ชนชาติไทย ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี การหลอมเหล็ก

ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบในปัจจุบัน เชื่อกันว่า ก่อนหน้านี้ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เคยมีนครหลวงอยู่ที่ เมืองเฉิงตู ของ แคว้นเสฉวน ในประเทศจีน ปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต เคยมีความสามารถในการสร้างเครื่องมือโลหะสัมริด คือโลหะผสมระหว่างทองคำและดีบุก สามารถนำไปใช้สร้างเป็นอาวุธ เพื่อการใช้ทำสงคราม ผู้ที่มีอาวุธโลหะสัมริด ใช้ มักจะเป็นกษัตริย์ หรือ พวกขุนนาง และทหาร ทำให้ อาณาจักรหนานเจ้า ครอบครองดินแดนจีน ในปัจจุบัน เป็นส่วนใหญ่ ประชาชนใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุข มีสงครามเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว กับ ชนพื้นเมือง "พวกแย่" ชนเผ่า ฉวนหรุง เท่านั้น

      หลักฐานเครื่องใช้โลหะสัมฤทธิ์ ซึ่งประเทศจีน ขุดพบที่ เมืองกวงหันเสี้ยน ห่างจาก เมืองเฉินตู ประมาณ ๔๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นอดีตที่ตั้ง ราชธานี ของ แคว้นเสฉวน ได้ขุดพบโลหะสัมริด ประมาณ ๕,๐๐๐ ชิ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เป็นหลักฐานสำคัญ แสดงถึงหลักฐานของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งมีการนำทองคำ จาก ดินแดนสุวรรณภูมิ ปีละ หนึ่งแสนขัน ไปใช้สร้างเครื่องใช้โลหะสัมริด ทั้งนี้เพราะ จากการสำรวจดินแดนทาง ภาคกลาง และ ภาคใต้ของประเทศจีน ไม่พบแหล่งทองคำ จำนวนมากแต่อย่างใด มีเพียงโลหะเงิน และ แร่เหล็ก เป็นจำนวนมาก เท่านั้น

       ในสมัยของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ซึ่งมีกษัตริย์ ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมา ๒๕ พระองค์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ครั้งใหญ่ เกี่ยวกับการผลิตอาวุธ ของ อาณาจักรเจ็ค ทั้งนี้เพราะ มีการค้นพบแหล่งแร่เหล็ก ที่ แคว้นฉี เป็นจำนวนมาก จึงเกิดการหลอมเหล็ก เกิดขึ้นมาใช้แทนที่ โลหะสัมริด กษัตริย์ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ได้ส่งเสริมการหลอมเหล็ก ที่ แคว้นฉี เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือการผลิต เช่น มีด ขวาน จอบ ไถ เป็นต้น และยังสามารถหลอมเหล็กมาสร้างเป็นอาวุธ เพื่อใช้ในการทำสงคราม เพราะอาวุธที่ทำจากโลหะเหล็ก มีความแข็ง มากกว่าอาวุธที่ทำจาก โลหะสัมริด มาก อาณาจักรเจ็ก จึงเริ่มก่อสงครามรุกรานชนชาติอ้ายไต ยึดครองดินแดนของ มหาอาณาจักรหนานเจ้า ตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การหลอมโลหะเหล็ก เป็นต้นมา

หลักฐานประวัติศาสตร์ ของ ประเทศจีน กล่าวว่า อาณาจักรเจ็ก ในสมัย ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก ได้พบแร่เล็ก ตามภูเขาต่างๆ ประมาณ ๓,๐๐๐ แห่ง ที่ แคว้นฉี จึงมีการถลุงเหล็ก กันที่ เมืองหลินจือ พื้นที่ มณฑลซานตุง ในปัจจุบัน โดยมีพื้นที่ซึ่งมีการถลุงเหล็ก โดยทั่วไป เป็นพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ความสามารถในการหลอมเหล็ก และผลิตโลหะเหล็ก ดังกล่าว ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในดินแดนของ อาณาจักรเจ็ค ทั้งด้าน การเมือง การทหาร เศรษฐกิจ และสังคม และส่งผลให้ อาณาจักรเจ็ค มีความเข้มแข็ง และเริ่มก่อสงครามกับ มหาอาณาจักรหนานเจ้า เพื่อทำสงครามแย่งชิงดินแดนส่วนใหญ่ และ ทองคำอันมหาศาล ในท้องพระคลังหลวง ของ ชนชาติอ้ายไต ไปครอบครอง ด้วย

เมื่อ อาณาจักรเจ็ค มีความสามารถในการผลิตอาวุธ จาก แร่เหล็ก จึงเริ่มก่อสงคราม ยึดครองดินแดนของชนชาติอ้ายไต แห่ง มหาอาณาจักรหนานเจ้า ทันที แคว้นแมนสม(แคว้นเว่ย)ถูกอาณาจักรเจ็ค ส่งกองทัพยึดครองไปด้วย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า แคว้นเว่ย ทำให้สายราชวงศ์แมนสม ได้หลบหนีสงคราม ไปทางทะเล มุ่งขึ้นสู่ทิศเหนือ ได้ไปผสมเผ่าพันธุ์ กับ ชนพื้นเมือง พวกแย่ ชนเผ่าจู(ตี)ร์และได้สร้างแว่นแคว้นใหม่ขึ้นมา เรียกว่า แคว้นแมนจูเจ้า(แมนจูเรีย) ขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของ ประเทศจีน ในปัจจุบัน ชนชาติอ้ายไต สายราชวงศ์แมนสม อีกส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ในเกาะใต้หวัน แล้วตั้งแว่นแคว้นขึ้น เรียกว่า แคว้นแมนสรวง(ไตหวัน) ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย ในเวลาต่อมา สายราชวงศ์แมนสม ส่วนหนึ่ง ได้อพยพไปตั้งรกราก ณ แคว้นมิถิลา(ไชยา) อาณาจักรสุวรรณภูมิ และได้เรียกชื่อใหม่ว่า เมืองแมนที่ลา และเปลี่ยนชื่อเป็น แคว้นโกสมพี อีกครั้งหนึ่ง

       ความสามารถในการหลอมเหล็ก ของ ราชวงศ์โจว์ ตะวันออก แห่ง อาณาจักรเจ็ค ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเครื่องมือการผลิต เช่น ขวาน มีดพร้า เลื่อย หัวขวานไถ คราด สิ่ว สว่าน เป็นต้น เครื่องมือการผลิตเหล่านี้ ทำให้เกิดการพัฒนาพลังการผลิต ขึ้นครั้งใหญ่ ทั่วทั้งดินแดนของ มหาอาณาจักรเจ็ค ซึ่งได้กวาดต้อน ชนชาติอ้ายไต ไปเป็นพลเมือง เป็นจำนวนมาก มีการถางป่า ขยายพื้นที่การปลูกข้าว และการเพาะปลูกพืชผลการเกษตร ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข และเมื่อผลผลิตเพิ่มขึ้น ก็เกิดการขยายตัวของพลเมืองแต่ละแว่นแคว้น เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วย การค้าก็ขยายตัว เศรษฐกิจ ก็เฟื่องฟูขึ้นด้วย มีการใช้เงิน เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า ก็ขยายตัวมากขึ้น กองเกวียนค้าขาย ระหว่างแว่นแคว้น มีการค้าขายกันอย่างคึกคัก ประชากรของ มหาอาณาจักรเจ็ค ในขณะนั้น เพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ ๕๐-๖๐ ล้านคน กองทัพของ มหาอาณาจักรเจ็ก จึงกลายเป็นกองทัพใหญ่ เหนือกว่า มหาอาณาจักรหนานเจ้า ซึ่งต้องย้ายราชธานีมาอยู่ที่ เมืองหนองแส

       ผลของเทคโนโลยีการหลอมโลหะเหล็ก ทำให้ชนชาติอ้ายไต ได้ปะทะกับโลกาภิวัตน์ เป็นครั้งแรก เนื่องจากความล้าหลังทางเทคโนโลยี ของ ชนชาติอ้ายไต ส่งผลให้ดินแดนส่วนใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต ตั้งแต่เมืองเซี่ยงไฮ้ ลงมา ถึง นานกิง และ แคว้นไตจ้วง(กวางตุ้ง , กวางสี , กวางเจา และ ตังเกี๋ย) ต้องสูญเสียไปให้กับชนชาติเจ็ค เป็นส่วนใหญ่ ชนชาติอ้ายไต สูญเสียชีวิตในสงครามสมัยนั้นมากมาย จนกระทั่งกำเนิดประเพณี ลอยประทีป และ ลอยโคมไฟ เพื่อส่งดวงวิญญาณผู้เสียชีวิตขึ้นสู่สรวงสวรรค์ ตำนานเรื่อง ขุนเหล็ก อดีตชาติ ของ พระยาพาน ซึ่งเล่ากันในหมู่ผู้สูงอายุ ในท้องที่ภาคใต้ คือเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงสมัยที่ชนชาติอ้ายไต ปะทะกับ โลกาภิวัตน์ ครั้งนั้น ด้วย

ตามตำนานอดีตชาติ ของ พระยาพาน พระราชบิดาของ ขุนราม(จตุคามรามเทพ) ในภพชาติของ ขุนเหล็ก มีเรื่องราวโดยสรุปว่า ในสมัยสงครามเหล็ก ได้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ ของ ชนชาติอ้ายไต จากลุ่ม แม่น้ำนที เกิดขึ้นก่อน สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ชนชาติอ้ายไต ส่วนหนึ่งเคยตั้งรกรากอยู่ที่ แม่น้ำนที ในดินแดนประเทศจีน ปัจจุบัน เพราะเกิดการพ่ายแพ้สงคราม กับ อาณาจักรเจ็ค จึงต้องอพยพมาตั้งรกราก สร้าง แคว้นนที(อยุธยา) ขึ้นตามชื่อแม่นำ ที่เคยตั้งรกรากเดิม มีการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ ชีวิตของพระยาพาน ในเชิงการสอนใจเด็กๆ ว่า ในอดีตชาติของ พระยาพาน ตั้งแต่สมัยก่อนพุทธกาล นั้น พระยาพาน ได้ประสูติมาในดินแดน ลุ่มแม่น้ำนที ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มีพระนามว่า เจ้าชายเหล็ก และมาเติบใหญ่ ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ

ในยุคสมัยนั้น ชนชาติอ้ายไต ยังใช้อาวุธ ที่ผลิตขึ้นจากโลหะสัมริด ในการทำสงคราม แต่ชนชาติเจ็ค มีความสามารถในการหลอมเหล็ก ตีเหล็ก จึงมีความสามารถในการผลิตอาวุธประเภทต่างๆ ที่ทำด้วยเหล็ก ซึ่งมีความทนทานกว่า อาวุธที่ทำด้วยโลหะสัมริด เป็นที่มาให้ชนชาติอ้ายไต พ่ายแพ้สงคราม ถูกฆ่าตาย และถูกยึดครองดินแดน ไปเป็นจำนวนมาก จึงเกิด ประเพณีลอยประทีป-โคมไฟ เพื่อการ สะเดาะเคราะห์ และเพื่อส่งดวงวิญญาณ บรรพชน ผู้เสียชีวิตจากสงครามครั้งนั้น เป็นประเพณีสืบทอดเรื่อยมา และถูกนำเข้ามาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย

ในขณะที่ เจ้าชายเหล็ก ยังทรงพระเยาว์อยู่นั้น แคว้นนที ถูก มหาอาณาจักรเจ็ก รุกรานเช่นกัน ราชาแห่ง แคว้นนที ซึ่งเป็นพระราชบิดาของ เจ้าชายเหล็ก พิจารณาเห็นว่า ไม่สามารถทำการสู้รบกับ กองทัพแห่งอาณาจักรเจ็ก ซึ่งมีอาวุธที่ทันสมัยกว่าได้ จึงตัดสินพระทัย อพยพไพร่พล ลงมาตั้งรกรากในดินแดนสุวรรณภูมิ มาตั้งเมืองอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบัน ทำให้แม่น้ำเจ้าพระยามีชื่อเรียกว่า แม่น้ำนที มาก่อน และเรียกสืบทอดเรื่อยมา เจ้าชายเหล็ก ได้อพยพมาในสงครามครั้งนั้นด้วย จึงมีการนำประเพณี ลอยประทีป-โคมไฟ มาใช้สืบทอดต่อเนื่อง ในดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ ด้วย

เมื่อเจ้าชายเหล็ก แตกเนื้อหนุ่ม ก็เริ่มจีบสาวสนมกรมวัง เพราะอยากมีคู่ชีวิต มาอภิเษกสมรสด้วย ซึ่งมีโอกาสในฤดูกาล วันที่มีประเพณี การลอยประทีป-โคมไฟ ในวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๒ นั้น มีสาวสนมกรมวัง ในพระราชวัง ออกมาร่วมสืบทอดประเพณีลอยประทีป-โคมไฟ ณ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) เป็นจำนวนมาก เจ้าชายเหล็ก ได้กลั่นแกล้งสาวสนมกรมวัง โดยลงไปซ่อนตัวใน แม่น้ำนที เพื่อนำเอากระทงประทีป ของสาวสนมกรมวัง ซึ่งได้ทำพิธี ปล่อยกระทงประทีป ให้ลอยไปตามกระแสนำ ของ แม่น้ำนที(แม่น้ำเจ้าพระยา) ไปซ่อนเอาไว้ ไม่ให้ลอยไปตามกระแสนำ เพื่อสร้างเงื่อนไข ถือโอกาส จีบสาวสนมกรมวัง ต่อมากลุ่ม สาวสนมกรมวัง ดังกล่าวทราบว่าถูกกลั่นแกล้ง จึงร่วมกันสาปแช่งว่า

"...ขอให้ผู้ที่ชอบมากลั่นแกล้ง ให้มีอันเป็นไป ถ้าเกิดชาติหน้า ขออย่าให้ได้อยู่อาศัย กับ พ่อแม่..."

เมื่อเจ้าชายเหล็ก มาช่วยราชการพระราชบิดา มีพระนามว่า ขุนเหล็ก เป็นผู้ค้นหา แร่เหล็ก จนสามารถหลอมเหล็ก และตีเหล็ก สร้างอาวุธ และเครื่องมือการผลิต มาใช้กับชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นผลสำเร็จ ทำให้พระนามของ ขุนเหล็ก ถูกนำมาใช้เป็นคำไทย เพื่อเรียกชื่อ แร่เหล็ก สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมา ขุนเหล็ก ได้ไปปกครองเมืองพิชัย แคว้นพิชัย(อุตรดิตถ์) เป็นแหล่งหลอมเหล็ก ในดินแดนสุวรรณภูมิ และเมื่อ ขุนเหล็ก สวรรคต คำสาปแช่งของ สาวสนมกรมวัง ได้ส่งผล กลายเป็นเรื่องจริง  ในภพชาติ ที่เจ้าชายเหล็ก ผู้ชอบกลั่นแกล้ง สาวสนมกรมวัง ได้ประสูติมาเป็น พระยาพาน ในภพชาติต่อมา จึงต้องชดใช้กรรม จึงมิได้อยู่ร่วมกับ บิดามารดา ตามคำสาปแช่ง ที่สาวสนมกรมวัง เคยร่วมกันสาปแช่งไว้

ส่วนเชื้อสายราชวงศ์ เจ้าขุนเหล็ก ได้ถ่ายทอดวิชาการหลอมเหล็ก การตีเหล็ก สืบทอดมาถึง สายราชวงศ์เจ้าอ้ายลาว คือ ปู่เจ้าลาวจักร(ลาวจก) ผู้ทำเลื่อยเล็ก ขึ้นมาใช้ ในสมัยต่อๆ มา ตำนานเรื่องนี้ สะท้อนเรื่องราวความเป็นมา ของ สงครามเหล็ก ที่เกิดขึ้น และยังให้ข้อมูลความเป็นมาของชื่อ แม่น้ำเจ้าพระยา ว่าเคยมีชื่อว่า แม่น้ำนที อีกด้วย ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสะท้อนเรื่องราวความเป็นมาของคำไทย คำว่า "เหล็ก" และยังให้ข้อมูลว่า การหลอมเหล็กครั้งแรก ของ ชนชาติอ้ายไต ว่าเกิดขึ้น ณ แคว้นพิชัย คือท้องที่ จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน อีกด้วย

       เหตุการณ์สงครามเหล็ก ได้เกิดสงครามต่อเนื่องมาถึง สมัยฉินซีฮ่องเต้ นักประวัติศาสตร์ของจีน และนาๆ ชาติ ในปัจจุบัน ยอมรับว่า มีการอพยพ และการดูดกลืน ชนชาติอ้ายไต และชนพื้นเมือง พวกแย่ ไปรวมเป็นประชากรของอาณาจักรเจ็ค ในเวลาต่อมา

       จากการสำรวจประชากรจีนทั้งหมดในปัจจุบัน พบหลักฐานว่า ประชากรจีน หลายร้อยล้านคน ในดินแดนภาคใต้ ทางภาคกลาง ทางภาคตะวันออก และ ทางภาคตะวันตก ของดินแดนประเทศจีน ในปัจจุบัน มิได้เป็นบรรพชนเชื้อสายจีน มาก่อน โดยเฉพาะในดินแดนทางตอนใต้ ของ แม่น้ำหยางจื้อ ล้วนเป็นกลุ่มชนที่ประกอบด้วยหลายชาติพันธุ์ หลายกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งทางจีนเคยเรียกว่า ไป่เย่ว หมายความว่า เป็นชนป่าเถื่อนร้อยเผ่า ชนพื้นเมืองดังกล่าว คนไทยเรียกกันมาอย่างยาวนานแล้วว่า พวกแย่ ซึ่งชนพื้นเมืองเหล่านี้ ได้มาผสมเผ่าพันธุ์ กับชนชาติอ้ายไต จนแยกออกเป็นหลายชนเผ่า

 

 

 



ª-  บทสวดมนต์นี้ มีประวัติโดยย่อๆ ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น ในขณะที่พระองค์เสด็จจาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปยัง เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) เพื่อทำการบรรจุ พระมหาบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ ไว้ในพระบรมมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยได้ทรงรจนาขึ้น ขณะที่พระทับแรมอยู่ ณ ภูเขาหลวง ท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน และถูกใช้เป็นคำสวดมนต์ ของ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ , มหาราชา , ราชา และพวกราชวงศ์ กษัตริย์ไทย สืบทอดกันมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งยังมิได้ถูกราชวงศ์จักรี ใช้สืบทอด จึงค่อยๆ เลือนหายไป แต่มีการใช้สืบทอดในบางท้องที่ ของภาคใต้ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ยังดินแดนต่างๆ นอกดินแดนชุมพูทวีป ต่อมาในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ตามหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ เป็นผู้ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ทั้ง ๕ แห่ง ไปตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อให้ผู้คนได้เคารพบูชา

 

 

ª-  ผู้เรียบเรียง ได้ถอดข้อความจากเทป ซึ่งได้บันทึกไว้ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ บูรพกษัตริย์ ของ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ข้อความที่นำมาเขียนไว้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ที่กล่าวถึง รอยพระบาทของ พระพุทธองค์ ในสองภพชาติ ที่เคยประดิษฐานไว้ ณ ยอด ภูเขาสุวรรณคีรี

              นางเชื้อ ช่วยยิ้ม และผู้เฒ่า อีกหลายราย เล่าให้ผู้เรียบเรียง รับฟังตรงกันว่า เดิมที มีรอยพระพุทธบาททองคำ ฝังดินอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี และมีนักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ปลอมตัวเป็นพระธุดง ไปแสร้งจำศีลอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี สามารถลักลอบขุดพระพุทธบาททองคำ ไปได้ แล้วนำไปหลอมเป็นทองคำแท่ง ขายให้กับร้านขายทอง แต่เกิดเหตุเภทภัย กับ ครอบครัว นักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ดังกล่าวเรื่อยมา จึงต้องทำพระพุทธบาท จำลอง มาวางไว้แทนที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และทำการประดิษฐาน รอยพระบาท จำลอง ดังกล่าว ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

 

Visitors: 54,293