รัฐไทย สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ปี พ.ศ.๖๒๓-๖๙๓

รัฐไทย สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ปี พ.ศ.๖๒๓-๖๙๓

 

สหราชอาณาจักรเทียนสน กำเนิด เกิดขึ้น เนื่องจาก การที่ สหราชอาณาจักรเทียน มีชัยชนะในสงครามโชกโชน และ สงครามโพกผ้าเหลือง กับ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน หลายสมรภูมิ สามารถยึดครองดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว , อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรเสี่ยงให้ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๑-๖๒๒ และในปี พ.ศ.๖๒๒-๖๒๓ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ท้าวเทียนสน) ยังสามารถปลดเกษียร ดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร ออกจากการครอบครอง ของ ประเทศอินเดีย มาขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย ทำให้ มีดินแดนภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน กว้างใหญ่ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช หรือ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเทียนสน พร้อมกับประกาศตั้ง ศกศักราช มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๓ เป็นต้นมา ด้วย

 

       สหราชอาณาจักรเทียนสน มีมหาจักรพรรดิ ราชวงศ์ขุนหลวง ปกครองต่อเนื่องกันมา เพียง ๕ พระองค์ เริ่มต้นที่ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช(ท้าวสิงห์ราช) เป็นไปตามตารางสรุป ข้างล่าง

 

 

 

                          

 

เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของ สหราชอาณาจักรเทียนสน จึงขอนำเอาสาระบางตอน จากหนังสือ สยามประเทศมิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรเทียนสน ของ นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ มาสรุปไว้โดยสังเขป ดังนี้

 

 

(๑) สมัย พระพุทธสิหิงส์(ท้าวสิงห์ราช) กรุงเทียนสน(ยะลา)

 

 

 

                    

ภาพที่-๒๖ เทวรูป พระพุทธสิหิงส์ สร้างจำลอง มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช หรือ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช ผู้ให้กำเนิด รัฐทางพระพุทธศาสนา ของชนชาติไทย คือ สหราชอาณาจักรเทียนสน ต่อมา พระองค์ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช ตามที่ กฎหมายพระธรรมนูญ กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระพุทธสิหิงส์ เทวรูปนี้ ถูกจำลองสร้างขึ้นใหม่ เพื่อประดิษฐานไว้ที่ จ.นครศรีธรรมราช

 

ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พ.ศ.๖๒๓-๖๖๓) หรือ พระพุทธสิหิงส์ กรุงเทียนสน(ยะลา) ได้ประกาศตั้ง ศกศักราช ขึ้นใช้กับรัฐของชนชาติไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ประชาชนจึงเรียกพระนาม อีกพระนามหนึ่งว่า ท้าวศกศักราช ด้วย

มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช เป็นผู้รวบรวมดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ให้เป็นปึกแผ่น เป็นผู้เข้าไปปรับปรุงระบบการปกครองในดินแดนเกษียรสมุทร นำดอกชบา ไปปลูกยังดินแดนเกษียรสมุทร พร้อมกับพระราชทานชื่อหมู่เกาะต่างๆ ในชื่อใหม่ คือ หมู่เกาะชบาตะวันตก(หมู่เกาะสุมาตรา) , หมู่เกาะชบาตะวันออก(หมู่เกาะชวา) , หมู่เกาะชบาใน(หมู่เกาะบอร์เนียว) และ หมู่เกาะชบาเหนือ(หมู่เกาะฟิลิปินส์) ทำให้ ชนพื้นเมือง ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ก่อนที่ มหาอาณาจักรจีน จะนำชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ ไปใช้เป็นเครื่องมือ ทำสงครามกับ ชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง 

 

พระพุทธสิหิงส์ ประกาศใช้ ศกศักราช ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ เกษียรสมุทร

เนื่องมาจากก่อนหน้านี้ คือเมื่อปี พ.ศ.๖๒๑ พระเจ้ากนิษกมหาราช แห่ง ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๒ เป็นผู้ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา นิกายสรวาสติวาทิน ซึ่งได้พัฒนากลายเป็น นิกายมหายาน หรือ อาจริยวาท ในเวลาต่อมา

มหาศักราช กำเนิดขึ้นเนื่องจาก พระเจ้ากนิษกมหาราช เป็นผู้ทำสงคราม มีชัยชนะเหนือข้าศึกศัตรู ได้ประกาศตั้ง มหาศักราช ขึ้นใช้ในดินแดนของ ประเทศอินเดีย โดยเริ่มนับวัน วันเถลิงศกใหม่ เมื่อปีเถาะ ปี พ.ศ.๖๒๑ เป็นปีแรก ของ ปีมหาศักราช โดยที่ประเทศอินเดีย ใช้คำว่า "มหาศักราช" เพื่อนำไปใช้ใน ดินแดนชมพูทวีป เท่านั้น

ส่วน ศกศักราช นั้น เกิดขึ้นเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) มีชัยชนะในสงครามโพกผ้าเหลือง เหนือข้าศึกศัตรู ได้ดินแดนอาณาจักรต่างๆ มาครอบครองอีกหลายอาณาจักร และยังได้ดินแดน เกษียรสมุทร อีก ๒ อาณาจักร มาครอบครอง อีกด้วย เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช จึงได้ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเทียนสน พร้อมๆ กับประกาศตั้ง ศกศักราช มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ และดินแดนเกษียรสมุทร เมื่อปี พ.ศ.๖๒๓ ด้วย ให้นับเป็นปีแรก ของปี ศกศักราช โดยที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ใช้คำว่า ศกศักราช เพื่อนำไปใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร เท่านั้น

ศกศักราช จึงเป็นศักราช ของชนชาติไทย ยึดถือว่า ศกศักราช เกิดขึ้นเมื่อ ปีมะสิงห์ ปี พ.ศ.๖๒๓ การนับ ศกศักราช ใช้การคำนวณตามระบบ สุริยะคติ คือ ขึ้นปีใหม่เมื่อพระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ ประมาณ กลางเดือนเมษายน ซึ่งเป็นที่มาของ การขึ้นปีใหม่ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกทั้ง มีการใช้ ตราคชสีห์ และ ตราสิงห์ มาใช้เป็นเครื่องหมาย ประจำ สหราชอาณาจักรเทียนสน ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ถูกนำมาใช้สืบทอด ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วย

 

อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเทียนสน ขึ้นมาแทนที่ สหราชอาณาจักรเทียน นั้น สหราชอาณาจักรเทียนสน ในส่วนของดินแดนสุวรรณภูมิ ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ ถึง ๑๕ อาณาจักร คือ อาณาจักรเทียนสน(แหลมมาลายู) , อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรนาคฟ้า(ภาคกลาง) , อาณาจักรนาคดิน(ภาคอีสาน) , อาณาจักรคามลังกา(ดินแดนประเทศเขมรปัจจุบัน) , อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรอ้ายลาว(เชียงทอง) , อาณาจักรจุลนี(เวียดนามใต้) , อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง) , อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) และ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้)

นอกจากนั้น สหราชอาณาจักรเทียนสน ยังได้ดินแดนเกษียรสมุทร อีก ๓ อาณาจักรมาครอบครองอีกด้วย คือ อาณาจักรชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) และ อาณาจักรบาลี(เกาะบาหลี) อีกด้วย

 

 

สหราชอาณาจักรเทียนสน สร้าง กองทัพโพกผ้าเหลือง ทำสงครามกู้ชาติ

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช พระองค์ยังคงสนับสนุนให้ อาณาจักรต่างๆ ที่ติดต่อกับดินแดน มหาอาณาจักรจีน ร่วมกันสร้างกองทัพชาวพุทธ ซึ่งเรียกว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กองทัพชาวพุทธ พร้อมกันไปด้วย เนื่องจาก กองทัพโพกผ้าเหลือง เคยถูกนำใช้มาในการทำสงครามกอบกู้ ดินแดนของ อาณาจักรอ้ายลาว , อาณาจักรไตจ้วง , อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) และ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้) กลับคืนมา อย่างได้ผลมาแล้ว จึงมีการขยาย กองทัพโพกผ้าเหลือง ให้มากขึ้น

มีการส่ง ภิกษุ พระสมณะทูต ให้เดินทางออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา พร้อมกับทำการปลุกระดม ประชาชน ชนชาติไต ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ให้นำแบบอย่างการต่อสู้ ของ ประชาชน อาณาจักรอ้ายลาว , อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรเสี่ยงให้ ไปใช้เป็นแบบอย่างในการต่อสู้ เพื่อทำสงครามกอบกู้เอกราช กลับคืน เป็นที่มาให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง ขยายตัวออกไปสู่ดินแดน อาณาจักรต่างๆ ของชนชาติไต ที่ถูก มหาอาณาจักรจีน ยึดครอง อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะ ขณะนั้น มหาอาณาจักรจีน เต็มไปด้วยความขัดแย้ง อีกทั้ง อาณาจักรหนานเจ้า(หนองแส) และ อาณาจักรฉาน(ไทยใหญ่) แยกกันปกครองอย่างอิสระ ไม่สนับสนุนให้ชนชาติไต ลุกขึ้นทำสงคราม กอบกู้เอกราช ยึดครองดินแดน กลับคืน

 

 

                           

ภาพที่-๒๗ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร มหาจักรพรรดิ พระองค์แรก ของ ชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกสร้างไว้ในดินแดนของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน สนับสนุนสงครามโพกผ้าเหลือง ให้ทำสงครามกอบกู้ดินแดนชนชาติไต กลับคืน ชาวจีน เรียกเทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ว่า ไฉ่ชิ้งเอี้ย ที่หน้าเครื่องทรงบนพระเศียร ปรากฏรูป หน้าราหู เช่นเดียวกันกับ เทวรูป ท้าวกูเวร ที่พบในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่าเมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นจางตี้ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๖๓๑ ฮ่องเต้ฮั่นเหอตี้ ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๑๐ พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ทำให้ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เริ่มเสื่อมถอย เพราะ กลุ่มขุนนางขันที เข้าครอบงำ ฮ่องเต้ฮั่นเหอตี้ อีกด้วย เป็นเหตุให้ ขุนนางจีน ต้องขัดแย้ง กับ แม่ทัพต่างๆ ของ มหาอาณาจักรจีน อีกทั้งเหตุการณ์ในขณะนั้น กองทัพโพกผ้าเหลือง สามารถทำสงครามกอบกู้ ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติไต ซึ่งถูก มหาอาณาจักรจีน ยึดครองไป กลับคืนมาได้เป็น จำนวนมาก กองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ขยายตัวเข้าสู่ อาณาจักรเสฉวน ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน เคยทำสงคราม ยึดครองไปด้วย

 

การฟื้นฟู อาณาจักรอ้ายลาว อาณาจักรโยนก(เชียงแสน) และ อาณาจักรเก้าเจ้า วรรณภูมิ เชียงกครอง ของ สหราชอนนสุวรรณภูมิ และ เกษียรสมุทร

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช หรือ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช(ขุนโชน) หรือ พระพุทธสิหิงส์ นั้น พระองค์ได้มอบหมายให้ จักรพรรดิเจ้าชินราช(ขุนชิน) นำพระราชโอรส ซึ่งมีพระนามว่า ขุนเชียง ได้ไปอภิเษกสมรสกับ พระราชธิดา พระองค์หนึ่ง ของ มหาราชา แห่ง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ราชวงศ์เหงียนคำ และได้ไปประทับอยู่ที่ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เพื่อช่วยฟื้นฟู อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) , อาณาจักรอ้ายลาว(เชียงทอง) , อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ให้เข้มแข็ง ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย จนกระทั่ง ขุนเชียง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) พร้อมกับได้กำเนิดราชวงศ์เชียง ขึ้นมาอีกราชวงศ์หนึ่ง ของ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ด้วย

เนื่องจาก มหาราชาขุนเชียง ยังมีพระชายา กับ ราชธิดา ของ มหาราชา ของ อาณาจักรต่างๆ หลายพระองค์ จึงมีพระราชโอรส ที่ขึ้นต้นชื่อด้วยคำว่า เชียง เป็นจำนวนมาก ซึ่งต่อมา พระราชโอรส ของ ขุนเชียง ได้ถูกมอบหมายให้ไปปกครองดินแดนต่างๆ อย่างรวดเร็ว เมืองต่างๆ ในดินแดนของ อาณาจักรยวนโยนก , อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) จึงมักจะมีชื่อคำว่า เชียงนำหน้า เป็นจำนวนมาก เช่น เชียงทอง(หลวงพระบาง) , เชียงแสน(ยวนโยนก) , เชียงบาน(เวียงจันทร์) , เชียงขวาง(เมืองปะกัน) , เชียงคาน , เชียงคำ , เชียงราย , เชียงของ , เชียงตุง และ เชียงรุ้ง  เป็นต้น ล้วนเป็นพระนาม ของ พระราชโอรส ของ มหาราชาขุนเชียง เป็นผู้ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นมา ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช ทั้งสิ้น

เนื่องจากเมื่อ ขุนเชียงทอง พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาราชาขุนเชียง แห่ง อาณาจักรจุลนี เติบโตขึ้น จึงได้มีการรื้อฟื้น อาณาจักรอ้ายลาว ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อเมืองขึ้นใหม่ โดยได้เปลี่ยนชื่อ เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ซึ่งเป็นเมืองหลวง ของ อาณาจักรยวนโยนก ให้ไปตั้งใหม่ที่ เมืองสุวรรณคำหลวง(เชียงแสน) ดั้งเดิม ส่วน เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ดั้งเดิม ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นชื่อ เมืองเชียงทอง(หลวงพระบาง) ตามพระนามของ มหาราชาท้าวเชียงทอง เพื่อใช้เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรอ้ายลาว โดยมี ท้าวเชียงทอง ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรอ้ายลาว ที่ถูกฟื้นฟูขึ้นใหม่ ส่วน ท้าวเชียงแสน ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรยวนโยนก(เชียงแสน) หรือ อาณาจักรเชียงแสน อีกพระองค์หนึ่ง โดยมีเมืองนครหลวง ตั้งอยู่ที่ เมืองเชียงแสน ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่มาให้ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) มีอิทธิพลต่อ อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรยวนโยนก ในสมัยต่อๆ มา เรื่อยมา

 

การค้าขาย กับ ต่างชาติ ในสมัย พระพุทธสิหิงส์

มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการค้ากับ ประเทศต่างๆ ในเอเชีย และ ทวีปยุโรป จนกระทั่ง ชาวกรีก ลูกครึ่งอียิปต์ ได้จัดทำหนังสือคู่มือการเดินเรือมาค้าขายยังซีกโลกตะวันออก เป็นฉบับแรกของโลก ผู้เขียนคู่มือเล่มนี้ เคยเดินทางมาถึงสุดแหลมของอินเดียเท่านั้น จึงไม่สามารถบรรยายถึงสภาพภูมิประเทศของ ฝั่งทะเลตะวันออกของอินเดีย และ ดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ แต่ได้กล่าวถึงเส้นทางการค้า และเมืองทุกสายทางตั้งแต่ฝั่งอาฟริกา มาถึง อินเดีย ไว้อย่างละเอียด ข้อมูลสำคัญที่ได้จากหนังสือเล่มนี้ก็คือ มีการกล่าวถึงเมืองท่าฝั่งตะวันออก ของ อินเดีย เช่น เมืองกมรา เมืองโปดูเก เมืองโสปัตมะ ว่าเป็นเมืองตลาด และเมืองท่า ในเมืองเหล่านี้จะพบเรือ ทั้งเรือเลียบชายฝั่ง และเรือเดินทะเลลึก ว่า เป็นเรือที่ใช้เดินทางจากอินเดีย ไปยังสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ฝั่งตะวันออกสุด โดยบรรยายไว้ตอนหนึ่ง ดังนี้¨-๑

...ต่อจากนี้(ด้านตะวันออกของแหลมอินเดีย) ถ้าเล่นเรือไปทางทิศตะวันออก ให้มหาสมุทรอยู่ทางขวามือ และให้บ้านเมืองที่ผ่านพ้นไปแล้วอยู่ทางซ้ายมือ โดยแล่นเรือขนานไปกับชายฝั่ง ก็จะถึงแม่น้ำคงคา และดินแดนอันอยู่ใกล้เคียงภาคแผ่นดินใหญ่ ที่อยู่ทางทิศตะวันออกที่สุด เรียกว่า สุวรรณภูมิ(เมืองทอง)

อันแม่น้ำนี้ที่เรียกว่า คงคา นั้น เป็นแม่น้ำสายใหญ่ในอินเดีย มีน้ำขึ้นน้ำลง เช่นเดียวกับ แม่น้ำไนล์ บนฝั่งมีตลาดชื่อเดียวกับแม่น้ำคงคา ซึ่งมี น้ำมันหอม ผ้าฝ้ายอย่างดี และผ้ามัสลิน เนื้อดี เรียกว่า ผ้าคงคา เป็นสินค้า กล่าวกันว่า มีบ่อทองคำ ในดินแดนเหล่านั้นด้วย และมีทองตราเรียกว่า กัลป์ตีส ใช้ด้วย ที่ตรงปากแม่น้ำคงคา มีเกาะ แผ่นดินที่ไกลที่สุดของโลก ไปทางตะวันออก ณ ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นมาเรียกว่า สุวรรณภูมิ และ ณ ที่นั้น มีกระอย่างดีที่สุด ในบรรดาถิ่นทั้งหลาย แถบทะเลเถเรียน หรือ อีไรถราน(มหาสมุทรอินเดีย)...

       ปี พ.ศ.๖๖๓ กำเนิดหนังสือประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ของ ปลินิ เขียนโดย ปลินิ เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่-๗ กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิว่า¨-

       ...ไครเส(Chryse) เป็นทั้ง เมืองทอง และ เกาะทอง ดินแดนเมืองทอง(ชวาทวีป) เป็นแผ่นดินแหลม ที่ต่อเชื่อมแผ่นดินเดียวกันกับ แผ่นดินของมหาอาณาจักรจีน ส่วนเกาะทอง นั้น เมื่อเดินเรือพ้นปากแม่น้ำสินธุ ไป ก็จะเป็นเกาะทอง(Chryse)(เกาะเทียนสน) และ เกาะเงิน(Argyre)(เกาะสุมาตรา) ซึ่งมีบ่อแร่ทอง และ แร่เงิน มาก...

 

 

มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช สละราชย์สมบัติ ออกผนวช  

      

                        

   ภาพที่-๒๘ เทวรูป พระพุทธสิหิงส์ เป็นเทวรูปจำลอง มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช หรือ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช ผู้ให้กำเนิด สหราชอาณาจักรเทียนสน และเป็นผู้สร้าง ศกศักราช ขึ้นมาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏศกศักราช ตามศิลาจารึกทั่วไปที่พบในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร รัฐไทย ในรัชสมัยของ พระพุทธสิหิงส์ เป็นสมัยที่เจริญสุดขีด สมัยหนึ่ง

 

         เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(ขุนโชน) หรือ มหาจักรพรรดิท้าวศกศักราช มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้สละราชสมบัติออกผนวช ตามที่กฎหมาย พระธรรมมนู กำหนดให้ต้องปฏิบัติ และได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระพุทธสิหิงส์ กลายเป็นราชประเพณี ต่อมา ในการถวายพระนามให้กับกษัตริย์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อสละราชย์สมบัติออกผนวช จะมีพระนามคำว่า พระพุทธ นำหน้าเสมอ กล่าวกันว่า พระพุทธสิหิงส์ ได้บรรลุพระอรหันต์ ด้วย เทวรูปพระพุทธสิหิงส์ จึงถูกนำไปใช้ เป็นพระประธานในพิธีมหาบรมราชาภิเษก ก่อนที่จะกำเนิด พระแก้วมรกต ซึ่งถูกสร้างขึ้นต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

 

                    

    ภาพที่-๒๙ แผนที่ แสดงอาณาจักรต่างๆ สมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน ทั้งในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ในที่นี้ ไม่รวมไปถึง มหาอาณาจักรหนานเจ้า

 

 

(๒) สมัย พระพุทธชินราช กรุงเทียนสน(ยะลา)

 

 

                               

ภาพที่-๓๐ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ซึ่งเป็นมหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน รัชกาลที่ ๒ เมื่อสละราชย์สมบัติออกผนวช ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินราช ยึดถือกันว่า เป็น มหาจักรพรรดิ ที่สำคัญอีกพระองค์หนึ่ง ของ ชนชาติไทย

 

 

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(พ.ศ.๖๖๓-๖๖๘) หรือ พระพุทธชินราช กรุงเทียนสน(ยะลา) นั้น ได้มีกลุ่มปัญญาชน ขุนนาง และ ขุนศึก ที่นิยมลัทธิขงจื้อ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้วางแผนใหม่ ในการต่อสู้ กับ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เนื่องจาก สหราชอาณาจักรเทียนสน ได้สร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง เพื่อดำเนินการ กอบกู้ดินแดน กลับคืน กำเนิดประเพณีเชิดสิงโต เพื่อสร้างกองทุนกอบกู้ดินแดนชนชาติอ้ายไต กลับคืน มีการเซ่นไหว้บรรพชน ท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) จนสามารถสร้างกองทัพโพกผ้าเหลือง ได้ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน สามารถส่งกองทัพเข้าโจมตี ยึดครองดินแดน อาณาจักรเสฉวน กรุงเฉิงตู กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย

 

มหาอาณาจักรจีน ใช้ชนชาติทมิฬ และ ชนชาติกลิงค์ ก่อสงครามกับ ชนชาติไทย

 ผลของสงครามโพกผ้าเหลือง ทำให้ มหาอาณาจักรจีน ได้สร้างพ่อค้าจีน เป็นคณะราชทูต หลายคณะ เพื่อเดินทางไปทำการติดต่อค้าขาย และติดต่อทางการทูต กับ อาณาจักรต่างๆ ในดินแดนเกษียรสมุทร อย่างลับๆ คือ อาณาจักรชบาตะวันตก(สุมาตรา) หรือ อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ(เกาะสุมาตรา) ของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ และ อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) หรือ อาณาจักรกลิงค์รัฐ(เกาะชวา) ของ ชนชาติกลิงค์ เพื่อยุยงให้ ชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ ร่วมกันก่อกบฏต่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน ด้วย

ต่อมา ทั้งสองชนชาติ ได้ทำการก่อสงครามกับ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นไปตามตำราพิชัยสงครามของ ซุนหวู่ คือ สร้างสงครามขึ้นในดินแดน ของ ข้าศึก เพื่อทำลายข้าศึก และกดดันให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน ต้องยุติการสนับสนุน กองทัพโพกผ้าเหลือง ต้องใช้เวลาแก้ไขปัญหาสงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่มาให้ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนเกษียรสมุทร ก่อกบฏ ด้วยการส่งกองทัพเข้ายึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ด้วย

       มหาอาณาจักรจีน ยังได้ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ พระเจ้าทมิฬมันตัน แห่ง อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ เกาะชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) ทำสงครามเข้ายึดครองดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ทางภาคตะวันตก ของ อาณาจักรจุลนี(ดินแดนประเทศเขมร ในปัจจุบัน) เป็นผลสำเร็จ นอกจากนั้น กองทัพทมิฬโจฬะ ยังส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นตาโกลง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(พังงา) และ แคว้นกาเพ้อ(ระนอง) ของ อาณาจักรชวาทวีป เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย ผลการดำเนินการ ตามนโยบาย แยกสลายแล้วทำสงครามปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน ครั้งนั้น ทำให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง ในดินแดน สมรภูมิ ณ มหาอาณาจักรจีน ได้อ่อนกำลังลง เพราะ สหราชอาณาจักรเทียนสน ต้องสาละวนกับการทำสงครามขับไล่ ข้าศึก ที่กล่าวมาให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

ขุนเทียน ทำสงคราม ๑๘ เปื้อน ณ สมรภูมิ เมืองพนมมันตัน

     ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(พระพุทธชินราช) นั้น ได้เกิดสงครามสิบแปดเปื้อน ของ ขุนเทียน ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช เพื่อปราบปราม พระเจ้าทมิฬมันตัน ชนชาติทมิฬโจฬะ ที่เข้ายึดครองดินแดนส่วนหนึ่ง ของ อาณาจักรจุลนี ไปครอบครอง และเป็นที่มาของการกำเนิด ประเทศเขมร ต่อมา ด้วย

ตำนานนิทานพื้นบ้าน ทุ่งพระยาชนช้าง อ.ท่าชนะ และ สระนางนาคโสมา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีเรื่องราวตำนาน สงคราม ๑๘ เปื้อน ก่อนเกิดสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง มีเนื้อหาสรุปว่า ขุนเทียน เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี เมื่อมีพระชุนมายุครบ ๑๖ พรรษา ได้ถูกส่งมาเป็น อุปราช ปกครอง แคว้นมิถิลา(ไชยา) หรือ แคว้นโกสมพี(ไชยา) ขณะนั้นมี เจ้าจิวจิ(ขุนหลวงจิ แซ่จิว) เป็นราชา ของ แคว้นโกสมพี(ไชยา)

คืนหนึ่ง ขุนเทียน ได้นอนหลับฝันไปว่า พระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) มาเข้าฝันว่า ได้มอบธนูวิเศษ ให้ และถูกวางไว้ ที่ ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขาแม่นางเอ ใกล้ที่ตั้งเจดีย์พระกฤษณะ และ รอยพระบาทเบื้องซ้าย ของ พระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) เพื่อใช้เป็นอาวุธวิเศษ ในการทำสงครามปราบปรามข้าศึกทมิฬโจฬะ เมื่อ ขุนเทียน ตื่นบรรทม มาตอนเช้า ขุนเทียน จึงเดินทางไปที่ ถ้ำพระกฤษณะ(ถ้ำบ่อเจ็ดแห่ง) ภูเขาแม่นางเอ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ก็พบธนูวิเศษ ตามความฝัน จริง

เมื่อ ขุนเทียน กลับมายังพระราชวัง ก็ได้รับพระราชสาส์น ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช มีพระบรมราชโองการให้ ขุนเทียน นำกองทัพไปช่วยเหลือ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ เจ้าจูเหลียน ณ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) แต่ขณะที่เดินทางไปโดยเรือสำเภา นั้น ได้พบว่า มีกษัตริย์ ของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ส่งกองทัพเข้ามายึดครองดินแดนทางทิศตะวันออก ของ อาณาจักรคามลังกา ไปครอบครองเรียบร้อยแล้ว ขุนเทียน จึงส่งกองทัพเข้าปราบปราม กษัตริย์ทมิฬอาแจ๊ะ มีพระนามว่า พระเจ้าทมิฬมันตัน ออกมาทำการต่อสู้ ผลของสงคราม พระเจ้าทมิฬมันตัน ถูกศรอาบยาพิษ ของ ขุนเทียน เสด็จ สวรรคต แต่ ขุนเทียน ยังไม่สามารถ ยึดเมืองได้ เพราะ พระนางมันตัน และ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ยังช่วยรักษาเมืองพนมมันตัน ไว้ได้ ขุนเทียน จึงต้องนำกองทัพ ไปยัง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เพื่อนัดพบกับ เจ้าจูเหลียน ส่วน พระนางมันตัน ได้จัดตั้งกองโจร ออกปล้นสดมภ์ เรือสำเภาค้าขาย ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นประจำ

ต่อมา ขุนเทียน ได้เสด็จไปทำสงครามช่วยเหลือ กองทัพโพกผ้าเหลือง อีกเกือบ ๒ ปี เพื่อช่วย เจ้าจูเหลียน ทำสงคราม กับ กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งบุกมาถึง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) จนกระทั่ง ขุนเทียน มีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา(ปี พ.ศ.๖๗๑) อยู่ในวัยที่กำลังเปลี่ยนแปลง และใจร้อน เรียกว่า วัย ๑๘ เปื้อน ได้สืบทราบว่า มีกองโจรสลัดชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ กลุ่ม พระนางมันตัน(มเหสี ของ พระเจ้าพนมมันตัน)ซึ่งตั้งรัฐรวมกลุ่มกันอยู่รอบๆ ภูเขามันตัน ทางฝั่งตะวันออก ของ อ่าวทะเลแม่โขง มีอาชีพเป็นโจรสลัด ด้วย และได้เข้าปล้นสะดม กองเรือสำเภาค้าขาย ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นประจำ ด้วยการสนับสนุน ของ มหาอาณาจักรจีน อีกทั้งยังสร้างปัญหาในการเดินทางไปยัง แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรคามลังกา , อาณาจักรนาคดิน , อาณาจักรอ้ายลาว และ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) อีกด้วย

ขุนเทียน และ เจ้าจูเหลียน จึงมอบให้ กองทัพโพกผ้าเหลือง เข้าโจมตีแคว้นตาเกี๋ย เพื่อให้กองทัพ ของ มหาอาณาจักรจีน ต้องถอนตัวออกจากการคุ้มครอง เมืองพนมมันตัน เพื่อเข้ารักษา แคว้นตาเกี๋ย แทนที่ เป็นเหตุให้ ขุนเทียน ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าทำ สงคราม ๑๘ เปื้อน โดยสามารถนำกองทัพเข้าโจมตี รัฐทมิฬมันตัน(เขมร) เป็นผลสำเร็จ

พระนางมันตัน ถูกยิงด้วยศรอาบยาพิษ สิ้นพระชนม์ เมืองทมิฬมันตัน ถูกขุนเทียน ยึดครอง ได้สำเร็จ ส่วนราชธิดา ของ กษัตริย์ทมิฬมันตัน มีพระนามว่า เจ้าหญิงโสมา ได้หลบหนีลงเรือ ไปในทะเล ขุนเทียน ได้ออกติดตามจับกุมมาได้ จึงนำกลับไปยัง แคว้นโกสมพี(ไชยา) พระนางโสมา จึงได้กลายเป็นพระชายา พระองค์หนึ่ง ของ ขุนเทียน โดยได้ตั้งพระราชวังพระทับให้กับ พระนางโสมา อยู่ที่ สระนางนาคโสมา แคว้นโกสมพี คือท้องที่ บ้านเนินสูง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

ต่อมา ขุนเทียน ได้มีพระราชโอรส และพระราชธิดา หลายพระองค์ กับพระนางโสมา ที่สำคัญคือ เจ้าชายศรีทรัพย์ , เจ้าหญิงโสภา และ เจ้าชายพันจัน ซึ่งเป็นพื้นฐานของจุดเริ่มต้นของการกำเนิด และ กระบวนการพัฒนา รัฐของชนชาติทมิฬโจฬะ ขึ้นมาเป็น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) ที่มีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นประเทศเขมร ในปัจจุบัน จดหมายเหตุจีน บันทึกเรื่องราวสงครามสิบแปดเปื้อน มีบันทึกว่า¨-

...ขุนเทียน มีเชื้อสายราชวงศ์สืบทอดมาจากอินเดีย(พระนางศกศักราช) ขุนเทียน ได้นอนหลับฝันไปว่า เทวดาประจำราชวงศ์(จตุคามรามเทพ) ได้มอบศรธนูวิเศษ ให้กับพระองค์ และสั่งให้ลงเรือไปยึดครองดินแดนเจนละบก(ทมิฬโจฬะ-เขมร) ครั้นตอนเช้า ขุนเทียน พบศรธนู วางอยู่ที่โคนต้นไม้ ข้างเทวาลัย(เจดีย์พระกฤษณะ) จริง พระองค์จึงได้ลงเรือมายังดินแดน เจนละบก(เขมร) ขณะนั้น กษัตริย์สตรีชนชาติป่าเถื่อน พระนามนางพญาใบมะพร้าว(พระนางโสมา) นำกองโจรมาปล้นสดมภ์ และพยายามยึดเรือของขุนเทียน ทำให้ ขุนเทียน ต้องแผลงศรไปทะลุเรือของ สตรีชนป่าเถื่อนนางพญาใบมะพร้าว(พระนางโสมา) พระนางก็ตกใจกลัวยอมอ่อนน้อมเป็นชายาของ ขุนเทียน ขณะนั้น นางมิได้สวมเสื้อผ้า ขุนเทียน จึงม้วนผ้าถุง สวมลงไปบนศีรษะของนาง ในสมัยต่อมา ขุนเทียน ก็ได้ขึ้นเป็น มหาจักรพรรดิปกครอง ฟูนันก๊ก(สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ) เป็นพระองค์แรก และมีเชื้อสายราชวงศ์ สืบทอดราชย์สมบัติ ต่อๆ กันมา..."

      

สงครามกับ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ ณ สมรภูมิ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน)

       ในช่วงเวลาที่เกิด สงครามสิบแปดเปื้อน ของ ขุนเทียน นั้น ยังเกิดสงคราม พระแสง-เวียงสระ เกิดขึ้นต่อเนื่อง ติดตามมาด้วย ทั้งนี้เนื่องจากก่อนหน้านี้ มหาอาณาจักรจีน ได้สนับสนุนให้กองทัพของ ชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ จาก อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ แห่ง เกาะชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) ได้ยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นตาโกลง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(พังงา) , แคว้นตาโกทุ่ง(ตะกั่วทุ่ง-พังงา) และ แคว้นกาเพ้อ(ระนอง) ทางฝั่งทะเลตะวันตก ของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) แล้วตั้งอาณาจักร ใหม่ๆ ขึ้นมา อีกอาณาจักรหนึ่ง ณ ภูเขาพระนารายณ์(กะเปอร์-ระนอง) เรียกชื่อว่า อาณาจักรเวียดบก แปลว่า อาณาจักรของผู้รุกรานที่มายึดครอง แผ่นดินบก ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนคนไทยอีกส่วนหนึ่ง เรียกอาณาจักรเวียดบก ว่า อาณาจักรผัวหมา(พวกมาก) หมายความว่า อาณาจักรของ คนพวกมาก เนื่องจากมีกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน มาร่วมทำสงครามหนุนช่วยด้วย คำว่า ผัวหมา คือที่มาของคำว่า พม่า นั่นเอง

       ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวชินราช พยายามส่งคณะราชทูตหลายคณะ ไปเจรจากับ อาณาจักรเวียดบก หลายครั้ง ให้ถอนทัพกลับไป ก่อนที่จะเกิดสงคราม แต่ไม่เป็นผล จึงเกิดสงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียนสน กับ อาณาจักรเวียดบก(พม่า) อีกครั้งหนึ่ง   

       ผลของสงครามครั้งนั้น ชนชาติอ้ายไต ทางฝั่งทะเลตะวันตก ส่วนหนึ่ง ต้องอพยพ ไปตั้งรกรากที่ อ.สิเกา จ.ตรัง อีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกรากอยู่ในท้องที่ อ.พนม , อ.เวียงสระ , อ.คีรีรัฐนิคม อ.พระแสง และ อ.บ้านนาสาร ในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

       ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(พระพุทธชินราช) รับสั่งให้ อุปราชขุนเทียน ออกไปรวบรวมไพร่พลผู้อพยพ ให้ร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นใหม่ บริเวณภูเขาพนมเบญจา(ภูเขาพนมสายรุ้ง หรือ ภูเขาพนมรุ้ง) ท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน เรียกชื่อว่า แคว้นพนมรุ้ง ขึ้นมาเป็นแว่นแคว้นใหม่ ของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) ในอนาคต หลังจากการเจรจาทางการทูต ไม่เป็นผล

       หลังจากที่ ขุนเทียน เสด็จกลับมาจากภารกิจการทำสงครามปราบปราม พระนางทมิฬมันตัน เรียบร้อยแล้ว และเมื่อมีข่าวแพร่สะพัดว่า ชนชาติทมิฬโจฬะ ถูกกองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ทำการขับไล่ อพยพออกจากดินแดน อาณาจักรจุลนี เรียบร้อยแล้ว กองทัพของ อาณาจักรเวียดบก(พม่า) จึงยกกองทัพ เข้าทำสงครามยึดครองดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) ทันที เป็นที่มาของตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ เมืองพระแสง , เมืองเวียงสระ , เมืองบ้านนาสาร และ เมืองสักเวียด ในสงครามครั้งนั้น ด้วย    

       สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองพระแสง กองทัพทมิฬโจฬะ เวียดบก ได้ทำการสู้รบอย่างบ้าคลั่ง ไม่กลัวตาย ขุนเทียน ยิงศรธนูอาบยาพิษ จนหมดลูกศรธนู จนกระทั่ง เกิดการสู้รบประชิดตัว แบบตะลมบอน ขุนเทียน ต้องชัก พระแสงดาบ ประจำพระองค์ เพื่อนำกองทหารออกทำการสู้รบแบบ ตะลมบอน จนกระทั่ง กองทัพทมิฬเวียดบก ถูกสังหารเกือบทั้งหมด ที่เหลืออีกส่วนหนึ่ง ถูกจับเป็นเชลยศึก ท้องที่ดังกล่าว จึงถูกเรียกว่า เมืองพระแสง เพื่อยกย่องความกล้าหาญของ ขุนเทียน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำสงครามโดยไม่เคยชัก พระแสงดาบ มาก่อนแต่ต้องชักพระแสงดาบ ออกทำการสู้รบในท้องที่ดังกล่าว อย่างกล้าหาญ จึงเรียกว่า เมืองพระแสง คือท้องที่ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน

       สงคราม ณ สมรภูมิ เมืองเวี่ยงสาก(เวียงสระ) เกิดขึ้นเมื่อ กองทัพของโจรทมิฬเวียดบก ณ ภูเขาพระนารายณ์ แคว้นกาเพ้อ(กะเปอร์) ได้ยกกองทัพลงมาเพื่อหวังยึดครอง เมืองเวี่ยงสาก(เวียงสระ) ในขณะที่ประชาชนในเมืองกำลังลงแรง ช่วยกันตำข้าว สงครามครั้งนั้น ประชาชน ได้ลุกขึ้นต่อสู้ กับ โจรทมิฬเวียดบก อย่างกล้าหาญ โดยได้สร้างวีรกรรมการต่อสู้กับข้าศึกทมิฬ ด้วยการใช้ สากตำข้าว ที่กำลังตำข้าว มาใช้เป็นอาวุธในการสู้รบ โดยการเวี่ยงสากตำข้าว ทำลายข้าศึกโจรชนชาติทมิฬ จนกระทั่ง กองทัพของโจรทมิฬเวียดบก เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม

      ต่อมา ขุนเทียน ทราบวีรกรรม ของ ประชาชน เมืองเวี่ยงสาก จึงพระราชทานชื่อเมืองดังกล่าวว่า เมืองเวี่ยงสาก เพื่อยกย่องการต่อสู้ของประชาชน แต่เนื่องจากคำว่า เวี่ยงสาก ในสำเนียงภาคใต้ จะออกเสียงเป็น เวียงสระ ทำให้คนไทยภาคกลาง เรียกชื่อ เมืองเวี่ยงสาก เป็น เวียงสระ ตั้งแต่นั้นมา คือท้องที่ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน นั่นเอง

    ตำนานความเป็นมาของชื่อ เมืองนาสาร มีเรื่องราวกล่าวว่า ขณะที่เกิดสงครามระหว่างกองทัพของ ขุนเทียน กับ โจรทมิฬเวียดบก นั้น ประชาชนชาวเมืองนาสาร พยายามสร้างเสบียงอาหารไปช่วยกองทัพของ ขุนเทียน เนื่องจาก ชาวเมืองนาสาร พิจารณาเห็นว่า ทหารเหน็ดเหนื่อยในการทำสงครามมาก จึงไม่ส่งข้าวเปลือกไปมอบให้เป็นเสบียงกรัง เพราะจะเป็นภาระ ของ ทหาร ที่จะต้องช่วยกันตำข้าวอีกครั้งหนึ่ง จึงช่วยกันตำข้าวเปลือก ออกมาเป็นข้าวสาร ส่งเป็นเสบียงให้กับกองทัพ ของ ขุนเทียน แตกต่างจากเมืองอื่นๆ เมื่อ ขุนเทียน ทราบเจตนาดีของชาวเมืองนาสาร จึงพระราชทานชื่อเมืองดังกล่าว ว่า เมืองนาสาร เพื่อยกย่องจิตใจอันดีงามของชาวเมืองนาสาร ที่พยายามแบ่งเบาภารกิจ ของ ทหาร ปัจจุบันคือท้องที่ อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี นั่นเอง

    ส่วนตำนานความเป็นมาของชื่อ เมืองสักเวียด มีเรื่องราวกล่าวว่า หลังจากชัยชนะในสงครามครั้งนั้นแล้ว เชลยศึก ทมิฬเวียดบก ถูกกวาดต้อนมาสักหน้าผาก เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงว่า เป็นชนชาติทมิฬเวียดบก เป็นข้าทาส เพื่อสร้างความแตกต่างกับ ชนชาติอ้ายไต อย่างชัดแจ้ง ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า เมืองสักเวียด คือท้องที่ ต.เสวียด อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ขุนเทียน ได้นำเชลยศึกทมิฬเวียดบก ไปขุดคลอง จาก เมืองคีรีรัฐ เลียบทิศตะวันออกของเทือกเขาภูเก็ต ไปยัง เมืองครหิต(คันธุลี) เพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพทางน้ำ และป้องกันน้ำท่วม เรียกชื่อว่า คลองสักเวียด หรือ คลองขุนเทียน ถูกเรียกสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  

       หลังจากสงครามสิบแปดเปื้อนครั้งนั้น ขุนเทียนได้สร้างบ้านแปลงเมือง เป็น แคว้นพนมรุ้ง สำเร็จเรียบร้อย จนกระทั่ง เมื่อขุนเทียน มีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ขุนเทียน จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น ราชา ปกครอง แคว้นพนมสายรุ้ง บริเวณ ภูเขาพนมเบญจา(เขาพนมรุ้ง) จ.กระบี่ อีกครั้งหนึ่ง มีพระนามใหม่ว่า ขุนภูบาล อีกพระนามหนึ่ง ด้วย

 

สงครามกับ ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ แคว้นตาโกลง(กระบี่)

   ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช(พระพุทธชินราช) นั้น ชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ได้ส่งกองทัพมาร่วมทำสงครามยึดครอง แคว้นตาโกลง(กระบี่) ด้วย เมื่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม ชนชาติกลิงค์ ครั้งนั้น ผลของสงคราม กองทัพของ ชนชาติกลิงค์ ถูกปิดล้อม พ่ายแพ้ พังยับเยิน เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช พระราชทานชื่อ แคว้นตาโกลง เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) เพื่อแสดงว่า ชนชาติกลิงค์ ได้พ่ายแพ้สงคราม พังยับเยินมาแล้ว ส่วนประชาชนชาวเมืองตาโกลง ได้ไปสร้างแคว้นตาโกลง ขึ้นใหม่ ในท้องที่ อ.สิเกา จ.ตรัง อีกแว่นแคว้นหนึ่ง ด้วย  

      ในสมัยต่อมา เมื่อจาตุคามรามเทพ ประสูติมาในภพชาติ ของ ขุนราม ซึ่งได้ไปสร้างกระบี่ ณ เมืองกลิงค์ เป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้มีการพระราชทานชื่อ เมืองกลิงค์พัง เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองกระบี่ อีกครั้งหนึ่ง

    ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวชินราช ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียนสน นั้น เมื่อพระองค์ มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ก็ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช ในบวรพระพุทธศาสนา จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินราช อีกพระนามหนึ่ง

 

 ภาพที่-๓๑ ภาพเหรียญเงิน รูปสิงโต และ รูปกวาง คนละด้าน ขุดพบทั่วไปในดินแดนเมืองโบราณ ในท้องที่ของ ภาคใต้ เชื่อว่า เป็นเหรียญเงิน ที่ถูกนำมาใช้ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า ของ ประชาชน ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ

 

 

 

 

(๓) สมัย พระพุทธชินศรี กรุงเทียนสน(ยะลา)

 

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี(พ.ศ.๖๘๘-๖๙๑) หรือ พระพุทธชินศรี กรุงเทียนสน(ยะลา) หลักฐานจดหมายเหตุจีน ได้กล่าวถึงคณะราชทูตของ มหาอาณาจักรจีน ได้เดินทางมายัง ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ สหราชอาณาจักรเทียนสน กรุงเทียนสน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง เป็นการเดินทางของ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน มายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นครั้งที่ ๓ คือ เหตุการณ์ในรัชสมัย ฮ่องเต้ฮั่นหลิวจ้วน เป็นผู้ปกครอง มหาอาณาจักรจีน ภายใต้การบงการของขุนนางขันที จีน ในขณะที่ ฮ่องเต้ มีพระชนมายุเพียง ๑๑ พรรษา คือเหตุการณ์เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๘๘ หลังจากที่ สหราชอาณาจักรเทียนสน ทำสงครามขับไล่ชนชาติทมิฬโจฬะ ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ เรียบร้อยแล้ว สงครามโพกผ้าเหลือง จึงขยายตัวในดินแดน มหาอาณาจักรจีน อย่างกว้างขวาง

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ปี พ.ศ.๖๘๘

เนื่องจาก ขุนนางจีน ผู้นิยมลัทธิขงจื้อ ต้องเร่งรัด สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียนสน เพื่อลดความรุนแรง ของ สงครามโพกผ้าเหลือง มีบันทึกเรื่องราวดังกล่าว ซึ่งได้กล่าวถึง ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ไว้ด้วย จดหมายเหตุจีนดังกล่าว มีบันทึกตอนหนึ่ง ดังนี้¨-๔

"..สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลที่มีภูเขาอันขรุขระ สูงๆ ต่ำๆ เมืองราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน คือ กรุงเทียนสน(ยะลา) ตั้งอยู่ห่างจากทะเล ประมาณ ๑๐ ลี้ (ประมาณ ๕-๖ กิโลเมตร) สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ยังมี มหาราชาปกครองอาณาจักรต่างๆ ที่สำคัญ อีก ๕ พระองค์(อาณาจักรเทียนสน , อาณาชวาทวีป , อาณาจักรนาคฟ้า , อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรจุลนี)

ประเทศต่างๆ ล้วนต่างมาติดต่อค้าขายกับ สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนสนก๊ก) ทั้งท่าเรือทางฝั่งทะเลทิศตะวันออก(แคว้นลังกาสุกะ , แคว้นสุธรรม , แคว้นโพธิสาร , แคว้นโกสมพี และ แคว้นนาลองกา) และท่าเรือทางฝั่งทะเลทิศตะวันตก(แคว้นไตปิง , แคว้นตาโกลา , แคว้นโพธิ์กลิงค์พัง , แคว้นตาโกปา ) วันหนึ่งๆ มีผู้คนมาค้าขายนับเป็นหมื่นคน ทั้งนี้เพราะ เมืองท่าต่างๆ ของสหราชอาณาจักรเทียนสน ตั้งอยู่ตรงอ่าวโค้ง และเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล(แหลมมาลายู) มีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐๐๐ ลี้ (๕๗๖ กิโลเมตร) เรือสำเภาค้าขายจะเล่นตัดผ่านไปโดยไม่ขออนุญาตมิได้(ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ และ ช่องแคบแมนจูเจ้าเก้า) ทำให้ สหราชอาณาจักรเทียนสน กลายเป็นแหล่งการค้า สิ่งของมีค่า และหายาก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดการค้าของเมืองท่า เหล่านี้

มหาราชาของ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ประชาชนมักจะเรียกพระนามนำหน้า ว่า คุณหลวง(ขุนหลวง) ในราชธานี(เมืองเทียนสน-ยะลา) มีชาวหูหลำ (เกาะไหหลำ) อาศัยอยู่ประมาณ ๕๐๐ ครอบครัว มีพระพุทธรูปอยู่ ๑ องค์(พระพุทธสิหิงส์) และมีพวกพราหมณ์แต่งชุดขาวอาศัยอยู่ประมาณ ๑,๐๐๐ คน  ประชาชนในราชธานี(ยะลา) นิยมศึกษาหลักธรรม(พระพุทธศาสนา) พวกพราหมณ์(ชีพราหมณ์) ไม่ยอมโยกย้ายไปอยู่ที่แห่งใด  พวกเขา(นาค ซึ่งต้องบวชชีพราหมณ์ก่อนบวชเป็นพระภิกษุ) จะไม่ทำการงานอย่างใด นอกจากจะต้องศึกษาท่องบ่น คัมภีร์ต่างๆ เท่านั้น ชาวเมืองนครหลวง อาบน้ำชำระกายด้วยเครื่องหอม แล้วทำการท่องบ่น บทสวดมนต์ต่างๆ ทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน..."

 

    

ภาพที่-๓๒ เงินดินเผา รูปสิงห์โตหาว สร้างจากดินเผา ใช้เป็นเงินตรา เพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ในสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ขุดพบทั่วไปใน อดีตเมืองโบราณ ในท้องที่ภาคใต้ มักจะพบในผอบดินเผา สำหรับเก็บรักษา อัฐิ ของ ผู้ตาย ในสมัยโบราณ

 

  

ชนชาติกลิงค์ อาณาจักรกลิงค์รัฐ ทำสงครามยึดครอง แคว้นครหิต(คันธุลี)

   ภายหลังจากการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรเทียนสน เมื่อปี พ.ศ.๖๘๘ นั้น พวกขุนนาง ก๊กแซ่เหลียง ได้เข้ายึดอำนาจเมื่อปี พ.ศ.๖๘๙ พร้อมกับทำการเชิด ฮ่องเต้ฮั่นหวนตี้ ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ขึ้นครองราชสมบัติ ภายใต้อำนาจของขุนนาง ก๊กแซ่เหลียง ซึ่งได้สนับสนุน ชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นครหิต(คันธุลี) ของ อาณาจักรชวาทวีป เนื่องจาก สงครามโพกผ้าเหลือง กำลังขยายตัวอย่างรุนแรง

     เนื่องจาก กองทัพโพกผ้าเหลือง ซึ่งได้เคยยุติไปชั่วคราว เพราะเกิดสงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ แต่เมื่อสงครามในดินแดนสุวรรณภูมิ ยุติลง กองทัพโพกผ้าเหลือง สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน และ อาณาจักรเซี่ยงไฮ้ กลับคืนเป็นผลสำเร็จ

       กองทัพโพกผ้าเหลืองจึงเกิดการขยายตัวต่อไปอย่างรวดเร็ว อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้น กลุ่มปัญญาชนที่เป็นสาวกขงจื้อ ยังรวมตัวลุกขึ้นต่อสู้กับขุนนางขันทีจีน อีกด้วย ดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน จึงเต็มไปด้วยความขัดแย้ง มหาอาณาจักรจีน จึงนำเอา อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) มาก่อสงครามยึดครองดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

       ในขณะที่ มหาอาณาจักรจีน พ่ายแพ้สงครามโพกผ้าเหลือง ทั่วทุกสมรภูมิของสงคราม นั้น มหาอาณาจักรจีน ซึ่งมีพลเมืองคงเหลือประมาณ ๙ ล้านคน เท่าๆ กับ ชนชาติอ้ายไต มหาอาณาจักรจีน ประสบความสำเร็จ ในการยุยงให้ พระเจ้ามังเคร ชนชาติกลิงค์ จาก อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชะวา) ยกกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้น ครหิต(คันธุลี) แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นกลิงค์รัฐ เป็นผลสำเร็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๘๙ สามารถจับกษัตริย์ไทย สำเร็จโทษ ด้วย แล้วจึงประกาศตัวขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่า พระเจ้ามังเคร มีอัครมเหสีพระนามว่า พระนางมอญ และมี พระราชธิดา พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าหญิงอีสาน ขณะนั้น ขุนเทียน(ท้าวภูบาล) เป็นมหาราชา ปกครองอาณาจักรชวาทวีป มีราชธานี อยู่ที่ เมืองพนมรุ้ง แคว้นพนมรุ้ง บริเวณ ภูเขาพนมเบญจา(เขาพนมรุ้ง) จ.กระบี่ ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต เร็วที่สุด

       มหาราชาขุนเทียน แห่ง อาณาจักรชวาทวีป ได้เร่งปรับปรุงกองทัพของ อาณาจักรชวาทวีป ครั้งใหญ่ มีการสร้างกองทัพบก เป็นทหารประจำการ ณ เมืองคีรีรัฐ และสร้างกองทัพเรือ ณ ท่าแมนจูลี้(ท่าโรงช้าง) หรือ ท่าจูลี้ เพื่อเตรียมทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ ให้ออกไปจากดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่มา ของ สงคราม ๒๘ เปื้อน อีกครั้งหนึ่ง

 

สงคราม ๒๘ เปื้อน ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ปี พ.ศ.๖๙๑

       ในสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี นั้น เมื่อ มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน)¨-๕แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงพนมสายรุ้ง มีพระชนมายุ ๒๘ พรรษา มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ได้ทำสงครามใหญ่ เรียกว่า สงคราม ๒๘ เปื้อน หรือ สงครามทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งที่ ๑ ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง เมืองครหิต(คันธุลี) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๙๑ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ และเป็นที่มาของการกำเนิด สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ในเวลาต่อมาด้วย

 

                                                               

ภาพที่-๓๓ ภาพถ่ายพื้นที่ ทุ่งพระยาชนช้าง สมรภูมิ ของ สงคราม ๒๘ เปื้อน และสงครามสำคัญ อีกหลายครั้ง ทุ่งพระยาชนช้าง ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ ๒,๐๐๐ ไร่ เป็นที่ดินสาธารณะฯ สงวนไว้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในปัจจุบัน เจ้าหน้าที่รัฐฯ และพวก ได้สมคบกันบุกรุกเข้าปลูกยางพารา เพื่อออกโฉนดที่ดิน ในพื้นที่ส่วนใหญ่ ของ ทุ่งพระยาชนช้าง เกือบหมดสิ้นแล้ว

 

 

     ผลของสงคราม ๒๘ เปื้อน ณ สมภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ครั้งนั้น ขุนเทียน เป็นฝ่ายชนะสงคราม พระเจ้ามังเคร สวรรคต ในสงคราม ส่วน พระนางมอญ ได้นำ เจ้าหญิงอีสาน หลบหนีไปพึ่งพิง สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ ส่วนชนชาติกลิงค์ ที่ถูกจับเป็นเชลยศึก และถูกกวาดต้อนให้ไปตั้งรกราก ณ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) จำนวนมาก จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นโพธิ์กลิงค์(ปัตตานี) ด้วย

    ผลของสงครามครั้งนั้น ได้กำเนิดตำนานท้องที่ต่างๆ จำนวนมาก เช่น บ้านร้อยเรือน , หนองน้ำศักดิ์สิทธิ์(หนองสิทธิ์) , หนองหวาย , คลองกลิงค์(คลองหลิง) , บ้านละแม่(ละแม) , เวียงช้างให้ , ภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ) , ทุ่งชวาปราบ(ทุ่งหว้า) , ภูเขาชวาปราบ(ภูเขาคันธุลี) , เกาะกันไพรี และ พังงา เป็นต้น และยังกำเนิดคำไทยหลายคำ ที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน เช่น เด็กกำพร้า , ขนมกันละแม่(กันละแม) และ ผลขี้พร้า(ฟักเขียว) เป็นต้น ซึ่งเล่าสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       สงคราม ๒๘ เปื้อน ครั้งนั้น มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ได้ เจ้าหญิงอีสาน พระราชธิดา ของ พระเจ้ามังเคร กับ พระนางมอญ ไปเป็นพระชายา อีกพระองค์หนึ่ง เป็นที่มาของการกำเนิด อาณาจักรอีสานปุระ ในเวลาต่อมาด้วย ภายหลังสงครามครั้งนั้น แคว้นครหิต(คันธุลี) หรือ แคว้นกลิงค์รัฐ ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นช้างให้(คันธุลี) ด้วย

        

 

                                       

  ภาพที่-๓๔ เทวรูป มุกลึงค์ พระนางอีสาน พบที่ข้างสระน้ำหนองหวาย บริเวณสถานีรถไฟท่าชนะ อดีตที่ตั้งพระราชวังที่ประทับ ของ พระนางอีสาน กับ ขุนเทียน ซึ่งได้สร้างพระราชวังที่ประทับในพื้นที่ดังกล่าว ให้กับ พระนางอีสาน หลังจากที่ขุนเทียน ชนะสงครามกลิงค์รัฐ ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ต่อมา พระนางอีสาน นำพระราชมารดา คือ พระนางมอญ ไปสร้างแคว้นอีสานปุระ ขึ้นมาในดินแดนภาคอีสาน เป็นที่มาของ อาณาจักรอีสานปุระ ของ ชนชาติมอญ ในเวลาต่อมา

 

       ต่อมา มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ยังเป็นผู้ให้กำเนิด แคว้นอีสานปุระ ขึ้นมาในท้องที่ จ.กาฬสินธุ์ ในปัจจุบัน คือพื้นฐานของ ชนชาติมอญ ซึ่งได้เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมาด้วย แคว้นอีสานปุระ ได้พัฒนาต่อมาเป็น อาณาจักรอีสานปุระ และมีอิทธิพลเหนือ อาณาจักรนาคดิน รวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน เรียกว่า อาณาจักรอีสานปุระ โดยมีราชวงศ์ชนชาติมอญ เป็นผู้ปกครอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ในเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติที่ ๓ คือ ขุนราม ซึ่งเป็นเรื่องราวของการล่มสลายของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ และการกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม มาแทนที่ นั่นเอง

 

 

 

 ภาพที่-๓๕ แผนที่ แคว้นช้างให้ ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ทำสงครามปราบปราม ชนชาติกลิงค์ ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง และกำเนิด แคว้นของชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาแทนที่ แคว้นกลิงค์รัฐ อีกครั้งหนึ่ง เรียกชื่อว่า แคว้นช้างให้ ตั้งพระราชวังหลวงอยู่ที่ เมืองสุวรรณมาลี หรือ เวียงช้างให้ ตั้งอยู่บริเวณภูเขาภิกษุ ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นชื่อ ภูเขาชวาลา ภายหลังชัยชนะ ของ สงคราม ครั้งนั้น

 

 

 ภาพที่-๓๖ ภาพถ่ายแสดงที่ตั้ง สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งขุนเทียน จัดสร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองน้ำศักดิ์สิทธิ์(บ้านหนองสิทธิ์) ใกล้ทุ่งพระยาชนช้าง ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ผู้เฒ่า ผู้แก่ เล่าว่า บริเวณกลางสระ และ รอบๆ สระ เคยมีเจดีย์อิฐ เก็บรักษาอัฐิ ของ ทหารไทย ผู้พลีชีพในสมรภูมิสงคราม ณ ทุ่งพระยาชนช้าง หลายสมัย กล่าวกันว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เคยมาบูรณะฟื้นฟูสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นใหม่ เพื่อใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์ ในหนองน้ำดังกล่าว ไปใช้ในพิธีสาบานตน ของ ทหาร เพื่อทำสงครามขับไล่กองทัพพม่า ให้ออกไปจากดินแดน อาณาจักรละโว้ เพื่อทำการรวบรวมแผ่นดินไทยเป็น อาณาจักรเสียม-ละโว้ พร้อมกับการตั้งราชธานี แห่งใหม่ ขึ้นที่ กรุงธนบุรี ในเวลาต่อมา ด้วย

 

 

ขุนเทียน ให้กำเนิด สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อใช้ในพิธีกรรมสาบานตน ของ ทหาร

       ขุนเทียน ยังให้กำเนิด สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ขึ้นมา ใกล้กับ ทุ่งพระยาชนช้าง เพื่อใช้เป็นที่เก็บอัฐิ ของ ทหารชนชาติอ้ายไต ที่สละชีวิต ในสงครามครั้งนั้น และนำน้ำในสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ดังกล่าว ใช้ในพิธีกรรมสาบานตนของทหารไทย ให้ยอมพลีชีพเพื่อรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ เช่นเดียวกับที่บรรพชน เคยสละชีพรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ มาแล้ว

       เนื่องจาก ต่อมา ได้เกิดสงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง อีกหลายครั้ง จึงมีการสร้างเจดีย์เล็กๆ ไว้กลางสระ และ รอบๆ สระ สำหรับเก็บรักษาอัฐิ ของ ทหาร ผู้ยอมพลีชีวิตในสงคราม เพื่อรักษา ดินแดนสุวรรณภูมิ สระน้ำดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ถูกนำไปใช้ในราชพิธีดื่มน้ำสาบาน สำหรับ ทหาร และ ขุนนาง สำคัญ เรื่อยมา

      เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช ตามที่ กฎหมายพระธรรมนู กำหนดให้ต้องปฏิบัติ จนกระทั่ง บรรลุพระโพธิญาณ เป็นพระอรหันต์ จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินศรี จึงมีการสร้าง เทวรูป พระพุทธชินศรี ให้ชนรุ่นหลัง เคารพสักการะ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       ส่วน มหาราชาท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจาก สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ ให้ดำรงตำแหน่ง นายก ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเสี่ยงราช ด้วย

 

  

    

(๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเสี่ยงราช กรุงเทียนสน(ยะลา)

 

     ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเสี่ยงราช(พ.ศ.๖๙๑-๖๙๒) กรุงเทียนสน(ยะลา) นั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว ท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ได้ให้กำเนิด แคว้นพนมมันตัน ของ ชนชาติทมิฬโจฬะ ในดินแดนของ อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) และได้พัฒนาจนเป็น อาณาจักรโจฬะบก(เขมร) และ อาณาจักรโจฬะน้ำ(บอร์เนียว) ในเวลาต่อมา และชนชาติทมิฬโจฬะ ได้ทำการก่อกบฏ ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง ส่งผลให้กำเนิด สหราชอาณาจักรพนม(ฟูนันก๊ก) คือพื้นฐาน ของ ประเทศเขมร ในปัจจุบัน นั่นเอง

      ในรัชกาลนี้ นายกท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ยังเป็นผู้ระดมปัญญาชน ชนชาติไทย คัดเลือกมาตั้งเป็น สภาตาขุน และ สภาเจ้าตาขุน ขึ้นมาในท้องที่ เมืองเจ้าตาขุน คือท้องที่ อ.ตาขุน จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เพื่อระดมความคิดปัญญาชนไทย สร้างรัฐของชนชาติไทย ให้เท่าเทียมชาติอื่นๆ จึงเป็นที่มาของการปฏิรูปการทหาร และการปกครอง ครั้งใหญ่ กำเนิดกฎมณเฑียรบาล กฎหมายตราสามดวง และ กำเนิดราชวงศ์ไศเลนทร์วงศ์ ในเวลาต่อมา ด้วย

     ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเสี่ยงราช(ขุนหลวงเซี้ยง) นั้น เกิดขึ้นในระยะสั้นๆ เนื่องจาก ท้าวเสี่ยงราช ได้คัดเลือกเชลยศึกชนชาติกลิงค์ ซึ่งพ่ายแพ้สงคราม ณ สมรภูมิ ทุ่งพระยาชนช้าง ไปรับใช้เป็นทาสคนสวน ในพระราชวังหลวง กรุงเทียนสน(ยะลา) จึงถูกทาสชนชาติกลิงค์ ลอบปลงพระชนม์ สวรรคตในสวนผัก ภายในพระราชวังหลวง นั่นเอง

 

 

 

(๕) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเชียงราช กรุงตาโกลา(กันตัง)

 

      ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเชียงราช(พ.ศ.๖๙๒-๖๙๓) หรือ ขุนหลวงเชียง กรุงตาโกลา(กันตัง) นั้น เนื่องจาก พระองค์ เคยเป็นผู้มีบทบาทในการสร้าง กองทัพโพกผ้าเหลือง มาตั้งแต่สมัยที่ รับราชการ เป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) ทำให้พระองค์ มอบให้ พระราชโอรส จำนวนมาก เร่งทำการขยายขอบเขตสงครามกองทัพโพกผ้าเหลือง จนกระทั่ง ชนะสงคราม แทบทุกสมรภูมิ ในดินแดน มหาอาณาจักรจีน

     การขยายบทบาท ของ กองทัพโพกผ้าเหลือง ครั้งนั้น ทำให้ เกิดความขัดแย้งขึ้นในราชสำนักจีน อย่างรุนแรง เป็นเหตุให้ กลุ่มขุนนางขันที ๕ คน ได้ทำการโค่นล้มขุนนาง ก๊กแซ่เหลียง อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ เหลียงหวงโฮ่ สิ้นพระชนม์ โดยการเข้ายึดอำนาจในพระราชวังของขุนนางขันทีทั้ง ๕ คน พร้อมกับฆ่าขุนนาง เหลียงจี้ รวมทั้งมีการฆ่าขุนนาง แซ่เหลียง อีกเป็นจำนวนมาก ด้วย

       หลังจากนั้น ขุนนางขันที ทั้ง ๕ คน จึงส่งคณะราชทูตอย่างลับๆ ไปขอให้ อาณาจักรกลิงค์รัฐ เกาะชบาตะวันออก(เกาะชวา) ทำการยกกองทัพเข้าโจมตี กรุงตาโกลา(กันตัง) ซึ่งเป็นราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ในขณะนั้น ผลของสงครามครั้งนั้น มหาจักรพรรดิท้าวเชียงราช สวรรคต ในสงคราม 

   จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ได้ยกกองทัพไปทำสงครามปราบปรามกองทัพของ อาณาจักรกลิงค์รัฐ อีกครั้งหนึ่ง กองทัพกลิงค์รัฐ ถูกปิดล้อม ณ เมืองตาโกลา ถูกจับเป็นเชลยศึก เป็นที่มาให้ แคว้นตาโกลา(กันตัง) ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น แคว้นโพธิ์กลิงค์ตัน ส่วนเชลยศึกชนชาติกลิงค์ ถูกกวาดต้อนให้ไปตั้งรกราก ณ แคว้นโกตาบารู เป็นที่มาให้ แคว้นโกตาบารู มีชื่อใหม่ว่า แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) ถูกเรียก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

     จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) ยังได้ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง ดินแดนเกษียรสมุทร กลับคืน เป็นผลสำเร็จ และได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรกลิงค์รัฐ เป็นชื่อ อาณาจักรชบาตะวันออก(เกาะชวา) เช่นเดิม ส่วน อาณาจักรทมิฬอาแจ๊ะ ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรชบาตะวันตก(เกาะสุมาตรา) ดังเดิม

  การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลให้ มหาอาณาจักรจีน ไม่สามารถนำชนชาติทมิฬโจฬะ และ ชนชาติกลิงค์ มาก่อสงครามกับชนชาติอ้ายไต ได้อีกนาน ดังนั้น เมื่อ จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) กรุงพนมสายรุ้ง ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง สหราชอาณาจักรเทียนสน จักรพรรดิท้าวภูบาล(ขุนเทียน) จึงได้ตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาเรียกชื่อว่า ราชวงศ์ไศเลนทร์ พร้อมกับได้เปลี่ยนแปลงชื่อ สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๙๓ เป็นต้นมา นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ของ ชนชาติอ้ายไต ผู้ปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร อีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

 

 

 



 

                                                                  เชิงอรรถ

 

¨-J.W. Mc. Crindle Commerce and Navigation of the Erythrean Sea, pp. ๑๓๐๙ note and H. Maspero Dawn of Civilization, p.๕๔๖

 

¨-  G. Coedes, Textes d auteurs grecs et latins relatifs al Extreme-Orien, depuis le. IV siecle av.J.C.jusqu au XIV siecle (Paris, ๑๙๑๐) p.๑๔-๑๕

       พระเจ้าจันทร์คุปต์ ซึ่งเป็นพระอัยกา ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๒๒๒-๒๔๖) ประเทศอินเดีย ได้บันทึกไว้ใน วรรณกรรมด้านการปกครองโบราณ คือ เกาฏิลยอรรถศาสตร์ ซึ่งเป็นตำราว่าด้วยการปกครองบ้านเมือง และหน้าที่ของอำมาตย์ราชสำนัก เขียนขึ้นโดย เกาฏิลยะ ได้กล่าวถึงเนื้อไม้หอมชนิดหนึ่ง เรียกว่า อคุรุ คือไม้กฤษณา ซึ่งเป็นไม้เนื้อหอมมีเนื้อสีเหลืองเป็นมันเยิ้ม บันทึกว่า เป็นไม้ที่ส่งมาจากดินแดนสุวรรณภูมิ และยังกล่าวถึงไม้กฤษณาว่ามีอีกหลายแห่ง เช่น เกาะลังกา และประเทศหนึ่งเรียกชื่อว่า สุวรรณกุฑยะ แสดงว่ามีการค้าขายระหว่าง อินเดีย และ สุวรรณภูมิ อย่างคึกคักแล้ว (R.P.Kangle, Kautiyas Arthasastra Bombay ๑๙๖๓ Vo๑.๒ p.๑๑๗)

       หนังสือ มหากัมมวิภังคสูตร(สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์สูตรที่ ๓๖ กล่าวว่า พ่อค้าอินเดีย ผู้มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ มักจะนิยมเดินทางไปค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเดินทางจากเมืองท่า ๒ แห่ง คือ เมืองท่ามหาโกศลี และ เมืองท่าตามรลิปติ มาค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ

       ข้อมูลจาก วรรณกรรมพุทธศาสนา ในชาดกมาลา แต่งโดย อารศูร(พุทธศตวรรษที่ ๘-๙) เป็นนิทานของพุทธศาสนา นิกายมหายาน เขียนเป็น ภาษาสันสกฤต มีเรื่องเล่าถึง การเดินทางของพ่อค้าอินเดีย เพื่อเดินทางมาค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ คือเรื่อง สุปารกชาดก กล่าวว่า พ่อค้าเดินทางจาก เมืองท่าภรุกัจฉะ เพื่อมาค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ(จาก J.S.Speryer, The Jatakamala London, ๑๘๙๕,p.๑๒๕.)

       ในหนังสือ มิลินทปัญหา ซึ่งบันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต มีบันทึกในตอนที่ชื่อ เมณฑปัญหา วรรคที่ ๙ ธุตังคปัญหา พระนาคเสนได้อธิบายอุปมาให้กับพระเจ้ามิลินท์ รับฟังโดยกล่าวถึง นายพานิชย์ผู้มั่งคั่ง ได้เดินทางโดยทางเรือ ผ่านทะเลลึก ไปยังเมืองท่าต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น เมืองท่าวังคะ เมืองท่าตาโกลา เมืองท่าจีนะ เมืองท่าโสวีระ เมืองท่าสุรัฏฐะ เมืองท่าอลาสันทะ เมืองท่าโกลาปัตตนะ และ เมืองท่าสุวรรณภูมิ และเมืองท่าใหญ่ๆ อีกหลายแห่ง ด้วย

 

¨-  ม.จ.สุภัทรดิศ ดิศกุล ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ.๒๐๐๐ สมาคมประวัติศาสตร์ฯ พ.ศ.๒๕๓๕ หน้าที่ ๑๒

       หลักฐานนี้ คือบันทึกของ ราชทูตคังไถ แต่บันทึกต้นฉบับของ ราชทูตคังไถ ต้นฉบับได้หายไป คงมีอ้างอิงอยู่ในหนังสือเหลียงซู ซึ่งเป็นพงศาวดารสมัยราชวงศ์เหลียง ซึ่งเขียนขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.๑๐๔๕-๑๑๐๐ และยังมีบันทึกไว้ในหนังสือของ ไทย-ปิง-ยั่ว-หลาน ซึ่งเป็นพงศาวดารราชวงศ์ซ่ง ที่เขียนขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๑๕๒๐-๑๕๒๖ อีกด้วย

 

¨-  H.B. Sarkar, op.cit.๑๘๙๕X, p.๒๕๐

 

 

¨-  ตามตำนานทุ่งพระยาชนช้าง ขุนเทียน มีหลายพระนาม ในวัยเยาว์ มีพระนามว่า ขุนเซียน ได้ช่วยผลิตเทียนสน ส่งไปใช้ในการทำสงครามโพกผ้าเหลือง จนมีความชำนาญ จึงถูกประชาชนเรียกพระนามใหม่ว่า ขุนเทียน เมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา แห่ง อาณาจักรชวาทวีป กรุงพนมสายรุ้ง บริเวณ ภูเขาพนมเบญจา ในท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ และได้สร้างรอยพระบาทพระพุทธองค์ ไปประดิษฐานไว้ ณ ภูเขาพนมเบญจา และ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า ท้าวภูบาล(ขุนเทียน) และเมื่อขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มีพระนามใหม่ว่า ท้าวพันตา(ขุนเทียน) และเมื่อเสด็จสวรรคต ได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า ท้าวเทพพนม เป็นพระนามสุดท้าย

 

Visitors: 54,260