บทที่ ๑ กำเนิดรัฐไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ความเข้าใจเกี่ยวกับ ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในอดีต
ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเขมร ประเทศเวียตนาม ประเทศมาเลเชีย ประเทศสิงค์โป ประเทศอินโดนีเชีย ประเทศบรูไน ประเทศติมอร์ และ ประเทศฟิลิปปินส์ ในอดีต ถูกแบ่งออกเป็น ๒ พื้นที่ใหญ่ คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร
นักภูมิศาสตร์ชาวกรีก ชื่อ ปอมโปนิอุส เมลาª-๑ได้เขียนหนังสือภูมิศาสตร์ชื่อ เดอ โคโรกราเฟีย(De Chorographia) เมื่อปี พ.ศ.๕๘๘ ได้กล่าวถึงดินแดนสุวรรณภูมิ เรียกชื่อว่า ไครเส(Chryse) กล่าวว่า เป็นดินแดนแห่งทองคำ(The land of gold) และเรียกดินแดนเกษียรสมุทรว่า อาแจ๊ะ(Arjyre) กล่าวว่า เป็นดินแดนแห่งเงิน(The land of silver) จะเห็นว่า คำว่า ไครเส เป็นคำที่ชาวตะวันตก นำมาเรียกดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนคำว่า อาแจ๊ะ เป็นคำที่ชาวตะวันตก นำไปเรียกดินแดนเกษียรสมุทร เรื่อยมา
ภาพที่-๑ แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งช่องแคบโพธิ์นารายณ์ เชื่อมต่อทะเลอันดามัน จาก ปากแม่น้ำกันตัง ผ่านช่องเขาขาด ทิศใต้ของ ทุ่งสง กับ อ่าวไทย บริเวณปากพนัง กับ ทะเลสาบสงขลา ทำให้ดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ เกาะทอง และ แผ่นดินทอง
ดินแดนสุวรรณภูมิ สมัยโบราณ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน เนื่องจากมีช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ซึ่งเป็นช่องแคบเชื่อมทะเลอันดามัน กับ อ่าวไทย จากปากแม่น้ำกันตังมายังทุ่งสง ในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับ ทะเลสาบสงขลา และไปเชื่อมกับ แม่น้ำปากพนัง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ได้แบ่งดินแดนสุวรรณภูมิ ออกจากกันเป็น ๒ พื้นที่ใหญ่ คือ เกาะทอง(Chryse Chora or Khryse Khora) และ แผ่นดินทอง(Chryse Chersonesus or Khryse Khersonese) จดหมายเหตุของ ปลินิ และ ปโตเลมี ได้บันทึกเรื่องดินแดน เกาะทอง ไว้ดังนี้ª-๒
“...เมื่อแล่นเรือออกจากปากแม่น้ำคงคา โดยแล่นเรือมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ก็จะถึง เมืองแอรดอย(Airrhadoi) ซึ่งมีเมืองท่าชื่อ บาราเการา(Barakoura)(โพธิ์กาละ) แล้วถึงประเทศอาแจ๊ะ(Argyre) ในประเทศนี้ มีเมืองท่าหลายแห่ง เช่น แซมบรา(Sambra) ซาดา(Sada) เบราบอนนา(Berbonna) และ เตมาลา(Temala) ถ้าแล่นเรือเลียบฝั่งทะเลแล้ว จากปากแม่น้ำคงคา ก็จะถึงแหลมๆหนึ่ง แล้วจะถึงดินแดนของชาวป่า เรียกว่า ดินแดนเบซิงงา(ดินแดนชาวป่า-ปากแม่น้ำสาละวิน-แม่น้ำอิราวดี) ในอ่าวซาราแบก(อ่าวพ่อตาม้า) ต่อจากนั้น มีแหลมอีกแหลมหนึ่ง(แหลมโพธิ์นารายณ์) แล้วถึงไครเส เคอร์โสเนส(Chryse Chersonesus)(เกาะทอง) ซึ่งมีเมืองท่าชื่อ ตาโกลา(Takola)(กันตัง-ตรัง)...”
ปโตเลมี กล่าวถึง แผ่นดินทองหรือ ไคเส (Chryse or Khryse) ในภาษากรีก ไว้ว่า
“...แผ่นดินไครเส(Chryse Chora)(แผ่นดินทอง) เป็นประเทศที่มีบ่อทองคำ มีพลเมืองเป็นคนผิวขาว ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของ ประเทศอาแจ๊ะ(เกษียรสมุทร) แผ่นดิน ไครเส(สุวรรณภูมิ) ตั้งอยู่ติดต่อกับดินแดน เบซิงงา(ดินแดนชาวป่า-ปากแม่น้ำสาละวิน-แม่น้ำอิราวดี) ด้วย...เรือที่จะไปถึง ไครเส(สุวรรณภูมิ) มักจะเดินทางไปจาก ไมโสเลีย(Maisolia) ซึ่งอยู่แถบ ภูเขามเหนทรคีรี ที่ปากแม่น้ำบาวา ทางแหลมอินเดีย ด้านตะวันออก...”
กล่าวให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วนของพื้นที่ เกาะทอง หมายถึง ดินแดนตั้งแต่ช่องแคบมะละกา ขึ้นมาทางทิศเหนือ ถึง ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ในปัจจุบัน คือที่ตั้ง ของ ประเทศสิงค์โป ประเทศมาเลเซีย และ ดินแดน ๗ จังหวัดภาคใต้ในปัจจุบัน คือ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดสงขลา และ จังหวัดพัทลุง แหล่งทองคำขนาดใหญ่ อยู่ที่ จ.ปัตตานี ในปัจจุบัน นั่นเอง
ภาพที่-๒ แผนที่ แสดงที่ตั้งดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร
ดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วนของพื้นที่ แผ่นดินทอง หมายถึง ดินแดนตั้งแต่ช่องแคบโพธิ์นารายณ์ ขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปจนถึงดินแดน ของ มหาอาณาจักรจีน คือที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดกระบี่ ขึ้นไป รวมไปถึง ประเทศพม่า ประเทศเขมร ประเทศลาว และ ประเทศเวียตนาม ในปัจจุบัน แหล่งทองคำ ขนาดใหญ่ อยู่ที่ เมืองครหิต คือท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากนั้น ยังมีแหล่งทองคำ กระจัดกระจาย ทั่วไปในดินแดนแผ่นดินทอง เช่น ในท้องที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขัน บริเวณ ภูเขาพนมพา จ.พิจิตร และในดินแดน เมืองพุกาม ของ ประเทศพม่า เป็นต้น
ส่วนดินแดนเกษียรสมุทร คือดินแดนหมู่เกาะต่างๆ ทางทิศใต้ และ ทางทิศตะวันออก ของ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือ หมู่เกาะสุมาตรา หมู่เกาะชวา หมู่เกาะบาหลี หมู่เกาะบอร์เนียว และ หมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นดินแดนสำคัญ ดินแดนเหล่านี้ ชนชาติไทย และ อินเดีย เรียกชื่อว่า ดินแดนเกษียรสมุทร ส่วน ชาวจีน เรียกชื่อว่า หมู่เกาะทะเลใต้ ส่วนชาวกรีก เรียกชื่อว่า หมู่เกาะอาแจ๊ะ เป็นแหล่งแร่เงิน พบมากในดินแดน เกาะสุมาตรา จำนวนมาก คำว่า อาแจ๊ะ เป็นภาษากรีกโบราณ แปลว่า แร่เงิน
กำเนิดรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ดินแดนสุวรรณภูมิ ทั้งพื้นที่ เกาะทอง และ แผ่นดินทอง เป็นที่ตั้งรกราก ของ ชนชาติอ้ายไต มาตั้งแต่ก่อนสมัยพุทธกาล พื้นที่เกาะทอง ในสมัยก่อนพุทธกาล เรียกชื่อว่า แคว้นนาคน้ำ ส่วนพื้นที่ แผ่นดินทอง เรียกชื่อว่า แคว้นนาคฟ้า ทั้ง แคว้นนาคน้ำ และ แคว้นนาคฟ้า รวมกันเรียกชื่อว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ คือที่ตั้ง รัฐของชนชาติอ้ายไต มาตั้งแต่สมัยโบราณ ก่อนพุทธกาลไม่ต่ำกว่า ๓,๐๐๐ ปี
ดินแดนเกาะทอง มีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ในท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน คือพื้นที่ซึ่งเคยกำเนิดรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ปฐมกษัตริย์ ของ ชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีพระนามว่า ท้าวพรหมทัศน์ โดยมีราชธานี อยู่ที่ เมืองพรหมทัศน์ คือ ท้องที่ จ.ยะลา ในปัจจุบัน ดินแดนเกาะทอง ได้พัฒนาจากชื่อ แคว้นนาคน้ำ เป็น อาณาจักรนาคน้ำ ประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ จำนวนมาก ต่อมา อาณาจักรนาคน้ำ มีชนชาติอ้ายไต อพยพมาตั้งรกรากมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น อาณาจักรขุนหลวง , อาณาจักรเทียน , อาณาจักรเทียนสน , อาณาจักรมาลัยรัฐ , อาณาจักรปัตตานี และ อาณาจักรมาลายู ตามลำดับ
ภาพที่-๓ เทวรูปเจ้ามรรคขุน อุ้มไก่ชน พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ ท้าวชัยทัศน์ ผู้สร้าง เมืองลับแล พบเทวรูปนี้ ที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ตำนานเจ้ามรรคขุน เล่าเรื่องราวเป็นคำกลอนเรื่อง กำเนิดรัฐไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ และได้บอกตำนานเรื่องราวของ ท้าวพรหมทัศน์ , ท้าวไชยทัศน์ ผู้ให้กำเนิดรัฐของชนชาติไทย ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย
ดินแดนสุวรรณภูมิ ในส่วน แผ่นดินทอง ประกอบด้วยหลายแว่นแคว้น ครั้งแรก กษัตริย์ชนชาติอ้ายไต พระนาม ท้าวไชยทัศน์ ซึ่งเป็นราชบุตรเขย ของ ท้าวพรหมทัศน์ เป็นผู้ที่อพยพไพร่พล ชนชาติอ้ายไต มาสร้างรัฐ ของ ชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนแผ่นดินทอง เรียกชื่อว่า แคว้นนาคฟ้า มีราชธานีตั้งอยู่ที่ เมืองครหิต คือท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา ได้ประกาศเอกราช แยกตัวออกจากรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนจีน เมื่อ ๑,๑๙๐ ปี ก่อนสมัยพุทธกาล เรียกชื่อว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ
๔ ภพชาติ ของ จตุคามรามเทพ
เรื่องราว ของ จตุคามรามเทพ คือเรื่องสืบเนื่อง ของ เทพราม หรือ รามเทพ หรือ ขุนราม ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน)(พ.ศ.๑๑๖๘-๑๒๐๑) แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) ผู้ทำสงครามรักษาใจกลางดินแดนสุวรรณภูมิ คือ อาณาจักรละโว้ มิให้ข้าศึกมอญยึดครอง เนื่องจากเกิดสงครามถึง ๕ สงคราม ในสมัยที่ ขุนราม มีชีวิตอยู่ คือ สงครามแย่งนางอั่วคำ , สงครามทุ่งไหหิน , สงครามแย่งม้า , สงครามแย่งชิงพระบรมธาตุเจดีย์นครปฐม และ สงครามแย่งช้าง ต่อมาเมื่อ ขุนราม เสด็จสวรรคต จึงได้รับพระราชทานพระนามใหม่ว่า เทพราม หรือ รามเทพ
ภาพที่-๔ ภาพลายเส้นจากตัวแสดงในหนังตะลุง คือเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ ของ พระราม มักจะใช้แสดงในหนังตะลุง ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ประชาชน นิยมศึกษา ทั่วไป ทั้งในดินแดนสุวรรณภูมิ และ ดินแดนเกษียรสมุทร สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมา ในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ซึ่งกองทัพของ พระเจ้าชัยวรมันที่-๗ แห่ง สหราชอาณาจักรเจนละ-หลอหู ได้ทำสงครามรุกราน สหราชอาณาจักรเสียม จนกระทั่ง มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ต้องนำพระพุทธรูป พระพุทธสิหิงส์ จากกรุงศรีโพธิ์(ไชยา) หลบหนีไปยังเกาะศรีลังกา และ พระยาร่วง ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์หนึ่งของ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ ต้องอพยพไพร่พลจาก บางยาง(เกาะดอนขวาง ไชยา) ไปทำสงครามกอบกู้ดินแดน อาณาจักรละโว้(หลอหู) กลับคืน โดยใช้ อาณาจักรโจรลี้โพธิ์(เจนลี่ฟู) กรุงสุโขทัย เป็นฐานที่มั่น และใช้เป็นเมืองราชธานี แห่งใหม่ ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ พร้อมๆ กับเหตุการณ์ที่มีการเชื่อว่า รามเทพ ได้มาประสูติในภพชาติที่ ๔ อีกภพชาติหนึ่งเป็น ขุนรามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เพื่อมาทำสงครามกู้ชาติ ในขณะที่มีการอัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ จากเกาะศรีลังกา กลับคืน ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมีการกล่าวถึงพระนามของ จตุคามเทพราม อีกครั้งหนึ่ง
คำว่า จตุคามรามเทพ หมายถึง ๔ ภพชาติ ของ พระราม ที่ได้ประสูติมาช่วยทำสงครามกู้ชาติ รักษาดินแดนสุวรรณภูมิ มิให้ข้าศึกยึดครอง นั่นเอง เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ จตุคามรามเทพ ๔ ภพชาติ คือ ภพชาติ พระราม ภพชาติ พระกฤษณะ ภพชาติ พระพุทธเจ้า และภพชาติของ ขุนราม คือเรื่องราวภพชาติที่ ๔ คือเรื่องราวของ เทวรูปพระสิขีปฏิมา เป็นเทวรูปจำลอง เทพราม ซึ่งปรากฏในตำนานเมืองเหนือ และอีกภพชาติหนึ่ง คือ ภพชาติที่ ๕ ของ จตุคามรามเทพ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ดังนั้นเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ จึงเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาสำคัญ ของ ชนชาติไทย ในการทำสงครามรักษาดินแดนสุวรรณภูมิ นั่นเอง
ในสมัยที่ จตุคามรามเทพ ประสูติมาเป็น ขุนราม พระราชโอรสองค์เล็ก ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง(พระยาพาน) นั้น เชื่อกันว่า อดีตชาติ ของ ขุนราม นั้น เคยประสูติมาแล้ว ๓ ภพชาติ คือ พระราม , พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า
ในภพชาติของ พระราม นั้น คือเรื่องราว ของ รามเกียรติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในประเทศอินเดีย และ ประเทศศรีลังกา ส่วนเรื่องราว ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ นั้น เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นใน ประเทศอินเดีย ดินแดนเกษียรสมุทร และ ดินแดนสุวรรณภูมิ
ภาพที่-๕ ภาพสลักเรื่องราวของ พระราม ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ภาพนี้ สลักไว้บริเวณหน้าบันชั้นที่สาม ของ มุขด้านทิศใต้ ของ ปราสาทประธาน เพื่อแสดงเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระราม ในภาพ คือเรื่องราวของ พระราม ขณะที่เสด็จกลับ เมืองอโยธยา
ด้วยความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่า มนุษย์ ขณะที่มีชีวิตอยู่นั้น ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็น กายหยาบ และ กายละเอียด หรือ ส่วนที่เป็น วิญญาณ ดังนั้น เมื่อสิ้นชีวิตไป ส่วนที่เป็นกายหยาบ จะกลายเป็นธาตุ ดินน้ำลมไฟ แปรสภาพสูญสิ้นไป ส่วน กายละเอียด หรือ ส่วนที่เป็น วิญญาณ นั้น จะไม่สูญสิ้นไป ยังคงเวียนว่ายตายเกิด ไปเกิดใหม่ ในภพชาติต่อไปเรื่อยๆ ไม่จบสิ้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า เมื่อ พระราม สิ้นชีพไปแล้ว ได้ประสูติมาใหม่ในภพชาติใหม่ เป็น พระกฤษณะ อีกครั้งหนึ่ง
เนื่องจาก มีความเชื่อกันว่า วิญญาณ ของ ผู้มีบุญ นั้น มีหลายภาค เช่น ภาคนักรบ และ ภาคคุณธรรม เป็นต้น ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า เมื่อพระกฤษณะ สิ้นชีวิตไปแล้ว วิญญาณภาคคุณธรรม ได้อวตาลมาประสูติใหม่มาเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ และได้ตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้า ในเวลาต่อมา ส่วนวิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้ประสูติใหม่เป็น ขุนราม พระราชโอรส ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง คือ รามเทพ ตามที่กล่าวมา
ต่อมา ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ ในรัชสมัย ของ มหาจักรพรรดิพ่อสุรนารายณ์(พ.ศ.๑๗๓๖-๑๗๕๖) และ มหาจักรพรรดิพ่อมาฆะ(พ.ศ.๑๗๕๖-๑๗๗๘) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสานโพธิ์(ไชยา) นั้น จักรพรรดิแจงกิสข่าน(เตมูจิน) สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาวุธปืนนกสับ ปืนใหญ่ และ ระเบิด มาใช้ในการทำสงคราม กับ อาณาจักรต่างๆ ซึ่งยังคงทำสงครามด้วยอาวุธ ดาบ และ ธนู จึงเป็นที่มาให้ จักรพรรดิแจงกิสข่าน สามารถทำสงครามยึดครอง อาณาจักรต่างๆ ไปทั่วโลก
สหราชอาณาจักรเสียม-หลอหู ของ ชนชาติไทย ได้รับผลกระทบจากสงครามครั้งนั้น ด้วย วิญญาณ ของ เทพราม จึงได้มาประสูติในภพใหม่อีกครั้งหนึ่งเป็น ขุนรามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เป็นที่มาให้มีการพระราชทานนาม ภพชาติใหม่ ของ เทพราม ว่า จตุคามรามเทพ เป็นภพที่ ๔ นั่นเอง
เนื่องจากในปี พ.ศ.๑๗๙๙ นั้น พ่อพระยาร่วง(พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) แห่ง สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ กรุงสุโขทัย ได้เสด็จมายัง เมืองนครศรีธรรมราช เพื่ออัญเชิญ พระพุทธสิหิงส์ กลับไปยัง กรุงสุโขทัย เพื่อใช้ กรุงสุโขทัย เป็น ราชธานี ของ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ เนื่องจาก พระยาร่วง ทรงเชื่อว่า รามเทพ ได้มาประสูติมาอีกภพชาติหนึ่ง เป็น เจ้าชายรามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) เรียบร้อยแล้ว เพื่อมาช่วยทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง พ่อพระยาร่วง กับ พระเจ้าจันทร์ภาณุ กษัตริย์สองพี่น้อง ต่างมารดา จึงได้ร่วมกันทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณ รามเทพ ๔ ภพชาติ ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช พร้อมกับพระราชทาน พระนามใหม่ ๔ ภพชาติ ของ รามเทพ ว่า จตุคามรามเทพ ตั้งแต่นั้นมา เหล่านี้คือความเชื่อในเบื้องต้น ของ เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ นั่นเอง
เชื้อสายราชวงศ์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในท้องที่ จ.สุราษฎร์ธานี ยังให้ข้อมูลอีกว่า ในปลายรัชสมัยของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นั้น พระองค์เชื่อว่า รามเทพ นั้นมีถึง ๕ ภพชาติ อีกภพชาติหนึ่งคือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์จึงได้เสด็จยัง เมืองลพบุรี เพื่อไปบวงสรวงเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ รามเทพ และได้พระราชทาน จตุคามรามเทพ ในพระนามใหม่ว่า เบญจคามรามเทพ ด้วย
รัฐไทย สมัย อาณาจักรสุวรรณภูมิ ปี พ.ศ.(-๑๑๙๐)-พ.ศ.๓๐๔
เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชประวัติ ของ จตุคามรามเทพ ซึ่งกล่าวถึง ๔ ภพชาติ คือ ภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระราม , พระกฤษณะ , ขุนรามเทพ และ พ่อขุนรามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) จึงขอกล่าวถึง สมัยต่างๆ ของ รัฐไทยในสมัยโบราณ โดยสังเขป และกล่าวถึงภพชาติต่างๆ ของ จตุคามรามเทพ ด้วย
เชื่อกันว่า อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นเมื่อ ปีโลศักราชที่ ๑ หรือเมื่อ ๑,๑๙๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ถึงปี พ.ศ.๓๐๔ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นในสมัย ของ ท้าวโกศล ได้ประกาศเอกราช ณ เมืองทองแสนขัน จ.อุตรดิษถ์ ในปัจจุบัน เพื่อแยกตัวออกจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า ของ ชนชาติอ้ายไต เนื่องจาก ไม่พอใจที่ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ถูกบังคับให้ต้องส่งส่วย ทองคำ ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ ขัน ให้กับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ในช่วงเวลาดังกล่าว ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) มีเรื่องราวของ พระกฤษณะ คือ ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ ด้วย
จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ
เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ เจ้าชายกฤษณะ คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ ๑,๐๐๐ ปี ก่อนพุทธกาล ขณะนั้น พญาฆา เป็นมหาราชาปกครองอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีราชธานีอยู่ที่ เมืองครหิต คือท้องที่ บ้านดอนธูป ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน จึงมีเรื่องราว ของ เจ้าชายกฤษณะ ส่วนหนึ่ง ได้เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ และเพราะความเชื่อดังกล่าวได้ส่งผลต่อการสร้าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ และ การนับถือศาสนาพราหมณ์ ของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในเวลาต่อมา และยังส่งผลต่อมา ให้รัฐของเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต สลักรูปเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ ไว้ตามปราสาทต่างๆ ทั่วทั้งดินแดนสุวรรณภูมิ และเกิดการใช้พุทธศาสนา มาเป็นศาสนาประจำชาติ ในสมัยต่อๆ มา อีกด้วย
เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะ คือเรื่องราวของ ตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง บริเวณภูเขาแม่นางเอ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน คือเรื่องราวส่วนหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ ซึ่งนับถือพระเจ้า ๓ พระองค์ พระเจ้าองค์ที่หนึ่ง คือ พระพรหม ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้สร้าง พระเจ้าองค์ที่สอง คือ พระศิวะ หรือ พระอิศวร ซึ่งยึดถือว่าเป็นผู้ทำลาย และ พระเจ้าองค์ที่สาม คือ พระวิษณุกรรม หรือ พระนารายณ์(พระกฤษณะ) ซึ่งยึดถือว่าทำหน้าที่รักษาและคุ้มครองโลก ให้เกิดความสงบสุข
ตามตำนาน ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขานางเอ มีเรื่องราวโดยสรุปว่า พระนารายณ์ จะอุบัติขึ้นในโลกเมื่อโลกเกิดยุคเข็ญ โดยจะเกิดมาเป็นภพชาติต่างๆ ซึ่งเรียกว่า อวตาล มาเป็นสิ่งมีชีวิต หรือเป็นมนุษย์ เช่นเชื่อว่า ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ เคยประสูติมาเป็น พระรามจันทร์ เรียกว่า รามาวตาล ซึ่งเป็นเรื่องราวของ รามเกียรติ เป็นภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ และต่อมา จตุคามรามเทพ ได้ประสูติมาอีกภพชาติหนึ่งเป็น พระกฤษณะ เรียกว่า กฤษณาวตาล เพื่อทำการปราบยุคเข็ญ อีกภพชาติหนึ่ง
เนื่องจาก อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในสมัยที่ จตุคามรามเทพ อวตาล มาเป็น พระกฤษณะ นั้น อาณาจักรสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย แคว้นนาคน้ำ(เกาะทอง) , แคว้นนาคฟ้า(ภาคใต้ตอนบน ภาคกลาง และ ภาคเหนือ) , แคว้นนาคดิน(ภาคอีสาน และ เขมร) และ แคว้นเหงียนก๊ก(เวียตนาม) เหตุการณ์ครั้งนั้น มีเมือง ๒ เมือง ของ แคว้นนาคฟ้า คือ เมืองสุธรรม(สิชล-นครศรีธรรมราช) และ เมืองมิถิลา(ไชยา) ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับ พระกฤษณะ และเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ดินแดนเกษียรสมุทร และ ประเทศอินเดีย ด้วย
เรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติ พระกฤษณะª-๓ คือเรื่องราวในวรรณกรรมพุทธศาสนา เรื่อง มหาชนกชาดก กล่าวโดยสรุปว่า มหาชนกกุมาร(พระกฤษณะ) เป็นพระราชโอรส ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) กับ พระนางเทวกี เนื่องจาก พระกฤษณะ มีพระเชษฐา ชื่อ เจ้าชายพลราม ขณะนั้น พระราชบิดา ของ เจ้าชายวสุ(สังข์พราหมณ์) ปกครองเมืองอยู่ในอินเดีย
ก่อนที่ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าชายพลราม จะประสูติมานั้น เจ้าชายวสุ เป็นพระราชโอรส องค์โต มี เจ้าชายกงส์ เป็นพระราชโอรส องค์รอง ซึ่งต้องการแย่งชิงราชย์สมบัติ จาก เจ้าชายวสุ ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าจากพระราชบิดา ให้เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติ ปกครองแคว้นหนึ่ง ในอินเดีย ขณะนั้น เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ยังไม่ประสูติ
ต่อมา เมื่อพระราชบิดา ของ พญาวสุ เสด็จสวรรคต ทาง พญากงส์ ซึ่งเป็นพระอนุชา ของ พญาวสุ ได้แย่งชิงราชย์สมบัติ เป็นเหตุให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พลหลบหนีมาอาศัยอยู่ที่ ดินแดนเกษียรสมุทร ณ เกาะพระกฤต(เกาะชวา) ซึ่งเป็นที่ตั้งรกราก ของ ชนพื้นเมืองชาวป่าเขา ที่มีแต่ความโหดร้าย และยังถูก พญากงส์ ส่งกองทัพสืบค้นติดตามไล่ฆ่า อย่างต่อเนื่องอีกด้วย เป็นที่มาให้ พญาวสุ และ พระนางเทวกี ต้องนำไพร่พล อพยพมาตั้งรกราก ณ เมือง มิถิลา(ไชยา) หรือ เมืองแมนที่ลา หรือ เมืองมถุรา อาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ประมาณ ๓๐ กิโลเมตร พญาวสุ ได้นำไพร่พลมาแสวงหาทองคำ เพื่อใช้เป็นทุนรอน ไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย
ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เมืองมิถิลา(ไชยา) พญาวสุ และ พระนางเทวกี ได้มาสร้างที่พักอาศัยอยู่บริเวณ ภูเขาพุทธทอง เชิงภูเขาแม่นางเอ ของท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ต่อมา พระนางเทวกี ได้ประสูติ เจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ ในวัยเยาว์ คนเลี้ยงโค ได้เลี้ยงดู เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ อย่างหลบๆ ซ่อนๆ อยู่บริเวณเชิงเขาแม่นางเอ เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดตามไล่ฆ่า ของ พญากงส์ ส่วน พญาวสุ ได้แยกไปสร้างบ้านแปลงเมือง ณ เกาะชวา ดินแดนเกษียรสมุทร ปล่อยให้ พระนางเทวกี เลี้ยงดูพระราชโอรส ๒ พระองค์ อยู่กับคนเลี้ยงโค
ภาพที่-๖ ภูเขานางเอ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งมีถ้ำพระกฤษณะ และ เจดีย์พระกฤษณะ ตั้งอยู่ที่ภูเขาแห่งนี้ด้วย และเกี่ยวข้องกับเรื่องราวพระราชประวัติ ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ ด้วย
ในขณะที่ พระกฤษณะ ทรงพระเยาว์ อาศัยอยู่ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) คือท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี นั้น พระองค์เป็นเด็กซุกซุน น่าเอ็นดู โปรดการยั่วแหย่ และการเล่นสนุกสนาน ในช่วงเวลาเดียวกัน พระกฤษณะ ได้แสดงพละกำลังอำนาจ ให้ปรากฏพบเห็นตั้งแต่วันเด็ก อยู่เนืองๆ ขณะนั้น พญาฆิน เป็นราชา ผู้ปกครอง เมืองมิถิลา(ไชยา)
เมื่อเจ้าชายสองพี่น้อง คือ เจ้าชายพลราม และ เจ้าชายกฤษณะ เติบโตเข้าสู่วัยหนุ่ม จึงเสด็จกลับไปยัง เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร เพื่อร่วมสร้างบ้านแปลงเมือง ต่อมา พญาวสุ มีความประสงค์จะแสวงหาโภคทรัพย์เพื่อใช้เป็นทุนรอนในการกอบกู้ราชย์สมบัติ กลับคืนมาจาก พญากงส์ เป็นเหตุให้ เจ้าชายกฤษณะ ขออาสาร่วมเดินทางไปกับคณะพ่อค้า เพื่อเดินทางไปเสี่ยงโชคยัง เมืองครหิต(คันธุลี) ดินแดนสุวรรณภูมิ
เจ้าชายกฤษณะ นำเรือแล่นออกจาก เมืองท่า เกาะอาแจ๊ะตะวันออก(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร พร้อมไพร่พล ระหว่างเดินทาง เรือถูกพายุพัดอับปางลง กลางทะเลใหญ่ เจ้าชายกฤษณะ ต้องว่ายน้ำด้วยความเพียรพยายาม มานอนสลบอยู่ ณ ชายหาดแห่งหนึ่ง ของดินแดน แคว้นสุธรรม(สิชล) บริเวณ เมืองโมกข์คลานª-๔ ณ สถานที่ก่อสร้าง พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาเดียวกัน เจ้าหญิงเมฆขลา ซึ่งเป็นเจ้าหญิงเชื้อสายเจ้าอ้ายไต แห่ง แคว้นสุธรรม(สิชล) ซึ่งเสด็จมายัง เมืองโมกข์คลาน คือบริเวณ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน ได้เสด็จผ่านมาพบ เจ้าชายกฤษณะ โดยบังเอิญ และได้ช่วยชีวิตไว้
ความสัมพันธ์ ดังกล่าว ทำให้ เจ้าชายกฤษณะ กับ เจ้าหญิงเมฆขลา เกิดมีความรัก ระหว่างกัน และได้เสียกันในที่สุด จนกระทั่ง เจ้าหญิงเมฆขลา ทรงมีพระครรภ์ และเกรงว่า พญากุวัลย์ปิยะ พระราชบิดา ของ พระนาง จะทรงทราบ และทรงพระพิโรธ เป็นเหตุให้ เจ้าหญิงเมฆขลา ได้ไปกราบทูลลา สมเด็จย่า ให้ทรงทราบ จึงได้แนะนำให้ พระนางเมขลา หลบหนี จึงเป็นที่มาให้ เจ้าชายกฤษณะ ต้องนำ เจ้าหญิงเมฆขลา หลบหนี เดินทางมุ่งหน้ามายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) ซึ่งเคยใช้ชีวิตในวัยเยาว์ เพื่อเดินทางไปแสวงหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ตามเจตนารมณ์
เมื่อ พญากุวัลย์ปิยะ กษัตริย์ แคว้นสุธรรม(สิชล) ทรงทราบข่าว จึงแจ้งข่าวให้ พญากงส์ ซึ่งเป็นมิตรสหายรับทราบ เพื่อร่วมกันส่งกองทัพออกติดตามไล่ฆ่า เจ้าชายกฤษณะ ส่วนสมเด็จย่า เมื่อทราบข่าว จึงเสด็จติดตามมาด้วย เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือพระเจ้าหลานเธอ เป็นที่มาให้เกิดตำนานท้องที่ คำว่า ท่าทอง และ ท่าข้าม ในระหว่างการเดินทางหลบหนีของ เจ้าชายกฤษณะ และ เจ้าหญิงเมฆขลา เป็นตำนานเรื่องเล่า สืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพที่-๗ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง บนหน้าบันชั้นที่ ๒ ทางด้านทิศเหนือของมณฑป แสดงเรื่องราวการต่อสู้ ของ พระกฤษณะ กับ นาคกาลียะ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่ออธิบายเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ความเป็นมา ของ รัฐไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ในอดีต
เรื่องราวความเป็นมาของชื่อ ภูเขาแม่นางเอ และ สระแม่นางเอ คือเรื่องราวการต่อสู้ของ พระกฤษณะ กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ณ สระแม่นางเอ ก่อนที่ พระนางเมฆขลา จะประสูติพระราชโอรส มีเรื่องราวโดยสรุปว่า เมื่อ เจ้าชายกฤษณะ พร้อมด้วย เจ้าหญิงเมฆขลา เดินทางรอนแรม ๙ เดือน มาถึงเมืองมิถิลา(ไชยา) ณ สระแม่นางเอ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของ สวนโมกข์ผลาราม ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน เจ้าหญิงเมฆขลา ได้เกิดอาการเจ็บพระครรภ์ อย่างรุนแรง แต่ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ ได้มาขัดขวางมิให้พระนางเมขลา ประสูติพระราชโอรส ข้างสระน้ำ ดังกล่าว พระกฤษณะ จึงต้องต่อสู้กับ นาคกาลียะ ในขณะที่ พระนางเมขลา ต้องประสูติ พระราชโอรส เอ-อ้าน(เรี่ยราด) อยู่บริเวณริมสระน้ำแม่นางเอ ณ เชิงภูเขาแม่นางเอ ดังกล่าว เป็นที่มาให้ เจ้าหญิงเมฆขลา จึงถูกเรียกพระนามใหม่ ว่า แม่นางเอ และ เป็นที่มาให้ ภูเขาดังกล่าวจึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาแม่นางเอ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันส่วนสระน้ำ ซึ่งเป็นที่ประสูติพระราชโอรส ของ แม่นางเอ ถูกเรียกชื่อว่า สระแม่นางเอ โดยถูกเรียกสืบทอดต่อเนื่องกันมา จนถึงปัจจุบัน เช่นกัน
ภาพที่-๘ ถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อเจ็ดแห่ง บริเวณภูเขาแม่นางเอ ในท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ถ้ำแห่งนี้ เป็นตำหนักของ พระกฤษณะ ภาพนี้ ถ่ายบริเวณปากถ้ำ จะเห็นเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งประชาชนยังคงนิยมเดินทางไปบวงสรวงเซ่นไหว้ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ เป็นประจำ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน ภายในถ้ำ สูงประมาณ ๒ เมตร ยาวประมาณ ๘ เมตร จะมีเทวรูปจำลอง พระกฤษณะ และ พระนางเมฆขลา ด้วย
ต่อมา พระกฤษณะ และ พระนางเมขลา หรือ แม่นางเอ ได้ไปพักพิงอยู่ที่บริเวณ ถ้ำแม่นางเอ เพื่อสร้างพระตำหนัก หลบภัย การติดตามของ พญากงส์ และ พญากุวัลย์ปิยะ ราชาแห่งแคว้นสุธรรม ซึ่งเป็นพระราชบิดา ของ พระนางเมขลา หรือ แม่นางเอ ขณะนั้น นางเอ ได้ทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสที่เพิ่งประสูติ โดยที่ พระกฤษณะ ได้นำไพร่พล ต่อเรือสำเภาลำใหม่ เพื่อทดแทนเรือที่แตกไป แต่ พญากงส์ ซึ่งเป็นพระเจ้าอา ผู้แย่งชิงราชย์สมบัติ ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาร่วมทำสงครามปราบปราบ พระกฤษณะ ด้วย
ภาพที่-๙ ภาพสลักแสดงเรื่องราว พระกฤษณะ ต่อสู้กับ ช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ ณ หน้าพระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ แสดงอยู่ที่ทับหลังด้านทิศเหนือ ของ อันตราละ ปราสาทประธาน ของ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
หลังจากที่ พระกฤษณะ ต่อสู้กับ นาคอัคคะ และ นาคกาลียะ เรียบร้อยแล้ว กองทัพของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพมาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) พร้อมกับได้ส่งช้างกุวัลย์ปิยะ และ ปล่อยราชสีห์ ให้เข้าไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องต่อสู้กับ ช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ จนได้รับชัยชนะ สามารถฆ่าช้างกุวัลย์ปิยะ และ ราชสีห์ ณ ตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ เป็นผลสำเร็จ
ต่อมา กองทัพของ พญากงส์ มิตรสหายของ พญากุวัลย์ปิยะ ได้ส่งกองทัพจากอินเดีย มาถึง เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อช่วย พญากุวัลย์ปิยะ ทำสงครามปราบปราม พระกฤษณะ ให้สิ้นพระชนม์ เนื่องจาก พญากงส์ เกรงว่า พระกฤษณะ จะต้องส่งกองทัพเข้าทำสงครามปราบปราม พญากงส์ เพื่อแย่งราชสมบัติกลับคืนให้กับ พญาวสุ ในอนาคต พญากงส์ จึงปล่อยราชสีห์ อีกตัวหนึ่งให้ไปทำร้าย พระกฤษณะ ณ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ อีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม พระกฤษณะ ก็สามารถฆ่าราชสีห์ ของ พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ ปราสาทต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงมักจะมีภาพสลัก พระกฤษณะ ต่อสู้กับราชสีห์ ของ พญากงส์ เพื่ออธิบายความเป็นมาของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ อยู่ด้วยเสมอ
ภาพที่-๑๐ ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวการต่อสู้ระหว่าง พระกฤษณะ กับ ราชสีห์ ของ พญากงส์ ณ ภูเขาแม่นางเอ เมืองมิถิลา(ไชยา) ปรากฏอยู่ที่หน้าบันชั้นลด ทิศตะวันตก ด้านทิศเหนือ ของ มณฑป ของ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ ในปัจจุบัน
ภายหลังการต่อสู้ ของ พระกฤษณะ กับ ราชสีห์ ของ พญากงส์ ครั้งนั้น สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา ได้พยายามเกลี้ยกล่อม พญากุวัลย์ปิยะ ให้ถอนทัพกลับไป ปล่อยให้เป็นการต่อสู้ระหว่าง พระกฤษณะ กับ พญากงส์ แทนที่ ขณะเดียวกัน พญาฆิน ซึ่งเป็นราชาแห่ง เมืองมิถิลา(ไชยา) และ พญาฆา มหาราชา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าว จึงส่งกองทัพมาขับไล่ พญากงส์ ให้ออกไปจาก เมืองมิถิลา(ไชยา) ผลของสงครามครั้งนั้น พญาฆิน สวรรคต ในสงคราม
เมื่อ มหาราชาพญาฆา(พะยาค่ะ) แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ทราบข่าวว่า พญาฆิน สวรรคตในสงคราม จึงส่งกองทัพใหญ่มาทำสงครามขับไล่ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับอินเดีย เป็นที่มาให้ สมเด็จย่า ของ พระนางเมฆขลา เข้ามาช่วยเหลือ พญาฆา ทำสงครามครั้งนั้นด้วย
ตำนานความเป็นมาของคำว่า "ดอนดวด" คือท้องที่แห่งหนึ่งใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และคำว่า "ใบแม่ย่านาง" และคำไทย คำว่า "ดวด" มีเรื่องราวตำนานกล่าวว่า ในขณะที่เกิดสงครามระหว่าง พญาฆา กับ พญากงส์ นั้น กองทัพของ มหาราชาพญาฆา ตั้งอยู่ที่ดอนดวด มี สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ซึ่งได้เดินทางมาช่วยเหลือ พระนางเมฆขลา ด้วย
เมื่อ สมเด็จย่า ได้พบกับ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) และ พระกฤษณะ จึงได้ทราบที่หลบซ่อน ณ พระตำหนักถ้ำพระกฤษณะ หรือ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) เรียบร้อยแล้ว สมเด็จย่า จึงได้พยายามช่วยเหลือไพร่พล ของ มหาราชาพญาฆา ซึ่งมีกำลังไพร่พลส่วนหนึ่งตั้งกองทัพอยู่ที่ ดอนดวด ซึ่งคอยเฝ้าเวรยามอยู่บริเวณ ดอนดวด คือท้องที่บริเวณใกล้เคียงกับ สำนักงานที่ดิน จ.สุราษฎร์ธานี สาขา-ไชยา ในปัจจุบัน ให้เตรียมพร้อมอยู่เสมอ มิให้กองทัพของ พญากงส์ เข้าโจมตี
เนื่องจาก ไพร่พลของ มหาราชาพญาฆา จะหลับยาม กันเป็นประจำ สมเด็จย่า เกิดความห่วงใย เกรงว่า กองทัพของพญากงส์ จะส่งกองทัพไปยัง ตำหนักพระกฤษณะ สำเร็จทำให้ พระกฤษณะ และ พระนางเมฆขลา จะถูกนำไปฆ่า โดยไม่สามารถหลบหนี ได้ทัน จึงเป็นที่มาให้สมเด็จย่า ของ เจ้าหญิงเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้นำใบไม้ชนิดหนึ่ง มาต้มกับหน่อไม้ไผ่ และปรุงด้วยเครื่องปรุง หลายชนิด กลายเป็น ซุ๊ปหน่อไม้ และ น้ำซุ๊ปแม่ย่านาง เพื่อใช้เป็นอาหารแก้ง่วงนอน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ใบไม้ดังกล่าวจึงถูกเรียกว่า ใบแม่ย่านาง ซึ่งถูกเรียกกันสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำไปปรุงเป็นอาหารแล้ว หรือ เมื่อนำไปดื่ม หรือรับประทานแล้ว จะไม่เกิดอาการง่วงนอน อาหารดังกล่าว เกิดขึ้นในท้องที่ บ้านดอนดวด ตามที่กล่าวมา คำว่า "ดวด" จึงเป็นคำไทย มีความหมาย เช่นเดียวกับคำว่า "ดื่ม" แต่เป็นการดื่ม เครื่องดื่ม ที่ปรุงขึ้นพิเศษ เพื่อภารกิจพิเศษ เท่านั้น บ้านดอนดวด คือ ที่ให้กำเนิดอาหาร ซุ๊ปหน่อไม้ นั่นเอง
ในที่สุด กองทัพของ มหาราชาพญาฆา สามารถขับไล่ กองทัพของ พญากงส์ ให้ต้องถอยทัพกลับไป และกองทัพพญากงส์ ได้ยกกองทัพเข้าโจมตีเมือง ของ พญาวสุ ณ ดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย เป็นที่มาให้ พระพลราม ต้องต่อสู้กับ ปีศาจธนุกะ จนได้รับชัยชนะ กองทัพของ พญากงส์ จึงต้องถอยทัพกลับ อินเดีย เหตุการณ์ในขณะนั้น มหาราชาพญาฆา แห่ง อาณาจักรสุวรรณภูมิ จึงนำพระกฤษณะ ไปขุดหาทองคำ ณ เมืองครหิต(คันธุลี) ตามเจตนาเดิม เมื่อได้ทองคำ ตามที่ต้องการ พระกฤษณะ จึงได้เสด็จกลับคืนดินแดน เกษียรสมุทร เพื่อทำสงครามกู้ชาติจากการยึดครองของ พญากงส์ กลับคืน ปล่อยให้พระนางเมฆขลา หรือ แม่นางเอ ประทับอยู่ที่ พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ณ เมืองมิถิลา(ไชยา) เพื่อเลี้ยงดูพระราชโอรส เพียงลำพัง
ต่อมา พญาวสุ ได้ทุนรอนจาก ทองคำ ที่พระกฤษณะ ส่งมอบให้ จึงจัดกองทัพใหญ่ เข้าต่อสู้กับ พญากงส์ เพื่อแย่งยึดอำนาจกลับคืนให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา ผลของสงคราม พระกฤษณะ สามารถฆ่า พญากงส์ เป็นผลสำเร็จ สามารถกอบกู้คืนราชสมบัติให้กับ พญาวสุ ผู้เป็นพระราชบิดา เป็นผลสำเร็จ พระพลราม ซึ่งเป็นพระเชษฐา ของ พระกฤษณะ จึงต้องช่วยราชการ พระราชบิดา เป็นเหตุให้ พระกฤษณะ ต้องกลับมาเป็นราชา ปกครอง ดินแดนเกษียรสมุทร จึงเป็นที่มาให้เกาะชวา มีชื่อว่า เกาะพระกฤษณะ หรือ เกาะพระกฤต ในสมัยนั้น ด้วย
ภาพที่-๑๑ ภาพสลักแสดงบนทับหลังประตูชั้นที่สอง มุข ด้านทิศตะวันตก ของปราสาทพระประธาน ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวของ พระกฤษณะ ต่อสู้กับ พญากงส์ และสามารถฆ่าพญากงส์ เป็นผลสำเร็จ
ส่วนชีวิต แม่นางเอ(พระนางเมฆขลา) ในขณะที่ พระกฤษณะ ต้องออกไปทำสงครามกู้ชาติ กลับคืน นั้น แม่นางเอ ประทับอยู่ที่พระตำหนัก ถ้ำพระกฤษณะ ก็ใช้เวลาว่างสกัดหิน บริเวณหน้าถ้ำ เป็นบ่อขึ้นมาได้ ๗ แห่ง เพื่อใช้เป็นที่เก็บน้ำ ที่ต้องเดินทางไปลำเลียงน้ำ จากสระแม่นางเอ เพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหาร และการใช้เพื่อการเลี้ยงดู พระราชโอรส ที่เพิ่งประสูติมา บ่อน้ำดังกล่าว จึงถูกเรียกชื่อว่า บ่อ ๗ แห่ง ของ ถ้ำแม่นางเอ หรือ ถ้ำพระกฤษณะ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน
ขณะที่ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) เลี้ยงดูพระราชโอรส รอการกลับมา ของ พระกฤษณะ นั้น พระนางเมฆขลา ผูกแปล ไกวเปล กล่อมโอรส อยู่ที่ใต้ต้นไม้ใกล้ถ้ำ บริเวณที่ตั้งเจดีย์พระกฤษณะ ในปัจจุบัน บังเอิญสายเปล ขาด พระราชโอรส หัวกระแทกพื้นก้อนหิน สิ้นพระชนม์ เป็นเหตุให้ พระนางเมฆขลา เสียพระทัยมาก ใช้สายเปล แขวนคอ ใต้กิ่งไม้ สิ้นพระชนม์ ตามไปด้วย
ภาพที่-๑๒ ภาพเจดีย์พระกฤษณะ ตั้งอยู่ใกล้ถ้ำพระกฤษณะ ภูเขานางเอ อ.ไชยา สถานที่ซึ่ง พระนางเมฆขลา และ พระราชโอรส สิ้นพระชนม์ และเป็นสถานที่ซึ่ง พระกฤษณะ บรรลุโพธิญาณ กล่าวกันว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เคยเสด็จจาริกแสวงบุญมาเคารพ พระกฤษณะ ณ เมืองมิถิลา เมื่อปี พ.ศ.๒๙๗ จึงได้ร่วมกับ ท้าวเชียงแมนสม ก่อสร้างเจดีย์พระกฤษณะ ไว้ในการเสด็จครั้งนั้นด้วย เจดีย์พระกฤษณะ ได้ถูกบูรณะหลายครั้ง และครั้งสุดท้าย คณะผู้พิพากษา จ.สุราษฎร์ธานี ได้ร่วมกันบูรณะขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑
เมื่อพระกฤษณะ เสด็จจากเกาะพระกฤต(เกาะชวา) ดินแดนเกษียรสมุทร มายัง เมืองมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ เพื่อรับ พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) กลับไปยังเกาะพระกฤต ก็พบเพียงกองกระดูก ของ พระนาง และ โอรส กองอยู่ ณ บริเวณที่ตั้ง เจดีย์พระกฤษณะ เท่านั้น เจ้าชายกฤษณะ จึงเสียพระทัยมาก กลายเป็นผู้ถือศีล อยู่ที่ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) และนั่งกรรมฐานอยู่ที่ เจดีย์พระกฤษณะ จนกระทั่งได้ ตรัสรู้ มีพลังจิตรที่เข้มแข็ง สามารถสร้าง รอยพระบาทฝ่ายซ้าย บนพื้นหิน ด้วยพลังจิต ของพระองค์เองได้สำเร็จ ปรากฏหลักฐาน สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพที่-๑๓ ภาพรอยพระบาทเบื้องซ้าย ของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ บริเวณใกล้หน้าผาหิน ใกล้เจดีย์พระกฤษณะ บริเวณภูเขาแม่นางเอ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ภาพนี้ ใช้แป้งโรย ในร่องพระบาท เพื่อถ่ายภาพ เปรียบเทียบขนาดกับปากกาลูกลื่น ให้เห็นปรากฏ ภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พระกฤษณะ ยังสามารถได้ใช้พลังจิตร ก่อให้เกิด แผ่นดินไหว แผ่นดินแยกตัว เกิด ภูเขาสุวรรณคีรี ขึ้นมา กลางทะเล ของ เมืองมิถิลา(ไชยา) และ ภูเขาน้ำร้อนขึ้นอีก ๔ ลูก ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย คือ ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาลาวสูง , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาทุ่งใหญ่ , ภูเขาน้ำร้อนพ่อตาหาร และ ภูเขาน้ำร้อนเขาพลู จึงเรียกภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูกดังกล่าวว่า ภูเขาโควรรธนะ และได้มาเปลี่ยนชื่อ ภูเขาน้ำร้อนทั้ง ๕ ลูก ในเวลาต่อมา ตามชื่อที่กล่าวมา
ด้วยอิทธิฤทธิ์ ดังกล่าว ทำให้ พระกฤษณะ ได้รับการนับถือ กลายเป็นศาสดาของลัทธิหนึ่ง ของ ศาสนาพราหมณ์ เผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง มหาราชาพญาฆา และ พระนางเพฆา อัครมเหสี ของ พญาฆา มาขอสมัครเป็นศิษย์ เป็นที่มาของการใช้คำไทย คำว่า พญาฆา(พะยาคะ) และ เพฆา(เพค่ะ) มาใช้ในการลงท้าย ในการเข้าเฝ้ากษัตริย์ของชนชาติไทย ในเวลาต่อมา สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในขณะที่ พระกฤษณะ เผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ นั้น พระกฤษณะ ได้ทำนายว่า ต่อไป จะเกิด เกาะดอนขวาง ขึ้นมารอบๆ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งจะกลายเป็นศูนย์อำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต พื้นที่ดังกล่าว จะเป็นศูนย์กลางเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ และเข้าสู่ดินแดน เกษียรสมุทร ในภพชาติต่อไป ของ พระกฤษณะ หรือ จตุคามรามเทพ ด้วย
ภาพที่-๑๔ ภาพสลัก ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง แสดงเรื่องราวของ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ กำลังแสดงอภินิหาร ให้กำเนิด ภูเขาโควรรธนะ ภาพสลักนี้ ปรากฏอยู่ที่หน้าบัน ด้านทิศตะวันออก ของ ปราสาทประธาน
เมื่อพระกฤษณะ สวรรคต ไป ดวงวิญญาณ ของ พระกฤษณะ มีอยู่ ๒ ภาค คือ ภาคคุณธรรม และ ภาคนักรบ ดังนั้น ในภพชาติต่อมา จึงเชื่อกันว่า วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ ได้ อวตาลมาประสูติเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ ส่วน พระนางเมฆขลา(แม่นางเอ) ได้มาประสูติเป็น พระนางพิมพา ส่วนพระราชโอรสที่เสียชีวิตไป ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น เจ้าชายราหุล เพราะความเชื่อเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อก่อกำเนิด พระพุทธศาสนา ขึ้นมาในสมัยต่อมา เพราะความเชื่อดังกล่าว ได้ส่งผลต่อมา ในการนำ พระพุทธศาสนา เข้ามาเผยแพร่ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่ง รัฐของชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้ใช้พระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ สืบทอดเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๗๕ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐของชนชาติไทย จึงค่อยๆ เพี้ยนไปในปัจจุบัน
ภาพที่-๑๕ รูปถ่าย ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเป็นหนึ่งในห้า ของ ภูเขาโควรรธนะ จำนวน ๕ ลูก ซึ่งล้วนมีน้ำพุร้อน ผุดออกมา เชื่อกันว่า กำเนิดขึ้นพร้อมๆ กันในขณะที่ จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ กำลังบำเพ็ญความเพียร ณ ภูเขาแม่นางเอ
ส่วนวิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ เป็น ขุนราม พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ มหาจักรพรรดิท้าวอู่ทอง แห่ง สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ กรุงอู่ทอง(ราชบุรี) คืออีกภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ คือภพชาติที่ ๓ นั่นเอง
ส่วน พระนางเมฆลา ได้ไปประสูติในภพใหม่เป็น พระนางพิมพา เมื่อสิ้นพระชนม์ไป วิญญาณได้มาประสูติในภพใหม่เป็น พระนางศรีจันทร์ อัครมเหสี ของ ขุนราม นั่นเอง ส่วน เจ้าชายราหุล ได้มาประสูติเป็น เจ้าชายภาณุ พระราชโอรส ของ ขุนราม ผู้นำพระพุทธศาสนา ไปเผยแพร่ในดินแดนเกษียรสมุทร ในสมัยต่อมา
ด้วยความเชื่อที่ว่า พระนารายณ์ ได้อวตารมาเป็น กฤษณาวตาร หมายถึงพระนารายณ์อวตาร มาเป็นพระกฤษณะ ซึ่งได้มาเกี่ยวข้องกับ ดินแดนสุวรรณภูมิ และการที่วิญญาณภาคคุณธรรม ของ พระกฤษณะ อวตารในภพชาติถัดมา คือ พุทธาวตาร หมายถึงการที่ พระนารายณ์ อวตารลงมาเป็น พระพุทธเจ้า และต่อมา วิญญาณภาคนักรบ ของ พระกฤษณะ ได้อวตาร ลงมาเป็น ขุนราม หรือ จตุคามรามเทพ อีกหลายครั้ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อดับทุกข์เข็ญหลายครั้งให้กับชนชาติไทย ด้วยความเชื่อเหล่านี้ ได้ส่งผลต่อโครงสร้างชั้นบนของ สังคมไทย และ กระบวนการพัฒนา ของ สังคมไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ ตลอดจน กระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ ของสังคมไทย ในอดีต มาจนถึงปัจจุบัน ด้วยชนชาติไทย ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การหลอมเหล็ก
นับตั้งแต่รัชสมัย ของ ท้าวพญาฆา นำศาสนาพราหมณ์ มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติในดินแดนสุวรรณภูมิ เนื่องจากความสัมพันธ์กับ พระกฤษณะ ตามที่กล่าวมา รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ก็เข้มแข็งมากขึ้น มี แว่นแคว้น ต่างๆ เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ หลายแว่นแคว้น จนกระทั่งเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปี ก่อนพุทธศักราช ชนชาติอ้ายไต ในดินแดน มหาอาณาจักรหนานเจ้า พ่ายแพ้สงครามเหล็ก กับ มหาอาณาจักรเจ็ก(ประเทศจีน) เป็นเหตุให้ ชนชาติอ้ายไต อพยพลงมาตั้งรกรากยังดินแดนสุวรรณภูมิ ครั้งใหญ่ อีกครั้งหนึ่ง เป็นเหตุให้ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้พัฒนากลายเป็น มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย
ชนชาติไทย ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การหลอมเหล็ก
ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ก่อนหน้านี้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เคยมีนครหลวงอยู่ที่ เมืองเฉิงตู ของ แคว้นเสฉวน ในประเทศจีน ปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต เคยมีความสามารถในการสร้างเครื่องมือโลหะสัมริด คือโลหะผสมระหว่างทองคำและดีบุก สามารถนำไปใช้สร้างเป็นอาวุธ เพื่อการใช้ทำสงคราม ผู้ที่มีอาวุธโลหะสัมริด ใช้ มักจะเป็นกษัตริย์ หรือ พวกขุนนาง และทหาร ทำให้ อาณาจักรหนานเจ้า ครอบครองดินแดนจีน ในปัจจุบัน เป็นส่วนใหญ่ ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุข มีสงครามเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว กับ ชนพื้นเมือง "พวกแย่" ชนเผ่า ฉวนหรุง เท่านั้น
ภาพที่-๑๖ ภาพฆ้อง โลหะสัมริดโบราณ ของ ชนชาติอ้ายไต ขุดพบที่ ใกล้เมืองเฉิงตู แคว้นเสฉวน ประเทศจีน อดีตราชธานี ของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ลักษณะลายไทย เป็นแบบเดียวกับ ฆ้องโลหะสัมริด ที่ขุดพบในดินแดนสุวรรณภูมิ แสดงให้เห็นว่า ชนชาติอ้ายไต รู้จักหลอมโลหะสัมริด มาใช้ นานแล้ว
หลักฐานเครื่องใช้โลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งประเทศจีน ขุดพบที่ เมืองกวงหันเสี้ยน ห่างจาก เมืองเฉินตู ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นอดีตที่ตั้ง ราชธานี ของ แคว้นเสฉวน ได้ขุดพบโลหะสัมริด ประมาณ ๕,๐๐๐ ชิ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงหลักฐานของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งมีการนำทองคำ จาก ดินแดนสุวรรณภูมิ ปีละ หนึ่งแสนขัน ไปใช้สร้างเครื่องใช้โลหะสัมริด ทั้งนี้เพราะ จากการสำรวจดินแดนทาง ภาคกลาง และ ภาคใต้ของประเทศจีน ไม่พบแหล่งทองคำ จำนวนมากแต่อย่างใด มีเพียงโลหะเงิน และ แร่เหล็ก เป็นจำนวนมาก เท่านั้น
ในสมัยของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ซึ่งมีกษัตริย์ ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมา ๒๕ พระองค์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ครั้งใหญ่ เกี่ยวกับการผลิตอาวุธ ของ อาณาจักรเจ็ค ทั้งนี้เพราะ มีการค้นพบแหล่งแร่เหล็ก ที่ แคว้นฉี เป็นจำนวนมาก จึงเกิดการหลอมเหล็ก เกิดขึ้นมาใช้แทนที่ โลหะสัมริด กษัตริย์ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ได้ส่งเสริมการหลอมเหล็ก ที่ แคว้นฉี เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือการผลิต เช่น มีด ขวาน จอบ ไถ เป็นต้น และยังสามารถหลอมเหล็กมาสร้างเป็นอาวุธ เพื่อใช้ในการทำสงคราม เพราะอาวุธที่ทำจากโลหะเหล็ก มีความแข็ง มากกว่าอาวุธที่ทำจาก โลหะสัมริด มาก อาณาจักรเจ็ก จึงเริ่มก่อสงครามรุกรานชนชาติอ้ายไต ยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การหลอมโลหะเหล็ก เป็นต้นมา
หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน กล่าวว่า อาณาจักรเจ็ก ในสมัย ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก ได้พบแร่เล็ก ตามภูเขาต่างๆ ประมาณ ๓,๐๐๐ แห่ง ที่ แคว้นฉี จึงมีการถลุงเหล็ก กันที่ เมืองหลินจือ พื้นที่ มณฑลซานตุง ในปัจจุบัน โดยมีพื้นที่ซึ่งมีการถลุงเหล็ก โดยทั่วไป เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความสามารถในการหลอมเหล็ก และผลิตโลหะเหล็ก ดังกล่าว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในดินแดนของ อาณาจักรเจ็ค ทั้งด้าน การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม และส่งผลให้ อาณาจักรเจ็ค มีความเข้มแข็ง และเริ่มก่อสงครามกับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อทำสงครามแย่งชิงดินแดนส่วนใหญ่ และ ทองคำอันมหาศาล ในท้องพระคลังหลวง ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครอง ด้วย
เมื่อ อาณาจักรเจ็ค มีความสามารถในการผลิตอาวุธ จาก แร่เหล็ก จึงเริ่มก่อสงคราม ยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทันที แคว้นแมนสม(แคว้นเว่ย)ถูกอาณาจักรเจ็ค ส่งกองทัพยึดครองไปด้วย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า แคว้นเว่ย ทำให้สายราชวงศ์แมนสม ได้หลบหนีสงคราม ไปทางทะเล มุ่งขึ้นสู่ทิศเหนือ ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมือง พวกแย่ ชนเผ่าจู(ตี)ร์และได้สร้างแว่นแคว้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า(แมนจูเรีย) ขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์แมนสม อีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ในเกาะใต้หวัน แล้วตั้งแว่นแคว้นขึ้น เรียกว่า แคว้นแมนสรวง(ไตหวัน) ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ในเวลาต่อมา สายราชวงศ์แมนสม ส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ณ แคว้นมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้เรียกชื่อใหม่ว่า เมืองแมนที่ลา และเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโกสมพี อีกครั้งหนึ่ง
ความสามารถในการหลอมเหล็ก ของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครื่องมือการผลิต เช่น ขวาน มีดพร้า เลื่อย หัวขวานไถ คราด สิ่ว สว่าน เป็นต้น เครื่องมือการผลิตเหล่านี้ ทำให้เกิดการพัฒนาพลังการผลิต ขึ้นครั้งใหญ่ ทั่วทั้งดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งได้กวาดต้อน ชนชาติอ้ายไต ไปเป็นพลเมือง เป็นจำนวนมาก มีการถางป่า ขยายพื้นที่การปลูกข้าว และการเพาะปลูกพืชผลการเกษตร ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น ก็เกิดการขยายตัวของพลเมืองแต่ละแว่นแคว้น เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วย การค้าก็ขยายตัว เศรษฐกิจ ก็เฟื่องฟูขึ้นด้วย มีการใช้เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ก็ขยายตัวมากขึ้น กองเกวียนค้าขาย ระหว่างแว่นแคว้น มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ประชากรของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในขณะนั้น เพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ ๕๐-๖๐ ล้านคน กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ก จึงกลายเป็นกองทัพใหญ่ เหนือกว่า มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งต้องย้ายราชธานีมาอยู่ที่ เมืองหนองแส
ผลของเทคโนโลยีการหลอมโลหะเหล็ก ทำให้ชนชาติอ้ายไต ได้ปะทะกับโลกาภิวัตน์ เป็นครั้งแรก เนื่องจากความล้าหลังทางเทคโนโลยี ของ ชนชาติอ้ายไต ส่งผลให้ดินแดนส่วนใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต ตั้งแต่เมืองเซี่ยงไฮ้ ลงมา ถึง นานกิง และ แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตังเกี๋ย) ต้องสูญเสียไปให้กับชนชาติเจ็ค เป็นส่วนใหญ่ ชนชาติอ้ายไต สูญเสียชีวิตในสงครามสมัยนั้นมากมาย จนกระทั่งกำเนิดประเพณี ลอยประทีป และ ลอยโคมไฟ เพื่อส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ตำนานเรื่อง ขุนเหล็ก อดีตชาติ ของ พระยาพาน ซึ่งเล่ากันในหมู่ผู้สูงอายุ ในท้องที่ภาคใต้ คือเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงสมัยที่ชนชาติอ้ายไต ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ ครั้งนั้น ด้วย
ตามตำนานอดีตชาติ ของ พระยาพาน พระราชบิดาของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ในภพชาติของ ขุนเหล็ก มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในสมัยสงครามเหล็ก ได้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต จากลุ่ม แม่น้ำนที เกิดขึ้นก่อน สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ชนชาติอ้ายไต ส่วนหนึ่งเคยตั้งรกรากอยู่ที่ แม่น้ำนที ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน เพราะเกิดการพ่ายแพ้สงคราม กับ อาณาจักรเจ็ค จึงต้องอพยพมาตั้งรกราก สร้าง แคว้นนที(อยุธยา) ขึ้นตามชื่อแม่น้ำ ที่เคยตั้งรกรากเดิม มีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ชีวิตของพระยาพาน ในเชิงการสอนใจเด็กๆ ว่า ในอดีตชาติของ พระยาพาน ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นั้น พระยาพาน ได้ประสูติมาในดินแดน ลุ่มแม่น้ำนที ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มีพระนามว่า เจ้าชายเหล็ก และมาเติบใหญ่ ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ
ในยุคสมัยนั้น ชนชาติอ้ายไต ยังใช้อาวุธ ที่ผลิตขึ้นจากโลหะสัมริด ในการทำสงคราม แต่ชนชาติเจ็ค มีความสามารถในการหลอมเหล็ก ตีเหล็ก จึงมีความสามารถในการผลิตอาวุธประเภทต่างๆ ที่ทำด้วยเหล็ก ซึ่งมีความทนทานกว่า อาวุธที่ทำด้วยโลหะสัมริด เป็นที่มาให้ชนชาติอ้ายไต พ่ายแพ้สงคราม ถูกฆ่าตาย และถูกยึดครองดินแดน ไปเป็นจำนวนมาก จึงเกิด ประเพณีลอยประทีป-โคมไฟ เพื่อการ สะเดาะเคราะห์ และเพื่อส่งดวงวิญญาณ บรรพชน ผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนั้น เป็นประเพณีสืบทอดเรื่อยมา และถูกนำเข้ามาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย
ในขณะที่ เจ้าชายเหล็ก ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น แคว้นนที ถูก มหาอาณาจักรเจ็ก รุกรานเช่นกัน ราชาแห่ง แคว้นนที ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ เจ้าชายเหล็ก พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถทำการสู้รบกับ กองทัพแห่งอาณาจักรเจ็ก ซึ่งมีอาวุธที่ทันสมัยกว่าได้ จึงตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ลงมาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ มาตั้งเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยามีชื่อเรียกว่า แม่น้ำนที มาก่อน และเรียกสืบทอดเรื่อยมา เจ้าชายเหล็ก ได้อพยพมาในสงครามครั้งนั้นด้วย จึงมีการนำประเพณี ลอยประทีป-โคมไฟ มาใช้สืบทอดต่อเนื่อง ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย
เมื่อเจ้าชายเหล็ก แตกเนื้อหนุ่ม ก็เริ่มจีบสาวสนมกรมวัง เพราะอยากมีคู่ชีวิต มาอภิเษกสมรสด้วย ซึ่งมีโอกาสในฤดูกาล วันที่มีประเพณี การลอยประทีป-โคมไฟ ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ นั้น มีสาวสนมกรมวัง ในพระราชวัง ออกมาร่วมสืบทอดประเพณีลอยประทีป-โคมไฟ ณ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นจำนวนมาก เจ้าชายเหล็ก ได้กลั่นแกล้งสาวสนมกรมวัง โดยลงไปซ่อนตัวใน แม่น้ำนที เพื่อนำเอากระทงประทีป ของสาวสนมกรมวัง ซึ่งได้ทำพิธี ปล่อยกระทงประทีป ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ ของ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) ไปซ่อนเอาไว้ ไม่ให้ลอยไปตามกระแสน้ำ เพื่อสร้างเงื่อนไข ถือโอกาส จีบสาวสนมกรมวัง ต่อมากลุ่ม สาวสนมกรมวัง ดังกล่าวทราบว่าถูกกลั่นแกล้ง จึงร่วมกันสาปแช่งว่า
"...ขอให้ผู้ที่ชอบมากลั่นแกล้ง ให้มีอันเป็นไป ถ้าเกิดชาติหน้า ขออย่าให้ได้อยู่อาศัย กับ พ่อแม่..."
เมื่อเจ้าชายเหล็ก มาช่วยราชการพระราชบิดา มีพระนามว่า ขุนเหล็ก เป็นผู้ค้นหา แร่เหล็ก จนสามารถหลอมเหล็ก และตีเหล็ก สร้างอาวุธ และเครื่องมือการผลิต มาใช้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ทำให้พระนามของ ขุนเหล็ก ถูกนำมาใช้เป็นคำไทย เพื่อเรียกชื่อ แร่เหล็ก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ขุนเหล็ก ได้ไปปกครองเมืองพิชัย แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) เป็นแหล่งหลอมเหล็ก ในดินแดนสุวรรณภูมิ และเมื่อ ขุนเหล็ก สวรรคต คำสาปแช่งของ สาวสนมกรมวัง ได้ส่งผล กลายเป็นเรื่องจริง ในภพชาติ ที่เจ้าชายเหล็ก ผู้ชอบกลั่นแกล้ง สาวสนมกรมวัง ได้ประสูติมาเป็น พระยาพาน ในภพชาติต่อมา จึงต้องชดใช้กรรม จึงมิได้อยู่ร่วมกับ บิดามารดา ตามคำสาปแช่ง ที่สาวสนมกรมวัง เคยร่วมกันสาปแช่งไว้
ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ เจ้าขุนเหล็ก ได้ถ่ายทอดวิชาการหลอมเหล็ก การตีเหล็ก สืบทอดมาถึง สายราชวงศ์เจ้าอ้ายลาว คือ ปู่เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ผู้ทำเลื่อยเล็ก ขึ้นมาใช้ ในสมัยต่อๆ มา ตำนานเรื่องนี้ สะท้อนเรื่องราวความเป็นมา ของ สงครามเหล็ก ที่เกิดขึ้น และยังให้ข้อมูลความเป็นมาของชื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ว่าเคยมีชื่อว่า แม่น้ำนที อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสะท้อนเรื่องราวความเป็นมาของคำไทย คำว่า "เหล็ก" และยังให้ข้อมูลว่า การหลอมเหล็กครั้งแรก ของ ชนชาติอ้ายไต ว่าเกิดขึ้น ณ แคว้นพิชัย คือท้องที่ จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน อีกด้วย
เหตุการณ์สงครามเหล็ก ได้เกิดสงครามต่อเนื่องมาถึง สมัยฉินซีฮ่องเต้ นักประวัติศาสตร์ของจีน และนาๆ ชาติ ในปัจจุบัน ยอมรับว่า มีการอพยพ และการดูดกลืน ชนชาติอ้ายไต และชนพื้นเมือง พวกแย่ ไปรวมเป็นประชากรของอาณาจักรเจ็ค ในเวลาต่อมา
จากการสำรวจประชากรจีนทั้งหมดในปัจจุบัน พบหลักฐานว่า ประชากรจีน หลายร้อยล้านคน ในดินแดนภาคใต้ ทางภาคกลาง ทางภาคตะวันออก และ ทางภาคตะวันตก ของดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มิได้เป็นบรรพชนเชื้อสายจีน มาก่อน โดยเฉพาะในดินแดนทางตอนใต้ ของ แม่น้ำหยางจื้อ ล้วนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งทางจีนเคยเรียกว่า ไป่เย่ว หมายความว่า เป็นชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ชนพื้นเมืองดังกล่าว คนไทยเรียกกันมาอย่างยาวนานแล้วว่า พวกแย่ ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ ได้มาผสมเผ่าพันธุ์ กับชนชาติอ้ายไต จนแยกออกเป็นหลายชนเผ่า
กำเนิด แคว้นสุวรรณเขต เส้นแบ่งเขตแดน ดินแดนสุวรรณภูมิ
เนื่องจากสงครามการรุกรานของ มหาอาณาจักรเจ็ค สมัยสงครามเหล็ก สมัย ราชวงศ์โจว์ ครั้งนั้น ได้เกิดการอพยพของชนชาติไต ครั้งใหญ่ เป็นครั้งที่สาม เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ขัดแย้งกับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพราะมหาอาณาจักรหนานเจ้า ต้องถอยร่น และขยายดินแดนเข้าสู่ ดินแดนอ้ายลาว ส่งผลให้เกิดการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันขึ้น เป็นที่มาให้เกิด เมืองสุวรรณเขต และ แคว้นสุวรรณเขต ขึ้นมาเป็นแนวเขตแดน ระหว่าง อาณาจักรสุวรรณภูมิ กับ อาณาจักรหนานเจ้า
ยึดถือว่า ดินแดนของ แคว้นสุวรรณเขต ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขง เป็นดินแดนของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วนดินแดนทางตอนเหนือ ของ แคว้นสุวรรณเขต คือ แคว้นอ้ายลาว ถือเป็นดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ดังนั้นดินแดน คาบสมุทรเขมร และ คาบสมุทรจามปา ในอดีต คือดินแดน ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ก่อนที่ มหาอาณาจักรเจ็ค จะใช้ ชนชาติทมิฬโจฬะ จากอินเดียใต้ ที่มาตั้งรกรากในดินแดนเกษียรสมุทร เป็นเครื่องมือ ให้อพยพเข้ามาครอบครอง ดินแดนประเทศเขมร และ เวียตนาม ในปัจจุบัน ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง
การที่ มหาอาณาจักรเจ็ค ทำสงครามยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต ไปครอบครอง จึงส่งผลต่อมาให้เกิดสงครามระหว่าง ชนชาติไทยกับ ชนชาติเจ็ค อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สงครามเหล็ก , สงครามโคมคำ , สงครามโชกโชน , สงครามโพกผ้าเหลือง และ สงครามโรมรันพันตู เป็นต้น ทั้งนี้เพราะ ชนชาติอ้ายไต ต้องการทำสงครามแย่งชิงดินแดนกลับคืน มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ รัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงคราม กับ ประเทศจีน ในเวลาต่อมา อย่างต่อเนื่องด้วย
พระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ
หลักฐาน ตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ บางตอน มีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จของพระพุทธเจ้า โดยสรุป ว่า
"...ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพาน พระองค์ได้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับ พระมหากัสสปะ และ พระอานนท์ โดยเดินทางจาก แคว้นราชคฤห์(ครหิต คันธุลี) ไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ(เวียงจันทร์) พระองค์ได้ตรัสพยากรณ์เรื่องราวของบ้านเมืองของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้สองระยะ ระยะแรก ในสมัยของราชวงศ์พระเจ้าอโศกมหาราช ของอินเดีย จะมีการสร้าง เมืองเวียงจันทร์ ขึ้น ณ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ และพระอรหันต์ จะนำพระบรมธาตุของพระองค์ มาเก็บรักษาไว้ ณ เมืองเวียงจันทร์ รวมทั้งจะมีการสร้าง เมืองดอยนันทกังรี(ลานช้าง) ขึ้นด้วย
หลังจากนั้นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขง เข้าสู่ แคว้นศรีโคตรบูรณ์ และพำนักที่ ดอยกัปปนคีรี(ภูกำพร้า) พร้อมกันนั้น พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ได้ทำนายว่า ในอนาคต พระยาโคตรบูรณ์ จะเกิดมาที่เมืองร้อยเอ็ด ชาติหนึ่ง แล้วเกิดเป็น พระยาสุมิตรธรรม ณ เมืองมรุกนคร อีกชาติหนึ่ง แล้วจะนำพระอุรังคธาตุ ไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) ได้เทศนาให้พญาสุวรรณภิงคาร ฟัง พร้อมประทับรอยพระบาทไว้ แล้วเสด็จกลับไปยัง นครราชคฤห์(โพธาราม) รับสั่งพระมหากัสสปะ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จนิพพาน ให้นำเอาพระอุรังคธาตุ มาไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) เหตุการณ์หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับไปยัง ภูกูเวียน อีกครั้งหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้า ก็เสด็จกลับ พร้อมกับได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ ดอยนันทกังรี(แคว้นลานช้าง) ก่อนเสด็จกลับอินเดีย..."
ตามเนื้อหาบันทึกของตำนานอุรังคธาตุ แสดงให้เห็นว่า เส้นทางเดินทางของพระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะ พร้อมกับ พระอานนท์ ได้เคยเสด็จมาโดยทางเรือ จากอินเดีย มาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ โดยเสด็จมาประทับ ณ เมืองราชคฤห์(ภูเขาภิกษุ คันธุลี) ต่อมาพระองค์ พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เล่นเรือจาก กรุงราชคฤห์(คันธุลี) ไปยังอ่าวลึก ระหว่างคาบสมุทรจามปา กับคาบสมุทรเขมร ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้น มีอ่าวลึกเข้าไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง ไปผ่านเมืองสุวรรณเขต พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ คือ เมืองเวียงจันทร์ ในปัจจุบัน แล้วเสด็จย้อนกลับ ไปตามลำน้ำโขง ไปยัง แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) โดยได้ไปประทับอยู่ที่ ภูกำพร้า แล้วเสด็จกลับทางบก ไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) แล้วเสด็จทางเรือกลับไปยังกรุงราชคฤห์ ซึ่งพระมหากัสสปะ รออยู่ หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จโดยทางเรืออีกเที่ยวหนึ่ง ไปยัง ภูกูเวียน(เมืองพานกง) บริเวณเทือกเขาภูพาน แล้วเสด็จต่อไปยัง ดอยนันทการี(ลานช้าง) คือเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน จึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ อีกครั้งหนึ่ง
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คนไทยผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ มีความเชื่อถึงการเข้ามาของพระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ สองกลุ่ม กลุ่มแรก เชื่อว่า พระพุทธศาสนา เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มที่สอง เชื่อว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระพุทธเจ้า นั่นเอง เพราะหลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย โดยมีพระภิกษุ จำนวนหนึ่ง ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นครหิต(คลองหิต) โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ
ความเชื่อที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังอาณาจักรสุวรรณภูมิ นอกจากมีบันทึกไว้ใน ตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นตำนานการก่อสร้างพระบรมธาตุนครพนม แล้ว ยังมีปรากฏใน บทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ และยังปรากฏในคำกลอนบวงสรวงดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี อีกด้วย กล่าวกันว่า พระพุทธเจ้า เสด็จมายังเกาะศรีลังกา และได้เสด็จต่อมายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยได้มาลงเรือ ณ ท่าเรือของ ภูเขาพนมสายรุ้ง หรือ ภูเขาพนมเบญจา ในท้องที่ ของ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จโดยทางเรือ มาสู่อ่าวไทย จากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งเชื่อมต่อ แม่น้ำตาปี มายัง ภูเขาสุวรรณคีรี และเสด็จต่อไปยัง สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เมือง ครหิต(คันธุลี) ก่อนที่จะเสด็จไปยัง กรุงราชคฤห์(ราชบุรี)
ในสมัยต่อมา เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้สร้างพระพุทธบาท จำลองไว้ ณ สถานที่ต่างๆ ๕ แห่ง พร้อมกับการพระราชทานชื่อ ภูเขาพนมสายรุ้ง เป็นชื่อใหม่ว่า ภูเขาพนมเบญจา เพื่อสื่อความหมายถึง พระพุทธเจ้า เคยเสด็จลงเรือมายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นที่มาของ รอยพระบาท ๕ แห่ง พร้อมกับได้แต่งบทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์พระบาทพระพุทธองค์ โดยมีเนื้อหาบางตอน ที่ขอคัดเลือกมากล่าวไว้ มีข้อความคำสวด บางตอน ดังนี้
"...พระเจ้าสรรญ์เพชร พระเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา
มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาทองค์
พระเจ้าย่างกราย บัวทองรองบาท มาบันดาลให้
ที่ไหนไม่สบาย พระพายพัดพาน มีมาสาบาน นมัสการพระองค์
หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง
ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบง พระเจ้าเสด็จลง บาทดำเนินสบาย
พระเจ้าเสด็จประภาส บัวทองรองบาท มาบันดาลให้
ไม่ให้ปรากฏ แก่ลูกหญิงชาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทสา
พระศาสดาจารย์ เสด็จเข้านิพาน ล่องลับเอกา
ยังมีแต่รอย บาทบง พระศาสดา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี
พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เขาบรรพต สุวรรณคีรี(ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา)
พระบาทสองนั้นซ้าย อยู่ในกรุงศรี ประเทศธานี โยนกนคร(หลวงพระบาง)
พระบาทสามนั้นโศก อยู่เขาบรมโกษ ลังกาบวร(เขาบรมโกษ ประเทศศรีลังกา)
พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร นพรัตน์บุรี(ภูเขาสุวรรณบรรพต สระบุรี)
พระบาทห้า ประดิษฐาน อยู่แถบชลธาร แม่น้ำนที(อยุธยา)
เป็นที่วันทา เทวาธิบดี ฝูงปลากุมภีร์ เข้าเฝ้าวันทา
พระบาทห้าแห่ง พระพุทธองค์สำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น
เป็นที่วันทา นกกาสัตว์สัน มนุษย์สกุนทัน อสุราอสุรี
ลายลักษณ์เลิศไกร ไว้สั่งสอนใจ หญิงชายถ้วนหน้า
หัวค่ำไก่ขัน ทุกวันอัตตา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจทุกวัน
ใครท่องลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน
ได้พบพระองค์ ผู้ทรงในธรรม จำไว้ให้มั่น อย่าได้อุเบกขา...."
เนื้อหาของคำสวดมนต์ ตาม คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ª-๕ดังกล่าว ซึ่งกล่าวถึงพระบาทของพระพุทธองค์ ๕ แห่ง ซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้เป็นผู้ประดิษฐ์สร้างขึ้นไว้ เป็นอนุสรณ์ ในสมัยต่อๆ มา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนานว่า พระพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ทรงสร้างรอยพระบาทจำลอง ไว้เป็นสัญลักษณ์ ๔ แห่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ และประดิษฐานไว้ในดินแดนศรีลังกา อีก ๑ แห่ง
ยังมีบทสวดมนต์ อีกบทหนึ่ง กล่าวว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๑๗ เพื่อใช้ในการบวงสรวงเซ่นไหว้พระพุทธบาทเบื้องขวา ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กล่าวกันว่า ครั้งแรกเป็นการใช้ในการทำพิธีกรรม มหาไชยาบรมราชาภิเษก ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร และ จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท ในสมัยกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม ต่อมา ทุกๆ ปี เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะต้อง ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ทุกวันสงกรานต์ เป็นไปตามพิธีกรรม ตามศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้เพื่อบวงสรวงรอยพระบาทพระพุทธองค์ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ก่อนที่จะมีการสวดมนต์ตามคำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ หลังจากนั้นจึงจะเป็นพิธีกรรม ของพระสงฆ์ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คำกลอนบวงสรวงดังกล่าว มีเนื้อหากล่าวถึง ๒ ภพชาติของพระพุทธเจ้า คือภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระกฤษณะ และภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระพุทธเจ้า คำบวงสรวงบางตอน ว่าไว้ดังนี้ª-๖
"...พระบาทที่หนึ่ง เขาล้อมขอบเขต(ภูเขานางเอ) เป็นเทศที่หนึ่ง พระบาทที่สอง อยู่คลองราชคฤห์ (แม่น้ำแม่กลอง) พระบาทที่สาม อยู่เหนือศิลา อยู่บนแผ่นภูผา ศิลาภูเขา(ภูเขาพนมเบญจา กระบี่) พระบาทที่สี่ เมืองลังเขาตั้ง พระบาทฝ่ายขวา อยู่เมืองลังกา เป็นที่พึ่งรักษา แก่สาธุชน พระบาทพระองค์ เมื่อส่งไปไว้ กลับ โปรดมาใหม่ ขอเป็นฝ่ายซ้าย จะตั้งเรียงราย เป็นเขตแผ่นผา พระพุทธองค์ เขาลงมาใหม่ ถึงผาที่ต่ำ มาถึงหน้าถ้ำ ของคูหาใหญ่(ภูเขาสุวรรณคีรี)..."
เนื้อหาตามคำกลอนการบวงสรวงเซ่นไหว้รอยพระบาทพระพุทธองค์ และการบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ตามพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา มีเนื้อหาสรุปถึงความเชื่อของคนไทยได้ว่า ในภพชาติที่ พระรามจันทร์ ได้ อวตาลมาเป็น จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ นั้น พระกฤษณะ ได้เคยเสด็จไปหลายท้องที่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้สร้างรอยพระบาทจำลองไว้เป็นที่ระลึก ตามพื้นที่สำคัญซึ่ง พระกฤษณะ เคยเสด็จไปประทับ
พื้นที่พระบาทที่ ๑ คือ บริเวณ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน พื้นที่พระบาทที่ ๒ อยู่ที่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเรียกว่า คลองราชคฤห์ คือท้องที่ จ.ราชบุรี ในปัจจุบัน ส่วน พระบาทที่ ๓ ของ พระกฤษณะ นั้น ได้สร้างไว้ บริเวณภูเขาพนมเบญจา(ภูเขาพนมสายรุ้ง) ในท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน ส่วนพระบาทที่ ๔ ของ พระกฤษณะ ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมโศก สร้างไว้เดิม เป็นรอยพระบาทฝ่ายขวา แต่เมื่อส่งไปมอบให้ มหาราชาแห่ง ประเทศศรีลังกา กลับไม่พอพระทัย และขอมาใหม่ ให้จัดสร้างเป็น พระบาทฝ่ายซ้าย แทนที่
ต่อมาเมื่อ พระกฤษณะ ได้ อวตาล มาเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้เสด็จมายังภูเขาสุวรรณคีรี อีกครั้งหนึ่ง โดยได้มาประทับอยู่ที่ยอดภูเขา และได้เสด็จมาถึงหน้าถ้ำ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมา ซึ่งเรียกว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ จึงมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน
พระพุทธศาสนา เข้าสู่ ดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ภูเขาภิกษุ
จากการรวบรวมเอกสารโบราณเกี่ยวกับความเป็นมาทางพระพุทธศาสนา ของ พระปัญญาสามีเถระ ซึ่งเขียนขึ้นเป็นภาษาบาลี เสร็จเมื่อวันเพ็ญ เดือนอ้าย พ.ศ.๒๔๐๕ ชื่อ หนังสือศาสนาวงศ์ หรือ ประวัติพระพุทธศาสนา แปลโดย ศาสตราจารย์แสง มนวิทูล กรมศิลปากร หน้าที่ ๕๒-๕๖ กล่าวว่า ก่อนที่ พระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพาน ๓๕ ปี ได้มี พระภิกษุ ๒ องค์ เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ คือเหตุการณ์เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ได้ประมาณ ๗ สัปดาห์ กล่าวถึงพระภิกษุ ๒ องค์ คือ พระตปุสสะ และ พระภัลลิกะ เดินทางมาเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ
การศึกษาของ พระราชกวี(อ่ำ) ซึ่งเป็นผู้ค้นคว้าการเข้ามาของพระพุทธศาสนา ในดินแดนสุวรรณภูมิ อีกผู้หนึ่ง กล่าวว่า ชนชาวไตคนแรก ที่บวชเป็นพระภิกษุองค์แรกมีนามว่า พระปุณณเถระ ได้บวชเรียนอยู่ ๓ พรรษา ต่อมาได้นิมนต์พระพุทธองค์ให้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พระพุทธเจ้า จึงได้เสด็จมาประทับ ณ กรุงราชคฤห์(ครหิต คันธุลี)
ภาพที่-๑๗ แผนที่ ผังเมืองครหิต ราชธานี ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน ในภาพ แสดงที่ตั้งของ ภูเขาภิกษุ หรือ ภูเขาชวาลา ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักสงฆ์ภูภิกษุ ศูนย์กลางการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นครั้งแรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธกาล ตำนานท้องที่ ภูเขาชวาลา กล่าวว่า สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ ถูกกองทัพจีน โดยนายพลเจิ้งหัว ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ส่งกองทัพเข้าเผาทำลายเมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๕๕ จนกระทั่งร้างไป
เนื่องจากมีความเชื่อว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย แล้ว ได้มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นชนชาติอ้ายไต ซึ่งได้เดินทางไปบวชเรียน ณ ประเทศอินเดีย ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นคลองหิต(คันธุลี) โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครองของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ แต่อย่างใดนั้น ในเรื่องนี้มีบันทึกไว้ในพงศาวดารไทยอาหม ใกล้เคียงกับ ตำนานความเป็นมาของภูเขาชวาลา(ภูเขาภิกษุ) ในท้องที่ ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ด้วย
ภูเขาชวาลา เคยมีชื่อว่า ภูเขาภิกษุª-๗มีตำนานเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จมายัง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ซึ่งขณะนั้น ปกครองโดย มหาราชาเงาคำ และเมื่อ พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย แล้ว มีชายคนหนึ่งที่แคว้นคลองหิต ชื่อ "หารคำงาม" เป็นเชื้อสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ได้เดินทางตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปยัง อินเดีย ด้วย และได้ออกบวชเป็นพระภิกษุ ต่อมา ภิกษุหารคำงาม ได้เดินทางกลับมายังแคว้นครหิต(คลองหิต) และได้มาสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เพื่อทำการเผยแพร่พุทธศาสนา เป็นเหตุให้ ภูเขาชวาลา จึงถูกเรียกชื่อว่า ภูเขาภิกษุ ตั้งแต่นั้นมา
เนื่องจาก ในสมัยนั้น พระพุทธศาสนา ยังมิได้รับการยอมรับจากประชาชนชนชาติอ้ายไต มากนัก เพระมิได้รับการสนับสนุนจาก มหาราชาเงาคำ กษัตริย์ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เมื่อภิกษุหารคำ ถึงแก่มรณภาพ ก็ยังมี พระภิกษุสงฆ์ ใช้ภูเขาภิกษุ เป็นสำนักสงฆ์เผยแพร่พระพุทธศาสนา สืบทอดเรื่อยมา จนกระทั่งเกิดสงครามขึ้นที่ ทุ่งพระยาชนช้าง ภูเขาภิกษุ จึงถูกเปลี่ยนชื่อ โดย ขุนเทียน เป็นชื่อ ภูเขาชวาลา อีกครั้งหนึ่ง
บุญกุศลที่ ภิกษุหารคำงาม ได้สร้างไว้ ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) ทำให้ในภพชาติต่อมา หาญคำงาม ได้ไปประสูติ เป็นพระราชโอรส ของ พระนางสังฆมิตร และเป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ในประเทศอินเดีย มีพระนามว่า เจ้าชายสุมิตร ต่อมาพระองค์ได้กลับมาเป็นกษัตริย์ ของ แคว้นมิถิลา(ไชยา) ใกล้กับ แคว้นครหิต(คลองหิต) และได้เปลี่ยนพระนามใหม่เป็นภาษาไทย ว่า "หารคำ" ในเวลาต่อมา เป็นต้นราชวงศ์คำ และ ราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) และเป็นผู้ที่นำวิชาการต่างๆ มาใช้เพื่อการปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ให้เกิดแบบแผน และเป็นผู้ที่ นำพระพุทธศาสนา มาทำการเผยแพร่ในดินแดนสุวรรณภูมิ อย่างได้ผล ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ในเวลาต่อมาด้วย
ยังมีหลักฐานในวรรณกรรมในพุทธศาสนา ชื่อ มหากรรมวิภังª-๘ได้บันทึกกล่าวถึงพ่อค้าผู้มีความเชี่ยวชาญในการเดินเรือ มักจะนิยมเดินทางไปค้าขายยังดินแดนสุวรรณภูมิ และในบันทึกดังกล่าว ยังกล่าวว่า พระควัมปติเถระ(ความปิติเถระ) เป็นผู้ร่วมนำพระพุทธศาสนา จากอินเดีย มาประดิษฐาน ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อปี พ.ศ.๘ ด้วย
จากหลักฐานต่างๆ ที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาเผยแพร่ยังดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยได้มาตั้งสำนักสงฆ์อยู่ที่ ภูเขาภิกษุ หรือ ภูเขาชวาลา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ เมืองครหิต(คลองหิต) ซึ่งเป็นเมืองราชธานี ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ปัจจุบันคือท้องที่ บ้านชวาลา ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี นั่นเอง อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนา ยังมิได้แพร่หลาย เพราะมิได้รับการสนับสนุนจาก มหาราชา ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ
ต่อมา พระพุทธศาสนา ได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ในสมัยของ สหราชอาณาจักรเทียน ซึ่ง มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร ได้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ พระพุทธศาสนา จึงขยายตัวอย่างรวดเร็วในดินแดนสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๓๐๔ เป็นต้นมา
การอพยพของ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ สู่ดินแดนเกษียรสมุทร
ตามตำนานเรื่องราวของ พระกฤษณะ ภพชาติหนึ่ง ของ จตุคามรามเทพ นั้น ทำให้เราทราบว่า ดินแดนเกษียรสมุทร นั้น พญาวสุเทวะ พระราชบิดา ของ พระพลราม และ พระกฤษณะ เป็นผู้สร้างรัฐ ขึ้นมาในดินแดนเกษียรสมุทร ณ เกาะชวา เป็นครั้งแรก และ พระกฤษณะ เป็นผู้สืบทอดราชย์สมบัติต่อมา ทำให้เกาะดังกล่าว เคยมีชื่อว่า เกาะพระกฤษณะ หรือ เกาะพระกฤต ก่อนที่จะมีชื่อว่า เกาะชบาตะวันออก , เกาะตาราม และ เกาะชวา ตามลำดับ ในเวลาต่อมา อีกครั้งหนึ่ง
เชื้อสายราชวงศ์ ของ พระกฤษณะ และ พระพลราม ได้เข้าไปตั้งรัฐ ขึ้นมาในดินแดนเกาะสุมาตรา ซึ่งพบแร่เงิน จำนวนมาก ทำให้เกาะสุมาตรา เคยมีชื่อว่า เกาะอาแจ๊ะ(เงิน) มาก่อน ก่อนที่จะมีชื่อว่า เกาะกาละ , เกาะชบาตะวันตก , เกาะโพธิ์กลิงค์บัง , เกาะทมิฬอาแจ๊ะ และ เกาะสุมาตรา ตามลำดับ ในเวลาต่อมา
ในรัชสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ปกครองประเทศอินเดีย และได้ทำสงครามรวบรวมดินแดนอินเดีย ซึ่งแตกแยก ให้เป็นปึกแผ่น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในดินแดนเกษียรสมุทร ด้วย เนื่องจาก ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬโจฬะ รวมกันประมาณ ๔ แสนคน ได้อพยพครั้งใหญ่เข้ามายึดครองดินแดนเกษียรสมุทรª-๙ และส่งผลกระทบต่อชนชาติอ้ายไต ซึ่งตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย
นับตั้งแต่รัชสมัย ท้าวพญาฆา มาถึง สมัยพุทธกาล อาณาจักรสุวรรณภูมิ ได้เติบใหญ่เป็น มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เนื่องจากมีผู้อพยพ ชนชาติอ้ายไต จากดินแดนของมหาอาณาจักรหนานเจ้า เข้ามาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นจำนวนมาก โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐตั้งอยู่ที่ เมืองครหิต(คันธุลี) ของ แคว้นนาคฟ้า มาร่วมพันปี มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ในขณะนั้น ประกอบด้วย อาณาจักรนาคน้ำ(แหลมมาลายู) , อาณาจักรนาคฟ้า(ภาคใต้ตอนบน , ภาคกลาง และ ภาคเหนือ) และ อาณาจักรนาคดิน(ภาคอีสาน เขมร และ เวียตนาม)
จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิท้าวอินทปัต เป็นกษัตริย์ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ กรุงครหิต(คันธุลี) ตรงกับ รัชสมัยของ พระเจ้าอโศกมหาราช อินเดีย โดยที่ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทำสงครามรวบรวมดินแดนอินเดีย ให้เป็นปึกแผ่น จึงเกิดผู้อพยพ ๒ ชนชาติ คือ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ หลายแสนคน อพยพเข้ามายังดินแดนเกษียรสมุทร และได้มาทำสงครามรุกรานดินแดนชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่งตั้งรกรากอยู่ดั้งเดิม มาอย่างยาวนานหลายพันปี มาแล้ว
ภาพที่-๑๘ เทวรูป มหาจักรพรรดิท้าวกูเวร พระราชโอรส ของ จักรพรรดิท้าวกู แห่งมหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ ขุดพบบริเวณถ้ำคูหา จ.ยะลา ปัจจุบันเทวรูปองค์นี้ อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ กีเม่ต์ ประเทศฝรั่งเศส ท้าวกูเวร เป็น มหาจักรพรรดิ พระองค์แรก ของ สหราชอาณาจักรเทียน กรุงเทียน(ยะลา) เป็นผู้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ ให้กับรัฐของชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ด้วย
การทำสงครามรุกราน ของ ชนชาติทมิฬ และ ชนชาติกลิงค์ ครั้งนั้น ชนชาติกลิงค์ สามารถส่งกองทัพเข้ายึดครองราชธานี กรุงครหิต(คันธุลี) ราชธานี ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ จักรพรรดิท้าวอินทปัต สวรรคต ในสงคราม ท้าวกู แห่ง อาณาจักรนาคน้ำ จึงต้องทำสงครามกู้ชาติ สามารถทำสงครามขับไล่ ชนชาติกลิงค์ และ ชนชาติทมิฬ กลับคืนไปยัง ดินแดนเกษียรสมุทร เป็นผลสำเร็จ ท้าวกู จึงตั้งราชธานี ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อยู่ที่ เมืองพรหมทัศน์(ยะลา) อาณาจักรนาคน้ำ ณ ท้องที่ เมืองยะลา ในปัจจุบัน อีกครั้งหนึ่ง
ต่อมา ท้าวหมึง พระอนุชา ของ อัครมเหสี ของ จักรพรรดิท้าวอินทปัต ซึ่งได้อพยพหนีภัยสงครามไปสร้าง เมืองอินทปัต อยู่ที่ แคว้นสุวรรณเขต อาณาจักรนาคดิน ไม่ยอมรับรองการขึ้นครองราชย์สมบัติ ของ จักรพรรดิท้าวกู จึงเกิดการแบ่งพวกระหว่างกัน เรียกว่า พวกกู กับ พวกหมึง เป็นที่มาของ สรรพนาม คำไทย คำว่า “กู” และ “หมึง” ได้เกิดขึ้นในสมัยนี้ ในที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ ยอมรับ จักรพรรดิท้าวกู เป็นที่มาให้ ท้าวหมึง ต้องยอมรับการนำ ของ จักรพรรดิท้าวกู แต่โดยดี และเมื่อ จักรพรรดิท้าวกู สละราชย์สมบัติออกผนวช ท้าวกูเวร จึงขึ้นครองราชย์สมบัติ เป็น จักรพรรดิท้าวกูเวร ต่อมา
ในรัชสมัย ของ จักรพรรดิท้าวกูเวร ซึ่งเป็นพระราชโอรส ของ จักรพรรดิท้าวกู ขึ้นครองราชย์สมบัติเป็น จักรพรรดิ ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ นั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ เพราะรัฐของ ชนชาติอ้ายไต ได้นำพระพุทธศาสนา มาใช้เป็นศาสนาประจำชาติ เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบบราชาธิปไตย ในรูปแบบของ สหราชอาณาจักร กำเนิด สหราชอาณาจักรเทียน ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๓๐๔ เป็นต้นมา ด้วย
เชิงอรรถ
ª-๑ P. Wheatley, The Golden Khersonese op.cit.,p.๑๒๙
ª-๒ G. Coedes, Textes d auteurs grecs et latins relatifs al Extreme-Orien, depuis le. IV siecle av.J.C.jusqu au XIV siecle (Paris, ๑๙๑๐) p.๑๔-๑๕ และ จาก Coades op. cit.
ª-๓ ศ.ดร.ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ ปราสาทเขาพนมรุ้ง สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.๒๕๓๙ หน้าที่ ๓๔๘-๓๖๓
ª-๔ คำกลอนลายแทงเรื่องการสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ในท้องที่ภาคใต้ กล่าวว่า “เมืองโมกข์คลาน สร้างก่อน เมืองนคร สร้างภายหลัง” มีเรื่องราวกล่าวว่า เมืองโมกข์คลาน เป็นเมืองหนึ่ง ของ แคว้นสุธรรม ต่อมา ในปลายสมัยของ สหราชอาณาจักรคีรีรัฐ คือ สมัยของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน ซึ่งมีราชธานีอยู่ที่ กรุงสระทิ้งพระ ในปลายรัชกาลของ มหาจักรพรรดิหยางเจ้าหลีชุน นั้น แคว้นสุธรรม และ เมืองโมกข์คลาน ถูกชนชาติกลิงค์ จากดินแดนเกษียรสมุทร ส่งกองทัพเข้าตีเมืองแตก ดินแดนสุวรรณภูมิ เต็มไปด้วยสงคราม ทำให้ พระกฤษณะ ได้มาประสูติในภพชาติใหม่ มีพระนามว่า ขุนราม เป็นภพชาติที่ ๓ ของ จตุคามรามเทพ ได้มาทำสงครามกอบกู้ดินแดนสุวรรณภูมิ กลับคืน ต่อมา พระเชษฐา ของ ขุนราม มีพระนามว่า ศรีไชยนาท ได้ไปสร้างเมืองโมกข์คลาน ขึ้นใหม่ และเรียกชื่อว่า เมืองนาคร หรือ เมืองตาม้ากลิงค์ ขณะนั้น เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) กลายเป็นเมืองมหาจักรพรรดิ ส่วนเมืองนคร ได้กลายเป็นเมืองจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเสียม ตั้งแต่ปี พ.ศ.๑๒๒๔ เป็นต้นมา ต่อมา จักรพรรดิศรีไชยนาท เป็นผู้ทำสงครามปราบปรามชนชาติทมิฬอาแจ๊ะ และ ชนชาติกลิงค์ ในดินแดนเกษียรสมุทร เป็นผลสำเร็จ ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงสงบสุข เรื่อยมา
ª-๕ บทสวดมนต์นี้ มีประวัติโดยย่อๆ ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น ในขณะที่พระองค์เสด็จจาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปยัง เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) เพื่อทำการบรรจุ พระมหาบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ ไว้ในพระบรมมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยได้ทรงรจนาขึ้น ขณะที่พระทับแรมอยู่ ณ ภูเขาหลวง ท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน และถูกใช้เป็นคำสวดมนต์ ของ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ , มหาราชา , ราชา และพวกราชวงศ์ กษัตริย์ไทย สืบทอดกันมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งยังมิได้ถูกราชวงศ์จักรี ใช้สืบทอด จึงค่อยๆ เลือนหายไป แต่มีการใช้สืบทอดในบางท้องที่ ของภาคใต้ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ยังดินแดนต่างๆ นอกดินแดนชุมพูทวีป ต่อมาในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ตามหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ เป็นผู้ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ทั้ง ๕ แห่ง ไปตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อให้ผู้คนได้เคารพบูชา
ª-๖ ผู้เรียบเรียง ได้ถอดข้อความจากเทป ซึ่งได้บันทึกไว้ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ บูรพกษัตริย์ ของ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ข้อความที่นำมาเขียนไว้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ที่กล่าวถึง รอยพระบาทของ พระพุทธองค์ ในสองภพชาติ ที่เคยประดิษฐานไว้ ณ ยอด ภูเขาสุวรรณคีรี
นางเชื้อ ช่วยยิ้ม และผู้เฒ่า อีกหลายราย เล่าให้ผู้เรียบเรียง รับฟังตรงกันว่า เดิมที มีรอยพระพุทธบาททองคำ ฝังดินอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี และมีนักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ปลอมตัวเป็นพระธุดง ไปแสร้งจำศีลอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี สามารถลักลอบขุดพระพุทธบาททองคำ ไปได้ แล้วนำไปหลอมเป็นทองคำแท่ง ขายให้กับร้านขายทอง แต่เกิดเหตุเภทภัย กับ ครอบครัว นักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ดังกล่าวเรื่อยมา จึงต้องทำพระพุทธบาท จำลอง มาวางไว้แทนที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และทำการประดิษฐาน รอยพระบาท จำลอง ดังกล่าว ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน
ª-๗ พงศาวดารไทยอาหม จัดพิมพ์โดย กรมศิลปากร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ เรียก ภูเขาภิกษุ ว่า ภูภิกษุ กล่าวว่า หาญคำงาม เคยเกิดมาในเมืองที่เต็มไปด้วยเมฆหมอก(แคว้นยืนนาน) เมื่อตายไป มีบริวารอยู่ในสรวงสวรรค์ ๙,๐๐๐ องค์ ต่อมา เทวดา ได้มองเห็น เงาคำ ไปนั่งสมาธิ อยู่ที่ ภูเขาภิกษุ จึงถูกภูเขาภิกษุ ยึดเอาไว้ และได้สถาปนา เงาคำ ให้เป็น มหาราชา แห่ง เมืองกลิงครุ(แคว้นกลิงค์รัฐ หรือ แคว้นคลองหิต) ผู้ปกครอง มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ มีพระนามใหม่ว่า รุ่งช้างดำ
ส่วน ตำนานภูเขาภิกษุ กล่าวว่า หารคำงาม เป็นเชื้อสายราชวงศ์ชนชาติอ้ายไต หนีภัยสงครามมาจาก มหาอาณาจักรหนานเจ้า มาบวชเป็นพระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ และได้สร้างสำนักสงฆ์ ภูเขาภิกษุ ขึ้น ในดินแดนสุวรรณภูมิ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา เป็นแห่งแรก และหารคำงาม ได้บวชเป็นพระภิกษุ ณ สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ จนกระทั่ง ถึงแก่อนิจกรรม บุญกุศลที่ หารคำงาม สร้างไว้ จึงได้เกิดมาในภพชาติใหม่ เป็น พระเจ้าสุมิตร เป็นพระเจ้าหลานเธอ ของ พระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งได้มาอภิเษกสมรส กับ เชื้อสายราชวงศ์แมนสม คือ พระนางเชียงเม่งกุ้ย ทำให้ พระเจ้าสุมิตร เปลี่ยนพระนามใหม่ว่า หารคำ กลายเป็น มหาจักรพรรดิ ของ สหราชอาณาจักรเทียน ต่อจาก มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ซึ่งได้สละราชย์สมบัติ ออกผนวช เป็นต้นราชวงศ์โคตะมะ(ขอม) ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ª-๘ มหากัมมวิภังคสูตร สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์สูตรที่ ๓๖
ª-๙ เสถียร โพธินันทะ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๒๐ หน้าที่ ๑๖๙ กล่าวถึงศิลาจารึกหลักที่ ๑๓ ของพระเจ้าอโศกมหาราช ได้กล่าวถึงการเริ่มทำสงครามปราบปรามกลิงค์รัฐเมื่อปี พ.ศ.๒๗๗ มีเนื้อหาสรุปว่า...“...เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติได้เป็นปีที่ ๘ พระองค์ได้มีชัยในการทำสงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้สำเร็จ ประชาชนชาวกลิงค์ จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ คน ถูกจับเป็นเชลย ทหารและประชาชนถูกฆ่าเสียประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากได้สิ้นชีพลง นับแต่นั้นมา อาณาจักรกลิงค์รัฐ ได้ถูกยึดครองแล้ว...”
บันทึกของประเทศกรีก ซึ่งสรุปโดย นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกชื่อ พลินี ได้สรุปมีเนื้อหาว่า..
“...สงครามปราบปรามอาณาจักรกลิงค์รัฐ มหาราชาแห่งอาณาจักรกลิงค์ มีกองทหารราบ ๖๐,๐๐๐ คน มีทหารม้า ๑,๐๐๐ คน มีทหารช้าง ๗๐๐ เชือก ประชาชนชนและทหารของอาณาจักรกลิงค์รัฐ ต้องล้มตายไปประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ต้องอพยพหนีภัยสงครามมายังดินแดนตะวันออก ทั้งโดยทางบกและทางเรือ ส่วน ชนชาติโจฬะ ซึ่งตั้งอาณาจักรอยู่ทางอินเดียภาคใต้ อีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน ได้อพยพไพร่พลหนีการปราบปราม ต้องเดินทางโดยทางบก และทางทางทะเล มุ่งสู่ดินแดนทะเลตะวันออก และดินแดนรอบข้าง เช่นเดียวกัน...”