คำนำ สหราชอาณาจักรเทียน

คำนำ การจัดทำ ครั้งที่ ๑

       ผู้เรียบเรียง แปลกใจว่า มีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในหลายท้องที่ ของ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเคยตั้งรกรากอยู่ที่ บ้านวังพวกราชวงศ์ มีความรับรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย เป็นอย่างดี เป็นที่มาให้ผู้เรียบเรียง พยายามสอบถามความเป็นมาของ สายตระกูลต่างๆ จึงทำให้ทราบเรื่องราวโดยสรุปว่า กลุ่มพวกราชวงศ์เหล่านั้น เคยอพยพเข้ามาตั้งรกราก ณ ท้องที่ บ้านวังพวกราชวงศ์ เมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๐ ตามพระราชดำหริ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งต้องการฟื้นฟู สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ โดยให้แยกการบริหารออกเป็นสองอาณาจักร คือ อาณาจักรเสียม และ อาณาจักรละโว้ ทั้งสองอาณาจักร ปกครองรวมกัน เรียกว่า ประเทศเสียม-หลอ หรือ ประเทศสยาม โดยมีศูนย์กลางอำนาจรัฐอยู่ที่ กรุงเทพฯ กลุ่มพวกราชวงศ์ที่อพยพมาตั้งรกราก ณ บ้านวังพวกราชวงศ์ คือกลุ่มที่มีภาระหน้าที่ มาสร้างศูนย์กลางอำนาจรัฐ อาณาจักรเสียม แต่ไม่สามารถดำเนินการสำเร็จ เพราะได้เกิดการก่อกบฏ ขึ้นมาก่อน

       เนื่องจากผู้เรียบเรียง ได้ไปซื้อที่ดินแหล่งน้ำพุร้อน ประมาณ ๑๕๐ ไร่ ในพื้นที่เกาะดอนขวาง อ.ไชยา ซึ่งต่อเขตกับ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเคยใช้เป็นที่ตั้ง ของ ศูนย์กลางอำนาจรัฐ สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ มาก่อนที่จะเกิดศูนย์กลางอำนาจรัฐ ณ กรุงสุโขทัย โดยได้เข้าไปลงทุน ประมาณ ๗๐ ล้านบาท เพื่อลงทุนทางด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่ได้เกิดข้อขัดแย้งกับ เจ้าหน้าที่รัฐทางการปกครอง ในเรื่องของการใช้อำนาจรัฐทางการปกครอง ออกโฉนดที่ดิน ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ โดยที่ โฉนดฉบับหลวง มีรูปแผนที่ และเนื้อที่ ไม่ตรงกับโฉนดฉบับผู้ถือ และเจ้าหน้าที่รัฐทางการปกครอง ได้สมคบกันหน่วงเหนี่ยว กันมาโดยตลอด ทำให้ผู้เรียบเรียง ต้องเดินทางไปติดตามความคืบหน้า ในการแก้ไขเอกสารโฉนดที่ดิน ให้ถูกต้อง ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ บ่อยครั้ง จึงได้ถือโอกาสใช้ช่วงเวลาว่าง รวบรวมเรื่องราวของ สายสกุล พวกบ้านวังพวกราชวงศ์ ขึ้นมา ๓ สกุล ออกมาเป็นหนังสือ ๓ เล่ม คือ หนังสือสายสกุลของ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงบุปผา , หนังสือสายกุลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี(หยางจิ้งจง) และ หนังสือสายสกุลของเจ้าพระยาจักรกรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) โดยในระหว่างที่มีการสืบสาวเรื่องราว ของ ผู้สืบทอดสายสกุล ที่กล่าวมา พบว่า มีเรื่องราวเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ก่อนสมัยสุโขทัย เป็นจำนวนมาก

       ผู้เรียบเรียง ได้พยายามจดบันทึก ตำนานเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ก่อนสมัยสุโขทัย เท่าที่สามารถรวบรวมได้ มาจัดพิมพ์ไว้ในเอกสารเล่มนี้ ตามคำร้องขอ ของ ผู้เฒ่าผู้แก่ เนื่องจากมีเวลาว่างเพียงพอ ในระหว่างที่ต้องรอเจ้าหน้าที่รัฐ ให้ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดิน แปลงต่างๆ ที่ถูกออกโฉนดโดย กรมที่ดิน ให้ถูกต้อง

       เนื่องจากตำนานต่างๆ ที่เล่าถ่ายทอดกันมา มาจากบันทึกที่เป็นภาษาขอมโบราณ ซึ่งผู้เรียบเรียงไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะอ่านแปล ภาษาขอมได้ จึงใช้วิธีการให้มีการถ่ายทอดจากความทรงจำ ของ ผู้เฒ่าผู้แก่ มาทำการบันทึกไว้ก่อน ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้เรียบเรียงมาก เพราะไม่สามารถลำดับเหตุการณ์ได้ ว่า เหตุการณ์อันใด เกิดขึ้นก่อนหลัง กันแน่ การเรียบเรียงขึ้นครั้งนี้ จึงมีเจตนาเพื่อการบันทึกไว้เป็นพื้นฐานเท่านั้น เพื่อรอการตรวจสอบหลักฐาน และเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ให้มีเนื้อหาที่ถูกต้องยิ่งขึ้น อีกครั้งหนึ่ง ในอนาคต

       การจัดทำ ตำนานเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย ครั้งนี้ เป็นการเริ่มต้น จึงต้องมีความผิดพลาดมากมายเกิดขึ้นแน่นอน จึงขอความร่วมมือจากผู้ให้ข้อมูล ให้ร่วมกันปรับปรุงแก้ไข ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต

นายเสนีย์ ถาวรเศรษฐ

(๗ พฤศจิกายน ๒๕๓๘)

 

 

คำนำ การจัดทำ ครั้งที่ ๒

       การรวบรวมตำนานประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย ที่ได้จัดทำไปครั้งแรกนั้น มีผลสรุปว่า ทั้งเนื้อหา และ การลำดับเหตุการณ์ ไม่ถูกต้อง ตามที่มีผู้ท้วงติง และมีผู้ให้ข้อมูล เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะ นางน้อม นางช่วย ฯลฯ ได้มาร้องเพลงกล่อมลูก เรื่องเจ้ามรรคขุน เพื่อการบันทึกเทปไว้ ทำให้เข้าใจลำดับเหตุการณ์มากขึ้น เรื่องราวของ ตำนานสายราชวงศ์เจ้าอ้ายไต ก่อนสมัยสุโขทัย หลายราชวงศ์ ล้วนเป็นข้อมูลใหม่ที่ผู้เรียบเรียง ได้รับเพิ่มขึ้น และนำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจสอบหลักฐานฯ ได้ง่ายขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดทำ ครั้งที่ ๒

       การจัดทำครั้งที่ ๒ นี้ สรุปเรื่องราวได้ว่า ความเป็นมาของประวัติศาสตร์ชาติไทย ตามความเชื่อของ เชื้อสายสกุล บ้านวังพวกราชวงศ์ นั้น เชื่อกันว่า เชื้อสายกษัตริย์ไทย เคยเป็นพี่น้องท้องเดียวกันกับ กษัตริย์ ของประเทศจีน ญี่ปุ่น และ เกาหลี มาก่อน ประวัติศาสตร์ชาติไทย จึงเริ่มต้นพร้อมๆ กับ ประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติจีน และ ญี่ปุ่น จึงมีการถ่ายทอดเรื่องราวออกเป็น ๒ สมัยใหญ่ คือ สมัยก่อนพุทธกาล ประมาณ ๕,๐๐๐ ปี และ สมัยพุทธกาล มาจนถึงปัจจุบัน

       เรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก่อนสมัยพุทธกาล นั้น เป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นตำนาน นิทานพื้นบ้าน เป็นคำกลอนกล่อมลูก หรือ ตำนานความเป็นมาของคำในภาษาไทย และชื่อท้องที่ เป็นส่วนใหญ่ จึงยากที่จะตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ความเชื่อดังกล่าว ใช่จะไร้เหตุผลเสียไปทั้งหมด แต่เป็นเรื่องราวที่ควรจะรับฟังไว้ และควรจะบันทึกไว้เพื่อการตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ต่อไป ในอนาคต

ความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งมีการถ่ายทอดกันมา แบ่งออกได้เป็น ๓ สมัย สมัยแรก คือ สมัยพระเจ้าอ้ายไต ซึ่งมีการอพยพมาตั้งรัฐกันอยู่ที่ แคว้นลานเจ้า จนกระทั่งต้องอพยพต่อไป โดยได้ไปผสมเผ่าพันธุ์กับชนพื้นเมือง "พวกแย่" ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน สมัยที่สอง คือ สมัยพระเจ้าเหา ซึ่งมีการส่ง เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) มาสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดรัฐของชนชาติอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ มี ท้าวพรหมทัศน์ ทรงครุฑ มาเป็นกษัตริย์พระองค์แรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มีการพบทองคำในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดการตื่นทอง และเกิดการอพยพครั้งแรก ของ ชนชาติอ้ายไต เข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วน สมัยที่ ๓ คือ สมัยท้าวโกศล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ที่รัฐเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรหนานเจ้า ในดินแดนจีน จนกระทั่ง ถึงสมัยพุทธกาล ซึ่งมี มหาราชาท้าวงาคำ เป็นกษัตริย์

ส่วนเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย หลังสมัยพุทธกาล ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย แบ่งออกได้ ๕ สมัย ดังนี้ สมัยที่ ๑(พ.ศ.๑-๒๙๗) คือ สมัย มหาราชาท้าวงาคำ ถึง มหาราชาท้าวกู สมัยที่ ๒(พ.ศ.๒๙๗-๕๙๔) เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรเทียน มี มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ปกครองต่อเนื่องถึง มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงชัด ส่วน สมัยที่ ๓(พ.ศ.๕๙๔-๖๙๓) เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรเทียนสน มี มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงโชก ปกครองต่อเนื่องถึง มหาจักรพรรดิขุนหลวงเชียง ส่วน สมัยที่ ๔(พ.ศ.๖๙๓-๑๒๒๔) เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรคีรีรัฐ มี มหาจักรพรรดิท้าวพันตา ปกครองต่อเนื่องถึง มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร และ สมัยที่ ๕(พ.ศ.๑๒๐๒-๑๗๕๙) เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรเสียม มี มหาจักรพรรดิพ่ออู่ทอง ปกครองต่อเนื่องถึง มหาจักรพรรดิพ่อพระยาร่วง เป็นรัชกาลสุดท้าย

การจัดทำครั้งที่ ๒ นี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น เพื่อการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ และมีความน่าเชื่อถือต่อไป ในอนาคต จึงขอขอบพระคุณ ผู้ให้ข้อมูลที่ผ่านมา ทุกๆ คน

 

นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ

(๗ พฤษภาคม ๒๕๔๕)

 

 

  

คำนำ การจัดทำ ครั้งที่ ๓

หลังจากที่ผู้เรียบเรียง ได้ร่วมปฏิบัติงานในตำแหน่ง อนุกรรมาธิการ และ เลขานุการ ของ คณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์ชาติไทย ก่อนสมัยสุโขทัย ของ คณะกรรมาธิการ การศึกษา ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม วุฒิสภา และได้ร่วมทำการเรียบเรียง สรุปเนื้อหา เรื่องราวหลักฐาน และเหตุการณ์ที่สำคัญ เกี่ยวกับ อาณาจักรเสียม(ศรีวิชัย) มาเรียบเรียงไว้ และได้จัดพิมพ์ เป็นหนังสือเรื่อง สยามประเทศมิได้เริ่มต้นที่กรุงสุโขทัย ตอน สหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม) รัชกาลที่ ๑(พ.ศ.๑๒๐๒-๑๒๓๐) พบว่า ประชาชนให้ความสนใจต่อประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทยมาก เพราะสอดคล้องกับตำนานต่างๆ ในหลายท้องที่ จนต้องพิมพ์ถึง ๔ ครั้ง ก็ไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย และยังมีการเรียกร้องให้ผู้เรียบเรียง เร่งรัดจัดพิมพ์เรื่องราวที่ต่อเนื่อง เล่มต่อๆ ไป ของเรื่องราว รัฐไทย สมัยสหราชอาณาจักรศรีโพธิ์(เสียม-หลอ) ทั้งหมด อีกจำนวน ๓๙ รัชกาล เพื่อออกเผยแพร่ ต่อสาธารณะชน แต่ผู้เรียบเรียง มีเหตุจำเป็นต้องยุติการดำเนินการไว้ชั่วคราว

เนื่องจากผู้เรียบเรียง ยังดำเนินการ เรียบเรียงเรื่องราวเกี่ยวกับ สหราชอาณาจักรเสียม(ศรีวิชัย) อีกหลายรัชกาล ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ก็เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาในดินแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๗ เป็นต้นมา ทำให้มีผู้เรียกร้องให้ผู้เรียบเรียง ช่วยเรียบเรียงความเป็นมาของ ชนชาติไทยก่อนสมัยสุโขทัย ให้ลึกลงไปถึงสมัยการกำเนิด แคว้นลังกาสุกะ(ปัตตานี) จึงเป็นที่มาให้ผู้เรียบเรียง ต้องนำเรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ที่เคยเรียบเรียงจัดทำไว้เป็นครั้งที่ ๒ เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๕ มาปัดฝุ่นอีกครั้งหนึ่ง เพื่อนำไปตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ต่อไป และได้ปรากฏสู่สายตาของผู้อ่านเรียบร้อยแล้ว โดยใช้เวลาถึง ๔ ปี จึงได้มาปรากฏต่อสายตาของท่านผู้อ่าน อีกครั้งหนึ่ง

หนังสือเล่มนี้ ยึดถือโครงสร้างของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ตามแนวทาง ตำนานความเป็นมา ของ ชนชาติไทย ตามความเชื่อของเชื้อสาย บ้านวังพวกราชวงศ์ ซึ่งเคยตั้งรกราก ในบริเวณ ทุ่งลานช้าง ภูเขาแม่นางส่ง ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี มาเป็นแนวทางพื้นฐาน เป็นโครงสร้างเรื่อง ในการเดินเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยได้ทำการค้นคว้าตรวจสอบหลักฐานประวัติศาสตร์ ต่างๆ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ พบหลักฐานว่า ตำนานต่างๆ ของเชื้อสายพวกบ้าวังพวกราชวงศ์ มีความน่าเชื่อถือ และพบว่า สามารถตรวจหาหลักฐาน มายืนยัน ประกอบเรื่องราว ได้ประมาณ ๗๐ % ส่วนที่เหลือ ส่วนใหญ่ คือการทบทวนความถูกต้องของหลักฐานต่างๆ และ การขุดค้นหาหลักฐาน บริเวณพื้นที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ในพื้นที่สำคัญ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบร่องรอยโบราณวัตถุ ที่ถูกฝังอยู่ใต้พื้นดิน เพื่อยืนยันความถูกต้อง ๑๐๐ % อีกครั้งหนึ่ง

       การที่คนไทย ไม่มีความรู้ ประวัติศาสตร์ชนชาติตนเอง อย่างแท้จริง น่าจะมาจากเหตุผล ๓ ประการ ที่สำคัญ ประการแรก น่าจะเป็นผลมาจาก อิทธิพลการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่มาให้ชาติตะวันตก เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ ให้กับดินแดนเมืองขึ้น ของตนเอง โดยมีจุดยืนเพื่อใช้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มาเป็นเครื่องมือในการล่าอาณานิคม เพิ่มขึ้น เท่านั้น แต่เนื่องจาก ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของข้อเท็จจริง ที่เคยเกิดขึ้นจริง ในอดีต จึงมี ลักษณะสัมบูรณ์ ในเชิงข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ แต่ถูกชาติตะวันตก นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ไปสร้างเรื่องราวขึ้นใหม่ กลายเป็น ลักษณะสัมพัทธ์ ในทางวิทยาศาสตร์ จึงเกิดปรากฏการณ์ ความขัดแย้งด้าน องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ขึ้นมาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนไม่สามารถหาข้อสรุปหาข้อเท็จจริงได้ กลายเป็นความขัดแย้งทางองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สืบทอดต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน

       เหตุผลประการที่สอง เป็นผลจาก การสืบทอดราชสมบัติ จากราชวงศ์ธนบุรี ไปสู่ ราชวงศ์จักรี มิได้เป็นไปอย่างสันติ เพราะเป็นการแย่งชิงอำนาจ เพื่อการขึ้นสู่อำนาจเท่านั้น ทำให้การต่อเชื่อมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ไม่ต่อเชื่อมกันด้วย ทั้งนี้เพราะ ผู้สืบทอดองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของชาติไทย ในอดีต นั้น คือ เชื้อสายราชวงศ์ที่ใกล้ชิดกับกษัตริย์ เท่านั้น แต่สายราชวงศ์จักรี ที่เข้ามาสืบทอดราชย์สมบัติ นั้น แม้จะเป็นเชื้อสายราชวงศ์จริง แต่ก็ห่างไกลความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของ ชาติไทย มาก ทำให้ความรับรู้ทางด้านองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่เคยสืบทอดต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน ขาดตอนไป

       แม้ว่า ในเวลาต่อมา สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ และ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จะทราบจุดอ่อนดังกล่าว จึงได้ส่ง พระองค์เจ้าหนูดำ พระราชโอรสพระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ไปเชื่อมโยงกับ เชื้อสายราชวงศ์ กลุ่มบ้านวังพวกราชวงศ์ เพื่อสืบสานประวัติศาสตร์ชาติไทย ให้ถูกต้อง แต่ต่อมา การที่แนวคิดในการรักษาดินแดนปลายแหลมมาลายู ระหว่าง พระองค์เจ้าหนูดำ กับ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ซึ่งเป็นพระเชษฐา ได้เกิดความขัดแย้งกันเองทางยุทธศาสตร์ และวิธีการ ในการรักษาดินแดนปลายแหลมมาลายู ของชนชาติไทย ให้อยู่รอดปลอดภัย จากการล่าอาณานิคม ของชาติตะวันตก ดังนั้น การชำระประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ จึงต้องยุติลงเมื่อ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ สั่งยึดทรัพย์ พระองค์เจ้าหนูดำ(พระยาคอปล้อง) ในต้นรัชกาล ของ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ นั่นเอง เรื่องนี้ มีการกล่าวถึงกันมาก ในหมู่ผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ รวมถึงการเสียชีวิตของทหารไทยมากว่า ๓๐,๐๐๐ คน ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วย

มีเรื่องที่ผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ เล่ากันว่า เมื่อ สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์สมบัติ นั้น ได้เรียก พระองค์เจ้าหนูดำ กลับมารับราชการใน กรุงเทพมหานครฯ เพื่อร่วมกันชำระประวัติศาสตร์ กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ แต่เนื่องจาก พระองค์เจ้าหนูดำ ขัดแย้งในแนวความคิด กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ซึ่งเป็นพี่น้องต่างพระราชมารดา จึงไม่ยอมร่วมงานด้วย แม่ว่าจะถูกเรียกกลับ หลายครั้ง ในที่สุด สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ พระองค์เจ้าหนูดำ ที่มีอยู่ในหลายท้องที่ภาคใต้ เพื่อกดดันให้ เสด็จกลับ กรุงเทพมหานครฯ มาร่วมชำระประวัติศาสตร์ กับ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ แต่ไม่เป็นผล เพราะ พระองค์เจ้าหนูดำ ไม่ยอมเสด็จกลับ แต่กลับไปร่วมมือกับ พระยาน้อย เจ้าเมืองนครฯ เพื่อทำสงครามรักษาดินแดน ปลายแหลมมาลายู จนกระทั่งทหารต้องเสียชีวิตไปกว่า ๓๐,๐๐๐ คน เป็นเหตุให้ สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎ ต้องชำระประวัติศาสตร์ชาติไทย อย่างโดดเดี่ยว เพื่อต่อสู้กับ ลัทธิการล่าอาณานิคม ในสมัยนั้น

ในเวลาต่อมา จึงมีการสร้างหลักฐานว่า พระองค์เจ้าหนูดำ เสด็จสวรรคต ตั้งแต่ทรงพระเยาว์(๑ พรรษา) และการยึดทรัพย์ พระองค์เจ้าหนูดำ นั้น แท้จริงคือการยึดทรัพย์ พระยาคอปล้อง(บุญชู) โดยนำเอา พระยาคอปล้อง(พระองค์เจ้าหนูดำ) ไปเป็นคนเดียวกันกับ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) จึงกลายเป็นความขัดแย้งทางองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่ทำให้ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของ ชาติไทย ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะ เจ้าพระยาจักรีศรีองค์รักษ์(บุญชู) ถึงแก่อนิจกรรมไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๗(ตามหลักฐาน จดหมายเหตุช้าง) มิได้ถึงแก่อนิจกรรม ในต้นรัชกาล สมเด็จพระนั่งเกล้าฯ แต่ประการใด จึงไม่แปลกใจ ที่ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระราชโอรส พระองค์หนึ่ง ของ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ต้องอาศัย ศาสตราจารย์ ดร.ยอร์ช เซเดร์ มาเป็นผู้ชำระประวัติศาสตร์ ของชนชาติไทย ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางด้าน องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน คนไทย จึงไม่รู้ประวัติศาสตร์ชาติตนเอง อย่างแท้จริง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

เหตุผลประการที่สาม ของการที่คนไทย ไม่รู้ความเป็นมาของ ประวัติศาสตร์ชนชาติตนเอง อย่างแท้จริง เพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๕ ทำให้อำนาจการปกครอง ในการใช้จ่ายเงินในท้องพระคลังหลวง จึงตกมาอยู่ในมือของ ขุนศึก และ ขุนนาง ที่เป็นสามัญชน ที่ร่วมกันโค่นล้มระบบการปกครอง ระบบสมบูรณ์สิทธิของราชา จนประสบความสำเร็จ แต่ความขัดแย้งระหว่างขุนศึก และขุนนาง ระหว่างกัน จากการที่ไม่สามารถปฏิรูปที่ดิน ให้กับประชาชนได้สำเร็จ เป็นเหตุให้ ขุนศึก ได้เข้ามามีอำนาจแทนที่ ขุนนางสามัญชน

การปฏิรูปที่ดิน ของ ขุนศึก ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าไปหักร้างถางพง ป่าสงวน และที่ดินสงวนหวงห้ามต่างๆ แม้ว่า จะมีการออก พ.ร.บ.ที่ดินสงวนหวงห้าม และ พ.ร.บ.ที่ดินโบราณสถาน มาก่อนแล้ว แต่ไม่สามารถบังคับใช้อย่างได้ผล ส่งผลกระทบที่สำคัญ ก็คือ พื้นที่ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ของ ศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของรัฐไทย ในอดีต ในหลายพื้นที่ ซึ่งถือว่า เป็นที่ดินของ พระมหากษัตริย์ ซึ่ง สามัญชนทั่วไป ไม่สามารถเข้าไปครอบครองทำกินได้ และเคยถูกรักษาไว้มาอย่างยาวนาน มาก่อน เริ่มถูกเจ้าหน้าที่รัฐทางการปกครอง เข้าทำลายโบราณสถาน เพื่อเข้าแย่งยึดที่ดิน ที่สำคัญ ของ สถาบันกษัตริย์ เพื่อใช้อำนาจรัฐทางการปกครอง ส่งญาติพี่น้องของเจ้าหน้าที่รัฐฯ เข้าไปครอบครอง ทำให้หลักฐานร่องรอยโบราณสถาน ที่เคยถูกใช้เป็นที่ตั้งพระราชวังหลวง ถูกทำลาย ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในท้องที่ภาคใต้ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของรัฐไทย ก่อนสมัยกรุงสุโขทัย มาก่อน ทำให้มีความยากลำบากในการตรวจสอบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ยากยิ่งขึ้นไปอีก

การชำระประวัติศาสตร์ชนชาติไทย โดยขุนศึก หรือ ขุนนาง ที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ.๒๔๗๕ จึงมุ่งเน้น ไปชำระเรื่องราวที่สงสัยเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องราวพระราชประวัติ ของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเคยถูกใส่ความมาก่อน ว่าเป็นผู้วิกลจริต เพื่อลดความเชื่อถือ ต่อมาความขัดแย้งด้านต่างๆ ได้ขยายตัว จนกระทั่ง สมเด็จพระปกเกล้าฯ ต้องตัดสินพระทัย สละราชสมบัติ อำนาจในการจ่ายเงินในท้องพระคลังหลวง ได้ถูกเปลี่ยนกลุ่ม เป็นความขัดแย้ง ระหว่าง ขุนศึก ด้วยกัน จนเกิดการปฏิวัติรัฐประหารหลายครั้ง แม้ว่ากลุ่มขุนศึก ที่เข้ามามีอำนาจใหม่ จะพยายามชำระประวัติศาสตร์ ของ ชนชาติไทย ขึ้นมาอีกหลายครั้งหลายคราว แต่เป็นไปด้วยข้อจำกัด ประวัติศาสตร์ ของชนชาติไทย จึงกลายเป็น ประวัติศาสตร์ ยัดเหยียด ให้ท่องจำ ที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ทางองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่มีผู้ใด อยากศึกษา เพราะไม่น่าเชื่อถือ

เมื่ออำนาจรัฐในการควบคุมการใช้จ่ายเงิน ในท้องพระคลังหลวง กลับมาอยู่ในอำนาจของ นักการเมือง การชำระประวัติศาสตร์ชาติไทย ยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะงบประมาณที่ถูกนำไปใช้ในการชำระประวัติศาสตร์ นั้น จะถูกนำไปใช้จ่ายในการชำระประวัติศาสตร์ เพื่อสร้างความเชื่อให้กับประชาชนที่มีต่อราชวงศ์จักรี เป็นหลัก อีกทั้งนักการเมืองบางกลุ่ม จะนำงบประมาณไปค้นคว้า แว่นแคว้นย่อยๆ ในอดีต ในท้องที่ของตนเอง ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในดินแดนสุวรรณภูมิ การชำระประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย จึงไม่เกิดขึ้นจริง คนไทยจึงยังมีนงง อยู่กับ ความเป็นมาของชาติตนเอง ส่วนข้าศึก ได้สร้างประวัติศาสตร์ ใหม่ของ ดินแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จนกลายเป็นความเชื่อที่ฝั่งรากลึก เข้าสู่รูปการจิตรสำนึก ไปเรียบร้อยแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจ ที่เกิดปัญหาความมั่นคงขึ้นมาในดินแดน ๓ จังหวัดภาคใต้ ที่ได้เกิดขึ้นต่อเนื่องยาวนานกว่า ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา

ปัจจุบัน เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ความขัดแย้งเกี่ยวกับ องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย มีผลมาจาก ความขัดแย้ง เกี่ยวกับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ของ ชาติต่างๆ ในดินแดน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์ความรู้ดังกล่าว มีพื้นฐานเกิดขึ้นจาก การล่าอาณานิคม ในอดีต ที่พยายามสร้าง องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ในการสร้างความชอบธรรมในการล่าอาณานิคม ในอดีต ความขัดแย้งเกี่ยวกับ องค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้พัฒนาสู่ปัญหาความมั่นคง ของ ชาติไทย นานมาแล้ว ปรากฏการณ์ที่เห็นชัดเจน คือ การเสียดินแดนในสมัยรัชกาลที่ ๕ การเสียเขาพระวิหาร กรณีการเผาสถานทูตไทย ในประเทศเขมร และเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในดินแดน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปัจจุบัน ล้วนเป็นประเด็นความมั่นคงของชาติ จะยังไม่ยุติลงอย่างง่ายๆ ถ้ารัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เกี่ยวกับองค์ความรู้ทางประวัติศาสตร์ อย่างจริงจัง โดยไม่ยอมตรวจสอบหลักฐาน พื้นที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของชนชาติไทย ในอดีต อย่างจริงจัง

       การชำระประวัติศาสตร์ ของชนชาติไทย ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต นั้น ผู้เรียบเรียงเชื่อว่า ต้องได้แนวทางจากบรรพชน ผู้สืบทอดประวัติศาสตร์ชาติไทย จากเชื้อสายราชวงศ์ ที่เคยสืบทอดราชวงศ์ มาเป็นแนวทางในการสืบค้นคว้า โดยต้องมุ่งเน้นสนใจ อดีตที่ตั้งศูนย์กลางอำนาจรัฐ เป็นหลักสำคัญ จะทำให้การชำระประวัติศาสตร์ชาติไทย ทำได้เร็ว และง่ายขึ้น ผู้เรียบเรียง เป็นเพียงผู้รักชาติ และห่วงใยประเทศชาติ จึงได้พยายามเรียบเรียง ข้อมูลตำนานความเป็นมา ของชนชาติไทย มาแล้วถึงประมาณ ๑๐ ปี โดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝง โดยได้ใช้ความพยายามทาง อัตวิสัย ค่อยๆ จับประเด็นความเป็นมา ทางประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย เพื่อตรวจสอบหลักฐาน ต่อมา อีกประมาณ ๔ ปี รวมเป็น ๑๔ ปี จึงค่อยๆ พบความชัดเจนทางประวัติศาสตร์ ที่ง่ายต่อการตรวจสอบหลักฐาน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ในปัจจุบัน

หนังสือเล่มนี้ มีทั้งหมด ๙ บท บทที่ ๑ เป็นการกล่าวถึง ความเชื่อเกี่ยวกับ เรื่องราวของประวัติศาสตร์ชนชาติไทย ก่อนสมัยพุทธกาล ซึ่งมีการถ่ายทอดกันมา แบ่งออกได้เป็น ๓ สมัย สมัยแรก คือ สมัยพระเจ้าอ้ายไต ซึ่งมีการอพยพมาตั้งรัฐกันอยู่ที่ แคว้นลานเจ้า จนกระทั่งต้องอพยพต่อไป และได้ไปผสมเผ่าพันธุ์กับชนพื้นเมือง "พวกแย่" ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน สมัยที่สอง คือ สมัยพระเจ้าเหา ซึ่งมีการส่ง เจ้าชายตา(ท้าวชัยทัศน์) มาสำรวจดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดรัฐของเชื้อสายเจ้าอ้ายไต ขึ้นมาในดินแดนสุวรรณภูมิ มี ท้าวพรหมทัศน์ ทรงครุฑ มาเป็นกษัตริย์พระองค์แรก ในดินแดนสุวรรณภูมิ ได้มีการพบแหล่งทองคำ ในดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเกิดการตื่นทอง และเกิดการอพยพครั้งแรกของชนชาติอ้ายไต เข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่างๆ ในดินแดนสุวรรณภูมิ ส่วน สมัยที่ ๓ คือ สมัยท้าวโกศล ซึ่งเป็นเหตุการณ์ ที่รัฐเจ้าอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ประกาศเอกราช ไม่ยอมขึ้นต่อ อาณาจักรหนานเจ้า ในดินแดนจีน จนกระทั่ง ถึงสมัยพุทธกาล ซึ่งมี มหาราชาท้าวงาคำ เป็นกษัตริย์ ของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ เรื่องราวส่วนใหญ่ จึงโยงใยกับ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน เป็นจำนวนมาก

บทที่ ๒ เป็นเรื่องราวของ สหราชอาณาจักรเทียน คือเหตุการณ์ระหว่างปี พ.ศ.๑-๕๙๔ เป็นสมัยที่ มหาราชาท้าวงาคำ เป็นผู้ปกครอง ถึงรัชสมัยของ มหาราชาท้าวกู ในสมัยนี้ ผู้เรียบเรียง ยังไม่สามารถค้นคว้ารายชื่อ มหาราชาผู้ปกครอง ทราบแต่ว่า ในรัชสมัยของ ท้าวอินทปัต ปกครอง นั้น ชนชาติกลิงค์ ได้ยกกองทัพมาโจมตี ทำให้ เมืองนครหลวง ต้องย้ายไปตั้งอยู่ที่ แคว้นพรหมทัศน์(ยะลา) มีมหาราชาท้าวกู เป็นกษัตริย์ พระองค์สุดท้าย ต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้มาช่วยเหลือ ปรับปรุง ระบบการปกครอง เป็นรูปแบบใหม่ เรียกว่า สมัยสหราชอาณาจักรเทียน(พ.ศ.๒๙๗-๕๙๔) มี มหาจักรพรรดิท้าวกุเวร ปกครองต่อเนื่องถึง มหาจักรพรรดิท้าวขุนหลวงชัด รวมเวลาประมาณ ๒๙๗ ปี

หนังสือเล่มนี้ ย่อมมีข้อบกพร่อง โดยข้อบกพร่อง จะได้รับการแก้ไข ถ้าช่วยกันชี้จุดอ่อน เพื่อช่วยกันแก้ไข ดังนั้น หากพบข้อมูลใดๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ จึงขอให้ร่วมกันดำเนินการ ตรวจสอบแก้ไข ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ต่อไป

 

 

นายเสนีย์อนุชิต ถาวรเศรษฐ

(วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙)

 

 

Visitors: 54,271