พระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ

 

หลักฐาน ตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ บางตอน มีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จของพระพุทธเจ้า โดยสรุป ว่า

"...ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพาน พระองค์ได้เสด็จมายังดินแดนสุวรรณภูมิ พร้อมกับ พระมหากัสสปะ และ พระอานนท์ โดยเดินทางจาก แคว้นราชคฤห์(ครหิต คันธุลี) ไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ(เวียงจันทร์) พระองค์ได้ตรัสพยากรณ์เรื่องราวของบ้านเมืองของ อาณาจักรสุวรรณภูมิ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไว้สองระยะ ระยะแรก ในสมัยของราชวงศ์พระเจ้าอโศกมหาราช ของอินเดีย จะมีการสร้าง เมืองเวียงจันทร์ ขึ้น ณ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ และพระอรหันต์ จะนำพระบรมธาตุของพระองค์ มาเก็บรักษาไว้ ณ เมืองเวียงจันทร์ รวมทั้งจะมีการสร้าง เมืองดอยนันทกังรี(ลานช้าง) ขึ้นด้วย

หลังจากนั้นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปตามสถานที่ต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขง เข้าสู่ แคว้นศรีโคตรบูรณ์ และพำนักที่ ดอยกัปปนคีรี(ภูกำพร้า) พร้อมกันนั้น พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์ ได้ทำนายว่า ในอนาคต พระยาโคตรบูรณ์ จะเกิดมาที่เมืองร้อยเอ็ด ชาติหนึ่ง แล้วเกิดเป็น พระยาสุมิตรธรรม ณ เมืองมรุกนคร อีกชาติหนึ่ง แล้วจะนำพระอุรังคธาตุ ไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) ได้เทศนาให้พญาสุวรรณภิงคาร ฟัง พร้อมประทับรอยพระบาทไว้ แล้วเสด็จกลับไปยัง นครราชคฤห์(โพธาราม) รับสั่งพระมหากัสสปะ ว่า เมื่อพระองค์เสด็จนิพพาน ให้นำเอาพระอุรังคธาตุ มาไว้ที่ ภูกำพร้า(นครพนม) เหตุการณ์หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับไปยัง ภูกูเวียน อีกครั้งหนึ่ง แล้วพระพุทธเจ้า ก็เสด็จกลับ พร้อมกับได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้ที่ ดอยนันทกังรี(แคว้นลานช้าง) ก่อนเสด็จกลับอินเดีย..."

       ตามเนื้อหาบันทึกของตำนานอุรังคธาตุ แสดงให้เห็นว่า เส้นทางเดินทางของพระพุทธเจ้า พระมหากัสสปะ พร้อมกับ พระอานนท์ ได้เคยเสด็จมาโดยทางเรือ จากอินเดีย มาสู่ดินแดน อาณาจักรสุวรรณภูมิ โดยเสด็จมาประทับ ณ เมืองราชคฤห์(ภูเขาภิกษุ คันธุลี) ต่อมาพระองค์ พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เล่นเรือจาก กรุงราชคฤห์(คันธุลี) ไปยังอ่าวลึก ระหว่างคาบสมุทรจามปา กับคาบสมุทรเขมร ทั้งนี้เพราะในสมัยนั้น มีอ่าวลึกเข้าไปตามเส้นทางแม่น้ำโขง ไปผ่านเมืองสุวรรณเขต พระพุทธองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่ แคมหนองคันเทเสื้อน้ำ คือ เมืองเวียงจันทร์ ในปัจจุบัน แล้วเสด็จย้อนกลับ ไปตามลำน้ำโขง ไปยัง แคว้นศรีโคตรบูรณ์(นครพนม) โดยได้ไปประทับอยู่ที่ ภูกำพร้า แล้วเสด็จกลับทางบก ไปยัง เมืองหนองหานหลวง(สกุลนคร) แล้วเสด็จทางเรือกลับไปยังกรุงราชคฤห์ ซึ่งพระมหากัสสปะ รออยู่ หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จโดยทางเรืออีกเที่ยวหนึ่ง ไปยัง ภูกูเวียน(เมืองพานกง) บริเวณเทือกเขาภูพาน แล้วเสด็จต่อไปยัง ดอยนันทการี(ลานช้าง) คือเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน จึงเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ อีกครั้งหนึ่ง

       หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ คนไทยผู้สูงอายุในท้องที่ภาคใต้ มีความเชื่อถึงการเข้ามาของพระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ สองกลุ่ม กลุ่มแรก เชื่อว่า พระพุทธศาสนา เข้ามายังดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มที่สอง เชื่อว่า พระพุทธศาสนา ได้เข้ามาในดินแดนสุวรรณภูมิ ในสมัยพระพุทธเจ้า นั่นเอง เพราะหลังจากที่พระพุทธเจ้า เสด็จกลับ อินเดีย โดยมีพระภิกษุ จำนวนหนึ่ง ได้มาตั้งสำนักสงฆ์ เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา ณ ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) แคว้นครหิต(คลองหิต) โดยมิได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์ ผู้ปกครอง ของ มหาอาณาจักรสุวรรณภูมิ

ความเชื่อที่กล่าวว่า พระพุทธเจ้า เคยเสด็จมายังอาณาจักรสุวรรณภูมิ นอกจากมีบันทึกไว้ใน ตำนานอุรังคธาตุ ซึ่งเป็นตำนานการก่อสร้างพระบรมธาตุนครพนม แล้ว ยังมีปรากฏใน บทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ และยังปรากฏในคำกลอนบวงสรวงดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ บริเวณภูเขาสุวรรณคีรี อีกด้วย กล่าวกันว่า พระพุทธเจ้า เสด็จมายังเกาะศรีลังกา และได้เสด็จต่อมายังดินแดนสุวรรณภูมิ โดยได้มาลงเรือ ณ ท่าเรือของ ภูเขาพนมสายรุ้ง หรือ ภูเขาพนมเบญจา ในท้องที่ ของ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน หลังจากนั้น พระพุทธเจ้า ได้เสด็จโดยทางเรือ มาสู่อ่าวไทย จากแม่น้ำกระบี่ ซึ่งเชื่อมต่อ แม่น้ำตาปี มายัง ภูเขาสุวรรณคีรี และเสด็จต่อไปยัง สำนักสงฆ์ภูเขาภิกษุ(ภูเขาชวาลา) เมือง ครหิต(คันธุลี) ก่อนที่จะเสด็จไปยัง กรุงราชคฤห์(ราชบุรี)

ในสมัยต่อมา เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้สร้างพระพุทธบาท จำลองไว้ ณ สถานที่ต่างๆ ๕ แห่ง พร้อมกับการพระราชทานชื่อ ภูเขาพนมสายรุ้ง เป็นชื่อใหม่ว่า ภูเขาพนมเบญจา เพื่อสื่อความหมายถึง พระพุทธเจ้า เคยเสด็จลงเรือมายังดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นที่มาของ รอยพระบาท ๕ แห่ง พร้อมกับได้แต่งบทสวดมนต์ คำกลอนลายลักษณ์พระบาทพระพุทธองค์ โดยมีเนื้อหาบางตอน ที่ขอคัดเลือกมากล่าวไว้ มีข้อความคำสวด บางตอน ดังนี้

"...พระเจ้าสรรค์เพชร พระเจ้าเสด็จ โปรดโลกโลกา

มีดอกบัวทอง ทั้งสองโสภา ผุดจากพสุธา รองรับบาทองค์

พระเจ้าย่างกราย บัวทองรองบาท มาบันดารให้

ที่ไหนไม่สบาย พระพายพัดพาน มีมาสาบาน  นมัสการพระองค์

หอบเอาทรายแก้ว นวลละอองผ่องแผ้ว มาโปรยปรายลง

ให้ทางราบรื่น ในพื้นบาทบง  พระเจ้าเสด็จลง บาทดำเนินสบาย

พระเจ้าเสด็จประภาส บัวทองรองบาท มาบันดารให้ 

ไม่ให้ปรากฏ แก่ลูกหญิงชาย เหยียบย่ำทำลาย จะเป็นโทสา

พระศาสดาจารย์ เสด็จเข้านิพาน ล่องลับเอกา

ยังมีแต่รอย บาทบง พระศาสดา บรรจบครบห้า ประดิษฐานโดยมี

พระบาทหนึ่งปรากฏ อยู่เขาบรรพต สุวรรณคีรี(ภูเขาสุวรรณคีรี ไชยา)

พระบาทสองนั้นซ้าย อยู่ในกรุงศรี ประเทศธานี โยนกนคร(หลวงพระบาง)

พระบาทสามนั้นโศก อยู่เขาบรมโกษ ลังกาบวร(เขาบรมโกษ ประเทศศรีลังกา)

พระบาทสี่ทศพล อยู่บนสิงขร นพรัตน์บุรี(ภูเขาสุวรรณบรรพต สระบุรี)

พระบาทห้า ประดิษฐาน อยู่แถบชลธาร แม่น้ำนที(อยุธยา)

เป็นที่วันทา เทวาธิบดี ฝูงปลากุมภีร์ เข้าเฝ้าวันทา

พระบาทห้าแห่ง พระพุทธองค์สำแดง ย่างเหยียบไว้นั้น

เป็นที่วันทา นกกาสัตว์สัน มนุษย์สกุนทัน อสุราอสุรี

ลายลักษณ์เลิศไกร ไว้สั่งสอนใจ หญิงชายถ้วนหน้า

หัวค่ำไก่ขัน ทุกวันอัตตา อุตส่าห์ภาวนา เป็นนิจทุกวัน

ใครท่องลายลักษณ์ ได้บุญมากนัก แปดหมื่นสี่พัน

ได้พบพระองค์ ผู้ทรงในธรรม จำไว้ให้มั่น อย่าได้อุเบกขา...."

เนื้อหาของคำสวดมนต์ ตาม คำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ª-ดังกล่าว ซึ่งกล่าวถึงพระบาทของพระพุทธองค์ ๕ แห่ง ซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้เป็นผู้ประดิษฐ์สร้างขึ้นไว้ เป็นอนุสรณ์ ในสมัยต่อๆ มา แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยมาอย่างยาวนานว่า พระพุทธเจ้า ได้เคยเสด็จ มายังดินแดนสุวรรณภูมิ ทำให้ เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ทรงสร้างรอยพระบาทจำลอง ไว้เป็นสัญลักษณ์ ๔ แห่ง ในดินแดนสุวรรณภูมิ และประดิษฐานไว้ในดินแดนศรีลังกา อีก ๑ แห่ง

ยังมีบทสวดมนต์ อีกบทหนึ่ง กล่าวว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๒๑๗ เพื่อใช้ในการบวงสรวงเซ่นไหว้พระพุทธบาทเบื้องขวา ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน กล่าวกันว่า ครั้งแรกเป็นการใช้ในการทำพิธีกรรม มหาไชยาบรมราชาภิเษก ให้กับ มหาจักรพรรดิพ่อหะนิมิตร และ จักรพรรดิพ่อศรีชัยนาท ในสมัยกำเนิด สหราชอาณาจักรเสียม ต่อมา ทุกๆ ปี เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะต้อง ทำพิธีบวงสรวงเซ่นไหว้ ทุกวันสงกรานต์ เป็นไปตามพิธีกรรม ตามศาสนาพุทธ และ ศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้เพื่อบวงสรวงรอยพระบาทพระพุทธองค์ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ก่อนที่จะมีการสวดมนต์ตามคำกลอนลายลักษณ์พระพุทธองค์ หลังจากนั้นจึงจะเป็นพิธีกรรม ของพระสงฆ์ จนกลายเป็นประเพณี ซึ่งสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คำกลอนบวงสรวงดังกล่าว มีเนื้อหากล่าวถึง ๒ ภพชาติของพระพุทธเจ้า คือภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระกฤษณะ และภพชาติที่ประสูติมาเป็น พระพุทธเจ้า คำบวงสรวงบางตอน ว่าไว้ดังนี้ª-๖

       "...พระบาทที่หนึ่ง เขาล้อมขอบเขต(ภูเขานางเอ) เป็นเทศที่หนึ่ง พระบาทที่สอง อยู่คลองราชคฤห์ (แม่น้ำแม่กลอง) พระบาทที่สาม อยู่เหนือศิลา อยู่บนแผ่นภูผา ศิลาภูเขา(ภูเขาพนมเบญจา กระบี่) พระบาทที่สี่ เมืองลังเขาตั้ง พระบาทฝ่ายขวา อยู่เมืองลังกา เป็นที่พึ่งรักษา แก่สาธุชน พระบาทพระองค์ เมื่อส่งไปไว้ กลับ โปรดมาใหม่ ขอเป็นฝ่ายซ้าย จะตั้งเรียงราย เป็นเขตแผ่นผา พระพุทธองค์ เขาลงมาใหม่ ถึงผาที่ต่ำ มาถึงหน้าถ้ำ ของคูหาใหญ่(ภูเขาสุวรรณคีรี)..."

       เนื้อหาตามคำกลอนการบวงสรวงเซ่นไหว้รอยพระบาทพระพุทธองค์ และการบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณบูรพกษัตริย์ สหราชอาณาจักรเสียม-ละโว้ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี ตามพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา มีเนื้อหาสรุปถึงความเชื่อของคนไทยได้ว่า ในภพชาติที่ พระรามจันทร์ ได้ อวตาลมาเป็น จตุคามรามเทพ ในภพชาติของ พระกฤษณะ นั้น พระกฤษณะ ได้เคยเสด็จไปหลายท้องที่ในดินแดนสุวรรณภูมิ ซึ่ง เจ้าพระยาศรีธรรมโศก ได้สร้างรอยพระบาทจำลองไว้เป็นที่ระลึก ตามพื้นที่สำคัญซึ่ง พระกฤษณะ เคยเสด็จไปประทับ

       พื้นที่พระบาทที่ ๑ คือ บริเวณ ถ้ำบ่อ ๗ แห่ง(ภูเขาแม่นางเอ) ท้องที่ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ในปัจจุบัน พื้นที่พระบาทที่ ๒ อยู่ที่แม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเรียกว่า คลองราชคฤห์ คือท้องที่ จ.ราชบุรี ในปัจจุบัน ส่วน พระบาทที่ ๓ ของ พระกฤษณะ นั้น ได้สร้างไว้ บริเวณภูเขาพนมเบญจา(ภูเขาพนมสายรุ้ง) ในท้องที่ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ในปัจจุบัน ส่วนพระบาทที่ ๔ ของ พระกฤษณะ ซึ่งเจ้าพระยาศรีธรรมโศก สร้างไว้เดิม เป็นรอยพระบาทฝ่ายขวา แต่เมื่อส่งไปมอบให้ มหาราชาแห่ง ประเทศศรีลังกา กลับไม่พอพระทัย และขอมาใหม่ ให้จัดสร้างเป็น พระบาทฝ่ายซ้าย แทนที่

       ต่อมาเมื่อ พระกฤษณะ ได้ อวตาล มาเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้เสด็จมายังภูเขาสุวรรณคีรี อีกครั้งหนึ่ง โดยได้มาประทับอยู่ที่ยอดภูเขา และได้เสด็จมาถึงหน้าถ้ำ ของ ภูเขาสุวรรณคีรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจรัฐ ของ อาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ของชนชาติอ้ายไต ในเวลาต่อมา ซึ่งเรียกว่า สหราชอาณาจักรเสียม-หลอ จึงมีการบวงสรวงเซ่นไหว้ พระกฤษณะ และ พระพุทธเจ้า สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเช่นกัน

 

 


ª-  บทสวดมนต์นี้ มีประวัติโดยย่อๆ ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมโศก เป็นผู้รจนาขึ้น ในขณะที่พระองค์เสด็จจาก เมืองศรีโพธิ์(ไชยา) ไปยัง เมืองตาม้ากลิงค์(นครศรีธรรมราช) เพื่อทำการบรรจุ พระมหาบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธองค์ ไว้ในพระบรมมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช โดยได้ทรงรจนาขึ้น ขณะที่พระทับแรมอยู่ ณ ภูเขาหลวง ท้องที่ จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน และถูกใช้เป็นคำสวดมนต์ ของ มหาจักรพรรดิ , จักรพรรดิ , มหาราชา , ราชา และพวกราชวงศ์ กษัตริย์ไทย สืบทอดกันมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งยังมิได้ถูกราชวงศ์จักรี ใช้สืบทอด จึงค่อยๆ เลือนหายไป แต่มีการใช้สืบทอดในบางท้องที่ ของภาคใต้ ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธองค์ ยังดินแดนต่างๆ นอกดินแดนชุมพูทวีป ต่อมาในสมัยของ สหราชอาณาจักรเสียม กรุงศรีโพธิ์(ไชยา) เจ้าพระยาศรีธรรมโศก หรือ พระวิษณุกรรม ตามหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ เป็นผู้ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทจำลอง ทั้ง ๕ แห่ง ไปตั้งไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อให้ผู้คนได้เคารพบูชา

 

ª-  ผู้เรียบเรียง ได้ถอดข้อความจากเทป ซึ่งได้บันทึกไว้ เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งมีการทำพิธีกรรมบวงสรวงเซ่นไหว้ ดวงวิญญาณ บูรพกษัตริย์ ของ อาณาจักรต่างๆ ของ ชนชาติอ้ายไต ในดินแดนสุวรรณภูมิ ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี เกาะดอนขวาง ต.เลม็ด อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ข้อความที่นำมาเขียนไว้ เป็นส่วนหนึ่ง ของ พิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ที่กล่าวถึง รอยพระบาทของ พระพุทธองค์ ในสองภพชาติ ที่เคยประดิษฐานไว้ ณ ยอด ภูเขาสุวรรณคีรี

       นางเชื้อ ช่วยยิ้ม และผู้เฒ่า อีกหลายราย เล่าให้ผู้เรียบเรียง รับฟังตรงกันว่า เดิมที มีรอยพระพุทธบาททองคำ ฝังดินอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี และมีนักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ปลอมตัวเป็นพระธุดง ไปแสร้งจำศีลอยู่บนยอดภูเขาสุวรรณคีรี สามารถลักลอบขุดพระพุทธบาททองคำ ไปได้ แล้วนำไปหลอมเป็นทองคำแท่ง ขายให้กับร้านขายทอง แต่เกิดเหตุเภทภัย กับ ครอบครัว นักลักลอบขุดโบราณวัตถุ ดังกล่าวเรื่อยมา จึงต้องทำพระพุทธบาท จำลอง มาวางไว้แทนที่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๒ และทำการประดิษฐาน รอยพระบาท จำลอง ดังกล่าว ณ ยอดภูเขาสุวรรณคีรี สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบัน

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 54,261