บทที่ ๓ กำเนิดสหราชอาณาจักรเทียน

      มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร เป็นผู้ประกาศตั้ง สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๓๐๔ เนื่องจาก พระเจ้าสุมิตร(ท้าวหารคำ) ซึ่งเป็น พระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้นำระบบการปกครองแบบ สหราชอาณาจักร มาใช้กับรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ พระเจ้าสุมิตร ได้มาอภิเษกสมรส กับ เจ้าหญิงเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต คือ พระนางเชียงเม่งกุ้ย แห่ง เมืองมิถิลา(ไชยา) มีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายนกหยก , เจ้าชายม้าทอง และ เจ้าชายข้าวเปล่า ทั้ง ๓ พระองค์ กลายเป็นปฐมวงศ์ ของ ราชวงศ์โคตะมะ หรือ ราชวงศ์โคมะ หรือ ราชวงศ์ขอม ของ ชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมา

                           

ภาพที่-๑๙ พระพิมพ์ดินดิบ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ขุดพบ ณ ถ้ำคูหา จ.ยะลา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ ด้านหลัง มีคาถาเยธัมมาฯ เขียนว่า "เยธัมมาเหตุปัปภวา เตสังเหตุงตถาคโต เตสัญจโยนิโรโธ เอวังวาทีมหาสมโณ" แปลความได้ว่า "ธรรมทั้งหลายมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตได้ตรัสถึงเหตุของธรรมเหล่านั้น เมื่อสิ้นเหตุของทุกข์ เหล่านั้น จึงดับทุกข์ได้ พระมหาสมณะ มีวาทะตรัสสอนเช่นนี้" คาถาเยธัมมาฯ เป็นหัวใจคำสอนของพระพุทธศาสนา แสดงว่า สหราชอาณาจักรเทียน ได้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ แล้ว

 

                                    โครงสร้างราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ผู้ปกครอง อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ)

                                                

 

                                                           

 

   ภาพที่-๒๐ แผนที่ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรเทียน สมัย สหราชอาณาจักรเทียน

 

 

                 โครงสร้างราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน

                                                          

 การปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียน ระบบ ธรรมาธิปไตย

    พระเจ้าสุมิตร(ท้าวหารคำ) เป็นผู้นำวิชาการปกครอง ตามตำราอรรถศาสตร์ ของ เกาฎิลย์§-๑ ซึ่งกำเนิดขึ้นในสมัยพระเจ้าจันทร์คุปต์(พ.ศ.๒๒๒-๒๔๖) อินเดีย มาปรับปรุงดัดแปลงให้สอดคล้องกับการสร้างรัฐทางพระพุทธศาสนา รูปแบบ สหราชอาณาจักร มาแนะนำให้ จักรพรรดิท้าวกูเวร ใช้เป็นรูปแบบการปกครองชนชาติอ้ายไต ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเป็นที่มาของการเปลี่ยนชื่อ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๐๔ เป็นต้นมา ทำให้ ดินแดนสุวรรณภูมิ ของ ชนชาติอ้ายไต ขยายตัวออกเป็น อาณาจักรต่างๆ อย่างรวดเร็ว

        การปกครองแบบสหราชอาณาจักร เป็นรูปการปกครองหนึ่งในระบบราชาธิปไตย มี พระธรรมนู(กฎมณเฑียรบาล) เป็นกฎหมายสูงสุด ของ สหราชอาณาจักรเทียน มี กฎหมายอาญา และ กฎหมายแพ่ง รองรับ พระธรรมนู โดยมี สภาปุโรหิต เป็นสภาสูงสุด ตำแหน่ง สมาชิกสภาปุโรหิต ส่วนใหญ่จะเป็นพระญาติผู้อาวุโส หรือ พระอาจารย์ ของ มหาจักรพรรดิ สภาปุโรหิต จึงมีอำนาจในการแต่งตั้ง หรือ ถอดถอน หรือ ลงโทษ ตำแหน่งสูงสุดในการปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน คือตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ และ นายก ได้ นอกจากนั้น ยังมี สภาโพธิ ซึ่งประกอบด้วย ภิกษุ หรือ ตาผ้าขาว ผู้สอบผ่านวิชาพระไตรปิฎก ในพระพุทธศาสนา เป็นสภาที่เป็นดุลถ่วงกับ สภาปุโรหิต อีกด้วย เพื่อควบคุมการใช้กฎหมาย ในอรรถคดีต่างๆ ให้ได้รับการตัดสินคดีความ สอดคล้องกับ พระธรรมคำสั่งสอน ของ พระพุทธองค์ เรียกว่า ยุติคดีอย่างมีศีลธรรม หรือ ยุติธรรม มิได้ยุติตามตัวหนังสือกฎหมาย ที่ใช้การตีความแตกต่างกันไป

       การปกครองระบบราชาธิปไตย รูปแบบ สหราชอาณาจักร นั้น ประกอบด้วย อาณาจักรต่างๆ หลายอาณาจักร แต่ละอาณาจักร ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งปกครองโดย ราชา รวมกันตั้งแต่ ๓ แว่นแคว้นขึ้นไป มีอาณาเขตติดต่อกัน ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ รวมกันเรียกว่า อาณาจักร ซึ่งปกครองโดย มหาราชา เมื่อนำมารวมกัน เรียกว่า สหราชอาณาจักร มีตำแหน่งที่สำคัญ ๔ ตำแหน่ง คือ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ นายก และ มหาราช

      ตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ(พระอินทร์) เป็นตำแหน่งสูงสุด ของ สหราชอาณาจักร เมืองที่ มหาจักรพรรดิ ทำหน้าที่บริหารงาน เรียกว่า เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี หรือ เมืองหลวง ซึ่งเป็นคนละเมือง หรือ คนละแว่นแคว้น หรือ คนละอาณาจักร กับ เมืองจักรพรรดิ หรือ เมืองนายก ก็ได้ ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิ รัชกาลหนึ่งๆ พ้นจากตำแหน่ง จักรพรรดิ จะขึ้นดำรงตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนู กำหนด ทันที ตำแหน่ง นายก ก็จะถูกเลื่อนเป็นตำแหน่ง จักรพรรดิ ทันที เช่นกัน

       สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ จะร่วมกันสรรหา ตำแหน่ง นายก ขึ้นใหม่ โดยคัดเลือกจาก มหาราชา จาก อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิก ของ สหราชอาณาจักร มาดำรงตำแหน่ง ดังนั้น เมืองจักรพรรดิ ในรัชกาลที่แล้ว จะกลายเป็น เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี ในรัชกาลใหม่ จะเห็นว่า การปกครองรูปแบบ สหราชอาณาจักร จะทำให้ เมืองราชธานี เปลี่ยนแปลงทุกรัชกาล สร้างความสับสนให้กับนักประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นอย่างมาก

         มหาจักรพรรดิ(พระอินทร์) คือ ผู้ที่มีความรอบรู้ และ ผู้มีประสบการณ์ ทุกๆ ด้าน ถือเป็น จอมทัพ มีบทบาทภาระหน้าที่ กำหนด แนวทาง นโยบาย และติดตามการบริหารงาน การทำสงคราม ของ จักรพรรดิ และ นายก ในการบริหารงานทั่วทั้ง สหราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายที่กำหนด เมื่อ มหาจักรพรรดิ สวรรคต ถือเป็นเทพชั้น พระอินทร์ ในภาวะปกติ ตำแหน่งของ มหาจักรพรรดิ จะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เพื่อไปดำรงตำแหน่ง สมาชิก ของ สภาปุโรหิต โดยตำแหน่ง ทันที

          จักรพรรดิ(พระพรหม) คือ ผู้มีความสามารถทางการทหาร และ การบริหารงาน เคยผ่านงานในตำแหน่ง นายก มาก่อน จึงมีหน้าที่ควบคุม กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักร ในการรักษาเขตแดน ป้องกันการรุกรานของต่างชาติ และ ทำสงครามปราบปรามข้าศึก นอกจากนั้น จักรพรรดิ ยังทำหน้าที่ ติดตาม ควบคุม และให้คำแนะนำช่วยเหลือการบริหารงาน ของ นายก อีกด้วย ถ้าหากว่า จักรพรรดิ พระองค์ใด สวรรคต ก่อนที่ มหาจักรพรรดิ จะพ้นตำแหน่ง ด้วยเหตุใดก็ตาม จักรพรรดิ จะได้รับการยกย่องเป็นเทพ ชั้น พระพรหม ในภาวะปกติ เมื่อ มหาจักรพรรดิ พ้นจากตำแหน่ง จักรพรรดิ จะขึ้นสู่ตำแหน่ง มหาจักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนู กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที ดังนั้น เมืองจักรพรรดิ จะกลายเป็น เมืองมหาจักรพรรดิ หรือ ราชธานี ทันที เว้นแต่ จักรพรรดิ พระองค์นั้น เสด็จไปใช้ ราชธานี เดิม ของ มหาจักรพรรดิ เป็น ราชธานี ก็ได้

        นายก(พระยม) คือ ผู้ควบคุมการบริหารงาน ๓ องค์กรใหญ่ คือ สมุหนายก , สมุหกลาโหม และ ศาลยุติธรรม ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบายที่กำหนด เมื่อสวรรคต นายก จะถูกจัดชั้นเทพให้เป็น พระยม ส่วนในภาวะปกติ เมื่อ จักรพรรดิ พ้นจากตำแหน่ง นายก จะขึ้นสู่ตำแหน่ง จักรพรรดิ ตามที่กฎหมายพระธรรมนู กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ทันที ส่วนตำแหน่ง นายก พระองค์ใหม่ สภาปุโรหิต และ สภาโพธิ จะร่วมกันคัดเลือกจาก มหาราชา ของ อาณาจักร ต่างๆ มาแทนที่ ทันที เช่นกัน

     มหาราชา(พระนารายณ์) คือ ผู้ปกครอง อาณาจักรต่างๆ ซึ่งเป็นสมาชิก ของ สหราชอาณาจักร ให้เป็นไปตามแนวทางนโยบาย ที่กำหนด เมื่อสวรรคต จะถูกจัดชั้นเทพเป็น พระนารายณ์ ตำแหน่ง มหาราชา จะต้องปลดเกษียรเมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา กลายเป็นสมาชิก ของ สภาปุโรหิต โดยตำแหน่ง เช่นเดียวกัน ส่วน มหาราชา ที่มีทั้งคุณธรรม และ ความสามารถ จะถูกคัดเลือกให้ไปดำรงตำแหน่ง นายก นอกจากนี้ ยังมีตำแหน่งรองจาก มหาราชา อีก ๒ ตำแหน่ง ในการปกครอง อาณาจักรต่างๆ คือ ตำแหน่ง มหาอุปราช(ท้าวเวสสุวัณ) และตำแหน่ง รัฐนายก(ท้าวชัยมงคล) ส่วนตำแหน่งรองลงมา คือ พระราชา และ พระราชินี ของ แว่นแคว้นต่างๆ จะถูกเรียกว่า ขุนเมือง และ ขุนวัง ตามลำดับ 

     ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในระยะเริ่มต้น ตั้งอยู่ที่ เมืองเทียน(ยะลา) และเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง ไปอยู่ที่ เมืองมิถิลา(ไชยา) เมืองคามลังกา(จันทบุรี) เมืองราชคฤห์(โพธาราม-ราชบุรี) , เมืองโพธิสาร(พุนพิน-สุราษฎร์ธานี) และย้ายกลับมายัง เมืองเทียน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง ซึ่ง เมืองเทียน(ยะลา) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเทียนสน(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง ในปลายสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียน

      ในรัชสมัยต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน คือเหตุการณ์ระว่างปี พ.ศ.๓๐๔-๖๒๓ นั้น มี มหาจักรพรรดิ ราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ทำการปกครอง ๒ ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์ขุนหลวง และ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ในระยะเริ่มต้น สหราชอาณาจักรเทียน ประกอบด้วยอาณาจักรต่างๆ จำนวน ๔ อาณาจักร คือ อาณาจักรเทียน(อาณาจักรนาคน้ำ) , อาณาจักรนาคฟ้า(ภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง และ ภาคเหนือ) , อาณาจักรนาคดิน(ภาคอีสาน และ เขมร) และ อาณาจักรจุลนี(เวียตนาม) ต่อมาได้กำเนิด อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เพิ่มขึ้นอีก ๓ อาณาจักร คือ  อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) , อาณาจักรคามลังกา(เขมร) และ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ(ภาคเหนือ) โดยมี มหาจักรพรรดิ รัชกาลต่างๆ ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน ทั้งหมด ๑๒ รัชกาล ดังตารางข้างล่าง

 

            

          

 

     ในสมัย สหราชอาณาจักรเทียน มีเหตุการณ์สำคัญ และ สาระสำคัญ ที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร ซึ่งได้นำข้อมูลมาจากหนังสือ สยามประเทศมิได้เริ่มต้นที่สุโขทัย ตอน สมัย สหราชอาณาจักรเทียน ของ นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ มีเรื่องราวโดยสรุป ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป

 

 

                                               

ภาพที่-๒๑ แสดงที่ตั้งอาณาจักรต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน คือ อาณาจักรเทียน , ชวาทวีป , นาคฟ้า , นาคดิน , สุวรรณโคมคำ , คามลังกา , จุลนี และ เก้าเจ้า

 

ความเป็นมา ของ สหราชอาณาจักรเทียน

  เนื่องจาก จักรพรรดิท้าวกู เป็นกษัตริย์ชนชาติไทย ราชวงศ์ขุนหลวง พระองค์แรก ผู้นับถือ พระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้ ท้าวกูเวร ซึ่งเป็นพระราชโอรส นับถือพระพุทธศาสนา ตามไปด้วย และด้วยความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่าง จักรพรรดิท้าวกู กับ พระเจ้าอโศกมหาราช§- ซึ่งได้เสด็จมาจาริกแสวงบุญ เคารพรอยพระบาท ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะ ซึ่งเชื่อว่า เป็นอดีตชาติ ของ พระพุทธองค์ ณ ภูเขานางเอ เมืองมิถิลา(ไชยา) เป็นที่มาให้ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้จัดส่งนักวิชาการจากอินเดีย โดยมี เจ้าชายสุมิตร(หารคำ) ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ เป็นหัวหน้าทีม เพื่อช่วยปรับปรุงระบบการปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ให้ทันสมัย ยิ่งขึ้น ดังนั้นเมื่อ จักรพรรดิท้าวกู สละราชย์สมบัติ เป็นประธานสภาปุโรหิต ท้าวกูเวร จึงสร้างรัฐทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกชื่อว่า สหราชอาณาจักรเทียน มีราชธานีอยู่ที่ เมืองเทียน คือท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน

     เนื่องจาก ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีสำนักสงฆ์มาก่อนแล้ว คือสำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เมืองครหิต(คันธุลี) ซึ่งตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน จากสถาบันกษัตริย์ มาก่อน เมื่อกำเนิด สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้น สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันกษัตริย์ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นครั้งแรก

      ดังนั้นในปี พ.ศ.๓๐๑ เมื่อพระสมณะทูต พระโสณเถระ และ พระอุตมะเถระ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราช ส่งมาเป็นพระธรรมทูต มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ§- นั้น ภิกษุทั้งสองรูป ได้มาจำพรรษา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ในระยะแรกๆ และต่อมา พระภิกษุ ได้ร่วมกัน สร้างวัดแห่งแรกขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ เมืองเทียน(ยะลา) แคว้นพรหมทัศน์ อันเป็นราชธานี เรียกชื่อว่า วัดถ้ำคูหา ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน และต่อมาได้กำเนิด วัดโพธาราม ขึ้นมาเป็นวัดที่สองในดินแดนของ อาณาจักรนาคฟ้า และ กำเนิด วัดพระยันตระ ขึ้นเป็นวัดที่สาม ขึ้นมาในดินแดน เมืองคามลังกา(จันทบุรี) จนกระทั่งต่อมา ได้กำเนิดวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดนราชธานี ของ อาณาจักร และ แว่นแคว้นต่างๆ อย่างรวดเร็ว ยกเว้น ดินแดนภาคใต้ตอนบนที่ศาสนาพราหมณ์ ยังคงมีอิทธิพล มาก

 

                                                              

ภาพที่-๒๒ ภาพถ่าย บันไดทางขึ้น วัดถ้ำคูหา ซึ่งเชื่อว่า เป็นวัดแห่งแรก ที่ถูกสร้างขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ เมืองเทียน(ยะลา) อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ) เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในสมัย สหราชอาณาจักรเทียน บริเวณใกล้เคียงกับวัดฯ มีการสร้างมหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ ขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย

 

 

 

(๑) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร กรุงเทียน(ยะลา)

        ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร(พ.ศ.๓๐๔-๓๓๗) กรุงเทียน(ยะลา) มี ท้าวเชียงแมนสม แห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ และมี ท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) แห่ง แคว้นครหิต(คันธุลี) ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา ได้ดำรงตำแหน่ง นายก ราชธานีของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งอยู่ที่ เมืองโพธิ์นารายณ์(ยะลา) แคว้นเทียน อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ)

  ในรัชกาลนี้ เป็นการสร้างความมั่นคงในรูปแบบการปกครองใหม่ ในระบบราชาธิปไต แบบ สหราชอาณาจักร ได้กำเนิด มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ ขึ้นมาในบริเวณวัดถ้ำคูหา เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีการศึกษาเช่นเดียวกันกับ มหาวิทยาลัยตักกะศิลา ในดินแดนชมพูทวีป มหาวิทยาลัยโพธิ์นารายณ์ เป็นแหล่งให้การศึกษาแก่เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต และกลายเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ ออกไปสู่ มหาอาณาจักรหนานเจ้า และ มหาอาณาจักรจีน อีกด้วย

 

การอพยพของ ชนชาติอ้ายไต เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ

       ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร นั้น ฉินซีฮ่องเต้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน สามารถยกกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเสฉวน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ได้สำเร็จ เมื่อปี พ.ศ.๓๒๐ พร้อมกับสั่งให้ทำลายเอกสารทางประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งเป็นรัฐของ ชนชาติไตทั้งหมด และในปี พ.ศ.๓๒๒ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามยึดครอง แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตังเกี๋ย) อีกรัฐหนึ่งของ ชนชาติอ้ายไต เป็นผลสำเร็จแล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นเย่ว ส่งผลให้ชนชาติอ้ายไต อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง

       ผลจากการอพยพของชนชาติไต สมัยฉินซีฮ่องเต้ ระหว่างปี พ.ศ.๓๒๐-๓๓๐ ทำให้เกิดแว่นแคว้นใหม่ๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวนมาก เช่น แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) , แคว้นพี่นาง(เกาะปีนัง) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า-พังงา) , แคว้นตาโกทุ่ง(พังงา) , แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) และ แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เป็นต้น

     ชนชาติอ้ายไต ซึ่งอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา ต่อมา ชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ได้นำพระพุทธศาสนา ไปเผยแพร่สู่ญาติพี่น้อง ยังดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า และดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่งถูก มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครองไป ทำให้พระพุทธศาสนา เผยแพร่สู่ดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า และ มหาอาณาจักรจีน อย่างรวดเร็ว

       ส่วนชนชาติไต ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า คงเหลืออยู่ในดินแดน แคว้นหนานเจ้า(หนองแส) แคว้นยืนนาน(ยูนนาน) แคว้นสิบสองพันนา แคว้นฉาน(ไทยใหญ่) และ แคว้นอ้ายลาว เป็นต้น ส่วนแคว้นไหหลำ(เกาะไหหลำ) ไม่เชื่อมั่นการคุ้มครองของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า จึงเปลี่ยนเป็นรัฐมาขึ้นต่อการปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียน แทนที่ ซึ่งเป็นที่มา ของ สงครามแย่งชิงดินแดน อาณาจักรไตจ้วง กลับคืน คือสงครามระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ มหาอาณาจักรจีน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง คือ สงครามโคมคำ และ สงครามโชกโชน ในเวลาต่อมา นั่นเอง

 

                                           

 ภาพที่-๒๓ ภาพสลักเรื่องราวของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ทรงคชสีห์ มหาจักรพรรดิ พระองค์แรก ของ สหราชอาณาจักรเทียน ผู้ปกครองดินแดนสุวรรณภูมิ ปรากฏบริเวณ กลีบขนุน ของ ปราสาทด้านทิศเหนือ ของ ปราสาทประธาน ของ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง

 

      ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร พระองค์ได้สละราชย์สมบัติออกผนวช เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา จนกลายเป็นราชประเพณี ต่อๆ มา ดังนั้น เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร เสด็จสวรรคต จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพชั้น พระอินทร์ พระองค์หนึ่ง ซึ่งประชาชนในดินแดนสุวรรณภูมิ เคารพนับถือ สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน 

 

  

(๒) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ กรุงมิถิลา(ไชยา) 

พ.ศ.๓๓๗-๓๕๘

 

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร สละราชย์สมบัติออกผนวช จักรพรรดิเจ้าหารคำ ซึ่งมีพระชนมายุ ๕๙ พรรษา ได้ทำพิธีมหาบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงมิถิลา(ไชยา) ตามที่กฎหมายพระธรรมนู กำหนด มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) เมื่อประมาณปี พ.ศ.๓๓๗ โดยมี เจ้านกหยก พระราชโอรสพระองค์ที่ ๒ แห่ง แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ดำรงตำแหน่งเป็น จักรพรรดิเจ้านกหยก ในระยะแรกๆ

เนื่องจาก จักรพรรดิเจ้านกหยก ดำรงตำแหน่งอยู่ไม่นาน ได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นบ่อยครั้ง ที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) จากการที่ ชนชาติกลิงค์ หนีเข้าเมือง มาลักลอบขุดทองคำ อีกทั้ง จักรพรรดิเจ้านกหยก ไม่สามารถสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) เป็นผลสำเร็จ อีกทั้ง เจ้าข้าวเปล่า ซึ่งเป็นพระอนุชา ซึ่งได้มาช่วยราชการ ณ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) ใช้ชีวิตผิดไปจากคำสอนของพระพุทธศาสนา เพราะ บริโภค เพียงข้าวเปล่า เพื่อหวังบรรลุโพธิสมภาร จึงถูก มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) ส่งกลับไปยัง ประเทศศรีลังกา

ต่อมา คณะองคมนตรี จึงมีมติให้ เจ้าม้าทอง พระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ แทนที่ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง ได้บริหารราชการ ประจำที่ กรุงราชคฤห์(โพธาราม) แคว้นกิมหลิน(โพธาราม-ราชบุรี) แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า แทนที่

บทบาท ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ และ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง ในการบริหารงาน สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชกาลนี้ คือ การรับผู้อพยพลี้ภัยสงคราม จาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งถูกกองทัพของ ฉินซีฮ่องเต้ เข้ายึดครองดินแดน ทำให้ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงมีความจำเป็นในการเร่งสร้างความมั่นคง และ การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ออกไปสู่แว่นแคว้นต่างๆ ให้รวดเร็วที่สุด

ปัญหาสำคัญ ในรัชกาลนี้ คือ การพัฒนาชนพื้นเมืองแขกดำ หลายเผ่าพันธุ์ ให้มีวัฒนธรรมที่สูงขึ้น อีกทั้ง ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวากะ ซึ่งตั้งรกรากในดินแดนภาคใต้ตอนบน และนับถือ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ มานานแล้ว จึงไม่ยอมเปลี่ยนหันมานับถือ พระพุทธศาสนา ทำให้ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรนาคฟ้า เปลี่ยนที่ตั้ง จาก แคว้นมิถิลา(ไชยา) ไปอยู่ที่ กรุงราชคฤห์ ของ แคว้นกิมหลิน(โพธาราม) ในเวลาต่อมา เพราะการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมิถิลา(ไชยา) และ แคว้นครหิต ไม่เป็นผล อาณาจักรนาคฟ้า จึงถูกแบ่งแยกออกเป็น ๒ อาณาจักรในรัชกาลนี้ คือ อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรชวาทวีป ด้วย

มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ปกครองสหราชอาณาจักรเทียน ประมาณ ๓๑ ปี ก็เกิดความไม่สงบขึ้นที่ แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ของ ชนชาติกลิงค์ เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งได้เกิดสงครามระหว่าง ชนชาติกลิงค์ กับ ชนชาติอ้ายไต ณ แคว้นมิถิลา(ไชยา) สงครามได้ขยายไปยัง เมืองสมุทร เป็นที่มาให้ เมืองสมุทร ถูกเรียกชื่อใหม่ว่า สมุทรสงคราม ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ สละราชย์สมบัติ เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แล้วออกบวชเป็นเวลา ๙ พรรษา จนกระทั่งมีพระชนมายุได้ประมาณ ๘๙ พรรษา จึงเสด็จสวรรคต ณ แคว้นคามลังกา

 

ความสัมพันธ์ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ อาณาจักรหนานเจ้า

        รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือรัฐที่แยกตัว ออกจาก อาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งประเทศจีนเรียกชื่อว่า หนานก๊ก หรือ หนานเย่ก๊ก ล้วนเป็นอาณาจักรเดียวกัน คำว่า "หนาน" ในภาษาจีน แปลว่า "ดินแดนทางใต้" ส่วนคำว่า "ไต" ในภาษาจีนโบราณแปลว่า "คุ้ยเขี่ย" หรือ "ชนเผ่าหนึ่งที่แสวงหาที่ทำกินใหม่ๆ โดยอพยพลงมาทางทิศใต้" ดังนั้น ความหมายของคำว่า "ไต" ในภาษาไทยโบราณจึงหมายถึง "ทิศใต้" หรือ "แสงไต้" คำว่า "ดินแดนไต" จึงหมายถึง "ดินแดนแห่งความสว่างทางทิศใต้" ซึ่งมีความหมาย คล้ายคลึงกับคำว่า "หนาน"

ต่อมา ในสมัยท้าวโกศล ซึ่งเป็นผู้ประกาศอิสรภาพ ไม่ยอมส่งส่วยทองคำ ให้กับ อาณาจักรหนานเจ้า ปีละ หนึ่งแสนขัน อีกต่อไป ความหมายของคำว่า "ไต" จึงได้เปลี่ยนแปลงไป คำว่า "ไต" จึงหมายถึง "ดินแดน หรือ ชนชาติ ที่มีอิสรภาพ" ดังนั้นคำว่า "อ้ายไต" จึงมีความหมายถึง "พี่ใหญ่ที่ได้รับอิสรภาพ"คือที่มาของคำว่า "ไท" ในเวลาต่อมา ซึ่งมีความหมายว่า หลุดพ้นจากความเป็นทาส ด้วยเช่นกัน

        แม้ว่า รัฐของชนชาติอ้ายไต จะแยกตัวออกจาก อาณาจักรหนานเจ้า มาเป็น อาณาจักรสุวรรณภูมิ นานมาแล้ว แต่ความสัมพันธ์ ระหว่างกัน ยังมีอยู่ เพราะ ดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นดินแดนที่ใช้ในการลี้ภัยสงคราม ของ ประชาชนในดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาโดยตลอด และบางครั้ง ยังต้องส่งกองทัพ และอาวุธ ไปหนุนช่วย สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งต้องทำสงครามกับประเทศจีน อย่างต่อเนื่อง อีกด้วย

        ในสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน นั้น ได้มีการส่งคณะราชทูต และพระธรรมทูต เพื่อออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเสนอรูปแบบการปกครอง แบบ สหราชอาณาจักร ไปใช้กับ อาณาจักรหนานเจ้า เป็นเหตุให้ อาณาจักรหนานเจ้า เปลี่ยนรูปแบบการปกครอง เป็นแบบ สหราชอาณาจักร เช่นเดียวกัน และมีการนำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ บ้างแล้ว แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนกระทั่งในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ พระพุทธศาสนา จึงเริ่มแพร่หลาย อย่างรวดเร็ว ในดินแดนทางตอนเหนือ ของ อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรนาคดิน พระพุทธศาสนา จึงเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ อาณาจักรอ้ายลาว และแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ริมชายฝั่งทะเล อย่างรวดเร็ว อีกด้วย

 

อุปสรรคในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ

        แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) ถือเป็นดินแดนจุดก่อกำเนิดรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ แต่บทบาทของแว่นแคว้นนี้ ไม่ค่อยโดดเด่น เพราะเมื่อมีการพบแหล่งทองคำขนาดใหญ่ที่ คลองหิต(คันธุลี) ทำให้ท้าวไชยทัศน์ ใช้ เมืองคลองหิต(ครหิต) แคว้นคลองหิต(คันธุลี) เป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีกษัตริย์ปกครอง แคว้นคลองหิต(คันธุลี) สืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงรัชสมัย ท้าวโกศล แต่ แว่นแคว้นต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ขณะนั้น ขึ้นต่อ อำนาจรัฐของ อาณาจักรหนานเจ้า ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน

ในรัชสมัย ของ มหาราชาท้าวโกศล ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับ ประเทศอินเดีย ท้าวโกศล ได้ประกาศเอกราช แยกแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ออกจากการปกครอง ของ อาณาจักรหนานเจ้า พร้อมกับตั้งชื่ออาณาจักรใหม่ ว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง แคว้นคลองหิต เปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นสุวรรณภูมิ(คันธุลี) โดยมี เมืองคลองหิต(ครหิต) เป็นเมืองนครหลวง มีกษัตริย์ ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงสมัยประมาณ ๑๐๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล พระกฤษณะ ได้มาตรัสรู้ ณ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) อ.ไชยา ในปัจจุบัน

ในสมัยนั้น พระกฤษณะ เป็นผู้นำศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ ออกเผยแพร่ ในดินแดน แคว้นสุวรรณภูมิ(คันธุลี) แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) และ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) เรื่อยมา ทำให้ประชาชนเชื่อว่า "ดวงวิญญาณ มีอิทธิพล เหนือการกระทำ และความสามารถต่างๆ ของมนุษย์" ทำให้เกิด "ความคิดหวังพึ่ง ดวงวิญญาณ ไม่เกิดการใช้ความสามารถทาง อัตวิสัย ของมนุษย์" ในหมู่ประชาชน จึงรอแต่การขอความช่วยเหลือจาก ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ และภูตผี ต่างๆ เกิดความเชื่อ อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ในเวลาต่อมา เป็นอย่างมาก

ในสมัยพุทธกาล เชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ผู้หนึ่ง ชื่อ หารคำงาม เป็นพ่อค้า ไปค้าขายกับ ประเทศอินเดีย และเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า ภิกษุหารคำงาม และได้มาสร้างสำนักสงฆ์ ขึ้นที่ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เมืองชวากะ(คันธุลี) แคว้นสุวรรณภูมิ(ครหิต) พระพุทธศาสนา จึงเริ่มเข้ามายัง ดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน จากสถาบันกษัตริย์ ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ ซึ่งยังมีความคิดหวังพึ่งดวงวิญญาณ จึงรอแต่ความช่วยเหลือจาก ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ และภูตผี ต่างๆ อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของ พระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ เป็นอย่างมาก คงมีเพียง ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่า ชวากะ ซึ่งตั้งรกราก รอบๆ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ซึ่งหันมานับถือ พระพุทธศาสนา บ้าง จนทำให้ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ สามารถยืนหยัด ต่อเนื่องมาอีกประมาณ ๓๐๐ ปี จนกระทั่ง พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ในการนำ พระพุทธศาสนา มาเผยแพร่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้น มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) จึงมีบทบาทสำคัญ ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อมา

ก่อนที่จะกำเนิด สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นมาแทนที่ อาณาจักรสุวรรณภูมิ นั้น คือรัชสมัย มหาราชาท้าวกู คือกษัตริย์พระองค์สุดท้าย ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งได้เกิดสงครามอย่างรุนแรงในประเทศจีน จนกระทั่งเกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต ระลอกใหม่ จาก อาณาจักรหนานเจ้า เข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ เช่น แคว้นตาโกลา(ตรัง) , แคว้นตาโกลง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) และ แคว้นกิมหลิน(ราชบุรี) เป็นต้น

หลังจากนั้น ไม่นาน ได้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ จากประเทศอินเดีย เข้าสู่  ดินแดนเกษียรสมุทร(หมู่เกาะชวา และเกาะสุมาตรา) และ ดินแดนสุวรรณภูมิ รวมกันประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน เช่นกัน เป็นที่มาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อ แคว้นสุวรรณภูมิ(ครหิต) ซึ่งเป็นเมืองนครหลวง ถูกยึดครอง โดยชนชาติกลิงค์ ท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงคราม มหาราชาท้าวกู แห่งแคว้นพรหมทัต(ยะลา) จึงได้ทำสงครามปราบปรามชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ ที่อพยพเข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง  อาณาจักรสุวรรณภูมิ เปลี่ยนแปลงเป็น สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่งปกครองโดย มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร จึงมีการร่วมมือ กับ พระเจ้าอโศกมหาราช ใช้ ศาสนาพุทธ มาเป็นศาสนาประจำชาติ ของ ชนชาติอ้ายไต ตามที่กล่าวมาแล้ว

เมื่อ พระเจ้าอโศกมหาราช ส่ง พระเจ้าสุมิตร ซึ่งเป็นพระเจ้าหลานเธอ มาช่วยปฏิรูปการปกครอง ให้กับ สหราชอาณาจักรเทียน และนำ พระพุทธศาสนา มาเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น ประชาชนเชื่อว่า พระเจ้าสุมิตร คือ พระภิกษุหารคำงาม ซึ่งได้เคยมาสร้างสำนักสงฆ์ ขึ้นที่ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เมืองชวากะ(ครหิต) แคว้นสุวรรณภูมิ(คันธุลี) ได้กลับชาติ มาประสูติใหม่ เป็น พระเจ้าสุมิตร จึงมีการเปลี่ยนพระนามใหม่ว่า เจ้าหารคำ และได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตามที่กล่าวมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ของดินแดนต่างๆ รอบๆ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะ ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ยังคงนับถือ ศาสนาพราหมณ์ นิกายพระกฤษณะ ยึดถือว่า ดวงวิญญาณ มีอิทธิพล เหนือการกระทำ และความสามารถต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้เกิดความคิดหวังพึ่ง ดวงวิญญาณ ไม่เกิดการใช้ความสามารถ ในหมู่ประชาชน มุ่งเน้นแต่การร้องขอความช่วยเหลือจาก ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ และภูตผี ต่างๆ อย่างมั่นคง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นอย่างมาก การเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงไปได้ผลดี ใน แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา) และ กรุงราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) แห่ง แคว้นกิมหลิน เท่านั้น

การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ตามแว่นแคว้นต่างๆ ในสมัยนั้น จึงต้องมุ่งเน้น ใช้ คาถา เยธัมมาฯ ความว่า "เยธัมมาเหตุปัปภวา เตสังเหตุงตถาคโต เตสัญจโยนิโรโธ เอวังวาทีมหาสมโณ" เพื่อชี้ให้เห็นว่า เรื่องราวทางธรรมชาติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ นั้น ล้วนมีสาเหตุแห่งความเป็นมา มิได้เกิดขึ้นจากดวงวิญญาณ เป็นผู้กำหนดแต่เพียงประการเดียว พระพุทธเจ้า จึงได้ตรัสสั่งสอน ถึงสาเหตุของธรรมชาติล่านั้น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ ของ มวลมนุษย์เรา ดังนั้น มนุษย์ จึงสามารถทำให้เหตุของธรรมชาติ ที่ทำให้เกิดทุกข์ หมดไปได้ จึงจะทำให้มนุษย์ สามารถดับทุกข์ได้

คำสอนเหล่านี้ เป็นคำสอน ที่ให้ลดความคิดหวังพึ่งต่อดวงวิญญาณ รอการโปรดประทานมาให้ แต่เพียงประการเดียว กลับสอนให้ใช้ความพยายามทาง อัตวิสัย ของ มนุษย์ เป็นผู้แก้ไขทุกข์ ด้วยตนเอง โดยไม่รอการหวังพึ่ง จาก พระผู้เป็นเจ้า หรือ วิญญาณ ต่างๆ ประทานมาให้ คือสอนให้ ตนเป็นที่พึ่งของตน นั่นเอง ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ ต่อ คำสอนของ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ โดยสิ้นเชิง การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ซึ่งเป็นที่ตั้ง ศาลเทพเจ้าพระกฤษณะ ณ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) จึงไม่สามารถเปลี่ยนความศรัทธา ของประชาชนผู้ศรัทธา ได้ง่ายนัก

        จะสังเกตเห็นว่า วัดทางพระพุทธศาสนา เกิดขึ้น ๓ วัด ในดินแดนสุวรรณภูมิ ล้วนเกิดขึ้นในแว่นแคว้นที่ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ ไม่ถูกครอบงำ อย่างรุนแรง วัดทั้งสาม จึงเกิดขึ้นที่ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) แคว้นโพธิ์นารายณ์ เมืองราชคฤห์(โพธาราม) แคว้นกิมหลิน และ เมืองคามลังกา(จันทบุรี) แคว้นคามลังกา จะเห็นว่า สำนักสงฆ์ ณ ภูเขาภิกษุ ไม่สามารถยกระดับ ขึ้นมาเป็นวัด ได้ ซ้ำร้าย ในปลายรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ยังมีเรื่องราวกล่าวว่า มีการต่อต้านการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นชวากะ(คันธุลี) เมื่อพระเจ้ามอญ สวรรคต พระเจ้ากาแลง ขึ้นครองราชสมบัติ ได้พยายามขับไล่พระภิกษุสงฆ์ ที่ไปตั้งสำนักสงฆ์ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้นักรบกาแลง เข้าไปขับไล่พระภิกษุ แต่พระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ ไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ในดินแดนสุวรรณภูมิ มิได้ราบรื่นนัก การเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงมุ่งเน้นเผยแพร่ ไปทางดินแดนตอนบนของ อาณาจักรนาคฟ้า และ ในดินแดน อาณาจักรนาคดิน เท่านั้น

 

การสร้างความมั่นคงให้กับ อาณาจักรนาคน้ำ พ.ศ.๓๓๗-๓๕๘

อาณาจักรนาคนำ คืออาณาจักรหนึ่งของ สหราชอาณาจักรเทียน มีดินแดนตั้งแต่ ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ลงไปทางทิศใต้ ไปจดช่องแคบมะละกา อาณาจักรนาคน้ำ ได้ก่อกำเนิดขึ้นจาก สายราชวงศ์ ท้าวชัยเทศ(พระราชโอรสของ ท้าวพรหมทัศน์ กับ พระนางมะหยุง) กับ พระนางหยุงทอง เรียกว่า สายราชวงศ์นาคน้ำ ซึ่งได้สร้างแว่นแคว้นขึ้นที่ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) และ แคว้นชัยเทศ(กลันตัน) จนกระทั่งสืบทอดสายราชวงศ์ มาถึงสมัย มหาราชาท้าวกู ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ เข้ารุกราน สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์จิว จากอาณาจักรไตจ้วง หรือ อาณาจักรจ้วงเจ้า(แคว้นกวางตุ้ง , แคว้นกวางสี และแคว้นตาเกี๋ย) ได้มาช่วยกู้เมืองไว้ได้ แล้วได้ผสมเผ่าพันธุ์ กับ สายราชวงศ์จิว ของชนชาติอ้ายไต และ สายราชวงศ์โคตะมะ สืบทอดสายราชวงศ์ บริหารการปกครอง อาณาจักรนาคนำ สืบทอดต่อมา

        อาณาจักรนาคน้ำ ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร เป็นรัฐที่มีอาณาเขต ตั้งแต่ ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ถึง ปลายแหลมมาลายู สภาพดินแดนจึงเป็นเกาะ ส่วนดินแดนหมู่เกาะเกษียรสมุทร คือหมู่เกาะชวา เกาะสุมาตรา ในปัจจุบัน นั้น เป็นดินแดนที่เป็นรัฐเมืองขึ้น ของ ประเทศอินเดีย มาอย่างยาวนานมาแล้ว ดังนั้น เมื่อชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ อพยพเข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จึงถูกหลายแว่นแคว้น ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้ร่วมกันทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ ให้ต้องอพยพไปตั้งรกราก ยังดินแดน อาณาจักรเกษียรสมุทร แต่มีแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ อยู่ ๔ แว่นแคว้น คือ แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) แคว้นรามัน(ระนอง) และ แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ซึ่งชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ พยายามอพยพ เข้ามาตั้งรกราก เรื่อยมา พร้อมกับนำ ศาสนาพราหมณ์ มาเผยแพร่ ด้วย จึงกลายเป็นอุปสรรคในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ด้วย

ผลของการอพยพของชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ ครั้งนั้น ทำให้ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงต้องเปลี่ยนที่ตั้งกลับไปยัง แคว้นพรหมทัต(ยะลา) อีกครั้งหนึ่ง เพราะมี แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) แคว้นตาโกลา(ตรัง)  แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) และ แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) ตั้งรายล้อม รอบๆ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) เป็นผู้เสริมความเข้มแข็ง ให้กับ แคว้นพรหมทัต ยากต่อการเข้าทำลาย ของ ข้าศึก

ต่อมา เกิดความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่าง มหาราชาท้าวกู และ มหาอุปราชท้าวกุเวร กับ พระเจ้าอโศกมหาราช ทำให้มีการปลูกต้นโพธิ์ทอง และนำพระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีการเปลี่ยนชื่อ แคว้นพรหมทัต ใหม่ เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ตามชื่อพระราชทาน ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ที่ได้เสด็จมาจาริกแสวงบุญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับ สร้างสันติภาพ ขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ

        เมื่อเกิดสันติภาพขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ ท้าวกุเวร แห่งแคว้นโพธิ์นารายณ์ เป็นมหาราชา ปกครองอาณาจักร ส่วน เจ้าหารคำ มารับราชการเป็นนายก เจ้าหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) เป็นผู้นำวิชาการปกครองอย่างเป็นแบบแผน และมีหลักวิชาการ มาใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมๆ กับการนำพระพุทธศาสนา เข้ามาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ จึงมีการเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรสุวรรณภูมิ มาเป็น สหราชอาณาจักรเทียน รัฐของชนชาติอ้ายไต จึงเกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอาณาจักรนาคน้ำ กลายเป็นอาณาจักรที่ร่ำรวย จากผลของการค้าขายกับต่างชาติ คือการค้าขาย ของ แคว้นตาโกลา(ตรัง) ต่อมา นายกเจ้าหารคำ จึงได้รับการโปรดเกล้า เป็น จักรพรรดิเจ้าหารคำ

ในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ พระองค์ เกรงว่า ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ จะเข้ามายึดครอง ดินแดนทางใต้ ของ อาณาจักรนาคนำ จึงได้เร่งรัดเข้าไปสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นอย่างเร่งด่วน เจ้าตาโกลา แห่ง แคว้นตาโกลา(ตรัง) ได้ใช้โอกาส ช่วงเวลาดังกล่าว อพยพชนชาติอ้ายไต จากดินแดน อาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งถูกอาณาจักรเจ็ค รุกราน เข้ามาร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง และตั้งแว่นแคว้นต่างๆ ขึ้นมาเพิ่มเติมขึ้นมา ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ อาณาจักรนาคน้ำ ดังนั้น ชื่อเมือง และ แว่นแคว้น ต่างๆ ในดินแดนอาณาจักรนาคน้ำ จึงมีชื่อส่วนใหญ่นำหน้าว่า "โกลา" เช่น โกลากัง(กัวลากังซาร์) , โกลาอำเภอ(กัวลาลัมเปอร์) , โกลาบารัง(กัวลาบรัง) , โกลาการาล(กัวลากราล) , โกลาตารัง(กัวลาตรัง) , โกลามารัง(กัวลามารัง) , โกลาตากัน(กัวลาดันกัน) และ โกลาหลี่ผิง(กัวลาลิปิส) เป็นต้น ทั้งนี้เพราะ ชื่อเมือง หรือ แว่นแคว้นต่างๆ ล้วนเป็นชื่อของ พระราชโอรส ของ เจ้าตาโกลา จากหลากหลายมเหสี และพระชายา ซึ่งได้ไปสร้างบ้านแปลงเมือง และแว่นแคว้นต่างๆ ขึ้นมา ในดินแดนอาณาจักรนาคนำ ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ทำให้ อาณาจักรนาคนำ จึงถูกขยายแว่นแคว้น อย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาดังกล่าว

        ตำนานความเป็นมา ของ แคว้นไทรบุรี ที่เล่าสืบทอดกันมาในท้องที่ภาคใต้ ล้วนสะท้อนเรื่องราวการขยายตัว ของ อาณาจักรนาคน้ำ และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในขณะที่ ฉินซีฮ่องเต้ ได้รับชัยชนะในสงคราม เป็นผลให้ ชนชาติอ้ายไต ผู้พ่ายแพ้สงคราม และถูกรุกราน ต้องอพยพเข้ามาตั้งรัฐ ในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น ราชวงศ์ จิวตาโกลา(แคว้นตาโกลา ตาโกนา และ ตาโกปา) และ ราชวงศ์แมนสม(แคว้นมิถิลา) ซึ่งเป็นราชวงศ์ ของ ชนชาติอ้ายไต ได้อพยพเข้ามาตั้งรัฐในดินแดนสุวรรณภูมิ มาก่อนเรียบร้อยแล้ว

สันนิษฐานว่า แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรนาคน้ำ ในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) น่าจะประกอบด้วยแว่นแคว้นต่าง ประมาณ ๑๐ แว่นแคว้น คือ แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา) , แคว้นตาโกลา(ตรัง) , แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) , แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) , แคว้นพี่นาง(ไทรบุรี) , แคว้นโกลากัง(เปรัก) , แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) , แคว้นโกลาตารัง(ตรังกานู) , แคว้นโกลาหลี่ผิง(ปาหัง) , แคว้นแมนจูเจ้าแปด(ยะโฮ) และ แคว้นแมนจูเจ้าเก้า(มะละกา) เป็นต้น

 

การสร้างความมั่นคง ให้กับ อาณาจักรนาคฟ้า พ.ศ.๓๓๗-๓๕๘

อาณาจักรนาคฟ้า คืออาณาจักรหนึ่งของ สหราชอาณาจักรเทียน มีดินแดนตั้งแต่ ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปจดเขตแดนที่ต่อเชื่อมกับ อาณาจักรหนานเจ้า อาณาจักรนาคฟ้า ได้ก่อกำเนิดขึ้นจาก สายราชวงศ์ ท้าวชัยทัศน์(พระราชโอรสของ พระเจ้าเหา) กับ พระนางไม้หยูก เรียกว่า สายราชวงศ์นาคฟ้า ซึ่งได้มาสร้างแว่นแคว้นขึ้นที่ แคว้นคลองหิต(ครหิต-คันธุลี) แหล่งทองคำ สำคัญ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งสืบทอดสายราชวงศ์ มาถึง ท้าวโกศล ซึ่งได้ประกาศอิสรภาพ แยกตัวออกจาก อาณาจักรหนานเจ้า จนกระทั่งสืบทอดราชวงศ์มาถึง สมัยท้าวอินทปัต เมืองคลองหิต(ครหิต) ถูกข้าศึกชนชาติกลิงค์ ตีเมืองแตก สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์แมนสรวง ได้มากู้เมืองไว้ได้ แล้วได้ผสมเผ่าพันธุ์ กับ สายราชวงศ์โคตะมะ สืบสายราชวงศ์ บริหารการปกครอง อาณาจักรนาคฟ้า สืบทอดต่อมา

 อาณาจักรนาคฟ้า ได้เจริญรุ่งเรือง ก่อนอาณาจักรนาคน้ำ ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ประมาณ ๑๔ แว่นแคว้น เช่น แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) , แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นรามัน(ระนอง) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) , แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) , แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) , แคว้นกิมหลิน(ราชบุรี) , แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) , แคว้นนที(อยุธยา) , แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) , แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) , แคว้นตาคลี(นครสวรรค์) , แคว้นสองแคว(พิษณุโลก) เป็นต้น

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) นั้น อาณาจักรนาคฟ้า มี มหาราชาเจ้าเชียงแมนสม แห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) เป็นผู้ปกครองอาณาจักรนาคฟ้า แต่เมื่อมหาราชาเจ้าเชียงแมนสม สวรรคต เจ้าม้าทอง จึงได้ขึ้นครองราชสมบัติเป็น มหาราชา ของ อาณาจักรนาคฟ้า โดยได้มาใช้ กรุงราชคฤห์(โพธาราม) แคว้นกิมหลิน เป็นเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรนาคฟ้า แทนที่ แคว้นมิถิลา(ไชยา)

เนื่องจาก พระราชโอรส และ ราชธิดา ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) ซึ่งเป็นราชวงศ์โคตะมะ ได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับ พระราชโอรส และ พระราชธิดา ของ ราชาเชียงกิม และ ราชาเชียงหลิน ซึ่งเป็น ราชวงศ์แมนสม ขณะนั้น เจ้าทองจัน และ เจ้าทองบูรณ์ พระราชโอรส ๒ พระองค์ ของ มหาราชาเจ้าม้าทอง ได้ไปปกครอง แคว้นคามลังกา แทนที่ เมืองคามลังกา(จันทบุรี) จึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เมืองจันทร์บูรณ์ ต่อมา มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ได้มาใช้กรุงราชคฤห์ มาเป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ทำให้เมืองราชคฤห์ เริ่มมีบทบาทสูงเด่นขึ้น ตั้งแต่ รัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ เป็นต้นมา การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ณ กรุงราชคฤห์ จึงเกิดขึ้นอย่างคึกคัก

        ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ นั้น อาณาจักรนาคฟ้า มีบทบาทสำคัญในการขายแว่นแคว้น ออกไปทางทิศตะวันออก เพื่อมิให้ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ เข้ามายึดครอง จึงได้มีการสร้างแว่นแคว้นต่างๆ โดยการขยายตัว ของ แคว้นคามลังกา ไปตามแนวชายฝั่งทะเลตะวันออก จนกระทั่งได้ก่อกำเนิดเป็น อาณาจักรคามลังกา หรือ อาณาจักรขอม ขึ้นมาในดินแดนบางส่วนของประเทศเขมร และ ประเทศลาว ในปัจจุบัน มีเรื่องราวโดยสรุปว่า จักรพรรดิเจ้าม้าทอง เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ เจ้าม้าทอง เคยเป็นราชาแห่ง แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) มีพระราชโอรส และพระราชธิดา หลายพระองค์ ที่สำคัญคือ เจ้าทองสิงห์ , เจ้าทองเก , เจ้าทองจันทร์ , เจ้าทองบูรณ์ และ เจ้าชายทองทั่ว เป็นต้น

พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง มีพระนามว่า เจ้าชายสิงห์ ได้เคยไปเป็นอุปราชของ แคว้นกิมหลิน(โพธาราม) และได้ไปสมรสเกี่ยวดองกับ ราชธิดาของ ราชาแห่ง แคว้นกิมหลิน จนกระทั่งต่อมาได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นราชาแห่ง แคว้นกิมหลิน(โพธาราม) จึงได้เปลี่ยนชื่อ แคว้นกิมหลิน เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นราชคฤห์(โพธาราม) ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย แสดงให้เห็นว่า ราชาผู้ปกครอง แคว้นราชคฤห์ นั้น คือสายราชวงศ์โคตะมะ ที่ผสมกับ ราชวงศ์แมนสม ของเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต

ส่วนพระราชโอรส ของ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง อีก ๔ พระองค์ คือ เจ้าทองเก , เจ้าทองจันทร์ , เจ้าทองบูรณ์ และ เจ้าชายทองทั่ว ได้ไปสร้างอาณาจักรคามลังกา ขึ้นมาใหม่ ในดินแดนประเทศเขมร และ ประเทศลาว ในปัจจุบัน โดยนำเอา แคว้นสุวรรณเขต , แคว้นจุลนี , แคว้นอินทปัต , แคว้นตาแก้ว และ แคว้นออกแก้ว มารวมเข้าด้วยกัน ด้วยการสมรสเกี่ยวดองระหว่างราชวงศ์ กลายเป็น อาณาจักรคามลังกา หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า อาณาจักรขอม(ขอมฆ่าแม่ หรือ ขแม) ในเวลาต่อมา กลุ่มแว่นแคว้นเหล่านี้ ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ล้วนขึ้นต่อ อาณาจักรนาคดิน ทั้งสิ้น

พระราชโอรสของ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง อีกสองพระองค์ มีพระนามว่า เจ้าชายจันทร์ และ เจ้าชายบูรณ์ เจ้าชายสองพี่น้องดังกล่าว ได้ไปปกครอง แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) และเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นจันทร์บูรณ์(จันทบุรี) แต่ต่อมา แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) ได้นำเชื้อสายราชวงศ์ขอม ออกไปสร้างบ้านแปลงเมือง และสมรสเกี่ยวดองสายราชวงศ์ กับ แว่นแคว้นดั้งเดิม จนเกิดเป็นแว่นแคว้น ต่างๆ ขึ้นมาในดินแดน ฝั่งตะวันออก ของ เทือกเขาบรรทัด กับทะเลอ่าวแม่โขง และ คาบสมุทรจุลนี เรียกว่า อาณาจักรคามลังกา ขึ้นมา ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ เช่น แคว้นสุวรรณเขต , แคว้นจุลนี , แคว้นอินทปัต , แคว้นออกแก้ว , แคว้นตาแก้ว และ แคว้นโพธิสัตว์ เป็นต้น คำว่า แคว้นคามลังกา จึงมีความหมายแตกต่างจาก อาณาจักรคามลังกา คำว่า แคว้นคามลังกา หมายถึง เมืองจันทบุรี ส่วน อาณาจักรคามลังกา หมายถึง อาณาจักรของสายราชวงศ์ขอมไต ที่ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ที่กล่าวมา

        สันนิษฐานว่า ในปลายรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ นั้น อาณาจักรนาคฟ้า มีการนำเอาแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรนาคดิน มารวมไว้ด้วย เพื่อสะดวกในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดังนั้น อาณาจักรนาคฟ้า ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ น่าจะประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ขึ้นมา มีทั้งหมด ประมาณ ๒๐ แว่นแคว้น เช่น แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) , แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นรามัน(ระนอง) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) , แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) , แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) , แคว้นราชคฤห์(โพธาราม) , แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) , แคว้นนที(อยุธยา) , แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) , แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) , แคว้นตาคลี(นครสวรรค์) ,  แคว้นสองแคว(พิษณุโลก) แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) , แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) , แคว้นโพธิสัตว์(เมืองพระโพธิสัตว์) , แคว้นอินทปัต(เมืองพระนคร) แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) และ แคว้นจุลนี(เมืองไซ่ง่อน) เป็นต้น

พระพุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักรนาคฟ้า ได้ถูกเผยแพร่ และมีผู้นับถือ อย่างรวดเร็ว ในดินแดนอาณาจักรนาคฟ้า ตอนบน ตั้งแต่ แคว้นราชคฤห์ ขึ้นไป สำนักสงฆ์ และ วัดวาอาราม จึงเกิดขึ้นในดินแดน อาณาจักรนาคฟ้าตอนบน ส่วน แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) , แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นรามัน(ระนอง) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) , แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) , แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ซึ่งถือว่า เป็นดินแดน ชวาทวีป ยังมั่นคงในการนับถือ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นที่มา ให้เกิดการแบ่งแยกแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรนาคฟ้า ออกเป็น อาณาจักรชวาทวีป ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง

 

การสร้างความมั่นคง ให้กับ อาณาจักรนาคดิน พ.ศ.๓๓๗-๓๕๘

อาณาจักรนาคดิน คืออาณาจักรหนึ่งของ สหราชอาณาจักรเทียน คือดินแดนภาคอีสาน ของประเทศไทย ในปัจจุบัน อาณาจักรนาคดิน ได้ก่อกำเนิดขึ้นจาก สายราชวงศ์ เจ้ามรรคขุน(พระราชโอรสของ ท้าวชัยทัศน์ กับ นางนาคดิน) กับ พระนางนกหยก(พระราชธิดา ของ ท้าวพรหมทัศน์ กับ พระนางมะหยุง) เรียกว่า สายราชวงศ์นาคดิน ซึ่งได้สร้างแว่นแคว้นขึ้นที่ เมืองลับแล จนกลายเป็น แคว้นลับแล(อุตรดิตถ์) และ แคว้นทองแสนขัน แต่ต่อมา สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ได้อพยพเข้ามาครอบครองดินแดน แทนที่ จึงต้องอพยพไปตั้งรกราก ณ ท้องที่ จ.สกุลนคร และ จ.อุดรธานี ในปัจจุบัน จนกระทั่งมีการสืบทอดสายราชวงศ์ มาผสมเผ่าพันธุ์ กับ สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ซึ่งอพยพมาจาก อาณาจักรหนานเจ้า ให้กำเนิด แคว้นหนองหาร , หนองหารหลวง , หนองหารน้อย , ศรีโคตรบูรณ์ ฯลฯ สืบทอดสายราชวงศ์ บริหารการปกครอง อาณาจักรนาคดิน สืบทอดต่อมา โดยมี แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) เป็นแคว้นนครหลวง

ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร อาณาจักรนาคดิน ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ อย่างน้อย ประกอบด้วย แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) แคว้นอุดร(อุดรธานี) แคว้นหนองหาร(สกุลนคร) แคว้นหนองคาย(หนองคาย) แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) แคว้นจุลนี(ไซ่ง่อน) แคว้นอินทปัต(พระนคร) แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) และ แคว้นโพธิสัตว์(เมืองโพธิสัตว์) เป็นต้น สันนิษฐานว่า แคว้นศรีโคตรบูรณ์ เป็นแคว้นนครหลวง ของ อาณาจักรนาคดิน

ตำนานหลายตำนาน ล้วนกล่าวตรงกัน ว่า ในปลายรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) มีการแยก แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) และ แคว้นอินทปัต(พระนคร) แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) และ แคว้นจุลนี(ไซ่ง่อน) ออกมาอยู่ในการปกครอง ของ อาณาจักรนาคฟ้า เพื่อสะดวกในการบริหาร และการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เพื่อเตรียมนำไปสร้างเป็น อาณาจักรคามลังกา ในเวลาต่อมา

สันนิษฐานว่า น่าจะมีแว่นแคว้นต่างๆ ของอาณาจักรนาคดิน เพิ่มขึ้น นอกเหนือจาก แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) แคว้นอุดร(อุดรธานี) แคว้นหนองหาร(สกุลนคร) แคว้นหนองคาย(หนองคาย) แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) ที่คงเหลืออยู่ เนื่องจาก ตำนานอุรังคธาตุ(ตำนานพระธาตุพนม) เป็นหลักฐานเดียว ที่กล่าวถึงเรื่องราว ของ อาณาจักรนาคดิน แต่ส่วนใหญ่ จะมุ่งเน้นกล่าวถึง การเข้าไป ของ พระพุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักรนาคดิน เป็นหลัก เท่านั้น ทำให้ ยังมีข้อจำกัดในการสืบค้น มากพอสมควร

 

สงครามระหว่าง กลิงค์รัฐ กับ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ปี พ.ศ.๓๕๘

สาเหตุของสงคราม มีเรื่องราวตำนานนิทานพื้นบ้าน สรุปเหตุการณ์ขณะนั้น ว่า เนื่องจาก พระเจ้ามอญ ราชาของชนชาติกลิงค์ พระองค์แรก แห่ง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ได้สวรรคต พระเจ้ากาแลง ซึ่งเป็นพระราชโอรส ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นราชาปกครอง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) จึงได้ไปสมคบกับ กลิงค์รัฐ แห่ง เกาะพระกฤต(เกาะชวา) อาณาจักรเกษียรสมุทร ได้ลักลอบอพยพชาวกลิงค์ มาตั้งรกราก ณ แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) อย่างลับๆ มานานแล้ว เพื่อเตรียมประกาศเอกราช ออกจาก สหราชอาณาจักรเทียน อย่างลับๆ เมื่อ พระเจ้ามอญ สวรรคต

เนื่องจาก พระเจ้ากาแลง ไม่ยอมส่งภาษี ส่วนแบ่งทองคำ ซึ่งขุดหาได้ที่ เมืองคลองหิต(ครหิต) เพื่อส่งมอบให้กับ ท้องพระคลังหลวง ของ อาณาจักรนาคฟ้า และ สหราชอาณาจักรเทียน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อีกทั้ง มีการสะสมกำลัง อย่างลับๆ เพื่อทำสงคราม กับ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในระยะแรกๆ

เมื่อพระเจ้ามอญ สวรรคต พระเจ้ากาแลง ได้พยายามขับไล่พระภิกษุสงฆ์ ที่ไปตั้งสำนักสงฆ์ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ให้ออกจากพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้ นักรบกาแลง(นักรบกลิงค์) เข้าไปขับไล่พระภิกษุ แต่พระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ จนกระทั่ง ความทราบถึง มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่ แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) และมีพระชนมายุ ประมาณ ๘๐ พรรษา ถึงวัยชราภาพมากแล้ว และกำลังจะสละราชสมบัติ ออกบวช เพื่อมอบให้ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง ขึ้นครองราชสมบัติ

การที่ พระเจ้ากาแลง ทำการขับไล่พระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ นั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวหาญคำ(พระเจ้าสุมิตร) จึงเสด็จมายัง แคว้นมิถิลา(ไชยา) เพื่อติดตามเรื่องราวความเป็นจริงจากปากของ พระเจ้ากาแลง ผู้ปกครอง แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) พระองค์ใหม่ ก็ทราบข่าวว่า พระเจ้ากาแลง ทำการก่อกบฏ จริง

การที่ชนชาติมอญ ฉีกสัญญาสันติภาพ ซึ่งได้จัดทำไว้ในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมกับประกาศเอกราชต้องการสร้าง อาณาจักรของชนชาติมอญ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ จึงได้ส่งกองทัพหลัก มาตั้งกองทัพอยู่ที่ ทุ่งภูเขาพนมแบก เพื่อเตรียมทำสงคราม ปราบปราม แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) โดย มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางไปเจรจา กับ พระเจ้ากาแลง ที่ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แต่ พระเจ้ากาแลง วางแผนลวงให้ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ เสด็จไปเจรจาด้วยพระองค์เอง ณ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ได้รับข้อเสนอ

ขณะที่ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ นำกองเรือพระที่นั่ง เสด็จไปยัง สำนักสงฆ์ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ตามข้อเสนอ ของ พระเจ้ากาแลง นั้น ปรากฏว่า กองทัพเรือ ของชนชาติมอญ ได้ยกกองทัพเรือเข้าปิดล้อมกองเรือพระที่นั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ซึ่งกำลังเสด็จไปยัง สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) พร้อมกับส่งกองทัพเรือ เข้าโจมตี กองเรือพระที่นั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ตามแผนการลวง ที่กำหนด

ตำนานความเป็นมา ของ ชื่อท้องที่ เมืองสมุทรสงคราม กล่าวถึงสงครามครั้งนี้ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ กองทัพของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) และกองทัพหลักของ สหราชอาณาจักรเทียน ณ ทุ่งพนมแบก ทราบเหตุว่า กองเรือพระที่นั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ถูกโจมตี จึงยกกองทัพเข้าโจมตี แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ทันที พร้อมกับ ส่งกองทัพเรือเข้าช่วยเหลือ กองเรือพระที่นั่งของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ เป็นที่มาให้กองเรือพระที่นั่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ ต้องนำกองเรือพระที่นั่ง แหกวงล้อมหลบหนี ต้องเล่นเรือมุ่งหน้าไปยัง เมืองสมุทร ของ แคว้นราชคฤห์(โพธาราม)

ส่วนกองทัพเรือของ พระเจ้ากาแลง ราชาชนชาติกลิงค์มอญ ได้ส่งกองทัพเรือ ออกติดตามไปถึงท้องทะเล ปากน้ำแม่กลอง เมืองสมุทร ของ แคว้นราชคฤห์(โพธาราม) จึงเกิดสงคราม ขึ้นที่ปากน้ำในทะเล เมืองสมุทร เกิดการรบกันหลายวัน ในท้องทะเลเมืองสมุทร สรุปผลของสงครามว่า พระเจ้ากาแลง สวรรคต ในสงคราม ท้องที่ดังกล่าวจึงถูกเปลี่ยนชื่อจากชื่อ เมืองสมุทร เป็นชื่อใหม่ว่า เมืองสมุทรสงคราม ตั้งแต่นั้นมา ส่วน แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) ถูก กองทัพหลัก ของ สหราชอาณาจักรเทียน ยกกองทัพเข้ายึดครอง ทำการปราบปรามชนชาติกลิงค์ ซึ่งอพยพมาจาก เกาะพระกฤต(เกาะชวา) พร้อมกันนั้น มหาราชาเชียงลง ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) แห่ง อาณาจักรนาคฟ้า ได้โปรดเกล้า พระเจ้าตาแลง ซึ่งเป็นชาวมอญ มีเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ขึ้นครองราชสมบัติ แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) เป็นรัชกาล ต่อมา

 

 

   

(๓)สมัย มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง

กรุงราชคฤห์(พ.ศ.๓๕๘-๓๘๓)

    ภายหลังชัยชนะของ สงคราม ณ เมืองสมุทรสงคราม มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) ได้สละราชย์สมบัติ เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา แล้วออกบวช ณ วัดโพธาราม กรุงราชคฤห์(โพธาราม) แคว้นราชคฤห์ จักรพรรดิเจ้าม้าทอง ซึ่งเป็น สายราชวงศ์โคตะมะ ผสมกับ ราชวงศ์แมนสรวง เรียกว่า ราชวงศ์ขอม ขึ้นครองราชสมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ประจำกรุงราชคฤห์ ของ แคว้นราชคฤห์ ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.๓๕๘¨-18 พร้อมกันนั้น องคณะมนตรี มีมติให้ มหาราชาเจ้าทองเก(ขุนพะเนียด) ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิเจ้าทองเก ประจำ แคว้นคามลังกา(จันทบุรี)

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง นั้น กรุงราชคฤห์ ได้กลายเป็น เมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเทียน แห่ง ราชวงศ์ขอม¨-19 ซึ่งเป็นรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ หลังจากที่เมืองนครหลวง ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) และ เมืองคลองหิต(ครหิต) ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ และ เมืองมิถิลา(ไชยา) มาอย่างยาวนาน วัฒนธรรมขอม จึงขยายออกไปทั่วดินแดนสุวรรณภูมิ จาก กรุงราชคฤห์ นั่นเอง

เนื่องจากบทบาทของ ราชวงศ์ขอม ต้องการที่จะเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ออกสู่แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงต้องใช้ศูนย์กลางอยู่ที่ กรุงราชคฤห์(โพธาราม) ซึ่งเหมาะสมกว่า ทั้งนี้เพราะ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ในสมัยนั้น ประชาชน ยังมีความศรัทธา ต่อ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ เป็นอย่างสูง กลุ่มพวกพราหมณ์ จึงมีการขัดขวางมิให้ มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ให้แพร่หลายออกไป อย่างต่อเนื่อง

              เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง มีพระราชโอรส และ ราชธิดา จากมเหสีพระองค์แรก คือ เจ้าชายทองเก(ขุนพะเนียด) , เจ้าชายทองจันทร์ , เจ้าชายทองบูรณ์ , เจ้าชายทองทั่ว(สร้างวัดทองทั่ว) , เจ้าหญิงทองหยิบ และ เจ้าหญิงทองหยอด ต่อมา มเหสีพระองค์แรก สิ้นพระชนม์ มเหสีอีกพระองค์หนึ่ง เป็นราชธิดา ของ ราชาแห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) มีพระราชโอรสที่สำคัญ คือ เจ้าชายทองสิงห์ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ ท้าวเทวกาล ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำพระพุทธศาสนา เผยแพร่ในประเทศจีน ในเวลาต่อมา

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง กรุงราชคฤห์ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน นั้น พระองค์ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้างพื้นฐานให้เกิด อาณาจักรคามลังกา โดยมอบให้ จักรพรรดิเจ้าทองเก(ขุนพะเนียด) ไปรับผิดชอบเร่งรัดสร้าง แว่นแคว้นต่างๆ รอบๆ แคว้นอินทปัต ให้มีความมั่นคง เนื่องจากเกรงว่า ชนชาติกลิงค์ หรือ ชนชาติทมิฬ อาจเข้ามายึดครองดินแดนได้ จึงได้ส่ง สายราชวงศ์ขอม เข้าไปสมรสเกี่ยวดองกับแว่นแคว้นดั้งเดิม คือ แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) , แคว้นจุลนี(ไซ่ง่อน) , แคว้นอินทปัต(พระนคร) แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) , แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) และ แคว้นโพธิสัตว์(เมืองโพธิสัตว์) มารวมกัน เป็นกลุ่มก้อน โดยมี แคว้นอินทปัต เป็นแคว้นศูนย์กลางในการพัฒนา และ เผยแพร่พระพุทธศาสนา

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ยังมีการขยายแว่นแคว้น ออกไปทางทิศตะวันตก โดยมีพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง จากมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายทองสิงห์ เป็นผู้ออกไป กวาดต้อนชนพื้นเมือง แขกดำ ชนเผ่าหนึ่ง ไปร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขยายแว่นแคว้น ออกไปทางทิศตะวันตก ของ แคว้นราชคฤห์ คือ การสร้าง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) คือดินแดนท้องที่ จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน นั่นเอง

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง มีปัญหาในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนภาคใต้ตอนบน เนื่องจาก แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรนาคฟ้า มีเป็นจำนวนมาก จึงเริ่มมีการแยกพื้นที่ ออกเป็น อาณาจักรย่อยๆ ขึ้นกับ รัฐนาคฟ้า อาณาจักรแรกที่ถูกแยกออกมา คือ ดินแดนทางภาคใต้ตอนบน ถูกแยกออกมาเป็น อาณาชวาทวีป เป็นอาณาจักรแรก เพราะนับถือศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ เป็นส่วนใหญ่

สถานการณ์รอบดินแดน สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง นั้น เนื่องจาก เหตุการณ์ในประเทศจีน ระหว่างปี พ.ศ.๓๔๘-๓๕๕ นั้น เป็นสมัยที่ ฮ่องเต้ฮุ่ยตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ ตั้งแต่พระชนมายุ ๑๗ พรรษา โดยที่อำนาจที่แท้จริงตกอยู่ในมือของ พระพันปีหลวง พระนางลี่ไท่โฮ่ ผู้เป็นพระราชมารดา และมีจิตใจโหดร้าย โดยที่พระนางได้สั่งสังหารแม่ทัพ และขุนนางเก่า เป็นจำนวนมาก เพื่อนำ ตระกูลญาติ แซ่ลี่ เข้ามาแทนที่

เนื่องจาก ความโหดร้ายของ พระนางลี่ไท่โฮ่(ราชินีลี่โฮ่ อัครมเหสี ของ ฮ่องเต้ฮุ่ยตี้) นั้น ทำให้พระนางต้องถูกวิญญาณของผู้บริสุทธิ์ มาตามหลอกหลอน เพื่อมาทวงชีวิต จนกระทั่งสิ้นพระชนม์อย่างทรมาน หลังจากนั้น ระหว่างปี พ.ศ.๓๕๕-๓๖๓ ได้เกิดความไม่สงบขึ้นมา ในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก อย่างต่อเนื่อง สหราชอาณาจักรเทียน จึงมุ่งเน้น ค้าขายกับประเทศอินเดีย อย่างคึกคัก และเร่งสร้างความมั่นคงให้กับ สหราชอาณาจักรเทียน อย่างจริงจัง

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอินเดีย กล่าวว่า ตั้งแต่รัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ขึ้นครองราชสมบัติ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นต้นมา คือ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๕๙ เป็นต้นมา ประเทศอินเดีย มีการค้าขายกับ แว่นแคว้นต่างๆ ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างคึกคัก ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.๔๘๖ หลังจากนั้น การค้าขายกับประเทศอินเดีย ได้ชะลอตัวลง เพราะผลของสงคราม กับ ประเทศจีน

 

กำเนิด แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) ปี พ.ศ.๓๕๘

มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ยังมีการขยายแว่นแคว้น ออกไปทางทิศตะวันตก โดยมีพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง จากมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายทองสิงห์ เป็นผู้ออกไป กวาดต้อนชนพื้นเมือง แขกดำ ชนเผ่าหนึ่ง ไปร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมืองขยายแว่นแคว้น ออกไปทางทิศตะวันตก ของ แคว้นราชคฤห์(โพธาราม) คือ การสร้าง แคว้นทองสิงห์คาม คือดินแดนท้องที่ จ.กาญจนบุรี ในปัจจุบัน นั่นเอง

ในขณะที่ เจ้าทองสิงห์ ไปปกครอง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) นั้น พระองค์ มีพระราชโอรสหลายพระองค์ กับมเหสีฝ่ายขวา มีพระนามว่า เจ้าชายสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล), เจ้าชายสิงห์คาม และ เจ้าชายสิงห์พิมพ์ พระราชโอรสทั้งสาม เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมา

เจ้าชายสิงห์กาล(เทวกาล) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ เจ้าทองสิงห์ กลายเป็นผู้ปกครอง เมืองทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) ในเวลาต่อมา บทบาทของ เจ้าชายสิงห์กาล(เทวกาล) ผู้นี้ เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการรวมรวมดินแดน สหราชอาณาจักรเทียน และ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มารวมกัน โดยอยู่ภายใต้อำนาจของ สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมา โดยยึดถือจุดร่วมกัน ในการนับถือพระพุทธศาสนา มาสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือเหตุการณ์หลังจากที่ ฉินซีฮ่องเต้ ได้ทำสงครามขับไล่ อาณาจักรหนานเจ้า ให้อพยพลงมาทางใต้ แล้ว สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ต้องต่อสู้กับ ราชวงศ์ฮั่น อย่างโดดเดี่ยว แต่ในเวลาต่อมา สหราชอาณาจักรอาณาจักรหนานเจ้า ต้องการยืมมือ สหราชอาณาจักรเทียน ให้ช่วยทำสงครามแย่งชิงดินแดน ของชนชาติอ้ายไต ที่ถูกประเทศจีนยึดครองไป กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง

เจ้าทองสิงห์ ยังไปได้สมรสกับราชธิดาของราชาแคว้นหนึ่งใน เกาะศรีลังกา มาเป็นมเหสี ฝ่ายซ้าย จนมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีพระนามว่า เจ้าชายวัติ ซึ่งประชาชนเรียกว่า เจ้าชายสิงหลวัติ เพราะมีผิวดำ เหมือนกับชาวสิงหล ต่อมา เจ้าชายสิงหลวัติ ได้นำไพร่พล อพยพไปสร้าง เมืองสิงหลวัติ ในดินแดนลุ่มแม่น้ำยม และแม่น้ำโขง และได้สร้าง แคว้นสิงหลวัติ ขึ้นมา ซึ่งเป็นไปตามตำนานเมืองเหนือ เรื่อง แคว้นสุวรรณโคมคำ ซึ่งเป็นแว่นแคว้นใหม่ ของอาณาจักรนาคฟ้า ที่เกิดขึ้นในสมัยต่อมา ท้าวสิงหลวัติ จึงมีบทบาทสำคัญ ในการนำพระพุทธศาสนา สายเถรวาท ไปเผยแพร่ ในดินแดน อาณาจักรหนานเจ้า และประเทศจีน ในเวลาต่อมา

 

กำเนิด อาณาจักรชวาทวีป

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง นั้น อาณาจักรนาคฟ้า มีแว่นแคว้นต่างๆ เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ชนชาติอ้ายไต ได้อพยพจาก สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ อพยพมาจาก อาณาจักรไตจ้วง(กวางสี , กวางตุ้ง , กุ้ยหลิน) ซึ่งเป็นสายราชวงศ์จิว โดยทางเรือ และได้ไปตั้งรกรากในดินแดนของ อาณาจักรนาคน้ำ เพราะอาณาจักรนาคน้ำ ปกครองโดยสายราชวงศ์จิว มาก่อน และได้มาประกอบอาชีพค้าขาย กับ ประเทศอินเดีย อย่างคึกคัก อาณาจักรนาคน้ำ จึงเปลี่ยนเป็น รัฐนาคน้ำ คือ อาณาจักรตาโกลา กับ อาณาจักรแมนจูเจ้า

รัฐนาคน้ำ มีเมืองนครหลวงอยู่ที่ แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา) เช่นเดิม อาณาจักรตาโกลา(ตรัง) ประกอบด้วย แคว้นโพธิ์นารายณ์(ยะลา) , แคว้นตาโกลา(ตรัง) , แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) , แคว้นกลิงค์ตัน(กลันตัน) , แคว้นโกลาตารัง(ตรังกานู) , แคว้นไตปิง(ไทรบุรี) และ แคว้นโกลากัง(เปรัก) ส่วน อาณาจักรแมนจูเจ้า(มะละกา) ประกอบด้วย แคว้นแมนจูเจ้า(มะละกา) , แคว้นโกลาอำเภอ(สลังงอ) และ แคว้นโกลาหลี่ผิง(ปาหัง) เป็นต้น¨-20 รัฐนาคน้ำ จึงเป็นผู้ควบคุมเส้นทางเดินเรือทะเล ระหว่าง ประเทศจีน กับ ประเทศอินเดีย ทั้ง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ และ ช่องแคบแมนจูเจ้า(มะละกา)

ส่วน อาณาจักรนาคฟ้า ได้ถูกเปลี่ยนเป็น รัฐนาคฟ้า มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่กรุงราชคฤห์ ประกอบด้วย อาณาจักรนาคฟ้า และ อาณาจักรชวาทวีป ซึ่งประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ๓ แว่นแคว้น คือ แคว้นสุธรรม(ทุ่งสง) , แคว้นกลิงค์พัง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นรามัน(ระนอง) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) , แคว้นชวากะรัฐ(คันธุลี) , แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ประชาชน ยังคงมั่นคงในการนับถือ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ อย่างมั่นคง ไม่มีวัดทางพระพุทธศาสนา มีเพียงสำนักสงฆ์ ถูกจัดตั้งขึ้น อย่างกระจัดกระจาย ทั่วไป

แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรนาคฟ้า คงเหลือ ประมาณ ๑๕ แคว้น คือ แคว้นราชคฤห์(โพธาราม ราชบุรี) , แคว้นสิงห์คาม(กาญจนบุรี) , แคว้นนที(อยุธยา) , แคว้นอภัยสาลี(ศรีเทพ) , แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) , แคว้นหาบคาน(เชียงคาน) , แคว้นตาคลี(นครสวรรค์) , แคว้นสองแคว(พิษณุโลก) , แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) , แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) , แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) , แคว้นโพธิสัตว์(เมืองพระโพธิสัตว์) , แคว้นอินทปัต(เมืองพระนคร) แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) และ แคว้นจุลนี(เวียดนามตอนใต้)¨-21 เป็นต้น

ส่วนอาณาจักรนาคดิน นั้น ถูกเปลี่ยนเป็น รัฐนาคดิน เช่นเดียวกัน มีผลมาจากการอพยพของชนชาติอ้ายไต ในสมัยที่ ฉินซีฮ่องเต้ ได้ทำสงคราม ปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ของ อาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง มีการรบกันอยู่อีกประมาณ ๗ ปี กองทัพฉินซีฮ่องเต้ ก็สามารถรบชนะ อาณาจักรไตจ้วง(ซีโอก๊ก) เป็นที่มาให้ ฉินซีฮ่องเต้ ได้จัดตั้งเขตปกครองขึ้นใหม่ เพื่อกลืนชนชาติอ้ายไต ในดินแดน ๓ แว่นแคว้น คือดินแดน แคว้นกวางสี เปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นกุ้ยหลิน ส่วน แคว้นกวางตุ้ง เปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นหนำไห่(หนานหาย) และเปลี่ยนชื่อ แคว้นตาเกี๋ย เป็นชื่อใหม่ว่า แคว้นเสี้ยง เป็นที่มาให้ ชนชาติอ้ายไต อพยพโดยทางเรือเข้าสู่ รัฐนาคน้ำ และ อพยพทางบก มาตามเส้นทางแม่น้ำโขง เข้าสู่ รัฐนาคดิน เช่นกัน

การที่ ฉินซีฮ่องเต้ ได้พยายามกลืนวัฒนธรรม ของ ชนชาติอ้ายไต โดยการอพยพไพร่พลจากเมืองทางตอนเหนือ ของอาณาจักรเจ็ค เข้ามาตั้งรกรากปะปนกับ ประชาชนชนชาติอ้ายไต เพื่อการกลืนชาติ ผู้ที่ขัดขวาง ก็จะถูกกวาดต้อน ไปทำการขุดคลองเชื่อมโยงแม่น้ำหลายสาย ช่วงเวลาดังกล่าว ชนชาติอ้ายไต จึงได้อพยพเข้ามาตั้งรกรากยังดินแดนสุวรรณภูมิ เข้าสู่ แคว้นอ้ายลาว และ รัฐนาคดิน อีกครั้งหนึ่ง

สันนิษฐานว่า น่าจะมีแว่นแคว้นต่างๆ ของ รัฐนาคดิน ได้เพิ่มขึ้น นอกเหนือจาก แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) แคว้นอุดร(อุดรธานี) แคว้นหนองหาร(สกุลนคร) แคว้นหนองคาย(หนองคาย) แคว้นพิมาย(นครราชสีมา) โดยแยกออกเป็น ๒ อาณาจักร คือส่วนของ กลุ่มอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ และส่วนของ กลุ่ม อาณาจักรพิมาย ซึ่งยังไม่สามารถสืบค้นข้อมูล ในขณะนี้ได้

 

 พระพุทธศาสนา สู่ อาณาจักรหนานเจ้า ปี พ.ศ.๓๕๘-๓๘๓

ความไม่สงบในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นที่มาให้ตระกูลเจ้า แซ่หลิว เข้ายึดอำนาจราชสำนัก จับพวกขุนนาง แซ่ลี่ ฆ่าตายจนหมด แล้วเข้ายึดครองอำนาจเป็น ฮ่องเต้เหวินตี้ ระหว่างปี พ.ศ.๓๖๓-๓๘๖ ซึ่งตรงกับ รัชสมัยของ มหาจักรพรรดิเจ้าม้าทอง เหตุการณ์ในขณะนั้น ฮ่องเต้เหวินตี้ ทำการปกครองที่กดขี่ราษฎร อย่างรุนแรง เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ส่งพระธรรมทูต นำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ยังดินแดน ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว และประเทศจีน อย่างได้ผลในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อสร้างคุณธรรม ขึ้นมาในสังคม การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้สืบทอดต่อมายัง รัชกาลมหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) ต่อมา

ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน รัฐนาคน้ำ ซึ่งได้นับถือพระพุทธศาสนา อย่างรวดเร็ว วัดทางพระพุทธศาสนา ได้เกิดขึ้นทุกแว่นแคว้น ชนชาติอ้ายไต ยังแล่นเรือสำเภาเดินทางไปค้าขาย กับ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ อาณาจักรหนานเจ้า และ ดินแดนของชนชาติอ้ายไต ที่ถูกประเทศจีน ยึดครอง จึงส่งพระธรรมทูต ทางพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ด้วย ทำให้พระพุทธศาสนา เริ่มถูกเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนสหราชอาณาจักรหนานเจ้า และ ประเทศจีน อย่างรวดเร็ว

 


เชิงอรรถ

¨-18 การตรวจสอบปีขึ้นครองราชสมบัติ ของ มหาจักรพรรดิเจ้าม้าทอง ว่าประมาณปี ๓๕๘ มาจากข้อมูล ๒ ประการแรก จากตำนานที่กล่าวว่า พระเจ้าสุมิตร สละราชสมบัติออกบวชเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ประการที่สอง คำกลอนกล่อมลูกสรรเสริญ พระเจ้าม้าทอง กล่าวว่า ในรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิเจ้าม้าทอง นั้น มีการค้าขายอย่างคึกคัก กับ ประเทศอินเดีย และเมื่อตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์ ของอินเดีย ก็พบว่า ประเทศอินเดีย มีการค้าอย่างคึกคัก กับ แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๕๙ เป็นต้นไป แสดงว่า ปีขึ้นครองราชสมบัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง น่าจะอยู่ระหว่างปี พ.ศ.๓๕๘-๓๕๙ เป็นต้นมา

 

¨-19 คำว่า ราชวงศ์ขอม นั้น นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก มักจะอ้างว่า คือ ราชวงศ์ของ ชนชาติเขมร ในปัจจุบัน มักจะอ้างด้วยเหตุผล ๒ ประการๆ แรก อ้างว่า คำว่า ขอม และ เขมร เป็นคำที่ใกล้เคียงกัน ประการที่สอง อ้างว่า โบราณสถานต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในดินแดน อาณาจักรคามลังกา โบราณ นั้น คือดินแดนของชาติเขมร ดังนั้น โบราณสถาน ของชนชาติขอม ก็คือของ ชนชาติเขมร ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจ ของ ขอม ดังนั้น ขอม และ เขมร คือชนชาติเดียวกัน แต่ต่อมาเมื่อมีการพบหลักฐาน โบราณสถานต่างๆ ในประเทศไทย ว่าเป็นศิลป ขอม เช่นกัน นักประวัติศาสตร์ ชาตินักล่าอาณานิคม ตะวันตก มักจะสรุปเอาง่ายๆ ว่า ชนชาติไทย อพยพมาตอนหลัง แล้วไปรุกราน ชนชาติขอม ทำให้ ชนชาติขอม จึงคงเหลือดินแดน เป็น ประเทศเขมร ในปัจจุบัน เท่านั้น ชาติฝรั่งเศส ได้อ้างเรื่องนี้ เพื่อการยึดครองดินแดน ของ ชาติไทย มาโดยตลอดสมัยการล่าอาณานิคม

                  แท้ที่จริง ศูนย์กลางอำนาจ ของ สายราชวงศ์ขอม ที่เป็นจุดเริ่มต้น ที่แท้จริง ก็คือศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียน นั่นเอง ซึ่งเคยตั้งอยู่ที่ กรุงราชคฤห์ คือ ท้องที่ใน จ.ราชบุรี ในปัจจุบัน นั่นเอง คำว่า พวกขอม ที่แท้จริง ก็คือคนไทย ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของ สายราชวงศ์ขอม ในแต่ละยุคสมัยนั่นเอง คำว่า ขอม จึงหมายถึง เชื้อสายราชวงศ์ในดินแดนสุวรรณภูมิ ที่ผสมเผ่าพันธ์ ระหว่าง ราชวงศ์โคตะมะ จากอินเดีย กับราชวงศ์เจ้าอ้ายไต และเป็นผู้ปกครอง ดินแดนสุวรรณภูมิ ก่อนยุคสมัยของ การล่าอาณานิคม ของ ฝรั่งชาติตะวันตก นั่นเอง ดังนั้นถ้าศึกษา กระบวนการพัฒนาประวัติศาสตร์ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างเจอะลึก จะเห็นว่า เขมร ไม่ใช่ ขอม แต่เขมร คือ ชนชาติทมิฬ ที่เข้ามารุกราน ยึดครอง อาณาจักรคามลังกา ของ ชนชาติขอม ในภายหลัง นั่นเอง

                  ชนชาติอ้ายไต ที่อยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน จะให้ความหมายของคำว่า ขอม ว่า คือชนชาติไทย ทางทิศใต้ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า รายละเอียดเรื่องนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ค้นคว้าเรื่อง ชนชาติขอม และถูกนำมาจัดพิมพ์ เป็นหนังสือ เรื่อง "ข้อเท็จริงว่าด้วย ชนชาติขอม"  จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ มติชน(มิถุนายน ๒๕๔๗) ได้ให้ข้อมูล เกี่ยวกับความเป็นมาของ ชนชาติขอม ดีมาก

 

¨-20 ชื่อเมืองต่างๆ ในดินแดนแหลมมาลายู ในปัจจุบัน มักจะมีชื่อคำว่า โกลา นำหน้าเสมอ คำว่า โกลา ได้เพี้ยนมาเป็น กัวลา ในปัจจุบัน การใช้คำว่า โกลา นำหน้า คือประเพณี ของ ชนชาติอ้ายไต ที่อพยพมาจากอาณาจักรหนานเจ้า จะใช้ชื่อบิดา นำหน้า ดังนั้น การที่มีชื่อเมืองต่างๆ นำหน้าด้วยคำว่า โกลา แสดงว่า เป็นพระราชโอรส ของ ตาโกลา เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมือง และแว่นแคว้นขึ้น โดยจะสืบทอดเรื่อยมา โดยลูกหลาน จะไม่เปลี่ยนแปลงชื่อ เพราะเป็นประเพณี การเคารพ บรรพชน ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนดินแดนแหลมมาลายู ชาติฝรั่งนักล่าอาณานิคม จะเปลี่ยนชื่อใหม่หมด เพื่อทำลายล้างวัฒนธรรม และร่องรอยประวัติศาสตร์ มิให้หลงเหลือ อีกต่อไป หลักฐานดังกล่าว เป็นหลักฐานหนึ่ง ที่ชี้ให้เห็นว่า ชนชาติอ้ายไต มาตั้งรกราก ในแหลมมาลายู นานแล้ว

 

¨-21 แคว้นสุวรรณเขต และ แคว้นจุลนี สร้างขึ้นในสมัยที่เกิดสงครามเหล็ก พร้อมๆ กับ แคว้นนที(อยุธยา) เนื่องมาจาก มีผู้อพยพจากดินแดน อาณาจักรหนานเจ้า เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก จึงเกิดข้อพิพาทในเรื่องเขตแดน ระหว่าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ และ อาณาจักรหนานเจ้า ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าว อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงได้ตกลงกับ อาณาจักรหนานเจ้า จึงมีการตั้ง แคว้นสุวรรณเขต ขึ้นมาก่อน คือดินแดน ประเทศเขมร และเวียดนามภาคใต้ และพื้นที่ประเทศลาวภาคใต้ บางส่วน คือดินแดนของ แคว้นสุวรรณเขต ครั้งแรก และต่อมา ได้แบ่งแยกดินแดนในพื้นที่ เวียตนามภาคใต้ มาสร้างเป็น แคว้นจุลนี เพิ่มขึ้นอีกแคว้นหนึ่ง ในตำนานอุรังคธาตุ ก็ได้บันทึกว่า แคว้นสุวรรณเขต และ แคว้นจุลนี เกิดขึ้น ก่อนสมัยพุทธกาล แต่ไม่ได้ระบุว่า เกิดขึ้นเมื่อใด

 

 

 

 

 (๔) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวทองเก กรุงกิมหลิน(โพธาราม)

 

       เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้สละราชสมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาล และตามราชประเพณีแล้วออกผนวช ณวัดพระยันตระของแคว้นคามลังกา(จันทบุรี) จักรพรรดิเจ้าทองเก หรือ ขุนเพนียด ซึ่งเป็นสมัยราชวงศ์โคตะมะผสมกับราชวงศ์แมนสรวง เรียกว่า ราชวงศ์ขอม ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิท้าวทองเก ประจำกรุงราชคฤห์ ของ แคว้นราชคฤห์ นั้น ประชาชนนิยมเรียกพระนามว่า "ขุนเพนียด" พร้อมกันนั้น องคณะมนตรี ได้มีมติให้ มหาราชาเจ้าทองทั่ว เป็นจักรพรรดิเจ้าทองทั่ว ประจำ แคว้นคามลังกา(จันทบุรี)

จากการคำนวณ พระชนมายุของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ทำให้คาดคะเนได้ว่า น่าจะสละราชย์สมบัติออกบวชเมื่อปี พ.ศ.๓๘๓¨-22 และต่อมามีเรื่องราวทางตำนานกล่าวว่า จักรพรรดิเจ้าทองทั่ว สวรรคต ก่อนวัยอันสมควร เป็นเหตุให้ มหาราชาเจ้าทองสิงห์ จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิเจ้าทองสิงห์ ประจำ แคว้นราชคฤห์(โพธาราม) และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ในรัชกาลถัดมา

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) นั้น เนื่องจาก กฎมณเฑียรบาล กำหนดให้ มหาจักรพรรดิ และ จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต้องมีพระชนมายุ ไม่เกิน ๘๐ พรรษา จนกลายเป็นราชประเพณีที่ต้องสละราชย์สมบัติ ออกผนวช เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิ และ จักรพรรดิ ต้องสร้างวัดประจำพระองค์ไว้ เพื่อรองรับการสละราชย์สมบัติ ออกบวช เป็นที่มาให้ เกิดวัดต่างๆ ขึ้นในแว่นแคว้นซึ่ง มหาจักรพรรดิ หรือ จักรพรรดิ พระองค์นั้น เคยปกครองมาก่อน โดยอัตโนมัติ เพื่อรองรับ การสละราชย์สมบัติ

เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) เคยปกครองแคว้นคามลังกา มาก่อน พระองค์จึงต้องอุทิศที่ดิน สร้าง วัดพะเนียด ขึ้นมาในแคว้นคามลังกา เป็นวัดที่สอง ต่อจาก วัดพระยันตระ และต่อมา จักรพรรดิเจ้าทองทั่ว ได้สร้างวัดขึ้นมาอีกวัดหนึ่ง ณ เมืองคามลังกา(จันทบุรี) คือ วัดทองทั่ว ทำให้แคว้นคามลังกา มีวัดถึง ๓ วัด คือ วัดพระยันตระ วัดพะเนียด และวัดทองทั่ว กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ

       ตามตำนาน นิทานพื้นบ้านเรื่อง ขุนพะเนียด กับ แม่พลอย กล่าวว่า มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง มีพระราชโอรส และ ราชธิดา จากมเหสีพระองค์แรก คือ เจ้าชายทองเก(ขุนพะเนียด) , เจ้าชายทองจันทร์ , เจ้าชายทองบูรณ์ , เจ้าชายทองทั่ว , เจ้าหญิงทองหยิบ และ เจ้าหญิงทองหยอด ต่อมา มเหสีพระองค์แรก สิ้นพระชนม์ มเหสีอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นราชธิดา ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) มีพระราชโอรสที่สำคัญ คือ เจ้าชายทองสิงห์ ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ ท้าวเทวกาล ผู้มีบทบาทสำคัญในการนำพระพุทธศาสนา เผยแพร่อย่างรวดเร็ว

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) นั้น มีเหตุการณ์สำคัญ คือ เหตุการณ์เมื่อปี พ.ศ.๓๘๖ ขณะนั้น มหาอาณาจักรจีน ซึ่งปกครองโดย ฮ่องเต้ฮุ่ยตี้ ได้เสด็จสวรรคต และต่อมา ฮ่องเต้ฮั่นจิ้งตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นรัชกาลถัดมา(พ.ศ.๓๘๖-๔๐๒) เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรเทียน โดย มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) ได้นำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อย่างได้ผลในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อสร้างคุณธรรม ขึ้นมาในสังคม จึงเริ่มเกิดกบฏชาวพุทธ ขึ้นมาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

ผลของกบฏชาวพุทธ เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้จิ้งตี้ ต้องยุติการขูดรีดภาษี ประชาชนชนชาติอ้ายไต และต้องยกเลิกการลงโทษที่โหดร้ายทารุณ จนกระทั่งได้เกิดความไม่สงบขึ้นมาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๓๘๙ โดยได้เกิดสงครามกลางเมืองเป็นเวลา ๘ ปี จนกระทั่งเกิดกบฏ ๗ หวาง ขึ้นมา อีกครั้ง เป็นที่มาให้ ขุนศึกของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง เมืองหนำหาย(กวางตุ้ง) , เมืองกุ้ยหลิน(กวางสี)และ แคว้นเสี่ยง(เซี้ยงไฮ้)กลับคืน กลายเป็นอาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรเสี่ยงให้ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง

 

กำเนิด อาณาจักรคามลังกา ของ รัฐนาคฟ้า พ.ศ.๓๘๓

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง นั้น พระองค์ได้มีบทบาทสำคัญในการสร้าง อาณาจักรคามลังกา ขึ้นมา จนสำเร็จ ตำนาน นิทานพื้นบ้านเรื่อง ขุนพะเนียด กับ แม่พลอย มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อเจ้าม้าทอง สร้างแคว้นคามลังกา เสร็จแล้ว แล้วได้มอบให้ ขุนพะเนียด ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ไปปกครอง ต่อมา ขุนพะเนียด เกิดรักชอบพอ กับ แม่พลอย ซึ่งเป็นพระราชธิดา ของ ราชาแห่ง แคว้นอินทปัต ซึ่งสืบทอดสายราชวงศ์มาจาก ท้าวหมึง(มึง) หรือท้าวคำบาง ความรักของทั้งสองพระองค์ ได้สร้างความเป็นมาของคำไทย คำว่า "พลอย" ซึ่งถูกใช้เป็นเครื่องประดับ ในเวลาต่อมา

เนื่องจาก ขุนพะเนียด ให้พระอนุชาอีก ๒ พระองค์ คือ ขุนทองจันทร์ และ ขุนทองบูรณ์ ไปขุดหา พลอย มาได้เพื่อนำไปมอบให้กับ แม่พลอย และเรียกรั้งแรกว่า "พลอยจันทร์-บูรณ์" มาใช้เป็นแหวนมั่น ก่อนการอภิเษกสมรส เพราะ ขุนพะเนียด มีพระนามจริงว่า ทองเก หมายถึง ทองปลอม จึงถูกพระสหายล้อเล่น มาก จึงไม่นำทองคำ ไปมั่นหมาย แม่พลอย ก่อนการอภิเษกสมรส จริง

ต่อมา ขุนพะเนียด ได้ไปสร้างพระราชวัง ประทับอยู่กลางสระน้ำใหญ่ เมื่ออภิเษกสมรสแล้ว จึงรับแม่พลอย ไปยังเรือนหอ เวลาเดินทางเข้าเรือนหอ ซึ่งตั้งอยู่กลางสระน้ำใหญ่ ต้องพา แม่พลอย "เนียด" ไปทุกครั้ง(คำว่าเนียด แปลว่า กอดติดตัว) เป็นที่มาให้ เจ้าทองเก มีพระนามใหม่ว่า "ขุนพาเนียด" ซึ่งเพียนมาเป็น "ขุนพะเนียด" ในเวลาต่อมา

เนื่องจาก เจ้าม้าทอง ต้องเสด็จไปช่วยฟื้นฟู และสร้างบ้านแปลงเมือง ให้กับ แว่นแคว้นต่างๆ ทางทิศตะวันออก จึงมอบให้ ขุนพะเนียด เป็นผู้ปกครอง แคว้นคามลังกา ขุนพะเนียด มีพระอนุชาร่วมบิดา มารดา เดียวกัน อีก ๓ พระองค์ คือ ขุนทองจันทร์ , ขุนทองบูรณ์ และ ขุนทองทั่ว เป็นผู้ไปร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง ให้กับ แคว้นคามลังกา ต่อมา เจ้าม้าทอง ต้องไปรับราชการที่กรุงราชคฤห์ ทำให้ เจ้าทองเก(ขุนพะเนียด) กลายเป็นราชา ปกครองแคว้นคามลังกา

ด้วยเหตุผลกลใด ไม่ปรากฏชัด ทำให้ ต่อมา เจ้าทองเก ต้องไปเป็นราชาปกครอง แคว้นอินทปัต ทำให้ ขุนทองจันทร์ ได้เป็นราชาปกครอง แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) ส่วน ขุนทองบูรณ์ เป็นอุปราช เป็นเหตุให้ เจ้าทองเก(ขุนพะเนียด) มอบพระราชวังพะเนียด เป็นที่สร้าง วัดพะเนียด แคว้นคามลังกา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นจันทร์บูรณ์(จันทบุรี) ตามพระนาม ของ เจ้าทองจันทร์ และ เจ้าทองบูรณ์ ส่วนเจ้าทองเก ได้สร้าง อาณาจักรคามลังกา ขึ้นมาเป็นอาณาจักรใหม่ อีกอาณาจักรหนึ่ง มีแคว้นอินทปัต เป็นแคว้นนครหลวง เรียกว่า อาณาจักรคามลังกา

ตำนานความเป็นมา ของ ขนมทองหยิบ และ ขนมทองหยอด กล่าวว่า เกิดขึ้นที่ แคว้นอินทปัต แห่ง อาณาจักรคามลังกา เมื่อสายราชวงศ์ขอม เข้าไปสมรสเกี่ยวดองกับแว่นแคว้นดั้งเดิม คือ แคว้นสุวรรณเขต(เมืองสุวรรณเขต) แคว้นจุลนี(ไซ่ง่อน) แคว้นอินทปัต(พระนคร) แคว้นตาแก้ว(เมืองตาแก้ว) แคว้นออกแก้ว(เมืองออกแก้ว) และ แคว้นโพธิสัตว์(เมืองโพธิ์สัตว์)¨-23 รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า อาณาจักรคามลังกา โดยมี แคว้นอินทปัต(เมืองพระนคร) เป็นแคว้นนครหลวง

มีเรื่องราวต่อมา สรุปว่า เมื่อมีการสร้างกลุ่ม อาณาจักรคามลังกา ซึ่งปกครองโดยราชวงศ์ขอม เรียบร้อยแล้ว จึงมีการจัดงานฉลองชัยขึ้นที่ แคว้นอินทปัต โดยมี เจ้าหญิงทองหยิบ และ เจ้าหญิงทองหยอด ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ของ มหาจักรพรรดิเจ้าทองเก ได้ทำ ขนมทองหยิบ และ ขนมทองหยอด ไปบวงสรวงเซ่นไหว้ ท้าวอินทปัต หรือ พระโพธิสัตว์ ผู้ที่เคยครอบครองแหล่งทองคำ แคว้นสุวรรณภูมิ(ครหิต) มาก่อนที่ ชนชาติกลิงค์ จะเข้ามาตีเมืองแตก จนกระทั่ง เชื้อสายราชวงศ์ที่คงเหลือ ต้องอพยพไพร่พล มาสร้าง แคว้นสุวรรณภูมิ ใหม่ หรือ แคว้นอินทปัต ขึ้นแทนที่ ทำให้ อาณาจักรคามลังกา จึงได้เกิดขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว โดยจัดให้ อาณาจักรคามลังกา จึงกลายเป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ รัฐนาคฟ้า ดังนั้น การใช้ ขนมทองหยิบ และ ขนมทองหยอด ในการบวงสรวงเซ่นไหว้ จึงถูกใช้ สืบทอด ต่อๆ กันมา จนถึงปัจจุบัน

 

เจ้าทองสิงห์ ให้กำเนิด แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี)

       ตำนานความเป็นมา ของ การสร้างบ้านแปลงเมือง ท้องที่เมืองกาญจนบุรี ในปัจจุบัน มีความเป็นมาโดยสรุปว่า เจ้าทองสิงห์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ซึ่งเป็น สายราชวงศ์โคตะมะ ที่ได้มาผสมกับ ราชวงศ์แมนสรวง เรียกกันว่า ราชวงศ์ขอม เป็นผู้รวบรวมชนพื้นเมืองแขกดำ ไปร่วมกันสร้างเมือง ครั้งแรก เรียกว่า "เมืองทองสิงห์" จนกระทั่งได้พัฒนา กลายเป็น แคว้นทองสิงห์คาม มี ราชาเจ้าทองสิงห์ เป็นราชา ของ แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) เป็นพระราชาพระองค์แรก มี เจ้าสิงห์กาล ผู้เป็นพระราชโอรส เป็นอุปราช ในระยะแรกๆ

       ต่อมา เจ้าทองสิงห์ ถูกเรียกตัวไปรับราชการ ณ กรุงราชคฤห์ เจ้าสิงห์กาล ซึ่งเป็นพระราชโอรส จึงเป็นราชาปกครอง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) แทนที่ เป็นพระองค์ต่อมา โดยมี เจ้าสิงห์คาม พระราชโอรส ของ เจ้าทองสิงห์ อีกพระองค์หนึ่ง เป็นอุปราช ของแคว้น และต่อมา เมื่อ เจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) ต้องกลับไปรับราชการ ณ กรุงราชคฤห์ เจ้าสิงห์คาม จึงขึ้นครองราชสมบัติ เป็นราชาพระองค์ที่สาม ของ แคว้นทองสิงห์ แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่ ว่า แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) ซึ่งประชาชน นิยมเรียกชื่อว่า แคว้นสิงห์คาม(กาญจนบุรี) สืบทอดเรื่อยมา

 

เจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) ให้กำเนิด แคว้นสิงห์กาล(สิงห์บุรี)

       ตามตำนานความเป็นมา ของ ชื่อท้องที่ จ.สิงห์บุรี ในปัจจุบัน กล่าวว่า เดิมชื่อ เมืองสิงห์กาล เป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่ง ท้าวเทวกาล เป็นผู้สร้างขึ้น ก่อนที่จะขึ้นครองราชสมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อมา เมืองสิงห์กาล(สิงห์บุรี) ได้กลายเป็นแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรนาคฟ้า เกิดขึ้นต่อเนื่องจากการสร้าง แคว้นทองสิงค์คาม(กาญจนบุรี) แล้วถูกเรียกสั้นๆ ว่า "เมืองสิงห์" สืบทอดเรื่อยมา

       เจ้าชายสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ซึ่งเป็นผู้สร้าง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) เมื่อเติบโตเป็นหนุ่ม ต้องออกไปสร้างบ้านแปลงเมือง และสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นตามราชประเพณี เจ้าชายสิงห์กาล จึงพยายามสร้างแว่นแคว้นขึ้นมา ระหว่างดินแดน แคว้นนที(อยุธยา) กับ แคว้นตาคลี(นครสวรรค์) จนเป็นผลสำเร็จ เจ้าชายสิงห์กาล จึงได้เสด็จ ไปค้าขาย กับ ประเทศศรีลังกา จนกระทั่งได้พระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ของ กษัตริย์ ประเทศศรีลังกา มาเป็นมเหสี มีพระราชโอรส พระองค์หนึ่ง มีพระนามว่า เจ้าชายสิงหลวัติ ซึ่งเป็นผู้ สร้าง แคว้นสิงหลวัติ ในดินแดนลุ่มแม่น้ำยม ในเวลาต่อมา

       ขณะที่ เจ้าชายสิงห์กาล เป็นราชาปกครอง แคว้นสิงห์กาล(สิงห์บุรี) อยู่นั้น มเหสีซึ่งเป็นเจ้าหญิงลังกา นั้น ได้หลบหนีกลับเมือง เพราะ เจ้าชายสิงห์กาล มีพระชายา จากทั้งสามัญชน และเชื้อสายราชวงศ์ อีกเป็นจำนวนมาก จึงมีพระราชโอรส และ พระราชธิดา ทั้งหมด ถึง ๖๐ พระองค์ เป็นชาย ๓๐ พระองค์ และหญิง ๓๐ พระองค์ โดยที่ พี่น้องดังกล่าว ได้สมรสกันเอง โดยผิดกฎมณเฑียรบาล ซึ่งกำหนด มิให้ พี่น้อง สมรสระหว่างกัน พี่น้องทั้งหมด จึงถูกเนรเทศ ให้ไปสร้างแคว้นสิงหลวัติ จนกระทั่งกลายเป็น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ในเวลาต่อมา

 

สงครามแย่งชิงดินแดน ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง พ.ศ.๓๘๙

เนื่องจากมีเหตุการณ์สืบเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๔๒ เมื่อกองทัพของ อาณาจักรมองโกเลีย(ชนชาติซ่งหนู) เข้าโจมตี ปิดล้อมเมืองซึ่งมี ฮ่องเต้ฮั่นโกโจ(ฮั่นเกาตี้) ประทับอยู่ ในที่สุด ฮ่องเต้ฮั่นโกโจ(ฮั่นเกาตี้) ต้องยอมจำนน โดยยอมยกพระราชธิดาให้กับ มหาราชา ของ อาณาจักรมองโกเลีย(ซ่งหนู) เพื่อขอเป็นพันธมิตร กับ ชนชาติซ่งหนู เพื่อยืมมือ อาณาจักรมองโกเลีย(ซ่งหนู) เข้าทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ต่อไป ในอนาคต

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีนกล่าวว่า ความไม่สงบในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็นที่มาให้ ตระกูลเจ้าแซ่หลิว เข้ายึดอำนาจราชสำนักฮั่น จับพวกขุนนาง แซ่ลี่ ฆ่าตายจนหมด แล้วเข้ายึดครองอำนาจเป็น ฮ่องเต้เหวินตี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๖๓ เป็นต้นมา สงคราม ระหว่าง ประเทศจีน กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า จึงมีความรุนแรง ขึ้น

เนื่องจาก ฮ่องเต้เหวินตี้ มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ กับ อาณาจักรมองโกล(ชนชาติซ่วงหนู) มาก่อน ทำให้ ฮ่องเต้เหวินตี้ ซึ่งเป็นพันธมิตร กับ อาณาจักรมองโกล มีอำนาจมากขึ้น จึงทำการการปกครองที่กดขี่ราษฎร อย่างรุนแรง จึงได้เกิดสงครามยึดครองกอบกู้ดินแดน กลับคืน ทั้ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า และ พวกแมนจูเรีย(พวกตุงหู หรือ พวกแมนสรวง) จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๓๖๗ กองทัพพวกมองโกเลีย(ชนเผ่าซ่งหนู) ร่วมมือกับ ฮ่องเต้ฮั่นเหวินตี้ ส่งกองทัพเข้าทำสงครามชนะ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) พร้อมกับได้ฆ่า มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ด้วย ชนชาติอ้ายไต จึงลุกขึ้นต่อสู้ ทั่วทุกอาณาจักร ความไม่สงบจึงเกิดขึ้นโดยทั่วไป ในประเทศจีน จนกระทั่งเกิดกบฏ ๗ หวาง ขึ้นมาในปี พ.ศ.๓๘๙ ในสมัยของ ฮ่องเต้จิ้งตี้(พ.ศ.๓๘๖-๔๐๓) จนประทั่งปี พ.ศ.๔๐๓ ฮ่องเต้ฮั่นจิ้งตี้ สวรรคต ฮ่องเต้ฮั่นวู่ตี้(ฮ่องเต้ฮั่นอวงมั้ง) ขึ้นครองราชสมบัติ(พ.ศ.๔๐๓-๔๕๖) ประเทศจีน เป็นรัชกาลถัดมา แต่ได้เกิดขัดแย้ง กับ อาณาจักรมองโกเลีย อีกครั้งหนึ่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า จึงขยายสงคราม ยึดครองดินแดนกลับคืน อย่างรวดเร็ว

สหราชอาณาจักรเทียน ได้ถือโอกาส ช่วงเวลาของการเกิด กบฏ ๗ หวาง ส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ยึดครองดินแดนกลับคืน เนื่องจาก เหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๘๙ เป็นต้นมา ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาในประเทศจีน เป็นเวลา ๘ ปี เรียกว่า กบฏ ๗ หวาง ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ในปีดังกล่าว สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้ขอความช่วยเหลือ มายัง สหราชอาณาจักรเทียน ทำให้ขุนศึก ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้ถือโอกาสช่วงเวลาดังกล่าว ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมือง กุ้ยหลิน(กวางสี) หนำไห่(กวางตุ้ง) และ แคว้นเสี้ยง(เซี่ยงไฮ้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ ประเทศจีนจึงเรียก สหราชอาณาจักรหนานเจ้าในขณะนั้น ว่า ประเทศหนานเย่(หนานเย่ก๊ก) เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มีความสัมพันธ์ที่ดี กับ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ รัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) เป็นต้นมา

การที่ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) มีความใกล้ชิดกับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ทำให้ เจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ด้วย เพราะ พระมเหสี และ พระชายา หลายพระองค์ ของ เจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) มาจากเชื้อสายราชวงศ์ จาก หลายแว่นแคว้น ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นเหตุให้ เจ้าสิงห์กาล นำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ยังดินแดน ของ สหราชอาณาจักรน่านเจ้า อย่างรวดเร็ว และอย่างได้ผล ในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อสร้างคุณธรรม ขึ้นมาในสังคม และเป็นที่มาให้ ฮ่องเต้จีน ต้องหนักพระทัยมาก



¨-22 มาจากการคำนวณปีประสูติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเจ้าม้าทอง ซึ่งน่าจะเป็นปี พ.ศ.๓๐๓ ดังนั้น ปีสละราชสมบัติออกบวช เมื่อมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา คือปี พ.ศ.๓๘๓ ซึ่งจะต้องเป็นปีขึ้นครองราชสมบัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเจ้าทองเก หรือ ขุนพะเนียด ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเจ้าม้าทอง ในปีดังกล่าว ด้วย

 

¨-23 ผู้เรียบเรียง พยายามค้นหาว่า แคว้นโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นแคว้นโบราณแว่นแคว้นหนึ่ง ของ อาณาจักรคามลังกา ว่า มีความเป็นมาอย่างไร แต่ไม่พบความเป็นมาของการสร้างแคว้นนี้แต่อย่างใด มีแต่ตำนานของพวกบ้านวังพวกราชวงศ์ ซึ่งกล่าวว่า เมื่อ เมืองคลองหิต(ครหิ) แคว้นสุวรรณภูมิ ถูกชนชาติกลิงค์ ตีเมืองแตก จนกระทั่ง ท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงครามครั้งนั้น พวกราชวงศ์ท้าวอินทปัต นำโดย ท้าวหมึง ซึ่งอพยพ ไปสร้างแคว้นสุวรรณภูมิ ขึ้นใหม่ ณ ดินแดน เก้าเลี้ยวเก้าคด นั้น ได้นำศาสนาพราหมณ์ ไปด้วย แต่เมื่อสร้าง แคว้นสุวรรณภูมิ ขึ้นใหม่แล้ว ไม่เป็นที่ยอมรับ แคว้นสุวรรณภูมิ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นอินทปัต แทนที่ แต่ ดวงวิญญาณของ ท้าวอินทปัต ยังไม่สงบสุข แม้ว่า พระราชโอรสฝาแฝด ๒ พระองค์ จะได้สร้าง แคว้นตาแก้ว และ แคว้นออกแก้ว แล้วก็ตาม

         ต่อมาเมื่อ สายราชวงศ์ขอม จากกรุงราชคฤห์ แคว้นราชคฤห์ ได้ไปสมรสเกี่ยวดอง กับ กลุ่มราชวงศ์ แคว้นสุวรรณเขต แคว้นจุลนี แคว้นอินทปัต แคว้นตาแก้ว และ แคว้นออกแก้ว เรียบร้อยแล้ว พร้อมกับนำพระพุทธศาสนา ไปเผยแพร่ แต่ดวงวิญญาณ ท้าวอินทปัต ยังไม่ยุติการหลอกหลอน จึงมีการสร้างแคว้นโพธิสัตว์ ขึ้นมา เพื่อยกย่องว่า ท้าวอินทปัต เป็นพระโพธิสัตว์ เช่นเดียวกับ พระกฤษณะ ผีท้าวอินทปัต จึงได้ยุติการหลอกหลอน จึงมีการทำขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ไปถวายเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ผีท้าวอินทปัต และยกย่องให้เป็น พระโพธิสตว์ เรื่องต่างๆ จึงยุติ อาณาจักรคามลังกา จึงเกิดขึ้น แคว้นดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า แคว้นโพธิสัตว์ สืบทอดต่อมา มีเรื่องเล่ายืดยาว มาจนถึงสมัย เจ้าชายเกตุมาลา ในสมัยสหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการสร้าง เมืองพระนคร อีกครั้งหนึ่ง โดยเนื้อหาทั้งหมดแล้ว แคว้นนี้ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับ ท้าวอินทปัต ซึ่งสวรรคต ไปอย่างไม่สงบสุข นั่นเอง

 

     

 (๕) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ กรุงราชคฤห์

  (พ.ศ.๔๐๘-๔๑๖)

 

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา พระองค์ได้สละราชสมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาล และตามราชประเพณี แล้วออกบวช ณ วัดพะเนียด ของ แคว้นคามลังกา(จันทบุรี) จักรพรรดิเจ้าทองสิงห์ ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิเจ้าทองสิงห์ ประจำกรุงราชคฤห์ สามารถคำนวณปีการขึ้นครองราช คะเนว่าน่าจะเป็นปี พ.ศ.๔๐๘¨-24 และ มหาราชาเจ้าสิงห์กาล เป็น จักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) ประจำกรุงราชคฤห์ และได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชกาลถัดมา

              ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ได้มอบหมายให้ จักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า จึงมีการนำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ยังดินแดน ของ สหราชอาณาจักรน่านเจ้า อย่างรวดเร็ว และอย่างได้ผล ทำให้ความจำเป็นในการติดต่อตามเส้นทางบก มีมากขึ้น ซึ่งเป็นที่มาให้ จักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) มอบให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าสิงหลวัติ นำไพร่พล ออกไปร่วมสร้าง แคว้นสิงหลวัติ ขึ้นมา ในดินแดนบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำยม แม่น้ำอิง และ แม่น้ำโขง จนกระทั่งได้กลายเป็นเส้นทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทางบก ที่สำคัญในเวลาต่อมา และ แคว้นสิงหลวัติ ได้ขยายเครือข่าย จนกระทั่งได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ในเวลาต่อมา

ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ยังได้มอบหมายให้ เจ้าสิงห์พิม ไปขยายแว่นแคว้น และทำการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป เมืองพิมพิสาร จึงได้เกิดขึ้นในท้องที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี กลายเป็น แคว้นโพธิสาร ในเวลาต่อมา ตามตำนาน กล่าวว่า ช่วงเวลาครองราชสมบัติ ประมาณ ๘ พรรษา เท่านั้น

 

กำเนิด แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ ในดินแดนลุ่มแม่น้ำยม

              เรื่องราวของ แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(พะเยา) ซึ่งสร้างขึ้นโดย เจ้าชายสิงหลวัติ เป็นเรื่องที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แต่มีข้อขัดแย้งกันอยู่มาก ในเรื่องของ เจ้าชายสิงหลวัติ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นใคร? มาจากไหน และ เป็นเหตุการณ์จริงเมื่อใด?

              ในเรื่องที่ เจ้าชายสิงหลวัติ มาจากไหน? มีคำตอบตรงกันว่า มาจากกรุงราชคฤห์ แต่ กรุงราชคฤห์ ตั้งอยู่ที่ไหน? ยังเป็นข้อโต้แย้ง ของ นักประวัติศาสตร์ มาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนใหญ่เชื่อว่า กรุงราชคฤห์ ตั้งอยู่ในท้องที่ จ.ราชบุรี ในปัจจุบัน บ่างส่วนก็สันนิษฐานว่า อยู่ที่แม่นำสาละวิน หรือ เมืองของอาณาจักรหนานเจ้า ส่วนเจ้าชายสิงหลวัติ เป็นพระราชโอรส ของ ผู้ใด นั้น ไม่ค่อยมีข้อสงสัยว่า ว่า เป็นพระราชโอรส ของ ท้าวเทวกาล แต่เป็นเครือญาติกับผู้ใดนั้น คือข้อขัดแย้งที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ แต่ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นการประมวลข้อมูล จากพวกบ้านวังพวกราชวงศ์ ในท้องที่ภาคใต้ ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวข้อง กับ แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) ด้วย

ตามตำนานเรื่องราว การก่อกำเนิด ของ แคว้นพิมพิสาร(พันพาน) และ แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(พะเยา)¨-25 ของ เจ้าพิมพิสาร และ เจ้าสิงหลวัติ ซึ่งทั้งสองพระองค์ เป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง ระหว่างกัน(ตำนานเมืองเหนือ กล่าวว่า เป็นพี่น้อง ท้องเดียวกัน โดยเจ้าพิมพิสาร เป็นพระเชษฐา) ตำนานทางใต้ ได้กล่าวถึงเรื่องราวการก่อกำเนิด ของ แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ โดยสรุปว่า เกิดขึ้นในสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ มีเจตนาสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นในดินแดนลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำอิง และ แม่น้ำโขง เพื่อสร้างเส้นทางบก ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดนของชนชาติอ้ายไต

เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว มีชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในประเทศจีน บริเวณ แคว้นเสี่ยงให้(เซียงไฮ้ หรือ แคว้นอู๋) และ อาณาจักรหนานจ้วง หรือ ไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี และ ตาเกี๋ย) ถูกกองทัพประเทศจีน ทำสงครามยึดครอง จึงต้องอพยพลงมาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง แม่น้ำอิง ซึ่งเป็นดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นจำนวนมาก โดยไม่มีผู้ปกครอง อีกส่วนหนึ่ง ต่อแพ อพยพมาตามแม่น้ำโขง เข้ามายัง อาณาจักรคามลังกา หลายแสนคน

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ แห่งกรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองสหราชอาณาจักรเทียน(แถน) นั้น มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ มีพระราชโอรสที่สำคัญ ๓ พระองค์ คือ เจ้าชายสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) , เจ้าชายสิงห์คาม และ เจ้าชายสิงห์พิมพ์ พระราชโอรสทั้งสาม ได้รับมอบหมายงาน คนละทิศ คนละทางกัน

เจ้าชายสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) ได้รับมอบหมายให้ ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า และให้ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ตามเส้นทางแม่น้ำยม แม่น้ำอิง และ แม่น้ำโขง เพื่อใช้เป็นเส้นทางติดต่อทางบก กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ส่วน เจ้าชายสิงห์คาม ได้รับมอบหมายให้ไปปกครอง แคว้นทองสิงห์คาม(กาญจนบุรี) ส่วน เจ้าชายสิงห์พิมพ์ ได้รับมอบหมาย ให้ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นมา ในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน)

เนื่องจาก จักรพรรดิท้าวเทวกาล มีพระราชโอรส และพระราชธิดา จากเจ้าหญิง ของ ประเทศศรีลังกา และ พระชายาอื่นๆ รวมถึง ๖๐ พระองค์¨-26 เป็นพระราชโอรส ๓๐ พระองค์ และพระราชธิดา ๓๐ พระองค์ พี่น้องทั้ง ๖๐ พระองค์ สมรสระหว่างกันเอง เป็น ๓๐ คู่ กลายเป็นเชื้อสายราชวงศ์ขอม ซึ่งเป็นสายราชวงศ์สายราชวงศ์หนึ่ง ของ พระเจ้าม้าทอง ซึ่งได้ออกไปสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อเป็นแนวเส้นทางติดต่อทางบก ทางแม่น้ำยม กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า

กลุ่มพระราชโอรส-ธิดา ๖๐ พระองค์ ของ จักรพรรดิท้าวเทวกาล นำโดย เจ้าชายสิงหลวัติ ได้นำน้องๆ ออกไปสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อปกครองชาวไตยวน บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง(เชียงแสน , เชียงของ) ลุ่มแม่น้ำอิง(เชียงราย) และแม่น้ำยม(พะเยา , แพร่ , สวรรค์โลก และ สุโขทัย) และตั้งชื่อเมืองตามพระนามผู้สร้างเมือง ประชาชนเรียกชื่ออาณาจักรนี้ในระยะแรกๆ ว่า แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐ อยู่ที่ เมืองนาคพันธุสิงหลวัติ(เมืองสวนตาล) คือท้องที่ จ.พะเยา ในปัจจุบัน คือเหตุการณ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๔๑๓ เป็นอย่างเร็ว

เนื่องจาก เจ้าชายสิงหลวัติ มีพระราชมารดา เป็นราชวงศ์ศรีลังกา อีกทั้ง มเหสี ของ เจ้าชายสิงห์หลวัติ เป็นราชวงศ์ศรีลังกา(ลังกาวงศ์) มิได้เป็นสายราชวงศ์ขอม หรือ สายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สายราชวงศ์ใดๆ แต่อย่างใด พระราชโอรสของ เจ้าชายสิงหลวัติ ทุกพระองค์ จึงไม่มีสิทธิในการสืบทอดราชสมบัติ สหราชอาณาจักรเทียน ตามกฎมณเฑียรบาล เจ้าชายพิมพิสาร ซึ่งเป็นญาติลูกพี่ลูกน้อง และเป็น พระราชโอรสของ ท้าวสิงห์พิม จึงเป็นผู้สืบทอดเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชกาลต่อมา ส่วนเจ้าชายสิงห์หลวัติ ได้นำน้องๆ ไปสร้าง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ เป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ รัฐนาคฟ้า จนสำเร็จ ในเวลาต่อมา ด้วยการช่วยเหลือของ เจ้าชายพิมพิสาร เป็นสำคัญ

ส่วน เจ้าชายสิงห์พิม ได้รับมอบหมาย ให้ไปสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อรับผู้อพยพ ในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป คือเมืองสิงห์พิม(พุนพิน) ต่อมาถูกเรียกกลับไปรับราชการที่ กรุงราชคฤห์ จึงมอบให้ เจ้าพิมพิสาร พระราชโอรส ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นมาในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี ต่อมา แต่เมื่อทราบว่า มีผู้อพยพชนชาติอ้ายไต หลายแสนคน ล่องแพมาตามแม่น้ำโขง เข้ามายัง อาณาจักรคามลังกา เจ้าชายโพธิสาร จึงต้องเดินทางไปบริหารราชการ อาณาจักรคามลังกา

 

การเผยแพร่พระพุทธศาสนา สู่ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า

สหราชอาณาจักรเทียน ได้ถือโอกาส ช่วงเวลาของการเกิด กบฏ ๗ หวาง ซึ่งได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นมาในประเทศจีน ทำให้สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้ถือโอกาสช่วงเวลาดังกล่าว ส่งกองทัพเข้ายึดครองเมือง กุ้ยหลิน(กวางสี) หนำไห่(กวางตุ้ง) และ แคว้นเสี้ยง(เซี่ยงไฮ้) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มีความสัมพันธ์ที่ดี กับ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ รัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวทองเก(ขุนพะเนียด) ต่อเนื่องมาถึง รัชกาลมหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ พระพุทธศาสนา ได้แพร่หลายไปยังดินแดนของ อาณาจักรหนานเจ้า ในรัชกาลนี้ อย่างรวดเร็วมาก

              ในรัชกาลนี้ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ได้มอบหมายให้ จักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) สร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า จึงมีการนำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ยังดินแดน ของ สหราชอาณาจักรน่านเจ้า อย่างรวดเร็ว และอย่างได้ผล เพราะมีเส้นทางการติดต่อตามเส้นทางบก กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ตามเส้นทาง แม่น้ำยม แม่น้ำอิง และ แม่น้ำโขง ดีขึ้นมาก ซึ่งเป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล(ท้าวเทวกาล) มอบให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง คือ เจ้าสิงหลวัติ นำไพร่พลไปสร้าง แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(พะเยา) ขึ้นมา ในบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำยม และ แม่น้ำอิง จนกระทั่งได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ในเวลาต่อมา ทำให้มีเมืองต่างๆ เป็นที่แวะพัก ตลอดเส้นทางการเดินทาง สะดวกต่อที่พระธรรมทูต เดินทาง ออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้อย่างสะดวก

              เนื่องจาก ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า นับถือผีบรรพบุรุษ มาก่อน ดังนั้น แนวการเผยแพร่พระพุทธศาสนา คือ การใช้ คาถาเยธัมมาเหตุฯ และ คาถา อัตหิ อัตโนนาโถ เพื่อสอนให้ชนชาติอ้ายไต ยึดถือว่า ความสามารถของมนุษย์ชาติ เหนือกว่าความสามารถ ของ ดวงวิญญาณ การแก้ไขปัญหาต่างๆ จึงต้องมุ่งเน้นพึ่งพาตนเอง มิใช่รอให้ ดวงวิญญาณมาช่วยเหลือ โดยส่งเสริมให้สังคมที่อยู่ร่วมกัน ต้องยึดถือ ศีลห้า และต้องเคารพต่อพ่อแม่ และดวงวิญญาณของบรรพชน ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยไม่ขัดกับความประเพณี และความเชื่อ ดั้งเดิม ทำให้ พระพุทธศาสนา ถูกเผยแพร่ ออกไปในหมู่ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว ในรัชกาลนี้

 

 

การสร้างความมั่นคง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า

เนื่องจาก ก่อนรัชกาล ของ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์(พ.ศ.๔๐๘-๔๑๖) นั้น คือในปี พ.ศ.๔๐๓ ฮ่องเต้ฮั่นจิ้งตี้ สวรรคต ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้(ฮ่องเต้ฮั่นอวงมั้ง) ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๔๐๓-๔๕๖) มหาอาณาจักรจีน ขัดแย้งกับ ชนชาติซ่งหนู แห่ง อาณาจักรมองโกล ต้องทำสงครามต่อกัน อย่างยืดเยื้อ ทำให้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ถือโอกาสเร่งรัดสร้างความมั่นคงให้กับ แว่นแคว้นต่างๆ ด้วยการนำพระพุทธศาสนา เข้าไปเผยแพร่ อย่างแพร่หลาย ตามที่กล่าวมาแล้ว

เนื่องจาก สงครามระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ อาณาจักรมองโกล ครั้งนั้น ได้สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ.๔๑๒ โดยที่ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้(ฮ่องเต้ฮั่นอวงมั้ง) ได้ส่งแม่ทัพใหญ่ เข้าโจมตี อาณาจักรมองโกเลีย(ซ่งหนู) สามารถฆ่า ชนชาติมองโกลได้จำนวน ๑๙,๐๐๐ คน จับเกาะได้กว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ ตัว ทำให้มหาอาณาจักรจีน มีอำนาจมากขึ้น หลังจากนั้น ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี่ พยายามแย่งชิงดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า กลับคืนไปเป็นของมหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง สงครามจึงเกิดขึ้น

มหาอาณาจักรจีน ได้เริ่มทำสงคราม กับ แว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนทางตอนใต้ของ มหาอาณาจักรจีน คือ ดินแดนของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจาก พระพุทธศาสนา ได้ถูกเผยแพร่ เข้าสู่การนับถือ ของ ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากตามดินแดน อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ดั้งเดิม และดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งประเทศจีน ได้เข้ายึดครองไปจากผลของการทำสงครามในอดีต ทำให้ พระพุทธศาสนา แพร่หลาย อย่างรวดเร็ว เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องส่งขุนนางชาวฮั่น ไปสืบสาวเรื่องราวถึงการที่ พระพุทธศาสนา ว่า ถูกนำไปเผยแพร่ ไปยังดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ ประเทศจีน และ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว ได้อย่างไร

เนื่องจาก ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้(ฮ่องเต้ฮั่นอวงมั้ง) ทราบว่า สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้นำระบบการปกครอง ไปให้กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มีความมั่นคงยิ่งขึ้น หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๔๑๕ ประเทศจีน โดย ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้(ฮ่องเต้ฮั่นอวงมั้ง) ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) จึงทราบข้อมูลว่า สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ขยายบ้านเมือง และแว่นแคว้นอย่างรวดเร็ว ได้อย่างไร?

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า ผลจากการขยายตัวของแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ตราพระราชบัญญัติ เลียนแบบ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เมื่อปี พ.ศ.๔๑๖ ด้วยการให้บุตรคนหัวปี ของ เจ้าผู้ครองนคร แบ่งการปกครอง ของ เจ้าครองนคร ให้เป็นของบิดา เพียงครึ่งเดียวให้กับบุตรคนโต ส่วนดินแดนส่วนที่เหลือ ให้แบ่งให้น้องชายคนอื่นๆ ปกครองด้วย เป็นเหตุให้มีการสืบสมบัติ สร้างบ้านแปลงเมือง แบ่งสันปันส่วน เกิดการสร้างบ้านแปลงเมือง เรื่อยมา ทุกชั่วคน เพื่อขัดขวางการขยายดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต



¨-24 คำนวณปีการขึ้นครองราชสมบัติ มาจาก การสวรรคต ของ มหาจักรพรรดิท้าวทองเก ซึ่งมีคำกลอนสรรเสริญ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ว่า แม้ว่า ครองราชสมบัติได้เพียง ๘ พรรษา แต่เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ยังดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว จึงเป็นที่มาให้สามารถคำนวณปี ขึ้นครองราชสมบัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ว่า น่าจะประมาณปี พ.ศ.๔๑๖-๔๖๔

 

¨-25 องค์ความรู้เกี่ยวกับที่ตั้งแคว้นสิงหลวัติ และ ช่วงเวลาในการสร้างแคว้นนี้ ขัดแย้งกันมาก ในเอกสารประวัติศาสตร์ต่างๆ เช่น ในพงศาวดารภาค ๖๑ เรื่องตำนานสิงหลวัติ กล่าวว่า เป็นเหตุการณ์สมัยที่ พระพุทธเจ้า ยังมีพระชนชีพอยู่ เจ้าชายสิงหลวัติ ได้อพยพไพร่พล จากเมืองราชคฤห์ มาตั้งแคว้นสิงหลวัติ อยู่ ณ ที่ราบเชียงแสน มีกษัตริย์ปกครองเชื่อมโยงไปต่อเชื่อมกับ ราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจก เมื่อตั้งจุลศักราช ขึ้นแล้ว

                  ในหนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา ของ สรัสวดี อ๋องสกุล(ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙) กล่าวว่า เจ้าชายสิงหลวัติ เป็นราชบุตร ของกษัตริย์ฮ่อ ได้ร่วมกับ เจ้าสุวรรณโคม เจ้าสุวรรณคำแดง อพยพไพร่พล จากทางเหนือ มาสร้าง แคว้นสุวรรณโคมคำ ขึ้น ที่บริเวณเมืองเชียงแสน จนกลายเป็น อาณาจักรโยนก มีกษัตริย์สืบทอด ๔๕ รัชกาล อาณาจักรนี้ก็ล่มลง สายราชวงศ์ปู่เจ้าลาวจก ก็มารื้อฟื้นสร้างอาณาจักรขึ้นใหม่ สืบทอดราชวงศ์มาจนถึง สมัยพระเจ้ามังราย ผู้สร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีที่ผ่านมา

                  ในหนังสือรัฐโบราณ ของ ธิดา สารายา(รัฐโบราณในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำเนิดและพัฒนาการ ของ สำนักพิมพ์เมืองโบราณ พ.ศ.๒๕๓๗) กล่าวว่า เจ้าชายสิงหลวัติ มาจาก กรุงราชคฤห์ ได้มาสร้างเมืองโยนกนาคพันธ์ ขึ้นมาบริเวณ เวียงหนองล่ม คือท้องที่ จ.เชียงราย ในปัจจุบัน ต่อมาได้อพยพ พวกกร๋อม(ขอม) มาจากเมืองโพธิสาร แล้วได้สร้างเป็นแคว้นสุวรรณโคมคำ ขึ้นมา จนกระทั่งได้พัฒนาขึ้นเป็นประเทศ เรียกชื่อว่า สุวรรณโคมประเทศสถาน(อาณาจักรสุวรรณโคมคำ)

                  ในหนังสือ ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง วีรบุรุษ สองฝั่งโขง ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ(สำนักพิมพ์ มติชน(หน้าที่ ๔๕) กล่าวถึงตำนานสิงหนวัติ ว่า ท้าวเทวกาล ซึ่งเป็นผู้ปกครองนครไทยเทศ (กรุงราชคฤห์) อยู่ที่ลุ่มแม่นำสาละวิน มีราชบุตรคนโต ชื่อ พิมพิสาร ราชบุตรคนที่สองชื่อ สิงหลวัติ ต่อมาเจ้าชายสิงหลวัติ ต่อมา เจ้าชายสิงหลวัติ เสด็จออกจาก นครไทยเทศ ไปยังดินแดนเขตแดน ของ แคว้นสุวรรณโคมคำ บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ที่ล่มไปแล้ว จึงได้ไปร่วมกับ สายราชวงศ์ปู่เจ้าลายจก สร้างเมืองโยนกนาคพันธุสิงหลวัตินคร ขึ้นมา แล้วได้รวบรวมพวกมิลักษ์ขุ(ชนเผ่าลั๊ว) ขึ้นมาทำการปราบปรามพวก กร๋อม(ขอม) แล้วเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน สายราชวงศ์สิงหลวัติ ปกครองเมืองโยนก อีกนาน ก็ถูกพวก กร๋อม(ขอม) รุกราน จึงต้องหนีไปอยู่กับ ราชวงศ์เจ้าลาวจก ณ เวียงสีทอง จึงได้ร่วมกัน ปราบปราม พวกกล๋อม(ขอม) จนสำเร็จ แต่ต่อมา เมืองโยนก ถูกรุกรานอีก เมืองจึงล่ม จึงได้อพยพลงมาทางใต้

                  จากที่กล่าวมา จะเห็นว่า เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ เพราะแม้ว่า เป็นตำนานเดียวกัน แต่จุดยืนของผู้บันทึก เป็นชนชาติได หรือ เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรใด ก็มักจะโน้มเอียงไปตาม กลุ่มชน ของ ตนเอง ตำนานสิงหลวัติ ทุกฉบับ ล้วนถูกบันทึก ขึ้นมาในภายหลัง จึงมีความขัดแย้งทางองค์ความรู้ขึ้นมาเป็นธรรมดา ส่วนใหญ่ มุ่งเน้น ร่นระยะเวลา ให้เชื่อมโยงกับ การก่อกำเนิดอำนาจรัฐ อาณาจักรสุโขทัย เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้ว แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้ คือ เมืองนาคพันธุสิงหลวัติ , แคว้นสุวรรณโคมคำ และ อาณาจักรโยนก มีจริง ในดินแดนสุวรรณภูมิ บริเวณลุ่มแม่น้ำยม และ ลุ่มแม่น้ำโขง แต่ อาณาจักรเหล่านี้ เกิดขึ้นเมื่อใด มีความเป็นมาอย่างไร มีที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐที่ใด และล่มสลายได้อย่างไร เป็นประเด็นที่ยังไม่สามารถคลี่คลายได้

                  จากการสืบค้นของ ผู้เรียบเรียง พบว่า แว่นแคว้นที่ต่อเชื่อมทางบก ระหว่าง อาณาจักรหนานเจ้า และ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยโบราณ นั้น เกิดขึ้นที่ล่มแม่น้ำป่าสัก และ แม่น้ำน่าน ก่อน เพื่อประโยชน์ในการลำเลียงทองคำ ปีละ หนึ่งแสนขัน ที่อาณาจักรสุวรรณภูมิ ต้องส่งส่วยทองคำ ให้กับ อาณาจักรหนานเจ้า แต่ต่อมา ในสมัยสหราชอาณาจักรเทียน ได้เกิดเส้นทางใหม่ บริเวณลุ่มแม่น้ำยม ที่ใช้ในการเดินทางไปยังดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ไปยังดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นหลัก เจตนาเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพให้กับ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อร่วมกันกอบกู้ดินแดน ของ ชนชาติอ้ายไต ที่ถูกประเทศจีน ยึดครองไป กลับคืน ดังนั้น เมืองนาคพันธ์สิงหลวัติ จึงถูกสร้างขึ้น ครั้งแรก ในท้องที่ จ.พะเยา ในปัจจุบัน ซึ่งต้องเกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๔๐๘-๔๑๖ จนกระทั่งมีการอพยพผู้คน จาก อาณาจักรคามลังกา หลายแสนคน ไปสร้างเป็น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ขึ้นมา จึงมีการย้ายที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ไปตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำโขง บริเวณเมืองเชียงแสน จนกระทั่งอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ล่มสลาย กลายเป็นอาณาจักรยวนโยนก ศูนย์กลางอำนาจรัฐ จึงเปลี่ยนแปลงอีก หลายครั้ง

 

¨-26 ข้อมูลนี้ สอดคล้องตรงกันกับ งานการค้นคว้า ตำนานสิงหนวัติ โยนกชัยบุรีเชียงแสน ของ สงวน โชติสุขรัตน์ (จากหนังสือเรื่อง ท้าวฮุ่ง ขุนเจือง วีรบุรุษสองฝั่งโขง หน้าที่ ๒๐๑ ของ สำนักพิมพ์มติชน)

  

 

                                           

ภาพที่-๒๔ แสดงตำแหน่งที่ตั้ง ของ อาณาจักรคามลังกา ซึ่งมี เมืองออกแก้ว เป็นราชธานี

 

 

 

 

(๖) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล(สิงห์กาล) 

กรุงราชคฤห์(โพธาราม) พ.ศ.๔๑๖-๔๖๘

 

 สันนิษฐานว่า มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ ได้สละราชย์สมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาล และตามราชประเพณี แล้วออกบวช มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา เมื่อปี พ.ศ.๔๑๖ จักรพรรดิเจ้าสิงห์กาล ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ มีพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ประจำกรุงราชคฤห์(โพธาราม) พร้อมกันนั้น องคณะมนตรี ได้มีมติให้ เจ้าสิงห์คาม และ เจ้าสิงห์พิม เป็นจักรพรรดิ ตามลำดับ แต่ต่อมา ทั้งสองพระองค์ ได้สวรรคต เจ้าพิมพิสาร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิเจ้าสิงห์พิม จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น จักรพรรดิเจ้าพิมพิสาร และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงราชคฤห์ ในรัชกาลถัดมา

ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล เหตุการณ์ใน มหาอาณาจักรจีน เป็นสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน เต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจ ระหว่าง สายราชวงศ์ฮั่นด้วยกัน ในรัชกาลนี้ ได้เกิดแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ทางตอนเหนือ ซึ่งได้ต่อเชื่อมกับแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เรียบร้อยแล้ว และสันนิษฐานว่า สหราชอาณาจักรเทียน ได้ใช้พระพุทธศาสนา เพื่อหลอมรวมชนชาติไต ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลดี ต่อชนชาติอ้ายไต ที่อยู่ในดินแดนภายใต้การปกครองของประเทศจีน ให้สามารถรวมกันเป็นกลุ่มก้อน

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวว่า ระหว่างปี พ.ศ.๔๐๒-๔๕๖ เป็นสมัย ของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ฮ่องเต้พระองค์นี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่น สามารถรวบรวมดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง มหาอาณาจักรจีน จึงได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ดินแดนทางตะวันตก และเริ่มทำสงครามกับดินแดนทางตอนใต้ คือ ดินแดนของชนชาติอ้ายไต ซึ่งปกครองโดย สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ เป็นต้นมา

เนื่องจากในรัชกาล ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ราชวงศ์ฮั่นมี ความมั่นคงสูงสุด กว่าทุกรัชกาล ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มก่อสงครามใหญ่รุกรานชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา จึงเกิดการอพยพของชนชาติไต ลงมาในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง ทั้งโดยทางเรือสำเภา มายังดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) และโดยการล่องแพ ตามแม่น้ำโขง ลงมายัง อาณาจักรคามลังกา ทำให้เกิด อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าว อย่างรวดเร็ว

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ประเทศจีน ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตี อาณาจักร และแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา อย่างต่อเนื่อง มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สวรรคตในสงคราม มหาอาณาจักรจีน จึงเข้ายึดครองดินแดน ราชธานี และแว่นแคว้นต่างๆ แล้วทำการแบ่งซอยแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ในอดีต ออกเป็นเขตปกครองเล็กๆ โดยมีขุนนางของราชสำนักฮั่น ได้ทำการควบคุม ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ทำให้ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) บางแว่นแคว้น ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ดั้งเดิม จึงปกครองตนเองโดยอิสระ บางส่วนได้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน และ อีกหลายแสนคน อพยพลงมาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ

ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา แว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า คือ อาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) , อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) , อาณาจักรอ้ายลาว(ประเทศลาว) , อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตาเกี๋ย) , อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนาม ตอนเหนือ) , อาณาจักรแมนสรวง(ใต้หวัน) และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ได้มาอยู่ภายใต้การคุ้มครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงมีการลุกขึ้นต่อสู้ของ ชนชาติอ้ายไต ขึ้นอีกหลายครั้ง หลายคราว มีการสู้รบกันอย่างยืดเยื้อระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ มหาอาณาจักรจีน อย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ ๑๖๐ ปี

การที่ แว่นแคว้น และอาณาจักรต่างๆ ของสหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน นั้น ทำให้ พระพุทธศาสนา ถูกเผยแพร่ เข้าสู่แว่นแคว้น และอาณาจักรต่างๆ ของสหราชอาณาจักรหนานเจ้า ดั้งเดิม และดินแดนประเทศจีน อย่างรวดเร็ว เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งขุนนางฮั่น มาสืบเรื่องราวที่พระพุทธศาสนา ซึ่งถูกเผยแพร่ไปยังดินแดนประเทศจีน อย่างรวดเร็ว ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เช่นกัน

เมื่อ แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เข้ามาอยู่ในการปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา ในรูปแบบของ รัฐหนานเจ้า ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๕ เป็นต้นมา ชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ใน แคว้นฉู่(เสฉวน) ดั้งเดิม ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อีก ฮ่องเต้จีน จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ อย่างรุนแรง และยังส่งกองทัพเข้าปราบปราม ชนชาติอ้ายไต ทางทิศใต้ของประเทศจีน ทุกแว่นแคว้น อย่างต่อเนื่อง อีกด้วย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๕๖ เป็นต้นมา มีหลักฐานว่า สหราชอาณาจักรเทียน ได้เริ่มทำสงครามยึดครองดินแดน ซึ่งถูกประเทศจีน ยึดครองไป กลับคืนได้สำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจาก ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต และ ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ โดยมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา สมุหกลาโหม จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

 

สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ถูกประเทศจีน ยึดครอง ปี พ.ศ.๔๓๓

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ได้เกิดสงครามระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรุนแรง ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวว่า เกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ ต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ.๔๓๓ เมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ถูกยึดครอง และระหว่างปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จึงสั่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวพุทธ ชนชาติอ้ายไต จึงเกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของชนชาติอ้ายไต เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง

เหตุการณ์ในขณะนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ดินแดนทางตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ ตามที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะกับ สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) กับ รัฐบักเทรีย(อิหร่าน) แต่ เนื่องจาก สหราชอาณาจักรเทียน มีความสัมพันธ์ที่ดี กับ สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) มาโดยตลอด จึงไม่ยอมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน เพราะเป็นประเทศผู้รุกราน มหาอาณาจักรจีน จึงพยายามทำลายการค้า ของ สหราชอาณาจักรเทียน และ ความสัมพันธ์ทางการค้า ระหว่าง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า กับ สหราชอาณาจักรเทียน อย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากในรัชกาล ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น เป็นรัชสมัยที่ ราชวงศ์ฮั่น มีความเข้มแข็ง สูงสุด ดังนั้น มหาอาณาจักรจีน จึงพยายามทำลายเศรษฐกิจ ของสหราชอาณาจักรเทียน ด้วย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน ได้บันทึกถึงการทำลายเศรษฐกิจ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า และ สหราชอาณาจักรเทียน โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า...

 

       "...เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) เป็นพ่อค้าคนกลาง ในการนำสินค้าจาก หนานก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ไปค้าขายกับอินเดีย โดยการลำเลียงทางเรือ ไปตามลำแม่น้ำ เพื่อส่งสินค้ากันที่เมืองหนำหาย (กวางตุ้ง) จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๔๓๒ ฮ่องเต้ ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี หนานก๊ก (อาณาจักรหนานเจ้า) เพื่อมิให้ส่งสินค้าพลู และหน่อไม้ ผ่านเมืองหนำหาย (กวางตุ้ง) ไปค้าขายยังดินแดนประเทศ อื่นๆ อีกต่อไป แต่กองทัพจีน ไม่สามารถปราบปรามการค้า ได้สำเร็จ..."

 

หลักฐานชิ้นนี้ เป็นหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา ประเทศจีน เริ่มทำสงครามใหญ่รุกรานชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา เกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต หลายแสนคน ลงมาในดินแดนอ้ายลาว และ ดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง เช่นกัน สหราชอาณาจักรเทียน จึงต้องส่งกองทัพไปหนุนช่วย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ประเทศจีน ได้จัดส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตี อาณาจักร และแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา อย่างต่อเนื่อง มหาจักรพรรดิ แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สวรรคตในสงคราม ประเทศจีน จึงเข้ายึดครองดินแดนเมืองนครหลวง และแว่นแคว้นต่างๆ แล้วทำการแบ่งซอยแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ในอดีต ออกเป็นเขตปกครองเล็กๆ โดยมีขุนนางของราชสำนักฮั่น ได้ทำการควบคุม ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ทำให้ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) บางแว่นแคว้น ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา

 

กำเนิด อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ปี พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕

       ตามตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวถึงเรื่องราวที่ ท้าวพิมพิสาร , เจ้าโพธิสาร และ เจ้าสิงหลวัติ เป็นผู้ให้กำเนิด อาณาจักรสุวรรณโคมคำ กล่าวโดยสรุปว่า เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล เนื่องจากในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ ได้มีชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้ถูกกองทัพใหญ่ ของประเทศจีน ทำสงครามรุกราน ปราบปราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผู้นับถือพระพุทธศาสนา จึงต้องลี้ภัยสงคราม อพยพลงมาตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ หลายแสนคน กลุ่มผู้อพยพดังกล่าว เป็นเชื้อสายเจ้าอ้ายไต หลายเผ่าพันธุ์ ล้วนนับถือพระพุทธศาสนา ได้อพยพเข้าไปตั้งรกรากในดินแดน แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(พะเยา) อีกส่วนหนึ่ง ต่อแพ ล่องแม่น้ำโขง มายังดินแดน อาณาจักรคามลังกา อีกส่วนหนึ่งอพยพโดยเรือสำเภา มายัง อาณาจักรชวาทวีป

เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ทราบเหตุการณ์ จึงรับสั่งให้ ท้าวพิมพิสาร ดำเนินการ รวบรวมผู้อพยพที่อพยพมาโดยทางเรือสำเภา ที่มายัง อาณาจักรชวาทวีป ให้ไปร่วมกันสร้างบ้านแปลงเมือง ขึ้นโดยพื้นฐาน ขึ้นมาในดินแดนภาคใต้ตอนบน ส่วน เจ้าโพธิสาร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ท้าวพิมพิสาร ได้รับมอบหมายให้ไปดำเนินการช่วยเหลือผู้อพยพ ที่มายัง อาณาจักรคามลังกา ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด โดยรับสั่งให้นำอพยพต่อไป¨-27 ยังดินแดน ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำอิง และแม่น้ำโขง เพื่อสร้างอาณาจักรของชาวพุทธ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกว่า อาณาจักรสุวรรณโคมคำ

เหตุที่เรียกชื่อว่า อาณาจักรสุวรรณโคมคำ นั้น เพราะ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล รับสั่งให้ผู้อพยพที่นับถือพระพุทธศาสนา ทุกบ้านเรือน สร้าง โคมคำ เพื่อใช้จุดเทียนไว้ภายใน โคมคำ ในเวลาพลบค่ำ เพื่อร่วมกันสวดมนต์อุทิศส่วนกุศล ให้กับดวงวิญญาณชาวพุทธ ซึ่งล้วนเป็นชนชาติอ้ายไต ที่ถูกขุนศึกจีน ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ไว้หน้าบ้าน ของทุกบ้านเรือน ที่ตั้งรกรากอยู่ใน บริเวณ ลุ่มแม่น้ำโขง¨-28 ลุ่มแม่น้ำอิง และ แม่น้ำยม เพื่อปลุกระดม ความรักชาติ ของชนชาติอ้ายไต ให้ลุกขึ้นต่อสู้ กอบกู้ดินแดน ที่ถูกยึดครองไป ให้กลับคืนมา เป็นการปลุกขวัญ ชนชาติไทยครั้งใหญ่ ให้ลุกขึ้นทำสงคราม กับ ประเทศจีน ครั้งสำคัญ หลังจากนั้น ได้ย้ายเมืองนครหลวงไปที่ ริมแม่น้ำโขง เรียกว่า เมืองสุวรรณคำหลวง

จากหลักฐานต่างๆ จึงสรุปได้ว่า อาณาจักรสุวรรณโคมคำ น่าจะถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ จากผลของ ผู้อพยพจากสงคราม มายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐ ระยะแรกๆ อยู่ที่ แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(พะเยา) โดยประกอบด้วย แคว้นนาคพันธุสิงหลวัติ(เมืองสวนตาล-พะเยา) , แคว้นสุวรรณคำหลวง(เชียงแสน) , แคว้นนาคอง(เชียงราย) และ แคว้นตุมวาง(แพร่) เป็นต้น มีมหาราชาสิงหลวัติ เป็นมหาราชา ผู้ปกครอง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ เป็นรัชกาลแรก เป็นอาณาจักรในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดน ประเทศจีน ต่อมา

       เมื่อ เจ้าโพธิสาร ได้ร่วมสร้าง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ รัฐนาคฟ้า สำเร็จเรียบร้อยแล้ว อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จึงกลายเป็น อาณาจักร ที่มีบทบาทในการนำพระพุทธศาสนา สายเถรวาท ขยายออกสู่ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า และประเทศจีน โดยทางบก กลายเป็นหอกข้างแคร่ ของประเทศจีน ต่อมา เจ้าโพธิสาร ก็ได้เสด็จกลับไปแคว้นต่างๆ คือ แคว้นโพธิสาร แคว้นพินธุสาร และ แคว้นพันธุสาร ของ อาณาจักรชวาทวีป ต่อไป

 

 กำเนิด แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) แคว้นพินธุสาร(ชุมพร)¨-29

และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) พ.ศ.๔๓๕-๔๓๖

       การสร้างแว่นแคว้นดังกล่าว เป็นผลมาจาก เหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๐ ซึ่ง ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ สามารถส่งกองทัพเข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรมองโกล(ซ่งหนู) และได้ประกาศให้รางวัล กับ แม่ทัพนายกอง ที่สามารถทำสงคราม ชนะกองทัพ ของ อาณาจักรมองโกล เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องเสียทองคำไปถึง ๕๐ ล้านกรัม เพื่อเป็นรางวัลให้กับแม่ทัพนายกองต่างๆ จนทำให้สามารถปราบปราบ อาณาจักรมองโกล(ซ่งหนู) เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จึงหันมาทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๐ เป็นต้นมา จึงเป็นที่มา ของ การเกิดอพยพหนีภัยสงคราม ของ ชนชาติอ้ายไต โดยทางเรือสำเภา ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้เกิดแว่นแคว้นทั้ง ๓ คือ แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) , แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป เพิ่มขึ้นอีก ๓ แว่นแคว้น

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครองเมืองต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า คือ กุ้ยหลิน(กวางสี) หนำไห่(กวางตุ้ง) และ แคว้นเสี่ยง(เซี่ยงไฮ้) ของ อาณาจักรไตจ้วง(หนานหาย) และ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) กลับคืนไปเป็นของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ตั้งแต่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๔๒๑ และยังส่งกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง แว่นแคว้นอื่นๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ไปครอบครอง และทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวพุทธ อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ ชนชาติอ้ายไต ต้องอพยพโดยทางเรือ จากดินแดนอาณาจักรไตจ้วง มาตั้งรกรากยังดินแดนอาณาจักรชวาทวีป เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ เป็นต้นมา

การกำเนิดแว่นแคว้นใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ๓ แว่นแคว้น ในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ของ รัฐนาคฟ้า คือ แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) เป็นผลมาจากการที่ประเทศจีน ได้เริ่มก่อสงครามครั้งใหญ่ กับ ดินแดนทางภาคตะวันออก และทางตอนใต้ ของประเทศจีน ซึ่งเป็นดินแดน ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ เป็นต้นมา และต่อมา ขุนศึกจีน ได้ทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวพุทธ ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ ชนชาติอ้ายไต หลายแสนคน ต้องอพยพลงมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นระลอกใหญ่

เนื่องจาก สหราชอาณาจักรเทียน ได้มุ่งเน้น ใช้พระพุทธศาสนา เพื่อหลอมรวมชนชาติอ้ายไต ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้ คาถาเยธัมมาฯ และ คาถาอัตหิอัตโนนาโถ เพื่อลดความเชื่อถือวิญญาณของผี ว่ามีอิทธิพลเหนือความสามารถ ของมนุษย์ มีการส่งเสริมให้ปฏิบัติตามศีลห้า เพื่อให้สังคมชนชาติอ้ายไต อยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข เป็นเหตุให้  ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ไม่พอพระทัย จึงได้รับสั่งให้ทำสงครามปราบปราม ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ใน อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) อีกครั้งหนึ่ง เพราะสหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ในการวางแผนให้ชนชาติอ้ายไต ลุกขึ้นก่อกบฏ หลังจาก สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สูญเสียเอกราช ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ของชนชาติอ้ายไตอย่างรุนแรง มีหลักฐานบันทึกของจีน ถึงเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ มีเนื้อหาตอนหนึ่ง ว่า...

        "...ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้รับสั่งให้ทำสงครามปราบปรามชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ในแคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เพราะได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ อย่างรุนแรง ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ และต่อมา ฮ่องเต้ รับสั่งให้ส่งกองทัพเข้าปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ของ หนานเย่ก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ทางภาคใต้ อีกด้วย..."

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของประเทศจีนที่กล่าวมา สอดคล้องกับหลักฐาน ตำนานสุวรรณโคมคำ ของไทย ซึ่งกล่าวว่า เกิดการอพยพของชนชาติอ้ายไต ครั้งใหญ่ วันละประมาณ ๒,๐๐๐ ครัวเรือน ลงมายังดินแดน แคว้นอินทปัต ของ อาณาจักรคามลังกา ต่อเนื่องเป็นเวลาถึง ๓ ปี จนต้องนำอพยพต่อไปยัง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จนกระทั่ง ต่อมา แว่นแคว้น และอาณาจักรย่อยๆ ของชนชาติอ้ายไต ได้ทยอยเข้ามาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงได้ก่อให้เกิดการปกครองรวม ของ ชนชาติอ้ายไต อีกครั้งหนึ่ง ดินแดนที่เหลือจากการถูกยึดครอง จึงถูกเรียกว่า รัฐหนานเจ้า ซึ่งได้มาอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ที่คงเหลืออยู่ หรือ เคยปกครองตนเองเป็นอิสระ มาก่อน ได้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ดังนั้น ในกลุ่มของ รัฐหนานเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา แว่นแคว้นต่างๆ ของ รัฐหนานเจ้า คือ อาณาจักรหนานเย่(หนานเย่ก๊ก) , อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) , อาณาจักรอ้ายลาว(ประเทศลาว) , อาณาจักรแมนสรวง(เกาะใต้หวัน) , อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนาม ตอนเหนือ) และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ได้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน เรียบร้อยแล้ว และเตรียมพร้อมที่จะทำสงครามกอบกู้ดินแดนกลับคืน เรียกว่า สงครามโคมคำ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา

มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ทราบข่าว จึงต้องรับสั่งให้ เจ้าสิงห์พิมพ์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส  ให้นำพระราชโอรส ออกไปเร่งสร้างบ้านแปลงเมือง เพื่อปกครองชนชาติอ้ายไต ผู้อพยพหนีภัยสงคราม พร้อมกับให้เร่งรัด สร้างอู่ต่อเรือ เพื่อเร่งสร้างกองทัพเรือ ในดินแดนอาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) เพื่อส่งกองทัพเรือ ไปช่วยเหลือ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ทำสงครามกับ ประเทศจีน เมืองโพธิสาร(พุนพิน) เมืองพินธุสาร(ชุมพร) และ เมืองพันธุสาร(หลังสวน) จึงเริ่มเกิดขึ้น จนกระทั่ง ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๒-๔๓๕ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า พ่ายแพ้สงคราม เกิดผู้อพยพครั้งใหญ่อีก

พระราชโอรส ๓ พระองค์ ของ เจ้าพิมพิสาร คือ เจ้าโพธิสาร , เจ้าพินธุสาร และ เจ้าพันธุสาร ได้ไปช่วยกันสร้างบ้านแปลงเมือง เกิดบ้านเมือง และแว่นแคว้นต่างๆ ขึ้นมาในดินแดนภาคใต้ตอนบน ในปัจจุบัน โดยพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ คือ เจ้าโพธิสาร ได้ไปสร้าง แคว้นโพธิ์สาร(พุนพิน) เจ้าพินธุสาร ได้ไปสร้าง แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ เจ้าพันธุ์สาร ได้ไปสร้าง แคว้นพันธุ์สาร(หลังสวน) ขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป

       การกำเนิด แคว้นโพธิสาร จึงเกิดตำนานความเป็นมาของชื่อท้องที่ "พุนพิน" ซึ่งมีที่มาจากคำในภาษาของผู้อพยพมาจาก อาณาจักรไตจ้วง มายังท้องที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน คือ คำว่า โพ่นเพ่น(พุนพิน) ซึ่งแปลว่า "ให้เร่งรีบ" และคำว่า เพ่นพ่าน(พันพาน) ซึ่งแปลว่า "จำนวนผู้คนที่มากมาย" มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี) ถูกกองทัพจีนตีเมืองแตก ชนชาติอ้ายไต ได้อพยพโดยทางเรือ จากดินแดนอาณาจักรไตจ้วง มาตั้งรกรากยังดินแดนอาณาจักรชวาทวีป ในพื้นที่ ๓ เมืองที่กล่าวมา โดยมาตั้งรกราก ณ เมืองท่าข้าม(พุนพิน) มากที่สุด

เนื่องจาก เมืองท่าข้าม(พุนพิน) บริเวณท่าข้ามของแม่น้ำตาปี(บริเวณสะพานพระจุลจอมเกล้า) กล่าวกันว่า มีผีดุมาก ดังนั้นชนชาติไตจ้วง ซึ่งเป็นชนชาติที่กลัวผีมากอยู่แล้ว เมื่อเวลานั่งเรือข้ามฝั่งของแม่น้ำตาปี จะใช้คำพูดเป็นประจำว่า "โพ่นเพ่น" ซึ่งหมายความว่า "ให้เร่งรีบแจวเรือให้ถึงฝั่งโดยเร็ว" เพราะกลัวผีหลอก เป็นที่มาให้ ชนพื้นเมืองแขกดำ ชนเผ่าชวากะ เรียกเมืองท่าข้าม ในชื่อใหม่เพี้ยนเป็น "พุนพิน" สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

       ส่วนชนชาติอ้ายไต ด้วยกัน ซึ่งอพยพมาตั้งรกรากในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป จะเรียกเมืองท่าข้าม จากเนื้อหาที่มีผู้อพยพมาจากอาณาจักรไตจ้วง มายังท้องที่ เมืองท่าข้าม มากกว่าเมืองอื่นๆ ว่า เมืองเพ่นพ่าน(พันพาน) ซึ่งแปลว่า "เมืองที่มีจำนวนผู้คนที่มากมาย มากกว่าเมืองอื่นๆ" หรือตรงกับคำว่า "ผู้คนพลุกพล่าน" ซึ่งเป็นชื่อเรียกในสำเนียงภาษาท้องที่ภาคใต้ ว่า "พันพาน" ซึ่งชนชาติอ้ายไต(ผู้อพยพ) จะเรียกชื่อเมือง ว่า เมืองพันพาน เรื่อยมา

       ต่อมา เจ้าชายโพธิสาร ได้สร้างแคว้นพันพาน ขึ้น และเป็นราชา ปกครองแว่นแคว้นนี้ เป็นพระองค์แรก จึงตั้งชื่อแคว้นนี้ว่า แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) โดยตั้งพระราชวังหลวงอยู่ที่ ภูเขาควนสราญรมย์ โดยมี เมืองพันพาน หรือ พุนพิน เป็นเมืองหลวง ของแคว้น โดยเรียกแตกต่างกัน ตามสภาพ ของ ชนชาติ ตามที่กล่าวมา

ส่วน เจ้าชายพินธุสาร ได้ไปสร้าง แคว้นพินธุสาร คือท้องที่ เมืองชุมพร ในปัจจุบัน และ เจ้าชายพันธุ์สาร ได้ไปสร้าง แคว้นพันธุ์สาร คือท้องที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร ในปัจจุบัน นั่นเอง แว่นแคว้นทั้งสาม จึงเป็นแว่นแคว้นใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับผู้อพยพ ซึ่งเกิดขึ้นมาในดินแดนของ อาณาจักรชวาทวีป รัฐนาคฟ้า ในช่วงเวลา ดังกล่าว

อาณาจักรชวาทวีป ในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล จึงประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ ๑๑ แว่นแคว้น คือ แคว้นสุธรรม(สิชล) , แคว้นตาโกลง(กระบี่) , แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) , แคว้นตาโกทุ่ง(ภูเก็ต) , แคว้นรามัน(ระนอง) , แคว้นโพธิสาร(พุนพิน) , แคว้นมิถิลา(ไชยา) , แคว้นครหิต(คันธุลี) , แคว้นพันธุ์สาร(ลังสวน) , แคว้นพินธุสาร(ชุมพร) และ แคว้นนาลองกา(ทับสระแก) ดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ทั้ง ๑๑ แว่นแคว้น ประชาชนส่วนใหญ่ ยังคงนับถือ ศาสนาพราหมณ์ ลัทธิพระกฤษณะ อย่างมั่นคง ไม่มีวัดทางพระพุทธศาสนา มีเพียงสำนักสงฆ์ ถูกจัดตั้งขึ้น อย่างกระจัดกระจาย ทั่วไป ตามแต่ละแว่นแคว้น ยกเว้น ๓ แว่นแคว้นที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ มีประชาชน นับถือ พระพุทธศาสนา มากที่สุด

 

การค้าขาย ของ สหราชอาณาจักรเทียน รัชสมัย ท้าวเทวกาล

หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศอินเดีย กล่าวว่า ประเทศอินเดีย มีการค้าขายกับ แว่นแคว้นต่างๆ ของรัฐในดินแดนสุวรรณภูมิ(สหราชอาณาจักรเทียน) อย่างคึกคักตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๕๙ ถึง พ.ศ.๔๘๖ อย่างต่อเนื่อง ตามตำนานของไทย และหลักฐานจดหมายเหตุต่างๆ ล้วนกล่าวตรงกันว่า การค้าขายในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น เกิดขึ้น เมื่อชนชาติอ้ายไต อพยพหนีภัยสงครามจากการปราบปราม ของ ฉินซีฮ่องเต้ เข้ามายัง รัฐนาคน ทำให้เกิด อาณาจักรตาโกลา และ อาณาจักรแมนจูเจ้า ของชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวม้าทอง ท่าเรือการค้าที่สำคัญ ของ รัฐนาคน้ำ คือ ท่าเรือของ เมืองตาโกลา(ตรัง) ส่วนท่าเรือการค้าที่สำคัญ ของ อาณาจักรชวาทวีป คือท่าเรือ ของ แคว้นกลิงค์พัง(ตาโกนา-กระบี่) และ แคว้นตาโกปา(ตะกั่วป่า) เมืองท่าเหล่านี้ คือเมืองท่าสำคัญ ในการค้าขาย กับ ประเทศอินเดีย ส่วนการค้าทางฝั่งทะเลตะวันออก คือการค้าระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นส่วนใหญ่

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศอินเดีย ทำให้เชื่อได้ว่า สหราชอาณาจักรเทียน มีการติดต่อค้าขายกับดินแดน สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) ซึ่งปกครองโดย ราชวงศ์ศุงคะ และ ราชวงศ์กัณวะ ซึ่งเป็นสายราชวงศ์ที่ต่อเนื่องจาก ราชวงศ์เมารยะ ซึ่งเป็นราชวงศ์ของ มหาจักรพรรดิท้าวหารคำ(พระเจ้าสุมิตร) ซึ่งมีสายราชวงศ์ต่อเนื่องมาถึง สมัยมหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียนสน จึงมีสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ และมีการเชื่อมโยงสายราชวงศ์ กับราชวงศ์ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) มาอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการค้าขายระหว่างกัน

       ในรัชสมัยของ ราชวงศ์ศุงคะ แห่ง สหราชอาณาจักรภาระตะ(อินเดีย) นั้น หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ อินเดีย กล่าวว่า สมัยนั้น แว่นแคว้นต่างๆ ใน อินเดีย มีการค้าขายกับ แว่นแคว้นต่างๆ ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง จึงสันนิษฐานว่า น่าจะทำให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ พยายามทำการค้ากับ ดินแดนชมพูทวีป ด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวว่า หลังจากราชวงศ์ฉิน สามารถ ทำลายสหราชอาณาจักรหนานเจ้า เรียบร้อยแล้ว ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี่ ก็พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ดินแดนทางตะวันตก และทำสงครามกับดินแดนทางตอนใต้ ซึ่งเป็นดินแดนของ รัฐหนานเจ้า ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตามหลักฐานจดหมายเหตุจีนซึ่งได้บันทึกการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างชาติ ได้บันทึกไว้ มีเนื้อหาโดยสรุปว่า

"...เมื่อปี พ.ศ.๔๒๑ ฮ่องเต้(ฮั่นบู่ตี้) ได้ส่งคณะราชทูตไปติดต่อการค้ากับ รัฐบักเตรีย(อิหร่าน) ดินแดนอาณาจักรทางตะวันตก เพราะทราบว่า เทียนก๊ก (สหราชอาณาจักรเทียน) เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขาย ฮ่องเต้ จึงต้องการติดต่อการค้าโดยตรง จึงส่งคณะราชทูตของจีน ให้เดินทางโดยทางบกเพื่อส่งเสริมการค้ากับ รัฐบักเตรีย(อิหร่าน) โดยตรง..."

 

สันนิษฐานว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ซึ่งยึดถือว่าเป็นสมัยของราชวงศ์ฮั่นที่มีความมั่นคงสูงสุด เพราะสามารถยึดครองทองคำในท้องพระคลังหลวง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ไปครอง นั้น สาเหตุที่คณะราชทูตของประเทศจีน ต้องเดินทางโดยทางบกนั้น เพราะประเทศจีน เคยทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไต มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่งเป็นผู้ครอบครองน่านน้ำ ในทะเลหลวง จึงไม่ยอมให้เรือสำเภาจีน เดินทางผ่าน

เนื่องจาก การเดินทาง โดยเรือสำเภา ในอดีต เรือของประเทศจีน ต้องเดินทางผ่าน  ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ โดยต้องผ่าน แคว้นตาโกลา หรือผ่าน ช่องแคบแมนจูเจ้า(มะละกา) ซึ่ง ประชาชนแคว้นตาโกลา และ แมนจูเจ้า ได้เคยทำสงครามสู้รบกับราชวงศ์ฉิน และราชวงศ์ฮั่น มาอย่างยาวนาน คณะราชทูตจีน จึงไม่กล้าเดินทางโดยทางเรือ อย่างแน่นอน ฮ่องเต้จีน จึงต้องส่งคณะราชทูต ให้เดินทาง โดยทางบก เพราะเส้นทางเดินเรือ อยู่ในอำนาจของ สหราชอาณาจักรเทียน หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน จึงมักจะกล่าวว่า พ่อค้าเรือสำเภาจีน ไม่สามารถนำเรือสำเภา เดินทางไปค้าขายกับประเทศจีน ได้ เพราะจะถูกปล้นสดมภ์ ในท้องทะเลหลวง เป็นประจำ เส้นทางการค้าของจีน จึงเป็นเส้นทางบก

 

"สงครามโคมคำ"¨-30 ณ สมรภูมิ ลุ่มแม่น้ำโขง ปี พ.ศ.๔๔๑-๕๔๑

ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวถึง สงครามที่เกิดขึ้นหลังจาก สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สูญเสียเอกราชให้กับ ประเทศจีน และแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เดิม ได้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรูปแบบของรัฐอีกรัฐหนึ่ง นอกเหนือจาก รัฐนาคน้ำ , รัฐนาคฟ้า และ รัฐนาคดิน คือ รัฐหนานเจ้า โดยเรียกสงครามครั้งนี้ว่า "สงครามโคมคำ" หรือ "สงครามร้อยปีถ้วน"

สงครามดังกล่าว เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่าง ปัญญาของผู้นับถือพระพุทธศาสนา(สหราชอาณาจักรเทียน) กับ ปัญญาของผู้นับถือ ลัทธิขงจื้อ(ประเทศจีน) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นยืดเยื้อ เกิดขึ้นต่อเนื่องถึง ๔ รัชกาล ในสมัยสหราชอาณาจักรเทียน คือ ตั้งแต่รัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล กรุงราชคฤห์(โพธาราม) , มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร กรุงราชคฤห์ , มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร กรุงพันพาน และ มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงโชติ กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) รวมเวลาทั้งหมด หนึ่งร้อยปีถ้วน ไม่ขาดไม่เกิน ผลของสงคราม สหราชอาณาจักรเทียน เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม หลังจากนั้น จึงได้เกิดสงครามใหม่ อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า "สงครามโชกโชน" ก็หมดยุคสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียน เพราะได้ก่อกำเนิด สหราชอาณาจักรเทียนสน ขึ้นมา แทนที่

เรื่องราวของ สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน เป็นเรื่องที่เล่าถ่ายทอดกันมา ในหมู่พวกราชวงศ์ชั้นสูง ของชนชาติอ้ายไต ในสมัยโบราณ เพื่อให้รับเป็นบทเรียน เพราะเป็นที่มาให้รัฐของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ต้องหดตัวเล็กลง เรื่อยๆ ในเวลาต่อมา ทั้งนี้เพราะชนชั้นปกครอง ใช้ศักดิ์ศรี , ใช้อารมณ์ มากกว่าการใช้ สติปัญญา เพื่อแก้ไขปัญหา ทำให้เรื่องราวของ สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน จึงยังไม่พบหลักฐานการบันทึกไว้ อย่างตรงไปตรงมา เพราะถือว่า เป็นความอับอาย ของ เชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต มีเพียงการกล่าวโยงใยเพียงเล็กน้อยถึงผลที่ตามมาในภายหลัง เช่น การล่มสลาย ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ เป็นต้น

แท้จริงแล้ว สงครามโคมคำ สิ้นสุดลงเมื่อ สายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน ของ รัฐหนานเจ้า ซึ่ง สหราชอาณาจักรเทียน ทำสงครามกอบกู้มาได้ และมีความเข้มเข็งขึ้น ได้ประกาศเอกราช แยกตัวออกจาก สหราชอาณาจักรเทียน เมื่อปี พ.ศ.๕๔๑ กลายเป็น สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นความสำเร็จ ของ กลุ่มนักปกครอง ปัญญาชนชาวจีน ผู้ศึกษา ลัทธิขงจื้อ เป็นผู้วางแผน และสามารถทำสงครามบดขยี้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ในเวลาต่อมา เป็นผลสำเร็จ อีกชั้นหนึ่ง เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ต้องล่มสลาย ในเวลาต่อมา และทิ้งไว้เพียง วัฒนธรรมการทำ โคมคำ เพื่อบวงสรวงพระพุทธองค์ ประดับไว้หน้าบ้านเรือน และพุทธศาสนิกชน ที่หลงเหลืออยู่

สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน(พ.ศ.๔๔๑-๕๔๑) นั้น มีพื้นฐานความเป็นมา จากการที่ มหาอาณาจักรจีน สามารถยึดครองเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๔๓๓ ทำให้ มหาจักรพรรดิ และพวกราชวงศ์ ของ แคว้นนครหลวง แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ล้วนถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างเหี้ยมโหด เป็นการปิดฉาก สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ที่ต้องเสียเอกราช อีกครั้งหนึ่ง ให้กับ มหาอาณาจักรจีน หลังจากนั้น ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ก็สามารถยึดทรัพย์สิน ซึ่งเป็นทองคำในท้องพระคลังหลวง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้เป็นจำนวนมาก ประเทศจีน จึงมั่นคงขึ้นจากผลของการทำสงคราม จึงได้นำทองคำไปใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ในเวลาต่อมา

ส่วนชนชาติอ้ายไต ผู้พ่ายแพ้สงคราม หลายล้านคน ต้องอพยพลงมาทางใต้ และ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตามที่กล่าวมาแล้ว หลังจากนั้น ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ก็ได้เร่งออกพระราชบัญญัติ ผูกขาดการค้าเกลือ และ แร่เหล็ก(ปี พ.ศ.๔๓๓)¨-31 เพื่อขัดขวางการกอบกู้เอกราช ของ ชนชาติอ้ายไต ที่ถูกยึดครองดินแดน มิให้มีโอกาส ลุกขึ้นกอบกู้เอกราช และทำการขูดรีดเก็บภาษีเกลือ จากชนชาติอ้ายไต ที่อยู่ภายใต้อำนาจรัฐของ มหาอาณาจักรจีน ในราคาแพง เพื่อมิให้มีชีวิตความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น

นักประวัติศาสตร์ชาวจีน ชื่อ สุมาเจี๋ยน(ซื่อหม่าเชียน) เป็นนักประวัติศาสตร์ ชาวจีนคนแรก ได้บันทึกว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ชาวจีนได้เล่นกีฬา ต่างๆ ซึ่งนำมาจากดินแดนของ รัฐหนานเจ้า(หนานก๊ก) คือ การชนไก่ ชนวัว การชักเย่อ การยิงเกาทัณฑ์ การวิ่งแข่ง การแข่งหมา การตกปลา การล่าสัตว์ และการเล่นหมากรุก เป็นต้น แสดงให้เห็นว่า ผลของสงครามการเสียเอกราชครั้งนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้นำวัฒนธรรมจาก สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ไปใช้ด้วย

ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องยุติการทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเทียน โดยที่ สหราชอาณาจักรเทียน ได้ทำการปิดล้อม เส้นทางการเดินเรือทะเล ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องสร้างเส้นทางการค้าทางบก มีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ รัฐต่างๆ ทางทิศตะวันตก เช่น อาณาจักรปาเทีย(เตอร์กตะวันออก) และ อาณาจักรบักเทรีย(อิหร่าน) เป็นต้น มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน จึงเร่งสร้างความมั่นคงให้กับ รัฐหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมทำ สงครามโคมคำ กับ ผู้ปกครองจีน ผู้นับถือ ลัทธิขงจื้อ

ขณะนั้น ได้เกิดแว่นแคว้นต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ทางตอนเหนือ ซึ่งเรียกว่า อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ได้ต่อเชื่อมกับ ดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ของ รัฐหนานเจ้า เรียบร้อยแล้ว เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ได้ย้ายไปตั้งใหม่อยู่ที่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง เรียกว่า เมืองสุวรรณคำหลวง(เชียงแสน) มีการสร้างกำแพงเมืองที่แข็งแรง เพื่อเตรียมทำสงครามโคมคำ กับ ประเทศจีน ตำนานสุวรรณโคมคำ บันทึกว่า ชนชาติกรอม(ขอม) ได้ทำเสาโคมทอง เพื่อแขวนโคมคำ ปรากฏตามสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง เพื่อจุดเทียน ในโคมคำ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ปรากฏไปทั่วริมฝั่งแม่นำ แล้ว

สหราชอาณาจักรเทียน ยังได้สร้างกองทัพเรือ ขึ้นอย่างเข้มแข็ง ตามแว่นแคว้นต่างๆ ที่ติดต่อชายฝั่งทะเล และสร้างแว่นแคว้นใหม่ๆ อีกหลายแว่นแคว้น ขึ้นมาในดินแดน อาณาจักรชวาทวีป ตามที่กล่าวมาแล้ว เพื่อสร้างกองทัพเรือ อันเข้มแข็งเกรียงไกร กลายเป็นผู้ครอบครองน่านน้ำทางทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้ สงครามกอบกู้ดินแดน ของ ชนชาติอ้ายไต ที่ถูกประเทศจีนยึดครอง จึงเกิดขึ้นทันที่ ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ เรียกสงครามครั้งนี้ว่า สงครามโคมคำ

เนื่องจาก สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้ควบคุมเส้นทางเดินเรือทะเลที่ผ่าน ช่องแคบแมนจูเจ้า(มะละกา) และ ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ เป็นเหตุให้ ประเทศจีน ไม่สามารถทำสงครามเอาชนะ ความเข้มแข็ง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ได้สำเร็จ ประเทศจีน จึงถูกปิดล้อมเศรษฐกิจ ทางทะเล หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน จึงกล่าวว่า ประเทศจีนจึงจำเป็นต้องสร้างเส้นทางค้าขายทางบก โดยมีหลักฐานว่า ในปี พ.ศ.๔๔๑-๔๔๒ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเฟอร์คาน่า เพื่อสร้างเส้นทางค้าขายทางบก เพื่อเดินทางไปยัง เอเชียกลาง และยุโรป

สงครามโคมคำ เริ่มเกิดขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๔๔๑ เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ทราบว่า ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพใหญ่ เข้ายึดครอง แคว้นเฟอร์คาน่า¨-32 เพื่อสร้างเส้นทางค้าขายทางบก เพื่อเดินทางไปยัง เอเชียกลาง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล จึงรับสั่งให้ ชาวพุทธในดินแดนต่างๆ ของชนชาติอ้ายไต ทำโคมคำ เพื่อใช้จุดเทียนบูชาพระพุทธเจ้า ไว้ที่หน้าชานเรือน ของทุกบ้านเรือน ของทุกแว่นแคว้น ของรัฐหนานเจ้า เพื่อขอพรจากพระพุทธเจ้า ให้สามารถทำสงครามยึดครองดินแดน ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นการปลุกระดม ชนชาติอ้ายไต ครั้งยิ่งใหญ่ ให้ร่วมกันจับอาวุธ หรือ ร่วมมือกัน ร่วมกันทำสงคราม กับ มหาอาณาจักรจีน แล้วส่งกองทัพบก เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) และ ส่งกองทัพเรือเข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา ตาเกี๋ย) และ อาณาจักรเซี่ยงไฮ้(นานกิง , เซี่ยงไฮ้) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ มหาอาณาจักรจีน จึงต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครองดินแดนที่เสียไป กลับคืน จึงเกิดสงครามกันอย่างยืดเยื้อ ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ ในหลายสมรภูมิ

สงครามโคมคำ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล มอบให้ มอบให้ จักรพรรดิเจ้าสิงห์คาม ซึ่งเป็นพระอนุชา เป็นผู้รับผิดชอบ วางแผนบัญชาการรบทำสงคราม มอบให้ เจ้าสิงห์พิม ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สหราชนายก ของ สหราชอาณาจักรเทียน และเป็นพระอนุชาอีกคนหนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล นำกองทัพบก ไปร่วมกับ กองทัพบก รัฐหนานเจ้า เพื่อทำสงครามเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืน และมอบให้ เจ้าพิมพิสาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น รัฐนายก¨-33 ของ รัฐนาคฟ้า นำกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ทั้งของรัฐนาคน้ำ และ รัฐนาคฟ้า ไปสมทบกับกองทัพเรือ ของ รัฐหนานเจ้า เพื่อทำสงครามเข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี) และ อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) กลับคืน

ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวถึงผลของสงครามโคมคำ ครั้งแรก โดยสรุปว่า กองทัพบกของ เจ้าสิงห์พิมพ์ ได้ส่งกองทัพบก ไปขับไล่กองทัพจีน ออกจาก อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นผลสำเร็จ ส่วนกองทัพเรือ ของ เจ้าพิมพิสาร สามารถทำสงคราม ขับไล่กองทัพจีน ออกจาก อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี) เป็นผลสำเร็จ เช่นกัน แต่เมื่อ กองทัพบกของสหราชอาณาจักรเทียน ส่งมอบอำนาจให้กับ กองทัพรัฐหนานเจ้าแล้ว และถอยทัพกลับมา อยู่ที่แคว้นยืนนาน และ แคว้นหนองแส ปรากฏว่า ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืนเป็นผลสำเร็จ และยังส่งกองทัพ เข้าโจมตี แคว้นยืนนาน(ยูนนาน) และ แคว้นหนองแส ของ รัฐหนานเจ้า ทำให้ จักรพรรดิเจ้าสิงห์คาม และ เจ้าสิงห์พิมพ์ แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ต้องส่งกองทัพบก เข้าป้องกัน ผลปรากฏว่า จักรพรรดิเจ้าสิงห์คาม และ เจ้าสิงห์พิมพ์ สวรรคต ในสงคราม ครั้งนั้น สงครามแย่งชิง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ยืดเยื้อมาถึงปี พ.ศ.๔๕๖ กองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียน สามารถสังหาร ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จนกระทั่ง สวรรคต ในสงครามโคมคำ เช่นกัน

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน ได้ทำการบันทึกถึงเหตุการณ์ เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ ว่า มหาอาณาจักรจีน ยังได้พยายามสร้างเส้นทางการค้าทางทะเล จึงได้เริ่มทำสงครามยึดครองดินแดนทางใต้ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อย่างต่อเนื่อง อีกครั้งหนึ่ง หลักฐานดังกล่าว ได้กล่าวถึง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย โดยทำการบันทึกอย่างสั้นๆ มีข้อความตอนหนึ่ง ว่า...

 

"...ปีที่ ๕๔ ในรัชกาลฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี๋(พ.ศ.๔๕๖) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นต่างๆ ของ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ผู้ปกครองดินแดนทางใต้ ซึ่งขณะนั้น ปกครองโดยกษัตริย์ทรงพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล..."

 

จากหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน ซึ่งกล่าวว่า ขณะนั้น มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล¨-34 เป็นมหาจักรพรรดิ ผู้ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน กรุงราชคฤห์(โพธาราม-ราชบุรี) เป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน ของชนชาติอ้ายไต ทั้งหมด ในขณะนั้น แต่มิได้กล่าวถึงผลของ สงครามโคมคำ ครั้งนั้น และสาเหตุการสวรรคต ของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ แต่อย่างใด เพียงกล่าวอย่างสั้นๆ ว่า ในปี พ.ศ.๔๕๖ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต ทำให้ ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชสมบัติ ในขณะที่ยังมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา สมุหกลาโหม จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

       ส่วนเหตุการณ์ของ แว่นแคว้นต่างๆ ทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งกองทัพเรือ ของ เจ้าพิมพิสาร ซึ่งสามารถทำสงคราม ขับไล่กองทัพจีน ออกจาก อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี) เป็นผลสำเร็จ และกำลังจะยกกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไห้ , นานกิง) ต้องยุติแผนการรบไว้ชั่วคราว เมื่อทราบว่า กองทัพจีน ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นยืนนาน และแคว้นหนองแส จนกระทั่ง จักรพรรดิเจ้าสิงห์คาม และ เจ้าสิงห์พิมพ์ สวรรคต ในสงคราม แต่ได้ใช้บทบาท ของ กองทัพเรือ ของ เจ้าพิมพิสาร เข้าทำลายกองทัพเรือ ของ ประเทศจีน มิให้มีบทบาท และส่งกองทัพเข้าแสร้งโจมตีเมืองต่างๆ เพื่อดึงกำลังของ กองทัพ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ให้เกิดความสับสน จนกระทั่ง กองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้ครอบครอง น่านน้ำ ทางทะเลตะวันออก และทะเลใต้ อย่างเด็ดขาด และ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต ในสงคราม เจ้าพิมพิสาร จึงได้รับโปรดเกล้าให้เป็น จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เจ้าโพธิสาร จึงดำรงตำแหน่งเป็น สหราชนายก ของ สหราชอาณาจักรเทียน

       เมื่อสหราชอาณาจักรเทียน ทราบว่า ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ ในสงครามทางทะเล กับ สหราชอาณาจักรเทียน ทำให้ ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในขณะที่ยังมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา สมุหกลาโหม จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียน โดย จักรพรรดิท้าวพิมพิสาร จึงได้ส่งกองทัพบก เข้าทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ฯลฯ กลับคืน เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้น เจ้าโพธิสาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น สหราชนายก ของ สหราชอาณาจักรเทียน ได้นำกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเทียน เข้าคุกคามดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ สงครามโคมคำ เป็นสงครามที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ พุทธศาสนิกชน จึงเกิดขึ้นทั่วไป ในดินแดน แว่นแคว้นต่างๆ ของประเทศจีน ในขณะนั้น

เนื่องจากขณะนั้น ประเทศจีน อยู่ในภาวะสงคราม มี สมุหกลาโหม เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ พิจารณาเห็นว่า พุทธศาสนิกชน ผู้แขวนโคมคำ จุดเทียน ใน โคมคำ เพื่อทำการบูชาพระพุทธองค์ ล้วนเป็นแนวร่วม ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงได้ริเริ่ม ดำเนินการกวาดล้างผู้นับถือพระพุทธศาสนา ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง มีการฆ่าล้างครัว ผู้แขวนโคมคำ ไว้หน้าชานเรือน เป็นที่มาให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในประเทศจีนอย่างรุนแรง พร้อมกับได้เกิด สงครามโคมคำ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ ประเทศจีน อย่างต่อเนื่อง

หลักฐานประวัติศาสตร์ของประเทศจีน บันทึกว่า ในปี พ.ศ.๔๕๙ ซึ่งเป็นรัชกาลของ ฮ่องเต้จาวตี้ ซึ่งมี สมุหกลาโหม เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้น สมุหกลาโหมได้มีการดำเนินการตั้งโรงเรียนสอน ลัทธิขงจื้อ¨-35 ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากล้างรามานาน โดยมีนักเรียน เริ่มต้น ครั้งแรกจำนวน ๕๐ คน เพื่อสร้างปัญญาชนจีน ต่อสู้ กับ การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ของ พระธรรมทูต จาก สหราชอาณาจักรเทียน เป็นพื้นฐานต่อมา ให้ก่อกำเนิดพระพุทธศาสนา สายนิกายมหายาน ที่เริ่มต้นเกิดจากกลุ่มปัญญาชน ลัทธิขงจื้อ ของประเทศจีน เพื่อวางแผนต่อสู้กันใน สงครามโคมคำ กับ สหราชอาณาจักรเทียน

สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน ที่เกิดขึ้นในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล นั้น มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล มีเป้าหมายต้องการทำสงครามยึดครองดินแดน ประเทศจีน ทั้งหมด แต่เมื่อทราบข่าวว่า สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ นั้น ได้สั่งให้ฆ่าล้างครัวชาวพุทธ ซึ่งแขวนโคมคำ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ไว้ที่หน้าเรือนชาน ในดินแดนที่ ประเทศจีนยึดครอง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ก็สลดใจ รับสั่งให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ก่อนการทำสงครามต่อไป จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล สละราชสมบัติออกบวช สงครามโคมคำ จึงตกอยู่ในบ่า ของ รัชกาลถัดมา

 

รัฐต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๖-๔๖๔

เมื่อ ขุนนางของราชสำนักฮั่น ได้ทำการควบคุม ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ทำให้ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) บางแว่นแคว้น ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น ทำให้ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ดั้งเดิม จึงแยกกันปกครองตนเอง โดยอิสระ บางส่วนได้มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน

       อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ที่สูญเสียให้กับประเทศจีน คือ อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) , อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) ส่วนอาณาจักรที่คงเหลือ ซึ่งยังทำสงครามกับประเทศจีน คือ อาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) , อาณาจักรไทยใหญ่(ฉานก๊ก) , อาณาจักรแมนสรวง(ไต้หวัน) , อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) , อาณาจักรอ้ายลาว(อ้ายลาวก๊ก) และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามภาคเหนือ) อาณาจักรที่คงเหลือเหล่านี้ ได้เข้ามารวมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา

       รัฐต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา ประกอบด้วยรัฐต่างๆ ๔ รัฐ คือ รัฐนาคน้ำ(อาณาจักรแมนจูเจ้า และ อาณาจักรตาโกลา) , รัฐนาคฟ้า(อาณาจักรชวาทวีป , อาณาจักรนาคฟ้า , อาณาจักรคามลังกา และ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ) , รัฐนาคดิน(อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ และ อาณาจักรพิมาย) และ รัฐหนานเจ้า(อาณาจักรหนานเจ้า , อาณาจักรไตใหญ่ , อาณาจักรอ้ายลาว อาณาจักรหูหลำ อาณาจักรแมนสรวง และ อาณาจักรเก้าเจ้า)

 

การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ระหว่างปี พ.ศ.๔๑๖-๔๖๔

       การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดน ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า มีผลมาจากเหตุการณ์ในประเทศจีน ตั้งแต่ สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ซึ่งเต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจในสายราชวงศ์ฮั่นด้วยกัน ตั้งแต่ก่อนเกิดกบฏ ๗ หวาง ขึ้นมาในประเทศจีน เป็นที่มาให้ มหาจักรพรรดิท้าวทองสิงห์ นำพระพุทธศาสนา ออกไปเผยแพร่ ยังดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว และอย่างได้ผล มาก่อนแล้ว และเป็นที่มาให้ ฮ่องเต้จิ้งตี้ ต้องยุติการขูดรีดภาษี และต้องยกเลิกการลงโทษที่โหดร้ายทารุณ การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ได้สืบทอดต่อมาถึง รัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล โดยที่ ท้าวสิงหลวัติิ ผู้เป็นพระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ผู้ร่วมสร้าง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ แห่งรัฐนาคฟ้า เป็นแกนหลักในการ เผยแพร่พระพุทธศาสนา ทางแผ่นดินบก และ รัฐนาคน้ำ เป็นผู้ส่งพระธรรมทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยทางทะเล แต่นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ยังงุนงงอยู่ ว่า พระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดนประเทศจีน ได้อย่างไร¨-36

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน กล่าวว่า ระหว่างปี พ.ศ.๔๐๒-๔๕๖ เป็นรัชสมัย ของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ฮ่องเต้พระองค์นี้ เกิดขึ้นหลังจากที่ราชวงศ์ฮั่น สามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีน เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง แต่ขณะนั้น แว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ได้นับถือพระพุทธศาสนา เป็นส่วนใหญ่แล้ว และยังขยายไปสู่ประชาชนชาวจีน ด้วย เนื่องจากประชาชนจีน นับถือลัทธิเต๋า และ ลัทธิขงจื้อ เป็นส่วนใหญ่ ต้องการมีวัฒนธรรม อันเดียวกัน จึงเริ่มทำสงครามปราบปรามผู้นับถือพระพุทธศาสนา กับดินแดนทางตอนใต้ และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของประเทศจีน คือ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ เป็นต้นมา

เนื่องจากในรัชกาล ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ราชวงศ์ฮั่นมี ความมั่นคง สูงสุด กว่าทุกรัชกาล ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา ประเทศจีน เริ่มมั่นคงขึ้น จึงเริ่มทำสงครามใหญ่รุกรานชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อปราบปรามชาวพุทธ อีกครั้งหนึ่ง แว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๒ เป็นต้นมา จึงเกิดการอพยพของ ชาวพุทธ ชนชาติอ้ายไต ลงมาในดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว และดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างต่อเนื่อง เช่นกัน

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ นั้น ประเทศจีน ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้าโจมตีชาวพุทธ ซึ่งตั้งรกรากในดินแดน แว่นแคว้น ของ อาณาจักร ต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๒๑ เป็นต้นมา อย่างต่อเนื่อง มาจนถึงกระทั่งปี พ.ศ.๔๓๓ มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สวรรคตในสงคราม ประเทศจีน จึงเข้ายึดครองดินแดนเมืองนครหลวง และแว่นแคว้นต่างๆ แล้วทำการแบ่งซอยแว่นแคว้นต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ในอดีต ออกเป็นเขตปกครองเล็กๆ โดยมีขุนนางของราชสำนักฮั่น ได้ทำการควบคุม ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ทำให้ชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) บางแว่นแคว้น ตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา แต่ชาวพุทธ ในดินแดนที่ถูกยึดครอง ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อย่างต่อเนื่อง

ต่อมา สหราชอาณาจักรเทียน ได้นำอาณาจักรต่างๆ มารวมกันเป็นกลุ่ม ในสังกัด รัฐหนานเจ้า มาขึ้นต่อ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา จึงมีการ นำพระพุทธศาสนา เข้าไปเผยแพร่ อย่างรวดเร็ว มีการสร้างวัด ขึ้นมาในดินแดนแว่นแคว้นต่างๆ เป็นจำนวนมาก แล้วทำสงครามขับไล่ ขุนนางจีน ออกจากดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต

การที่ แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ของสหราชอาณาจักรหนานเจ้า มาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรูปของ รัฐหนานเจ้า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ นั้น ทำให้ พระพุทธศาสนา ถูกเผยแพร่ เข้าสู่แว่นแคว้น และอาณาจักรต่างๆ ของ กลุ่ม รัฐหนานเจ้า และดินแดนประเทศจีน อย่างรวดเร็ว เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องส่ง ขุนนางฮั่น มาสืบเรื่องราวที่พระพุทธศาสนา ซึ่งถูกเผยแพร่ไปยังดินแดนประเทศจีน อย่างรวดเร็ว

มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ได้ใช้พระพุทธศาสนา เพื่อหลอมรวมชนชาติอ้ายไต ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชนชาวอ้ายไต ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ มหาอาณาจักรจีน เป็นอย่างยิ่ง มีหลักฐานบันทึกจดหมายเหตุของจีนบันทึกไว้ ถึงเหตุการณ์ที่ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งขุนนางมาสืบเรื่องราวที่มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ มีบันทึกตอนหนึ่ง ว่า...

 

"...ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งขุนนางฮั่น มาสืบเรื่องราวที่พระพุทธศาสนา ซึ่งได้เข้าไปเผยแพร่ไปยังดินแดนจีน ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๔๓๓ และต่อมา ในปี พ.ศ.๔๓๕ ทำให้ชนชาติไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในแคว้นฉู่(เสฉวน) ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ อย่างรุนแรง และยังส่งกองทัพเข้าปราบปราม หนานเย่ก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ทางทิศใต้ ในเวลาต่อมาด้วย..."

 

หลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๓ เป็นต้นมา สหราชอาณาจักรเทียน ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนา ไปถึง แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) ซึ่งประเทศจีนยึดครองไปแล้ว จึงเป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบ ผู้นับถือ พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ในดินแดน แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เมื่อปราบปราม อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เสร็จแล้ว ยังส่งกองทัพเข้าโจมตี แคว้นหนองแส¨-37 และ แคว้นยืนนาน จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า สวรรคต ในสงคราม อีกด้วย แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนา ได้ถูกเผยแพร่เข้าสู่ดินแดนภาคกลาง ของประเทศจีน อย่างหนาแน่น แล้ว นักประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า พระพุทธศาสนา เผยแพร่เข้าไปในดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน ในสมัยนั้น ได้อย่างไร

ส่วนแว่นแคว้นต่างๆ ของ รัฐหนานเจ้า ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ได้นับถือพระพุทธศาสนา เป็นส่วนใหญ่ แล้วเช่นกัน ซึ่งกระทบต่อ วัฒนธรรมจีน เป็นอย่างยิ่ง ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จึงต้องทำสงคราม ปราบปรามชาวพุทธ แต่ยิ่งทำให้ รัฐหนานเจ้า เข้ามาอยู่ในอำนาจของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงเข้มแข็งขึ้น ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องถอนทัพ ออกไป ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๓๖ เป็นต้นมา

ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๖-๔๕๖ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องยุติการทำสงคราม กับ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นเหตุให้ พระพุทธศาสนา ขยายเข้าสู่ดินแดน รัฐหนานเจ้า ทั้งทางบก และทางทะเล เป็นเหตุให้ พระพุทธศาสนา ขยายตัวในดินแดนของ รัฐหนานเจ้า อย่างรวดเร็ว และยังขยายเข้าสู่ ดินแดนต่างๆ ของประเทศจีน ที่ชนชาติอ้ายไต ตั้งรกรากอยู่ด้วย จนกระทั่งเกิดสงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๔๑ เป็นต้นมา เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องทำสงครามปราบปรามชาวพุทธ อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ต้องสวรรคต ในสงคราม

เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ แล้ว พระราชโอรส พระนามว่า ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยยังมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา สมุหกลาโหม จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมุหกลาโหม ของประเทศจีน เห็นว่า พระพุทธศาสนา เป็นอันตรายต่อราชวงศ์ฮั่น เป็นอย่างยิ่ง เพราะขัดแย้งกับความเชื่อตามลัทธิเต๋า และ ลัทธิขงจื้อ สมุหกลาโหม จึงเริ่มการกวาดล้างผู้นับถือพระพุทธศาสนา ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง เป็นที่มาให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในประเทศจีน อย่างรุนแรง จนกระทั่ง สงครามโคมคำ ได้พัฒนาไปสู่ สงครามโชกโชน และ กบฏชาวพุทธ หรือ กบฏโพกผ้าเหลือง ในเวลาต่อมา

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.๔๕๙ สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ตั้งโรงเรียนสอนลัทธิขงจื้อ ขึ้นมาใหม่ โดยมีนักเรียนครั้งแรก ๕๐ คน เพื่อให้ร่วมกันศึกษาวางแผนต่อสู้ กับ การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ของ พระธรรมทูต ของ สหราชอาณาจักรเทียน หลังจากนั้น ได้เกิดสงครามโคมคำ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ ประเทศจีน ขึ้นอีก อย่างต่อเนื่อง ประเทศจีน เรียกสงครามครั้งนั้น ว่า สงครามปราบปรามกบฏชาวพุทธ นั่นเอง

การปราบปรามชาวพุทธ ในดินแดนประเทศจีน ในสมัยนั้น ส่วนใหญ่ เป็นชนชาติอ้ายไต ต่อมา เมื่อ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ทราบข่าวว่า สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ นั้น ได้สั่งให้ฆ่าล้างครัวชาวพุทธ ซึ่งแขวนโคมคำ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า ไว้ที่หน้าเรือนชาน ในดินแดนที่ ประเทศจีนยึดครอง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ก็สลดใจ รับสั่งให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ก่อนการทำสงครามโคมคำ ต่อไป จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล สละราชสมบัติออกบวช สงครามโคมคำ จึงตกอยู่ในบ่า ของ รัชกาลถัดมา ชนชาติอ้ายไต ที่ทำโคมคำ ไว้หน้าชานเรือน หรือตามริมฝั่งท่านำ เพื่อจุดเทียน บูชาพระพุทธเจ้า ในดินแดนที่ประเทศจีนยึดครอง ต้องยุติลงชั่วคราว



¨-27 จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ค้นคว้า ตำนานสิงหนวัติ ได้กล่าวถึงการอพยพในหน้าที่ ๓๙ ว่า มีพวกกรอม(ขอม) จากนครอินทปัต(เมืองนครหลวง ของ อาณาจักรคามลังกา) ได้อพยพครอบครัวเข้าไปสมทบ วันละ สองพันครัว มิได้ขาด ตลอดเวลา ๓ ปี มีคนมากกว่า หนึ่งแสนครัวเรือน(จากหนังสือ ข้อเท็จจริงว่าด้วย ชนชาติขอม ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หน้าที่ ๓๑ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน ปี พ.ศ.๒๕๔๗)

 

¨-28 จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ค้นคว้า ตำนานสิงหนวัติ ได้กล่าวถึงสาเหตุที่เรียกชื่อว่า เมืองสุวรรณโคมคำ เพราะ มีการตั้งเสาโคมทอง แขวนโคมบูชาพระพุทธเจ้า ไว้ที่ท่านำริมแม่น้ำโขง ทั่วเมือง (จากหนังสือ ข้อเท็จจริงว่าด้วย ชนชาติขอม ของ จิตร ภูมิศักดิ์ หน้าที่ ๓๑ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน ปี พ.ศ.๒๕๔๗)

 

¨-29 ในหลักฐานบันทึก ของ พ่อค้าชาวกรีก ชื่อ อเล็กซานเดอร์ ซึ่งเดินทางมาค้าขายยังดินแดน สุวรรณภูมิ ระหว่างปี พ.ศ.๖๙๓-๗๐๗ ได้กล่าวถึงชื่อแว่นแคว้นต่างๆ ในสำเนียงภาษากรีก เรียบร้อยแล้ว เช่น แคว้นตาโกลา(ตะ-โก-ลา)(ตรัง) แคว้นโพธิสาร(พา-ทิ-สา)(พุนพิน) แคว้นพินธุสาร(พิน-ทุ-สา)(ชุมพร) แคว้นนาลองกา(บา-ลอง-กา)(ทับสะแก) แคว้นออกแก้ว(อัก-รา-ด้า) ด้วยเช่นกัน แต่มิได้กล่าวถึง แคว้นพันธุสาร(หลังสวน) แต่อย่างใด ต่อมา ปโตเลมี ได้นำมาสร้างแผนที่ภูมิศาสตร์โลก ในเวลาต่อมา เรียกว่า แผนที่ภูมิศาสตร์ปโตเลมี(จากหนังสือ เรื่อง อาณาจักรศรีวิชัย ของ มจ.จันทร์จิรายุ รัชนี หน้าที่ ๑-๑๖ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย วัดพระบรมธาตุไชยา ปี พ.ศ.๒๕๓๙)

 

¨-30 เรื่อง สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน ผู้เรียบเรียง นำเรื่องมาจาก ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ ซึ่งมีเรื่องราวโยงใยถึง ในสมัยที่ สมเด็จพระเจ้าตากสิน กอบกู้เอกราช สำเร็จแล้ว ได้ส่ง พระยาพิชัยไอยสวรรค์(หยางจิ้งจง) เป็นหัวหน้าคณะราชทูต เดินทางไปเข้าเฝ้าฮ่องเต้จีน เพื่อขอ ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) มาเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่า ประเทศจีน รับรองอำนาจรัฐ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ ฮ่องเต้จีน กลับมอบตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) ให้กับ เจ้าจุ้ย แทนที่ เพื่อรับรองว่า เจ้าจุ้ย เป็นกษัตริย์ ของ ประเทศเสียม-หลอ แม้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะใช้ความพยายาม ในการส่งคณะราชทูต อีกหลายคณะ ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ ประเทศจีน เพื่อขอตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) แต่ไม่เป็นผล ต่อมา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงไม่สนใจที่จะขอ ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) กับประเทศจีนอีก เพราะเชื้อสายราชวงศ์ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของ สงครามโคมคำ หรือ สงครามร้อยปีถ้วน มาถ่ายทอดให้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงทราบ ว่า ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) คือเครื่องมือของประเทศจีน ที่นำมาใช้ในสงครามโคมคำ จนกระทั่ง สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ต้องล่มสลาย ในเวลาต่อมา เรื่องราวของ สงครามโคมคำ จึงได้รับการถ่ายทอดมายัง บ้านวังพวกราชวงศ์

         ผู้เรียบเรียง ได้พยายามค้นหาว่า สงครามโคมคำ เกิดขึ้นเมื่อใด เนื่องจากตำนานกล่าวว่า สงครามโคมคำ สิ้นสุดลง เมื่อ มหาราชา แห่ง รัฐหนานเจ้า ถูกลวงให้รับตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) จากฮ่องเต้จีน แล้วได้ประกาศเอกราช แยกตัวออกจาก สหราชอาณาจักรเทียน เป็น สหราชอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า ถูกประเทศจีน ทำสงครามยึดครองดินแดน จนล่มสลาย ในเวลาต่อมา และเมื่อตรวจสอบหลักฐานพบว่า ปี พ.ศ.๕๔๑ ฮ่องเต้ของจีน ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ สหราชอาณาจักรหนานเจ้า แสดงว่า สงครามโคมคำ เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ.๔๔๑-๕๔๑ อย่างแน่นอน เพราะสอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์จีน บันทึกถึงเหตุการณ์ช่วงนี้ น้อยมาก

 

¨-31 ประวัติศาสตร์จีน โดย คาริงตัน กู๊ดริช หน้าที่ ๓๒

 

¨-32 ประวัติศาสตร์จีน โดย คาริงตัน กู๊ดริช หน้าที่ ๓๑

 

¨-33 ตำแหน่ง สหราชนายก เป็นตำแหน่งบริหารงานสหราชอาณาจักร รองจาก จักรพรรดิ ส่วนตำแหน่ง รัฐนายก เป็นตำแหน่งที่ มหาจักรพรรดิแต่ตั้งให้ไปทำหน้าที่บริหารงาน รัฐต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยหลายอาณาจักร เพื่อปกครอง มหาราชา ของ อาณาจักรต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อรายงานการบริหารงานให้กับ สหราชนายก ตำแหน่งทั้งสอง จะมีกล่าวถึงในการแสดงของหนังตะลุง รุนเก่า บางเรื่อง และในนิทานพื้นบ้านบางเรื่อง ที่เล่ากันในท้องที่ภาคใต้ ซึ่งจะมีการเล่าถึงตัวละคร บางตัว มีตำแหน่งดังกล่าวด้วย แต่ตำแหน่งเหล่านี้ ได้มายกเลิกในสมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คงเหลือตำแหน่ง นายก เพียงตำแหน่งเดียว

 

¨-34 นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก สันนิษฐานกันว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์จีน นั้น มิใช่เป็นมหาจักรพรรดิ ของ ชนชาติไทย แต่เป็นกษัตริย์ของจีนฮ่อ ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งของชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ในดินแดนประเทศจีน นักประวัติศาสตร์บางท่าน ก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ลาว และบางท่านก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ของพม่า ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน โดยอ้างว่า รัฐของชนชาติไทยเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี มาเท่านั้น

         นักประวัติศาสตร์จีน ชื่อสุมาเฉียน ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรเทียน โดยเรียกชื่อว่า เทียนเย่ก๊ก บันทึกว่า "..เทียนเย่ก๊ก มีเขตแดนห่างจากเมืองคุณหมิง ลงไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้(๕๐๐ กิโลเมตร) ประชาชนชอบขี่ช้าง ประชาชนมีหลายเผ่า ทำนา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีเจ้านายปกครองอยู่ด้วย.." แสดงให้เห็นว่า รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ สหราชอาณาจักรเทียน มีมานานแล้ว เพียงแต่ชาติตะวันตก จงใจสร้างประวัติศาสตร์ บิดเบือนให้เป็นอื่น เพื่อให้คนไทย ศึกษา เท่านั้น และ เพื่อการล่าอาณานิคม ในอดีต เท่านั้น

 

¨-35 ประวัติศาสตร์จีน โดย คาริงตัน กู๊ดริช หน้าที่ ๔๔

 

¨-36 ประวัติศาสตร์จีน โดย คาริงตัน กู๊ดริช หน้าที่ ๕๒

ความสับสนเรื่องนี้ ของ นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก และนักประวัติศาสตร์ชาวจีน เป็นผลมาจาก การที่นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ได้ตั้งเรื่องว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์จีน นั้น มิใช่เป็นมหาจักรพรรดิ ของ ชนชาติไทย ซึ่งเป็นชาติสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้าสู่ดินแดน สหราชอาณาจักรหนานเจ้า แต่ท้าวเทวกาล เป็นกษัตริย์ของจีนฮ่อ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งของชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ในดินแดนประเทศจีน บางคนก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ลาว และบางคนก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ของพม่า ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน(แท้จริง ขณะนั้น รัฐพม่ายังไม่เกิดขึ้น) โดยอ้างว่า รัฐไทยเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี มาเท่านั้น จึงไม่สามารถเป็นเส้นทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา จึงยังกลายเป็นความดำมืดทางประวัติศาสตร์ ในทุกวันนี้ ด้วย

 

¨-37 สุมาเฉียน นักประวัติชาวจีน ในยุคนั้น บันทึกว่า เตียนเย่ก๊ก ก่อนถูกประเทศจีนตีแตก แคว้นนี้ กษัตริย์มีกำลังทหารอยู่ประมาณ ๒-๓ หมื่นคน(จากเรื่อง ไป่เยว่ ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา หน้าที่ ๒๓๓) ผู้เรียบเรียง สันนิษฐานว่า สุมาเฉียน เรียกแคว้นหนองแส ว่า เตียนเย่ก๊ก เนื่องจากระบุว่า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ของ ประเทศจีน

 

 

                        

ภาพที่-๒๕ แผนที่ อาณาจักรชวาทวีป ตอนล่าง กำเนิดขึ้นสมัย มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล

 

   

    

 

 

 

(๗) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร กรุงราชคฤห์(โพธาราม)

 พ.ศ.๔๖๔-๔๘๖

ตามตำนาน บ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวว่า เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ได้สละราชสมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาล และตามราชประเพณี แล้วออกบวช ณ วัดสิงห์กาล ของ แคว้นสิงห์กาล(สิงห์บุรี) และจักรพรรดิเจ้าพิมพิสาร ได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร ประจำกรุงราชคฤห์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๔๖๔¨-38

พร้อมกันนั้น องคณะมนตรี ได้มีมติให้ มหาราชาเจ้าโพธิสาร แห่งอาณาจักรชวาทวีป เป็น จักรพรรดิเจ้าโพธิสาร ประจำ กรุงโพธิสาร(พุนพิน) และได้ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นมหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงโพธิสาร ในรัชกาลถัดมา เป็นที่มาให้ ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ได้เปลี่ยนที่ตั้ง ในรัชกาลถัดมา

 

สงครามโคมคำ ณ สมรภูมิ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ปี พ.ศ.๔๖๔-๔๘๖

เหตุการณ์ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร ก็คือ สงครามโคมคำ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ มหาอาณาจักรจีน ได้ขยายต่อไป เนื่องจาก ปี พ.ศ.๔๕๖ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้สวรรคต พระราชโอรส ซึ่งมีพระชนมายุเพียง ๙ พรรษา พระนามว่า ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมี สมุหกลาโหม เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า ขณะนั้น มหาราชา ของ อาณาจักรหนานเจ้า(หนานเย่ก๊ก) แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน มีพระนามว่า มหาราชาช้างเคียง ได้ถือโอกาส เร่งรัดให้ สหราชอาณาจักรเทียน ทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ กลับมีการฆ่าล้างครัว ผู้จุดเทียน แขวนโคมคำ บูชาพระพุทธเจ้าที่หน้าชานเรือน เหตุการณ์ยืดเยื้อมาถึง รัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร สงครามโคมคำ จึงเกิดสงครามใหญ่ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

เนื่องจาก สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ เห็นว่า พระพุทธศาสนา เป็นอันตราย ต่อ ราชวงศ์ฮั่น เป็นอย่างยิ่ง เพราะขัดแย้งกับความเชื่อตาม ลัทธิเต๋า และ ลัทธิขงจื้อ สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทนฮ่องเต้ จึงเริ่มกวาดล้างผู้นับถือพระพุทธศาสนา ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง มีการฆ่าล้างครัว ประชาชนชนชาติอ้ายไต ผู้จุดเทียน แขวนโคมคำ บูชาพระพุทธเจ้าที่หน้าชานเรือน อย่างต่อเนื่อง

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน กล่าวว่า การกวาดล้างชาวพุทธ เป็นที่มาให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาในหมู่ขุนนางจีน อย่างรุนแรง อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๖๔  ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขยายโรงเรียนสอน ลัทธิขงจื้อ และเพิ่มนักศึกษา ขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งรัดสร้างปัญญาชนจีน ต่อสู้ กับ การเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ของ พระธรรมทูต จาก สหราชอาณาจักรเทียน หลังจากนั้น ก็เริ่มเกิดสงครามโคมคำ ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เรียกกันว่า สงครามโคมคำ หรือ สงครามปราบปรามชาวพุทธ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๖๔ เป็นต้นมา

เนื่องจาก ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร นั้น พระองค์ ได้ถือโอกาส ส่งกองทัพบก ไปสนับสนุน มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งปกครองโดย มหาราชาช้างเคียง โดยได้ส่งกองทัพบก จาก สหราชอาณาจักรเทียน ไปร่วมทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ และขยายสงครามยึดครอง แคว้นสู่ และ แคว้นปา ซึ่งเป็นแว่นแคว้นดั้งเดิม ของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืนเป็นผลสำเร็จด้วย เป็นเหตุให้ สมุหกลาโหม ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรเสฉวน กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง สงครามทางบก จึงเป็นไปอย่างยืดเยื้อ

ขณะนั้น จักรพรรดิเจ้าโพธิสาร ซึ่งว่าราชการประจำอยู่ที่ เมืองพันพาน(พุนพิน) แคว้นโพธิสาร ได้มีการสร้างกองทัพเรือ ขึ้นที่ลุ่มแม่น้ำตาปี บริเวณท่าแมนจูลี้(ท่าโรงช้าง) เพื่อส่งกองทัพไปยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ มหาอาณาจักรจีน กลับคืน แคว้นโพธิสาร จึงกลายเป็นฐานที่มั่นทางทหารที่สำคัญ ในการทำสงครามทางเรือ กับ มหาอาณาจักรจีน มีการสร้างกองทัพเรือ ขึ้นมาใน แคว้นออกแก้ว แคว้นจุลนี และแว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรเก้าเจ้า และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) เพื่อทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) กลับคืน อีกด้วย

              จักรพรรดิเจ้าโพธิสาร แห่ง กรุงพันพาน(พุนพิน) แคว้นโพธิสาร(พันพาน) นั้น ได้ส่งกองทัพเรือ ไปขับไล่กองทัพจีน ออกจาก อาณาจักรเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้ , นานกิง) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แต่เมื่อถอยทัพกลับมา สมุหกลาโหม ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นสู่ และ แคว้นปา ของ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นผลสำเร็จ และเริ่มส่งกองทัพ เข้าโจมตี แว่นแคว้นต่างๆ ของ อาณาจักรเสฉวน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า กลับคืน

              หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า สงครามระหว่าง มหาราชาช้างเคียง แห่ง หนานเย่ก๊ก(รัฐหนานเจ้า) กับ มหาอาณาจักรจีน เพื่อแย่งชิงดินแดน อาณาจักรเสฉวน เป็นไปอย่างยืดเยื้อ ผลที่สุด ชัยชนะ ตกเป็นของ มหาราชาช้างเคียง

              สงครามป้องกัน อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เป็นไปอย่างยืดเยื้อ เป็นเหตุให้ สมุหกลาโหม ผู้สำเร็จราชการแทน ฮ่องเต้จาวตี้ พยายามสร้างกองทัพเรือ เพื่อมีอิทธิพลในการทำสงครามทางทะเล และทำสงครามยึดครอง แค้นเสี่ยงให้ กลับคืน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ มีความพยายามอยู่หลายครั้ง แต่กองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเทียน สามารถทำลายกองทัพเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน มิให้มีบทบาท ในท้องทะเล มาโดยตลอด เป็นที่มาให้ บทบาท ของ กองทัพเรือ ของ จักรพรรดิเจ้าโพธิสาร ซึ่งมีกองทัพใหญ่ประจำอยู่ที่ เมืองพันพาน(พุนพิน) แคว้นโพธิสาร(พันพาน) นั้น มีบทบาทสำคัญ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำลายกองทัพเรือ ของ มหาอาณาจักรจีน จนกระทั่ง สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผู้ครอบครอง น่านน้ำ ทางทะเลตะวันออก และทะเลใต้ โดยสิ้นเชิง บทบาทของ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) จึงมีบทบาทสำคัญมากขึ้น แต่ สงครามโคมคำ ยังยืดเยื้อต่อมา ถึง รัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร ซึ่งพระองค์ได้วางแผนยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน กลับคืน ทั้งหมด

 

 

 (๘) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร กรุงโพธิสาร(พุนพิน)

พ.ศ.๔๘๖-๕๒๒

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร กรุงราชคฤห์ มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ได้สละราชสมบัติ ตามกฎมณเฑียรบาล และตามราชประเพณี แล้วออกบวช จักรพรรดิเจ้าโพธิสาร ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร ประจำกรุงโพธิสาร(พุนพิน) ประมาณปี พ.ศ.๔๘๖¨-39 เป็นต้นมา โดยมี มหาราชาท้าวพินธุสาร แห่งแคว้นพินธุสาร(ชุมพร) เป็น จักรพรรดิท้าวพินธุสาร ประจำกรุงราชคฤห์(โพธาราม) แต่ต่อมา จักรพรรดิท้าวพินธุสาร และ เจ้าพันธุสาร สวรรคตในสงครามโคมคำ ทำให้ องคณะมนตรี มีมติให้ ขุนหลวงโชติ แห่ง กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิเจ้าขุนหลวงโชติ ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงโพธินารายณ์(ยะลา) สืบทอดต่อมา

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร เมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งอยู่ที่ กรุงพันพาน(พุนพิน) แคว้นโพธิสาร(พันพาน) เนื่องจากความจำเป็นในการทำสงครามโคมคำ กับ มหาอาณาจักรจีน เป็นเหตุให้ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร จำเป็นต้องใช้ เมืองพันพาน(พุนพิน) แคว้นโพธิสาร เป็นเมืองนครหลวง ของ สหราชอาณาจักรเทียน เพื่อง่ายในการส่งกองทัพเรือเข้าช่วยเหลือ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพราะมีกองทัพเรือ และอู่ต่อเรือ อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำตาปี จำนวนมาก

การส่งกองทัพเรือ เข้าหนุนช่วย เพื่อเข้าไปยึดครอง แว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งตั้งอยู่ตามชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ มหาอาณาจักรจีน สะดวกรวดเร็วขึ้น ผลของสงครามโคมคำในรัชกาลนี้ทำให้การค้า ของ สหราชอาณาจักรเทียน กับ อินเดีย ต้องลดลง เนื่องจากต้องระดมเรือสำเภาค้าขาย เข้าร่วมทำสงคราม ครั้งนี้ด้วย

ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร นั้น สหราชอาณาจักรเทียน มีนโยบายมุ่งเน้น เป็นผู้ครอบครอง น่านน้ำ ทางทะเลตะวันออก และทะเลใต้ และต้องการยึดครอง ดินแดน มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด บทบาทของ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) จึงมีบทบาทสำคัญ ในการนำ อาณาจักรชวาทวีป อาณาจักรคามลังกา แห่งรัฐนาคฟ้า รวมทั้ง อาณาจักรเทียน และ อาณาจักรจุลนี สร้างกองทัพเรือ เพื่อให้มีอิทธิพลครอบครอง น่านน้ำทางทะเลใต้ และ ทะเลตะวันออก โดยสิ้นเชิง เพื่อทำสงครามโคมคำ กับ มหาอาณาจักรจีน

 

สงครามโคมคำ ปี พ.ศ.๔๘๖-๕๒๒

ตำนานความเป็นมาของ เมืองโพธิสาร(พันพาน) กล่าวว่า ในรัชกาลของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร นั้น สหราชอาณาจักรเทียน ได้ส่งกองทัพบก จากรัฐในผืนแผ่นดินบก เพื่อเตรียมเข้ายึดครอง ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด จึงมีการระดมกองทัพเรือ เพื่อเตรียมการทำสงครามใหญ่ เนื่องจาก สหราชอาณาจักรเทียน ได้ส่งกองทัพใหญ่เข้ายึดครอง อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) กลับคืน สำเร็จมาแล้ว แต่สงครามทางบก ในดินแดนอาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ยังไม่ยุติ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร จึงวางแผนส่งกองทัพเรือใหญ่ เข้ายึดครองเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันออก ของ มหาอาณาจักรจีน ทั้งหมด

อันที่จริงแล้ว อาณาจักรชวาทวีป และ อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ) ได้ระดมกองเรือสำเภา ของ พ่อค้าต่างๆ เข้าร่วมทำสงครามโคมคำ เพื่อหนุนช่วย มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อทำสงครามยึดครองดินแดนกลับคืน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๘๖ เป็นต้นมา เป็นเหตุให้ บทบาททางการค้ากับประเทศอินเดีย จึงลดลง อย่างกะทันหัน

สงครามครั้งนั้น กองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียน ได้ส่งกองทัพบก เข้าขับไล่กองทัพจีน ให้ออกจาก แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) จนสามารถยึดครอง อาณาจักรเสฉวน กลับคืน เป็นผลสำเร็จ สามารถจับขุนนางนางจีน มาเป็นเชลยศึก ได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่งตั้งให้ มหาราชาช้างเคียง เป็นผู้ปกครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) แล้วส่งกองทัพเข้ายึดครองแว่นแคว้นอื่นๆ กลับคืน อย่างต่อเนื่อง

              สงครามโคมคำ ภายหลังการยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ แล้ว ได้เกิดความขัดแย้งในหมู่ขุนนางชนชาติอ้ายไต ในประเด็นที่ว่า สมควรที่จะฆ่าเชลยศึก ขุนนางจีน ที่เข้ามาปกครอง ดินแดนต่างๆ หรือไม่? ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นมา ในหมู่ แม่ทัพ ของ ชนชาติอ้ายไต เรื่อยมา และกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา ที่ทำให้ ชนชาติอ้ายไต กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม กับ มหาอาณาจักรจีน โดยที่ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ได้ถูกกองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครองกลับคืน ในเวลาต่อมา

              กองทัพจีน ของ ฮ่องเต้จาวตี้ ยังตัดสินใจผิดพลาดหลายครั้ง เมื่อกองทัพเรือ ของ สหราชอาณาจักรเทียน แสร้งส่งกองทัพเข้าโจมตี เมืองต่างๆ ตามดินแดนชายฝั่งทะเล เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้จาวตี้ รับสั่งให้ นำกองทัพ มาป้องกัน แว่นแคว้นต่างๆ ริมฝั่งทะเล และเมืองนครหลวง เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า สามารถส่งกองทัพบก เข้ายึดครองแว่นแคว้นต่างๆ บนแผ่นดินบก ที่ มหาอาณาจักรจีน เคยยึดครองไป กลับคืนมา เป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อ จักรพรรดิท้าวพินธุสาร และ นายกท้าวพันธุสาร ส่งกองทัพเรือ เข้ายึดครองเมืองต่างๆ ริมฝั่งทะเลเหลือง ทั้งสองพระองค์ สวรรคต ในสงคราม

หลังจากสงครามโคมคำ ครั้งนั้น ขุนหลวงโชติ จึงได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ประจำกรุงโพธิสาร(ยะลา) แห่ง อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ) หลังจากนั้น สหราชอาณาจักรเทียน ต้องถอยทัพกลับมา แต่ยังคงเป็นผู้ควบคุม น่านน้ำในทะเลหลวง อยู่เช่นเดิม สงครามโคมคำ มุ่งเน้นการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ของ พระธรรมทูต จาก สหราชอาณาจักรเทียน ไปยังแว่นแคว้นที่ยึดครองมาได้ สงครามโคมคำ ในดินแดน มหาอาณาจักรจีน จึงยังไม่สิ้นสุด

 

มหาอาณาจักรจีน สร้างเส้นทางการค้าทางบก

การที่สหราชอาณาจักรเทียน มีนโยบายมุ่งเน้น ที่จะทำสงครามโคมคำ กับ มหาอาณาจักรจีน เพื่อยึดครองดินแดนของ ชนชาติอ้ายไต กลับคืน เป็นเหตุให้ ต้องเป็นผู้ครอบครอง น่านน้ำ ทางทะเลตะวันออก และทางทะเลใต้ ทำให้บทบาทของ แคว้นโพธิสาร(พันพาน) จึงมีบทบาทสำคัญ ในการนำ อาณาจักรชวาทวีป อาณาจักรคามลังกา แห่ง รัฐนาคฟ้า รวมทั้ง อาณาจักรแมนจูเจ้า และ อาณาจักรตาโกลา แห่ง รัฐนาคน้ำ สร้างกองทัพเรือ ส่งผลให้ สหราชอาณาจักรเทียน มีอิทธิพลครอบครอง น่านน้ำทางทะเลใต้ และ ทะเลตะวันออก โดยสิ้นเชิง ซึ่งสร้างปัญหาให้กับ มหาอาณาจักรจีน มาโดยตลอด

เนื่องจาก ฮ่องเต้ฮั่นจาวตี้ ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบชนชาติอ้ายไต และทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไต ในสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) มาก่อน อีกทั้ง ยังได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราม รัฐหนานเจ้า(เตียนเย่ก๊ก) ทางทิศใต้ ในเวลาต่อมาด้วย แต่ต้องพ่ายแพ้สงคราม จึงถูก สหราชอาณาจักรเทียน ปิดล้อมเส้นทางทะเล เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ต้องสร้างเส้นทางติดต่อการค้ากับต่างประเทศโดยทางบก เรื่อยมา

ดังนั้น จากหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๔๔๒ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ จึงได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง แคว้นเฟอร์คาน่า เพื่อสร้างเส้นทางค้าขายทางบก เพื่อเดินทางไปยัง เอเชียกลาง จนกระทั่งเมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ สวรรคต และ ฮ่องเต้จาวตี้ ได้ขึ้นครองราชสมบัติปกครองประเทศจีน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ในการครอบครองน่านน้ำทางทะเล เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้จาวตี้ ต้องสร้างเส้นทางการค้าทางบก ต่อไป โดยใช้กองทหาร ชาวมองโกล เป็นผู้บุกเบิกเส้นทาง จนกระทั่ง เมื่อปี พ.ศ.๕๐๗ การขยายเส้นทางบก ของ มหาอาณาจักรจีน ต้องยุติลง เพราะกองทัพของมหาอาณาจักรจีน ได้ปะทะกับกองทหารโรมัน ณ แคว้นซอกเดีย เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย¨-40 กองทัพจีน พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับ ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่ จึงเปลี่ยนนโยบาย ทำสงครามโคมคำ โดยการแยกสลาย รัฐหนานเจ้า ออกจากกัน แทนที่



¨-38 คำนวณจาก พระชนมายุ ๘๐ พรรษา ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แต่ผู้เรียบเรียงไม่สามารถตรวจหาปีประสูติ ของ ท้าวพิมพิสาร ได้ จึงสร้างความยุ่งยากมาก ในการหาปีการขึ้นครองราชสมบัติ ของรัชกาลถัดมา

 

¨-39 ปีขึ้นครองราชสมบัติ ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร นั้น ผู้เรียบเรียงใช้เวลาค้นคว้าอยู่หลายปี จึงเชื่อว่า น่าจะเป็นปี พ.ศ.๔๘๖ ทั้งนี้เนื่องจาก ตำนานบ้านวังพวกราชวงศ์ กล่าวว่า เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร ขึ้นครองราชสมบัติ นั้น พระองค์มีเจตนาที่จะทำสงครามยึดครองดินแดนจีน ทั้งหมด มาปกครอง จึงได้ระดมกองทัพเรือครั้งใหญ่ เรือสำเภา ของ พ่อค้าต่างๆ มาเข้าร่วมทำสงคราม การค้ากับ ประเทศอินเดีย จึงได้ยุติลง ชั่วคราว เมื่อตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์การค้าขาย ของ ประเทศอินเดีย กับ ดินแดนสุวรรณภูมิ พบว่า การค้าของสหราชอาณาจักรเทียน กับ อินเดีย ได้ยุติลงเมื่อปี พ.ศ.๔๘๖ แสดงว่า ปีดังกล่าว คือปีที่ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร ขึ้นครองราชสมบัติ และเป็นปีที่ มหาจักรพรรดิท้าวพิมพิสาร มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ดังนั้นเมื่อคำนวณพระชนมายุ ของ มหาจักรพรรดิท้าวโพธิสาร จึงสันนิษฐานว่า ครองราชสมบัติระหว่างปี พ.ศ.๔๘๖-๕๒๒

 

¨-40 ประวัติศาสตร์จีน โดย คาริงตัน กู๊ดริช หน้าที่ ๓๑

 

     

 

 

(๙)สมัยมหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงโชติกรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา)

 

ในรัชสมัย มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงโชต(พ.ศ.๕๒๒-๕๕๒) กรุงโพธิ์นารายณ์ ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน พยายามใช้ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า มาใช้แทนที่ สงครามโคมคำ จึงได้สิ้นสุดลงเมื่อ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ประกาศเอกราช แยกออกจากการปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียน

    ในรัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงโชติ(ขุนโชติ) นั้น เป็นเหตุการณ์ที่ ฮ่องเต้จาวตี้ สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๕๔๑ และ ฮ่องเต้หวางหม่าง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ จึงเปลี่ยนนโยบาย สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียน และสนใจพระพุทธศาสนา แทนที่ สงครามโคมคำ จึงสิ้นสุดลง จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๕๔๔ ฮ่องเต้หวางหม่าง ได้เสด็จสวรรคต อย่างซับซ้อน

      จากผลของความขัดแย้งในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ทำให้ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่เนื่องจากทรงพระเยาว์ พระพันปีหลวง จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างปี พ.ศ.๕๔๔-๕๕๑ และเมื่อปี พ.ศ.๕๕๒ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง ได้ว่าราชการด้วยพระองค์เอง นโยบายต่อ สหราชอาณาจักรเทียน จึงได้เปลี่ยนแปลงไป และใช้นโยบายเช่นเดียวกับพระราชบิดา โดยพยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียน และสนใจพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกัน พระองค์จึงได้เสด็จสวรรคต อย่างซับซ้อน จากผลของความขัดแย้ง เช่นเดียวกัน

 

มหาอาณาจักรหนานเจ้า ประกาศเอกราช ปกครองอิสระ ปี พ.ศ.๕๔๑

การที่กองทัพจีน ของ ฮ่องเต้จาวตี้ ตัดสินใจผิดพลาด ในการทำสงครามโคมคำ หลายครั้ง ทำให้ สหราชอาณาจักรเทียน สามารถสร้างความมั่นคงให้กับ อาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เป็นผลสำเร็จ อีกทั้ง จักรพรรดิเจ้าขุนโชติ ได้ส่งกองทัพเรือ เข้าควบคุมน่านน้ำในทะเล เป็นผลสำเร็จ อีกด้วย ทำให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น มหาอาณาจักรจีน จึงตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ

ดังนั้น เมื่อ ฮ่องเต้จาวตี้ เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๕๔๑ และ ฮ่องเต้หวางหม่าง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง มหาอาณาจักรจีน ฮ่องเต้หวางหม่าง จึงได้เปลี่ยนนโยบายต่อ มหาอาณาจักรหนานเจ้า โดยมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างลับๆ กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า แทนที่การทำสงครามระหว่างกัน โดยฮ่องเต้หวางหม่าง แสร้งเป็นสนใจ พระพุทธศาสนา และยังสร้าง ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) มาเป็นเครื่องหมายสร้างความสัมพันธ์ กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อีกด้วย เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ประกาศเอกราช แยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งตัวขึ้นเป็น มหาอาณาจักรหนานเจ้า ปกครองโดยอิสระ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ ฮ่องเต้จาวตี้ สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๕๔๑ สงครามโคมคำ จึงยุติลง โดยอัตโนมัติ

เมื่อ ฮ่องเต้หวางหม่าง ขึ้นครองราชย์สมบัติ พระองค์ได้อ้างสายสัมพันธ์ทางเชื้อชาติ ระหว่างชนชาติจีน กับ ชนชาติอ้ายไต ว่าเป็นชนชาติเดียวกัน จึงมีวัฒนธรรมอันเดียวกัน มาแต่ดั้งเดิม แต่ สหราชอาณาจักรเทียน ถูกครอบงำ โดยวัฒนธรรมของประเทศอินเดีย ฮ่องเต้หวางหม่าง ได้วางแผนให้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ กับ มหาอาณาจักรจีน โดยตรง มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน ซึ่งบันทึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าว มีข้อความสั้นๆ ว่า...

   "...ปีแรกในรัชกาล ของ ฮ่องเต้หวางหม่าง(พ.ศ.๕๔๑) ประเทศเตียนเย่เจ้า(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ได้ส่งคณะราชทูต ไปถวายเครื่องราชบรรณาการแด่ ฮ่องเต้ ด้วย ราชทูต เป็นผู้สอนพระสูตรทางพระพุทธศาสนา ให้กับขุนนางจีน ท่องบ่น อีกด้วย..."

 หลักฐานความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อปี พ.ศ.๕๔๑ นั้น แสดงให้เห็นว่า ได้มีคณะราชทูต จาก ประเทศเตียนเย่เจ้า(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ได้ส่งคณะราชทูต ไปยัง มหาอาณาจักรจีน ตามที่กล่าวมาแล้ว แสดงให้เห็นว่า มหาอาณาจักรหนานเจ้า ไม่ยอมอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๕๔๑ เป็นต้นมา และเป็นโอกาสที่ มหาอาณาจักรจีน สามารถทำสงครามยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า กลับคืนอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ต้องเสียดินแดน ให้กับ มหาอาณาจักรจีน จนหมดสิ้น ในเวลาต่อมา ด้วย

เมื่อ ฮ่องเต้หวางหม่าง สวรรคต อย่างมีเงื่อนงำ นั้น ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ แต่เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ พระพันปีหลวง จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ระหว่างปี พ.ศ.๕๔๔ -๕๕๑ นั้น พระพันปีหลวง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่ ๗ ปี แทนที่ พระเจ้าหลานเธอ ของ พระพันปีหลวง(มเหสีของ ฮ่องเต้หวางหม่าง) แห่งราชวงศ์ซิน จึงได้กำหนดนโยบายใหม่ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง โดยพยายามสร้างความสัมพันธ์กับ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วยเช่นกัน คือ นโยบายแยกสลายแล้ว ก่อสงคราม เพื่อให้มีชัยชนะ ในสงคราม อย่างได้ผล ในเวลาต่อมา คือที่มาของ สงครามโชกโชน และ สงครามโพกผ้าเหลือง ในเวลาต่อมา นั่นเอง

 

 

 

(๑๐)สมัยมหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงช่วงกรุงโพธิ์ารายณ์(ยะลา)

 

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงช่วง(พ.ศ.๕๕๒-๕๘๘) กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) แคว้นเทียน นั้น  โดยมีขุนหลวงชัด แห่ง กรุงตาโกลา(กันตัง) เป็น จักรพรรดิ ในรัชกาลนี้ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง แห่งราชวงศ์ซิน ได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรี กับ สหราชอาณาจักรเทียน เพื่อแสร้งขอยุติสงครามระหว่างกัน

หลักฐานจดหมายเหตุจีนสมัย ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง ซึ่งได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเมื่อปี พ.ศ.๕๕๑ นั้น กล่าวว่า ขุนนางจีนนิยมลัทธิขงจื้อ ทราบข่าวว่า มีการผลัดแผ่นดิน ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงใช้ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง เป็นเครื่องมือ ให้ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง จัดส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับ สหราชอาณาจักรเทียน ณ กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) เป็นครั้งแรก จดหมายเหตุจีน มีบันทึกอย่างสั้นๆ ว่า..

"...ปีที่สองในรัชกาลฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง(พ..๕๕๒) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ของฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูตไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ในดินแดนทะเลใต้..."

อย่างไรก็ตาม ภายหลังความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งนั้น ส่งผลให้ พระพุทธศาสนา ได้แพร่หลาย เข้าไปในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อย่างรวดเร็ว ทำให้ ขุนศึกอวงมั้ง ซึ่งนิยมลัทธิขงจื้อ และอยู่เบื้องหลังในการวางแผนการที่สลับซับซ้อน อ้างเป็นเหตุ ไม่พอใจต่อ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง อ้างว่า ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง เป็นผู้ทำลายวัฒนธรรม ของ มหาอาณาจักรจีน จึงได้ก่อการรัฐประหาร และตั้งตัวเป็น ฮ่องเต้ อวงมั้ง(อวงมั้ง) โดยสามารถแย่งชิงราชย์สมบัติ เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ ฮ่องเต้วายเอียงอ๋อง มีการส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์กับ สหราชอาณาจักรเทียน เพื่อปฏิบัติการตามแผนการที่กำหนด ในการทำสงครามยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง

 

มหาอาณาจักรจีน ใช้ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) แยกสลาย ชนชาติอ้ายไต

      หลังจากสิ้นสุดสงครามโคมคำ และ ฮ่องเต้อวงมั้ง ขึ้นเป็น ฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน นั้น ฮ่องเต้อวงมั้ง ได้ใช้ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) คือเครื่องหมายรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน นั่นเอง ตราพระราชลัญจกร ถูกนำมาใช้ในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ อาณาจักรต่างๆ ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อแยกสลายอาณาจักรต่างๆ แล้วทำสงครามยึดครอง อีกครั้งหนึ่ง

       การประกาศเอกราช ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ครั้งนั้น หลายอาณาจักรของชนชาติอ้ายไต ไม่ยอมขึ้นต่อการปกครองของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ด้วย เช่น อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตังเกี๋ย) , อาณาจักรไตหวัน(เกาะใต้หวัน) และ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) เป็นต้น ล้วนไม่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า แต่เป็นอาณาจักร ที่ยอมขึ้นต่อการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ดังเดิม

     ต่อมาในปี พ.ศ.๕๖๖ ฮ่องเต้อวงมั้ง ก็ถูกโค่นล้มโดย ขุนศึก หลิวเซียว วานชก และเกิดราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งเรียกว่า สมัยราชวงศ์ฮั่นกวงอู่ตี้ ซึ่งได้เลือกเอา เมืองลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ เมืองฉางอาน มาเป็นเมืองนครหลวง นับเป็นการเริ่มต้นของ ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งมีการใช้ ตราพระราชลัญจกร(ตรายก) มาใช้เป็นเครื่องมือในการอ้างสร้างรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง เจตนาเพื่อแยกสลาย อาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ก่อนการทำสงคราม รุกรานเข้ายึดครอง ดินอาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทีละอาณาจักร อย่างต่อเนื่อง

     ดังนั้น เมื่อ มหาอาณาจักรจีน พยายามทำสงครามยึดครองดินแดน อาณาจักรไตหวัน , อาณาจักรไตจ้วง และ อาณาจักรหูหลำ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน จึงเป็นที่มา ของ สงครามโชกโชน ในเวลาต่อมา

 

สาเหตุของ สงครามโชกโชน กับ มหาอาณาจักรจีน

สาเหตุของ สงครามโชกโชน ในสมัย สหราชอาณาจักรเทียน มีมูลเหตุมาจาก อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ขณะนั้นปกครองโดย มหาราชาขุนวังเมือง ซึ่ง สหราชอาณาจักรเทียน ได้เคยยกกองทัพไปช่วยทำสงครามขับไล่กองทัพจีน ออกไปจนสำเร็จแล้ว

ต่อมาในปี พ.ศ.๕๔๑ ขุนวังเมือง ได้ประกาศเอกราช ตั้งตัวเป็น จักรพรรดิ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า แยกตัวออกจากการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ภายใต้การสนับสนุนของ มหาอาณาจักรจีน โดยใช้ อาณาจักรหนานเจ้า(หนองแส) เป็นราชธานี เป็นเหตุให้ จักรพรรดิขุนวังเมือง โปรดเกล้าให้ มหาราชาช้างเคียง เป็นมหาราชาผู้ปกครอง อาณาจักรเสฉวน ในรัชกาลถัดมา แต่ต่อมาเมื่อ ขุนศึกหลิวเซียว วานชก สามารถยึดอำนาจเป็นฮ่องเต้ ปกครอง มหาอาณาจักรจีน และเกิดราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งเรียกว่า สมัยราชวงศ์ฮั่นกวงอู่ตี้ มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มทำสงครามยึดครองดินแดน ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง

ในรัชสมัยของ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ นั้น กลุ่มปัญญาชนจีนนิยมลัทธิขงจื้อ ได้ส่งคณะราชทูต และใช้ ตราพระราชลัญจกร(ตรายก) มาใช้เป็นเครื่องมือในการ สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อสร้างรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน อย่างลับๆ ต่อ อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อแยกสลาย อาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ก่อนการทำสงคราม รุกรานเข้ายึดครอง ดินแดนอาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทีละอาณาจักร อย่างต่อเนื่อง

ฮ่องเต้กวงอู่ตี้ แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้จัดส่งคณะราชทูต ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาราชาช้างเคียง แห่ง อาณาจักรเสฉวน ด้วย แต่ มหาราชาช้างเคียง ไม่ยอมรับตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) ของ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ อ้างเป็นเหตุ ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นอาณาจักรแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ.๕๕๓ เป็นต้นมา อาณาจักรเสฉวน จึงต้องทำสงครามต่อสู้ อย่างโดดเดี่ยว

ก่อนหน้านี้ มหาราชาช้างเคียง แห่ง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ได้ทำการสู้รบ กับกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน อยู่ประมาณ ๑๐ ปี ระหว่างปี พ.ศ.๕๕๓-๕๖๓ โดยไม่มีอาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เข้าหนุนช่วย ผลของสงคราม มหาราชาช้างเคียง สวรรคตในสงคราม จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๕๖๓ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ สามารถทำสงครามยึดครอง เมืองเฉิงตู ราชธานีของ อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ จึงได้เปลี่ยนชื่อ อาณาจักรเสฉวน ว่า แคว้นฉู่(เสฉวน) ให้เป็นดินแดนแว่นแคว้นหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

มหาอาณาจักรจีน ปกครอง แคว้นฉู่(เสฉวน) อยู่ได้ประมาณ ๓ ปี เหตุการณ์ต่อมาในปี พ.ศ.๕๖๖ มหาราชาผาใย ได้นำประชาชนชนชาติอ้ายไต ชาวเสฉวน ลุกขึ้นทำสงครามกอบกู้เอกราชสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง และได้ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น มหาราชา ปกครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นอาณาจักรหนึ่ง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ.๕๖๘ ซึ่งเป็นปีที่ ฮ่องเต้อวงมั้ง ขึ้นครองราชย์สมบัติอยู่ได้ประมาณ ๖ ปี นั้น ก็ได้เกิดกบฏฮั่นกวงบู๊ ขึ้นมาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง โดย แม่ทัพฮั่นกวงบู๊ สามารถแย่งชิงอำนาจ ได้สำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๕๖๘ เป็นเหตุให้ ฮ่องเต้อวงมั้ง ถูกนำไปสำเร็จโทษ สวรรคต ทำให้ ฮ่องเต้ฮั่นกวงบู๊ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๕๖๘-๕๗๙) เป็นฮ่องเต้ ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นรัชกาลต่อมา หลักฐานของจีนบันทึกว่า ฮ่องเต้ฮั่นกวงบู๊ เริ่มทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) อีกต่อไป

สงครามระหว่าง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า กับ มหาอาณาจักรจีน จึงเกิดขึ้นต่อไป อีก ๑๑ ปี จนกระทั่งปี พ.ศ.๕๗๙ ฮ่องเต้ฮั่นกวงบู๊ สวรรคต ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ(พ.ศ.๕๗๙-๖๐๑) จนกระทั่งในปี พ.ศ.๕๗๙ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ มอบให้แม่ทัพจีน ส่งกองทัพใหญ่เข้าทำสงครามปราบปราม อาณาจักรเสฉวน เป็นผลสำเร็จ มหาอาณาจักรจีน ได้ระดมกองทัพใหญ่เข้าโจมตี สามารถยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.๕๗๙ ทำให้ชนชาติอ้ายไต ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ต้องอพยพหนีภัยสงครามลงมาทางใต้ ยังดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง มีบันทึกว่า..

"...ปีแรกของรัชสมัย ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้(พ.ศ.๕๗๙) พระองค์ สามารถทำสงครามปราบปราม แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เป็นผลสำเร็จ แคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) จึงตกเป็นของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง ส่วนเชื้อสายเจ้าไต พร้อมไพร่พล ๑๒,๐๐๐ ครอบครัว ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่อการปกครองของ มหาอาณาจักรจีน ได้อพยพไพร่พลประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ลงมาทางใต้ ของ หนานเย่ก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ..."

ต่อมา สหราชอาณาจักรเทียน โดย มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงช่วง ได้ส่งคณะราชทูต หลายคณะ ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อชี้ให้เห็นถึงกุลอุบาย ของ มหาอาณาจักรจีน ในการที่จะทำสงคราม ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไต แต่ไม่เป็นผล

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า มหาอาณาจักรจีน ต้องใช้เวลาถึง ๒๖ ปี จึงสามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรเสฉวน(แคว้นฉู่) เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้น จึงได้เกิดผู้อพยพครั้งใหญ่ เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น มหาอาณาจักรจีน จึงเริ่มทำสงคราม ยึดครอง อาณาจักรอื่นๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อีกต่อไป จนกระทั่งได้ส่งกองทัพเข้ายึดครอง อาณาจักรต่างๆ ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมาด้วย สงครามโชกโชน จึงเกิดขึ้น

 

สงครามกับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ อาณาจักรไตจ้วง

เนื่องจาก มหาราชา แห่ง อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี และ ตาเกี๋ย) ไม่ยอมรับตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) และยอมสวามิภักดิ์ต่อ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามยึดครองดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง กวางสี กวางเจา และ ตังเกี๋ย) โดย แม่ทัพขุนหารเสือ เป็นไส้ศึก อยู่ภายใน สงครามโชกโชน จึงเกิดขึ้น

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน บันทึกว่า ในปี พ.ศ.๕๘๕ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ได้มอบให้ ขุนศึกม้าหยวน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้าปิดล้อมเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรไตจ้วง อยู่ ๑ ปี ก็สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง ของ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นผลสำเร็จ หลังจากนั้น มหาอาณาจักรจีน ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) กลายเป็นดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ เพราะมี แม่ทัพขุนหาญเสือ ขุนนางของ เชื้อสายเจ้าอ้ายไต เป็นผู้ทรยศ ต่อ สหราชอาณาจักรเทียน โดยได้นำไพร่พลจำนวนประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ไปอ่อนน้อมต่อ ขุนศึกม้าหยวน เมื่อปี พ.ศ.๕๘๖ ดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ส่วนใหญ่ จึงตกไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพขุนหารเสือ จึงกลายเป็นเจ้าผู้ครองนคร ผู้ปกครอง แคว้นหนำหาย ในเวลาต่อมา

    ต่อมา ขุนศึกม้าหยวน ได้มอบให้ ขุนหารเสือ เป็นผู้นำทาง เพื่อยกกองทัพเข้าโจมตี ทำลาย อาณาจักรยืนนาน(ยูนนาน) และ อาณาจักรหนานเจ้า(หนองแส) และ แว่นแคว้นต่างๆ ตามเส้นทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ทางเส้นทางบก โดยส่งกองทัพเข้าตีเมืองต่างๆ จนกระทั่ง สามารถเข้าโจมตี อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ สหราชอาณาจักรเทียน จนล่มสลายไปอีกอาณาจักรหนึ่ง ประชาชนชาวพุทธ ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ต้องเสียชีวิต เป็นจำนวนมาก เนื่องจาก พระราชวังหลวง ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ถูกสร้างอย่างมั่นคง ขุนศึกม้าหยวน จึงนำเชลยศึกหลายแสนคน สร้างเขื่อนทดน้ำ กั้นแม่น้ำโขง แล้วขุดคลองเปลี่ยนทิศทาง ให้น้ำไหลเข้าเซาะกำแพงเมือง จนกระทั่ง พระราชวังหลวง ของ เมืองสุวรรณคำหลวง พังทลาย อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จึงล่มสลายลง

    ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน กล่าวว่า หลังจาก ขุนศึกม้าหยวน สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี) และทำลาย อาณาจักรสุวรรณโคมคำ สำเร็จแล้ว แต่ แม่ทัพม้าหยวน ถูกประชาชนชนชาติอ้ายไต ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ ไปทั่วทุกท้องที่ โดยไม่ยอมอยู่ภายใต้อำนาจ ของ มหาอาณาจักรจีน ผู้อพยพส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปรวมตัวกันที่ อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ในที่สุด ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ต้องส่งคณะราชทูตไปเจรจาให้ มหาราชาแห่ง อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ให้ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ มหาอาณาจักรจีน โดยดี แต่ไม่เป็นผล ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ จึงรับสั่งให้นำกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรหูลำ(เกาะไหหลำ)จึงถูกต่อต้าน อย่างหนัก

 

สงครามโชกโชน กับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ ลุ่มแม่น้ำโขง

       สงครามโชกโชน เกิดขึ้นเมื่อ ขุนศึกม้ายวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ได้พยายามส่งกองทัพเข้าทำสงครามยึดครอง แคว้นตาเกี๋ย(ตังเกี๋ย) ของ อาณาจักรไตจ้วง , อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) , อาณาจักรเก้าเจ้า(อันหนำ หรือ เวียตนามเหนือ) เมื่อปี พ.ศ.๕๘๗ แต่ สหราชอาณาจักรเทียน ได้ส่งกองทัพเข้าคุ้มครอง แว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ที่กล่าวมา กองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน จึงมุ่งเน้นส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรเก้าเจ้า และ แคว้นตาเกี๋ย ของ สหราชอาณาจักรเทียน เพื่อลวงให้ กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรเทียน นำกองทัพใหญ่ ไปรักษา ดินแดนทางใต้ เพื่อให้กองทัพจีน สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี) , อาณาจักรหูหลำ(เกาะไหหลำ) ให้สำเร็จตามแผนที่กำหนด เป็นที่มาให้ ขุนศึกม้าหยวน ต้องต่อแพ ติดตามไล่ฆ่าผู้อพยพ ชนชาติไต ไปตามแม่น้ำโขง ในดินแดน อาณาจักรต่างๆ แบบล้างเผ่าพันธุ์

       ตามหลักฐานประวัติศาสตร์จีน กล่าวอย่างสั้นๆ ว่า กองทัพจีน ต้องส่งกองทัพเดินทางโดยใช้แพล่องไปตามลำแม่น้ำ เพื่อเข้าโจมตีไล่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ผู้อพยพ ชนชาติไตเย่(เตียนเย่) มาถึงดินแดนของ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) แต่ต่อมา กองทัพของ เทียนก๊ก ได้ยกกองทัพเข้ามาปะทะกับ กองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน กองทัพของ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) สามารถโจมตีแพ ของ กองทัพขุนศึกม้าหยวน แตกพ่าย ทหารจีน ถูกกองทัพ ไตเย่(ชนชาติอ้ายไต) แห่ง เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) เข้าโจมตีกลับคืน กองทัพจีน ต้องล้มตายเป็นอันมาก ต้องล่าถอยกลับไปยัง แคว้นเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) อีกครั้งหนึ่ง สงคราม ระหว่าง สหราชอาณาจักรเทียน กับ มหาอาณาจักรจีน ยืดเยื้อมาถึง รัชกาล มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงชัด การรบยังคงยืดเยื้อ ต่อไปถึงรัชกาลของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงโชก และ มหาจักรพรรดิขุนหลวงโชน

 

 อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ล่มสลาย

     นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๕๘๓ เป็นต้นมา ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ได้แต่งตั้งให้ขุนศึก ม้าหยวน เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพเข้าปราบปรามแว่นแคว้น และ อาณาจักรต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อย่างต่อเนื่อง เป็นที่มาให้ มหาอาณาจักรจีน มีดินแดน เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง

  หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน บันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ.๕๘๕ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ ได้มอบให้ ขุนศึกม้าหยวน ส่งกองทัพเข้าทำสงครามเข้าปิดล้อมเมืองนครหลวง ของ อาณาจักรไตจ้วง อยู่ ๑ ปี ก็สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง ซึ่ง มหาอาณาจักรจีน เรียกชื่อใหม่ว่า แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) เป็นของ มหาอาณาจักรจีน เป็นผลสำเร็จ เพราะมี แม่ทัพขุนหาญเสือ ขุนนางของ เชื้อสายเจ้าอ้ายไต เป็นผู้ทรยศ โดยได้นำไพร่พลจำนวนประมาณ ๑๘,๐๐๐ คน ไปอ่อนน้อมต่อ ขุนศึกม้าหยวน เมื่อปี พ.ศ.๕๘๖ ดินแดนของ อาณาจักรไตจ้วง ส่วนใหญ่ จึงตกไปอยู่ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง แม่ทัพขุนหารเสือ จึงกลายเป็นผู้ปกครอง แคว้นหนำหาย ต่อมา และให้ข้อมูลต่างๆ ต่อ ขุนศึกม้าหยวน เพื่อทำสงครามยึดครอง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย

       เมื่อขุนศึกม้าหยวน สามารถยึดครอง อาณาจักรไตจ้วง เรียบร้อยแล้ว แม่ทัพขุนหารเสือ ได้นำกองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน เข้าโจมตี อาณาจักรยูนนาน , อาณาจักรหนานเจ้า และ อาณาจักรสิบสองพันนา สำเร็จ เป็นอาณาจักรต่อๆ มา และยังยกกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรสุวรรณโคมคำ เป็นอาณาจักรต่อไปด้วย เพราะอาณาจักรสุวรรณโคมคำ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยทางบก ด้วย ประชาชนชาวพุทธ ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จึงเสียชีวิต เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ ขุนศึกม้าหยวน ทำการปิดล้อมราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ณ เมืองเชียงแสน ด้วย

       เนื่องจาก พระราชวังหลวง ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ถูกสร้างอย่างมั่นคง ขุนศึกม้าหยวน จึงได้นำเชลยศึก สร้างเขื่อนทดน้ำ ในแม่น้ำโขง แล้วขุดคลองเปลี่ยนทิศทาง ให้น้ำไหลเข้าเซาะกำแพงเมือง จนกระทั่ง พระราชวังหลวง ของ เมืองสุวรรณคำหลวง พังทลาย§-อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จึงล่มสลายลงเมื่อประมาณปี พ.ศ.๕๘๘-๕๙๐ และกำเนิด อาณาจักรยวนโยนก ขึ้นมาแทนที่ ในเวลาต่อมา

 

 

 

(๑๑) สมัย มหาจักรพรรดิขุนหลวงโชก กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา)

 

ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิขุนหลวงโชก(พ.ศ.๕๘๘-๕๙๔) กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) นั้น เนื่องจาก ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ มีนโยบายในการใช้ ตราพระราชลัญจกร(ตรายก) มาเป็นเครื่องมือในการแยกสลาย อาณาจักรต่างๆ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ออกจากกัน เป็นที่มาให้ อาณาจักรเสี่ยงให้(แคว้นอู๋) และ อาณาจักรแมนสรวง(ใต้หวัน) ยอมสวามิภักดิ์ ต่อ ราชวงศ์ซิน และ ราชวงศ์ฮั่น ไปก่อนแล้ว ส่วน อาณาจักรไตจ้วง(แคว้นเย่) ได้เคยยอมรับ ตราพระราชลัญจกร(ตรายก) จากการผลักดัน ของ แม่ทัพขุนหารเสือ ด้วย

 

สงครามโชกโชน กับ มหาอาณาจักรจีน

เนื่องจากต่อมา กองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน ได้นำกองทัพเข้าไปปราบปรามชนชาติอ้ายไต ที่ แคว้นตาเกี๋ย และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ)แทนที่ เพื่อลวงให้กองทัพใหญ่ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ถอนกำลังจาก แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) ไปรักษา แคว้นตาเกี๋ย และ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) เพื่อวางแผนให้ ขุนหารเสือ ส่งกองทัพ เข้ายึดครอง แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) กลับคืน อีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ.๕๙๓

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศเวียดนาม กล่าวถึงเหตุการณ์ในช่างเวลาที่ ขุนศึกม้าหยวน นำกองทัพเข้าไปปราบปรามชนชาติอ้ายไต ณ สมรภูมิ แคว้นตาเกี๋ย และสมรภูมิ อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) สรุปว่า ได้มีวีรสัตรี ๒ ท่าน คือ ตรึงจั๊ก และ ตรึงนี่ ได้ลุกขึ้นต่อต้านกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน อย่างห้าวหาญ จนกระทั่งกองทัพจีน ต้องล่าถอยกลับไป อีกครั้งหนึ่ง

      หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน กล่าวว่า เชื้อสายเจ้าอ้ายไต ซึ่งไม่ยอมขึ้นต่ออำนาจ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้อพยพไพร่พล มายังดินแดนสุวรรณภูมิ คือดินแดนของ สหราชอาณาจักรเทียน แต่กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งกองทัพเข้าขับไล่โจมตีฆ่าฟันผู้อพยพชนชาติอ้ายไต มาถึงดินแดนสุวรรณภูมิ

     ผู้อพยพส่วนหนึ่ง ต้องต่อแพ เพื่อใช้เดินทาง อพยพลงมาตามลำแม่น้ำโขง แม่น้ำอิง และแม่น้ำยม อีกส่วนหนึ่งอพยพหนีไปทางทะเล แล่นเรือลงไปทางใต้ ไปตั้งรกรากในดินแดน อาณาจักรเทียน(นาคน้ำ) และ อาณาจักรชวาทวีป(ภาคใต้ตอนบน) อีกส่วนหนึ่งได้อพยพโดยทางบก ลงมาตั้งรกราก ในดินแดนทางใต้ ในพื้นที่ของ อาณาจักรอ้ายลาว , อาณาจักรเก้าเจ้า(เวียตนามเหนือ) , อาณาจักรจุลนี(เวียตนามใต้) , อาณาจักรนาคดิน(ภาคอีสาน) และ อาณาจักรคามลังกา ด้วย

      ผลของสงครามโชกโชน ครั้งนั้น จากการที่กองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน ได้ทำสงครามปราบปรามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนชาติอ้ายไต นั้น เมื่อถูกต่อต้านจาก กองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเทียน การปราบปรามของ ขุนศึกม้าหยวน จึงต้องยุติลง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๕๙๐ และเริ่มพ่ายแพ้สงคราม ต่อ สหราชอาณาจักรเทียน อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง จนกระทั่ง ปี พ.ศ.๕๙๓ ขุนหารเสือ ผู้ทรยศ สามารถนำกองทัพมาจาก อาณาจักรอ้ายลาว เข้ายึดครอง แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง) กลับคืน เป็นผลสำเร็จ อีกครั้งหนึ่ง สมรภูมิของสงครามโชกโชน จึงย้ายสมรภูมิ ไปอยู่ที่ อาณาจักรไตจ้วง(กวางสี , กวางตุ้ง , กวางเจา และ ตาเกี๋ย) แทนที่

สงครามโชกโชน ยืดเยื้อมาถึง ปี พ.ศ.๕๙๔ กองทัพของชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน เริ่มตีโต้ กองทัพจีน กลับคืน กองทัพจีน พ่ายแพ้สงครามครั้งใหญ่ ด้วยถูกกองทัพของ ขุนโชก และ ขุนโชน เข้าโจมตี ต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก กองทัพจีน ของ ขุนศึกม้าหยวน จึงต้องล่าถอยกลับไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.๖๐๑ เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ สวรรคต หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน บันทึกว่า กองทัพจีน จำเป็นถอยทัพกลับ เพราะต้องเดินทางไปรับนโยบายจาก ฮ่องเต้ พระองค์ใหม่

       ผลของสงครามโชกโชน ครั้งนั้น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ล่มสลาย แต่ได้กำเนิด อาณาจักรยวนโยนก(หลวงพระบาง) ขึ้นมาแทนที่

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน

     เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๖๐๑ นั้น มหาอาณาจักรจีน อยู่ในฐานะเสียเปรียบในสงครามโชกโชน กับ สหราชอาณาจักรเทียน ทุกสมรภูมิ เป็นเหตุให้ กลุ่มปัญญาชนขงจื้อ ซึ่งเป็นขุนนางจีน ได้เร่งรัดให้ ฮ่องเต้ ผู้สืบทอดราชสมบัติพระองค์ใหม่ คือ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ เปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ก่อนที่ มหาอาณาจักรจีน จะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น และ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ฟื้นตัวเข้มแข็งขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มหาอาณาจักรจีน จึงมุ่งเน้น สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียน ทันที

      หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน กล่าวว่า เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๖๐๑ นั้น พระองค์ได้ส่งคณะราชทูต มายัง สหราชอาณาจักรเทียน กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) พร้อมกับขอให้ สหราชอาณาจักรเทียน ช่วยส่งคณะสมณะทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย และในปีเดียวกัน มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนหลวงโชก) ได้ส่งคณะราชทูต พร้อมพระสมณทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา และสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน เป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย การเผยแพร่พระพุทธศาสนา ครั้งนั้น ทำให้ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ เป็นฮ่องเต้องค์แรก ของ มหาอาณาจักรจีน หันมานับถือพระพุทธศาสนา อีกด้วย

 

  

 

(๑๒) สมัย มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา)

 

     ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(พ.ศ.๕๙๔-๖๒๓) กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) นั้น ในรัชกาลนี้ มี ขุนหลวงโชน(ท้าวสิงห์ราช) ดำรงตำแหน่ง จักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ในรัชกาลนี้ มหาอาณาจักรจีน พยายามสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียน

      ในปลายรัชกาล ได้เกิด สงครามโพกผ้าเหลือง ขึ้นในดินแดน ของ อาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งเป็นอาณาจักร ที่ขึ้นต่อการปกครอง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า มาก่อน แต่ถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามยึดครองไป เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต และ ชนชาติอ้ายลาว ร่วมกันทำสงครามโพกผ้าเหลือง ขับไล่กองทัพจีน ให้ออกไปจาก อาณาจักรอ้ายลาว ผลของสงครามโพกผ้าเหลือง ครั้งนั้น กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม เป็นเหตุให้ อาณาจักรอ้ายลาว ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน อีกครั้งหนึ่ง

 

กำเนิด อาณาจักรยวนโยนก กรุงโยนก(หลวงพระบาง) ปี พ.ศ.๕๙๓-๕๙๔

หลังจากที่ แม่ทัพม้าหยวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพเข้าโจมตี อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ของ ราชวงศ์ขอม สายราชวงศ์สิงหลวัติ จนล่มสลาย เมื่อประมาณปี พ.ศ.๕๘๘-๕๙๐ เรียบร้อยแล้ว ต่อมา กองทัพของ สหราชอาณาจักรเทียน อาณาจักรนาคฟ้า ได้ยกกองทัพเข้ามาทำสงครามขับไล่ กองทัพของ ขุนศึกม้าหยวน สามารถโจมตีแพ ของ กองทัพขุนศึกม้าหยวน แตกพ่าย หลายสมรภูมิ ทหารจีน ถูกกองทัพชนชาติอ้ายไต แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน เข้าโจมตีกลับคืน กองทัพจีน ต้องบาดเจ็บ ล้มตาย เป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ.๕๙๔ กองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ต้องล่าถอยกลับไปยัง แคว้นหนำหาย(กวางตุ้ง , กวางสี) อีกครั้งหนึ่ง

เมื่อกองทัพของ แม่ทัพม้าหยวน แห่ง มหาอาณาจักรจีน พ่ายแพ้สงคราม ต้องถอยทัพกลับไป ยังมีพวกสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ๓ พี่น้อง ซึ่งเป็นสายราชวงศ์แมนสม จาก อาณาจักรแมนจูเจ้า ซึ่งหลบหนีมาอยู่ที่ อาณาจักรไตจ้วง(กวางเจา , กวางตุ้ง , กวางสี และ ตาเกี๋ย) มีพระนามว่า "เจ้ายวน" , "เจ้าโย" และ "เจ้านก" เรียกว่า เจ้ายวนโยนก ๓ พี่น้อง พร้อมไพร่พล ได้อพยพหนีภัยสงคราม เข้ามาตั้งรกราก ณ ดินแดน ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ทำให้ประชาชนเรียกกลุ่มผู้อพยพครั้งนั้น ว่า "พวกยวน" หรือ "พวกโยนก" หรือ "พวกยวนโยนก" เป็นต้น

ต่อมา จักรพรรดิขุนหลวงเทียนสน(ขุนโชก) หรือ ท้าวสีหราช ได้มอบให้ สายราชวงศ์ยวนโยนก ร่วมช่วยกันรื้อฟื้น อาณาจักรสุวรรณโคมคำ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง และเปลี่ยนชื่อใหม่ ว่า อาณาจักรยวนโยนก โดยมีราชธานี ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ แคว้นโยนก(หลวงพระบาง) ขึ้นต่อการปกครอง กับ อาณาจักรนาคฟ้า แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ในระยะเริ่มสร้างบ้านแปลงเมือง จนกระทั่ง กลายเป็น อาณาจักรยวนโยนก ในที่สุด

อาณาจักรยวนโยนก ที่เกิดขึ้นใหม่ นั้น ราชธานี ตั้งอยู่ในท้องที่ เมืองหลวงพระบาง ของประเทศลาว ในปัจจุบัน เมืองราชธานี คือ เมืองโยนก แต่ต่อมา ได้เกิดสงครามกับ มหาอาณาจักรจีน อีกหลายครั้ง จนกระทั่งในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก จึงได้โยกย้าย ไปตั้งอยู่ที่ เมืองเชียงแสน อีกครั้งหนึ่ง ส่วน เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ดั้งเดิม ได้เปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเชียงทอง เป็นราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว แทนที่ คำสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์ รอยพระบาทเบื้องขวา§-ของ พระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึง เมืองโยนก ไว้ด้วย โดยมี บทสวดมนต์ ตอนหนึ่ง ว่า...

       "...พระศาสดาจารย์ เสด็จนิพพาน ลับแล้ว เราอาลัย เหลือรอยบาทบงสุ์ ซึ่งทรงลักขณา บรรจบ ครบห้า ประดิษฐาน โดยมี พระบาทหนึ่ง ปรากฏ อยู่เหนือบรรพต สุวรรณคีรี(ภูเขาน้ำร้อน-ไชยา) พระบาทที่สอง พระชินศรี ประดิษฐาน อยู่ที่  โยนกนคร(หลวงพระบาง) พระบาทสาม นั้นโสด อยู่เขาสุมนโกฏิ ลังกาบวร(ศรีลังกา) พระบาทสี่ ทศพล อยู่บนสิงขร ตรงกับนคร สุวรรณมาลี(ภูเขาชวาลา-คันธุลี) พระบาทห้า ภูบาล ประดิษฐาน ณ แม่น้ำนที(อยุธยา) เป็นที่ปรากฏ หมดจดด้วยดี เป็นแหล่งแห่งที่ มีสถาบัน..."

เมื่อมีการอธิบายความ บทสวดมนต์ลายลักษณ์เบื้องขวา ของ พระพุทธองค์ ก็จะอธิบายสอดคล้องตรงกันว่า มหาจักรพรรดิท้าวชินศรี(ขุนเชน) หรือ พระพุทธชินศรี แห่ง สหราชอาณาจักรเทียนสน เป็นผู้ประดิษฐ์ ขึ้น เพื่อนำไปประดิษฐานไว้ ณ ภูเขาดอยนันการี คือท้องที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ในปัจจุบัน ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก ก่อนที่ ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก จะโยกย้ายไปยัง เมืองเชียงแสน ในสมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน อีกครั้งหนึ่ง

 

ความสัมพันธ์ทางการทูต กับ มหาอาณาจักรจีน ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๖๐๑-๖๑๐

     หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศจีน กล่าวว่า เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นกวงอู่ตี้ สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๖๐๑ นั้น มหาอาณาจักรจีน อยู่ในฐานะเสียเปรียบในสงครามโชกโชน กับ สหราชอาณาจักรเทียน กลุ่มปัญญาชนขงจื้อ ซึ่งเป็นขุนนางจีน ได้เร่งรัดให้ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ผู้สืบทอดราชสมบัติพระองค์ใหม่ เร่งเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ก่อนที่ มหาอาณาจักรจีน จะได้รับความเสียหายหนักขึ้น อีกทั้งเหตุการณ์ในขณะนั้น มหาอาณาจักรหนานเจ้า ได้ฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มหาอาณาจักรจีน จึงมุ่งเน้น สร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ สหราชอาณาจักรเทียน โดยเร่งด่วน

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน กล่าวว่า เมื่อ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ขึ้นครองราชย์สมบัติ เมื่อปี พ.ศ.๖๐๑ นั้น พระองค์ได้ส่งคณะราชทูต มายัง สหราชอาณาจักรเทียน กรุงโพธิ์นารายณ์(ยะลา) พร้อมกับมีพระราชสาส์น ขอให้ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ช่วยส่ง คณะภิกษุ สมณะทูต ไปช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย บันทึกดังกล่าว มีบันทึก สั้นๆ ว่า...

     "...ปีแรกในรัชกาลของ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้(พ.ศ.๖๐๑) ฮ่องเต้ ได้ส่งคณะราชทูต ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) คณะราชทูต ได้ขอให้ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ช่วยส่งคณะภิกษุ สมณะทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย..."

 ปี พ.ศ.๖๐๑ หลักฐานจดหมายเหตุจีน ยังบันทึกอีกว่า ประมาณปี พ.ศ.๖๐๑ สหราชอาณาจักรเทียน จึงแต่งคณะราชทูต ไปสร้างสัมพันธ์ไมตรี กับ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้(พ.ศ.๖๐๐-๖๑๘) แห่ง มหาอาณาจักรจีน เป็นครั้งแรกด้วย จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

 "...ปีที่ ๒ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้(พ.ศ.๖๐๑) เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ได้ส่งคณะราชทูต และ คณะภิกษุ สมณะทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนของมหาอาณาจักรจีน จนกระทั่งฮ่องเต้(ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้) เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา..."

 ต่อมา ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ได้มอบให้คณะปัญญาชนนิยมลัทธิขงจื้อ ของ มหาอาณาจักรจีน ทำการดัดแปลงคำสอนของพระพุทธศาสนา เมื่อปี พ.ศ.๖๐๒ ให้สอดคล้องกับสังคมของ มหาอาณาจักรจีน เป็น นิกายมหายาน เพื่อสร้างความแตกต่างกับ สหราชอาณาจักรเทียนสน และเพื่อสกัดกั้นการขยายดินแดนของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ที่อาศัยแว่นแคว้นต่างๆ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า และชนชาติอ้ายไต ผู้นับถือพุทธศาสนา เข้ายึดครองดินแดนแว่นแคว้น ต่างๆ ซึ่งเป็นแว่นแคว้นดั้งเดิม ของชนชาติอ้ายไต กลับคืนมา ดังเดิม มหาอาณาจักรจีน จึงพยายามสร้างลักษณะร่วม กับ อาณาจักรย่อยๆ ภายใต้การปกครอง ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ให้ไปเป็น อาณาจักร ภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน อีกครั้งหนึ่ง

ต่อมาในปี พ.ศ.๖๐๗ มีคณะราชทูต จาก มหาอาณาจักรจีน เดินทางโดยทางบก ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับ ประเทศอินเดีย เป็นครั้งแรก จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า...

 "...ปีที่ ๗ ในรัชกาลของ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้(พ.ศ.๖๐๗) ฮ่องเต้ได้ส่งคณะราชทูต เดินทางโดยทางบก ไปสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับ ประเทศอินเดีย โดยนำต้นพีช และ ต้นสาลี่ ไปเป็นเครื่องราชบรรณาการ ด้วย..."

     ต่อมาในปี พ.ศ.๖๐๘ พระภิกษุ และสามเณร ชาวจีน ณ เมืองเจียงชู ใกล้ปากแม่น้ำแยงซีเกียง ของ แคว้นเสี่ยงให้(เซี่ยงไฮ้) ได้ร่วมกันสร้างวัดทางพระพุทธศาสนา ขึ้นมาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน เป็นครั้งแรก อีกด้วย

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ มหาอาณาจักรจีน ยังกล่าวอีกว่า ในปี พ.ศ.๖๐๘ สหราชอาณาจักรเทียนสน(เทียนก๊ก) ได้ทำการส่งคณะพระภิกษุ สมณะทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย พร้อมกับนำพระพุทธรูป พร้อมพระไตรปิฎก ไปถวายแก่ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ อีกด้วย เป็นที่มาให้ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ได้เกิดความเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา§-และหันมานับถือพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา

หลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน บันทึกว่า เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ได้ถือโอกาสแต่งคณะราชทูต เดินทางไปสร้างสัมพันธไมตรี กับ ฮ่องเต้เม่งตี้ ของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับได้จัดส่ง คณะภิกษุ พระสมณะทูต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน พร้อมกับนำพระพุทธรูป และพระไตรปิฎก ไปถวายแก่ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ อีกด้วย กลุ่มปัญญาชนขุนนาง และขุนศึกจีน ซึ่งนิยมลัทธิขงจื้อ ได้มาห้อมล้อมซักถาม สนใจคำสอนในพระพุทธศาสนา จนกระทั่ง ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ได้เกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทำให้ กลุ่มปัญญาชนขุนนาง และขุนศึกจีน ซึ่งนิยม ลัทธิขงจื้อ หันมานับถือ พระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นมา

ได้ปรากฏข้อเท็จจริง ในเวลาต่อมาว่า ทาง ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ได้มอบให้ กลุ่มปัญญาชนขุนนาง และขุนศึกจีน ซึ่งนิยม ลัทธิขงจื้อ มาร่วมทำการศึกษา ดัดแปลงคำสอน และวิธีการ ของ พระพุทธศาสนา นำไปใช้ให้สอดคล้องกับ ลัทธิขงจื้อ จนกลายเป็น พุทธศาสนา สายลัทธิมหายาน เพื่อทำการเผยแพร่ในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ตั้งแต่นั้นมา

      หลักฐานประวัติศาสตร์ ของประเทศอินเดีย บันทึกว่า หลังจากปี พ.ศ.๖๐๘ นั้น อินเดีย ได้ทำการส่งคณะภิกษุ พระสมณะทูต เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในดินแดนของ มหาอาณาจักรจีน ด้วย พร้อมกับนำพระพุทธรูป พร้อมพระไตรปิฎก ไปถวายแก่ ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ ด้วย

       ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๖๑๐ หลักฐานประวัติศาสตร์ของจีน บันทึกว่า ได้มีพระภิกษุจากอินเดีย ๓ รูป ชื่อ พระภิกษุกัศยปะ , พระภิกษุมาตังคะ และ พระภิกษุธรรมรักษะ ได้เดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนของมหาอาณาจักรจีน ในรัชสมัย ฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้ พระภิกษุทั้ง ๓ รูป ได้ช่วยกันสร้าง วัดม้าขาว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโล เมืองโลยาง อีกด้วย

 

มหาอาณาจักรจีน ส่งกองทัพทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว

     เนื่องจากในปี พ.ศ.๖๑๒ นั้น อาณาจักรอ้ายลาว ปกครองโดย มหาราชาท้าวไล จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า ขณะนั้น อาณาจักรอ้ายลาว มีขุนนางจำนวน ๗๗ คน มีพลเมือง ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว รวมเป็นประชาชนทั้งหมดประมาณ ๕๕๓,๗๑๑ คน ประชาชนทั้งหมด ได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา§- แล้ว มหาอาณาจักรจีน ได้วางแผนทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว โดยใช้ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) มาใช้เป็นเงื่อนไขในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตให้ อาณาจักรอ้ายลาวึดครองทำสงครามยึดครอง โดยใช้ตราพระราชลัญจกร(ตราหยก) มาใช้เป็นเงื่อนไขในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อสร้างเงื่อนไขทำสงค เป็นรัฐภายใต้การอารักขา ของ มหาอาณาจักรจีน เพื่อขูดรีดภาษี และสร้างเงื่อนไขทำสงครามยึดครอง ในอนาคต

โอกาส ได้เปิดให้กับ มหาอาณาจักรจีน เมื่อ มหาราชาท้าวไล สวรรคต เมื่อปี พ.ศ.๖๑๘ และ มหาราชาท้าวหงอลาว ขึ้นครองราชย์สมบัติปกครอง อาณาจักรอ้ายลาว เป็นเหตุให้ มหาอาณาจักรจีน เร่งรีบฉวยโอกาส เรียกเก็บภาษี จากประชาชนชาวลาว อย่างหนักหน่วง ทันที และเป็นเหตุให้ มหาราชาท้าวหงอลาว ต้องทำการขูดรีดภาษี จากประชาชน เพื่อส่งมอบให้กับ มหาอาณาจักรจีน ทำให้ พระราชา บางแว่นแคว้น ของ อาณาจักรอ้ายลาว ที่รู้ทันเล่ห์กล ของ ฮ่องเต้ฮั่นจางตี้ และขันทีจีน โดยเฉพาะ กลุ่มราชวงศ์ขุนเหล็ก คือ เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ไม่เห็นชอบด้วยกับการยอมอ่อนน้อมของ มหาราชาท้าวหงอลาว แห่ง อาณาจักรอ้ายลาว เนื่องจากการขูดรีดภาษีเกลือ และภาษีเสื้อผ้า ของ มหาอาณาจักรจีน

ราชวงศ์เจ้าลาวจักร จึงได้ตั้ง กองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้น และประกาศ ไม่ยอมเสียภาษี ให้กับ มหาอาณาจักรจีน ตามที่กำหนด ซึ่งเป็นไปตามแผนการที่ มหาอาณาจักรจีน วางแผนไว้ทุกประการ มหาอาณาจักรจีน จึงส่งกองทัพใหญ่ ทำสงครามยึดครอง อาณาจักรอ้ายลาว ทันที สงครามโพกผ้าเหลือง จึงเกิดขึ้น

 

สงครามโพกผ้าเหลือง กับ มหาอาณาจักรจีน ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว

มหาอาณาจักรจีน อ้างเหตุการณ์ การลุกขึ้นสู้ ของ ราชาเจ้าลาวจักร(ลาวจก) ส่งกองทัพใหญ่ เข้ายึดครองดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว เป็นผลสำเร็จ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๖๑๘ เป็นต้นมา แล้วเปลี่ยนชื่อ อาณาจักรอ้ายลาว เป็น แคว้นหงอลาว และส่งผู้ปกครองแคว้น แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เข้ามาปกครอง แคว้นหงอลาว(อาณาจักรอ้ายลาว) ตามแผนการที่กำหนด ทุกประการ สหราชอาณาจักรเทียน จึงต้องเข้าร่วมสงครามโพกผ้าเหลือง ด้วย

สงครามโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว ครั้งนั้น เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ผู้สืบสายราชวงศ์ จาก ท้าวขุนเหล็ก ได้ลุกขึ้นนำพาประชาชนชาวลาว ลุกขึ้นก่อกบฏไปทั่วดินแดน อาณาจักรอ้ายลาว ด้วยการสนับสนุน ของ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน(ขุนโชก) หรือ ท้าวสีหราช แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน มีการสร้างกองทัพขึ้น เรียกว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง หรือ กองทัพชาวพุทธ จนกระทั่ง ขุนศึกจีน ต้องยกกองทัพใหญ่ เข้าทำสงครามปราบปราม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๑๘-๖๒๑ เป็นต้นมา

เมื่อมหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก) ยกกองทัพไปถึง เมืองโยนก(หลวงพระบาง) ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก แห่ง ลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำอิง และ แม่น้ำโขง ปรากฏว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง ของประชาชนชาวลาว ซึ่งนำโดย เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการหลอมเหล็ก ผลิตอาวุธ และเครื่องมือการผลิต ทำเลื่อยเหล็ก ได้ถูกแม่ทัพจีน ส่งกองทัพเข้าปราบปราม กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ถูกกองทัพจีนฆ่าตาย เป็นจำนวนมาก ทำให้ เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ซึ่งมีพระราชโอรส ๓ พระองค์ คือ เจ้าลาวก่อ , เจ้าลาวเกื้อ และ เจ้าลาวเก๊า(ลาวกาว) ต้องอพยพไพร่พลไปตั้งรกรากในดินแดน อาณาจักรยวนโยนก เป็นเหตุให้ กองทัพใหญ่ ของ มหาอาณาจักรจีน ได้ส่งกองทัพ เข้าทำสงคราม กับ อาณาจักรยวนโยนก ด้วย สงคราม ระหว่าง มหาอาณาจักรจีน กับ สหราชอาณาจักรเทียนสน จึงเกิดขึ้น อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า สงครามโพกผ้าเหลือง

     สงครามโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว ครั้งนั้น คือพื้นฐานที่ทำให้ มหาอาณาจักรจีน แตกแยก ออกเป็น ๓ ก๊ก ในเวลาต่อมา เนื่องจาก สงครามครั้งนี้ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก) มีประสบการณ์ในการทำสงครามมาแล้ว เพราะได้สรุปบทเรียนจากการที่ ขุนนางจีน ซึ่งนิยม ลัทธิขงจื้อ ได้เคยทำไว้ในอดีต

    มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ได้วางแผน ย้อนศร สร้างความแตกแยก ขึ้นมาในหมู่ ขุนนาง และ ขุนศึกจีน จึงได้มีการวางแผนสร้าง กองทัพโพกผ้าเหลือง ขึ้นมาต่อสู้ และทำสงครามก่อกวน ทั่วดินแดนที่ มหาอาณาจักรจีน ได้เคยทำสงครามยึดครองดินแดนของ ชนชาติไต ไปครอบครองไว้ ในอดีต มหาอาณาจักรจีน จึงมิได้เรียกกองทัพ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ครั้งนั้น ว่า กองทัพโพกผ้าเหลือง แต่กลับเรียกว่า กบฏโพกผ้าเหลือง ในเวลาต่อมา

     ผลของสงครามโพกผ้าเหลืองครั้งนั้น มหาอาณาจักรจีน เป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม ต่อ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ สหราชอาณาจักรเทียน และ กองทัพโพกผ้าเหลือง ของ ประชาชนอาณาจักรอ้ายลาว ด้วย ภายหลังสงครามครั้งนั้น อาณาจักรอ้ายลาว จึงตกอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๒ เป็นต้นมา สงครามโพกผ้าเหลือง จึงขยายออกไปทั่วดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ในเวลาต่อมา จนกระทั่ง มหาอาณาจักรจีน ต้องแตกแยกออกเป็น ๓ ก๊ก ในเวลาต่อมาด้วย

 

ดินแดนเกษียรสมุทร ตกอยู่ภายใต้อำนาจ ของ สหราชอาณาจักรเทียน

   ในปลายสมัย ของ สหราชอาณาจักรเทียน ดินแดนเกษียรสมุทร ได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย ดินแดนเกษียรสมุทร หมายถึง ดินแดนบริเวณหมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา หมู่เกาะบาหลี , เกาะบอร์เนียว และ หมู่เกาะฟิลิปินส์ ซึ่งเป็นดินแดนที่ พญาวสุเทวะ เป็นผู้สร้างรัฐขึ้นมาในดินแดน เกาะชวา เป็นครั้งแรก

       ต่อมา พระกฤษณะ(จตุคามรามเทพ) เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ และเรียกชื่อ เกาะชวา ในสมัยนั้นว่า เกาะพระกฤต เป็นดินแดนเมืองขึ้น ของ อินเดีย เรื่อยมา ต่อมา อินเดีย ได้ใช้ เกาะทมิฬอาแจ๊ะ(สุมาตรา) และ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) สำหรับเนรเทศ ขุนนาง นักปกครองอินเดีย ผู้กระทำความผิดกฎหมา และถูกลงโทษ ให้อพยพมาตั้งรกรากในดินแดนดังกล่าว จนกระทั่งได้พัฒนากลายเป็น อาณาจักรเกษียรสมุทร โดยยังคงเป็นเมืองขึ้นของอินเดีย เช่นเดิม

       จนกระทั่ง ในสมัยของ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้มีชนชาติกลิงค์ อพยพมาอาศัยอยู่ที่ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) และ ชนชาติทมิฬโจฬะ อพยพมาอาศัยอยู่ที่ เกาะอาแจ๊ะ(สุมาตรา) ดินแดนอาณาจักรเกษียรสมุทร ยังคงเป็นเมืองขึ้น ของ อินเดีย เช่นเดิม

      ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน อาณาจักรเกษียรสมุทร ได้ก่อกบฏ หลายครั้ง เป็นที่ยากลำบากในการทำสงครามปราบปราม ของ อินเดีย จนกระทั่งในสมัยของ พระเจ้ากัทฟิเสสที่ ๑ ซึ่งเป็นปฐมกษัตริย์ของ ราชวงศ์กุษาณะ ซึ่งมีความต้องการที่จะปลดเกษียร ดินแดนอาณาจักรเกษียรสมุทร ให้ออกไปจากความรับผิดชอบ ของ อินเดีย และมอบให้ อยู่ในการปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน เนื่องจากความสัมพันธ์ทางสายราชวงศ์

      สืบเนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก หรือ ท้าวเทียนสน)และ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) เป็นพระสหายสนิท กับ พระเจ้ากนิษกมหาราช ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เคยร่วมศึกษา พระพุทธศาสนา และโต้แย้งกัน อย่างแตกฉาน มาก่อน อีกทั้ง พระขนิษฐา ๒ พระองค์ ของ พระเจ้ากนิษกมหาราช เป็นอัครมเหสี  ของ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช(ขุนโชก)และ มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช อีกด้วย จึงมีความสัมพันธ์ทางเครือพระญาติวงศ์ ที่ใกล้ชิด ด้วยกัน

       เนื่องจาก ดินแดนเกษียรสมุทร(เกาะชวา และ เกาะสุมาตรา) หรือ อาณาจักรเกษียรสมุทร ซึ่งเป็นดินแดนเมืองขึ้น ของ ประเทศอินเดีย มาอย่างยาวนาน และ เกิดการกบฏ บ่อยครั้ง ดังนั้น ในรัชสมัยของ มหาจักรพรรดิท้าวเทียนสน นั้น ชนชาติทมิฬโจฬะ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ที่ เกาะอาแจ๊ะ หรือ เกาะกาละ(เกาะสุมาตรา) และ ชนชาติกลิงค์ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในเกาะพระกฤต(เกาะชวา) นั้น ได้ก่อกบฏ ประกาศเอกราช แยกตัวออกจากการปกครอง ของ อินเดีย พระเจ้ากนิษกมหาราช จึงขอให้ สหราชอาณาจักรเทียน ทำสงครามปราบปราม และยกดินแดนเกษียรสมุทร ให้อยู่ภายใต้การปกครอง ของ สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย เรียกกันว่า ปลดเกษียร ดินแดนเกษียรสมุทร ออกจากการปกครอง ของ อินเดีย

   ต่อมาเมื่อ จักรพรรดิท้าวสิงห์ราช(พระพุทธสิหิงส์) แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ได้ส่งกองทัพไปทำสงครามปราบปรามกบฏ ในดินแดนเกษียรสมุทร เรียบร้อยแล้ว พระองค์ ได้นำ กิ่งดอกชบา ไปปลูกไว้ตามหมู่เกาะต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นดินแดน ของ สหราชอาณาจักรเทียน พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อหมู่เกาะต่างๆ เป็นชื่อใหม่ว่า หมู่เกาะชบาตะวันตก(หมู่เกาะสุมาตรา) , หมู่เกาะชบาตะวันออก(หมู่เกาะชวา) , หมู่เกาะชบาใน(หมู่เกาะบอร์เนียว) และ หมู่เกาะชบาเหนือ(หมู่เกาะฟิลิปินส์) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๒ เป็นต้นมา 

      ในต้นปี พ.ศ.๖๒๓ มหาจักรพรรดิท้าวสีหราช ซึ่งประชวร สวรรคต จักรพรรดิท้าวสิงห์ราช ซึ่งเป็นพระอนุชา จึงได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น มหาจักรพรรดิ ปกครอง สหราชอาณาจักรเทียน เป็นรัชกาลถัดมา มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช จึงได้ประกาศตั้งศกศักราช ไว้เป็นอนุสรณ์ที่มีชัยในสงครามต่อ มหาอาณาจักรจีน และสามารถครอบครองดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย มหาจักรพรรดิท้าวสิงห์ราช จึงเปลี่ยนชื่อ สหราชอาณาจักรเทียน เป็นชื่อใหม่ว่า สหราชอาณาจักรเทียนสน ตั้งแต่ปี พ.ศ.๖๒๓ เป็นต้นมา

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                                       เชิงอรรถ

 

§- ร.ศ.ดนัย ไชยโยธา มนุษย์กับอารยธรรมในเอเชียใต้ เล่ม ๑ พ.ศ.๒๕๓๖ หน้าที่ ๑๘๒-๑๙๖

 

§-๒  หลักฐาน คัมภีร์อวทาน ของประเทศอินเดีย ได้บันทึกไว้ว่า ปี พ.ศ.๒๙๖ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้โปรดให้เปิดกรุพระบรมธาตุ ซึ่งพระเจ้าอชาติศัตรู ได้ทรงบรรจุไว้ในพระสถูปใหญ่ด้านทิศตะวันออกของเวฬุวันวิหาร แล้วโปรดให้แบ่งส่วนพระธาตุ จัดให้มีการเดินทางเพื่อนำไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นใหม่ ตามดินแดนต่างๆ จำนวน ๘๔,๐๐๐ สถูป ต่อมาในปี พ.ศ.๒๙๗  พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จ จาริกแสวงบุญ ในดินแดนชมพูทวีป และ ดินแดนสุวรรณภูมิ

       ตำนานบ้านเล่า ตรงข้ามวัดพระบรมธาตุไชยา กล่าวว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จมาเคารพรอยพระบาทเบื้องซ้าย ของ พระกฤษณะ ซึ่งเชื่อว่า พระกฤษณะ ได้ อวตาลมาเป็นพระพุทธองค์ และได้มาสร้างรอยพระบาทเบื้องซ้าย ไว้ ณ ท้องที่ ถ้ำพระกฤษณะ หรือ บริเวณบ่อ ๗ แห่ง ภูเขาแม่นางเอ พร้อมกับได้ก่อสร้างเจดีย์พระกฤษณะ ร่วมกับ ราชาเชียงแมนสม แห่ง แคว้นมิถิลา(ไชยา) ด้วย ส่วนพงศาวดารไทยอาหม บันทึกว่า หารคำ(พระเจ้าสุมิตร) ได้เสด็จมาด้วย พร้อมกับได้นำระบบการปกครอง รูปแบบใหม่ มาแนะนำให้กับ พระอินทร์(ท้าวกูเวร) แห่ง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย

 

§- Wilhelm Geiger(trans) The Mahavansa or The Great Chronicle of Ceylon, Pali Text Society ๑๙๖๔,p.๘๒

H. Oldenberg(ed.) Dipavamsa(London ๑๘๗๙, pp.๕๓-๕๔, ๑๗๔-๗๕ ; B.C. Law, Buddhaghosa Journal of Bombay Branch of Royal Asiatic Society, Bombay, ๑๙๔๖

ตำนานภูเขาชวาลา(ภูภิกษุ) กล่าวว่า ภิกษุณีพระนางสังฆมิตร พระราชมารดา ของ เจ้าชายสุมิตร พร้อม พระเจ้าสุมิตร(หารคำ) นำ พระสมณะทูต สายที่ ๘ คือ พระโสณะเถระ และ พระอุตมะเถระ ถูกส่งมาเผยแพร่พุทธศาสนาในดินแดนสุวรรณภูมิ ตามตำนานภูภิกษุ กล่าวว่า พระสมณะทูต เดินทางโดยทางเรือมายัง ภูเขาพนมเบญจา(พนมสายรุ้ง) จ.กระบี่ พร้อมกับ เจ้าชายสุมิตร มายังเมืองมิถิลา(ไชยา) ส่วนพระสมทูตทั้ง ๒ องค์ ได้ไปจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ แคว้นครหิต(คันธุลี) หลังจากมีการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ณ เมืองปาตลีบุตร เมื่อปี พ.ศ.๓๐๐ โดยมี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน

พงศาวดารของศรีลังกา คือ ทีปวงศ์ แต่งขึ้นโดย พระเถระศรีลังกา แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ไม่ปรากฏนามผู้แต่ง กล่าวถึง พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเกาะลังกา และตรัสทำนายเรื่องว่า พระมหินทร์ ผู้เป็นพระราชโอรส ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้เสด็จไปเยือนเกาะลังกา และพระพุทธเจ้าทรงขับไล่พวกยักษ์ แล้วทำการประดิษฐานพระพุทธศาสนาภายในเกาะลังกา หลังจากการสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓ โดยกล่าวถึง กษัตริย์ลังกา ถึง รัชสมัยของ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ(ร่วมสมัยกับ พระเจ้าอโศก)

หนังสือทีปวงศ์ ได้ระบุว่า พระโสณะเถระ และ พระอุตตรเถระ ได้นำพระพุทธศาสนา มาประดิษฐานยังดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๓๐๑

 

§- คาริงตัน กูดริช ประวัติศาสตร์จีน หน้าที่ ๓๑

       จดหมายเหตุจีน บันทึกว่า ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ ชนชาติอ้ายไต นับถือศาสนาพุทธ อย่างรุนแรง มีหลักฐานบันทึกของจีน ถึงเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ มีบันทึกตอนหนึ่ง ว่า...

       "...ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้รับสั่งให้ทำสงครามปราบปรามชนชาติอ้ายไต(หนานเย่) ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ในแคว้นฉู่(อาณาจักรเสฉวน) เพราะได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ อย่างรุนแรง ระหว่างปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ และต่อมา ฮ่องเต้ รับสั่งให้ส่งกองทัพเข้าปราบปรามแว่นแคว้นต่างๆ ของ หนานเย่ก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ทางภาคใต้ อีกด้วย..."

หลักฐานจดหมายเหตุจีนซึ่งได้บันทึกการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับต่างชาติ ยังได้บันทึกถึงความพยายามเปิดเส้นทางค้าขายของ มหาอาณาจักรจีน  มีข้อความตอนหนึ่งว่า..

       "...เมื่อปี พ..๔๒๑ ฮ่องเต้(ฮั่นบู่ตี้) ได้ส่งคณะราชทูตไปติดต่อการค้ากับ รัฐบักเตรีย(อิหร่าน) ดินแดนอาณาจักรทางตะวันตก เพราะทราบว่า เทียนก๊ก (สหราชอาณาจักรเทียน) เป็นพ่อค้าคนกลางในการค้าขาย ฮ่องเต้ จึงต้องการติดต่อการค้าโดยตรง จึงส่งคณะราชทูตของจีน ให้เดินทางโดยทางบกเพื่อส่งเสริมการค้ากับ รัฐบักเตรีย(อิหร่าน) โดยตรง..."

       หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน ได้ทำการบันทึกถึงเหตุการณ์ เมื่อปี พ.ศ.๔๕๖ อีกว่า มหาอาณาจักรจีน ยังได้พยายามสร้างเส้นทางการค้าทางทะเล จึงได้เริ่มทำสงครามยึดครองดินแดนทางใต้ ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า อย่างต่อเนื่อง อีกครั้งหนึ่ง หลักฐานดังกล่าว ได้กล่าวถึง มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ด้วย โดยทำการบันทึกอย่างสั้นๆ มีข้อความตอนหนึ่ง ว่า...

       "...ปีที่ ๕๔ ในรัชกาลฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้(พ.ศ.๔๕๖) ได้ส่งกองทัพเข้าโจมตีแคว้นต่างๆ ของ เทียนก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) ผู้ปกครองดินแดนทางใต้ ซึ่งขณะนั้น ปกครองโดยกษัตริย์ทรงพระนามว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล..."

       เนื่องจาก มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล แห่ง สหราชอาณาจักรเทียน ได้ใช้พระพุทธศาสนา เพื่อหลอมรวมชนชาติอ้ายไต ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อชนชาวอ้ายไต ที่อยู่ภายใต้การปกครองของ มหาอาณาจักรจีน เป็นอย่างยิ่ง มีหลักฐานบันทึกจดหมายเหตุของจีนบันทึกไว้ ถึงเหตุการณ์ที่ ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งขุนนางมาสืบเรื่องราวที่มีการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เข้ามาสู่ดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๓๓-๔๓๕ มีบันทึกตอนหนึ่ง ว่า...

       "...ฮ่องเต้ฮั่นบู่ตี้ ได้ส่งขุนนางฮั่น มาสืบเรื่องราวที่พระพุทธศาสนา ซึ่งได้เข้าไปเผยแพร่ไปยังดินแดนจีน ซึ่งได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๔๓๓ และต่อมา ในปี พ.ศ.๔๓๕ ทำให้ชนชาติไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในแคว้นฉู่(เสฉวน) ได้ลุกขึ้นก่อกบฏ อีกครั้งหนึ่ง ฮ่องเต้ จึงได้ส่งกองทัพเข้าปราบปราบผู้ก่อกบฏ อย่างรุนแรง และยังส่งกองทัพเข้าปราบปราม หนานเย่ก๊ก(มหาอาณาจักรหนานเจ้า) ทางทิศใต้ ในเวลาต่อมาด้วย..."

       นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก สันนิษฐานกันว่า มหาจักรพรรดิท้าวเทวกาล ที่ปรากฏในหลักฐานประวัติศาสตร์จีน นั้น มิใช่เป็นมหาจักรพรรดิ ของ ชนชาติไทย แต่เป็นกษัตริย์ของจีนฮ่อ ซึ่งเป็นชนเผ่าหนึ่งของชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ในดินแดนประเทศจีน นักประวัติศาสตร์บางท่าน ก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ลาว และบางท่านก็อ้างว่า เป็นกษัตริย์ของพม่า ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน โดยอ้างเหตุผลว่า รัฐของชนชาติไทยเพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี มาเท่านั้นเอง

       นักประวัติศาสตร์จีน ชื่อสุมาเฉียน ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรเทียน โดยเรียกชื่อว่า เทียนเย่ก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) บันทึกว่า

       "..เทียนเย่ก๊ก(สหราชอาณาจักรเทียน) มีเขตแดนห่างจากเมืองคุณหมิง ลงไปทางทิศใต้ ประมาณ ๑,๐๐๐ ลี้(๕๐๐ กิโลเมตร) ประชาชนชอบขี่ช้าง ประชาชนมีหลายเผ่า ทำนา อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีเจ้านายปกครองอยู่ด้วย.."

       แสดงให้เห็นว่า รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ คือ สหราชอาณาจักรเทียน มีมานานแล้ว เพียงแต่ชาติตะวันตก จงใจสร้างประวัติศาสตร์ บิดเบือนให้เป็นอื่น เพื่อให้คนไทย ศึกษา เท่านั้น และ เพื่อการล่าอาณานิคม ในอดีต เท่านั้น

 

§-๕  จิตร ภูมิศักดิ์ ข้อเท็จจริงว่าด้วย ชนชาติขอม สำนักพิมพ์ มติชน ปี พ.ศ.๒๕๔๗ หน้าที่ ๓๔

       ตำนานสุวรรณโคมคำ กล่าวถึงการล่มสลาย ของ อาณาจักรสุวรรณโคมคำว่า พระยานาคผู้พ่อโกรธ ผู้ปกครอง อาณาจักรสุวรรณโคมคำ จึงนำไพร่พลมาจำนวน หนึ่งแสนโกฏิ(ประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน) แล้วพร้อมใจกันไปขุดควัก ฝั่งแม่นำ ขลนนที(แม่นำโขง) ให้ลัดไปทางทิศตะวันออก ของเมืองสุวรรณโคมคำ ทำให้เมืองนั้นพังทลายลงไปทันที

 

§-น.สพ.ชาญณรงค์ พุฒิคุณเกษม เรื่อง คัมภีร์ลายลักษณ์พระพุทธบาท พ.ศ.๒๕๔๕ หน้าที่ ๑๘

บทกลอนสวดมนต์ กลอนลายลักษณ์ พระบาทเบื้องขวา ของ พระพุทธองค์ จะใช้สวดมนต์ ในหมู่พระที่ถือศีล เคร่งครัด และพระป่า หรือพระที่ชอบจำศีลอยู่ตามเขตป่าเขา คำกลอนบทสวนมนต์นี้ ถอดคำมาจากเทปบันทึก จากการสวดมนต์ ของ พระครูโกวิทนวกาล(พ่อท่านภาส) แห่งวัดพุนพินใต้ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี และยังมีผู้สูงอายุ อีกหลายราย สามารถสวดมนต์ บทกลอนลายลักษณ์ พระบาทเบื้องขวา ของ พระพุทธองค์ สอดคล้อง ตรงกัน เช่นกัน

       นักประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน สันนิษฐานว่า ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก คือ เมืองโยนก ตั้งอยู่ที่เมืองเชียงแสน ในปัจจุบัน แต่จากการค้นคว้า ของ ผู้เรียบเรียง พบว่า ราชธานี เมืองโยนก เคยตั้งอยู่ที่เมืองหลวงพระบาง มาก่อน ต่อมา ในสมัย สหราชอาณาจักรเทียนสน เมื่อเกิดสงครามโพกผ้าเหลือง ณ สมรภูมิ อาณาจักรอ้ายลาว ในรัชสมัย ท้าวหงอลาว ซึ่งถูกกองทัพของ มหาอาณาจักรจีน ทำสงครามรุกราน ราชธานี ของ อาณาจักรยวนโยนก จึงย้ายไปยัง เมืองเชียงแสน ส่วน เมืองโยนก(หลวงพระบาง) เดิม ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เมืองเชียงทอง กลายเป็นราชธานี ของ อาณาจักรอ้ายลาว แทนที่ และ อาณาจักรอ้ายลาว ได้ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของ สหราชอาณาจักรเทียนสน ด้วย

 

§-สกว. ศาสตราจารย์ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา สืบสานประวัติศาสตร์สังคม และ วัฒนธรรม ไป่เยว่ ศูนย์ไทย-เอเชีย ศึกษา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยรังสิต หน้าที่ ๒๑๘-๒๑๙

 

§-หลักฐานจดหมายเหตุจีน ซึ่งได้บันทึกเรื่องราว ของ คณะราชทูต ของ มหาอาณาจักรจีน ที่ได้เดินทางไปยัง อาณาจักรอ้ายลาว ได้กล่าวถึงเรื่องราวการนับถือพระพุทธศาสนา ของ อาณาจักรอ้ายลาว และจำนวนประชากร และพระนามของ มหาราชา มีบันทึกว่า...

 

       "...ปีที่ ๑๒ ในรัชกาลของฮ่องเต้ฮั่นเม่งตี้(พ.ศ.๖๑๒) คณะราชทูตได้เดินทางไปยังอ้ายลาวก๊ก(อาณาจักรอ้ายลาว) ซึ่งปกครองโดย มหาราชาขุนไล และรายงานว่า อ้ายลาวก๊ก มีขุนนางจำนวน ๗๗ คน มีพลเมือง ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว รวมเป็นประชาชนทั้งหมดประมาณ ๕๕๓,๗๑๑ คน ล้วนได้หันมานับถือพระพุทธศาสนา แล้ว..."

 

 

 
Visitors: 54,261