

©- สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ประวัติศาสตร์ไทยใหญ่ โครงการประวัติศาสตร์สังคม และ วัฒนธรรมชนชาติไทย ของ สกว. และ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๔๔ หน้าที่ ๑๑-๔๒

 

©- ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เป็นเมืองโบราณมาอย่างยาวนาน ครั้งแรก มีชื่อว่า แคว้นมิถิลา มาจนถึงสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ได้เกิดสงครามโพกผ้าเหลืองขึ้นในดินแดน ของ มหาอาณาจักรไตจ้วง ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของประเทศจีน ปัจจุบัน เป็นเหตุให้ ราชวงศ์จิว แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง ซึ่งใช้คำสรรพนาม นำหน้าว่า โก แทนที่คำว่า กู ได้มาอภิเษกสมรส กับ ราชธิดา แห่ง แคว้นมิถิลา หลายพระองค์ เป็นที่มาให้ แคว้นมิถิลา ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า แคว้นโกสมพี ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน อีกครั้งหนึ่ง

      สาเหตุที่ ท้องที่ แคว้นมิถิลา เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นโกสมพี นั้น สืบเนื่องมาจาก พื้นที่บริเวณ สวนโมกข์ผลาราม ในปัจจุบัน นั้น เคยเป็นที่ตั้ง หอคำ อันเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ แคว้นมิถิลา มาก่อน ท้องที่ดังกล่าว มีต้นส้มสมพี เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส้มสมพี นั้น ผู้หญิงซึ่งตั้งครรภ์ นิยมนำไปรับประทาน เพื่อเสริมธาตุอาหารให้กับเด็กในครรภ์ รวมทั้งเชื้อสายราชวงศ์ ของ แคว้นมิถิลา ด้วย เนื่องจาก ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน นั้น เจ้าชายจิวจิ แห่ง มหาอาณาจักรไตจ้วง ได้มาอภิเษกสมรส กับ ราชธิดา ของ แคว้นมิถิลา พระนางทรงพระครรภ์ ภายหลังการอภิเษกสมรส ทันที และชอบรับประทาน ส้มสมพี ในขณะที่ทรงพระครรภ์ เป็นอย่างยิ่ง จนถูกประชาชน นิยมเรียกพระนามใหม่ว่า พระนางโกสมพี เพราะชอบรับประทาน ส้มสมพี นั่นเอง ดังนั้น ต่อมา เมื่อ เจ้าจิวจิ ขึ้นเป็นกษัตริย์ ปกครอง แคว้นมิถิลา จึงพระราชทานชื่อ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ในชื่อใหม่ว่า แคว้นโกสมพี(ไชยา) เรื่อยมา

      หลังจาก แคว้นโกสมพี ล่มสลายเนื่องจาก สงครามพันทีมัน ครั้งที่-๑ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ได้ร้างไประยะหนึ่ง ต่อมา พระราชโอรส ของ พระนางแสงดาว กับ เจ้าตาคำ(คำแท่ง) คือ เจ้าแสงคำ(แท่งคำ) ได้มาทำการรื้อฟื้น แคว้นโกสมพี(ไชยา) ขึ้นใหม่ และได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) เพื่อให้เป็นเกียรติ แด่ พระนางแสงดาว ผู้เป็น พระราชมารดา นั่นเอง ส่วนชื่อ โกสมพี พระราชโอรส ของ เจ้าแสงคำ(แท่งคำ) คือ เจ้าแสงลู และ เจ้าแสงไล ได้นำไปตั้งชื่อ อาณาจักรใหม่ คือ อาณาจักรโกสมพี ในดินแดนทางใต้ ของ อาณาจักรไทยใหญ่ ต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

      ต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) แคว้นกิ่งดาว(ไชยา) ได้ล่มสลายลง อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากสงคราม มีเชื้อสายราชวงศ์โคตะมะ ได้มาทำการรื้อฟื้น แคว้นกิ่งดาว ขึ้นใหม่ พร้อมกับได้พระราชทานชื่อใหม่ว่า แคว้นศรีโพธิ์(ไชยา) จนกระทั่งในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม แคว้นศรีโพธิ์ กลายเป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์ ถูกประชาชน เรียกชื่อในสำเนียงภาษาท้องถิ่นภาคใต้เพี้ยนเป็น เสียม เมืองศรีโพธิ์ จึงถูกเรียกว่า เมืองเสียม(ไชยา) ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นชื่อของ สหราชอาณาจักรเสียม ด้วย

      ส่วนคำว่า ไชยา คือพื้นที่เล็กๆ บริเวณ วัดไชยาราม ต.ตลาด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เท่านั้น คำว่า เมืองไชยา ถูกนำมาใช้ ในสมัยที่ เจ้านครอินทร์ ก่อกบฏ โดยได้สมคบกับ ฮ่องเต้หยุงโล้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน นำกองทัพเรือใหญ่ ของ นายพลเจิ้งหัว เข้าทำสงครามยึดครองราชย์ธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม เป็นผลสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๑๙๕๕ สมารถจับกุม มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรินทรารักษ์ ไปเป็นเชลยศึก ณ มหาอาณาจักรจีน และถูกประหารชีวิต ในเวลาต่อมา เชื้อสายราชวงศ์ของ มหาจักรพรรดิพ่อศรีสุรินทรารักษ์ ได้ใช้พื้นที่ วัดไชยาราม ทำสงครามกู้ชาติ เพื่อขับไล่กองทัพของ นายพลเจ้งหัว ให้ออกไป ทำให้ท้องที่ กรุงศรีโพธิ์ ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า เมืองไชยา ตั้งแต่นั้นมา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน   

 

©-  Wang Gung Wu, op.cit.(๑๙๘๕), p.๔๐-๔๕

      จดหมายเหตุจีนที่ราชทูตคังไถ บันทึกไว้ ต้นฉบับหายไป แต่มีอ้างอิงในหนังสือเหลียงซู ซึ่งเป็นพงศาวดารของราชวงศ์เหลียง เขียนขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๑๐๔๕-๑๑๐๐ และ ไทปิงยั่วหลาน บันทึกไว้ใน พงศาวดารราชวงศ์ซ่ง ที่เขียนขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๑๕๒๐-๑๕๒๖ อีกด้วย

 

©-  ศาสตราจารย์ ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒-๑๔

      และ Wang Gung Wu, op.cit.(๑๙๘๕)

      นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ซึ่งได้มาสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อการล่าอาณานิคม ในอดีต มักจะนำเอา อาณาจักรเทียนสน คือดินแดนเกาะทอง ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ไปเป็น อาณาจักรอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้ส่งงาช้าง นอแรด และ กระดองเต่า ไปเป็นเครื่องราชบรรณาการ แด่ ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งๆ ที่ อินเดียภาคเหนือ ไม่มีสิ่งของดังกล่าว

      ส่วน สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) ถูกนำไปเป็น อาณาจักรต่างๆ ของ ประเทศเขมร ทำให้ประวัติศาสตร์ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงหายไป นักประวัติศาสตร์ ชาตินักล่าอาณานิคม ชาติตะวันตก ต่างสร้างสมมุติฐานเกี่ยวกับที่ตั้ง ของ แว่นแคว้นต่างๆ ที่พบในบันทึกของ ราชทูตคังไถ ที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดความขัดแย้งเกี่ยวกับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ อย่างรุนแรง สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน ผู้เรียบเรียง จึงได้เสนอตำแหน่งที่ตั้ง ของ แว่นแคว้นต่างๆ พร้อมความเป็นมาของแว่นแคว้นดังกล่าว พร้อมหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ เพื่อยุติความขัดแย้งทางด้านองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน

 

 

 

Visitors: 54,442